ในช่วง “เขมรแตก” หลังจากที่เวียดนามถอนกำลัง 7 กองพลออกไปจากเขมร เหลืออีก 3 กองพลไว้เป็นกองกำลังของรัฐบาลหุ่นเปิดระบอบ “เฮง-สัมริน” นั้น เขมรมีรัฐบาลที่กุมอำนาจอยู่ในพนมเปญและพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่ทางด้านที่ติดกับพรมแดนไทยตั้งแต่ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จนถึงคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นพื้นที่ของเขมรแดงที่แตกมาจากพนมเปญ และมีพื้นที่ยึดครองของเขมรฝ่าย “สีหนุ” เขมรเสรีอีก 2 ฝ่ายอยู่เป็นบางส่วน และในที่สุด เขมร 3 ฝ่าย คือเขมรแดง เขมรสีหนุ และเขมรเสรีก็รวมกันทางการเมืองเป็นรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย หรือรัฐบาลเขมร 3 ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายก็มีกองทัพของตัวเองอย่างเป็นอิสระ ทำการสู้รบกับทหารเวียดนาม และเขมรฝ่ายเฮง สัมริน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 ใช้กำลังของกองพล รพศ. 1 นี้เข้าสู่พื้นที่อย่าง “รบพิเศษ” โดยเฉพาะการใช้กำลังจากกรมรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ “พลร่มป่าหวาย” ซึ่งขณะนั้น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้บังคับการกรม เป็นกำลังหลัก ตอนนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ เป็น พล.ต. และ พล.อ.สนธิ เป็น พ.อ.(พิเศษ)
การประสานกับรัฐบาลเขมร 3 ฝ่าย ซึ่งรัฐบาลไทยและอาเซียนรับรองรัฐบาลนี้ เป็นหน้าที่ของทางกองบัญชาการทหารสูงสุด และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ไปตั้งหน่วยประสานงานอยู่ที่อรัญประเทศ กองทัพบกรับผิดชอบทางยุทธการ โดยกองกำลังบูรพา (พื้นที่กองทัพภาคที่ 1) กองกำลังสุรนารี (พื้นที่กองทัพภาคที่ 2) และกองทัพเรือรับผิดชอบทางด้านจังหวัดจันทบุรีและตราดโดยกองกำลังจันทบุรีตราด
กองทัพบกมอบหมายให้หน่วยบัญชาสงครามพิเศษ (นสศ.) ดำเนินกลยุทธ์สงครามนอกระบบ โดยกองพลรบพิเศษที่ 1 “เข้าพื้นที่ส่วนนอก” โดยมีกองกำลังในพื้นที่กองทัพภาครับผิดชอบส่วนของพรมแดนและบริเวณภายใน และแน่นอนว่าผู้ที่ต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่ส่วนนอก (ประเทศ) นั้น ต้องมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่เป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 “ป่าหวาย” อยู่ด้วย ซึ่งนอกจากจะปฏิบัติในลักษณะปิดลับแล้ว ยังลึกลงไปถึงการประสานกับเขมรมุสลิมด้วย เพราะเป็นมุสลิมด้วยกัน เป็นการสร้างความอ่อนแอให้กับกองกำลังเฮง สัมริน ที่มีทหารเป็นเขมรมุสลิมจำนวนมากที่ตีตัวออกห่าง และยังเป็นผู้ประสานอย่างใกล้ชิดกับทางเขมรสีหนุ ที่มี เจ้านโรดม รณฤทธิ์ เป็นผู้นำกองทัพ เพราะพระชายาของ เจ้านโรดม รณฤทธิ์ เป็นเขมรมุสลิมด้วย และด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐบาลของเขมร 3 ฝ่ายได้รับการรับรองอย่างแข็งขันว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องจากมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย อันนำไปสู่การเป็นรัฐบาลซึ่งมีที่นั่งอยู่ในองค์การสหประชาชาติ โดยถือว่ารัฐบาล “เฮง สัมริน” ที่พนมเปญ นั้นเป็นรัฐบาลเถื่อน เพราะเป็นรัฐบาลหุ่นที่ตั้งโดยเวียดนาม
