นายกฯเผย "พล.อ.ไวพจน์"เป็นตัวแทนฝ่ายไทยร่วมเจรจา"มหาเธร์"และกลุ่มก่อความไม่สงบถือเป็นการส่งสัญญาณที่ดี ระบุยังไม่ลงพื้นที่จนกว่าจะปรับแนวทางการจัดองค์กรเสร็จ ขณะที่สื่อแดนเสือเหลือง อ้างคำพูดของบุตรชายมหาเธร์ ระบุมีการเจรจากันมานานแล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าทางฝ่ายกลุ่มก่อความไม่สงบจะยกเลิกข้อเรียกร้องแบ่งแยกดินแดน แลกเปลี่ยนกับการที่รัฐบาลจะให้นิรโทษกรรม การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ตลอดจนยอมให้ใช้ภาษามลายูในโรงเรียน ขณะที่ทางฝ่ายรัฐบาลไทย ก็ต้องการให้มีการหยุดยิง และให้ผู้ก่อความไม่สงบยอมมอบอาวุธ
วานนี้ (11 ต.ค.)พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ระบุจะเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างแกนนำกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับฝ่ายไทยว่า ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียด แต่ทราบว่าพล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมเจรจาด้วย แต่ยังไม่ได้เชิญ พล.อ.ไวพจน์ มาชี้แจงในรายละเอียด ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เร่งด่วนมากนัก
"ผมคิดว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ได้มีการพบปะพูดจากันมานานแล้วพอสมควร"นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบที่เจรจานั้นเป็นระดับแกนนำที่ฝ่ายไทยหาตัวอยู่ใช่หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าพล.ท.ไวพจน์ พบกับใครบ้าง ทราบเพียงว่า นายมหาเธร์ เป็นผู้ริเริ่มของฝ่ายมาเลเซีย ส่วนฝ่ายไทย คือ พล.ท.ไวพจน์
อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้นายกรัฐมนตรีจะยังไม่ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะขอขอเวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อดูเรื่องการปรับแนวทางการจัดองค์กรใหม่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยจะลงไปพบกับบุคคลสำคัญในพื้นที่
**เผยเงื่อนไขการเจรจา
ด้านสำนักข่าวเบอร์นามา ของทางการมาเลเซีย อ้างคำพูดของบุตรชายนายมหาเธร์ โมฮำหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ว่า จากการเจรจากันระหว่างผู้แทนรัฐบาลไทยกับพวกผู้นำขบวนการแบ่งแยกดินแดนใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงที่ผ่านมา ทางฝ่ายแบ่งแยกดินแดนได้ตกลงที่จะยกเลิกการเรียกร้องขอเป็นเอกราช แลกเปลี่ยนกับการที่รัฐบาลจะให้นิรโทษกรรม, การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น,เงินทุนจำนวนมากขึ้น,ตลอดจนยอมให้ใช้ภาษามลายูในโรงเรียน ขณะที่ทางฝ่ายรัฐบาลไทย ก็ต้องการให้มีการหยุดยิง และให้ผู้ก่อความไม่สงบยอมมอบอาวุธ
ข้อตกลงต่างๆ เหล่านี้ ได้บรรจุเอาไว้ในฉบับร่างของ "แผนการร่วมเพื่อสันติภาพและการพัฒนาภาคใต้ของประเทศไทย"ซึ่งจัดทำกันภายหลังการเจรจาเป็นแรมเดือน ระหว่างผู้แทนขบวนการแบ่งแยกดินแดน และผู้แทนรัฐบาลไทย โดยมีการพูดคุยกันทั้งที่ เกาะลังกาวี และที่ปุตราจายา อันเป็นศูนย์ราชการของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงกัวลาลัมเปอร์
ทั้งนี้ องค์การเพอร์ดานาเพื่อสันติภาพแห่งโลก(พีจีพีโอ)ซึ่งเป็นองค์กรนอกภาครัฐที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในปุตราจายา และมีนายมหาเธร์ เป็นประธาน เป็นตัวกลางจัดการเจรจาหารือระหว่างทั้งสองฝ่ายภายหลังอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ผู้นี้มาเยือนไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว
นายมหาเธร์เคยแถลงก่อนหน้านี้ว่า เขาได้รับคำขอจากนายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งเวลานั้นเป็นประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ ให้เข้ามาช่วยเหลือ อีกทั้งตอนที่เขามาเยือนไทย ก็ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
นายมุคริซ มหาเธร์ บุตรชายของนายมหาเธร์ และก็เป็นกรรมการบริหารขององค์การพีจีพีโอ ตลอดจนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจาเหล่านี้ด้วย บอกกับสำนักข่าวเบอร์นามาว่า ถึงแม้เนื้อหาของร่างเอกสารดังกล่าว ได้เป็นที่ตกลงกันของทั้งสองฝ่ายในระหว่างการพูดจากันแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลไทยในเวลานั้นซึ่งคือ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังมิได้มีการตอบสนองใดๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยขณะนั้นก็ได้
"เราได้แสดงบทบาทของเราในการนำเอาทั้งสองฝ่ายมาพูดจากัน ร่างก็ทำเรียบร้อยแล้ว และเราก็จัดส่งให้แก่พวกเขาแล้ว อันที่จริง ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนนั้นได้เห็นชอบกับเนื้อหาของร่าง และพร้อมที่จะลงนามแล้วด้วยซ้ำ เราแค่กำลังรอทางฝ่ายรัฐบาลไทยที่จะบอกให้เดินหน้ากันต่อไปเท่านั้น"นายมุคริซกล่าว เมื่อวันอังคาร (10 ต.ค.)
