รัฐบาลเดินเครื่องลบภาพประชานิยมไทยรักไทย กระทรวงสาธารณสุขเตรียมยกเลิกเก็บเงิน 30 บาทแก้ไขความเข้าใจผิดกับประชาชนที่ตกเป็นเครื่องมือหาเสียงของพรรคการเมือง ชี้ไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลาของเจ้าหน้าที่ในการเก็บข้อมูลลงบัญชี ยันใช้สิทธิได้เหมือนเดิม แต่ให้บริการฟรี แพทย์ชนบทซัดยุคทักษิณปัญหาเพียบ อัด “หญิงหน่อย” ตัวทำวุ่น “ทีดีอาร์ไอ”หนุนชี้เงินหายเล็กน้อยไม่กระทบการทำงาน ด้าน “หม่อมอุ๋ย”เผยเตรียมทบทวน “บ้านเอื้ออาทร-กองทุนหมู่บ้าน-โคล้านตัว” ย้ำยึดประโยชน์ประชาชนแต่ไม่ต้องทำอะไรที่เกินตัว ระบุกองทุนหมู่บ้าน 5 ปีผลาญเงินไปแล้ว 7.8 หมื่นล้าน
นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "นโยบายการพัฒนางานสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข" ในการประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาวิชาการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนว่า จะมีการปรับระบบโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยยกเลิกการเก็บเงิน 30 บาท เนื่องจากชื่อ “30 บาทรักษาทุกโรค” เป็นคำที่พรรคการเมืองนำมาทำการตลาด ขณะที่การเก็บเงินค่ารักษาบริการ 30 บาท ไม่ได้ทำให้รวยหรือจนกว่าเดิม เพราะจำนวนเงิน 30 บาทเป็นจำนวนเงินที่น้อยมาก ไม่ส่งผลให้สถานบริการหรือโรงพยาบาลได้รับผลกระทบหากจะไม่มีการเก็บเงินจำนวนดังกล่าว
ที่สำคัญคือ ไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลาของเจ้าหน้าที่ในการเก็บข้อมูลลงบัญชี ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องกลัวจะทำให้คนไม่รู้สึกเห็นค่าหรือไม่มีศักดิ์ศรี เพราะเป็นการรักษาฟรี รวมทั้งเงินก็ไม่ใช่ตัววัดศักดิ์ศรีอะไรทั้งสิ้น
ทั้งนี้ สธ.จะเน้นให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยเข้ามาเป็นคณะกรรมการสถานพยาบาล เพื่อให้เข้าใจระบบการให้การบริการไม่ต้องกังวลคุณภาพการรักษาหรือยาว่า จะมี 2 มาตรฐาน เมื่อเขาเข้าใจปัญหาต่างๆ ก็ค่อยๆ หมดไป
อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจก่อนว่าโครงการนี้นั้นแท้จริงแล้วเป็นโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นผู้ทำวิจัยก่อนที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาจะยกขึ้นมาเป็นนโยบายถึง 2-3 ปี มีการเสนอให้รัฐบาลนายชวน หลีกภัยพิจารณา แต่ขณะนั้นประเทศมีหนี้ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอ็ฟ) จึงมีการนำเสนอในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรซึ่งเห็นว่าเป็นนโยบายที่ดีจึงมีการนำนโยบายนี้ขึ้นมาหาเสียง
“เลิกพูดถึงโครงการ 30 บาท ได้แล้ว ชื่อนี้ถือเป็นเครื่องมือหาเสียงของพรรคการเมือง เพื่อแก้ปัญหาความเข้าใจผิดของประชาชนจากนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ผ่านมา แต่เราจะให้สิ่งที่เป็นของจริง การที่ไม่อยากใช้ก็ไม่ใช่เพราะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลแต่ไม่อยากเก็บ 30 บาท ซึ่งกลายเป็นปัญหาเสียเวลาแทนที่จะใช้เวลาในการดูแลรักษาให้บริการผู้ป่วยเจ้าหน้าที่จะต้องลงบัญชีถึง 3 เล่ม และคนไข้มานั่งออกันเต็มหมด ถ้าไม่เก็บได้จะได้มีโอกาสไปดูแลคนไข้ และเงินที่ได้วันหนึ่งบางแห่งได้ 120 บาท บางแห่งได้ 150 บาท เพราะบัตรทองมีทั้งเสียเงิน 30 บาท และไม่เสีย 30 บาท แต่ต้องลงบัญชี 3 เล่ม ฉะนั้น ไม่เก็บเสียเลย ก็ไม่จำเป็นต้องเรียก 30 บาท เพราะไม่มีการเก็บเงิน 30 บาทอีกแล้วและเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเหมือนเดิม”
ส่วนจะดำเนินการเมื่อใดนั้น นพ.มงคล กล่าวว่า จะเร่งหารือกันในเร็ววันนี้ กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะต้องทำงานให้เร็ว เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลโอที ถึงแม้จะสูงอายุ แต่ก็แอ็กทีฟกว่าคนหนุ่ม ซึ่งจะเร่งดำเนินการนโยบายที่เป็นไปได้ก่อน ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว กองทุนประกันสังคม และกองทุนผู้ประสบภัยจากรถนั้นเป็นเรื่องใหญ่จะยังไม่เข้าไปดำเนินการใดๆ เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนคงต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาดูแล
สำหรับการจะยกเลิกบัตรทองหรือไม่นั้น นพ.มงคล กล่าวว่า จะยังไม่ยกเลิก เพราะเป็นสัญลักษณ์ในการเข้ารับบริการขณะนี้ แต่ต่อไปข้างหน้าเมื่อไม่เก็บ 30 บาทแล้ว ก็สามารถนำบัตรประชาชนไปใช้ได้เลย ขณะนี้ตั้งไว้อย่างนั้น แต่จะต้องคุยกับทางผู้ออกบัตรว่าทำอย่างไร ให้มีข้อมูลอยู่ในบัตรประจำตัวประชาชนด้วย โดยจะพยายามที่จะไม่เก็บเงิน 30 บาทเร็วที่สุด
