ซากเดนทุจริตระบอบทักษิณสร้างปัญหาหนักให้ กฟภ. เหตุระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ที่เช่าแพงลิบลิ่วถึง 3,192 ล้านบาทจากเครือข่าย “เจ๊แดง” น้องสาวทักษิณ เจ๊งไม่เป็นท่า จับตา สตง. เงื้อดาบฟันผู้บริหาร - บอร์ด – บริษัทเอกชน จับมือทุจริตกินกันอร่อย
ขุมทรัพย์รัฐวิสาหกิจอย่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบโครงการที่ส่อไม่ชอบมาพากล โดยเฉพาะโครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก มูลค่า 3,192 ล้านบาท ที่ล็อกสเปกให้กลุ่มบริษัทพอร์ทัลเน็ท จำกัด หนึ่งในอาณาจักรเอ็มลิงค์ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ “เจ๊แดง” น้องสาวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้โครงการดังกล่าวกำลังสร้างปัญหาอย่างหนักให้แก่ กฟภ.
แหล่งข่าวจากกฟภ. แจ้งว่า ขณะนี้ ระบบซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ที่กฟภ. เช่าจากกลุ่มบริษัทพอร์ทัลเน็ทของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ “เจ๊แดง” น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังมีปัญหาในการใช้งาน และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแทนที่ผู้บริหาร กฟภ.จะไปผลักดันให้บริษัทมารับผิดชอบแก้ไขปัญหา แต่กลับใช้อำนาจบังคับให้พนักงานกฟภ.รับผิดชอบแก้ไขปัญหากันเอง ถ้าทำไม่ได้ก็ถูกขู่จะโดนปลดโดนย้าย ทำให้สำนักงานสาขากฟภ.ในภูมิภาคหลายแห่งให้พนักงานทำโอทีลงบัญชีเก็บข้อมูลด้วยมือย้อนหลังรวมทั้งหมด 8 เดือน
แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันพนักงานของบริษัทที่ดูแลระบบเหลือแต่เด็กๆ ไม่กี่คน ความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาของระบบงานที่มีมูลค่าถึง 3,192 ล้านบาท พนักงานของ กฟภ.ต้องแก้ปัญหากันเองเพื่อให้งานในแต่ละวันสามารถขับเคลื่อนไปได้
“เรื่องที่เกิดขึ้น ผู้บริหารและพนักงานโดยเฉพาะในสาขาต่างจังหวัดรู้เรื่องเป็นอย่างดีแต่ไม่มีใครกล้าพูดความจริงเพราะกลัวอิทธิพลการเมือง กลัวโดนย้ายโดนปลด งบการเงินก็ทำกันเท่าที่ทำได้ ระบบควบคุมตรวจสอบก็ไม่มี ทำให้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดการทุจริต ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่มีผู้บริหารคนไหนกล้ายืดอกยอมรับ” แหล่งข่าว กฟภ. ให้ข้อมูล