“รบพิเศษ” ที่ต้องออกไปยืนอยู่นอกประเทศนั้น มีอยู่ในกองกำลังของเขมรทั้ง 3 ฝ่ายคือ เขมรแดง เขมรสีหนุ และเขมรเสรี โดยที่ทาง “ข่าวกรองทางทหาร” นั้น ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำยุทธการ ผู้ที่มีบทบาทในเรื่องของข่าวกรองในขณะนั้นคือ พล.อ.ธีระเดช มีเพียร อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และปัจจุบันเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดยพล.อ.ธีระเดช ในขณะนั้นเป็นทหารหน่วยรบพิเศษยศ พ.อ.(พิเศษ) เป็นหัวหน้าข่าวกรองทางทหาร หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (บกท.นสศ.) และการส่งกำลังบำรุง (ศอ. 4) นั้น ก็มี พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นรอง ศอ. 4 ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษอยู่ เมื่อมียศเป็น พ.อ. และคงเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง-เหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่เกือบจะมีการแยกขบวนเป็น 2 คณะปฏิวัตินั้น ให้วกกลับมาเป็นขบวนเดียวกัน และแผนของ “ทักษิณ” ที่จะปฏิวัติตัวเองก็พังพินาศ และมีความพยายามที่จะสร้างข้อกล่าวหาว่า “ถูกหักหลัง”
เมื่อมีการปฏิวัติเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กับการรักษาระบอบทักษิณที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำ
ก็ต้องมีการเลือกฝ่าย และใครจะเลือกเป็นฝ่ายทักษิณ?
การเป็นนักเรียนนายร้อย จปร.มาด้วยกัน ก็เป็นรากลึกแล้ว ยิ่งเป็นหน่วยรบพิเศษมาด้วยกัน ออกประตูเครื่องบินในการกระโดดร่มด้วยกัน การผ่านหลักสูตรที่แต่ละหลักสูตรแทบจะมีเลือดซึมออกมากับหยาดเหงื่อนั้น ก็เป็นรากลึกลงไปอีก หมวกเบเรต์แดงนั้น พล.อ.เรืองโรจน์ ก็ยังสวมอยู่ เพราะรักหมวกใบนี้มากกว่ารักหมวกใบอื่นๆ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประเมินค่าผิดในข้อนี้, เพราะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตคำว่า “ทหาร” อยู่เพียงการเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารอยู่ 2 ปี และเมื่อเป็นตำรวจก็อยู่ในเครื่องแบบเพียง พ.ต.ท.ตำแหน่งรองผู้กำกับการฯ ก็รู้รักแต่เพียงใบ หรืออย่างมากก็คือกิ่งอ่อนที่เพิ่งแตกมาใหม่ๆ ไม่ได้รู้จัก “ต้น” และแน่นอนว่าย่อมมองไม่เห็น “ราก” นั้น
ย้อนกลับไปสู่ความลึกและเข้มของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในการ “เข้าเขมร” ครั้งนั้น
ถ้าหากจะว่ากันโดยกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว รัฐบาลของเขมร 3 ฝ่าย หรือรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยที่สมเด็จนโรดม สีหนุ เป็นผู้นำ ซึ่งสหประชาชาติให้การรับรอง เป็นการเข้าไปอย่างถูกต้องด้วยความต้องการ และยินดีของรัฐบาลนั้น เช่นเดียวกันกับการเข้าไป “ลาว” ในอดีต ก็ด้วยความยินยอมของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ณ นครเวียงจันทน์เช่นกัน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้าไปเขมรด้วยภารกิจแบบ “รบพิเศษ” เช่นเดียวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในขณะที่ประเทศนั้นอยู่ ในภาวะสงครามเต็มรูปแบบ และไม่รู้ว่าอนาคตของเขมรจะเป็นอย่างไร
รัฐบาลเขมร 3 ฝ่ายต่างก็ได้รับความช่วยเหลือจากบรรดาประเทศที่ถือหางหรือเป็นลูกพี่อยู่ คือ เขมรแดงได้รับการสนับสนุนจากจีนล้วนๆ เขมรเสรีก็ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ โดยกลุ่มนี้เป็นเชื้อสายมาจากกลุ่มของจอมพลลอน นอล ซึ่งสหรัฐฯ หยุดให้ทำการปฏิวัติโค่นกษัตริย์สีหนุ และสถาบันเขมรเป็นสาธารณรัฐมีจอมพลลอน นอล เป็นประธานาธิบดี และต่อมาเขมรแดงก็เข้ามาขับไล่ประธานาธิบดีลอน นอล ออกไป, ทั้ง 3 ฝ่ายเป็นศัตรูกันมาก่อน แต่มารวมกันเป็นรัฐบาลนอกพนมเปญได้ เพราะมีศัตรูร่วมกันคือ เวียดนามและระบบเฮงสัมริน ในนครพนมเปญ เมืองหลวง