ขณะที่ทางด้านงบประมาณ ในปีนี้จะของบประมาณรายหัว 2,089 บาท จากเดิม 1,659 บาท แต่หากยังไม่ได้ก็จะใช้งบประมาณเก่าไปก่อน แต่เชื่อว่า หากได้เงินงบประมาณรายหัวเพิ่มขึ้นจะสามารถบริการจัดการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มเติมบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ปูทางทางกฎหมายก่อนที่จะหมดเวลารัฐบาลโอทีชุดนี้
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายยกเลิกการออกกำลังกายรวมพลคนเสื้อเหลือง ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยจะนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้ในการให้บริการดูแลรักษาพยาบาลประชาชนแทน และเน้นให้ประชาชนออกกำลังกายเป็นนิสัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่า
**สปสช.ลั่นไม่กระทบรายได้
นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงแนวคิดยกเลิกการเก็บเงิน 30 บาทกับผู้ใช้บริการบัตรทองว่า ไม่มีผลกระทบกับงบประมาณโครงการนี้ เนื่องจากแต่ละปีสถานพยาบาลทั่วประเทศจะเก็บเงินรายได้จาก 30 บาท เพียง 1,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับงบประมาณของโครงการ นอกจากนี้ กว่าร้อยละ 50 ของผู้ถือบัตรทองอยู่ในกลุ่มที่ไม่ต้องจ่าย 30 บาท เพราะเป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก และคนยากจน ซึ่งตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ได้ยกเว้นไว้ อีกทั้งการให้บริการสุขภาพก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไทยอยู่แล้ว
สำหรับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งการเปลี่ยนชื่อโครงการ การไม่เก็บ 30 บาท และอื่น ๆ นั้น คงต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาล ส่วนการให้บริการฟรีนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายใด ๆ เพราะใน พ.ร.บ.หลักประกันฯ กำหนดให้บอร์ด สปสช. ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารณสุข เป็นประธานเป็นผู้พิจารณา
**แพทย์ชนบทซัด”หญิงหน่อย”ทำวุ่น
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาโครงการนี้ มีปัญหาต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหางบประมาณไม่เพียงพอเนื่องจากได้รับงบประรายรายหัวต่ำ โดยในปี 2549 เพิ่งได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น จากที่ขอ 1,659 ต่อหัวต่อคน แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่รับงบประมาณไม่ครบจำนวน อีกเรื่องที่มีความสำคัญคือการตัดงบประมาณเงินเดือนถึง 53% ซึ่งเป็นเม็ดเงินปีละ 6,500 ล้านบาท รวมทั้งปัญหาการกระจายงบประมาณที่ไม่มีความเป็นธรรม เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขต้องดูแลประชาชนเป็นจำนวนมากทั้งในท้องถิ่นทุรกันดาร ชนกลุ่มน้อย แต่กลับได้รับงบประมาณเท่ากับหน่วยงานอื่นๆ ทำให้บุคลากรขาดแรงจูงใจ กำลังใจในการทำงาน
“ปัญหาที่เกิดไม่ได้มาจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แต่เกิดจากภายในกระทรวงเอง เป็นความไม่จริงใจของฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะในสมัยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ที่มัวแต่เล่นเกมทางการเมือง ยึดติดกับอำนาจ สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชน แพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านสาธารณสุข จนเกิดการร้องเรียนหลายๆ ครั้ง รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรเนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระได้ ทั้งๆ ที่ปัญหาต่างๆนี้สามารถที่จะแก้ไขได้ แต่ไม่ได้รับความสนใจแต่ปล่อยให้แพทย์ เจ้าหน้าที่จะต้องแก้ปัญหากันเอง"
ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวต่อว่า ในยุคที่คุณหญิงสุดารัตน์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นยุคที่ไม่เข้าใจการปฏิรูประบบสุขภาพทำให้การดำเนินนโยบายผิดพลาด ทั้งงบประมาณไม่เพียงพอและกระจายงบประมาณไม่เหมาะสม พอมาถึงนายพินิจ จารุสมบัติเป็นรัฐมนตรีก็เข้ามาแก้ไขปัญหาจนดีขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดที่แล้วมีความกล้าในการหยิบนโยบายสุขภาพถ้วนหน้าขึ้นมาซึ่งประชาชนได้ประโยชน์ เพียงแต่อย่าแอบอ้างเพราะกว่าจะได้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาเกิดจากความทุกข์ยากของบุคลากรทางการแพทย์
