พิษณุโลก - สภาพัฒน์ติงสร้างศูนย์ ลอจิสติกส์-ฮับ ต้องถามตัวเองว่า สินค้าอะไร ขนจากไหนไปไหน เผย "สี่แยกอินโดจีน"พูดกันมา 5-10 ปีไม่ไปไหน ยังย่ำที่เดิม ระบุต้องมองถึงข้อเท็จจริง ด้านรองเลขาธิการหอการค้าไทยยืนยัน พิษณุโลกพร้อมตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า(DC)
เมื่อเร็วๆนี้ เครือข่ายวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดบรรยายเชิงวิชาการ หัวข้อ "การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านลอจิสติกส์ของภาคเหนือ"โดยมีผู้ร่วมฟังประมาณ 100 คนเศษ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวในประเด็นหลักๆ ว่า จังหวัดใดๆก็ตาม ต้องการพัฒนาพื้นที่ตัวเองให้เป็นศูนย์กลางโดยเฉพาะกับการเป็นลอจิสติกส์-ฮับจะต้องพิจารณาว่า 1.ขนส่งคนหรือสินค้าจากไหนไปไหน 2. มีกิจกรรมใดๆ สอดรับกับฮับ 3.มีความพร้อมด้านการลงทุนแค่ไหน
ทั้งนี้ ต้องรู้ว่าในพื้นที่หรือจังหวัดนั้นๆ มีจุดแข็งหรือ จุดอ่อนใดบ้าง การผลักดันให้เป็น ลอจิสติกส์-ฮับ จะเน้นที่ภาคราชการ เพราะบุคคลเหล่านี้มาแล้วก็ไป ควรต้องปล่อยให้เอกชนเริ่มดำเนินการหรือบริหาร เพื่อจะได้รู้ว่า หากมีเงิน 100 ล้านบาท ควรจะทำอย่างไรก่อน และค่อยมาพิจารณาว่าควรทำลอจิสติกส์-ฮับหรือไม่
หลายจังหวัดเช่น ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม ก็อยากเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ทั้งกำลังคนและศักยภาพมีแค่ไหน และเชื่อว่า รัฐบาลชุดนี้ ไม่ลงทุนฟุ้งเฟ้อ ต้องการพอเพียงมากกว่า และหวั่นว่าหากดื้อรั้นที่จะทำกันจริง ๆ เกรงจะเป็นเหมือนคลังสินค้าร้างมากกว่า
ด้านดร.จุฬา สุขมานพ หัวหน้ากลุ่มการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่พิษณุโลกจะเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ ต้องพิจารณาให้ดีก่อน ในแง่ การลงทุน การค้า การท่องเที่ยว ว่า มีศักยภาพสูงเพียงใด จากนั้นค่อยเอาคำว่า ลอจิสติกส์-ฮับ ไปใส่เชิงการค้าแนวตะวันออก-ตะวันตก คงไม่มีการเคลื่อนไหวของสินค้ามากนัก แต่ก็ต้อง พิจารณาตัวเลขของสินค้าและคน ถนนเส้นทางสายแม่สอด-พิษณุโลก-หล่มสัก ที่มีถนน 2 เลน กำลังพัฒนาเป็น 4 เลน เชื่อว่า การขนส่งด้วยรถยนต์ลำบาก เพราะเส้นทางสูงชัน
"ตนไม่สรุปว่า พิษณุโลกไม่เหมาะเป็นศูนย์กลางการขนส่ง แต่ควรดูว่าภูมิภาคเหนือล่างเป็นอย่างไร เพราะทุกคนย่อมรู้ดีว่า ลอจิสติกส์-ฮับ การค้า การท่องเที่ยวจะเพิ่มสูงขึ้น แต่เริ่มแรกเดิมที สี่แยกอินโดจีน หรือ ข้อตกลง GMS หรือความร่วมมือต่างๆ บอกว่า ให้คนทั่วโลกมีการเชื่อมติดต่อไปมาหาสู่กัน ไม่ระบุว่า ต้องขนถ่ายสินค้า หรือเคลื่อนย้ายสินค้าจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง"