ความช่วยเหลือที่เข้าไปสู่เขมร 3 ฝ่าย เพื่อทำการต่อสู้กับรัฐบาลเฮง สัมริน นั้น ต้องผ่านไทย เพราะไม่มีช่องทางอื่นใดที่จะนำเข้าไปถึงมือทหารของทั้ง 3 ฝ่ายได้
การส่งอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปนั้น ทางไทยเป็นผู้ควบคุม ซึ่งก็ต้องทำอย่างเป็นความลับ และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เขมรกลุ่มที่ทางไทยจะต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษคือ กลุ่มสีหนุ เพราะเป็นกลางๆ อยู่คือ ทางสหรัฐอเมริกาก็ไม่ช่วยเต็มที่ เพราะเห็นว่า สมเด็จสีหนุนั้น สนิทกับทางจีนและเวียดนามเหนือ ส่วนทางจีนก็ช่วยบ้างแต่ไม่เต็มที่เหมือนกับให้กับเขมรแดง ซึ่งเป็นบริวารโดยตรง คือ หยิบยื่นให้ลูกน้องก็ระดับหนึ่ง และให้กับเพื่อนที่มีไมตรีต่อกัน ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พอไม่ให้ขาดไมตรีกันเท่านั้น
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้กำกับและเป็นผู้ประสานความช่วยเหลือต่อเขมร 3 ฝ่ายนี้
“คลังอาวุธ” ลับๆ แห่งหนึ่งถูกตั้งอยู่ในสวนทุเรียนลึกของเขตจังหวัดจันทบุรี มีตั้งแต่ปืนใหญ่จนถึงอาวุธประจำกายของทหาร และเคยออกเป็นข่าวใหญ่ เมื่อทางตำรวจซึ่งไม่รู้ว่าตาบอดหูหนวกอยู่ที่ไหนบุกเข้าตรวจค้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นฝีมือของตำรวจทางหลวง ที่เห็นผิดสังเกตในการขนย้าย จึงตามกลิ่นไปจนพบที่ตั้งของคลัง แต่ต่อมาเรื่องก็เงียบหายไป
มีอยู่ระยะหนึ่งที่กองกำลังของเขมร 3 ฝ่ายต้องเผชิญกับอำนาจการยิงของรถถัง ที่ฝ่ายเฮง สัมริน มีอยู่เต็มมือ และจะต้องการอีกเท่าใดก็ได้ เพราะเวียดนามจัดมาให้ได้อย่างเต็มที่ อาวุธสำหรับการต่อสู้รถถังจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ขณะนั้น จรวดต่อสู้รถถังโดยตรงมีออกมาหลายรุ่น เช่น สตริงเกอร์ ของสหรัฐอเมริกา และคาร์ล สต๊าฟ ของสวีเดน, จรวดต่อสู้รถถังทั้ง 2 แบบถูกส่งเข้ามาโดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา โดยมีข้อจำกัดอย่างกว้างๆ ว่า เป็นอาวุธสำหรับเขมรฝ่ายที่มิใช่คอมมิวนิสต์ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นเขมรแดง ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว ทั้งสตริงเกอร์ และคาร์ล สต๊าฟ มีการฝึกให้ใช้และส่งมอบให้กับเขมรอีก 2 ฝ่ายคือ เขมรเสรีและเขมรสีหนุ โดยการตัดสินใจของกองทัพบกไทย โดยมีการมอบให้ในจำนวนที่จำเป็นต่อสถานการณ์
ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ยังมีอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งเป็นภารกิจอันไม่ควรจะเปิดเผยอย่างชัดเจนนัก แม้ว่าจะทำให้เห็นภาพของความเด็ดขาด เข้มแข็ง แต่จะกลายเป็นความเข้มข้นเกินไป
จะไม่สอดคล้องกับความอ่อนตัวตามแนวนโยบายที่ทางรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติต้องการ ดังนั้น การรายงานพิเศษชุดนี้ ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้ายในวันพรุ่งนี้ จะได้กล่าวถึงความอ่อนตัวในยุทธศาสตร์นั้นเป็นอย่างไร พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะทำเช่นไร
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 ใช้กำลังของกองพล รพศ. 1 นี้เข้าสู่พื้นที่อย่าง “รบพิเศษ” โดยเฉพาะการใช้กำลังจากกรมรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ “พลร่มป่าหวาย” ซึ่งขณะนั้น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้บังคับการกรม เป็นกำลังหลัก ตอนนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ เป็น พล.ต. และ พล.อ.สนธิ เป็น พ.อ.(พิเศษ)