“ผมเชื่อมั่นว่าก้าวต่อไปของโครงการนี้จะดีขึ้นเนื่องจากได้รัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้มาตั้งแต่เริ่ม อย่างไรก็ตามปัญหาจะเกิดขึ้นได้แต่ก็ทยอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับนโยบายใหม่ในการไม่เก็บ 30 บาทในการให้บริการนั้น จริงๆ แล้วไม่สำคัญเท่ากับงบประมาณรายหัวที่จะได้รับ ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งก็ไม่มีการเก็บ 30 บาท จากประชาชนตั้งแต่ปี 2545 แล้ว”
**”ทีดีอาร์ไอ”หนุนรักษาฟรี
ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง นักวิจัยด้านสาธารณสุขของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ และในฐานะหัวหน้าโครงการติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวว่า จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมพบว่า เงินจำนวน 30 บาทที่เรียกเก็บกับประชาชนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงปีละประมาณ ไม่เกิน 1.8 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในโครงการนี้ ซึ่งรัฐบาลก็สามารถหางบประมาณมาแทนเงินจำนวนนี้ได้ไม่ยากนัก
ดร.วิโรจน์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาภาครัฐให้งบประมาณแบบปริ่มน้ำเต็มที สถานพยาบาลก็ได้เพียงเอาตัวรอดเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการให้บริการที่มีคุณภาพที่ดีได้ ดังนั้นเมื่อในปี 2550 มีงบประมาณรายหัว 2,089 บาทจากเดิมปี 2549 จำนวน 1,659 บาทต่อคนต่อปี ส่วนต่างนี้เพิ่มขึ้น 2-3 หมื่นล้านบาท จำนวนเงินที่เรียกเก็บ 30 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งรวมกันไม่เกิน 1.8 พันล้านบาท ก็ไม่น่าจะกระทบกระเทือนเท่าใดนัก
“ข้อเป็นห่วงที่หลายฝ่ายเกรงว่า เมื่อใช้บริการฟรีแล้วจะมีคนมาใช้บริการเพิ่มขึ้นนั้น อาจจะเกิดขึ้นได้บ้างในคนที่มีฐานะยากจน แต่ในส่วนของคนชนชั้นกลางนั้น การเก็บเงิน 30 บาทก็ไม่ได้เป็นตัวขัดขวางในการใช้บริการหรือไม่ใช้แต่อย่างใด อีกส่วนที่อาจเรียกว่าเป็นข้อดีก็คือ การใช้บริการฟรี อาจทำให้สิ่งที่แพทย์พยาบาลเคยบ่นเรื่องการที่ประชาชนเรียกร้องเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้คุ้มค่าจะได้ลดการเรียกร้องลง เนื่องจากฟรี”ดร.วิโรจน์กล่าว
**”อุ๋ย”ยันทบทวน 4 โครงการ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังทบทวนโครงการประชานิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาทิ โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการกองทุนหมู่บ้าน และโครงการโคล้านตัว โดยจะดูว่าความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร หากดำเนินโครงการต่อไป ก็จะยึดประโยชน์ประชาชนและต้องเพียงพอกับงบประมาณรายจ่ายปี 2550 ที่ทำขึ้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ทำโครงการอะไรที่เกินตัวมากเกินไป
ทั้งนี้ โครงการกองทุนหมู่บ้านในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการอนุมัติจำนวนเงินไปแล้ว 7.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวคาดว่าจำนวนเงินดังกล่าวจะไม่มีการอนุมัติวงเงินเพิ่ม แต่จะนำเงินที่เคยอนุมัติไปแล้วมาใช้หมุนเวียนภายในหมู่บ้าน เพื่อให้เศรษฐกิจภายในหมู่บ้านขยายตัวได้อย่างดี และส่งผลดีต่อประชากรภายในหมู่บ้านต่อไปด้วย
**ยันแก้หวยเสร็จใน 1 สัปดาห์
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า การที่มีกระแสโจมตีมายังสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอย่างรุนแรงว่ารางวัลแจ็คพอตหวย 2 ตัว 3 ตัวว่าเป็นสิ่งที่มอมเมาประชาชน รวมทั้งมีการเรียกร้องให้ทำการยกเลิกรางวัลดังกล่าวนั้น คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อทำการปรับปรุงเรื่องดังกล่าวให้ดีขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นขณะนี้นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะ ประธานกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้นเป็นผู้ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด ส่วนจะมีการยกเลิกรางวัลแจ็คพอตหรือไม่นั้นขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้
