สภาพการเมืองตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมาค่อยๆ “คืบคลาน” สู่ “ความเป็นเรื่องเป็นราว” มากยิ่งขึ้น โดยต้องขอกล่าวชื่นชม “กองทัพ” ที่เพียรพยายามรักษาคำพูดอย่างที่สุด ตามที่ได้สัญญาไว้ว่าจะ “ถอนกำลัง” กลับที่มั่นภายในระยะเวลาสองสัปดาห์ พร้อมทั้งจะกำหนดให้มี “นายกรัฐมนตรี” และ “คณะรัฐมนตรี” ภายในระยะเวลาที่กำหนดเช่นเดียวกัน กอปรกับได้มีการจัดทำ “รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549” ซึ่งถือว่าเป็น “ฉบับที่ 17” ไปเรียบร้อย
เราก็ต้องยอมรับว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)” ใช้ห้วงระยะเวลาอย่างรวดเร็ว และก็ต้องยอมรับเช่นเดียวกันว่า “รอบคอบ-รัดกุม” มากพอสมควร ทั้งๆ ที่ใช้ระยะเวลาในการจัดตั้ง “องคาพยพ” เร็วกว่ากำหนดด้วยซ้ำ
ตั้งแต่ “คลอด” รัฐธรรมนูญชั่วคราว จนเปลี่ยนชื่อจากคณะปฏิรูปฯ (คปค.) มาเป็น “คณะมนตรีความมั่นคง (คมช.)” พร้อมทั้งเลือกสรร “นายกรัฐมนตรี” และได้คณะรัฐมนตรีจำนวน 26 คน ภายในหนึ่งสัปดาห์นิดๆ ก็ต้องยอมรับว่าเร็วมาก และดูหน้าตา “โหงวเฮ้ง” แล้วน่าที่จะกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ไว้ใจได้”
แต่อาจจะถูกตั้งฉายาว่า “ผู้เฒ่า” บ้าง “อาวุโส” บ้าง หรือ “คณะรัฐมนตรีปลัดฯ” เนื่องด้วย สิริรวมอายุตั้งแต่นายกรัฐมนตรี จนถึงคณะรัฐมนตรีแล้วอายุอานามปาเข้าไป 1,669 ปี และส่วนใหญ่จะเป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณในตำแหน่งทางราชการแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะ “แก่” แต่อาจเป็น “ขิงแก่” ก็ได้ เพราะแต่ละท่านนั้น มากด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ กอปรกับน่าจะเป็นการทำงานที่อาจจะ “เชื่องช้า” ในกรณีของ “การตัดสินใจ” ที่ไม่คล่องแคล่ว ว่องไวเหมือนรัฐบาลที่แล้ว ที่ “หวือหวา” และ “การเมืองเกินไป!” ในกรณีของการกำหนดนโยบาย โครงการและมาตรการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม “รัฐบาลสุรยุทธ์ 1” นี้ น่าจะเป็นรัฐบาล “ย่างสามขุม” ที่ค่อยๆ พินิจพิจารณา ตัดสินใจ ในการบริหารประเทศชาติ แต่แน่นอนว่าจะเน้น “การบริหาร” มากกว่า “การเมือง” และไม่หวัง “สืบทอดอำนาจ” และ “คะแนนนิยม” ซึ่งน่าจะมั่นใจได้ถึง “ความโปร่งใส-สุจริต” และ “ธรรมาภิบาล”
การเมืองไทยปัจจุบัน “สวิง-แกว่ง” กลับค่อนข้าง “สุดโต่ง!” กล่าวคือ รัฐบาลทักษิณเป็น “รัฐบาลนายทุน-นักธุรกิจการเมือง” ที่มุ่งเน้น “อำนาจ” และ “ผลประโยชน์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริหารจัดการเชิงธุรกิจ “การตลาด” จึงเป็น “ยุทธศาสตร์-กลยุทธ์” สำคัญในการ “สร้างภาพ-สร้างคะแนนนิยม” ถามว่า “ผิดหรือไม่?” ก็ต้องตอบว่า “ไม่ผิดหรอก!” เพียงแต่ประเด็นสำคัญคือ การเมืองธรรมดาที่ต้องมีกรณีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ต้องเป็น “ผลประโยชน์ส่วนรวม” มิใช่ “ผลประโยชน์ส่วนตน-ส่วนกลุ่ม” จนก่อให้เกิด “การทุจริตคอร์รัปชัน” อย่างมโหฬารดังที่เราทราบๆ กันดี ซึ่งขณะนี้ก็ “น้ำลดตอผุด” ด้วย “การเช็กบิล” ขององค์กรตรวจสอบต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะไม่เกิน 3-4 เดือนนี้ คงได้เห็นอะไรดีๆ
จากขั้วสุดโต่ง “ธุรกิจการเมือง” เหวี่ยงกลับมาสู่ยุค “รัฐราชการ” หรือศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกว่า “อำมาตยาธิปไตย” ที่ “ขุนนาง-ชนชั้นปกครอง” และ “ข้าราชการ” เป็นผู้บริหารจัดการ ปกครองบ้านเมืองอีกครั้ง ดั่งคำศัพท์วิชาการภาษาอังกฤษเรียกว่า “Bureaucratic Elite System” หรือ “ระบบขุนนางข้าราชการ” ที่เรียก “รัฐ” และ/หรือ “สังคม” ตัวแบบนี้ว่า “Bureaucratic Polity-รัฐราชการ” ซึ่งบ้านเมืองเราก็ “แกว่ง-สวิง” มาอย่างนี้ตลอดระยะเวลา 74 ปี ตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา
สังคมการเมืองไทยมีลักษณะผสมผสานมาโดยตลอด ตั้งแต่ “ราชาธิปไตย” จนมาถึง “อำมาตยาธิปไตย” แล้วก็ “ประชาธิปไตย” ทั้ง “เต็มใบ-ครึ่งใบ” แล้วแต่สภาพการณ์ของสังคมการเมืองไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่ “วงจรอุบาทว์ (Vicious Circle)” จะเกิดทุกครั้งโดย “นักการเมือง (Politician)” เสียร้อยละ 90 เนื่องด้วย “ปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลที่แล้วต้องเรียกขานว่าเป็น “บรรษัทธิปไตย” หรือ “Corporatism” บ้าง หรือ “Corporatocracy” ที่มี “องค์กรธุรกิจ-บรรษัท” บริหารจัดการประเทศชาติ “เชิงธุรกิจ-เชิงการค้า” โดยเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ “นายกรัฐมนตรี” เปรียบเสมือน “ประธานบริหารบริษัท (CEO)” ที่ “กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด-ผูกขาด” ทั้ง “การตัดสินใจ-การบริหารจัดการ” ประเทศชาติแบบสมบูรณ์แบบ โดยมี “ทีมครอบครัว-ทีมคณะใกล้ชิด” เป็นผู้ดำเนินการทุกอย่าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขอย้ำ!
ในอดีตก่อนหน้านี้ได้มีการขนานนามรูปแบบการเมืองการปกครองโดยนักวิชาการ แม้กระทั่ง “แสงแดด” เองก็ร่วมสะเออะกับเขาด้วยว่า “ธนาธิปไตย” แปลว่า “ระบบการเมืองนายทุน-เงิน” และเลยเถิดจนมาถึง “วาณิชยาธิปไตย” ที่หมายความว่า “ระบบการเมืองโดยพ่อค้านักธุรกิจ-เพื่อการค้าธุรกิจ-ของพ่อค้านักธุรกิจ” แต่ไม่เคย “รุนแรง-เลวร้าย” เท่าที่ผ่านมา
เพราะยังมี “การถ่วงดุล-การตรวจสอบ” จากบรรดานักการเมืองด้วยกันเอง กอปรกับ "รัฐสภา" ไม่มี “การครอบงำ-แทรกแซง” เท่าครั้งที่ผ่านมา แม้กระทั่ง องค์กรตรวจสอบทางราชการยังทำหน้าที่ตามอัตภาพแต่ก็ยังมีประสิทธิภาพ
พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “รัฐบาลประชาธิปไตย” ในอดีต “ไม่เหิมเกริม-อหังการ” เท่ารัฐบาลที่แล้ว ที่ “กุมอำนาจบริหาร-นิติบัญญัติ” แทบเกือบ “เบ็ดเสร็จเด็ดขาด” แม้กระทั่ง “องค์กรตรวจสอบอิสระ” ก็ยังถูก “ครอบงำ-แทรกแซง” ชนิด “โงหัวไม่ขึ้น!” เช่นเดียวกัน สาเหตุหลักสำคัญคือ “อำนาจทุน-อำนาจเงิน” ที่ “นักธุรกิจ-นายทุน” ยึดถือคติ “เงิน-งง-งัน!”
