สมาพันธ์ลดปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชง 7 มาตรการ เสนอรัฐ หวั่นห้ามโฆษณาทำกลไกตลาดพัง เร่งระดมสมองผู้ประกอบการ แจงผลกระทบอุตสาหกรรมน้ำเมายื่นภาครัฐพิจารณา ด้าน“พระพยอม” เชียร์สุดใจห้ามโฆษณาเหล้า ชยันโตขอรัฐบาลมีชัยชนะ “ครูหยุย” เตือนเหรียญทองกีฬาไม่ใช่ได้มาเพราะน้ำเมา
นายบุญช่วย ทองเจริญพูลพร เลขาธิการสมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (FACT) เปิดเผยว่า ภายหลังจากภาครัฐห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมงทุกกรณี สมาชิกสมาพันธ์ที่มีจำนวน 24 สมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งประกอบด้วย
สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ ริชมอนเด้ เพอร์นอตฯ สิงห์คอปอร์เรชั่น สมาคมผู้ค้าปลีก สมาคมโฆษณา สมาคมการตลาด สมาคมโรงแรมไทย สมาคมสถานบันเทิง ฯล ที่ได้รับผลกระทบได้รวมตัวกัน เพื่อเปิดเวทีแสดงความเห็น หลังจากที่ได้มีการประชุมร่วมกันในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาและมีวาระการประชุมในวันที่20 ตค.49
แต่ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นวันนี้
ข้อสรุปในเบื้องต้นทางสมาพันธุ์ฯ ได้เตรียมมาตรการ 7 ประการนำเสนอแก่ภาครัฐ ประกอบด้วย 1.ร่างการจัดระเบียบการทำงานร่วมกับภาครัฐ 2. การสนับสนุนการใช้บังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพ 3.การให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้เท่าทันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.กำหนดอายุผู้ซื้อสูงขึ้นเป็น 20ปีจาก 18 ปี 5. ร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะร่วมกับภาครัฐเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ในทางปฎบัติ 6.รณรณงค์การดื่มไม่ขับเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
7.ป้องกันเด็กหน้าใหม่ที่เข้ามาดื่ม ด้วยการตรวจบัตรประชาชนก่อนซื้อตามร้าน7-11ใน60 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
นายบุญช่วย กล่าวว่า ที่ผ่านมาพ.ร.บ.เกี่ยวกับสุรามีเป็นจำนวนถึง 100 พ.ร.บ.แต่ภาครัฐไม่ได้หยิบยกขึ้นมาใช้บังคับอย่างจริงจัง โดยมองว่ากฎหมายที่ออกมาควรจะเป็นกฎหมายที่สามารถนำมาปฎิบัติได้จริง การห้ามการสื่อสารผ่านสื่อในโลกยุคไร้พรมแดนเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก
โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตหรือเคเบิลทีวีจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังทำให้ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกิดการผูกขาดจากผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือตราสินค้าที่ติดตลาดอยู่แล้ว อย่าง จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ หรือ เหล้าขาว ไม่จำเป็นต้องมีโฆษณา ก็สามารถขายได้
"รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่มีจริยธรรม และมีความโปร่งใส ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาควรจะเป็นกฎหมายที่ชัดเจนในทางปฎิบัติมากกว่าจะเป็นกฎหมายที่ใช้วิธีการตีความตามเจตนารมณ์ เพราะอย่าลืมว่าอาจเกิดการเลือกปฏิบัติได้ ดังนั้นการออกนโยบายสาธารณะที่ใช้ร่วมกัน
ควรที่จะมีการมีการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้หลักฐานข้อมูลหรือผลวิจัยที่เชื่อถือได้มากกว่า"
นายบุญช่วย กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎหมายที่มีความชัดเจนในทางปฎิบัติการตรวจสอบการดื่มแอลกกอฮอล์ โดยเครื่องตรวจจับ ส่วนกฎหมายที่ใช้การตีความตามเจตนารมณ์กฎหมายโฆษณา
นั้นไม่ได้ผลเพราะมีการเลี่ยงบาลีด้วยการทำโฆษณาสีเทาออกมา ถือเป็นเรื่องยากต่อการดำเนินการทางกฎหมาย
สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุด วานนี้ (13 ตค.49) สมาพันธ์ฯ ประชุมกับสมาชิก ที่