“ผมขอยืนยันตามเดิมว่าจะแก้ไขปัญหาให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์เหมือนเดิม เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาอื่นๆ ที่ต้องแก้ไขอีกเยอะมาก หากอะไรที่ดีก็เดินหน้าต่อไป แต่ถ้าไม่เหมาะสมก็ปรับปรุงแก้ไขกันไป”รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนโครงการหวยออนไลน์นั้นจะยังคงเดินหน้าต่อไปตามปกติ ซึ่งเบื้องต้นตนทราบว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคต่างๆ ซึ่งทางผู้รับผิดชอบได้ยืนยันแล้วว่าจะสามารถทำการขายหวยออนไลน์ได้ภายในสิ้นปีนี้ แต่เขาเองเชื่อว่าโครงการดังกล่าวน่าจะสามารถออกมาขายได้อย่างเต็มรูปแบบภายในเดือนมกราคมปีหน้า
“เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล หรือเป็นเรื่องใหญ่แต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขายจากการใช้คนมาเป็นเครื่องจักรทางเทคนิคแทน ซึ่งผมคิดว่าโครงการดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นก็ควรเดินหน้าต่อไป”ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
**กองสลากมีแจ็กพอตแค่บางงวด
นายวันชัย สุระกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานสลากฯ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานสลากฯ กล่าว ในวันนี้(12 ต.ค.) เวลา 9.30 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยในที่ประชุมจะมีการหารือเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับกรณีที่ขณะนี้มีกระแสโจมตีมายังสำนักงานสลากสลากฯ อย่างรุนแรงว่ารางวัลแจ็กพอตหวย 2 ตัว 3 ตัวนั้นเป็นสิ่งที่มอมเมาประชาชน ซึ่งขึ้นอยู่กับนายศุภรัตน์ ประธานกรรมการสำนักงานสลากฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจหาทางออกในเรื่องดังกล่าวต่อไป
“ผมในฐานะที่ทำงานอยู่กับกองสลากมากว่า 31 ปีนั้น เคยบอกกับผู้ใหญ่ในสำนักงานไปแล้วหลายครั้งเกี่ยวกับกรณีหวยบนดินว่า การจะออกรางวัลใดๆ ขึ้นมานั้นทางกองสลากจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เพราะการมีรางวัลแจ็กพอตเป็นจำนวนสูงๆ นั้นถือเป็นการทำให้ประชาชนทุ่มเทกับการมาซื้อหวยบนดินมากขึ้น ส่วนทางออกในการแก้ปัญหานั้นผมอยากให้ทำการกระจายเงินรางวัลแจ็กพอตออกไป โดยนำไปเพิ่มในรางวัลอื่นๆ หรือมีรางวัลเฉพาะงวดที่ขายไม่ดีเป็นประจำ เช่น ช่วงหน้าฝน หรือตอนเปิดเทอมเท่านั้น”นายวันชัยกล่าว
นายวันชัยกล่าวว่า ยอมรับว่าหากมีการยกเลิกรางวัลแจ็กพอต แล้วก็อาจจะส่งผลกระทบให้หวยใต้ดินกลับมาระบาดในสังคมไทยอย่างเดิม เนื่องจากจะทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างหวยบนดินกับหวยใต้ดินนั่นเอง ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานสลากได้มีการแต่งตั้งทีมงานขึ้นมาศึกษาผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวแล้ว เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดต่อไป
ส่วนการที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เสนอให้ยกเลิกรางวัลแจ็กพอตหวยบนดินและการขายหวยบนดินว่า การดำเนินการในโครงการดังกล่าวนั้นเริ่มมาอย่างถูกต้องจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ.2546 ตามพระราชบัญญัติการพนัน ซึ่งทางสำนักงานสลากฯ ได้พยายามทำการชี้แจงมาตลอดเวลาอยู่แล้วว่าได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ แต่ถ้าหากว่ารัฐบาลชุดใหม่นี้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ดีก็สามารถยกเลิกได้ โดยอาศัยการแก้มติครม. เท่านั้น
**ชี้นโยบายยาเสพติดแม้วมีปัญหา
นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด (ป.ป.ส.)คนใหม่ เปิดเผยภายหลังเข้ารายงานตัวต่อนายชาญชัย ลิขิตจิตถะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายจรัญ ภักดีธนากุล รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้เร่งปราบปรามยาเสพติด เพราะขณะนี้มีแนวโน้มว่ายาเสพติดจะกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่ามีผู้ค้ารายย่อยหน้าใหม่จำนวนมาก ดังนั้น ต้องกลับไปดูรายละเอียดการดำเนินการของ ป.ป.ส.ที่ผ่านมาว่าทำอะไรไปบ้าง และมีส่วนบกพร่องที่ต้องการปรับกลยุทธ์ในด้านใด เพราะที่ผ่านมามีการรณรงค์และโครงการต่อต้านมากกว่าการปราบปรามอย่างจริงจัง และใช้ชื่อโครงการประกาศสงครามกับยาเสพติดเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยน ประชาชนและผู้ปฏิบัติการจึงเกิดความเคยชิน ไม่ตื่นตัว