ความจริงที่เราต้องยอมรับก็คือว่า “วัฒนธรรมการเมืองไทย” มีโครงสร้าง ระบบและประวัติศาสตร์ที่ “สลับซับซ้อน-ละเอียดอ่อน” อย่างมาก โดยต้องศึกษาถึง “แก่นแกนเนื้อหา” ถึง “ระบบความคิด” ของคนไทยว่า “รากฐาน” ตลอดจน “วิถีชีวิต” ของคนไทยนั้นถูกปลูกฝังมาเช่นไร
เราต้องยอมรับว่า สังคมไทยนั้นเป็น “สังคมศักดินา” และเป็นสังคมที่ยึดติดปลูกฝังกับคนไทยมาอย่างยาวนานคือ “ระบบอาวุโส” และ “ระบบอุปถัมภ์” ที่โยงใยกับ “ระบบเจ้าขุนมูลนาย” มากที่สุด เรียกว่า “ยาก” ที่จะ “ลบล้าง” วัฒนธรรมและ “ค่านิยม” เหล่านี้ได้จาก “วัฒนธรรมสังคม-วัฒนธรรมการเมืองไทย”
ถามว่า “ระบบเล่นพรรคเล่นพวก” ในสังคมไทยมีหรือไม่ ตอบได้เลยว่า นานาอารยประเทศมีหมด แต่ยังมี “ระบบคุณธรรม” ที่ถูกยึดเป็นสรณะบ้างไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม สังคมไทยถึงแม้ว่าจะยึดติดอยู่กับระบบเก่าๆ กล่าวแล้วข้างต้น แต่เราก็ยังมี “ระบบคุณธรรม” ติดค้างอยู่ในจิตใจคนไทยบ้าง เพียงแต่อาจจะลงลึกถึง “สังคมระดับล่าง” ไม่มากเท่าที่ควร เนื่องด้วย “ความบกพร่อง-ความด้อย” ของ “ระบบการศึกษา” และที่สำคัญ “ความเหลื่อมล้ำ” ทาง “สถานะสังคม-เศรษฐกิจ (Socio-Economic Status)”
เพราะฉะนั้น “ระบบการเมืองการปกครองไทย” ต้องมีลักษณะที่ต้องคำนึงถึง “รากฐาน-พื้นฐาน” ของ “วัฒนธรรมไทย” และความเป็นจริงของ “วิถีชีวิต-วิธีการคิด” ของคนไทยที่ต้องมีการ “ผสมผสาน” และสำคัญที่สุดคือ “ประยุกต์” ได้กับ “ความเป็นจริง” ของสังคมไทย
นอกเหนือจากนั้น ความจริงอีกประการที่คนไทยต้องยอมรับว่า สังคมไทยเป็นสังคม “เอื้ออาทร-อุปถัมภ์ค้ำจุน” แต่ต้องสามารถสร้าง “จิตสำนึก” ด้าน “คุณธรรม-จริยธรรม” และ “ความยุติธรรม” ให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะได้เป็นสังคมที่มี “วัฒนธรรมสูง” หรือ “High Culture” ที่จะต้องรู้สึก “ละอาย-เกรงกลัว” หรือ “ละอายใจตนเอง” ได้ดั่งคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ “หิริโอตตัปปะ!” มิใช่ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา-เอารัดเอาเปรียบ” โดยไม่ “ละอายใจ” และ “นึกถึงบาปบุญคุณโทษ”
“แสงแดด” ค่อนข้างมั่นใจว่า นับแต่นี้เป็นต้นไป “วัฒนธรรมไทย” และ “วัฒนธรรมการเมืองไทย” จะค่อยๆ พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องด้วย “สังคมข้อมูลข่าวสาร” และไม่สำคัญเท่ากับ “บทเรียน” ที่ “แพงหูฉี่!” จาก “ระบบการเมืองประชาธิปไตยจอมปลอม!” เมื่อคราวที่แล้วว่าเรา “คิดผิด!”