โรงแรมเรดิสัน โดยนำมาตรการ 7 ข้อ มาให้รับทราบร่วมกันอีกครั้ง โดยจะมีผลทางปฎิบัติในต้นปีหน้า อาทิ การตรวจสอบอายุของผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกออฮอล์ ในร้านสะดวกซื้อ 7-11 โดยรวมกับนักศึกษาโครงการรักกันเตือนกัน จาก 60 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ระดมสมาชิกรวบรวมผลกระทบอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ได้รับกรณีห้ามโฆษณา 24 ชั่วโมง เพื่อเขียนเป็นรายการยื่นให้กับทางภาครัฐต่อไป
พระพยอมหนุนรัฐเต็มที่
พระพิศาลธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ) เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว กล่าวว่า ขอสนับสนุนกฎหมายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ ทุกสื่อ ตลอด 24 ชั่วโมง ของกระทรวงสาธารณสุข เพราะการอิทธิพลของการโฆษณาเหล้าร้ายแรง ยิ่งกว่าเรื่องแจ็กพอต หรือหวยบนดิน เพราะหวยบนดิน 15 วัน จึงจะมอมเมาหนึ่งครั้ง แต่โฆษณาเหล้ามันมอมเมาเยาวชน หลอกล่อคนไทยให้จมอยู่กับอบายมุข น้ำผลาญสติ ทุกวัน ทุกเวลา ในทุกสื่อ
“อาตมาขอเชียร์สุดจิตสุดใจ และจะสวดชยันโตให้รัฐบาลมีชัยชนะในเรื่องนี้ สังคมไทยเรียกร้องหาคุณธรรม จริยธรรม เรื่องการห้ามโฆษณาเหล้านี่แหละคือบ่อเกิดของคุณธรรม จริยธรรม หากไม่สนับสนุนเรื่องนี้แล้วจะไปเห็นดีเห็นงามกับเรื่องระยำตำบอนหรืออย่างไร และขอบิณฑบาตพวกที่คิดจะคัดค้าน ขอให้เห็นแก่ประเทศชาติสักครั้ง”พระพิศาลธรรมพาที กล่าว
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หนึ่งในสภานิติบัญญัติ กล่าวว่า ผลประโยชน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมหาศาลมากว่าอบายมุขอื่นๆ เมื่อมีเงินมาก ก็สร้างการยอมรับด้วยการให้ทุนสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ตอนนี้ฝ่ายกีฬาบางส่วนจึงออกมาคัดค้าน แต่อยากให้เข้าใจว่าวงการกีฬาไทย ไม่ใช่จะพัฒนาได้ด้วยเงินจากบริษัทเหล้าอย่างเดียว หลายเหรียญทองที่ได้มาไม่ใช่จากการสนับสนุนของบริษัทเหล้า ปรัชญาของการกีฬาคือให้คนมีสุขภาพดี ไม่ใช่กีฬาต้องอยู่คู่กับน้ำเมา
นายบุญช่วย ทองเจริญพูลพร เลขาธิการสมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (FACT) เปิดเผยว่า ภายหลังจากภาครัฐห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมงทุกกรณี สมาชิกสมาพันธ์ที่มีจำนวน 24 สมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งประกอบด้วย
สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ ริชมอนเด้ เพอร์นอตฯ สิงห์คอปอร์เรชั่น สมาคมผู้ค้าปลีก สมาคมโฆษณา สมาคมการตลาด สมาคมโรงแรมไทย สมาคมสถานบันเทิง ฯล ที่ได้รับผลกระทบได้รวมตัวกัน เพื่อเปิดเวทีแสดงความเห็น หลังจากที่ได้มีการประชุมร่วมกันในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาและมีวาระการประชุมในวันที่20 ตค.49
แต่ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นวันนี้
ข้อสรุปในเบื้องต้นทางสมาพันธุ์ฯ ได้เตรียมมาตรการ 7 ประการนำเสนอแก่ภาครัฐ ประกอบด้วย 1.ร่างการจัดระเบียบการทำงานร่วมกับภาครัฐ 2. การสนับสนุนการใช้บังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพ 3.การให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้เท่าทันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.กำหนดอายุผู้ซื้อสูงขึ้นเป็น 20ปีจาก 18 ปี 5. ร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะร่วมกับภาครัฐเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ในทางปฎบัติ 6.รณรณงค์การดื่มไม่ขับเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
7.ป้องกันเด็กหน้าใหม่ที่เข้ามาดื่ม ด้วยการตรวจบัตรประชาชนก่อนซื้อตามร้าน7-11ใน60 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
