สาเหตุการยึดอำนาจการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) จะมีอย่างไรบ้างคนส่วนใหญ่คงทราบกันดีอยู่แล้ว ก็จะไม่ขอกล่าวถึงให้เยิ่นเย้ออีก แต่แรงสะท้อนแรงสะเทือนที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายไม่เหมือนกันแน่นอน คนที่ต่อต้านระบอบทักษิณย่อมพอใจสะใจต่อการยึดอำนาจครั้งนี้ แต่คนที่เป็นพวก “ทักษิณ” หรือผู้ที่ได้รับส่วนบุญส่วนกุศลจากอำนาจและความร่ำรวยของทักษิณย่อมไม่พอใจแน่ รวมทั้งแม้แต่ประชาชนระดับรากหญ้าที่ได้รับอานิสงส์จาก นโยบายประชานิยม ของ "รัฐบาลทักษิณ" ในโครงการต่างๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน, ธนาคารคนจน, 30 บาทรักษาทุกโรค และอื่นๆ อีกมากมายหลายโครงการ ซึ่งใช้เงินงบประมาณของชาติแท้ๆ ไม่ใช่เงินของตัวเองเลยแม้แต่บาทเดียว ก็ยังหลงพลอยไม่พอใจไปกับเขาด้วยทั้งสิ้น เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถึงกับมีความเคลื่อนไหวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. ในภาคเหนือจะเคลื่อนพลเข้ามาประท้วงการยึดอำนาจในครั้งนี้ของ คปค. ดีที่ คปค.ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจที่จะได้ทันเวลา (ยังคงโครงการดีๆ ไว้ไม่ให้เกิดผลกระทบ) ทำให้การเคลื่อนไหวล้มเลิกไปไม่เช่นนั้นคงมีเรื่องวุ่นวายเกิดขึ้นแน่นอน
5 ปีของการบริหารประเทศ “ระบอบทักษิณ” ได้แผ่กิ่งก้านสาขาไปแทบทุกหัวระแหงทั้งไปตามสายในระบบราชการ, ระบบธุรกิจและส่วนตัว จนอาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่แข็งแกร่งที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยทีเดียว เพราะมีเสาค้ำอำนาจที่แข็งแกร่งอย่างยิ่งมีเสาค้ำหลายอัน กล่าวคือนอกจากจะได้รับความนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้แล้ว ยังเพียบพร้อมด้วยเงินตรามหาศาลที่อาจสามารถง้างใจใครๆ ที่ว่าแข็งแกร่งให้มาเป็นพวกตามความประสงค์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ในศักยภาพส่วนตัว “ทักษิณ” เองนั้น อย่าลืมว่า “ทักษิณ” นั้นเป็น นักเรียนเตรียมทหาร มาก่อน โรงเรียนเตรียมทหารนั้นเป็นโรงเรียนที่เตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมในขั้นต้นก่อนที่จะส่งต่อไปเรียนในโรงเรียนนายร้อย จปร., โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนนายเรืออากาศและโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดังนั้น การเป็นนักเรียนเตรียมทหารจึงย่อมทำให้มีจุดที่สายสัมพันธ์กับรุ่นอื่นๆ ในฐานะรุ่นพี่รุ่นน้อง และรวมทั้งในรุ่นเดียวกันคือ “ความเป็นเพื่อน” ที่กระจายอยู่ในกองทัพ ทั้งทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศและตำรวจที่คนในรุ่นเดียวกันส่วนใหญ่ก็จะสนับสนุนกัน ดังนั้น เขาจึงมีความมั่นใจว่าไม่มีใครล้มเข้าได้เมื่อคุมกองทัพอยู่เพราะส่วนราชการอื่นเขาได้แต่งตั้งคนของตัวเองแทรกซึมเข้าไปควบคุมหัวใจสำคัญไว้หมดแล้ว สำหรับประชาชนนั้นมี ส.ส.และหัวคะแนนคอยควบคุมดูแลอยู่อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ประกอบกับนโยบายประชานิยมที่ออกมาในรูปโครงการต่างๆ ที่ประชาชนจับต้องได้ดังที่กล่าวข้างต้นทำให้ตัวเขามั่นใจว่าสามารถครองใจประชาชนอยู่ได้ สำหรับด้านธุรกิจนั้น “ทักษิณ” ได้อาศัยความที่ตัวเองก็เป็นพ่อค้าคนหนึ่งที่รู้ใจพ่อค้าด้วยกัน และเข้าใจวิธีการค้าขาย เข้ามาวางทิศทางและระบบเศรษฐกิจของประเทศเสียใหม่ในลักษณะเหมือนกับการทำประชานิยมต่อนักธุรกิจทั้งหลายในประเทศต่างๆ เช่นเดียวกับที่ทำต่อประชาชนชาวไทย เหมือนกับการบอกเป็นนัยๆ ว่าการมาลงทุนในประเทศไทยนั้น ไม่มีโอกาสที่จะขาดทุนเลย