คตส.พบ "บ้านเอื้ออาทร” โกงอื้อ เฉพาะราคาที่ดินปั่นกว่า 10 เท่า จากไร่ละ 6 หมื่นเป็น 8 แสนบาท "อนุรักษ์-สรอรรถ-วัฒนา-ชวนพิศ” สะดุ้งแน่ ส่วนระเบียบ คตส.คืบ ส่งประกาศราชกิจจา 1-2 วันนี้ ลั่น 1 ปีจับทุจริตได้มากกว่า 22 โครงการด้าน สตง.คุ้ยเมกะโปรเจกต์ ประเดิมด้วย "เขื่อนน้ำงึม-เขื่อนฮัตจี" พบพิรุธบิ๊กพลังงานเร่งผลักดันให้ซื้อไฟฟ้าโดยไม่ประมูล ขณะที่กิจการร่วมค้า เอช เอสที โร่เข้า สตง.แจงเหตุสมาร์ทการ์ดห่วย ป.ป.ช.แย้มเชือดซุกหุ้นชินคอร์ป 1 ใกล้จบ ด้านการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ไร้วี่แววแม้ว มีเพียง รมต.แจ้งแล้ว 27 ราย แย้มสมาชิกสภานิติฯ ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน
ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ภายหลังการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. แถลงว่า ที่ประชุมมีมติรับร่างระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบว่าด้วยการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และได้ส่งเรื่องให้กองประกาศิต สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเร็ว ๆ นี้ และที่ประชุมยังมีมติตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบและคณะทำงานตรวจสอบ รวม 8 ชุด เพื่อรวบรวมข้อมูล พยานและหลักฐานทั้ง 8 โครงการที่ คตส.รับเรื่องเอาไว้ตรวจสอบ โดยที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าต้องการรวบรวมข้อมูลทั้ง 8 เรื่องให้ครอบคลุมมากขึ้น เพราะ คตส.มีอำนาจหลายด้าน โดย คตส.ยังไม่คิดที่จะขยายเวลาในการทำงานออกไปมากกว่า 1 ปี
"คณะอนุกรรมการและคณะทำงานจะมีกรอบเวลาทำงาน 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ตามความยากง่ายของเรื่อง โดยไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อคณะอนุกรรมการฯได้ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ จะมีอำนาจเชิญผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูล เมื่อคณะอนุกรรมการฯพิจารณาเสร็จก็จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาหากเห็นว่าไม่มีมูลก็จะจำหน่ายเรื่องออก แต่ถ้าเห็นว่ามีมูลก็จะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนต่อไป ซึ่งในชั้นนี้จะมีการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบ เพื่อเข้าชี้แจงต่อไป"
นายสักเปิดเผยว่า นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเพิ่มอีก 1 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการร้องเรียนผ่านทาง คตส.มา รวมเป็นเรื่องที่ 9 ที่ คตส.รับไว้พิจารณา
นายแก้วสรรกล่าวว่า กรรมการคตส. 1 คนจะไปดูสำนวนทุจริตได้ 2 โครงการ ดังนั้นเฉลี่ยแล้วคณะกรรมการมี 11 คน ก็จะรับดูเรื่องได้ 22 เรื่องหรืออาจจะมากกว่านั้น และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบจะตั้ง 1 เรื่องต่อ 1 กอง ซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถ ไม่ซ้ำซ้อนกับกองอื่น และงานจะไม่จม ประกอบกับหากมีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบ และสามารถทำสำนวนเสนอว่ามีมูลพร้อมแจ้งข้อกล่าวหาและชี้มูลความผิด คณะอนุกรรมการตรวจสอบนั้นก็จะเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวน ซึ่งการทำงานในระบบนี้จะทำให้มีความยุติธรรมและช่วยบังคับตัวกรรมการ คตส.ด้วยที่ว่า ไม่แน่อย่าไปกล่าวหาเขา
"ผมจะไม่จับเฉพาะพญานาคอย่างเดียว จะจับทั้งงูเห่า ลูกน้ำ จับหมดถ้ารู้ว่าพัวพันเกี่ยวข้อง หากจะบินหนี เดี๋ยวนี้เขาใช้ระบบไฟฟ้าช็อตกันแล้ว ไม่จับทีละตัว"
นายแก้วสรร กล่าวอีกว่า ระเบียบคตส.ที่ที่ประชุมมีมติเห็นชอบไปคาดว่าไม่เกิน 1-2 วันนี้จะสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ความจริงตนอยากจะยกเลิกการตรวจสอบโดยการให้คณะอนุกรรมการไปหาข้อมูลเอง แล้วมารายงานให้ประธานอนุกรรมการ ถือว่าไม่ได้ประโยชน์ เสียเวลา และงานก็ไม่คืบ สืบไปสืบมา 2 ปีก็ไม่เสร็จ
สำหรับระเบียบ คตส.ที่คตส.เตรียมจะประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น รายงานข่าวระบุว่า วางระบบการทำงานไว้ เมื่อมีเรื่องร้องเรียนมา จะต้องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเพื่อมีมติรับเรื่อง ซึ่งครอบคลุมถึงสำนวนในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ หรือป.ป.ช. รวมถึงเรื่องที่ร้องเรียนหรือมีการชี้ช่องต่อคตส. หรือคตส.เห็นสมควรพิจารณาเอง จากนั้นคตส.จะตรวจสอบเบื้องต้น โดยจะตั้งกลุ่มตรวจสอบเบื้องต้นว่าต้องตรวจสอบในแนวทางใด ใช้ใคร ใช้เวลาเท่าใด ซึ่งทั้ง 8 โครงการอยู่ในขั้นนี้ซึ่งเรียกว่าขั้นประเมินรูปคดี จากนั้นคตส.จะตรวจสอบให้ได้มูลคดีและผู้ถูกกล่าวหา โดยจะมีการตั้งชุดตรวจสอบขึ้นมาเพื่อขุดค้นหามูลคดี เรียกผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลถึงพฤติกรรมตัวบุคคลที่น่าจะถูกกล่าวหา และหากพบว่าข้อมูลลึกและชัดเจนว่าบุคคลเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการทุจริต ก็จะเข้าสู่กระบวนการไต่สวน ตรงนี้จะชัดเจนโดยจะมีการแจ้งข้อกล่าวหาและให้บุคคลนั้นแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งจะมีการตั้งคณะอนุไต่สวนขึ้นมาเพื่อรับฟังข้อมูลเอกสาร พยาน ของผู้ถูกกล่าวหา โดยจะมีการชี้มูลว่ามีความผิดหรือไม่ จากนั้นจะเสนอเข้าที่ประชุมคตส.เพื่อมีมติ โดยเรื่องที่คตส.ชุดใหญ่เห็นว่ามีมูลโดยอาจจะฟ้งอคดีอาญาทุจริต ฟ้องยึดทรัพย์ ฟ้องความผิดตามกฎหมายเฉพาะให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายของรัฐให้จัดการวินัย
**แฉบ้านเอื้อฯ โกงมโหฬาร
แหล่งข่าวจากคตส. แจ้งว่า สำหรับโครงการที่ 9 ที่คตส. รับไว้พิจารณา คือ โครงการบ้านเอื้ออาทร ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การควบคุมของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้าไปตรวจสอบการดำเนินในเบื้องต้นแล้วพบว่าไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีการจัดซื้อที่ดินมีราคาสูงผิดปกติ
