"พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์"รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 24 ของประเทศไทยแล้ว ประกาศภารกิจเร่งด่วน 2 ประการ สร้างความสมานฉันท์ภายในชาติ และการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนนโยบายเศรษฐกิจจะเน้นเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าตัวเลขจีดีพี "สนธิ"หารือ"ป๋าเปรม"ก่อนตั้งนายกฯ ยันไม่แทรกแซงการวางตัวคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ขณะที่ทุกภาคส่วนยอมรับ"สุรยุทธ์"เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อเวลา 15.15 น.วานนี้ (1ต.ค.)พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้เดินทางเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เพื่อทูลเกล้าฯ รายชื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 24 ของประเทศไทย จากนั้น เวลา 16.45 น.พล.อ.สนธิ นำพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพล.อ.สุรยุทธ์ ไปยังห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ร่วมในพิธีรับสนองพระบรมราชโองการอย่างคับคั่ง โดยสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้ถ่ายทอดสดพิธีดังกล่าวด้วย
ต่อมา เวลาประมาณ 17.00 น.พล.อ.สนธิ และพล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้อัญเชิญพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดย พล.อ.สนธิ เป็นผู้อ่านประกาศพระบรมราชโองการ มีพล.อ.สุรยุทธ์ รอรับพระบรมราชโองการ พร้อมด้วยพ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา
**พล.อ.สุรยุทธ์นายกรัฐมนตรีคนที่ 24
ทั้งนี้ พล.อ.สนธิ ได้อ่านประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2549 เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไปนั้น บัดนี้ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สมควรได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 14 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
หลังจากรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้ว พล.อ.สุรยุทธ์ พร้อมภริยา ได้ทักทายกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มาร่วมเป็นสักขีพยาน และเดินไปยังตึกสันติไมตรี เพื่อแถลงข่าว ซึ่งใช้เวลาแถลงประมาณ 10 นาที โดยระหว่างนั้น ผู้สื่อข่าวถามว่า จะเข้าไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้(2 ต.ค.) หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า"ยังครับ แต่ไว้เจอกันที่ทำเนียบฯ"
**เร่งปรองดอง-แก้ปัญหาภาคใต้
สำหรับการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า "ขอถือโอกาสนี้ เรียนผ่านสื่อมวลชนไปยังพี่น้องประชาชนทั่วประเทศด้วย เพราะว่าเป็นโอกาสแรก ซึ่งผมตระหนักดีกว่าผมมารับตำแหน่งหัวหน้าผู้บริหารในครั้งนี้มิได้มากจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งคงเป็นปัญหาหลักๆ 2 ประการ ประการแรก ปัญหาเรื่องทางการเมือง และประการที่สอง ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ผมตระหนักดีว่าทั้งสองปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ และก็ต้องการความปรองดองความเข้าใจ ที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญ เหตุหลักๆ ที่พอจะประมวลได้ก็น่าจะเกิดจากความไม่เป็นธรรมในสังคมของเรา ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองและสถานการณ์ภาคใต้ ดังนั้นผมจึงขอเรียนวิงวอนต่อพี่น้องประชาชนทุกคนว่า ผมใคร่ขอความร่วมมือที่จะร่วมกันช่วยกันแก้ไขปัญหาทั้งสอง การที่จะเริ่มการแก้ไขปัญหาทั้งสองนี้ ก็อยู่ที่ความสามัคคี ความรักใคร่ ความปรองดองของพวกเราทุกคน ที่จะร่วมมือกันแก้ไข"
"ในหน้าที่ของผมนั้น ซึ่งถือว่าเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ก็คงจะพยายามทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถภายในกรอบระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ นั่นก็คือประมาณ 1 ปี เมื่อจบสิ้นภาระแล้วก็เป็นหน้าที่ของพี่น้องประชาชนทุกคน ที่จะได้มีการเลือกตั้งเพื่อสรรหาฝ่ายบริหารที่เหมาะสมเข้ามาทำหน้าที่ตามความต้องการของพี่น้องประชาชนทุกคน ผมขอเรียนไว้เพียงเท่านี้"