“ผมคงต้องกลับไปทบทวนแผนปฏิบัติการที่ผ่านมา ชื่อโครงการบางอย่างเกิดความชินชาของสังคม ประกาศสงครามกับยาเสพติดบางครั้งประกาศบ่อยเกินไปประชาชนหรือคนปฏิบัติก็เกิดความเคยชินไม่รู้สึกกระตือรือร้นในการทำงาน และที่ผ่านมา ป.ป.ส.เน้นการป้องกันและรณรงค์มากกว่าการปราบปราม” นายกิตติ กล่าว และว่ารัฐมนตรียังให้ข้อมูลว่ามีการร้องเรียนเรื่องการจำหน่ายยาเสพติดในชุมชนจำนวนมาก โดยเฉพาะนักค้ายาหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชน
นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "นโยบายการพัฒนางานสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข" ในการประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาวิชาการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนว่า จะมีการปรับระบบโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยยกเลิกการเก็บเงิน 30 บาท เนื่องจากชื่อ “30 บาทรักษาทุกโรค” เป็นคำที่พรรคการเมืองนำมาทำการตลาด ขณะที่การเก็บเงินค่ารักษาบริการ 30 บาท ไม่ได้ทำให้รวยหรือจนกว่าเดิม เพราะจำนวนเงิน 30 บาทเป็นจำนวนเงินที่น้อยมาก ไม่ส่งผลให้สถานบริการหรือโรงพยาบาลได้รับผลกระทบหากจะไม่มีการเก็บเงินจำนวนดังกล่าว
ที่สำคัญคือ ไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลาของเจ้าหน้าที่ในการเก็บข้อมูลลงบัญชี ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องกลัวจะทำให้คนไม่รู้สึกเห็นค่าหรือไม่มีศักดิ์ศรี เพราะเป็นการรักษาฟรี รวมทั้งเงินก็ไม่ใช่ตัววัดศักดิ์ศรีอะไรทั้งสิ้น
ทั้งนี้ สธ.จะเน้นให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยเข้ามาเป็นคณะกรรมการสถานพยาบาล เพื่อให้เข้าใจระบบการให้การบริการไม่ต้องกังวลคุณภาพการรักษาหรือยาว่า จะมี 2 มาตรฐาน เมื่อเขาเข้าใจปัญหาต่างๆ ก็ค่อยๆ หมดไป
อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจก่อนว่าโครงการนี้นั้นแท้จริงแล้วเป็นโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นผู้ทำวิจัยก่อนที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาจะยกขึ้นมาเป็นนโยบายถึง 2-3 ปี มีการเสนอให้รัฐบาลนายชวน หลีกภัยพิจารณา แต่ขณะนั้นประเทศมีหนี้ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอ็ฟ) จึงมีการนำเสนอในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรซึ่งเห็นว่าเป็นนโยบายที่ดีจึงมีการนำนโยบายนี้ขึ้นมาหาเสียง
“เลิกพูดถึงโครงการ 30 บาท ได้แล้ว ชื่อนี้ถือเป็นเครื่องมือหาเสียงของพรรคการเมือง เพื่อแก้ปัญหาความเข้าใจผิดของประชาชนจากนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ผ่านมา แต่เราจะให้สิ่งที่เป็นของจริง การที่ไม่อยากใช้ก็ไม่ใช่เพราะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลแต่ไม่อยากเก็บ 30 บาท ซึ่งกลายเป็นปัญหาเสียเวลาแทนที่จะใช้เวลาในการดูแลรักษาให้บริการผู้ป่วยเจ้าหน้าที่จะต้องลงบัญชีถึง 3 เล่ม และคนไข้มานั่งออกันเต็มหมด ถ้าไม่เก็บได้จะได้มีโอกาสไปดูแลคนไข้ และเงินที่ได้วันหนึ่งบางแห่งได้ 120 บาท บางแห่งได้ 150 บาท เพราะบัตรทองมีทั้งเสียเงิน 30 บาท และไม่เสีย 30 บาท แต่ต้องลงบัญชี 3 เล่ม ฉะนั้น ไม่เก็บเสียเลย ก็ไม่จำเป็นต้องเรียก 30 บาท เพราะไม่มีการเก็บเงิน 30 บาทอีกแล้วและเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเหมือนเดิม”
ส่วนจะดำเนินการเมื่อใดนั้น นพ.มงคล กล่าวว่า จะเร่งหารือกันในเร็ววันนี้ กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะต้องทำงานให้เร็ว เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลโอที ถึงแม้จะสูงอายุ แต่ก็แอ็กทีฟกว่าคนหนุ่ม ซึ่งจะเร่งดำเนินการนโยบายที่เป็นไปได้ก่อน ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว กองทุนประกันสังคม และกองทุนผู้ประสบภัยจากรถนั้นเป็นเรื่องใหญ่จะยังไม่เข้าไปดำเนินการใดๆ เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนคงต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาดูแล
สำหรับการจะยกเลิกบัตรทองหรือไม่นั้น นพ.มงคล กล่าวว่า จะยังไม่ยกเลิก เพราะเป็นสัญลักษณ์ในการเข้ารับบริการขณะนี้ แต่ต่อไปข้างหน้าเมื่อไม่เก็บ 30 บาทแล้ว ก็สามารถนำบัตรประชาชนไปใช้ได้เลย ขณะนี้ตั้งไว้อย่างนั้น แต่จะต้องคุยกับทางผู้ออกบัตรว่าทำอย่างไร ให้มีข้อมูลอยู่ในบัตรประจำตัวประชาชนด้วย โดยจะพยายามที่จะไม่เก็บเงิน 30 บาทเร็วที่สุด