การประสานกับรัฐบาลเขมร 3 ฝ่าย ซึ่งรัฐบาลไทยและอาเซียนรับรองรัฐบาลนี้ เป็นหน้าที่ของทางกองบัญชาการทหารสูงสุด และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ไปตั้งหน่วยประสานงานอยู่ที่อรัญประเทศ กองทัพบกรับผิดชอบทางยุทธการ โดยกองกำลังบูรพา (พื้นที่กองทัพภาคที่ 1) กองกำลังสุรนารี (พื้นที่กองทัพภาคที่ 2) และกองทัพเรือรับผิดชอบทางด้านจังหวัดจันทบุรีและตราดโดยกองกำลังจันทบุรีตราด
กองทัพบกมอบหมายให้หน่วยบัญชาสงครามพิเศษ (นสศ.) ดำเนินกลยุทธ์สงครามนอกระบบ โดยกองพลรบพิเศษที่ 1 “เข้าพื้นที่ส่วนนอก” โดยมีกองกำลังในพื้นที่กองทัพภาครับผิดชอบส่วนของพรมแดนและบริเวณภายใน และแน่นอนว่าผู้ที่ต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่ส่วนนอก (ประเทศ) นั้น ต้องมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่เป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 “ป่าหวาย” อยู่ด้วย ซึ่งนอกจากจะปฏิบัติในลักษณะปิดลับแล้ว ยังลึกลงไปถึงการประสานกับเขมรมุสลิมด้วย เพราะเป็นมุสลิมด้วยกัน เป็นการสร้างความอ่อนแอให้กับกองกำลังเฮง สัมริน ที่มีทหารเป็นเขมรมุสลิมจำนวนมากที่ตีตัวออกห่าง และยังเป็นผู้ประสานอย่างใกล้ชิดกับทางเขมรสีหนุ ที่มี เจ้านโรดม รณฤทธิ์ เป็นผู้นำกองทัพ เพราะพระชายาของ เจ้านโรดม รณฤทธิ์ เป็นเขมรมุสลิมด้วย และด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐบาลของเขมร 3 ฝ่ายได้รับการรับรองอย่างแข็งขันว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องจากมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย อันนำไปสู่การเป็นรัฐบาลซึ่งมีที่นั่งอยู่ในองค์การสหประชาชาติ โดยถือว่ารัฐบาล “เฮง สัมริน” ที่พนมเปญ นั้นเป็นรัฐบาลเถื่อน เพราะเป็นรัฐบาลหุ่นที่ตั้งโดยเวียดนาม
“รบพิเศษ” ที่ต้องออกไปยืนอยู่นอกประเทศนั้น มีอยู่ในกองกำลังของเขมรทั้ง 3 ฝ่ายคือ เขมรแดง เขมรสีหนุ และเขมรเสรี โดยที่ทาง “ข่าวกรองทางทหาร” นั้น ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำยุทธการ ผู้ที่มีบทบาทในเรื่องของข่าวกรองในขณะนั้นคือ พล.อ.ธีระเดช มีเพียร อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และปัจจุบันเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดยพล.อ.ธีระเดช ในขณะนั้นเป็นทหารหน่วยรบพิเศษยศ พ.อ.(พิเศษ) เป็นหัวหน้าข่าวกรองทางทหาร หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (บกท.นสศ.) และการส่งกำลังบำรุง (ศอ. 4) นั้น ก็มี พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นรอง ศอ. 4 ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษอยู่ เมื่อมียศเป็น พ.อ. และคงเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง-เหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่เกือบจะมีการแยกขบวนเป็น 2 คณะปฏิวัตินั้น ให้วกกลับมาเป็นขบวนเดียวกัน และแผนของ “ทักษิณ” ที่จะปฏิวัติตัวเองก็พังพินาศ และมีความพยายามที่จะสร้างข้อกล่าวหาว่า “ถูกหักหลัง”
เมื่อมีการปฏิวัติเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กับการรักษาระบอบทักษิณที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำ
ก็ต้องมีการเลือกฝ่าย และใครจะเลือกเป็นฝ่ายทักษิณ?