นายบุญช่วย กล่าวว่า ที่ผ่านมาพ.ร.บ.เกี่ยวกับสุรามีเป็นจำนวนถึง 100 พ.ร.บ.แต่ภาครัฐไม่ได้หยิบยกขึ้นมาใช้บังคับอย่างจริงจัง โดยมองว่ากฎหมายที่ออกมาควรจะเป็นกฎหมายที่สามารถนำมาปฎิบัติได้จริง การห้ามการสื่อสารผ่านสื่อในโลกยุคไร้พรมแดนเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก
โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตหรือเคเบิลทีวีจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังทำให้ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกิดการผูกขาดจากผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือตราสินค้าที่ติดตลาดอยู่แล้ว อย่าง จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ หรือ เหล้าขาว ไม่จำเป็นต้องมีโฆษณา ก็สามารถขายได้
"รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่มีจริยธรรม และมีความโปร่งใส ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาควรจะเป็นกฎหมายที่ชัดเจนในทางปฎิบัติมากกว่าจะเป็นกฎหมายที่ใช้วิธีการตีความตามเจตนารมณ์ เพราะอย่าลืมว่าอาจเกิดการเลือกปฏิบัติได้ ดังนั้นการออกนโยบายสาธารณะที่ใช้ร่วมกัน
ควรที่จะมีการมีการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้หลักฐานข้อมูลหรือผลวิจัยที่เชื่อถือได้มากกว่า"
นายบุญช่วย กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎหมายที่มีความชัดเจนในทางปฎิบัติการตรวจสอบการดื่มแอลกกอฮอล์ โดยเครื่องตรวจจับ ส่วนกฎหมายที่ใช้การตีความตามเจตนารมณ์กฎหมายโฆษณา
นั้นไม่ได้ผลเพราะมีการเลี่ยงบาลีด้วยการทำโฆษณาสีเทาออกมา ถือเป็นเรื่องยากต่อการดำเนินการทางกฎหมาย
สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุด วานนี้ (13 ตค.49) สมาพันธ์ฯ ประชุมกับสมาชิก ที่
โรงแรมเรดิสัน โดยนำมาตรการ 7 ข้อ มาให้รับทราบร่วมกันอีกครั้ง โดยจะมีผลทางปฎิบัติในต้นปีหน้า อาทิ การตรวจสอบอายุของผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกออฮอล์ ในร้านสะดวกซื้อ 7-11 โดยรวมกับนักศึกษาโครงการรักกันเตือนกัน จาก 60 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ระดมสมาชิกรวบรวมผลกระทบอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ได้รับกรณีห้ามโฆษณา 24 ชั่วโมง เพื่อเขียนเป็นรายการยื่นให้กับทางภาครัฐต่อไป
พระพยอมหนุนรัฐเต็มที่
พระพิศาลธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ) เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว กล่าวว่า ขอสนับสนุนกฎหมายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ ทุกสื่อ ตลอด 24 ชั่วโมง ของกระทรวงสาธารณสุข เพราะการอิทธิพลของการโฆษณาเหล้าร้ายแรง ยิ่งกว่าเรื่องแจ็กพอต หรือหวยบนดิน เพราะหวยบนดิน 15 วัน จึงจะมอมเมาหนึ่งครั้ง แต่โฆษณาเหล้ามันมอมเมาเยาวชน หลอกล่อคนไทยให้จมอยู่กับอบายมุข น้ำผลาญสติ ทุกวัน ทุกเวลา ในทุกสื่อ
“อาตมาขอเชียร์สุดจิตสุดใจ และจะสวดชยันโตให้รัฐบาลมีชัยชนะในเรื่องนี้ สังคมไทยเรียกร้องหาคุณธรรม จริยธรรม เรื่องการห้ามโฆษณาเหล้านี่แหละคือบ่อเกิดของคุณธรรม จริยธรรม หากไม่สนับสนุนเรื่องนี้แล้วจะไปเห็นดีเห็นงามกับเรื่องระยำตำบอนหรืออย่างไร และขอบิณฑบาตพวกที่คิดจะคัดค้าน ขอให้เห็นแก่ประเทศชาติสักครั้ง”พระพิศาลธรรมพาที กล่าว
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หนึ่งในสภานิติบัญญัติ กล่าวว่า ผลประโยชน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมหาศาลมากว่าอบายมุขอื่นๆ เมื่อมีเงินมาก ก็สร้างการยอมรับด้วยการให้ทุนสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ตอนนี้ฝ่ายกีฬาบางส่วนจึงออกมาคัดค้าน แต่อยากให้เข้าใจว่าวงการกีฬาไทย ไม่ใช่จะพัฒนาได้ด้วยเงินจากบริษัทเหล้าอย่างเดียว หลายเหรียญทองที่ได้มาไม่ใช่จากการสนับสนุนของบริษัทเหล้า ปรัชญาของการกีฬาคือให้คนมีสุขภาพดี ไม่ใช่กีฬาต้องอยู่คู่กับน้ำเมา