ขณะที่ทางด้านงบประมาณ ในปีนี้จะของบประมาณรายหัว 2,089 บาท จากเดิม 1,659 บาท แต่หากยังไม่ได้ก็จะใช้งบประมาณเก่าไปก่อน แต่เชื่อว่า หากได้เงินงบประมาณรายหัวเพิ่มขึ้นจะสามารถบริการจัดการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มเติมบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ปูทางทางกฎหมายก่อนที่จะหมดเวลารัฐบาลโอทีชุดนี้
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายยกเลิกการออกกำลังกายรวมพลคนเสื้อเหลือง ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยจะนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้ในการให้บริการดูแลรักษาพยาบาลประชาชนแทน และเน้นให้ประชาชนออกกำลังกายเป็นนิสัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่า
**สปสช.ลั่นไม่กระทบรายได้
นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงแนวคิดยกเลิกการเก็บเงิน 30 บาทกับผู้ใช้บริการบัตรทองว่า ไม่มีผลกระทบกับงบประมาณโครงการนี้ เนื่องจากแต่ละปีสถานพยาบาลทั่วประเทศจะเก็บเงินรายได้จาก 30 บาท เพียง 1,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับงบประมาณของโครงการ นอกจากนี้ กว่าร้อยละ 50 ของผู้ถือบัตรทองอยู่ในกลุ่มที่ไม่ต้องจ่าย 30 บาท เพราะเป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก และคนยากจน ซึ่งตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ได้ยกเว้นไว้ อีกทั้งการให้บริการสุขภาพก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไทยอยู่แล้ว
สำหรับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งการเปลี่ยนชื่อโครงการ การไม่เก็บ 30 บาท และอื่น ๆ นั้น คงต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาล ส่วนการให้บริการฟรีนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายใด ๆ เพราะใน พ.ร.บ.หลักประกันฯ กำหนดให้บอร์ด สปสช. ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารณสุข เป็นประธานเป็นผู้พิจารณา
**แพทย์ชนบทซัด”หญิงหน่อย”ทำวุ่น
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาโครงการนี้ มีปัญหาต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหางบประมาณไม่เพียงพอเนื่องจากได้รับงบประรายรายหัวต่ำ โดยในปี 2549 เพิ่งได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น จากที่ขอ 1,659 ต่อหัวต่อคน แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่รับงบประมาณไม่ครบจำนวน อีกเรื่องที่มีความสำคัญคือการตัดงบประมาณเงินเดือนถึง 53% ซึ่งเป็นเม็ดเงินปีละ 6,500 ล้านบาท รวมทั้งปัญหาการกระจายงบประมาณที่ไม่มีความเป็นธรรม เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขต้องดูแลประชาชนเป็นจำนวนมากทั้งในท้องถิ่นทุรกันดาร ชนกลุ่มน้อย แต่กลับได้รับงบประมาณเท่ากับหน่วยงานอื่นๆ ทำให้บุคลากรขาดแรงจูงใจ กำลังใจในการทำงาน
“ปัญหาที่เกิดไม่ได้มาจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แต่เกิดจากภายในกระทรวงเอง เป็นความไม่จริงใจของฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะในสมัยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ที่มัวแต่เล่นเกมทางการเมือง ยึดติดกับอำนาจ สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชน แพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านสาธารณสุข จนเกิดการร้องเรียนหลายๆ ครั้ง รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรเนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระได้ ทั้งๆ ที่ปัญหาต่างๆนี้สามารถที่จะแก้ไขได้ แต่ไม่ได้รับความสนใจแต่ปล่อยให้แพทย์ เจ้าหน้าที่จะต้องแก้ปัญหากันเอง"
ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวต่อว่า ในยุคที่คุณหญิงสุดารัตน์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นยุคที่ไม่เข้าใจการปฏิรูประบบสุขภาพทำให้การดำเนินนโยบายผิดพลาด ทั้งงบประมาณไม่เพียงพอและกระจายงบประมาณไม่เหมาะสม พอมาถึงนายพินิจ จารุสมบัติเป็นรัฐมนตรีก็เข้ามาแก้ไขปัญหาจนดีขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดที่แล้วมีความกล้าในการหยิบนโยบายสุขภาพถ้วนหน้าขึ้นมาซึ่งประชาชนได้ประโยชน์ เพียงแต่อย่าแอบอ้างเพราะกว่าจะได้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาเกิดจากความทุกข์ยากของบุคลากรทางการแพทย์