การเป็นนักเรียนนายร้อย จปร.มาด้วยกัน ก็เป็นรากลึกแล้ว ยิ่งเป็นหน่วยรบพิเศษมาด้วยกัน ออกประตูเครื่องบินในการกระโดดร่มด้วยกัน การผ่านหลักสูตรที่แต่ละหลักสูตรแทบจะมีเลือดซึมออกมากับหยาดเหงื่อนั้น ก็เป็นรากลึกลงไปอีก หมวกเบเรต์แดงนั้น พล.อ.เรืองโรจน์ ก็ยังสวมอยู่ เพราะรักหมวกใบนี้มากกว่ารักหมวกใบอื่นๆ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประเมินค่าผิดในข้อนี้, เพราะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตคำว่า “ทหาร” อยู่เพียงการเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารอยู่ 2 ปี และเมื่อเป็นตำรวจก็อยู่ในเครื่องแบบเพียง พ.ต.ท.ตำแหน่งรองผู้กำกับการฯ ก็รู้รักแต่เพียงใบ หรืออย่างมากก็คือกิ่งอ่อนที่เพิ่งแตกมาใหม่ๆ ไม่ได้รู้จัก “ต้น” และแน่นอนว่าย่อมมองไม่เห็น “ราก” นั้น
ย้อนกลับไปสู่ความลึกและเข้มของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในการ “เข้าเขมร” ครั้งนั้น
ถ้าหากจะว่ากันโดยกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว รัฐบาลของเขมร 3 ฝ่าย หรือรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยที่สมเด็จนโรดม สีหนุ เป็นผู้นำ ซึ่งสหประชาชาติให้การรับรอง เป็นการเข้าไปอย่างถูกต้องด้วยความต้องการ และยินดีของรัฐบาลนั้น เช่นเดียวกันกับการเข้าไป “ลาว” ในอดีต ก็ด้วยความยินยอมของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ณ นครเวียงจันทน์เช่นกัน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้าไปเขมรด้วยภารกิจแบบ “รบพิเศษ” เช่นเดียวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในขณะที่ประเทศนั้นอยู่ ในภาวะสงครามเต็มรูปแบบ และไม่รู้ว่าอนาคตของเขมรจะเป็นอย่างไร
รัฐบาลเขมร 3 ฝ่ายต่างก็ได้รับความช่วยเหลือจากบรรดาประเทศที่ถือหางหรือเป็นลูกพี่อยู่ คือ เขมรแดงได้รับการสนับสนุนจากจีนล้วนๆ เขมรเสรีก็ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ โดยกลุ่มนี้เป็นเชื้อสายมาจากกลุ่มของจอมพลลอน นอล ซึ่งสหรัฐฯ หยุดให้ทำการปฏิวัติโค่นกษัตริย์สีหนุ และสถาบันเขมรเป็นสาธารณรัฐมีจอมพลลอน นอล เป็นประธานาธิบดี และต่อมาเขมรแดงก็เข้ามาขับไล่ประธานาธิบดีลอน นอล ออกไป, ทั้ง 3 ฝ่ายเป็นศัตรูกันมาก่อน แต่มารวมกันเป็นรัฐบาลนอกพนมเปญได้ เพราะมีศัตรูร่วมกันคือ เวียดนามและระบบเฮงสัมริน ในนครพนมเปญ เมืองหลวง
ความช่วยเหลือที่เข้าไปสู่เขมร 3 ฝ่าย เพื่อทำการต่อสู้กับรัฐบาลเฮง สัมริน นั้น ต้องผ่านไทย เพราะไม่มีช่องทางอื่นใดที่จะนำเข้าไปถึงมือทหารของทั้ง 3 ฝ่ายได้
