ผู้อ่านท่านหนึ่งแสดงความเห็นมาทางเว็บไซต์ยอดนิยมของ “ผู้จัดการ” เปรียบความเป็นเผด็จการและช่วงเป็นประชาธิปไตยว่า
“ยุคระบอบทักษิณมีอำนาจนั้น ความเป็นประชาธิปไตยมีวันเดียว คือวันที่ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่หลังจากนั้นมีสภาพเป็นเผด็จการ
ยุคคณะปฏิรูปการปกครองฯ เป็นเผด็จการวันเดียวที่ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ แต่หลังจากนั้นสังคมทั่วไปยังมีสภาพเป็นประชาธิปไตย”
ประชาชนมีความรู้สึกเป็นปกติ เพราะขนาดอยู่ในภาวะใช้กฎอัยการศึก ก็ยังเห็นมีบางคนไปถือป้ายคัดค้านการการล้มรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้โดยไม่ถูกจับกุมเหมือนยุคอดีต
แต่นั่นก็เป็นการแสดงออกอย่างสันติตามสิทธิในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคณะปฏิวัติในนามคณะปฏิรูปการปกครองฯ และปัจจุบันได้กลายมาเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรีที่นำโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ คงเข้าใจดีว่าความรู้สึกการหวงแหนสิทธิเสรีภาพในหมู่ผู้ตื่นตัวทางการเมืองของสังคมไทยได้พัฒนาและสั่งสมเป็นจิตวิญญาณประชาธิปไตยค่อนข้างมาก
พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทยนับจาก 2516 ที่เพิ่งมีงานรำลึกและสดุดีวีรกรรม ครบรอบ 33 ปี เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้ผ่านอุปสรรคมากมาย จนอาจกล่าวได้ว่ามีการพัฒนาไปมากแล้ว และจะไม่ยอมให้หวนกลับไปเริ่มต้นใหม่
แต่ระบอบประชาธิปไตยที่ถูกครอบงำให้กลายเป็นระบอบทักษิณ ก็เป็นความเลวร้ายที่จำแลงมาแบบหนึ่ง
นี่ยังนับว่า โชคดีของสังคมและประเทศที่มีการทุจริตและประพฤติฉ้อฉลต่อระบบต่างๆ เพื่อกอบโกยหาผลประโยชน์แก่ครอบครัวและพวกพ้องเป็นไปโดยละโมบ ชนิดไม่บันยะบันยัง และกินรวบจนเห็นผลร้ายชัดเจนและรวดเร็วไปทุกวงการ
มิฉะนั้นการครองอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจจะสั่งสมพลังมหาศาลเกินกว่าสถาบันใดจะล้มล้างได้
ความวิกฤติของชาติระดับนี้เอง เมื่อกำลังทหารในการนำของคณะปฏิรูปการปกครองฯ เข้ายึดอำนาจ ประชาชนจึงพากันยอมรับและยอมยกเว้นให้ผิดหลักการกติกาประชาธิปไตยเพื่อล้มอำนาจเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้ง
อุปมาเหมือนยอมให้ทหารพังประตูบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้เพื่อขึ้นไปช่วยเด็ก ให้รอดชีวิตออกมา แต่หลังจากนั้นก็ต้องรีบช่วยดับไฟ และจัดการกับคนร้ายที่จุดไฟเผาบ้าน
รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติกำลังพิสูจน์ความตั้งใจจริง ท่ามกลางการคาดหวังและจับตาดูของประชาชน
แม้แต่กลุ่มที่คัดค้านการปฏิวัติคราวนี้ ในที่สุดก็อาจเข้าใจ เพราะรัฐธรรมนูญโดยเนื้อแท้ได้ถูกระบอบทักษิณละเมิดทำลายไปนานแล้ว การยกเลิกเพื่อการจัดการ “ปฏิรูป” ครั้งใหม่จึงเป็นวิธีการหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่หมักหมมหลายอย่างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังให้ถูกจุด ก็เพราะนักการเมือง “ไม่กล้า”
เพราะห่วงเรื่องผลประโยชน์ บุญคุณ และคะแนนเสียง
ยิ่งมีผลประโยชน์แอบแฝง หรือการสร้างนโยบายเพื่อหาผลประโยชน์ให้พวกพ้องอย่างรัฐบาลที่แล้ว การแก้ปัญหานอกจากถูกเบี่ยงเบน แก้ไม่ตรงจุดแล้ว บางครั้งก็สร้างปัญหาใหม่ซ้ำเติม
รัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งที่มีที่มาจากคณะปฏิรูปการปกครองฯ ก็น่าจะ “มีความกล้า” เพราะมีข้อผูกพันในการต่อยอดหลังการปฏิวัติ
1 ปี ของคณะรัฐบาลชุดนี้ จึงไม่ควรมีสภาพ “รักษาการณ์” เพื่อรอส่งไม้ให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งครั้งใหม่