ดังนั้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา พลังงาน การขนส่ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผูกขาดจึงเป็นเป้าหมายหลักๆ ของรัฐบาล รวมทั้งการเปิดเสรีทางการค้าให้บริษัทข้ามชาติทั้งหลายเข้ามาทำการค้าในประเทศได้อย่างไร้ขอบเขต เช่น กรณีของโชวห่วย เป็นต้น ย่อมทำให้นักธุรกิจต่างประเทศชอบอกชอบใจเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นว่ารัฐบาลทักษิณนั้นพยายามทำหลายๆ อย่างให้ชาวต่างประเทศสนใจมาลงทุนในประเทศมากยิ่งๆ ขึ้น เพราะมีแต่ได้กับได้ เพราะเมื่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น ทักษิณเองก็ขยายธุรกิจส่วนตัวเข้าไปในธุรกิจอันเป็นจุดชีวิตของสังคมทั้งด้านสาธารณูปโภค พลังงาน การขนส่ง การเงิน การศึกษา การรักษาพยาบาลและอื่นๆ อีกมากมาย ขณะเดียวกันการลงทุนจากต่างประเทศที่มากขึ้นเท่าไรก็จะเป็นเสมือนเกราะป้องกันที่ดีอีกชั้นหนึ่งของรัฐบาลทักษิณ ใครที่คิดจะยึดอำนาจก็ต้องคิดมากต่อการที่จะถูกต่อต้านจากต่างประเทศอย่างแน่นอน ยังไม่รวมประชาชนที่ตกอยู่ใต้อำนาจประชานิยมของ “รัฐบาลทักษิณ” จำนวนหลายสิบล้านคน
ดังนั้น การปฏิวัติยึดอำนาจจาก “ทักษิณ” ของ คปค.ในครั้งนี้นั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่อยู่ๆ นึกไม่พอใจรัฐบาลทักษิณขึ้นมา ทหารก็จะลุกไปคว้าปืนขับรถถังและเคลื่อนพลออกมาแล้วประกาศยึดอำนาจ ไม่ง่ายขนาดนั้นหรอก ถ้าไม่มีเงื่อนไขทางสังคมที่สุกงอม เช่น สังคมเริ่มวุ่นวายแบ่งเป็นฝักฝ่ายและใช้ความรุนแรง การใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน การทุจริต ประชาชนเริ่มต่อต้านรัฐบาลและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล นอกจากนี้ผู้คิดก่อการโค่นล้มยังจะต้องระมัดระวังพรรคพวกบริวารของเขาที่กระจายอยู่ในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ โดยเฉพาะเป็นพิเศษอย่างยิ่งสำหรับคนในกองทัพ ไม่ให้ข่าวรั่วไหลออกไปเป็นอันขาด มิฉะนั้นนอกจากจะทำการไม่สำเร็จเด็ดขาดได้แล้วยังจะหัวขาดอีกด้วย แต่การปฏิวัติโค่นอำนาจทักษิณแม้จะยากสักเพียงใดก็ตาม เมื่อพิจารณา “เครือข่ายทักษิณ” ที่มีอยู่ในแวดวงต่างๆ แล้วก็เกิดความรู้สึกว่าการจะ โค่นระบอบทักษิณ อย่างถอนรากถอนโคนเป็นเรื่องที่ยากเย็นยิ่งกว่ามากนัก เพราะ 6 ประเด็นนี้คือ
1. การดำเนิน ตรวจสอบการทุจริต จะต้องกระทำเพื่อให้ความจริงกระจ่างไม่ใช่ทำเพื่อสนองความโกรธแค้นหรือเพื่อความสะใจของใคร ต้องให้เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ดังนั้นควรต้องกระทำภายใต้ตัวบทกฎหมายและอยู่ในกระบวนการยุติธรรม อันเป็นการแสดงถึงความเป็นอารยประเทศ ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายในสังคมและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น การจะไปกล่าวหากันลอยๆ ไม่มีหลักฐานความผิดย่อมไม่สามารถจะลงโทษใครได้ การดำเนินการในแนวทางดังกล่าวนี้น่าจะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วทันใจ ตามความคาดหวังของหลายๆ ฝ่ายได้
2. ต้องระวังการรุกโต้ตอบของ ระบอบเก่า อย่าลืมว่า “ทักษิณ” นั้นเป็นคนที่มีศักยภาพส่วนตัวสูงอย่างยิ่ง ทั้งสติปัญญา ความรู้ ฐานการเงินที่มีเครือข่ายทางธุรกิจกระจายอยู่ในวงการต่างๆ มากมายมูลค่ารวมหลายแสนล้านบาท มีลูกน้องบริษัทในเครือมากมาย พรรคพวกเพื่อนฝูงทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนในกองทัพและในวงการตำรวจที่แม้วันนี้กำลังถูกตอนก็ตาม แต่ก็มีเวลาเหลืออีกหลายปีกว่าจะเกษียณซึ่งคนตอนจะเกษียณไปก่อนเมื่อถึงวันนั้นคนถูกตอนก็จะกลับมาโตได้อีกครั้งหนึ่งก็ได้, นี่คือ อำนาจกำลังรบ ของ “ทักษิณ” ที่ควรระวัง ดังนั้นหากพวกเขาไม่ยอมแพ้แต่กลับซุ่มเงียบรอเวลา “ดีเดย์” สำหรับการรุกโต้ตอบครั้งใหญ่ รอแบบไม่กำหนดเวลาแต่รอเงื่อนไขก็เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างยิ่ง แต่ระหว่างนี้ “ทักษิณ” อาจใช้ยุทธศาสตร์ถอยอำพรางรุก ประการแรก หลอกให้ตายใจเช่น ปล่อยข่าวว่าจะวางมือทางการเมืองอย่างเด็ดขาด โดยจะขอสอนหนังสือและทำการกุศลเพื่อสังคม หรือด้วยการสั่งให้สมาชิกพรรคไทยรักไทยให้ความร่วมมือแก่ คปค.