แหล่งข่าว ยังกล่าวว่า ความจริงแล้วในการอนุมัติหลักการประมูลโครงการนี้ มีผู้บริหารคนหนึ่งในกฟภ.รับรองกับที่ประชุมว่าก่อนจะนำระบบใหม่มาใช้งานต้องมีการทดสอบให้มั่นใจว่าระบบไม่มีข้อผิดพลาด โดยระหว่างติดตั้งจะใช้ระบบเก่าไปก่อน จนกว่าการทดสอบจะสมบูรณ์ 100% จึงจะโอนงานจากระบบเก่าไประบบใหม่ แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับมีการทดสอบแบบสุกเอาเผากิน การอบรมทั่วภูมิภาคใช้เวลาแค่ 2 สัปดาห์ และขึ้นระบบใหม่เลย
พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่า สัญญาเช่าซอฟท์แวร์ฯ ระบุว่า บริษัทต้องติดตั้งและส่งมอบระบบทั้งหมดให้ กฟภ. ภายใน 31 เดือน (มี.ค. 50) แต่บริษัทและผู้บริหารเร่งรัดให้ใช้ระบบตั้งแต่ต้นปี 49 และสั่งการไม่ให้ทำคู่ขนานกับระบบเดิม เพื่อบริษัทจะได้ประหยัดค่าจ้างบุคคลากร ค่าใช้จ่ายดำเนินงานและอื่นๆ โดยไม่สนว่าระบบจะใช้ได้หรือไม่ ส่วนการที่ไม่ทำคู่ขนานระบบเดิมกับระบบใหม่ โดยอ้างว่าระบบต่างกัน ยุ่งยาก เสียเวลานั้น ความจริงแล้วกลัวการเปรียบเทียบระหว่างระบบงานเดิมกับระบบงานใหม่ที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพจริงมากกว่า
นอกจากนั้น ในวันที่ 29 ม.ค. 47 ที่บอร์ดกฟภ.อนุมัติให้เช่าระบบกับกลุ่มบริษัท SPIES มีผู้บริหารบอกว่าผู้ให้เช่าจะต้องปรับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้ทันสมัยเป็นเวอร์ชั่นใหม่ แต่ความจริงแล้ว กฟภ. ต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เป็นร้อยเครื่องเพื่อรองรับซอฟท์แวร์ระบบใหม่ ทั้งที่สัญญาก็ระบุว่า ระบบนี้ต้องสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องคอมพิวเตอร์เดิมที่กฟภ.มีอยู่
โครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก มูลค่า 3,192 ล้านบาท เริ่มต้นขึ้นในปี 45 โดยเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 45 คณะกรรมการ กฟภ. (บอร์ด) ให้จ้างบริษัทอาร์เธอร์แอนด์เดอร์เซน จำกัด ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทที่ปรึกษาอินทนนท์ จำกัด ในภายหลัง ให้ดำเนินการจัดทำคุณสมบัติเฉพาะซอฟท์แวร์สำเร็จรูป, ปรับโครงสร้างธุรกิจหลักและโครงสร้างหน่วยงานไอทีและจัดกระบวนการทำงานใหม่ทั้งหมด, วิเคราะห์ผลการประกวดราคาจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป, ควบคุมการติดตั้ง โดยมีระยะเวลาจ้าง 30 เดือน
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 45 บอร์ดกฟภ.ให้ความเห็นชอบผลการศึกษาของบริษัทอินทนนท์ฯ จากนั้น วันที่ 30 ก.ย. 45 บริษัทอินทนนท์จัดส่งร่างคุณสมบัติเฉพาะของซอฟท์แวร์สำเร็จรูปให้ กฟภ. และวันที่ 30 พ.ย. 45 เจ้าหน้าที่กฟภ. จำนวน 12 คน ร่วมกับบริษัทอินทนนท์ แก้ไขร่างคุณสมบัติฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการของ กฟภ.