ผู้แทนของบริษัททรานส์คอนชัลท์ จำกัด กล่าวว่า ตามข้อมูล ตัวเลขการค้าการลงทุนในแถบภาคเหนือนั้นสูงจริง แต่การลงทุนเป็น ลอจิสติกส์-ฮับ ที่พิษณุโลก ควรมีข้อมูลด้วยว่า สินค้าจำนวนเท่าใดแน่ ที่ผ่านสินค้าจากประเทศจีน ขึ้นที่ เชียงของ จ.เชียงราย ผ่านมาพิษณุโลก และแวะไปยังจังหวัดเป้าหมาย จะต้องทราบตัวเลขสินค้าในแต่ละประเภทด้วย ว่า มีการเคลื่อนไหวจำนวนเท่าใด
เบื้องต้น ยังเชื่อว่า สินค้าที่แลกเปลี่ยนกับชายแดนไทย-พม่า ทั้งฝั่งตะวันตกและภาคเหนือ จะไม่มีการเคลื่อนย้ายไปสู่อีกประเทศหนึ่ง หรือ ชายแดนไทย-ลาว และสี่แยกอินโดจีน ซึ่งก็พูดกันมา 5-10 ปีแล้ว ยังย่ำที่เดิม ทั้งการศึกษา และการวิจัย ก็ไม่ไปไหน อยากให้ลงลึกในรายละเอียดและข้อเท็จจริงตามข้อมูลที่ได้ศึกษาพบว่า เส้นทางขนส่งทางรถไฟ สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย ไม่มีความต้องการเส้นทางรถไฟรางคู่ แต่จำเป็นต้องเพิ่มหัวรถจักร แรงๆ และสถานีการสับเปลี่ยนรางเท่านั้น ขณะที่ภาคใต้ต้องการ เส้นทางรถไฟรางคู่
อย่างไรก็ตาม นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ลอจิสติกส์-ฮับ พิษณุโลกมีความพร้อมหลังจากที่ม.หอการค้าไทย ศึกษาวิจัย ว่า ที่ต.บึงพระ จ.พิษณุโลก มีความเหมาะสม ทั้งอยู่ใกล้ระบบรางรถไฟและทางอากาศ พิษณุโลกควรเร่งรีบพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางฏษณกระจายสินค้าDistribution Center-DC ส่วนศูนย์กลางขนส่งคนมีอยู่แล้ว แทบไม่ต้องพัฒนาเลย
" พิษณุโลก ควรเดินหน้าตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)พิษณุโลกรับหน้าที่เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการ โดยให้ภาคเอกชนบริหารต่อ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแผนงานของอบจ.พิษณุโลก ได้ตั้งงบฯศึกษาความเป็นไปได้ปี 2550 ว่าด้วยศึกษาระบบการขนส่งสินค้าและบริการลอจิสติกส์ รองรับการพัฒนาสี่แยกอินโดจีนงบประมาณ 4 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างเตรียมการให้ มหาวิยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ศึกษา
ทั้งนี้อบจ.พิษณุโลกตั้งงบปี 2551 ก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารและรับ-ส่งสินค้า บริเวณสี่แยกอินโดจีน ต.สมอแข อ.เมือง พิษณุโลกด้วยงบประมาณ 80 ล้านบาท ผุดศูนย์กลางการกระจายสินค้าใน 4 มุมเมือง แบ่งแยกสินค้าในแต่ละโซน ซึ่งอยู่ในการศึกษาเจาะลึกรายละเอียดเพิ่มขึ้น อาทิ มีสินค้าเกษตรชนิดใด มีจำนวนกี่ตัน ที่ผ่านพิษณุโลก
หลังจาก ม.หอการค้าไทย ได้ศึกษาไว้กว้างๆก่อนหน้านี้ ถึงจุดที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า โดยมี 3 จุด คือ บึงพระ หัวรอ และวัดจันทน์ ท่ามกลางกระแสคนหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก-สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกท้วงติงการเปลี่ยนย้ายสถานที่ และให้มีการศึกษาอีกครั้ง