“ผมเชื่อมั่นว่าก้าวต่อไปของโครงการนี้จะดีขึ้นเนื่องจากได้รัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้มาตั้งแต่เริ่ม อย่างไรก็ตามปัญหาจะเกิดขึ้นได้แต่ก็ทยอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับนโยบายใหม่ในการไม่เก็บ 30 บาทในการให้บริการนั้น จริงๆ แล้วไม่สำคัญเท่ากับงบประมาณรายหัวที่จะได้รับ ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งก็ไม่มีการเก็บ 30 บาท จากประชาชนตั้งแต่ปี 2545 แล้ว”
**”ทีดีอาร์ไอ”หนุนรักษาฟรี
ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง นักวิจัยด้านสาธารณสุขของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ และในฐานะหัวหน้าโครงการติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวว่า จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมพบว่า เงินจำนวน 30 บาทที่เรียกเก็บกับประชาชนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงปีละประมาณ ไม่เกิน 1.8 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในโครงการนี้ ซึ่งรัฐบาลก็สามารถหางบประมาณมาแทนเงินจำนวนนี้ได้ไม่ยากนัก
ดร.วิโรจน์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาภาครัฐให้งบประมาณแบบปริ่มน้ำเต็มที สถานพยาบาลก็ได้เพียงเอาตัวรอดเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการให้บริการที่มีคุณภาพที่ดีได้ ดังนั้นเมื่อในปี 2550 มีงบประมาณรายหัว 2,089 บาทจากเดิมปี 2549 จำนวน 1,659 บาทต่อคนต่อปี ส่วนต่างนี้เพิ่มขึ้น 2-3 หมื่นล้านบาท จำนวนเงินที่เรียกเก็บ 30 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งรวมกันไม่เกิน 1.8 พันล้านบาท ก็ไม่น่าจะกระทบกระเทือนเท่าใดนัก
“ข้อเป็นห่วงที่หลายฝ่ายเกรงว่า เมื่อใช้บริการฟรีแล้วจะมีคนมาใช้บริการเพิ่มขึ้นนั้น อาจจะเกิดขึ้นได้บ้างในคนที่มีฐานะยากจน แต่ในส่วนของคนชนชั้นกลางนั้น การเก็บเงิน 30 บาทก็ไม่ได้เป็นตัวขัดขวางในการใช้บริการหรือไม่ใช้แต่อย่างใด อีกส่วนที่อาจเรียกว่าเป็นข้อดีก็คือ การใช้บริการฟรี อาจทำให้สิ่งที่แพทย์พยาบาลเคยบ่นเรื่องการที่ประชาชนเรียกร้องเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้คุ้มค่าจะได้ลดการเรียกร้องลง เนื่องจากฟรี”ดร.วิโรจน์กล่าว
**”อุ๋ย”ยันทบทวน 4 โครงการ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังทบทวนโครงการประชานิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาทิ โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการกองทุนหมู่บ้าน และโครงการโคล้านตัว โดยจะดูว่าความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร หากดำเนินโครงการต่อไป ก็จะยึดประโยชน์ประชาชนและต้องเพียงพอกับงบประมาณรายจ่ายปี 2550 ที่ทำขึ้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ทำโครงการอะไรที่เกินตัวมากเกินไป
ทั้งนี้ โครงการกองทุนหมู่บ้านในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการอนุมัติจำนวนเงินไปแล้ว 7.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวคาดว่าจำนวนเงินดังกล่าวจะไม่มีการอนุมัติวงเงินเพิ่ม แต่จะนำเงินที่เคยอนุมัติไปแล้วมาใช้หมุนเวียนภายในหมู่บ้าน เพื่อให้เศรษฐกิจภายในหมู่บ้านขยายตัวได้อย่างดี และส่งผลดีต่อประชากรภายในหมู่บ้านต่อไปด้วย
**ยันแก้หวยเสร็จใน 1 สัปดาห์
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า การที่มีกระแสโจมตีมายังสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอย่างรุนแรงว่ารางวัลแจ็คพอตหวย 2 ตัว 3 ตัวว่าเป็นสิ่งที่มอมเมาประชาชน รวมทั้งมีการเรียกร้องให้ทำการยกเลิกรางวัลดังกล่าวนั้น คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อทำการปรับปรุงเรื่องดังกล่าวให้ดีขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นขณะนี้นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะ ประธานกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้นเป็นผู้ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด ส่วนจะมีการยกเลิกรางวัลแจ็คพอตหรือไม่นั้นขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้
“ผมขอยืนยันตามเดิมว่าจะแก้ไขปัญหาให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์เหมือนเดิม เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาอื่นๆ ที่ต้องแก้ไขอีกเยอะมาก หากอะไรที่ดีก็เดินหน้าต่อไป แต่ถ้าไม่เหมาะสมก็ปรับปรุงแก้ไขกันไป”รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนโครงการหวยออนไลน์นั้นจะยังคงเดินหน้าต่อไปตามปกติ ซึ่งเบื้องต้นตนทราบว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคต่างๆ ซึ่งทางผู้รับผิดชอบได้ยืนยันแล้วว่าจะสามารถทำการขายหวยออนไลน์ได้ภายในสิ้นปีนี้ แต่เขาเองเชื่อว่าโครงการดังกล่าวน่าจะสามารถออกมาขายได้อย่างเต็มรูปแบบภายในเดือนมกราคมปีหน้า
“เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล หรือเป็นเรื่องใหญ่แต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขายจากการใช้คนมาเป็นเครื่องจักรทางเทคนิคแทน ซึ่งผมคิดว่าโครงการดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นก็ควรเดินหน้าต่อไป”ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
**กองสลากมีแจ็กพอตแค่บางงวด
นายวันชัย สุระกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานสลากฯ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานสลากฯ กล่าว ในวันนี้(12 ต.ค.) เวลา 9.30 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยในที่ประชุมจะมีการหารือเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับกรณีที่ขณะนี้มีกระแสโจมตีมายังสำนักงานสลากสลากฯ อย่างรุนแรงว่ารางวัลแจ็กพอตหวย 2 ตัว 3 ตัวนั้นเป็นสิ่งที่มอมเมาประชาชน ซึ่งขึ้นอยู่กับนายศุภรัตน์ ประธานกรรมการสำนักงานสลากฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจหาทางออกในเรื่องดังกล่าวต่อไป
“ผมในฐานะที่ทำงานอยู่กับกองสลากมากว่า 31 ปีนั้น เคยบอกกับผู้ใหญ่ในสำนักงานไปแล้วหลายครั้งเกี่ยวกับกรณีหวยบนดินว่า การจะออกรางวัลใดๆ ขึ้นมานั้นทางกองสลากจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เพราะการมีรางวัลแจ็กพอตเป็นจำนวนสูงๆ นั้นถือเป็นการทำให้ประชาชนทุ่มเทกับการมาซื้อหวยบนดินมากขึ้น ส่วนทางออกในการแก้ปัญหานั้นผมอยากให้ทำการกระจายเงินรางวัลแจ็กพอตออกไป โดยนำไปเพิ่มในรางวัลอื่นๆ หรือมีรางวัลเฉพาะงวดที่ขายไม่ดีเป็นประจำ เช่น ช่วงหน้าฝน หรือตอนเปิดเทอมเท่านั้น”นายวันชัยกล่าว
นายวันชัยกล่าวว่า ยอมรับว่าหากมีการยกเลิกรางวัลแจ็กพอต แล้วก็อาจจะส่งผลกระทบให้หวยใต้ดินกลับมาระบาดในสังคมไทยอย่างเดิม เนื่องจากจะทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างหวยบนดินกับหวยใต้ดินนั่นเอง ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานสลากได้มีการแต่งตั้งทีมงานขึ้นมาศึกษาผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวแล้ว เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดต่อไป
ส่วนการที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เสนอให้ยกเลิกรางวัลแจ็กพอตหวยบนดินและการขายหวยบนดินว่า การดำเนินการในโครงการดังกล่าวนั้นเริ่มมาอย่างถูกต้องจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ.2546 ตามพระราชบัญญัติการพนัน ซึ่งทางสำนักงานสลากฯ ได้พยายามทำการชี้แจงมาตลอดเวลาอยู่แล้วว่าได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ แต่ถ้าหากว่ารัฐบาลชุดใหม่นี้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ดีก็สามารถยกเลิกได้ โดยอาศัยการแก้มติครม. เท่านั้น
**ชี้นโยบายยาเสพติดแม้วมีปัญหา
นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด (ป.ป.ส.)คนใหม่ เปิดเผยภายหลังเข้ารายงานตัวต่อนายชาญชัย ลิขิตจิตถะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายจรัญ ภักดีธนากุล รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้เร่งปราบปรามยาเสพติด เพราะขณะนี้มีแนวโน้มว่ายาเสพติดจะกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่ามีผู้ค้ารายย่อยหน้าใหม่จำนวนมาก ดังนั้น ต้องกลับไปดูรายละเอียดการดำเนินการของ ป.ป.ส.ที่ผ่านมาว่าทำอะไรไปบ้าง และมีส่วนบกพร่องที่ต้องการปรับกลยุทธ์ในด้านใด เพราะที่ผ่านมามีการรณรงค์และโครงการต่อต้านมากกว่าการปราบปรามอย่างจริงจัง และใช้ชื่อโครงการประกาศสงครามกับยาเสพติดเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยน ประชาชนและผู้ปฏิบัติการจึงเกิดความเคยชิน ไม่ตื่นตัว
“ผมคงต้องกลับไปทบทวนแผนปฏิบัติการที่ผ่านมา ชื่อโครงการบางอย่างเกิดความชินชาของสังคม ประกาศสงครามกับยาเสพติดบางครั้งประกาศบ่อยเกินไปประชาชนหรือคนปฏิบัติก็เกิดความเคยชินไม่รู้สึกกระตือรือร้นในการทำงาน และที่ผ่านมา ป.ป.ส.เน้นการป้องกันและรณรงค์มากกว่าการปราบปราม” นายกิตติ กล่าว และว่ารัฐมนตรียังให้ข้อมูลว่ามีการร้องเรียนเรื่องการจำหน่ายยาเสพติดในชุมชนจำนวนมาก โดยเฉพาะนักค้ายาหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชน