สมช.พื้น ศอ.บต. ด้านโต๊ะครู 3 จังหวัดชายแดนใต้ มึนกลเกมส์ “มหาธีร์” อ้างเชิญมาหารือเรื่องเงินบริจาคสร้างมัสยิดที่ปัตตานี แต่นัดสื่อมวลชนมาทำข่าวเจรจาดับไฟใต้ไทยหลังหารืออดีตผู้นำมาเลย์ ทำทีส่งสัญญาณถอยเป็นคนกลางเจรจาสันติภาพ อ้างไม่ดันทุรังถ้าไม่เป็นที่ต้องการ ส่วนประชาชนในพื้นที่ขานรับ ศอพ.จชต.ดับไฟใต้ เชื่อจะทำให้สถานการณ์สงบ
พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ผบ.ทบ.และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวหลังการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) วานนี้ (17 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้มีการฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ กองกำลังผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท.43) ซึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ทั้งนี้ ศอ.บต.จะเป็นหน่วยในการให้ความยุติธรรม สร้างคว อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
ในส่วนของ พ.ต.ท.43 กองทัพจะเข้าไปเป็นผู้ดูแลเอง โดยนำกำลังจาก กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( กอ.สสส.จชต.) ที่มีอยู่ไปสวม ซึ่งจะทำให้ กอ.สสส.จชต.ยุบลงไปโดยปริยาย และ จะใช้ ผบ.กกล.ในพื้นที่ทำหน้าที่เป็น ผบ.พตท.43 ด้วย ในส่วนของแม่ทัพภาคที่ 4 จะมีหน้าที่ดูแลภาพรวมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ชายแดนภาคใต้เหมือนเดิม และทำหน้าที่เป็น ผอ.รมน.ภาค 4 ด้วย
“เราได้นำข้อดีข้อเสียของโครงสร้างเก่า และ ของเก่าขึ้นมาดูอย่างละเอียดและ เลือกส่วนที่ดีสองส่วนมาใช้ผสมกัน เพื่อใช้เป็นหน่วยงานการแก้ไขปัญหาที่มีความชัดเจนและเหมาะสมิ พล.อ.สนธิ กล่าวและว่า ในส่วนของ กอ.รมน.นั้น ผบ.ทบ.จะเป็นผอ.กอ.รมน.”
กัน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้นัดหารือกับผู้นำศาสนา 7 คนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่กัมปง ตก เซนิค รีสอร์ท เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ท่ามกลางความสนใจของสื่อมวลชนทุกแขนงจากหลายประเทศที่มารอติดตามทำข่าวเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ อดีตผู้นำมาเลเซีย ได้ออกมายอมรับถึงการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการเจรจาระหว่างแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทย เพื่อสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ภายการหารือประมาณครึ่งชั่วโมง ดร.มหาธีร์ กล่าวว่า ผู้นำศาสนามาเยี่ยม เพื่อร่วมละศีลอดและพูดคุยกัน หลายคนบอกว่ามีปัญหา จึงอยากพูดคุยปรึกษา ซึ่งตนก็รับว่าจะช่วยเหลือเต็มที่หากช่วยได้
ดร.มหาธีร์ กล่าวต่อว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ซับซ้อน มีความต่อเนื่องยืดเยื้อยาวนาน โดยมีปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาหลัก และมีวัยรุ่นเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการก่อเหตุรุนแรงและมีอาชญากรรมสูง เมื่อรวมเข้ากับปัญหาความยุติธรรมที่เกิดขึ้น ทำให้กลายเป็นปัญหาหนักซึ่งยากต่อการแก้ไข
“การพูดคุยกับผู้นำศาสนา เป็นการหารือแบบส่วนตัว โดยผู้นำศาสนา ขอให้ช่วยเสนอเรื่องการพัฒนาด้านการศึกษา และการฝึกอาชีพ ซึ่งผมก็รับว่าจะช่วยถ้ามีโอกาส”
ดร.มหาธีร์ กล่าว และว่า ในโอกาสนี้ยังได้หารือกับผู้นำศาสนาเกี่ยวกับการนำเงินซากาต (เงินบริจาค) ไปสร้างมัสยิดแห่งใหม่ที่บ้านปาเสยาวอ ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี แต่ขณะนี้นี้เงินยังไม่พอ จึงต้องรอการบริจาคเพิ่มเติม
อดีตผู้นำมาเลเซีย กล่าวอีกว่า ผู้นำศาสนากลุ่มนี้มีความตั้งใจจะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง จึงอยากให้รัฐบาลไทยรู้สึกกับผู้นำศาสนาเหล่านี้เหมือนกับคนไทยทั่วๆ ไป ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย เพราะผู้นำศาสนาทุกคนก็ยอมรับในรัฐบาลและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้วย