เมื่อเร็วๆนี้ เครือข่ายวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดบรรยายเชิงวิชาการ หัวข้อ "การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านลอจิสติกส์ของภาคเหนือ"โดยมีผู้ร่วมฟังประมาณ 100 คนเศษ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวในประเด็นหลักๆ ว่า จังหวัดใดๆก็ตาม ต้องการพัฒนาพื้นที่ตัวเองให้เป็นศูนย์กลางโดยเฉพาะกับการเป็นลอจิสติกส์-ฮับจะต้องพิจารณาว่า 1.ขนส่งคนหรือสินค้าจากไหนไปไหน 2. มีกิจกรรมใดๆ สอดรับกับฮับ 3.มีความพร้อมด้านการลงทุนแค่ไหน
ทั้งนี้ ต้องรู้ว่าในพื้นที่หรือจังหวัดนั้นๆ มีจุดแข็งหรือ จุดอ่อนใดบ้าง การผลักดันให้เป็น ลอจิสติกส์-ฮับ จะเน้นที่ภาคราชการ เพราะบุคคลเหล่านี้มาแล้วก็ไป ควรต้องปล่อยให้เอกชนเริ่มดำเนินการหรือบริหาร เพื่อจะได้รู้ว่า หากมีเงิน 100 ล้านบาท ควรจะทำอย่างไรก่อน และค่อยมาพิจารณาว่าควรทำลอจิสติกส์-ฮับหรือไม่
หลายจังหวัดเช่น ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม ก็อยากเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ทั้งกำลังคนและศักยภาพมีแค่ไหน และเชื่อว่า รัฐบาลชุดนี้ ไม่ลงทุนฟุ้งเฟ้อ ต้องการพอเพียงมากกว่า และหวั่นว่าหากดื้อรั้นที่จะทำกันจริง ๆ เกรงจะเป็นเหมือนคลังสินค้าร้างมากกว่า
ด้านดร.จุฬา สุขมานพ หัวหน้ากลุ่มการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่พิษณุโลกจะเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ ต้องพิจารณาให้ดีก่อน ในแง่ การลงทุน การค้า การท่องเที่ยว ว่า มีศักยภาพสูงเพียงใด จากนั้นค่อยเอาคำว่า ลอจิสติกส์-ฮับ ไปใส่เชิงการค้าแนวตะวันออก-ตะวันตก คงไม่มีการเคลื่อนไหวของสินค้ามากนัก แต่ก็ต้อง พิจารณาตัวเลขของสินค้าและคน ถนนเส้นทางสายแม่สอด-พิษณุโลก-หล่มสัก ที่มีถนน 2 เลน กำลังพัฒนาเป็น 4 เลน เชื่อว่า การขนส่งด้วยรถยนต์ลำบาก เพราะเส้นทางสูงชัน
"ตนไม่สรุปว่า พิษณุโลกไม่เหมาะเป็นศูนย์กลางการขนส่ง แต่ควรดูว่าภูมิภาคเหนือล่างเป็นอย่างไร เพราะทุกคนย่อมรู้ดีว่า ลอจิสติกส์-ฮับ การค้า การท่องเที่ยวจะเพิ่มสูงขึ้น แต่เริ่มแรกเดิมที สี่แยกอินโดจีน หรือ ข้อตกลง GMS หรือความร่วมมือต่างๆ บอกว่า ให้คนทั่วโลกมีการเชื่อมติดต่อไปมาหาสู่กัน ไม่ระบุว่า ต้องขนถ่ายสินค้า หรือเคลื่อนย้ายสินค้าจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง"