ถ้าจะไม่ให้เกิด “ระบอบทักษิณ 2” ตามมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะต้องกำหนดเป็นเป้าหมายที่จะ “ยกเครื่องประเทศไทย” เพื่อฟื้นฟูเยียวยาความเสียหาย เนื่องจากคนในระบอบทักษิณและการพัฒนาแนวทุนนิยมเสรีจ๋าโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและการขาดคุณธรรมในระบบการบริหาร
เพื่อให้สมเจตนาดีต่อประเทศชาติ และเกิดผลคุ้มค่าจากการยอมผิดกติกา ให้ทหารเข้ายึดอำนาจ ล้มรับาลที่มักอ้างการมาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีสุขอย่างยั่งยืน
รัฐบาลที่เป็นผลมาจากอำนาจทหาร ถ้ามีนโยบายในเชิงรุกเพื่อสร้างกลไกแก้ไขปัญหาที่ส่งผลวิกฤติต่อระบบต่างๆ ของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีได้
ก็น่ายินดีที่ผู้นำรัฐบาลได้แสดงแนวคิดที่ดี ผ่านการแถลงว่า
“การบริหารประเทศ จะดำเนินการแบบเศรษฐกิจพอเพียง และนำแผนพัฒนาฉบับที่ 10 มาใช้ ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่อง
ประชาชนต้องมีความเข้มแข็ง ที่ผ่านมาประชาชนมีส่วนร่วมเฉพาะเรื่องการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่ได้พัฒนาความคิด ดังนั้นเราต้องช่วยกัน รวมทั้งจะรณรงค์ไม่ให้ใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เวลา 1 ปี ไม่ใช่พูดอย่างเดียว แต่ต้องทำอย่างจริงจัง
ได้ย้ำกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้พัฒนาด้านการศึกษาให้ได้มาตรฐานและสอนอย่างมีเหตุผล มีหลักธรรม เพราะปัญหาความเป็นธรรมเป็นเรื่องใหญ่ และต้องสร้างกระบวนการยุติธรรมให้มีมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน”
นี่เป็นคำมั่นสัญญาจากหัวหน้ารัฐบาลที่น่าอุ่นใจ
รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ซึ่งฟังดูดีแต่กระทำการเลวก็เห็นมาแล้ว รัฐบาลนี้มาจากการแต่งตั้งก็จริง ถ้าจะพิสูจน์รสชาติ “ขิงแก่” ได้ผล ก็จะเป็นเกียรติประวัติ
“ยุคระบอบทักษิณมีอำนาจนั้น ความเป็นประชาธิปไตยมีวันเดียว คือวันที่ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่หลังจากนั้นมีสภาพเป็นเผด็จการ
ยุคคณะปฏิรูปการปกครองฯ เป็นเผด็จการวันเดียวที่ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ แต่หลังจากนั้นสังคมทั่วไปยังมีสภาพเป็นประชาธิปไตย”
ประชาชนมีความรู้สึกเป็นปกติ เพราะขนาดอยู่ในภาวะใช้กฎอัยการศึก ก็ยังเห็นมีบางคนไปถือป้ายคัดค้านการการล้มรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้โดยไม่ถูกจับกุมเหมือนยุคอดีต
แต่นั่นก็เป็นการแสดงออกอย่างสันติตามสิทธิในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคณะปฏิวัติในนามคณะปฏิรูปการปกครองฯ และปัจจุบันได้กลายมาเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรีที่นำโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ คงเข้าใจดีว่าความรู้สึกการหวงแหนสิทธิเสรีภาพในหมู่ผู้ตื่นตัวทางการเมืองของสังคมไทยได้พัฒนาและสั่งสมเป็นจิตวิญญาณประชาธิปไตยค่อนข้างมาก
พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทยนับจาก 2516 ที่เพิ่งมีงานรำลึกและสดุดีวีรกรรม ครบรอบ 33 ปี เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้ผ่านอุปสรรคมากมาย จนอาจกล่าวได้ว่ามีการพัฒนาไปมากแล้ว และจะไม่ยอมให้หวนกลับไปเริ่มต้นใหม่
แต่ระบอบประชาธิปไตยที่ถูกครอบงำให้กลายเป็นระบอบทักษิณ ก็เป็นความเลวร้ายที่จำแลงมาแบบหนึ่ง
นี่ยังนับว่า โชคดีของสังคมและประเทศที่มีการทุจริตและประพฤติฉ้อฉลต่อระบบต่างๆ เพื่อกอบโกยหาผลประโยชน์แก่ครอบครัวและพวกพ้องเป็นไปโดยละโมบ ชนิดไม่บันยะบันยัง และกินรวบจนเห็นผลร้ายชัดเจนและรวดเร็วไปทุกวงการ