ทุกอย่าง เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนรวมทั้ง คปค.ด้วยตายใจขณะเดียวกันก็เป็นการลดความเคียดแค้นชิงชังของประชาชนต่อตนลงด้วยเพราะคนไทยใจอ่อนอภัยง่าย นี่คือจุดอันตรายอย่างยิ่ง เป็นจุดอันตรายที่มองไม่เห็น ประการที่สอง ทำลายความเชื่อถือฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ การตีโต้ตอบ ซึ่งเป็น ยุทธวิธีหนึ่งในการปฏิบัติการทางทหาร โดยในขณะที่แลดูเหมือนสงบนิ่ง แต่ในอีกด้านกลับค่อยๆ เปิดแนวรบด้านต่างๆ ออกมา ไม่ว่าจะเป็น แนวรบด้านมวลชน หรือ แนวรบด้านเศรษฐกิจ และ การเงินการค้า ด้านสื่อสารโทรคมนาคม ด้านพลังงานหรือด้านอื่นๆ อีกมากมายให้ คปค.ตกเป็นฝ่ายรับและแก้ปัญหา แนวรบแต่ละแนวอาจมีรูปแบบหลากหลาย เช่น แนวรบด้านมวลชนอย่างที่มีข่าวความเคลื่อนไหวของ อบต., อบจ.ภาคเหนือที่มีข่าวจะเดินทางเข้ามา กทม.เพื่อคัดค้านการยึดอำนาจของ คปค. เป็นต้น แนวรบด้านมวลชนนี้อาจเกิดตามมาอีกหลายกลุ่มหลายพื้นที่ โดยอาศัยเงื่อนไขการปลุกระดมที่แตกต่างกัน ที่นอกจากเงื่อนไขการเรียกคืนเงินกองทุนหมู่บ้านแล้วอาจใช้เงื่นไขประชานิยมของรัฐบาลทักษิณอื่นๆ มาปลุกระดมอีก โดยบางแนวรบอาจมองไม่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับระบอบทักษิณเลย ทั้งนี้ทั้งเพื่อทดสอบพลังขีดความสามารถของ คปค. (ทางทหารอาจเรียกว่า การหยั่งกำลัง) ทดสอบกระแสประชาชนและสร้างสถานการณ์ให้ฝ่ายตนกลับเป็นฝ่ายริเริ่ม เพราะถ้าหากสามารถควบคุมสถานการณ์เป็นฝ่ายริเริ่มได้ตลอดไปแล้ว ก็จะสามารถควบคุมสนามรบได้ เมื่อคุมสนามรบได้ก็คือชนะอย่างเดียว ไม่มีทางแพ้ไปได้ เพราะฉะนั้นอย่าได้วางใจเป็นอันขาดเลยทีเดียว
3. สถานการณ์สากล ที่ไม่ยอมรับการปฏิวัติยึดอำนาจ เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ปัจจัยเวลาสำหรับ คปค.ที่จะกระทำเรื่องราวต่างๆ ตามข้ออ้างในการยึดอำนาจให้กระจ่างมีน้อย ดังนั้นจึงน่าเป็นห่วงว่าไม่รัดกุมเพราะต้องทำหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว การจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวตามกรอบเวลาที่ คปค.สัญญาไว้ การวางระบบการพิสูจน์ตามข้อกล่าวอ้างในการยึดอำนาจให้รัดกุม เช่น การแต่งตั้งและคัดเลือกบุคคลหรือคณะบุคคลด้านต่างๆ ที่ต้องป้องกันการแทรกซึมจากคนใน “ระบอบทักษิณ” การบูรณาการอำนาจในกฎหมายต่างๆ ที่จะใช้ในการตรวจสอบการทุจริตเพื่อมอบให้คณะกรรมการแต่ละด้าน เป็นต้น การพลาดพลั้งในประเด็นเล็กๆ เช่น ไม่สามารถป้องกันการแทรกซึมของคนใน “ระบอบทักษิณ” ได้อาจทำให้การทุ่มเททั้งหมดที่ผ่านมามีค่าต่ำกว่าศูนย์ คือไร้ค่าเลยทีเดียว
4. คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่ได้เปลี่ยนป้ายชื่อเป็นคณะมนตรีความมั่งคงแห่งชาติ (คมช.) ยังเป็นผู้กุมอำนาจในทางลึก โดยมรัฐบาลที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคุมในทางกว้าง พร้อมกลไกทางบรรยากาศประชาธิปไตย คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ได้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานสภาฯ แม้ว่าจะเป็นการแยกส่วนอำนาจ แต่ความรู้สึกว่า คมช.ซึ่งยังเป็นศูนย์กระจายอำนาจเกิดความย่อหย่อน โดยเฉพาะประเด็นของตัวนายมีชัยเอง ซึ่งแม้จะมีบุญคุณต่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ และต้องตอบแทนกัน ก็ต้องไม่ลืมว่า นายมีชัย ก็มีบุญคุณกับระบอบทักษิณ หรือระบอบทักษิณนั้นก็มีบุญคุณกับนายมีชัย และหากจะคิดถึงบุญคุณกันแล้ว ระบอบทักษิณก็ยังมีบุญคุณต่อคนอีกจำนวนมาก ที่ยังนึกถึงบุญคุณนั้นอยู่โดย “ทักษิณ” สร้างบุณคุณไว้มากขณะอยู่ในอำนาจ แต่เขาไม่ได้มีบุญคุณต่อแผ่นดินเลย
ขอให้ย้อนกลับไปอ่านในข้อ 2 ที่ได้กล่าวถึงอำนาจอันเปรียบเป็น “กำลังรบ” ของระบอบทักษิณ ที่พร้อมจะรุกตอบโต้ครั้งใหญ่ ในกรณีของนายมีชัย ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนทางจิตวิทยานั้น อาจจะเป็นการเปิดจุดอ่อนทางยุทธศาสตร์ เป็นการเปิดพื้นที่สำหรับการรุกกลับ หรือเป็นการเปิดหัวหาดที่เปราะบางไว้สำหรับการยกพลขึ้นบก การ “ดีเดย์” ของระบอบทักษิณได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นการเปิดให้เกิดภาวะ “หยั่งกำลัง” ว่า คปค.หรือ คมช.มีความเข้มแข็งเพียงใด
5. คิดอย่างยุทธศาสตร์นั้น เวลานี้ทั้งรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ และคมช.ของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน แม้เป็นยุทธศาสตร์ร่วมกัน โดย คมช.หนักไปทางยุทธศาสตร์ทางทหารและความมั่นคง ดังเช่นที่ว่า คมช.คือรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และทางรัฐบาลกำลังเข้าสู่ยุทธศาสตร์มวลชน ยุทธศาสตร์การเมือง ดังที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ทำอยู่หลายเรื่อง ทั้งการให้ความสำคัญต่อผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่ระบอบเก่าเคยใช้เป็นฐานการเมืองในระดับท้องถิ่น และการเข้าสู่ยุทธศาสตร์การเมืองด้วยการพบปะหารือกับผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ ที่บ้านพิษณุโลกเมื่อวันก่อน
ถือว่ายุทธศาสตร์ของทางรัฐบาลก้าวหน้าไปอย่างมากเป็นที่น่าพอใจ
แต่ยุทธศาสตร์ของ คมช.นั้น ไม่ได้คู่ขนานกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเกิดอาการ “เกร็ง” โดยเกรงว่าจะเป็นการแทรกแซงหรือล้ำหน้าเกินเส้นความพอดีกับรัฐบาล ซึ่งในที่สุดก็จะกลายเป็นต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ การประสานงานอย่างใกล้ชิดแบบรู้ใจกันนั้น อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นมาในสักวันหนึ่ง การสนธิกำลัง ของรัฐบาลและ คมช.ยังไม่เป็นการสนธิกำลังที่ดีพอ โดยคมช.นั้นยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นส่วนการนำหรือการสนับสนุน
ดังนั้น, การจะมีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงขึ้นมาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงน่าจะเป็นความจำเป็นโดยที่คณะบุคคลใน คมช.คนใดคนหนึ่งน่าจะต้องสละตำแหน่งทางทหารมานั่งอยู่กับรัฐบาลในตำแหน่งนี้ เพื่อเป็นผู้รับรู้ปัญหา และเป็นผู้ประสานงานอย่างใกล้ชิดตามแบบที่ทหารเรียกว่า “การยิงสนับสนุนอย่างใกล้ชิด”
6. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยังจะต้องดำเนินการเรื่องสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะต้องรอดูกันต่อไปว่า จะเป็นการเปิดหัวหาดและพื้นที่สู้รบให้ระบอบเก่าหรือไม่? แต่อย่างไรก็ตาม ท่าทีของ คมช.ดูเหมือนว่าจะได้บทเรียนขึ้นจากกรณีนายมีชัย อย่างเช่น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.บอกว่า ถ้าหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาโดยการเช่าเหมาเครื่องบิน ถ้าหากว่าไม่บอกก่อน จะแอบเข้ามาก็จะไม่ให้เครื่องบินลงจอดในไทย สอดคล้องกับที่ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บอกว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ ยังมีบรรยากาศคลื่นใต้น้ำอยู่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่สมควรจะกลับไทย
แต่จากการที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ไปพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อเช้าวานนี้ (26 ตุลาคม) นั้น จะเพื่ออะไรก็แล้วแต่...แต่ขอให้ย้อนกลับไปอ่านที่ข้อ 2 ของรายงานนี้อีกครั้ง
แล้วพิจารณาว่า เป็นการเริ่มต้นของการหยั่งกำลังรบ หรือเป็นการออกรบแล้ว
5 ปีของการบริหารประเทศ “ระบอบทักษิณ” ได้แผ่กิ่งก้านสาขาไปแทบทุกหัวระแหงทั้งไปตามสายในระบบราชการ, ระบบธุรกิจและส่วนตัว จนอาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่แข็งแกร่งที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยทีเดียว เพราะมีเสาค้ำอำนาจที่แข็งแกร่งอย่างยิ่งมีเสาค้ำหลายอัน กล่าวคือนอกจากจะได้รับความนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้แล้ว ยังเพียบพร้อมด้วยเงินตรามหาศาลที่อาจสามารถง้างใจใครๆ ที่ว่าแข็งแกร่งให้มาเป็นพวกตามความประสงค์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ในศักยภาพส่วนตัว “ทักษิณ” เองนั้น อย่าลืมว่า “ทักษิณ” นั้นเป็น นักเรียนเตรียมทหาร มาก่อน โรงเรียนเตรียมทหารนั้นเป็นโรงเรียนที่เตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมในขั้นต้นก่อนที่จะส่งต่อไปเรียนในโรงเรียนนายร้อย จปร., โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนนายเรืออากาศและโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดังนั้น การเป็นนักเรียนเตรียมทหารจึงย่อมทำให้มีจุดที่สายสัมพันธ์กับรุ่นอื่นๆ ในฐานะรุ่นพี่รุ่นน้อง และรวมทั้งในรุ่นเดียวกันคือ “ความเป็นเพื่อน” ที่กระจายอยู่ในกองทัพ ทั้งทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศและตำรวจที่คนในรุ่นเดียวกันส่วนใหญ่ก็จะสนับสนุนกัน ดังนั้น เขาจึงมีความมั่นใจว่าไม่มีใครล้มเข้าได้เมื่อคุมกองทัพอยู่เพราะส่วนราชการอื่นเขาได้แต่งตั้งคนของตัวเองแทรกซึมเข้าไปควบคุมหัวใจสำคัญไว้หมดแล้ว สำหรับประชาชนนั้นมี ส.ส.และหัวคะแนนคอยควบคุมดูแลอยู่อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ประกอบกับนโยบายประชานิยมที่ออกมาในรูปโครงการต่างๆ ที่ประชาชนจับต้องได้ดังที่กล่าวข้างต้นทำให้ตัวเขามั่นใจว่าสามารถครองใจประชาชนอยู่ได้ สำหรับด้านธุรกิจนั้น “ทักษิณ” ได้อาศัยความที่ตัวเองก็เป็นพ่อค้าคนหนึ่งที่รู้ใจพ่อค้าด้วยกัน และเข้าใจวิธีการค้าขาย เข้ามาวางทิศทางและระบบเศรษฐกิจของประเทศเสียใหม่ในลักษณะเหมือนกับการทำประชานิยมต่อนักธุรกิจทั้งหลายในประเทศต่างๆ เช่นเดียวกับที่ทำต่อประชาชนชาวไทย เหมือนกับการบอกเป็นนัยๆ ว่าการมาลงทุนในประเทศไทยนั้น ไม่มีโอกาสที่จะขาดทุนเลย ดังนั้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา พลังงาน การขนส่ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผูกขาดจึงเป็นเป้าหมายหลักๆ ของรัฐบาล รวมทั้งการเปิดเสรีทางการค้าให้บริษัทข้ามชาติทั้งหลายเข้ามาทำการค้าในประเทศได้อย่างไร้ขอบเขต เช่น กรณีของโชวห่วย เป็นต้น ย่อมทำให้นักธุรกิจต่างประเทศชอบอกชอบใจเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นว่ารัฐบาลทักษิณนั้นพยายามทำหลายๆ อย่างให้ชาวต่างประเทศสนใจมาลงทุนในประเทศมากยิ่งๆ ขึ้น เพราะมีแต่ได้กับได้ เพราะเมื่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น ทักษิณเองก็ขยายธุรกิจส่วนตัวเข้าไปในธุรกิจอันเป็นจุดชีวิตของสังคมทั้งด้านสาธารณูปโภค พลังงาน การขนส่ง การเงิน การศึกษา การรักษาพยาบาลและอื่นๆ อีกมากมาย ขณะเดียวกันการลงทุนจากต่างประเทศที่มากขึ้นเท่าไรก็จะเป็นเสมือนเกราะป้องกันที่ดีอีกชั้นหนึ่งของรัฐบาลทักษิณ ใครที่คิดจะยึดอำนาจก็ต้องคิดมากต่อการที่จะถูกต่อต้านจากต่างประเทศอย่างแน่นอน ยังไม่รวมประชาชนที่ตกอยู่ใต้อำนาจประชานิยมของ “รัฐบาลทักษิณ” จำนวนหลายสิบล้านคน