ทั้งนี้คนไทยน่าจะพิจารณาทบทวนถึง “ความจริง” ของสังคมไทยด้วยการจัดการกับ “การปฏิรูปการเมืองรอบสอง” อย่างค่อยเป็นค่อยไปและ “สอดคล้อง” ให้มากที่สุด ซึ่งต้องเป็นการ “ผสมผสาน” ระหว่าง “รากฐาน-พื้นฐานไทย” แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเดินประกบคู่ไปกับกระแส “ระเบียบโลก” ด้วยเช่นเดียวกัน!
เราควรมอบโอกาสให้กับ “ครม.ผู้เฒ่า” ในครั้งนี้ ว่าจะมีฝีไม้ลายมืออย่างไร และอยากฝากว่า “ความคาดหวัง” ของประชาชนมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ธรรมาภิบาล” ที่ทั้งนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ และ “คมช.” ที่ต้อง “หนี” กับ “ความเดิม” ของ “ระบอบทักษิณ” ที่สลับซับซ้อน ซ่อนเงื่อน พร้อมทั้ง “ซ่อนเร้น-ซุก” ความเป็น “เผด็จการ” ไว้ภายใต้หน้ากากประชาธิปไตย
“ความเป็นประชาธิปไตย” จะเป็นทั้ง “เนื้อหา” และ “รูปแบบ” หรือไม่คงไม่สำคัญเท่ากับต้อง “คุณธรรม-จริยธรรม” ในการบริหารชาติบ้านเมือง และที่สำคัญขอบอกตามตรงว่า “อำนาจ-ผลประโยชน์” เป็นสิ่ง “หอมหวน” เมื่อใครได้ “เสพ” แล้วก็ “มักติดใจ!” ดังนั้น “แสงแดด” ยังมั่นใจว่า “คงไม่เป็นเช่นนั้น!”
และที่สำคัญต้องไม่ “แบ่งแยก” ว่า “พวกนั้น พวกนี้” เพราะประกาศชัดเจนว่าต้องการ “ความสมานฉันท์” ดังนั้น ทั้ง “คมช.” และ “รัฐบาล” ต้องเริ่มปฏิบัติตั้งแต่ “ไม่แบ่งเขา-แบ่งเรา” ที่ดูเหมือนว่ากำลังอาจเป็นอยู่!
เราก็ต้องยอมรับว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)” ใช้ห้วงระยะเวลาอย่างรวดเร็ว และก็ต้องยอมรับเช่นเดียวกันว่า “รอบคอบ-รัดกุม” มากพอสมควร ทั้งๆ ที่ใช้ระยะเวลาในการจัดตั้ง “องคาพยพ” เร็วกว่ากำหนดด้วยซ้ำ
ตั้งแต่ “คลอด” รัฐธรรมนูญชั่วคราว จนเปลี่ยนชื่อจากคณะปฏิรูปฯ (คปค.) มาเป็น “คณะมนตรีความมั่นคง (คมช.)” พร้อมทั้งเลือกสรร “นายกรัฐมนตรี” และได้คณะรัฐมนตรีจำนวน 26 คน ภายในหนึ่งสัปดาห์นิดๆ ก็ต้องยอมรับว่าเร็วมาก และดูหน้าตา “โหงวเฮ้ง” แล้วน่าที่จะกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ไว้ใจได้”
แต่อาจจะถูกตั้งฉายาว่า “ผู้เฒ่า” บ้าง “อาวุโส” บ้าง หรือ “คณะรัฐมนตรีปลัดฯ” เนื่องด้วย สิริรวมอายุตั้งแต่นายกรัฐมนตรี จนถึงคณะรัฐมนตรีแล้วอายุอานามปาเข้าไป 1,669 ปี และส่วนใหญ่จะเป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณในตำแหน่งทางราชการแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะ “แก่” แต่อาจเป็น “ขิงแก่” ก็ได้ เพราะแต่ละท่านนั้น มากด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ กอปรกับน่าจะเป็นการทำงานที่อาจจะ “เชื่องช้า” ในกรณีของ “การตัดสินใจ” ที่ไม่คล่องแคล่ว ว่องไวเหมือนรัฐบาลที่แล้ว ที่ “หวือหวา” และ “การเมืองเกินไป!” ในกรณีของการกำหนดนโยบาย โครงการและมาตรการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม “รัฐบาลสุรยุทธ์ 1” นี้ น่าจะเป็นรัฐบาล “ย่างสามขุม” ที่ค่อยๆ พินิจพิจารณา ตัดสินใจ ในการบริหารประเทศชาติ แต่แน่นอนว่าจะเน้น “การบริหาร” มากกว่า “การเมือง” และไม่หวัง “สืบทอดอำนาจ” และ “คะแนนนิยม” ซึ่งน่าจะมั่นใจได้ถึง “ความโปร่งใส-สุจริต” และ “ธรรมาภิบาล”