บุตรชายนายมหาเธร์ บอกด้วยว่า ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่มาร่วมการเจรจาประกอบด้วยพวกผู้นำของกลุ่มเบอร์ซาตู อันเป็นองค์การพันธมิตรหลายๆ กลุ่มที่มีกลุ่มบีอาร์เอ็นรวมอยู่ด้วย,กลุ่มพูโล, บีไอพีพี (แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามปัตตานี),และ จีไอเอ็มพี (ขบวนการมุญาฮิดีนมุสลิมแห่งปัตตานี)
ขณะที่ผู้แทนของทางการไทย คือ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ที่เวลานั้นเป็นผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด และ พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล ซึ่งเวลานั้นเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ภายหลังการโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ พล.ท.ไวพจน์ ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ขณะที่พล.อ.วินัย ซึ่งเป็นเลขาธิการคปค.ก็ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม
นายมุคริซ บอกว่า ตามข้อตกลงที่เสนอจะเซ็นกันนี้ ผู้นำแบ่งแยกดินแดน 4-5 คน จะลงนามในนามของประชาชนเชื้อสายมลายูทางภาคใต้
เขากล่าวว่า ทางผู้แทนไทยต้องการให้ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนมอบอาวุธแก่ทางการ ทันทีที่มีการลงนามในข้อตกลง เพื่อรับประกันว่าจะเกิดสันติภาพอันยืนยาว
"พวกผู้นำแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ก็เห็นด้วย แต่บนเงื่อนไขที่ว่า ทุกคนที่ถูกทางการขึ้นบัญชีดำไว้จะได้รับนิรโทษกรรม"
อย่างไรก็ตาม นายมุคริซ กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าความรุนแรงจะไม่อาจถูกกำจัดไปอย่างถาวรได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นต้นว่า พวกกลุ่มอาชญากร,การแก้แค้นทางการเมือง,พวกลักลอบขนของเถื่อน,และแก๊งยาเสพติด
เมื่อถูกถามว่า หลังรัฐบาลทักษิณถูกโค่น ข้อตกลงนี้จะพลอยถูกกระทบกระเทือนไปด้วยหรือไม่ เขาตอบว่าเงื่อนไขในเวลานี้น่าจะดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนด้วยซ้ำ เพราะคนทางภาคใต้ของไทยส่วนใหญ่ ระแวงสงสัยการจัดการปัญหาภาคใต้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ นอกจากนั้น นายทหารไทยที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเหล่านี้ ปัจจุบันต่างก็ได้ตำแหน่งสูงขึ้น จึงน่าจะยิ่งเอื้อต่อการทำข้อตกลงกัน
**รัฐบาลเจ้าภาพจัดเลี้ยงละศีลอด
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 17.30 น.วานนี้ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลได้เป็นเจ้าภาพ จัดเลี้ยงละศีลอดรอมฎอน ปี ฮ.ศ.1427 ขึ้นที่ทำเนียบรัฐฐาล โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คณะรัฐมนตรีพร้อมภริยา และ คณะทูตานุทูตประเทศมุสลิม 18 ประเทศ รวมทั้งนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)และผู้นำศาสนาอิสลามอีกจำนวนหนึ่งมาร่วมด้วย
ส่วนที่อาคารสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส พล.ต.กสิกร คีรีศรี รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เป็นตัวแทน พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 แนำข้าวสาร น้ำตาลทราย น้ำดื่ม และอินทผาลัม มามอบให้ นายอับดุลรอซัค อารี ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้นำศาสนาตามมัสยิดต่างๆ ทั้ง 13 อำเภอ เพื่อใช้ในการละศีลอด ช่วงเดือนรอมฎอน ประจำปี 2549 จากนั้นรองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ร่วมพูดคุยกับกลุ่มผู้นำศาสนาและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสที่มาให้การต้อนรับ
วานนี้ (11 ต.ค.)พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ระบุจะเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างแกนนำกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับฝ่ายไทยว่า ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียด แต่ทราบว่าพล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมเจรจาด้วย แต่ยังไม่ได้เชิญ พล.อ.ไวพจน์ มาชี้แจงในรายละเอียด ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เร่งด่วนมากนัก