ผู้แทนของบริษัททรานส์คอนชัลท์ จำกัด กล่าวว่า ตามข้อมูล ตัวเลขการค้าการลงทุนในแถบภาคเหนือนั้นสูงจริง แต่การลงทุนเป็น ลอจิสติกส์-ฮับ ที่พิษณุโลก ควรมีข้อมูลด้วยว่า สินค้าจำนวนเท่าใดแน่ ที่ผ่านสินค้าจากประเทศจีน ขึ้นที่ เชียงของ จ.เชียงราย ผ่านมาพิษณุโลก และแวะไปยังจังหวัดเป้าหมาย จะต้องทราบตัวเลขสินค้าในแต่ละประเภทด้วย ว่า มีการเคลื่อนไหวจำนวนเท่าใด
เบื้องต้น ยังเชื่อว่า สินค้าที่แลกเปลี่ยนกับชายแดนไทย-พม่า ทั้งฝั่งตะวันตกและภาคเหนือ จะไม่มีการเคลื่อนย้ายไปสู่อีกประเทศหนึ่ง หรือ ชายแดนไทย-ลาว และสี่แยกอินโดจีน ซึ่งก็พูดกันมา 5-10 ปีแล้ว ยังย่ำที่เดิม ทั้งการศึกษา และการวิจัย ก็ไม่ไปไหน อยากให้ลงลึกในรายละเอียดและข้อเท็จจริงตามข้อมูลที่ได้ศึกษาพบว่า เส้นทางขนส่งทางรถไฟ สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย ไม่มีความต้องการเส้นทางรถไฟรางคู่ แต่จำเป็นต้องเพิ่มหัวรถจักร แรงๆ และสถานีการสับเปลี่ยนรางเท่านั้น ขณะที่ภาคใต้ต้องการ เส้นทางรถไฟรางคู่
อย่างไรก็ตาม นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ลอจิสติกส์-ฮับ พิษณุโลกมีความพร้อมหลังจากที่ม.หอการค้าไทย ศึกษาวิจัย ว่า ที่ต.บึงพระ จ.พิษณุโลก มีความเหมาะสม ทั้งอยู่ใกล้ระบบรางรถไฟและทางอากาศ พิษณุโลกควรเร่งรีบพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางฏษณกระจายสินค้าDistribution Center-DC ส่วนศูนย์กลางขนส่งคนมีอยู่แล้ว แทบไม่ต้องพัฒนาเลย
" พิษณุโลก ควรเดินหน้าตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)พิษณุโลกรับหน้าที่เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการ โดยให้ภาคเอกชนบริหารต่อ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแผนงานของอบจ.พิษณุโลก ได้ตั้งงบฯศึกษาความเป็นไปได้ปี 2550 ว่าด้วยศึกษาระบบการขนส่งสินค้าและบริการลอจิสติกส์ รองรับการพัฒนาสี่แยกอินโดจีนงบประมาณ 4 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างเตรียมการให้ มหาวิยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ศึกษา
ทั้งนี้อบจ.พิษณุโลกตั้งงบปี 2551 ก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารและรับ-ส่งสินค้า บริเวณสี่แยกอินโดจีน ต.สมอแข อ.เมือง พิษณุโลกด้วยงบประมาณ 80 ล้านบาท ผุดศูนย์กลางการกระจายสินค้าใน 4 มุมเมือง แบ่งแยกสินค้าในแต่ละโซน ซึ่งอยู่ในการศึกษาเจาะลึกรายละเอียดเพิ่มขึ้น อาทิ มีสินค้าเกษตรชนิดใด มีจำนวนกี่ตัน ที่ผ่านพิษณุโลก
หลังจาก ม.หอการค้าไทย ได้ศึกษาไว้กว้างๆก่อนหน้านี้ ถึงจุดที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า โดยมี 3 จุด คือ บึงพระ หัวรอ และวัดจันทน์ ท่ามกลางกระแสคนหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก-สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกท้วงติงการเปลี่ยนย้ายสถานที่ และให้มีการศึกษาอีกครั้ง