นอร์เวย์จัดแสดงนิทรรศการรักร่วมเพศในหมู่สัตว์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลก และอาจเป็นหลักฐานยืนยันว่า พฤติกรรมโฮโมเซ็กชวลของมนุษย์ไม่ควรถูกมองว่าเป็นสิ่งผิดธรรมชาติ
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงออสโลจัดแสดงเอกสารและภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมของเกย์และเลสเบี้ยนในหมู่ยีราฟ เพนกวิน นกแก้ว เต่าทอง ปลาวาฬ และสัตว์อีกมากมาย ตั้งแต่วันพฤหัสฯที่ผ่านมา (12)
"เราอาจคิดได้หลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ พฤติกรรมรักร่วมเพศพบได้ทั่วไปในหมู่สัตว์โลก จึงไม่ใช่สิ่งผิดธรรมชาติแต่อย่างใด"
แกร์ โซลี ผู้รับผิดชอบการจัดนิทรรศการ 'ผิดธรรมชาติ' กล่าวว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศปรากฏให้เห็นในสัตว์กว่า 1,500 สายพันธุ์ โดยในจำนวนนี้มี 500 สายพันธุ์ที่มีหลักฐานยืนยัน
ทางด้านพิพิธภัณฑ์กล่าวว่า นี่เป็นนิทรรศการว่าด้วยประเด็นรักร่วมเพศในหมู่สัตว์ครั้งแรกของโลก ขณะที่โซลีเสริมว่า ก่อนหน้านี้สวนสัตว์แห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์เคยจัดทัวร์ชมพฤติกรรมรักร่วมเพศในหมู่สัตว์มาแล้ว
"สัตว์มีแรงขับทางเพศสูง มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต" โซลีกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมโฮโมเซ็กชวลและไบเซ็กชวลในสัตว์
มุมหนึ่งของนิทรรศการเป็นภาพห่านสตาฟฟ์สองตัวในรัง แสดงให้เห็นว่าบางครั้งสัตว์ปีกถูกเลี้ยงดูโดยคู่รักร่วมเพศ หรือตัวเมียทิ้งตัวผู้ หรือยกไข่ให้ตัวผู้สองตัวที่อยู่กินกัน
ภายในนิทรรศการยังมีภาพยีราฟตัวผู้สองตัวคลอเคลียกัน และภาพที่เผยให้เห็นพฤติกรรมรักร่วมเพศของเต่าทอง
โซลีบอกว่า นิทรรศการนี้ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาลนอร์เวย์ สร้างความกราดเกรี้ยวให้กับผู้เคร่งศาสนาคริสต์ ที่สาปแช่งขอให้ผู้จัดตกนรกหมกไหม้
อนึ่ง แม้กฎหมายของบางประเทศยังนิยามคำว่า รักร่วมเพศ เป็นอาชญากรรมต่อธรรมชาติ แต่ว่าที่จริงพฤติกรรมนี้เป็นสิ่งที่อยู่คู่โลกมาช้านาน
อริสโตเติล ปราชญ์ยุคกรีก ตั้งข้อสังเกตไว้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศในหมู่ไฮยีนาเมื่อ 2,300 ปีที่แล้ว แต่บ่อยครั้งที่นักวิจัยเมินเฉยต่อหลักฐานเรื่องนี้ เพราะไม่ใส่ใจ หรืออาจกลัวที่จะถูกหัวเราะเยาะ
โซลีสำทับว่า ชิมแปนซีพันธุ์โบโนโบทั้งหมดล้วนมีพฤติกรรมไบเซ็กชวล เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ในสังคม
กระนั้น ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่า เหตุใดพฤติกรรมรักร่วมเพศยังปรากฏอยู่ ทั้งที่ดูเหมือนว่าน่าจะทำให้สัตว์สูญพันธุ์
ทฤษฎีหนึ่งที่สามารถนำมาอธิบายได้คือ บางครั้งสัตว์ตัวผู้จะได้รับการยอมรับในฝูงมากขึ้นหากมีความสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และทำให้มีโอกาสมากขึ้นในภายหลังในการจับคู่กับตัวเมีย
นอกจากนั้น จากการศึกษาชายที่ชอบไม้ป่าเดียวกันในอิตาลียังพบว่า แม่และพี่น้องผู้หญิงของคนเหล่านั้นมีลูกมาก บ่งชี้ว่า ยีนเดียวกันกับที่ทำให้เกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศในผู้ชาย อาจทำให้ผู้หญิงมีลูกดก