"ผมคิดว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ได้มีการพบปะพูดจากันมานานแล้วพอสมควร"นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบที่เจรจานั้นเป็นระดับแกนนำที่ฝ่ายไทยหาตัวอยู่ใช่หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าพล.ท.ไวพจน์ พบกับใครบ้าง ทราบเพียงว่า นายมหาเธร์ เป็นผู้ริเริ่มของฝ่ายมาเลเซีย ส่วนฝ่ายไทย คือ พล.ท.ไวพจน์
อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้นายกรัฐมนตรีจะยังไม่ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะขอขอเวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อดูเรื่องการปรับแนวทางการจัดองค์กรใหม่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยจะลงไปพบกับบุคคลสำคัญในพื้นที่
**เผยเงื่อนไขการเจรจา
ด้านสำนักข่าวเบอร์นามา ของทางการมาเลเซีย อ้างคำพูดของบุตรชายนายมหาเธร์ โมฮำหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ว่า จากการเจรจากันระหว่างผู้แทนรัฐบาลไทยกับพวกผู้นำขบวนการแบ่งแยกดินแดนใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงที่ผ่านมา ทางฝ่ายแบ่งแยกดินแดนได้ตกลงที่จะยกเลิกการเรียกร้องขอเป็นเอกราช แลกเปลี่ยนกับการที่รัฐบาลจะให้นิรโทษกรรม, การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น,เงินทุนจำนวนมากขึ้น,ตลอดจนยอมให้ใช้ภาษามลายูในโรงเรียน ขณะที่ทางฝ่ายรัฐบาลไทย ก็ต้องการให้มีการหยุดยิง และให้ผู้ก่อความไม่สงบยอมมอบอาวุธ
ข้อตกลงต่างๆ เหล่านี้ ได้บรรจุเอาไว้ในฉบับร่างของ "แผนการร่วมเพื่อสันติภาพและการพัฒนาภาคใต้ของประเทศไทย"ซึ่งจัดทำกันภายหลังการเจรจาเป็นแรมเดือน ระหว่างผู้แทนขบวนการแบ่งแยกดินแดน และผู้แทนรัฐบาลไทย โดยมีการพูดคุยกันทั้งที่ เกาะลังกาวี และที่ปุตราจายา อันเป็นศูนย์ราชการของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงกัวลาลัมเปอร์
ทั้งนี้ องค์การเพอร์ดานาเพื่อสันติภาพแห่งโลก(พีจีพีโอ)ซึ่งเป็นองค์กรนอกภาครัฐที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในปุตราจายา และมีนายมหาเธร์ เป็นประธาน เป็นตัวกลางจัดการเจรจาหารือระหว่างทั้งสองฝ่ายภายหลังอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ผู้นี้มาเยือนไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว
นายมหาเธร์เคยแถลงก่อนหน้านี้ว่า เขาได้รับคำขอจากนายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งเวลานั้นเป็นประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ ให้เข้ามาช่วยเหลือ อีกทั้งตอนที่เขามาเยือนไทย ก็ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
นายมุคริซ มหาเธร์ บุตรชายของนายมหาเธร์ และก็เป็นกรรมการบริหารขององค์การพีจีพีโอ ตลอดจนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจาเหล่านี้ด้วย บอกกับสำนักข่าวเบอร์นามาว่า ถึงแม้เนื้อหาของร่างเอกสารดังกล่าว ได้เป็นที่ตกลงกันของทั้งสองฝ่ายในระหว่างการพูดจากันแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลไทยในเวลานั้นซึ่งคือ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังมิได้มีการตอบสนองใดๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยขณะนั้นก็ได้
"เราได้แสดงบทบาทของเราในการนำเอาทั้งสองฝ่ายมาพูดจากัน ร่างก็ทำเรียบร้อยแล้ว และเราก็จัดส่งให้แก่พวกเขาแล้ว อันที่จริง ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนนั้นได้เห็นชอบกับเนื้อหาของร่าง และพร้อมที่จะลงนามแล้วด้วยซ้ำ เราแค่กำลังรอทางฝ่ายรัฐบาลไทยที่จะบอกให้เดินหน้ากันต่อไปเท่านั้น"นายมุคริซกล่าว เมื่อวันอังคาร (10 ต.ค.)