จากนั้น เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 46 ผู้เกี่ยวข้องทำบันทึกถึงผู้ว่าการ กฟภ. ขออนุมัติหลักการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป สรุปสาระสำคัญ คือ ระบบนี้มี 9 โมดูล, มูลค่า 1,926 ล้านบาท, บริษัทอินทนนท์ ประเมินผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 12.6%, แนวทางการลงทุนเปรียบเทียบระหว่างการเช่ากับลงทุนเอง คิดเป็นราคาค่าเช่า 1,809 ล้านบาท ลงทุนเอง 2,087 ล้านบาท,
แผนดำเนินการประกวดราคา, ขออนุมัติหลักการฯ โดยการเช่า และขออนุมัติราคากลางในการประกวดค่าเช่าระบบ แบ่งเป็นค่าเช่าระบบไม่เกิน 1,926 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ ไม่เกิน 10% หลังติดตั้งใช้งานครบ 3 ปี ค่าบำรุงรักษาซอฟท์แวร์ ไม่เกิน 15% หลังติดตั้งใช้งานครบ 1 ปี อีกทั้งยังขอแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นและพิจารณาผลการประกวดราคา จำนวน 9 คน
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 46 บอร์ดกฟภ. อนุมัติตามที่ผู้ว่าการฯ เสนอ โดยมีมติอนุมัติเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ฯ ราคาประมาณการระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป คิดเป็นเงิน 1,926 ล้านบาท ระยะเวลาติดตั้งระบบ 3 ปี ระยะเวลาเช่า 5 ปี ค่าเช่ารวมค่าบำรุงรักษาและค่าดอกเบี้ย (อัตรา 6.75%) ปีละ 666 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 3,330 ล้านบาท
ถัดจากนั้น เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 46 บอร์ด กฟภ.อนุมัติผลการพิจารณาด้านเทคนิกให้กับกลุ่มบริษัทค้าร่วมซีเมนท์ SPIES ประกอบด้วย บริษัทซีเมนส์ – ซีเมนส์ เอจี – ไอบีเอ็ม และ พอร์ทัลเน็ท ผ่านเกณฑ์เทคนิคและให้คณะกรรมการคัดเลือกเปิดซองราคาต่อรองตกลงกันเป็นเงิน 3,192 ล้านบาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ระยะเวลาเช่า 60 เดือน โดยบอร์ด กฟภ.มีมติอนุมัติผลการประมูลเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 47
โครงการนี้มีความไม่ชอบมาพากลตั้งแต่ต้น คือ 1) ผู้บริหารของบริษัทอินทนนท์ ที่บอร์ดกฟภ.อนุมัติให้ว่าจ้างวางระบบและกำหนดสเปกงานประมูลครั้งนี้ มีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะ นายวรนันท์ ถาวรนันท์ ผู้จัดการโครงการและหัวหน้าคณะทำงานจัดทำคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูลของบริษัทอินทนนท์ ได้ลาออกจากบริษัทอินทนนท์ หลังจากกำหนดคุณสมบัติฯ เสร็จ เพื่อไปเป็นผู้บริหารในกลุ่มบริษัทร่วมค้าซีเมนส์ โดยรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการด้านธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงาน ของบริษัทไอบีเอ็ม บิสสิเนส คอนซัลติ้ง เซอร์วิส ประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ชนะการประมูลในครั้งนี้ และบริษัทอินทนนท์ ยังจะต้องเป็นผู้ดูแลควบคุมการติดตั้งระบบอีกด้วย
2) กลุ่มบริษัท SPIES ซึ่งมีบริษัทพอร์ทัลเนท อยู่ด้วยนั้น บริษัทดังกล่าวอยู่ในกลุ่มเอ็มลิงค์ ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ในข้อเสนอเข้าประกวดราคา ระบุว่า ในการเข้าประมูลงานของกฟภ.ทางพอร์ทัลเนท จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน ทำหน้าที่ประสานงานบริการทางด้านการจัดการ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านบริหารโครงการ
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 49 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานตรวจสอบทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องนี้ต่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสตง.ขอให้ตรวจสอบความไม่โปร่ในการอนุมัติโครงการและขั้นตอนการประมูล รวมทั้งมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต 5 ประเด็นหลัก คือ
1. การอนุมัติโครงการในคณะกรรมการ กฟภ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยที่ทำสัญญาส่อพิรุธ เช่น การเปลี่ยนจากการซื้อเป็นเช่า ซึ่งเมื่อเทียบกับการจัดซื้อแล้วรัฐจะได้ประโยชน์มากกว่าการเช่า
2.วงเงินงบประมาณการเช่าจำนวน 3,192 ล้านบาทสูงเกินจริง 3.ขั้นตอนการประมูลไม่โปร่งใส จากผู้ยื่นประกวดราคาทั้งสิ้น 8 ราย แต่กลับมีผู้ผ่านเทคนิคเพียงรายเดียวที่ได้รับการเปิดซองราคา ซึ่งราคาที่ผู้ชนะการประมูลนั้นมีราคาใกล้เคียงกับราคากลางมาก
4.บริษัทในกลุ่มกิจการค้าที่ชนะการประมูลของ กฟภ.เป็นของน้องสาวนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท แต่ชนะการประมูลมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท และ 5.บริษัทที่ปรึกษาอินทนนท์ ที่ได้รับจ้างให้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าว มีผลการศึกษาที่น่าเคลือบแคลง
ขุมทรัพย์รัฐวิสาหกิจอย่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบโครงการที่ส่อไม่ชอบมาพากล โดยเฉพาะโครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก มูลค่า 3,192 ล้านบาท ที่ล็อกสเปกให้กลุ่มบริษัทพอร์ทัลเน็ท จำกัด หนึ่งในอาณาจักรเอ็มลิงค์ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ “เจ๊แดง” น้องสาวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้โครงการดังกล่าวกำลังสร้างปัญหาอย่างหนักให้แก่ กฟภ.
แหล่งข่าวจากกฟภ. แจ้งว่า ขณะนี้ ระบบซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ที่กฟภ. เช่าจากกลุ่มบริษัทพอร์ทัลเน็ทของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ “เจ๊แดง” น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังมีปัญหาในการใช้งาน และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแทนที่ผู้บริหาร กฟภ.จะไปผลักดันให้บริษัทมารับผิดชอบแก้ไขปัญหา แต่กลับใช้อำนาจบังคับให้พนักงานกฟภ.รับผิดชอบแก้ไขปัญหากันเอง ถ้าทำไม่ได้ก็ถูกขู่จะโดนปลดโดนย้าย ทำให้สำนักงานสาขากฟภ.ในภูมิภาคหลายแห่งให้พนักงานทำโอทีลงบัญชีเก็บข้อมูลด้วยมือย้อนหลังรวมทั้งหมด 8 เดือน
แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันพนักงานของบริษัทที่ดูแลระบบเหลือแต่เด็กๆ ไม่กี่คน ความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาของระบบงานที่มีมูลค่าถึง 3,192 ล้านบาท พนักงานของ กฟภ.ต้องแก้ปัญหากันเองเพื่อให้งานในแต่ละวันสามารถขับเคลื่อนไปได้
“เรื่องที่เกิดขึ้น ผู้บริหารและพนักงานโดยเฉพาะในสาขาต่างจังหวัดรู้เรื่องเป็นอย่างดีแต่ไม่มีใครกล้าพูดความจริงเพราะกลัวอิทธิพลการเมือง กลัวโดนย้ายโดนปลด งบการเงินก็ทำกันเท่าที่ทำได้ ระบบควบคุมตรวจสอบก็ไม่มี ทำให้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดการทุจริต ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่มีผู้บริหารคนไหนกล้ายืดอกยอมรับ” แหล่งข่าว กฟภ. ให้ข้อมูล
แหล่งข่าว ยังกล่าวว่า ความจริงแล้วในการอนุมัติหลักการประมูลโครงการนี้ มีผู้บริหารคนหนึ่งในกฟภ.รับรองกับที่ประชุมว่าก่อนจะนำระบบใหม่มาใช้งานต้องมีการทดสอบให้มั่นใจว่าระบบไม่มีข้อผิดพลาด โดยระหว่างติดตั้งจะใช้ระบบเก่าไปก่อน จนกว่าการทดสอบจะสมบูรณ์ 100% จึงจะโอนงานจากระบบเก่าไประบบใหม่ แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับมีการทดสอบแบบสุกเอาเผากิน การอบรมทั่วภูมิภาคใช้เวลาแค่ 2 สัปดาห์ และขึ้นระบบใหม่เลย
พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่า สัญญาเช่าซอฟท์แวร์ฯ ระบุว่า บริษัทต้องติดตั้งและส่งมอบระบบทั้งหมดให้ กฟภ. ภายใน 31 เดือน (มี.ค. 50) แต่บริษัทและผู้บริหารเร่งรัดให้ใช้ระบบตั้งแต่ต้นปี 49 และสั่งการไม่ให้ทำคู่ขนานกับระบบเดิม เพื่อบริษัทจะได้ประหยัดค่าจ้างบุคคลากร ค่าใช้จ่ายดำเนินงานและอื่นๆ โดยไม่สนว่าระบบจะใช้ได้หรือไม่ ส่วนการที่ไม่ทำคู่ขนานระบบเดิมกับระบบใหม่ โดยอ้างว่าระบบต่างกัน ยุ่งยาก เสียเวลานั้น ความจริงแล้วกลัวการเปรียบเทียบระหว่างระบบงานเดิมกับระบบงานใหม่ที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพจริงมากกว่า
นอกจากนั้น ในวันที่ 29 ม.ค. 47 ที่บอร์ดกฟภ.อนุมัติให้เช่าระบบกับกลุ่มบริษัท SPIES มีผู้บริหารบอกว่าผู้ให้เช่าจะต้องปรับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้ทันสมัยเป็นเวอร์ชั่นใหม่ แต่ความจริงแล้ว กฟภ. ต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เป็นร้อยเครื่องเพื่อรองรับซอฟท์แวร์ระบบใหม่ ทั้งที่สัญญาก็ระบุว่า ระบบนี้ต้องสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องคอมพิวเตอร์เดิมที่กฟภ.มีอยู่
โครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก มูลค่า 3,192 ล้านบาท เริ่มต้นขึ้นในปี 45 โดยเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 45 คณะกรรมการ กฟภ. (บอร์ด) ให้จ้างบริษัทอาร์เธอร์แอนด์เดอร์เซน จำกัด ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทที่ปรึกษาอินทนนท์ จำกัด ในภายหลัง ให้ดำเนินการจัดทำคุณสมบัติเฉพาะซอฟท์แวร์สำเร็จรูป, ปรับโครงสร้างธุรกิจหลักและโครงสร้างหน่วยงานไอทีและจัดกระบวนการทำงานใหม่ทั้งหมด, วิเคราะห์ผลการประกวดราคาจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป, ควบคุมการติดตั้ง โดยมีระยะเวลาจ้าง 30 เดือน
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 45 บอร์ดกฟภ.ให้ความเห็นชอบผลการศึกษาของบริษัทอินทนนท์ฯ จากนั้น วันที่ 30 ก.ย. 45 บริษัทอินทนนท์จัดส่งร่างคุณสมบัติเฉพาะของซอฟท์แวร์สำเร็จรูปให้ กฟภ. และวันที่ 30 พ.ย. 45 เจ้าหน้าที่กฟภ. จำนวน 12 คน ร่วมกับบริษัทอินทนนท์ แก้ไขร่างคุณสมบัติฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการของ กฟภ.
จากนั้น เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 46 ผู้เกี่ยวข้องทำบันทึกถึงผู้ว่าการ กฟภ. ขออนุมัติหลักการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป สรุปสาระสำคัญ คือ ระบบนี้มี 9 โมดูล, มูลค่า 1,926 ล้านบาท, บริษัทอินทนนท์ ประเมินผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 12.6%, แนวทางการลงทุนเปรียบเทียบระหว่างการเช่ากับลงทุนเอง คิดเป็นราคาค่าเช่า 1,809 ล้านบาท ลงทุนเอง 2,087 ล้านบาท,
แผนดำเนินการประกวดราคา, ขออนุมัติหลักการฯ โดยการเช่า และขออนุมัติราคากลางในการประกวดค่าเช่าระบบ แบ่งเป็นค่าเช่าระบบไม่เกิน 1,926 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ ไม่เกิน 10% หลังติดตั้งใช้งานครบ 3 ปี ค่าบำรุงรักษาซอฟท์แวร์ ไม่เกิน 15% หลังติดตั้งใช้งานครบ 1 ปี อีกทั้งยังขอแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นและพิจารณาผลการประกวดราคา จำนวน 9 คน
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 46 บอร์ดกฟภ. อนุมัติตามที่ผู้ว่าการฯ เสนอ โดยมีมติอนุมัติเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ฯ ราคาประมาณการระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป คิดเป็นเงิน 1,926 ล้านบาท ระยะเวลาติดตั้งระบบ 3 ปี ระยะเวลาเช่า 5 ปี ค่าเช่ารวมค่าบำรุงรักษาและค่าดอกเบี้ย (อัตรา 6.75%) ปีละ 666 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 3,330 ล้านบาท