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงออสโลจัดแสดงเอกสารและภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมของเกย์และเลสเบี้ยนในหมู่ยีราฟ เพนกวิน นกแก้ว เต่าทอง ปลาวาฬ และสัตว์อีกมากมาย ตั้งแต่วันพฤหัสฯที่ผ่านมา (12)
"เราอาจคิดได้หลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ พฤติกรรมรักร่วมเพศพบได้ทั่วไปในหมู่สัตว์โลก จึงไม่ใช่สิ่งผิดธรรมชาติแต่อย่างใด"
แกร์ โซลี ผู้รับผิดชอบการจัดนิทรรศการ 'ผิดธรรมชาติ' กล่าวว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศปรากฏให้เห็นในสัตว์กว่า 1,500 สายพันธุ์ โดยในจำนวนนี้มี 500 สายพันธุ์ที่มีหลักฐานยืนยัน
ทางด้านพิพิธภัณฑ์กล่าวว่า นี่เป็นนิทรรศการว่าด้วยประเด็นรักร่วมเพศในหมู่สัตว์ครั้งแรกของโลก ขณะที่โซลีเสริมว่า ก่อนหน้านี้สวนสัตว์แห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์เคยจัดทัวร์ชมพฤติกรรมรักร่วมเพศในหมู่สัตว์มาแล้ว
"สัตว์มีแรงขับทางเพศสูง มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต" โซลีกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมโฮโมเซ็กชวลและไบเซ็กชวลในสัตว์
มุมหนึ่งของนิทรรศการเป็นภาพห่านสตาฟฟ์สองตัวในรัง แสดงให้เห็นว่าบางครั้งสัตว์ปีกถูกเลี้ยงดูโดยคู่รักร่วมเพศ หรือตัวเมียทิ้งตัวผู้ หรือยกไข่ให้ตัวผู้สองตัวที่อยู่กินกัน
ภายในนิทรรศการยังมีภาพยีราฟตัวผู้สองตัวคลอเคลียกัน และภาพที่เผยให้เห็นพฤติกรรมรักร่วมเพศของเต่าทอง
โซลีบอกว่า นิทรรศการนี้ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาลนอร์เวย์ สร้างความกราดเกรี้ยวให้กับผู้เคร่งศาสนาคริสต์ ที่สาปแช่งขอให้ผู้จัดตกนรกหมกไหม้
อนึ่ง แม้กฎหมายของบางประเทศยังนิยามคำว่า รักร่วมเพศ เป็นอาชญากรรมต่อธรรมชาติ แต่ว่าที่จริงพฤติกรรมนี้เป็นสิ่งที่อยู่คู่โลกมาช้านาน
อริสโตเติล ปราชญ์ยุคกรีก ตั้งข้อสังเกตไว้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศในหมู่ไฮยีนาเมื่อ 2,300 ปีที่แล้ว แต่บ่อยครั้งที่นักวิจัยเมินเฉยต่อหลักฐานเรื่องนี้ เพราะไม่ใส่ใจ หรืออาจกลัวที่จะถูกหัวเราะเยาะ
โซลีสำทับว่า ชิมแปนซีพันธุ์โบโนโบทั้งหมดล้วนมีพฤติกรรมไบเซ็กชวล เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ในสังคม
กระนั้น ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่า เหตุใดพฤติกรรมรักร่วมเพศยังปรากฏอยู่ ทั้งที่ดูเหมือนว่าน่าจะทำให้สัตว์สูญพันธุ์
ทฤษฎีหนึ่งที่สามารถนำมาอธิบายได้คือ บางครั้งสัตว์ตัวผู้จะได้รับการยอมรับในฝูงมากขึ้นหากมีความสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และทำให้มีโอกาสมากขึ้นในภายหลังในการจับคู่กับตัวเมีย
นอกจากนั้น จากการศึกษาชายที่ชอบไม้ป่าเดียวกันในอิตาลียังพบว่า แม่และพี่น้องผู้หญิงของคนเหล่านั้นมีลูกมาก บ่งชี้ว่า ยีนเดียวกันกับที่ทำให้เกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศในผู้ชาย อาจทำให้ผู้หญิงมีลูกดก