บุตรชายนายมหาเธร์ บอกด้วยว่า ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่มาร่วมการเจรจาประกอบด้วยพวกผู้นำของกลุ่มเบอร์ซาตู อันเป็นองค์การพันธมิตรหลายๆ กลุ่มที่มีกลุ่มบีอาร์เอ็นรวมอยู่ด้วย,กลุ่มพูโล, บีไอพีพี (แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามปัตตานี),และ จีไอเอ็มพี (ขบวนการมุญาฮิดีนมุสลิมแห่งปัตตานี)
ขณะที่ผู้แทนของทางการไทย คือ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ที่เวลานั้นเป็นผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด และ พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล ซึ่งเวลานั้นเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ภายหลังการโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ พล.ท.ไวพจน์ ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ขณะที่พล.อ.วินัย ซึ่งเป็นเลขาธิการคปค.ก็ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม
นายมุคริซ บอกว่า ตามข้อตกลงที่เสนอจะเซ็นกันนี้ ผู้นำแบ่งแยกดินแดน 4-5 คน จะลงนามในนามของประชาชนเชื้อสายมลายูทางภาคใต้
เขากล่าวว่า ทางผู้แทนไทยต้องการให้ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนมอบอาวุธแก่ทางการ ทันทีที่มีการลงนามในข้อตกลง เพื่อรับประกันว่าจะเกิดสันติภาพอันยืนยาว
"พวกผู้นำแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ก็เห็นด้วย แต่บนเงื่อนไขที่ว่า ทุกคนที่ถูกทางการขึ้นบัญชีดำไว้จะได้รับนิรโทษกรรม"
อย่างไรก็ตาม นายมุคริซ กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าความรุนแรงจะไม่อาจถูกกำจัดไปอย่างถาวรได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นต้นว่า พวกกลุ่มอาชญากร,การแก้แค้นทางการเมือง,พวกลักลอบขนของเถื่อน,และแก๊งยาเสพติด
เมื่อถูกถามว่า หลังรัฐบาลทักษิณถูกโค่น ข้อตกลงนี้จะพลอยถูกกระทบกระเทือนไปด้วยหรือไม่ เขาตอบว่าเงื่อนไขในเวลานี้น่าจะดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนด้วยซ้ำ เพราะคนทางภาคใต้ของไทยส่วนใหญ่ ระแวงสงสัยการจัดการปัญหาภาคใต้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ นอกจากนั้น นายทหารไทยที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเหล่านี้ ปัจจุบันต่างก็ได้ตำแหน่งสูงขึ้น จึงน่าจะยิ่งเอื้อต่อการทำข้อตกลงกัน
**รัฐบาลเจ้าภาพจัดเลี้ยงละศีลอด
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 17.30 น.วานนี้ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลได้เป็นเจ้าภาพ จัดเลี้ยงละศีลอดรอมฎอน ปี ฮ.ศ.1427 ขึ้นที่ทำเนียบรัฐฐาล โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คณะรัฐมนตรีพร้อมภริยา และ คณะทูตานุทูตประเทศมุสลิม 18 ประเทศ รวมทั้งนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)และผู้นำศาสนาอิสลามอีกจำนวนหนึ่งมาร่วมด้วย
ส่วนที่อาคารสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส พล.ต.กสิกร คีรีศรี รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เป็นตัวแทน พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 แนำข้าวสาร น้ำตาลทราย น้ำดื่ม และอินทผาลัม มามอบให้ นายอับดุลรอซัค อารี ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้นำศาสนาตามมัสยิดต่างๆ ทั้ง 13 อำเภอ เพื่อใช้ในการละศีลอด ช่วงเดือนรอมฎอน ประจำปี 2549 จากนั้นรองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ร่วมพูดคุยกับกลุ่มผู้นำศาสนาและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสที่มาให้การต้อนรับ