มิฉะนั้นการครองอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจจะสั่งสมพลังมหาศาลเกินกว่าสถาบันใดจะล้มล้างได้
ความวิกฤติของชาติระดับนี้เอง เมื่อกำลังทหารในการนำของคณะปฏิรูปการปกครองฯ เข้ายึดอำนาจ ประชาชนจึงพากันยอมรับและยอมยกเว้นให้ผิดหลักการกติกาประชาธิปไตยเพื่อล้มอำนาจเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้ง
อุปมาเหมือนยอมให้ทหารพังประตูบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้เพื่อขึ้นไปช่วยเด็ก ให้รอดชีวิตออกมา แต่หลังจากนั้นก็ต้องรีบช่วยดับไฟ และจัดการกับคนร้ายที่จุดไฟเผาบ้าน
รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติกำลังพิสูจน์ความตั้งใจจริง ท่ามกลางการคาดหวังและจับตาดูของประชาชน
แม้แต่กลุ่มที่คัดค้านการปฏิวัติคราวนี้ ในที่สุดก็อาจเข้าใจ เพราะรัฐธรรมนูญโดยเนื้อแท้ได้ถูกระบอบทักษิณละเมิดทำลายไปนานแล้ว การยกเลิกเพื่อการจัดการ “ปฏิรูป” ครั้งใหม่จึงเป็นวิธีการหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่หมักหมมหลายอย่างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังให้ถูกจุด ก็เพราะนักการเมือง “ไม่กล้า”
เพราะห่วงเรื่องผลประโยชน์ บุญคุณ และคะแนนเสียง
ยิ่งมีผลประโยชน์แอบแฝง หรือการสร้างนโยบายเพื่อหาผลประโยชน์ให้พวกพ้องอย่างรัฐบาลที่แล้ว การแก้ปัญหานอกจากถูกเบี่ยงเบน แก้ไม่ตรงจุดแล้ว บางครั้งก็สร้างปัญหาใหม่ซ้ำเติม
รัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งที่มีที่มาจากคณะปฏิรูปการปกครองฯ ก็น่าจะ “มีความกล้า” เพราะมีข้อผูกพันในการต่อยอดหลังการปฏิวัติ
1 ปี ของคณะรัฐบาลชุดนี้ จึงไม่ควรมีสภาพ “รักษาการณ์” เพื่อรอส่งไม้ให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งครั้งใหม่
ถ้าจะไม่ให้เกิด “ระบอบทักษิณ 2” ตามมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะต้องกำหนดเป็นเป้าหมายที่จะ “ยกเครื่องประเทศไทย” เพื่อฟื้นฟูเยียวยาความเสียหาย เนื่องจากคนในระบอบทักษิณและการพัฒนาแนวทุนนิยมเสรีจ๋าโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและการขาดคุณธรรมในระบบการบริหาร
เพื่อให้สมเจตนาดีต่อประเทศชาติ และเกิดผลคุ้มค่าจากการยอมผิดกติกา ให้ทหารเข้ายึดอำนาจ ล้มรับาลที่มักอ้างการมาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีสุขอย่างยั่งยืน
รัฐบาลที่เป็นผลมาจากอำนาจทหาร ถ้ามีนโยบายในเชิงรุกเพื่อสร้างกลไกแก้ไขปัญหาที่ส่งผลวิกฤติต่อระบบต่างๆ ของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีได้
ก็น่ายินดีที่ผู้นำรัฐบาลได้แสดงแนวคิดที่ดี ผ่านการแถลงว่า
“การบริหารประเทศ จะดำเนินการแบบเศรษฐกิจพอเพียง และนำแผนพัฒนาฉบับที่ 10 มาใช้ ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่อง
ประชาชนต้องมีความเข้มแข็ง ที่ผ่านมาประชาชนมีส่วนร่วมเฉพาะเรื่องการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่ได้พัฒนาความคิด ดังนั้นเราต้องช่วยกัน รวมทั้งจะรณรงค์ไม่ให้ใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เวลา 1 ปี ไม่ใช่พูดอย่างเดียว แต่ต้องทำอย่างจริงจัง
ได้ย้ำกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้พัฒนาด้านการศึกษาให้ได้มาตรฐานและสอนอย่างมีเหตุผล มีหลักธรรม เพราะปัญหาความเป็นธรรมเป็นเรื่องใหญ่ และต้องสร้างกระบวนการยุติธรรมให้มีมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน”
นี่เป็นคำมั่นสัญญาจากหัวหน้ารัฐบาลที่น่าอุ่นใจ
รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ซึ่งฟังดูดีแต่กระทำการเลวก็เห็นมาแล้ว รัฐบาลนี้มาจากการแต่งตั้งก็จริง ถ้าจะพิสูจน์รสชาติ “ขิงแก่” ได้ผล ก็จะเป็นเกียรติประวัติ