ถัดจากนั้น เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 46 บอร์ด กฟภ.อนุมัติผลการพิจารณาด้านเทคนิกให้กับกลุ่มบริษัทค้าร่วมซีเมนท์ SPIES ประกอบด้วย บริษัทซีเมนส์ – ซีเมนส์ เอจี – ไอบีเอ็ม และ พอร์ทัลเน็ท ผ่านเกณฑ์เทคนิคและให้คณะกรรมการคัดเลือกเปิดซองราคาต่อรองตกลงกันเป็นเงิน 3,192 ล้านบาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ระยะเวลาเช่า 60 เดือน โดยบอร์ด กฟภ.มีมติอนุมัติผลการประมูลเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 47
โครงการนี้มีความไม่ชอบมาพากลตั้งแต่ต้น คือ 1) ผู้บริหารของบริษัทอินทนนท์ ที่บอร์ดกฟภ.อนุมัติให้ว่าจ้างวางระบบและกำหนดสเปกงานประมูลครั้งนี้ มีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะ นายวรนันท์ ถาวรนันท์ ผู้จัดการโครงการและหัวหน้าคณะทำงานจัดทำคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูลของบริษัทอินทนนท์ ได้ลาออกจากบริษัทอินทนนท์ หลังจากกำหนดคุณสมบัติฯ เสร็จ เพื่อไปเป็นผู้บริหารในกลุ่มบริษัทร่วมค้าซีเมนส์ โดยรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการด้านธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงาน ของบริษัทไอบีเอ็ม บิสสิเนส คอนซัลติ้ง เซอร์วิส ประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ชนะการประมูลในครั้งนี้ และบริษัทอินทนนท์ ยังจะต้องเป็นผู้ดูแลควบคุมการติดตั้งระบบอีกด้วย
2) กลุ่มบริษัท SPIES ซึ่งมีบริษัทพอร์ทัลเนท อยู่ด้วยนั้น บริษัทดังกล่าวอยู่ในกลุ่มเอ็มลิงค์ ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ในข้อเสนอเข้าประกวดราคา ระบุว่า ในการเข้าประมูลงานของกฟภ.ทางพอร์ทัลเนท จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน ทำหน้าที่ประสานงานบริการทางด้านการจัดการ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านบริหารโครงการ
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 49 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานตรวจสอบทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องนี้ต่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสตง.ขอให้ตรวจสอบความไม่โปร่ในการอนุมัติโครงการและขั้นตอนการประมูล รวมทั้งมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต 5 ประเด็นหลัก คือ
1. การอนุมัติโครงการในคณะกรรมการ กฟภ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยที่ทำสัญญาส่อพิรุธ เช่น การเปลี่ยนจากการซื้อเป็นเช่า ซึ่งเมื่อเทียบกับการจัดซื้อแล้วรัฐจะได้ประโยชน์มากกว่าการเช่า
2.วงเงินงบประมาณการเช่าจำนวน 3,192 ล้านบาทสูงเกินจริง 3.ขั้นตอนการประมูลไม่โปร่งใส จากผู้ยื่นประกวดราคาทั้งสิ้น 8 ราย แต่กลับมีผู้ผ่านเทคนิคเพียงรายเดียวที่ได้รับการเปิดซองราคา ซึ่งราคาที่ผู้ชนะการประมูลนั้นมีราคาใกล้เคียงกับราคากลางมาก
4.บริษัทในกลุ่มกิจการค้าที่ชนะการประมูลของ กฟภ.เป็นของน้องสาวนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท แต่ชนะการประมูลมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท และ 5.บริษัทที่ปรึกษาอินทนนท์ ที่ได้รับจ้างให้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าว มีผลการศึกษาที่น่าเคลือบแคลง