การเมืองไทยปัจจุบัน “สวิง-แกว่ง” กลับค่อนข้าง “สุดโต่ง!” กล่าวคือ รัฐบาลทักษิณเป็น “รัฐบาลนายทุน-นักธุรกิจการเมือง” ที่มุ่งเน้น “อำนาจ” และ “ผลประโยชน์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริหารจัดการเชิงธุรกิจ “การตลาด” จึงเป็น “ยุทธศาสตร์-กลยุทธ์” สำคัญในการ “สร้างภาพ-สร้างคะแนนนิยม” ถามว่า “ผิดหรือไม่?” ก็ต้องตอบว่า “ไม่ผิดหรอก!” เพียงแต่ประเด็นสำคัญคือ การเมืองธรรมดาที่ต้องมีกรณีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ต้องเป็น “ผลประโยชน์ส่วนรวม” มิใช่ “ผลประโยชน์ส่วนตน-ส่วนกลุ่ม” จนก่อให้เกิด “การทุจริตคอร์รัปชัน” อย่างมโหฬารดังที่เราทราบๆ กันดี ซึ่งขณะนี้ก็ “น้ำลดตอผุด” ด้วย “การเช็กบิล” ขององค์กรตรวจสอบต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะไม่เกิน 3-4 เดือนนี้ คงได้เห็นอะไรดีๆ
จากขั้วสุดโต่ง “ธุรกิจการเมือง” เหวี่ยงกลับมาสู่ยุค “รัฐราชการ” หรือศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกว่า “อำมาตยาธิปไตย” ที่ “ขุนนาง-ชนชั้นปกครอง” และ “ข้าราชการ” เป็นผู้บริหารจัดการ ปกครองบ้านเมืองอีกครั้ง ดั่งคำศัพท์วิชาการภาษาอังกฤษเรียกว่า “Bureaucratic Elite System” หรือ “ระบบขุนนางข้าราชการ” ที่เรียก “รัฐ” และ/หรือ “สังคม” ตัวแบบนี้ว่า “Bureaucratic Polity-รัฐราชการ” ซึ่งบ้านเมืองเราก็ “แกว่ง-สวิง” มาอย่างนี้ตลอดระยะเวลา 74 ปี ตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา
สังคมการเมืองไทยมีลักษณะผสมผสานมาโดยตลอด ตั้งแต่ “ราชาธิปไตย” จนมาถึง “อำมาตยาธิปไตย” แล้วก็ “ประชาธิปไตย” ทั้ง “เต็มใบ-ครึ่งใบ” แล้วแต่สภาพการณ์ของสังคมการเมืองไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่ “วงจรอุบาทว์ (Vicious Circle)” จะเกิดทุกครั้งโดย “นักการเมือง (Politician)” เสียร้อยละ 90 เนื่องด้วย “ปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลที่แล้วต้องเรียกขานว่าเป็น “บรรษัทธิปไตย” หรือ “Corporatism” บ้าง หรือ “Corporatocracy” ที่มี “องค์กรธุรกิจ-บรรษัท” บริหารจัดการประเทศชาติ “เชิงธุรกิจ-เชิงการค้า” โดยเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ “นายกรัฐมนตรี” เปรียบเสมือน “ประธานบริหารบริษัท (CEO)” ที่ “กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด-ผูกขาด” ทั้ง “การตัดสินใจ-การบริหารจัดการ” ประเทศชาติแบบสมบูรณ์แบบ โดยมี “ทีมครอบครัว-ทีมคณะใกล้ชิด” เป็นผู้ดำเนินการทุกอย่าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขอย้ำ!
ในอดีตก่อนหน้านี้ได้มีการขนานนามรูปแบบการเมืองการปกครองโดยนักวิชาการ แม้กระทั่ง “แสงแดด” เองก็ร่วมสะเออะกับเขาด้วยว่า “ธนาธิปไตย” แปลว่า “ระบบการเมืองนายทุน-เงิน” และเลยเถิดจนมาถึง “วาณิชยาธิปไตย” ที่หมายความว่า “ระบบการเมืองโดยพ่อค้านักธุรกิจ-เพื่อการค้าธุรกิจ-ของพ่อค้านักธุรกิจ” แต่ไม่เคย “รุนแรง-เลวร้าย” เท่าที่ผ่านมา
เพราะยังมี “การถ่วงดุล-การตรวจสอบ” จากบรรดานักการเมืองด้วยกันเอง กอปรกับ "รัฐสภา" ไม่มี “การครอบงำ-แทรกแซง” เท่าครั้งที่ผ่านมา แม้กระทั่ง องค์กรตรวจสอบทางราชการยังทำหน้าที่ตามอัตภาพแต่ก็ยังมีประสิทธิภาพ
พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “รัฐบาลประชาธิปไตย” ในอดีต “ไม่เหิมเกริม-อหังการ” เท่ารัฐบาลที่แล้ว ที่ “กุมอำนาจบริหาร-นิติบัญญัติ” แทบเกือบ “เบ็ดเสร็จเด็ดขาด” แม้กระทั่ง “องค์กรตรวจสอบอิสระ” ก็ยังถูก “ครอบงำ-แทรกแซง” ชนิด “โงหัวไม่ขึ้น!” เช่นเดียวกัน สาเหตุหลักสำคัญคือ “อำนาจทุน-อำนาจเงิน” ที่ “นักธุรกิจ-นายทุน” ยึดถือคติ “เงิน-งง-งัน!”
ความจริงที่เราต้องยอมรับก็คือว่า “วัฒนธรรมการเมืองไทย” มีโครงสร้าง ระบบและประวัติศาสตร์ที่ “สลับซับซ้อน-ละเอียดอ่อน” อย่างมาก โดยต้องศึกษาถึง “แก่นแกนเนื้อหา” ถึง “ระบบความคิด” ของคนไทยว่า “รากฐาน” ตลอดจน “วิถีชีวิต” ของคนไทยนั้นถูกปลูกฝังมาเช่นไร
เราต้องยอมรับว่า สังคมไทยนั้นเป็น “สังคมศักดินา” และเป็นสังคมที่ยึดติดปลูกฝังกับคนไทยมาอย่างยาวนานคือ “ระบบอาวุโส” และ “ระบบอุปถัมภ์” ที่โยงใยกับ “ระบบเจ้าขุนมูลนาย” มากที่สุด เรียกว่า “ยาก” ที่จะ “ลบล้าง” วัฒนธรรมและ “ค่านิยม” เหล่านี้ได้จาก “วัฒนธรรมสังคม-วัฒนธรรมการเมืองไทย”
ถามว่า “ระบบเล่นพรรคเล่นพวก” ในสังคมไทยมีหรือไม่ ตอบได้เลยว่า นานาอารยประเทศมีหมด แต่ยังมี “ระบบคุณธรรม” ที่ถูกยึดเป็นสรณะบ้างไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม สังคมไทยถึงแม้ว่าจะยึดติดอยู่กับระบบเก่าๆ กล่าวแล้วข้างต้น แต่เราก็ยังมี “ระบบคุณธรรม” ติดค้างอยู่ในจิตใจคนไทยบ้าง เพียงแต่อาจจะลงลึกถึง “สังคมระดับล่าง” ไม่มากเท่าที่ควร เนื่องด้วย “ความบกพร่อง-ความด้อย” ของ “ระบบการศึกษา” และที่สำคัญ “ความเหลื่อมล้ำ” ทาง “สถานะสังคม-เศรษฐกิจ (Socio-Economic Status)”
เพราะฉะนั้น “ระบบการเมืองการปกครองไทย” ต้องมีลักษณะที่ต้องคำนึงถึง “รากฐาน-พื้นฐาน” ของ “วัฒนธรรมไทย” และความเป็นจริงของ “วิถีชีวิต-วิธีการคิด” ของคนไทยที่ต้องมีการ “ผสมผสาน” และสำคัญที่สุดคือ “ประยุกต์” ได้กับ “ความเป็นจริง” ของสังคมไทย
นอกเหนือจากนั้น ความจริงอีกประการที่คนไทยต้องยอมรับว่า สังคมไทยเป็นสังคม “เอื้ออาทร-อุปถัมภ์ค้ำจุน” แต่ต้องสามารถสร้าง “จิตสำนึก” ด้าน “คุณธรรม-จริยธรรม” และ “ความยุติธรรม” ให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะได้เป็นสังคมที่มี “วัฒนธรรมสูง” หรือ “High Culture” ที่จะต้องรู้สึก “ละอาย-เกรงกลัว” หรือ “ละอายใจตนเอง” ได้ดั่งคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ “หิริโอตตัปปะ!” มิใช่ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา-เอารัดเอาเปรียบ” โดยไม่ “ละอายใจ” และ “นึกถึงบาปบุญคุณโทษ”
“แสงแดด” ค่อนข้างมั่นใจว่า นับแต่นี้เป็นต้นไป “วัฒนธรรมไทย” และ “วัฒนธรรมการเมืองไทย” จะค่อยๆ พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องด้วย “สังคมข้อมูลข่าวสาร” และไม่สำคัญเท่ากับ “บทเรียน” ที่ “แพงหูฉี่!” จาก “ระบบการเมืองประชาธิปไตยจอมปลอม!” เมื่อคราวที่แล้วว่าเรา “คิดผิด!”
ทั้งนี้คนไทยน่าจะพิจารณาทบทวนถึง “ความจริง” ของสังคมไทยด้วยการจัดการกับ “การปฏิรูปการเมืองรอบสอง” อย่างค่อยเป็นค่อยไปและ “สอดคล้อง” ให้มากที่สุด ซึ่งต้องเป็นการ “ผสมผสาน” ระหว่าง “รากฐาน-พื้นฐานไทย” แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเดินประกบคู่ไปกับกระแส “ระเบียบโลก” ด้วยเช่นเดียวกัน!
เราควรมอบโอกาสให้กับ “ครม.ผู้เฒ่า” ในครั้งนี้ ว่าจะมีฝีไม้ลายมืออย่างไร และอยากฝากว่า “ความคาดหวัง” ของประชาชนมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ธรรมาภิบาล” ที่ทั้งนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ และ “คมช.” ที่ต้อง “หนี” กับ “ความเดิม” ของ “ระบอบทักษิณ” ที่สลับซับซ้อน ซ่อนเงื่อน พร้อมทั้ง “ซ่อนเร้น-ซุก” ความเป็น “เผด็จการ” ไว้ภายใต้หน้ากากประชาธิปไตย
“ความเป็นประชาธิปไตย” จะเป็นทั้ง “เนื้อหา” และ “รูปแบบ” หรือไม่คงไม่สำคัญเท่ากับต้อง “คุณธรรม-จริยธรรม” ในการบริหารชาติบ้านเมือง และที่สำคัญขอบอกตามตรงว่า “อำนาจ-ผลประโยชน์” เป็นสิ่ง “หอมหวน” เมื่อใครได้ “เสพ” แล้วก็ “มักติดใจ!” ดังนั้น “แสงแดด” ยังมั่นใจว่า “คงไม่เป็นเช่นนั้น!”
และที่สำคัญต้องไม่ “แบ่งแยก” ว่า “พวกนั้น พวกนี้” เพราะประกาศชัดเจนว่าต้องการ “ความสมานฉันท์” ดังนั้น ทั้ง “คมช.” และ “รัฐบาล” ต้องเริ่มปฏิบัติตั้งแต่ “ไม่แบ่งเขา-แบ่งเรา” ที่ดูเหมือนว่ากำลังอาจเป็นอยู่!