ดังนั้น การปฏิวัติยึดอำนาจจาก “ทักษิณ” ของ คปค.ในครั้งนี้นั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่อยู่ๆ นึกไม่พอใจรัฐบาลทักษิณขึ้นมา ทหารก็จะลุกไปคว้าปืนขับรถถังและเคลื่อนพลออกมาแล้วประกาศยึดอำนาจ ไม่ง่ายขนาดนั้นหรอก ถ้าไม่มีเงื่อนไขทางสังคมที่สุกงอม เช่น สังคมเริ่มวุ่นวายแบ่งเป็นฝักฝ่ายและใช้ความรุนแรง การใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน การทุจริต ประชาชนเริ่มต่อต้านรัฐบาลและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล นอกจากนี้ผู้คิดก่อการโค่นล้มยังจะต้องระมัดระวังพรรคพวกบริวารของเขาที่กระจายอยู่ในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ โดยเฉพาะเป็นพิเศษอย่างยิ่งสำหรับคนในกองทัพ ไม่ให้ข่าวรั่วไหลออกไปเป็นอันขาด มิฉะนั้นนอกจากจะทำการไม่สำเร็จเด็ดขาดได้แล้วยังจะหัวขาดอีกด้วย แต่การปฏิวัติโค่นอำนาจทักษิณแม้จะยากสักเพียงใดก็ตาม เมื่อพิจารณา “เครือข่ายทักษิณ” ที่มีอยู่ในแวดวงต่างๆ แล้วก็เกิดความรู้สึกว่าการจะ โค่นระบอบทักษิณ อย่างถอนรากถอนโคนเป็นเรื่องที่ยากเย็นยิ่งกว่ามากนัก เพราะ 6 ประเด็นนี้คือ
1. การดำเนิน ตรวจสอบการทุจริต จะต้องกระทำเพื่อให้ความจริงกระจ่างไม่ใช่ทำเพื่อสนองความโกรธแค้นหรือเพื่อความสะใจของใคร ต้องให้เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ดังนั้นควรต้องกระทำภายใต้ตัวบทกฎหมายและอยู่ในกระบวนการยุติธรรม อันเป็นการแสดงถึงความเป็นอารยประเทศ ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายในสังคมและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น การจะไปกล่าวหากันลอยๆ ไม่มีหลักฐานความผิดย่อมไม่สามารถจะลงโทษใครได้ การดำเนินการในแนวทางดังกล่าวนี้น่าจะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วทันใจ ตามความคาดหวังของหลายๆ ฝ่ายได้
2. ต้องระวังการรุกโต้ตอบของ ระบอบเก่า อย่าลืมว่า “ทักษิณ” นั้นเป็นคนที่มีศักยภาพส่วนตัวสูงอย่างยิ่ง ทั้งสติปัญญา ความรู้ ฐานการเงินที่มีเครือข่ายทางธุรกิจกระจายอยู่ในวงการต่างๆ มากมายมูลค่ารวมหลายแสนล้านบาท มีลูกน้องบริษัทในเครือมากมาย พรรคพวกเพื่อนฝูงทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนในกองทัพและในวงการตำรวจที่แม้วันนี้กำลังถูกตอนก็ตาม แต่ก็มีเวลาเหลืออีกหลายปีกว่าจะเกษียณซึ่งคนตอนจะเกษียณไปก่อนเมื่อถึงวันนั้นคนถูกตอนก็จะกลับมาโตได้อีกครั้งหนึ่งก็ได้, นี่คือ อำนาจกำลังรบ ของ “ทักษิณ” ที่ควรระวัง ดังนั้นหากพวกเขาไม่ยอมแพ้แต่กลับซุ่มเงียบรอเวลา “ดีเดย์” สำหรับการรุกโต้ตอบครั้งใหญ่ รอแบบไม่กำหนดเวลาแต่รอเงื่อนไขก็เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างยิ่ง แต่ระหว่างนี้ “ทักษิณ” อาจใช้ยุทธศาสตร์ถอยอำพรางรุก ประการแรก หลอกให้ตายใจเช่น ปล่อยข่าวว่าจะวางมือทางการเมืองอย่างเด็ดขาด โดยจะขอสอนหนังสือและทำการกุศลเพื่อสังคม หรือด้วยการสั่งให้สมาชิกพรรคไทยรักไทยให้ความร่วมมือแก่ คปค.ทุกอย่าง เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนรวมทั้ง คปค.ด้วยตายใจขณะเดียวกันก็เป็นการลดความเคียดแค้นชิงชังของประชาชนต่อตนลงด้วยเพราะคนไทยใจอ่อนอภัยง่าย นี่คือจุดอันตรายอย่างยิ่ง เป็นจุดอันตรายที่มองไม่เห็น ประการที่สอง ทำลายความเชื่อถือฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ การตีโต้ตอบ ซึ่งเป็น ยุทธวิธีหนึ่งในการปฏิบัติการทางทหาร โดยในขณะที่แลดูเหมือนสงบนิ่ง แต่ในอีกด้านกลับค่อยๆ เปิดแนวรบด้านต่างๆ ออกมา ไม่ว่าจะเป็น แนวรบด้านมวลชน หรือ แนวรบด้านเศรษฐกิจ และ การเงินการค้า ด้านสื่อสารโทรคมนาคม ด้านพลังงานหรือด้านอื่นๆ อีกมากมายให้ คปค.ตกเป็นฝ่ายรับและแก้ปัญหา แนวรบแต่ละแนวอาจมีรูปแบบหลากหลาย เช่น แนวรบด้านมวลชนอย่างที่มีข่าวความเคลื่อนไหวของ อบต., อบจ.ภาคเหนือที่มีข่าวจะเดินทางเข้ามา กทม.เพื่อคัดค้านการยึดอำนาจของ คปค. เป็นต้น แนวรบด้านมวลชนนี้อาจเกิดตามมาอีกหลายกลุ่มหลายพื้นที่ โดยอาศัยเงื่อนไขการปลุกระดมที่แตกต่างกัน ที่นอกจากเงื่อนไขการเรียกคืนเงินกองทุนหมู่บ้านแล้วอาจใช้เงื่นไขประชานิยมของรัฐบาลทักษิณอื่นๆ มาปลุกระดมอีก โดยบางแนวรบอาจมองไม่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับระบอบทักษิณเลย ทั้งนี้ทั้งเพื่อทดสอบพลังขีดความสามารถของ คปค. (ทางทหารอาจเรียกว่า การหยั่งกำลัง) ทดสอบกระแสประชาชนและสร้างสถานการณ์ให้ฝ่ายตนกลับเป็นฝ่ายริเริ่ม เพราะถ้าหากสามารถควบคุมสถานการณ์เป็นฝ่ายริเริ่มได้ตลอดไปแล้ว ก็จะสามารถควบคุมสนามรบได้ เมื่อคุมสนามรบได้ก็คือชนะอย่างเดียว ไม่มีทางแพ้ไปได้ เพราะฉะนั้นอย่าได้วางใจเป็นอันขาดเลยทีเดียว
3. สถานการณ์สากล ที่ไม่ยอมรับการปฏิวัติยึดอำนาจ เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ปัจจัยเวลาสำหรับ คปค.ที่จะกระทำเรื่องราวต่างๆ ตามข้ออ้างในการยึดอำนาจให้กระจ่างมีน้อย ดังนั้นจึงน่าเป็นห่วงว่าไม่รัดกุมเพราะต้องทำหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว การจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวตามกรอบเวลาที่ คปค.สัญญาไว้ การวางระบบการพิสูจน์ตามข้อกล่าวอ้างในการยึดอำนาจให้รัดกุม เช่น การแต่งตั้งและคัดเลือกบุคคลหรือคณะบุคคลด้านต่างๆ ที่ต้องป้องกันการแทรกซึมจากคนใน “ระบอบทักษิณ” การบูรณาการอำนาจในกฎหมายต่างๆ ที่จะใช้ในการตรวจสอบการทุจริตเพื่อมอบให้คณะกรรมการแต่ละด้าน เป็นต้น การพลาดพลั้งในประเด็นเล็กๆ เช่น ไม่สามารถป้องกันการแทรกซึมของคนใน “ระบอบทักษิณ” ได้อาจทำให้การทุ่มเททั้งหมดที่ผ่านมามีค่าต่ำกว่าศูนย์ คือไร้ค่าเลยทีเดียว
4. คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่ได้เปลี่ยนป้ายชื่อเป็นคณะมนตรีความมั่งคงแห่งชาติ (คมช.) ยังเป็นผู้กุมอำนาจในทางลึก โดยมรัฐบาลที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคุมในทางกว้าง พร้อมกลไกทางบรรยากาศประชาธิปไตย คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ได้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานสภาฯ แม้ว่าจะเป็นการแยกส่วนอำนาจ แต่ความรู้สึกว่า คมช.ซึ่งยังเป็นศูนย์กระจายอำนาจเกิดความย่อหย่อน โดยเฉพาะประเด็นของตัวนายมีชัยเอง ซึ่งแม้จะมีบุญคุณต่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ และต้องตอบแทนกัน ก็ต้องไม่ลืมว่า นายมีชัย ก็มีบุญคุณกับระบอบทักษิณ หรือระบอบทักษิณนั้นก็มีบุญคุณกับนายมีชัย และหากจะคิดถึงบุญคุณกันแล้ว ระบอบทักษิณก็ยังมีบุญคุณต่อคนอีกจำนวนมาก ที่ยังนึกถึงบุญคุณนั้นอยู่โดย “ทักษิณ” สร้างบุณคุณไว้มากขณะอยู่ในอำนาจ แต่เขาไม่ได้มีบุญคุณต่อแผ่นดินเลย