ส่วนกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทการเป็นผู้ประสานการเจรจาระหว่างกลุ่มก่อความไม่สงบ กับเจ้าหน้าที่ไทย ดร.มหาธีร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่ และเป็นเรื่องส่วนตัวอยากจะช่วย “เป็นบทบาทที่ผมควรจะทำ แต่ถ้าหากผมทำไปแล้ว ไม่เป็นที่ต้องการของคนอื่นๆ ผมก็จะไม่ดันทุรังทำต่อไป”
อดีตผู้นำมาเลเซีย ยังเสนอแนะให้รัฐบาลไทยดำเนินการในหลายๆ เรื่องตามที่เคยจัดทำเป็นร่างแผนสันติภาพ และนำเสนอต่อรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงระดับสูงของไทยในรัฐบาลชุดที่แล้ว ได้แก่ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล อดีตผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย และ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ทั้งนี้ ในแผนดังกล่าวมีการเสนอแนวทางพัฒนาด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาเรื่องบุคคลสองสัญชาติ ด้วยการจัดทำบัตรสมาร์ทการ์ด หรือบัตรประจำตัวประชาชนแบบอิเลคทรอนิกส์ แต่ไม่มีข้อเรียกร้องเรื่องการแบ่งแยกดินแดนแต่อย่างใด
“กลุ่มที่ผมเคยพูดคุยด้วย ไม่ได้มีความต้องการที่จะปกครองตนเอง” ดร.มหาธีร์ ย้ำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อแผนสันติภาพได้ถูกนำเสนอไปแล้ว บทบาทหลังจากนี้จะทำอย่างไรต่อไป ดร.มหาธีร์ กล่าวว่า สิ่งที่คาดหวังก็คือเห็นสันติภาพเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือทุกฝ่ายวางอาวุธ ความรุนแรงยุติลง และปัญหาทุกอย่างทุเลาเบาบาง
“เมื่อเป็นเช่นนั้นหน้าที่ของผมก็ถือว่าจบ คงไม่มีอะไรต่อ แต่สันติภาพคงจะไม่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ จากการเซ็นสัญญาแค่ครั้งเดียว เพราะในพื้นที่มีกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่ม และแต่ละกลุ่มก็เป็นอิสระ ไม่ขึ้นแก่กัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ต้องดำเนินการต่อไป”
ด้านท่าทีของผู้นำศาสนาที่ร่วมหารือกับนายมหาธีร์นั้น นายมูฮัมหมัด อับดุลเลาะห์ อุสตาซโรงเรียนสอนศาสนาแห่งหนึ่งใน อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กล่าวว่า การเดินทางมาพบ ดร.มหาธีร์ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกหลังได้รับการติดต่อเมื่อวันที่ 16 ต.ค. ซึ่งการพูดคุย ทราบว่า ดร.มหาธีร์ ได้บริจาคซะกาตในเดือนถือศีลอด เพื่อสร้างมัสยิดที่ตะลุบัน
“ขอยืนยันว่าการพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้มีการพูดเรื่องการเมือง หรือเหตุการณ์ร้ายแรงในภาคใต้ใดๆ ทั้งสิ้น ผมเป็นเพียงโต๊ะครูที่สอนคนให้เป็นคนดีเท่านั้น”
นายมะรีเป็ง เจ๊ะเซ๊ะ ครูใหญ่โรงเรียนเอกชนศาสนาแห่งหนึ่งใน อ.ยะหริ่ง กล่าวว่า รู้สึกตกใจที่เห็นผู้สื่อข่าวทั้งชาวไทยและต่างชาติมาทำข่าวกันมาก ส่วนตัวไม่รู้มาก่อนว่าจะเป็นข่าวใหญ่ขนาดนี้ เพราะได้รับการประสานมาว่าให้มาพูดคุยกับอดีตนายกฯมหาธีร์เกี่ยวกับเรื่องความช่วยเหลือต่างๆ
นายมะรีเป็ง บอกด้วยว่า อดีตผู้นำมาเลเซียไม่ได้ถามเรื่องสถานการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้ เพียงแต่บอกให้ช่วยกันดูแลให้เกิดความสงบ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าขณะนี้มีทิศทางที่ดี เพราะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่น่าจะเข้าใจปัญหามากกว่าเดิม
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเดินทางมาในครั้งนี้ไม่หวั่นเกรงว่าจะถูกจับตามองจากทางการไทยหรือ นายมะรีเป็ง ตอบว่า ไม่กลัว เพราะทุกคนในพื้นที่ต่างก็ทราบดีว่าเขาเป็นคนอย่างไร และยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของตำรวจ หรือ กต.ตร.ในพื้นที่อำเภอยะหริ่งด้วย จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร
ด้านนายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)ในช่วงปี พ.ศ.2536-40 แสดงความเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะรื้อฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ขึ้นมาใหม่ภายใต้ชื่อใหม่เป็นศูนย์อำนวยการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.พ.จชต.) ว่า เป็นเรื่องที่ดีจะทำให้เกิดเอกภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ในพื้นที่มากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะแนวคิดการจัดตั้ง ศอ.บต.ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา มุ่งเน้นการบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ จนสามารถทำให้ปัญหาความไม่สงบเบาบางลงได้
พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ผบ.ทบ.และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวหลังการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) วานนี้ (17 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้มีการฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ กองกำลังผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท.43) ซึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ทั้งนี้ ศอ.บต.จะเป็นหน่วยในการให้ความยุติธรรม สร้างคว อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
ในส่วนของ พ.ต.ท.43 กองทัพจะเข้าไปเป็นผู้ดูแลเอง โดยนำกำลังจาก กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( กอ.สสส.จชต.) ที่มีอยู่ไปสวม ซึ่งจะทำให้ กอ.สสส.จชต.ยุบลงไปโดยปริยาย และ จะใช้ ผบ.กกล.ในพื้นที่ทำหน้าที่เป็น ผบ.พตท.43 ด้วย ในส่วนของแม่ทัพภาคที่ 4 จะมีหน้าที่ดูแลภาพรวมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ชายแดนภาคใต้เหมือนเดิม และทำหน้าที่เป็น ผอ.รมน.ภาค 4 ด้วย
“เราได้นำข้อดีข้อเสียของโครงสร้างเก่า และ ของเก่าขึ้นมาดูอย่างละเอียดและ เลือกส่วนที่ดีสองส่วนมาใช้ผสมกัน เพื่อใช้เป็นหน่วยงานการแก้ไขปัญหาที่มีความชัดเจนและเหมาะสมิ พล.อ.สนธิ กล่าวและว่า ในส่วนของ กอ.รมน.นั้น ผบ.ทบ.จะเป็นผอ.กอ.รมน.”
กัน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้นัดหารือกับผู้นำศาสนา 7 คนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่กัมปง ตก เซนิค รีสอร์ท เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ท่ามกลางความสนใจของสื่อมวลชนทุกแขนงจากหลายประเทศที่มารอติดตามทำข่าวเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ อดีตผู้นำมาเลเซีย ได้ออกมายอมรับถึงการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการเจรจาระหว่างแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทย เพื่อสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ภายการหารือประมาณครึ่งชั่วโมง ดร.มหาธีร์ กล่าวว่า ผู้นำศาสนามาเยี่ยม เพื่อร่วมละศีลอดและพูดคุยกัน หลายคนบอกว่ามีปัญหา จึงอยากพูดคุยปรึกษา ซึ่งตนก็รับว่าจะช่วยเหลือเต็มที่หากช่วยได้
ดร.มหาธีร์ กล่าวต่อว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ซับซ้อน มีความต่อเนื่องยืดเยื้อยาวนาน โดยมีปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาหลัก และมีวัยรุ่นเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการก่อเหตุรุนแรงและมีอาชญากรรมสูง เมื่อรวมเข้ากับปัญหาความยุติธรรมที่เกิดขึ้น ทำให้กลายเป็นปัญหาหนักซึ่งยากต่อการแก้ไข
“การพูดคุยกับผู้นำศาสนา เป็นการหารือแบบส่วนตัว โดยผู้นำศาสนา ขอให้ช่วยเสนอเรื่องการพัฒนาด้านการศึกษา และการฝึกอาชีพ ซึ่งผมก็รับว่าจะช่วยถ้ามีโอกาส”
ดร.มหาธีร์ กล่าว และว่า ในโอกาสนี้ยังได้หารือกับผู้นำศาสนาเกี่ยวกับการนำเงินซากาต (เงินบริจาค) ไปสร้างมัสยิดแห่งใหม่ที่บ้านปาเสยาวอ ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี แต่ขณะนี้นี้เงินยังไม่พอ จึงต้องรอการบริจาคเพิ่มเติม
อดีตผู้นำมาเลเซีย กล่าวอีกว่า ผู้นำศาสนากลุ่มนี้มีความตั้งใจจะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง จึงอยากให้รัฐบาลไทยรู้สึกกับผู้นำศาสนาเหล่านี้เหมือนกับคนไทยทั่วๆ ไป ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย เพราะผู้นำศาสนาทุกคนก็ยอมรับในรัฐบาลและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้วย
ส่วนกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทการเป็นผู้ประสานการเจรจาระหว่างกลุ่มก่อความไม่สงบ กับเจ้าหน้าที่ไทย ดร.มหาธีร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่ และเป็นเรื่องส่วนตัวอยากจะช่วย “เป็นบทบาทที่ผมควรจะทำ แต่ถ้าหากผมทำไปแล้ว ไม่เป็นที่ต้องการของคนอื่นๆ ผมก็จะไม่ดันทุรังทำต่อไป”
อดีตผู้นำมาเลเซีย ยังเสนอแนะให้รัฐบาลไทยดำเนินการในหลายๆ เรื่องตามที่เคยจัดทำเป็นร่างแผนสันติภาพ และนำเสนอต่อรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงระดับสูงของไทยในรัฐบาลชุดที่แล้ว ได้แก่ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล อดีตผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย และ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ทั้งนี้ ในแผนดังกล่าวมีการเสนอแนวทางพัฒนาด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาเรื่องบุคคลสองสัญชาติ ด้วยการจัดทำบัตรสมาร์ทการ์ด หรือบัตรประจำตัวประชาชนแบบอิเลคทรอนิกส์ แต่ไม่มีข้อเรียกร้องเรื่องการแบ่งแยกดินแดนแต่อย่างใด
“กลุ่มที่ผมเคยพูดคุยด้วย ไม่ได้มีความต้องการที่จะปกครองตนเอง” ดร.มหาธีร์ ย้ำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อแผนสันติภาพได้ถูกนำเสนอไปแล้ว บทบาทหลังจากนี้จะทำอย่างไรต่อไป ดร.มหาธีร์ กล่าวว่า สิ่งที่คาดหวังก็คือเห็นสันติภาพเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือทุกฝ่ายวางอาวุธ ความรุนแรงยุติลง และปัญหาทุกอย่างทุเลาเบาบาง
“เมื่อเป็นเช่นนั้นหน้าที่ของผมก็ถือว่าจบ คงไม่มีอะไรต่อ แต่สันติภาพคงจะไม่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ จากการเซ็นสัญญาแค่ครั้งเดียว เพราะในพื้นที่มีกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่ม และแต่ละกลุ่มก็เป็นอิสระ ไม่ขึ้นแก่กัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ต้องดำเนินการต่อไป”
ด้านท่าทีของผู้นำศาสนาที่ร่วมหารือกับนายมหาธีร์นั้น นายมูฮัมหมัด อับดุลเลาะห์ อุสตาซโรงเรียนสอนศาสนาแห่งหนึ่งใน อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กล่าวว่า การเดินทางมาพบ ดร.มหาธีร์ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกหลังได้รับการติดต่อเมื่อวันที่ 16 ต.ค. ซึ่งการพูดคุย ทราบว่า ดร.มหาธีร์ ได้บริจาคซะกาตในเดือนถือศีลอด เพื่อสร้างมัสยิดที่ตะลุบัน
“ขอยืนยันว่าการพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้มีการพูดเรื่องการเมือง หรือเหตุการณ์ร้ายแรงในภาคใต้ใดๆ ทั้งสิ้น ผมเป็นเพียงโต๊ะครูที่สอนคนให้เป็นคนดีเท่านั้น”
นายมะรีเป็ง เจ๊ะเซ๊ะ ครูใหญ่โรงเรียนเอกชนศาสนาแห่งหนึ่งใน อ.ยะหริ่ง กล่าวว่า รู้สึกตกใจที่เห็นผู้สื่อข่าวทั้งชาวไทยและต่างชาติมาทำข่าวกันมาก ส่วนตัวไม่รู้มาก่อนว่าจะเป็นข่าวใหญ่ขนาดนี้ เพราะได้รับการประสานมาว่าให้มาพูดคุยกับอดีตนายกฯมหาธีร์เกี่ยวกับเรื่องความช่วยเหลือต่างๆ
นายมะรีเป็ง บอกด้วยว่า อดีตผู้นำมาเลเซียไม่ได้ถามเรื่องสถานการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้ เพียงแต่บอกให้ช่วยกันดูแลให้เกิดความสงบ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าขณะนี้มีทิศทางที่ดี เพราะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่น่าจะเข้าใจปัญหามากกว่าเดิม
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเดินทางมาในครั้งนี้ไม่หวั่นเกรงว่าจะถูกจับตามองจากทางการไทยหรือ นายมะรีเป็ง ตอบว่า ไม่กลัว เพราะทุกคนในพื้นที่ต่างก็ทราบดีว่าเขาเป็นคนอย่างไร และยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของตำรวจ หรือ กต.ตร.ในพื้นที่อำเภอยะหริ่งด้วย จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร
ด้านนายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)ในช่วงปี พ.ศ.2536-40 แสดงความเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะรื้อฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ขึ้นมาใหม่ภายใต้ชื่อใหม่เป็นศูนย์อำนวยการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.พ.จชต.) ว่า เป็นเรื่องที่ดีจะทำให้เกิดเอกภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ในพื้นที่มากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะแนวคิดการจัดตั้ง ศอ.บต.ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา มุ่งเน้นการบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ จนสามารถทำให้ปัญหาความไม่สงบเบาบางลงได้