การส่งอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปนั้น ทางไทยเป็นผู้ควบคุม ซึ่งก็ต้องทำอย่างเป็นความลับ และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เขมรกลุ่มที่ทางไทยจะต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษคือ กลุ่มสีหนุ เพราะเป็นกลางๆ อยู่คือ ทางสหรัฐอเมริกาก็ไม่ช่วยเต็มที่ เพราะเห็นว่า สมเด็จสีหนุนั้น สนิทกับทางจีนและเวียดนามเหนือ ส่วนทางจีนก็ช่วยบ้างแต่ไม่เต็มที่เหมือนกับให้กับเขมรแดง ซึ่งเป็นบริวารโดยตรง คือ หยิบยื่นให้ลูกน้องก็ระดับหนึ่ง และให้กับเพื่อนที่มีไมตรีต่อกัน ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พอไม่ให้ขาดไมตรีกันเท่านั้น
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้กำกับและเป็นผู้ประสานความช่วยเหลือต่อเขมร 3 ฝ่ายนี้
“คลังอาวุธ” ลับๆ แห่งหนึ่งถูกตั้งอยู่ในสวนทุเรียนลึกของเขตจังหวัดจันทบุรี มีตั้งแต่ปืนใหญ่จนถึงอาวุธประจำกายของทหาร และเคยออกเป็นข่าวใหญ่ เมื่อทางตำรวจซึ่งไม่รู้ว่าตาบอดหูหนวกอยู่ที่ไหนบุกเข้าตรวจค้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นฝีมือของตำรวจทางหลวง ที่เห็นผิดสังเกตในการขนย้าย จึงตามกลิ่นไปจนพบที่ตั้งของคลัง แต่ต่อมาเรื่องก็เงียบหายไป
มีอยู่ระยะหนึ่งที่กองกำลังของเขมร 3 ฝ่ายต้องเผชิญกับอำนาจการยิงของรถถัง ที่ฝ่ายเฮง สัมริน มีอยู่เต็มมือ และจะต้องการอีกเท่าใดก็ได้ เพราะเวียดนามจัดมาให้ได้อย่างเต็มที่ อาวุธสำหรับการต่อสู้รถถังจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ขณะนั้น จรวดต่อสู้รถถังโดยตรงมีออกมาหลายรุ่น เช่น สตริงเกอร์ ของสหรัฐอเมริกา และคาร์ล สต๊าฟ ของสวีเดน, จรวดต่อสู้รถถังทั้ง 2 แบบถูกส่งเข้ามาโดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา โดยมีข้อจำกัดอย่างกว้างๆ ว่า เป็นอาวุธสำหรับเขมรฝ่ายที่มิใช่คอมมิวนิสต์ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นเขมรแดง ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว ทั้งสตริงเกอร์ และคาร์ล สต๊าฟ มีการฝึกให้ใช้และส่งมอบให้กับเขมรอีก 2 ฝ่ายคือ เขมรเสรีและเขมรสีหนุ โดยการตัดสินใจของกองทัพบกไทย โดยมีการมอบให้ในจำนวนที่จำเป็นต่อสถานการณ์
ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ยังมีอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งเป็นภารกิจอันไม่ควรจะเปิดเผยอย่างชัดเจนนัก แม้ว่าจะทำให้เห็นภาพของความเด็ดขาด เข้มแข็ง แต่จะกลายเป็นความเข้มข้นเกินไป
จะไม่สอดคล้องกับความอ่อนตัวตามแนวนโยบายที่ทางรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติต้องการ ดังนั้น การรายงานพิเศษชุดนี้ ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้ายในวันพรุ่งนี้ จะได้กล่าวถึงความอ่อนตัวในยุทธศาสตร์นั้นเป็นอย่างไร พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะทำเช่นไร