ขอให้ย้อนกลับไปอ่านในข้อ 2 ที่ได้กล่าวถึงอำนาจอันเปรียบเป็น “กำลังรบ” ของระบอบทักษิณ ที่พร้อมจะรุกตอบโต้ครั้งใหญ่ ในกรณีของนายมีชัย ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนทางจิตวิทยานั้น อาจจะเป็นการเปิดจุดอ่อนทางยุทธศาสตร์ เป็นการเปิดพื้นที่สำหรับการรุกกลับ หรือเป็นการเปิดหัวหาดที่เปราะบางไว้สำหรับการยกพลขึ้นบก การ “ดีเดย์” ของระบอบทักษิณได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นการเปิดให้เกิดภาวะ “หยั่งกำลัง” ว่า คปค.หรือ คมช.มีความเข้มแข็งเพียงใด
5. คิดอย่างยุทธศาสตร์นั้น เวลานี้ทั้งรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ และคมช.ของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน แม้เป็นยุทธศาสตร์ร่วมกัน โดย คมช.หนักไปทางยุทธศาสตร์ทางทหารและความมั่นคง ดังเช่นที่ว่า คมช.คือรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และทางรัฐบาลกำลังเข้าสู่ยุทธศาสตร์มวลชน ยุทธศาสตร์การเมือง ดังที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ทำอยู่หลายเรื่อง ทั้งการให้ความสำคัญต่อผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่ระบอบเก่าเคยใช้เป็นฐานการเมืองในระดับท้องถิ่น และการเข้าสู่ยุทธศาสตร์การเมืองด้วยการพบปะหารือกับผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ ที่บ้านพิษณุโลกเมื่อวันก่อน
ถือว่ายุทธศาสตร์ของทางรัฐบาลก้าวหน้าไปอย่างมากเป็นที่น่าพอใจ
แต่ยุทธศาสตร์ของ คมช.นั้น ไม่ได้คู่ขนานกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเกิดอาการ “เกร็ง” โดยเกรงว่าจะเป็นการแทรกแซงหรือล้ำหน้าเกินเส้นความพอดีกับรัฐบาล ซึ่งในที่สุดก็จะกลายเป็นต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ การประสานงานอย่างใกล้ชิดแบบรู้ใจกันนั้น อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นมาในสักวันหนึ่ง การสนธิกำลัง ของรัฐบาลและ คมช.ยังไม่เป็นการสนธิกำลังที่ดีพอ โดยคมช.นั้นยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นส่วนการนำหรือการสนับสนุน
ดังนั้น, การจะมีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงขึ้นมาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงน่าจะเป็นความจำเป็นโดยที่คณะบุคคลใน คมช.คนใดคนหนึ่งน่าจะต้องสละตำแหน่งทางทหารมานั่งอยู่กับรัฐบาลในตำแหน่งนี้ เพื่อเป็นผู้รับรู้ปัญหา และเป็นผู้ประสานงานอย่างใกล้ชิดตามแบบที่ทหารเรียกว่า “การยิงสนับสนุนอย่างใกล้ชิด”
6. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยังจะต้องดำเนินการเรื่องสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะต้องรอดูกันต่อไปว่า จะเป็นการเปิดหัวหาดและพื้นที่สู้รบให้ระบอบเก่าหรือไม่? แต่อย่างไรก็ตาม ท่าทีของ คมช.ดูเหมือนว่าจะได้บทเรียนขึ้นจากกรณีนายมีชัย อย่างเช่น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.บอกว่า ถ้าหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาโดยการเช่าเหมาเครื่องบิน ถ้าหากว่าไม่บอกก่อน จะแอบเข้ามาก็จะไม่ให้เครื่องบินลงจอดในไทย สอดคล้องกับที่ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บอกว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ ยังมีบรรยากาศคลื่นใต้น้ำอยู่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่สมควรจะกลับไทย
แต่จากการที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ไปพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อเช้าวานนี้ (26 ตุลาคม) นั้น จะเพื่ออะไรก็แล้วแต่...แต่ขอให้ย้อนกลับไปอ่านที่ข้อ 2 ของรายงานนี้อีกครั้ง
แล้วพิจารณาว่า เป็นการเริ่มต้นของการหยั่งกำลังรบ หรือเป็นการออกรบแล้ว