รายละเอียดที่สตง.พบนั้น คือ การเคหะฯได้ทำสัญญาซื้อที่ดินจากบริษัท กลอรีคอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวน 73 ไร่ ในราคาไร่ละ 850,000 บาท รวมเป็นเงิน 62 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร จังหวัดปราจีนบุรี (ดงพระราม) เมื่อปี2548 และเอกชนรายนี้ยังได้รับการว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรประเภทบ้านเดี่ยว 2 ชั้น 949 หน่วย ในพื้นที่เดียวกัน วงเงิน 334,343,000 บาท อีกด้วย
สำหรับบริษัท กลอรีคอนสตรัคชั่น จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งวันที่ 15 สิงหาคม 2533 มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ในช่วงแรกผู้บริหารระดับสูงพรรคไทยรักไทยคนหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และต่อมาวันที่ 30 ตุลาคม 2543 เขาก็ได้โอนหุ้นไปให้น้องสาวของตัวเอง จากนั้นจนถึงปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นหลายครั้งแต่ยังคงเป็นบุคคลในครอบครัวนักการเมืองดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
จากการตรวจของ สตง.สอบพบอีกว่า การจัดซื้อที่ดินดังกล่าวมีราคาสูงกว่าปกติ เพราะจากการตรวจสอบราคาประเมินของกรมที่ดินในปี 2548 ปรากฏว่ามีราคาเพียงไร่ละ 61,000 บาท ซึ่งเท่ากับการจัดซื้อที่ดินในราคาสูงกว่าราคาประเมินมากกว่า 10 เท่า และการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรทั้งหมดกราเคหะฯได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้เอกชนที่ร่วมดำเนินโครงการ หน่วยละ 80,000 บาท ส่งผลให้การเคหะฯได้รับความเสียหาย
นอกจากนี้ สตง.ยังได้ตั้งข้อสังเกตุต่อว่า ในบางจังหวัดมีการเปิดโครงการนี้เพิ่มขึ้นมากจนผิดปกติ โดยในช่วงเดือนมกราคม 2549 ที่ผ่านมา การเคหะฯได้เซ็นสัญญาซื้อโครงการบ้านเอื้ออาทรจากบริษัท กลอรีคอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัท กลอรีแมเนจเม้นท์ จำกัด รวม 23,000 ยูนิตมูลค่าประมาณหมื่นล้านบาท ในเรื่องนี้สตง.ตั้งใจไว้ว่าจะส่งรายงานฉบับนี้ให้กับคตส.ตั้งแต่ที่มีนายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธาน แล้วในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จ.ปราจีนบุรีซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของอดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทยคนหนึ่ง โดยมีโครงการบ้านเอื้ออาทรถึง 9 โครงการ โดยมีเอกชนได้รับการว่าจ้างอีก 4 ราย นอกเหนือไปจากบริษัท กลอรีคอนสตรัคชั่น จำกัด คือ บริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด, บริษัท บางกอก วี.เอ.แมชชีนเนอร์รี่, บริษัท ศุภผลบ้านและที่ดิน จำกัด และบริษัท ไพศาล อินเตอร์เนชั่นแนล สวิทช์เกียร์ จำกัด
1.โครงการบ้านเอื้ออาทร โดยบริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้แก่ โครงการบ้านเอื้ออาทร ตำบลเมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี การเคหะฯซื้อที่ดินจากบริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 22,814,262.50 บาท และจ้างก่อสร้างอาคารบ้านเดี่ยว 2 ชั้น รวม 498 หน่วย พร้อมทั้งการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และอื่นๆ วงเงิน 181,112,737.50 บาท, ก่อสร้างอาคารศูนย์ชุมชนแบบ A-1 พร้อมสนามเด็กเล่นและอื่นๆ โดยบริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ 3,795,000 บาท โครงการร่วมดำเนินกิจการโครงการบ้านเอื้ออาทร จ.สระแก้ว (อรัญประเทศ) และปราจีนบุรี (กบินทร์บุรี) 930 หน่วย (อาคารบ้านเดี่ยว 2 ชั้น) วงเงิน 390,600,000 บาท
บริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งวันที่ 11 สิงหาคม 2546 ทุนเริ่มแรก 10 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2549 เพิ่มทุนเป็น 20 ล้านบาท ประกอบธุรกิจจัดสรรอาคารพาณิชย์ ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ที่ตั้งเลขที่ 160/4 หมู่ที่ 9 ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี มีนายธวัช ทุวิรัต ถือหุ้นใหญ่
2.โครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท บางกอก วี.เอ.แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด ได้แก่ โครงการบ้านเอื้ออาทร จังหวัดปราจีนบุรี โครงการ 3/2 วงเงิน 112,900,000 บาท บริษัท บางกอก วี.เอ.แมชชีนเนอร์รี่ แอนด์ พาร์ทส์ จำกัด มีนางพิมไพร ยิ้มศิริ นายสมชาย ยิ้มศิริ และ นายสมชาย โฆษินทร์เดชา เป็นกรรมการ
3.โครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท ศุภผลบ้านและที่ดิน จำกัด ได้แก่ โครงการบ้านเอื้ออาทร อำเภอกบินทร์บุรี มีวงเงิน 164,567,800 บาท และก่อสร้างอาคารศูนย์ชุมชนแบบ A-1 พร้อมสนามเด็กเล่นและอื่นๆ อีก 3,795,000 บาท บริษัท ศุภผลบ้านและที่ดิน จดทะเบียนก่อตั้ง 9 เมษายน 2546 มีนายผล โรจนสกุล ถือหุ้นใหญ่
4.โครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท ไพศาล อินเตอร์เนชั่นแนลสวิทช์เกียร์ จำกัด ได้แก่ การเคหะฯซื้อที่ดินตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการโครงการบ้านเอื้ออาทรจังหวัดปราจีนบุรี (ท่าตูม) วงเงิน 66,000,000 บาท และจ้างก่อสร้างอาคารบ้านเดี่ยว 2 ชั้น จำนวน 1,100 หน่วย วงเงิน 390,500,000 บาท บริษัท ไพศาล อินเตอร์เนชั่นแนลฯ มีนางปิยนาถ ยมทัต นายสมชาย ศิริโรจน์วิสุทธิ์ นางอมรา ศิริโรจน์วิสุทธิ์ ว่าที่ร้อยตรีนพพร แพงศุข และนายอานุภาพ ทิพพะพาทย์ เป็นกรรมการ
ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่มีปัญหาความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ ผู้ว่าการการเคหะฯ ยืนยันมาตลอดว่าโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นไปอย่างโปร่งใสทุกขั้นตอน โดยตอนนี้นางชวนพิศ เป็นหนึ่งในสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยในสัดส่วนผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
สำหรับอดีตรมว.กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการบ้านเอื้ออาทรประกอบด้วยนาย อนุรักษ์ จุรีมาศ จากพรรคชาติไทย,นายสรอรรถ กลิ่นประทุมและนาย วัฒนา เมืองสุข จากพรรคไทยรักไทย ส่วนนาง ชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ เป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ
สำหรับนางชวนพิศพบว่าปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งจาก คมช.ให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย โดยนางชวนพิศเป็นหนึ่งในนักศึกษาวปอ.รุ่น 41 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับพลเอกวินัย ภัทริยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมและพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ.และรองประธานคมช.
**สตง.ลุยโกง 2 เขื่อนยักษ์
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มี นายพรชัย รุจิประภา รองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำเป็นส่วนใหญ่จากประเทศพม่า ลาว และจีน ซึ่งในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงรับซื้อไฟฟ้าไปหลายโครงการแล้ว
ทั้งนี้ การลงนามในบันทึกข้อตกลงเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านนั้นไม่มีความโปร่งใสหลายประการ เช่น ราคารับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นการตกลงกันเอง หากต้องการให้เกิดความโปร่งใสควรจะเปิดประมูลเพื่อแข่งขันด้านราคา ไม่ใช่กระทรวงพลังงานไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านแล้วดึงบริษัทเอกชนที่มีผลประโยชน์เข้าไปรับร่วมทุน และรับงานก่อสร้างเมื่อเสร็จแล้วก็ขายไฟฟ้ากลับมาให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
สำหรับโครงการกระทรวงพลังงานสามารถผลักดัน และมีการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไปแล้ว คือ โครงการเขื่อนน้ำงึม 2 เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทช.การช่างฯ อย่างชัดเจน เพราะบริษัทช.การช่าง เป็นทั้งผู้รับเหมาก่อสร้างเขื่อนน้ำงึม และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโครงการอีก
ทั้งนี้ เขื่อนน้ำงึม 2 มีมูลค่าการก่อสร้าง 31,600 ล้านบาท เป็นการร่วมทุนระหว่างสปป.ลาว และบริษัท เซ้าธ์อีสต์ เอเชีย เอ็นเนอร์จี มีบริษัทช.การช่างถือหุ้นใหญ่รวมประมาณ 41 % มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 615 เมกะวัตต์ อายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 32 ปี ในราคา 1.99 บาท/หน่วย รวมมูลค่าตลอดอายุสัญญาหลายแสนล้านบาท
นอกจากนี้ นายพรชัย ยังเร่งเจรจาเพื่อผลักดันให้เกิดการลงนามในบันทึกข้อตกลงทั้งในเรื่องการลงทุน และรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง โดยล่าสุดได้ขอให้กฟผ. ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนฮัตจี ประเทศพม่า ซึ่งขณะนี้กำลังถูกองค์กรพัฒนาเอกชน โดนเฉพาะองค์กรเครือข่ายเฝ้าระวังแม่น้ำสาละวินต่อต้านอย่างหนัก เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนฮัตจี บางส่วนเป็นพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย โดยล่าสุดทีมเจ้าหน้าที่สำรวจจุดก่อสร้างของกฟผ.ก็เหยียบกับระเบิดที่ชนกลุ่มน้อยวางไว้เสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย
ส่วนโครงการเขื่อนฮัตจี ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ เป็นโครงการ่วมทุนระหว่างกฟผ. ถือหุ้น 45 % บริษัท ไซโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น รัฐวิสาหกิจจากประเทศจีน ถือหุ้น 40 % และรัฐบาลพม่า ถือหุ้น 15 % ลักษณะโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนฮัตจี มีความสูง 40 เมตร ยางประมาณ 692 เมตร ใช้เงินลงทุน 44,100 ล้านบาท ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 1.60บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ให้ผลตอบแทนการลงทุน 19 % และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ 1.40 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยใช้เงินเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทางเครือข่ายเฝ้าระวังแม่น้ำสาละวิน ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านโครงการดังกล่าว เนื่องจากโครงการเขื่อนฮัตจี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่มีการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งจะเป็นการปูทางให้รับบาลพม่าสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการส่งกำลังทหาร และจัดตั้งฐานทัพในเขตชนกลุ่มน้อย เพื่อคุ้มครองชุดเจ้าหน้าที่ในการสำรวจจุดก่อสร้างและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
"เหตุที่นายพรชัยเร่งผลักดันโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะย่านอินโดจีน เนื่องจากสมัยที่เคยเป็นรองเลขาธิการ สภาพัฒน์ฯ ทำโครงการทางหลวงหมายเลข 8 ซึ่งเป็นทางหลวงเพื่อเชื่อมประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลประเทศต่างๆ ในอินโดจีน และบริษัทเอกชนของไทยที่รับเหมาก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 8 จึงเป็นที่มาของโครงการเขื่อนต่างๆในอินโดจีน และบริษัทเอกชนไทยบางรายที่เข้ามาร่วมทุน"
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีแผนจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำให้มากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ โดยจะเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศพม่า ลาว และประเทศจีน โดยจะเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านจาก 5 % เป็น 14 % ในอีก 15 ปีข้างหน้า
สำหรับแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งสิ้น 12,505 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น ต้องการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาว จำนวน 3,985 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เขื่อนน้ำงึม 2 ขนาด 615 เมกะวัตต์ เขื่อนน้ำเทิน 1 ขนาด 460 เมกะวัตต์ เขื่อนเทินหินบุนส่วนขยาย ขนาด 400 เมกะวัตต์ เขื่อนน้ำงึม 3 ขนาด 460 เมกะวัตต์ เขื่อนน้ำเงียบ ขนาด 260 เมกะวัตต์ เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย ขนาด 390 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ประเทศพม่า จำนวน 5,520 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เขื่อนฮัตจี ขนาด 600 เมกะวัตต์ เขื่อนตะนาวศรี ขนาด 720 เมกะวัตต์ และเขื่อนท่าซาง ขนาด 4,200 เมกะวัตต์ ส่วนประเทศจีน เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาด 3,000 เมกะวัตต์
**ปปช.เผยซุกหุ้นชินคอร์ปใกล้จบ
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ปปช. กล่าวว่า การไต่สวนในกรณีการซุกหุ้นชินคอร์ป 1 ที่ค้างอยู่ในขั้นตอนของคณะอนุกรรมการ ปปช.ใกล้จะแล้วเสร็จ ซึ่งหากได้ข้อสรุปแล้วก็จะสามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ปปช.เพื่อชี้มูลความผิดได้
"แม้เกือบ 2 ปีที่ผ่านมาจะไม่มีคณะกรรมการ ปปช. แต่ระดับเจ้าหน้าที่ยังคงดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ท่านประธาน ปปช. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ต้องการให้ผลออกมาเร็ว ให้ภาพออกมาว่าเราไม่ได้ละทิ้ง ที่ทิ้งช่วงไปเพราะขาดส่วนหัวเป็นเวลา 1 ปี 11 เดือน แต่ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่หยุด เขาก็ทำเรื่อยมาใกล้สรุปแล้ว รออีกนิด" นายวิชา กล่าว
คดีซุกหุ้นชินคอร์ป 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 40 เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการไต่สวนของ ปปช.ตั้งแต่ปี 46 แต่จากนั้นเป็นช่วงที่ไม่มีคณะกรรมการ ปปช.เกือบ 2 ปี ทำให้ยังไม่สามารถนำผลสรุปที่ได้จากชั้นคณะอนุกรรมการไต่สวนเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ปปช.ได้ ทั้งนี้ ประเด็นที่มีการไต่สวนคือเมื่อ พ.ย.40 มีการโอนหุ้นบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น(SHIN)จำนวน 738 ล้านบาทจากคนสนิทของคุณหญิงพจมาน ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ไปให้แก่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน โดยไม่เสียภาษี ซึ่งเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ชั้นไต่สวนของ ปปช.เมื่อปี 46
**แม้วยังไม่แจ้งบัญชีรวยให้ ป.ป.ช.
รายงานข่าวระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ส่งเอกสารและแสดงบัญชีทรัพย์สินแต่อย่างใด มีเพียงอดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณยื่นเอกสารมาแล้ว 27 ราย
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. แสดงความเห็นว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสมควรต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเพราะปฎิบัติหน้าที่เสมือน ส.ว. โดยเรื่องดังกล่าวอาจจะนำเข้าหารือในที่ประชุม ป.ป..ช. ส่วนความคืบหน้า ครม.ทักษิณที่ต้องส่งเอกสารแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายในวันที่18 ต.ค.นี้ จะมีการหารือเรื่องดังกล่าวอักครั้งในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในวันที่ 19 ต.ค.นี้
**ค่าปรับไอทีวีถึงมือเลขาฯ นายกฯ
รายงานข่าวจากสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ขณะนี้สำนักปลัดฯ สปน. ได้ส่งเรื่องปัญหาสัมปทานบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ให้กับพล.อ.พงษ์เทพ เทพประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยเฉพาะข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งมายัง สปน. เรื่องวินิจฉัยข้อถกเถียงในประเด็นค่าปรับผังรายการ 76,000 ล้านบาท กรณีไอทีวีผิดสัญญา รวมทั้งข้อมูลเชิงลับสมัยพล.ต.ต.พีระพันธุ์ เปรมะภูติ อดีตปลัดฯ เป็นประธานสอบสวน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันที่ 19 ต.ค. นี้ นายรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการ ครม. ปฏิบัติราชการปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานกรณีสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอฟเอช โดยจะหารือกันในรายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายหลังมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล
**ปปง.รับลูกชาญชัยลุยคดีโกง
พ.ต.อ.ยุทธบูล ดิสสะมาน รักษาการเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นำคณะผู้บริหารสำนักคดีต่างๆ เข้าพบ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อรายงานผลการดำเนินการด้านยึดอายัดทรัพย์ในคดีฟอกเงิน และหารือปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
พ.ต.อ.ยุทธบูล กล่าวว่า รัฐมนตรีและปลัดฯ ให้เน้นเรื่องการทำคดีสำคัญๆ โดยให้ ปปง.ปรับวิธีทำงาน หาความร่วมมือกับประชาชนให้มาก โดยได้มอบนโยบายให้ ปปง.เน้นคดีการกระทำความผิดทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งมีคดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของ ปปง.หลายคดี หาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ก็จะเข้ายึดอายัดทรัพย์ทันที
ต่อข้อถามถึงการยึดอายัดทรัพย์สินโครงการทุจริตของรัฐบาลที่แล้ว พ.ต.อ.ยุทธบูล กล่าวว่า ปปง.ไม่ได้เป็นคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน และยังไม่มีการประสานขอความร่วมมือให้ ปปง.เข้าไปช่วยตรวจสอบเส้นทางการเงินของกลุ่มบุคคลใด เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีอำนาจที่จะตรวจสอบและยึดอายัดทรัพย์สินได้เอง
ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ภายหลังการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. แถลงว่า ที่ประชุมมีมติรับร่างระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบว่าด้วยการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และได้ส่งเรื่องให้กองประกาศิต สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเร็ว ๆ นี้ และที่ประชุมยังมีมติตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบและคณะทำงานตรวจสอบ รวม 8 ชุด เพื่อรวบรวมข้อมูล พยานและหลักฐานทั้ง 8 โครงการที่ คตส.รับเรื่องเอาไว้ตรวจสอบ โดยที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าต้องการรวบรวมข้อมูลทั้ง 8 เรื่องให้ครอบคลุมมากขึ้น เพราะ คตส.มีอำนาจหลายด้าน โดย คตส.ยังไม่คิดที่จะขยายเวลาในการทำงานออกไปมากกว่า 1 ปี
"คณะอนุกรรมการและคณะทำงานจะมีกรอบเวลาทำงาน 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ตามความยากง่ายของเรื่อง โดยไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อคณะอนุกรรมการฯได้ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ จะมีอำนาจเชิญผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูล เมื่อคณะอนุกรรมการฯพิจารณาเสร็จก็จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาหากเห็นว่าไม่มีมูลก็จะจำหน่ายเรื่องออก แต่ถ้าเห็นว่ามีมูลก็จะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนต่อไป ซึ่งในชั้นนี้จะมีการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบ เพื่อเข้าชี้แจงต่อไป"
นายสักเปิดเผยว่า นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเพิ่มอีก 1 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการร้องเรียนผ่านทาง คตส.มา รวมเป็นเรื่องที่ 9 ที่ คตส.รับไว้พิจารณา
นายแก้วสรรกล่าวว่า กรรมการคตส. 1 คนจะไปดูสำนวนทุจริตได้ 2 โครงการ ดังนั้นเฉลี่ยแล้วคณะกรรมการมี 11 คน ก็จะรับดูเรื่องได้ 22 เรื่องหรืออาจจะมากกว่านั้น และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบจะตั้ง 1 เรื่องต่อ 1 กอง ซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถ ไม่ซ้ำซ้อนกับกองอื่น และงานจะไม่จม ประกอบกับหากมีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบ และสามารถทำสำนวนเสนอว่ามีมูลพร้อมแจ้งข้อกล่าวหาและชี้มูลความผิด คณะอนุกรรมการตรวจสอบนั้นก็จะเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวน ซึ่งการทำงานในระบบนี้จะทำให้มีความยุติธรรมและช่วยบังคับตัวกรรมการ คตส.ด้วยที่ว่า ไม่แน่อย่าไปกล่าวหาเขา
"ผมจะไม่จับเฉพาะพญานาคอย่างเดียว จะจับทั้งงูเห่า ลูกน้ำ จับหมดถ้ารู้ว่าพัวพันเกี่ยวข้อง หากจะบินหนี เดี๋ยวนี้เขาใช้ระบบไฟฟ้าช็อตกันแล้ว ไม่จับทีละตัว"
นายแก้วสรร กล่าวอีกว่า ระเบียบคตส.ที่ที่ประชุมมีมติเห็นชอบไปคาดว่าไม่เกิน 1-2 วันนี้จะสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ความจริงตนอยากจะยกเลิกการตรวจสอบโดยการให้คณะอนุกรรมการไปหาข้อมูลเอง แล้วมารายงานให้ประธานอนุกรรมการ ถือว่าไม่ได้ประโยชน์ เสียเวลา และงานก็ไม่คืบ สืบไปสืบมา 2 ปีก็ไม่เสร็จ
สำหรับระเบียบ คตส.ที่คตส.เตรียมจะประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น รายงานข่าวระบุว่า วางระบบการทำงานไว้ เมื่อมีเรื่องร้องเรียนมา จะต้องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเพื่อมีมติรับเรื่อง ซึ่งครอบคลุมถึงสำนวนในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ หรือป.ป.ช. รวมถึงเรื่องที่ร้องเรียนหรือมีการชี้ช่องต่อคตส. หรือคตส.เห็นสมควรพิจารณาเอง จากนั้นคตส.จะตรวจสอบเบื้องต้น โดยจะตั้งกลุ่มตรวจสอบเบื้องต้นว่าต้องตรวจสอบในแนวทางใด ใช้ใคร ใช้เวลาเท่าใด ซึ่งทั้ง 8 โครงการอยู่ในขั้นนี้ซึ่งเรียกว่าขั้นประเมินรูปคดี จากนั้นคตส.จะตรวจสอบให้ได้มูลคดีและผู้ถูกกล่าวหา โดยจะมีการตั้งชุดตรวจสอบขึ้นมาเพื่อขุดค้นหามูลคดี เรียกผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลถึงพฤติกรรมตัวบุคคลที่น่าจะถูกกล่าวหา และหากพบว่าข้อมูลลึกและชัดเจนว่าบุคคลเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการทุจริต ก็จะเข้าสู่กระบวนการไต่สวน ตรงนี้จะชัดเจนโดยจะมีการแจ้งข้อกล่าวหาและให้บุคคลนั้นแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งจะมีการตั้งคณะอนุไต่สวนขึ้นมาเพื่อรับฟังข้อมูลเอกสาร พยาน ของผู้ถูกกล่าวหา โดยจะมีการชี้มูลว่ามีความผิดหรือไม่ จากนั้นจะเสนอเข้าที่ประชุมคตส.เพื่อมีมติ โดยเรื่องที่คตส.ชุดใหญ่เห็นว่ามีมูลโดยอาจจะฟ้งอคดีอาญาทุจริต ฟ้องยึดทรัพย์ ฟ้องความผิดตามกฎหมายเฉพาะให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายของรัฐให้จัดการวินัย
**แฉบ้านเอื้อฯ โกงมโหฬาร
แหล่งข่าวจากคตส. แจ้งว่า สำหรับโครงการที่ 9 ที่คตส. รับไว้พิจารณา คือ โครงการบ้านเอื้ออาทร ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การควบคุมของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้าไปตรวจสอบการดำเนินในเบื้องต้นแล้วพบว่าไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีการจัดซื้อที่ดินมีราคาสูงผิดปกติ
รายละเอียดที่สตง.พบนั้น คือ การเคหะฯได้ทำสัญญาซื้อที่ดินจากบริษัท กลอรีคอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวน 73 ไร่ ในราคาไร่ละ 850,000 บาท รวมเป็นเงิน 62 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร จังหวัดปราจีนบุรี (ดงพระราม) เมื่อปี2548 และเอกชนรายนี้ยังได้รับการว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรประเภทบ้านเดี่ยว 2 ชั้น 949 หน่วย ในพื้นที่เดียวกัน วงเงิน 334,343,000 บาท อีกด้วย
สำหรับบริษัท กลอรีคอนสตรัคชั่น จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งวันที่ 15 สิงหาคม 2533 มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ในช่วงแรกผู้บริหารระดับสูงพรรคไทยรักไทยคนหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และต่อมาวันที่ 30 ตุลาคม 2543 เขาก็ได้โอนหุ้นไปให้น้องสาวของตัวเอง จากนั้นจนถึงปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นหลายครั้งแต่ยังคงเป็นบุคคลในครอบครัวนักการเมืองดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
จากการตรวจของ สตง.สอบพบอีกว่า การจัดซื้อที่ดินดังกล่าวมีราคาสูงกว่าปกติ เพราะจากการตรวจสอบราคาประเมินของกรมที่ดินในปี 2548 ปรากฏว่ามีราคาเพียงไร่ละ 61,000 บาท ซึ่งเท่ากับการจัดซื้อที่ดินในราคาสูงกว่าราคาประเมินมากกว่า 10 เท่า และการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรทั้งหมดกราเคหะฯได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้เอกชนที่ร่วมดำเนินโครงการ หน่วยละ 80,000 บาท ส่งผลให้การเคหะฯได้รับความเสียหาย
นอกจากนี้ สตง.ยังได้ตั้งข้อสังเกตุต่อว่า ในบางจังหวัดมีการเปิดโครงการนี้เพิ่มขึ้นมากจนผิดปกติ โดยในช่วงเดือนมกราคม 2549 ที่ผ่านมา การเคหะฯได้เซ็นสัญญาซื้อโครงการบ้านเอื้ออาทรจากบริษัท กลอรีคอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัท กลอรีแมเนจเม้นท์ จำกัด รวม 23,000 ยูนิตมูลค่าประมาณหมื่นล้านบาท ในเรื่องนี้สตง.ตั้งใจไว้ว่าจะส่งรายงานฉบับนี้ให้กับคตส.ตั้งแต่ที่มีนายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธาน แล้วในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จ.ปราจีนบุรีซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของอดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทยคนหนึ่ง โดยมีโครงการบ้านเอื้ออาทรถึง 9 โครงการ โดยมีเอกชนได้รับการว่าจ้างอีก 4 ราย นอกเหนือไปจากบริษัท กลอรีคอนสตรัคชั่น จำกัด คือ บริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด, บริษัท บางกอก วี.เอ.แมชชีนเนอร์รี่, บริษัท ศุภผลบ้านและที่ดิน จำกัด และบริษัท ไพศาล อินเตอร์เนชั่นแนล สวิทช์เกียร์ จำกัด
1.โครงการบ้านเอื้ออาทร โดยบริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้แก่ โครงการบ้านเอื้ออาทร ตำบลเมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี การเคหะฯซื้อที่ดินจากบริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 22,814,262.50 บาท และจ้างก่อสร้างอาคารบ้านเดี่ยว 2 ชั้น รวม 498 หน่วย พร้อมทั้งการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และอื่นๆ วงเงิน 181,112,737.50 บาท, ก่อสร้างอาคารศูนย์ชุมชนแบบ A-1 พร้อมสนามเด็กเล่นและอื่นๆ โดยบริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ 3,795,000 บาท โครงการร่วมดำเนินกิจการโครงการบ้านเอื้ออาทร จ.สระแก้ว (อรัญประเทศ) และปราจีนบุรี (กบินทร์บุรี) 930 หน่วย (อาคารบ้านเดี่ยว 2 ชั้น) วงเงิน 390,600,000 บาท
บริษัท อลิอันซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งวันที่ 11 สิงหาคม 2546 ทุนเริ่มแรก 10 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2549 เพิ่มทุนเป็น 20 ล้านบาท ประกอบธุรกิจจัดสรรอาคารพาณิชย์ ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ที่ตั้งเลขที่ 160/4 หมู่ที่ 9 ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี มีนายธวัช ทุวิรัต ถือหุ้นใหญ่
2.โครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท บางกอก วี.เอ.แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด ได้แก่ โครงการบ้านเอื้ออาทร จังหวัดปราจีนบุรี โครงการ 3/2 วงเงิน 112,900,000 บาท บริษัท บางกอก วี.เอ.แมชชีนเนอร์รี่ แอนด์ พาร์ทส์ จำกัด มีนางพิมไพร ยิ้มศิริ นายสมชาย ยิ้มศิริ และ นายสมชาย โฆษินทร์เดชา เป็นกรรมการ
3.โครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท ศุภผลบ้านและที่ดิน จำกัด ได้แก่ โครงการบ้านเอื้ออาทร อำเภอกบินทร์บุรี มีวงเงิน 164,567,800 บาท และก่อสร้างอาคารศูนย์ชุมชนแบบ A-1 พร้อมสนามเด็กเล่นและอื่นๆ อีก 3,795,000 บาท บริษัท ศุภผลบ้านและที่ดิน จดทะเบียนก่อตั้ง 9 เมษายน 2546 มีนายผล โรจนสกุล ถือหุ้นใหญ่
4.โครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท ไพศาล อินเตอร์เนชั่นแนลสวิทช์เกียร์ จำกัด ได้แก่ การเคหะฯซื้อที่ดินตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการโครงการบ้านเอื้ออาทรจังหวัดปราจีนบุรี (ท่าตูม) วงเงิน 66,000,000 บาท และจ้างก่อสร้างอาคารบ้านเดี่ยว 2 ชั้น จำนวน 1,100 หน่วย วงเงิน 390,500,000 บาท บริษัท ไพศาล อินเตอร์เนชั่นแนลฯ มีนางปิยนาถ ยมทัต นายสมชาย ศิริโรจน์วิสุทธิ์ นางอมรา ศิริโรจน์วิสุทธิ์ ว่าที่ร้อยตรีนพพร แพงศุข และนายอานุภาพ ทิพพะพาทย์ เป็นกรรมการ
ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่มีปัญหาความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ ผู้ว่าการการเคหะฯ ยืนยันมาตลอดว่าโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นไปอย่างโปร่งใสทุกขั้นตอน โดยตอนนี้นางชวนพิศ เป็นหนึ่งในสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยในสัดส่วนผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
สำหรับอดีตรมว.กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการบ้านเอื้ออาทรประกอบด้วยนาย อนุรักษ์ จุรีมาศ จากพรรคชาติไทย,นายสรอรรถ กลิ่นประทุมและนาย วัฒนา เมืองสุข จากพรรคไทยรักไทย ส่วนนาง ชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ เป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ
สำหรับนางชวนพิศพบว่าปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งจาก คมช.ให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย โดยนางชวนพิศเป็นหนึ่งในนักศึกษาวปอ.รุ่น 41 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับพลเอกวินัย ภัทริยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมและพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ.และรองประธานคมช.
**สตง.ลุยโกง 2 เขื่อนยักษ์
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มี นายพรชัย รุจิประภา รองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำเป็นส่วนใหญ่จากประเทศพม่า ลาว และจีน ซึ่งในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงรับซื้อไฟฟ้าไปหลายโครงการแล้ว
ทั้งนี้ การลงนามในบันทึกข้อตกลงเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านนั้นไม่มีความโปร่งใสหลายประการ เช่น ราคารับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นการตกลงกันเอง หากต้องการให้เกิดความโปร่งใสควรจะเปิดประมูลเพื่อแข่งขันด้านราคา ไม่ใช่กระทรวงพลังงานไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านแล้วดึงบริษัทเอกชนที่มีผลประโยชน์เข้าไปรับร่วมทุน และรับงานก่อสร้างเมื่อเสร็จแล้วก็ขายไฟฟ้ากลับมาให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
สำหรับโครงการกระทรวงพลังงานสามารถผลักดัน และมีการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไปแล้ว คือ โครงการเขื่อนน้ำงึม 2 เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทช.การช่างฯ อย่างชัดเจน เพราะบริษัทช.การช่าง เป็นทั้งผู้รับเหมาก่อสร้างเขื่อนน้ำงึม และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโครงการอีก
ทั้งนี้ เขื่อนน้ำงึม 2 มีมูลค่าการก่อสร้าง 31,600 ล้านบาท เป็นการร่วมทุนระหว่างสปป.ลาว และบริษัท เซ้าธ์อีสต์ เอเชีย เอ็นเนอร์จี มีบริษัทช.การช่างถือหุ้นใหญ่รวมประมาณ 41 % มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 615 เมกะวัตต์ อายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 32 ปี ในราคา 1.99 บาท/หน่วย รวมมูลค่าตลอดอายุสัญญาหลายแสนล้านบาท
นอกจากนี้ นายพรชัย ยังเร่งเจรจาเพื่อผลักดันให้เกิดการลงนามในบันทึกข้อตกลงทั้งในเรื่องการลงทุน และรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง โดยล่าสุดได้ขอให้กฟผ. ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนฮัตจี ประเทศพม่า ซึ่งขณะนี้กำลังถูกองค์กรพัฒนาเอกชน โดนเฉพาะองค์กรเครือข่ายเฝ้าระวังแม่น้ำสาละวินต่อต้านอย่างหนัก เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนฮัตจี บางส่วนเป็นพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย โดยล่าสุดทีมเจ้าหน้าที่สำรวจจุดก่อสร้างของกฟผ.ก็เหยียบกับระเบิดที่ชนกลุ่มน้อยวางไว้เสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย
ส่วนโครงการเขื่อนฮัตจี ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ เป็นโครงการ่วมทุนระหว่างกฟผ. ถือหุ้น 45 % บริษัท ไซโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น รัฐวิสาหกิจจากประเทศจีน ถือหุ้น 40 % และรัฐบาลพม่า ถือหุ้น 15 % ลักษณะโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนฮัตจี มีความสูง 40 เมตร ยางประมาณ 692 เมตร ใช้เงินลงทุน 44,100 ล้านบาท ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 1.60บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ให้ผลตอบแทนการลงทุน 19 % และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ 1.40 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยใช้เงินเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทางเครือข่ายเฝ้าระวังแม่น้ำสาละวิน ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านโครงการดังกล่าว เนื่องจากโครงการเขื่อนฮัตจี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่มีการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งจะเป็นการปูทางให้รับบาลพม่าสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการส่งกำลังทหาร และจัดตั้งฐานทัพในเขตชนกลุ่มน้อย เพื่อคุ้มครองชุดเจ้าหน้าที่ในการสำรวจจุดก่อสร้างและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
"เหตุที่นายพรชัยเร่งผลักดันโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะย่านอินโดจีน เนื่องจากสมัยที่เคยเป็นรองเลขาธิการ สภาพัฒน์ฯ ทำโครงการทางหลวงหมายเลข 8 ซึ่งเป็นทางหลวงเพื่อเชื่อมประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลประเทศต่างๆ ในอินโดจีน และบริษัทเอกชนของไทยที่รับเหมาก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 8 จึงเป็นที่มาของโครงการเขื่อนต่างๆในอินโดจีน และบริษัทเอกชนไทยบางรายที่เข้ามาร่วมทุน"
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีแผนจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำให้มากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ โดยจะเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศพม่า ลาว และประเทศจีน โดยจะเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านจาก 5 % เป็น 14 % ในอีก 15 ปีข้างหน้า
สำหรับแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งสิ้น 12,505 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น ต้องการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาว จำนวน 3,985 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เขื่อนน้ำงึม 2 ขนาด 615 เมกะวัตต์ เขื่อนน้ำเทิน 1 ขนาด 460 เมกะวัตต์ เขื่อนเทินหินบุนส่วนขยาย ขนาด 400 เมกะวัตต์ เขื่อนน้ำงึม 3 ขนาด 460 เมกะวัตต์ เขื่อนน้ำเงียบ ขนาด 260 เมกะวัตต์ เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย ขนาด 390 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ประเทศพม่า จำนวน 5,520 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เขื่อนฮัตจี ขนาด 600 เมกะวัตต์ เขื่อนตะนาวศรี ขนาด 720 เมกะวัตต์ และเขื่อนท่าซาง ขนาด 4,200 เมกะวัตต์ ส่วนประเทศจีน เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาด 3,000 เมกะวัตต์
**ปปช.เผยซุกหุ้นชินคอร์ปใกล้จบ
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ปปช. กล่าวว่า การไต่สวนในกรณีการซุกหุ้นชินคอร์ป 1 ที่ค้างอยู่ในขั้นตอนของคณะอนุกรรมการ ปปช.ใกล้จะแล้วเสร็จ ซึ่งหากได้ข้อสรุปแล้วก็จะสามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ปปช.เพื่อชี้มูลความผิดได้
"แม้เกือบ 2 ปีที่ผ่านมาจะไม่มีคณะกรรมการ ปปช. แต่ระดับเจ้าหน้าที่ยังคงดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ท่านประธาน ปปช. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ต้องการให้ผลออกมาเร็ว ให้ภาพออกมาว่าเราไม่ได้ละทิ้ง ที่ทิ้งช่วงไปเพราะขาดส่วนหัวเป็นเวลา 1 ปี 11 เดือน แต่ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่หยุด เขาก็ทำเรื่อยมาใกล้สรุปแล้ว รออีกนิด" นายวิชา กล่าว
คดีซุกหุ้นชินคอร์ป 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 40 เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการไต่สวนของ ปปช.ตั้งแต่ปี 46 แต่จากนั้นเป็นช่วงที่ไม่มีคณะกรรมการ ปปช.เกือบ 2 ปี ทำให้ยังไม่สามารถนำผลสรุปที่ได้จากชั้นคณะอนุกรรมการไต่สวนเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ปปช.ได้ ทั้งนี้ ประเด็นที่มีการไต่สวนคือเมื่อ พ.ย.40 มีการโอนหุ้นบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น(SHIN)จำนวน 738 ล้านบาทจากคนสนิทของคุณหญิงพจมาน ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ไปให้แก่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน โดยไม่เสียภาษี ซึ่งเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ชั้นไต่สวนของ ปปช.เมื่อปี 46
**แม้วยังไม่แจ้งบัญชีรวยให้ ป.ป.ช.
รายงานข่าวระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ส่งเอกสารและแสดงบัญชีทรัพย์สินแต่อย่างใด มีเพียงอดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณยื่นเอกสารมาแล้ว 27 ราย
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. แสดงความเห็นว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสมควรต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเพราะปฎิบัติหน้าที่เสมือน ส.ว. โดยเรื่องดังกล่าวอาจจะนำเข้าหารือในที่ประชุม ป.ป..ช. ส่วนความคืบหน้า ครม.ทักษิณที่ต้องส่งเอกสารแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายในวันที่18 ต.ค.นี้ จะมีการหารือเรื่องดังกล่าวอักครั้งในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในวันที่ 19 ต.ค.นี้
**ค่าปรับไอทีวีถึงมือเลขาฯ นายกฯ
รายงานข่าวจากสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ขณะนี้สำนักปลัดฯ สปน. ได้ส่งเรื่องปัญหาสัมปทานบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ให้กับพล.อ.พงษ์เทพ เทพประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยเฉพาะข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งมายัง สปน. เรื่องวินิจฉัยข้อถกเถียงในประเด็นค่าปรับผังรายการ 76,000 ล้านบาท กรณีไอทีวีผิดสัญญา รวมทั้งข้อมูลเชิงลับสมัยพล.ต.ต.พีระพันธุ์ เปรมะภูติ อดีตปลัดฯ เป็นประธานสอบสวน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันที่ 19 ต.ค. นี้ นายรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการ ครม. ปฏิบัติราชการปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานกรณีสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอฟเอช โดยจะหารือกันในรายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายหลังมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล
**ปปง.รับลูกชาญชัยลุยคดีโกง
พ.ต.อ.ยุทธบูล ดิสสะมาน รักษาการเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นำคณะผู้บริหารสำนักคดีต่างๆ เข้าพบ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อรายงานผลการดำเนินการด้านยึดอายัดทรัพย์ในคดีฟอกเงิน และหารือปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
พ.ต.อ.ยุทธบูล กล่าวว่า รัฐมนตรีและปลัดฯ ให้เน้นเรื่องการทำคดีสำคัญๆ โดยให้ ปปง.ปรับวิธีทำงาน หาความร่วมมือกับประชาชนให้มาก โดยได้มอบนโยบายให้ ปปง.เน้นคดีการกระทำความผิดทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งมีคดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของ ปปง.หลายคดี หาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ก็จะเข้ายึดอายัดทรัพย์ทันที
ต่อข้อถามถึงการยึดอายัดทรัพย์สินโครงการทุจริตของรัฐบาลที่แล้ว พ.ต.อ.ยุทธบูล กล่าวว่า ปปง.ไม่ได้เป็นคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน และยังไม่มีการประสานขอความร่วมมือให้ ปปง.เข้าไปช่วยตรวจสอบเส้นทางการเงินของกลุ่มบุคคลใด เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีอำนาจที่จะตรวจสอบและยึดอายัดทรัพย์สินได้เอง