ผู้สื่อข่าวถามว่าท่านมีกรอบแนวทางที่จะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในเรื่องเศรษฐกิจได้อย่างไร และตอนนี้มีใครอยู่ในใจ ที่จะอยู่ในทีมเศรษฐกิจหรือยัง พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่มี แต่จะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากนี้ ในการที่จะหา และเลือกบุคคลที่จะร่วมในคณะรัฐมนตรี และจากนั้นก็จะได้มีการชี้แจงนโยบายในเรื่องที่จะสร้างความมั่นใจในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคงจะต้องมีการหารือกับคณะรัฐมนตรีก่อน
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า คิดว่า ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เหมาะสมที่จะร่วมทีมหรือไม่ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 กล่าวว่า ขอพิจารณาก่อน คงตอบได้เพียงเท่านั้น
**ยอมรับวิกฤติบ้านเมืองจำเป็นต้องแก้ไข
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้ ท่านเคยประกาศว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ที่ได้รับหน้าที่ในการเป็นผู้บริหารนี้ ก็เนื่องจากทางหัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้มาพบแล้วก็อธิบายถึงเหตุผล ที่จำเป็นต้องดำเนินการในการเข้ามาในการปฏิรูปการปกครองในช่วงนี้ ซึ่งตนก็ได้รับฟัง แล้วก็ได้มีการหารือกันว่าความเหมาะสมเป็นอย่างไรบ้าง มีบุคคลอื่นที่ทางประธานคณะมนตรีฯ ได้ไปพบ หรือว่าได้หารือไว้ในใจอย่างไรบ้าง นั่นก็เป็นเรื่องที่ท่านประธานได้บอกกับตนว่า ในทุกๆ ด้านก็อยากจะให้ตนเข้ามารับภาระ
"ถ้าจะตอบตรงๆ ผมเองไม่ได้มีความคิดที่จะรับหน้าที่ในการบริหารนี้ แต่ว่าด้วยความจำเป็น ก็จำเป็นต้องรับเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง ผมมองถึงปัญหาในระยะยาวของบ้านเมืองของเรา เพราะถ้าหากว่าเราร่วมมือกันก็แก้ไขได้ ก็เหมือนกับว่าเราผ่านช่วงเวลาวิกฤตินี้ไปแล้ว เราก็สมามารถที่จะฟันฝ่าอุปสรรคเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของบ้านเมืองของเรา"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ถามเป็นภาษาอังกฤษว่า ทำไมจึงตัดสินใจมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ตอบเป็นภาษาอังกฤษว่า "ผมไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ผ่านมาเลย การที่ตัดสินใจมารับตำแหน่ง ก็เพิ่งจะรู้ก่อนเมื่อหนึ่งชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง การบริหารงานขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งผมได้รับการแต่งตั้งมาจากพระมหากษัตริย์ ก็ต้องทำให้ดีที่สุด"
ส่วนแนวทางพิจารณาสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่าจะพยายามเลือกคนที่จะมาร่วมงานในลักษณะที่มีความเป็นกลาง มีความรู้ มีความสามารถ และมีความเต็มใจ ที่จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง
เมื่อถามอีกว่า ท่านจะเป็นนายกรัฐมนตรีแบบไหนของประเทศไทย พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ก็คงเป็นแบบตัวของผมเอง ก็คือพยายามที่จะเป็นกันเองกับทุกๆส่วน พยายามที่จะเข้าไปรับข้อมูล จากทุกๆภาคทุกๆส่วน ถ้าเป็นไปได้ ก็คงจะมีโอกาสไปพบปะกับพี่น้องประชาชนในทุกๆภาคให้มากที่สุด เท่าที่เวลาจะมี
"ผมจะยืนอยู่บนระบบของคุณธรรม สร้างความเป็นธรรม ในระบบการบริหารเป็นหลัก ซึ่งระบบคุณธรรมนี้หมายความว่า เราจะดูในเรื่องของความสามารถประสิทธิภาพความซื่อตรง เป็นหลักที่สำคัญ"
**ยึดศก.พอเพียงไม่เน้นจีดีพี
สำหรับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่นั้น พล.อ.สุรยุทธ กล่าวว่า จะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานไว้ คงไม่ได้มุ่งในเรื่องของตัวเองจีดีพีมากนัก แต่จะดูในตัวที่วัดความผาสุกของพี่น้องประชาชนมากกว่า
ทั้งนี้ ในฐานะฝ่ายบริหาร จะให้ความร่วมมือคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.)และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลที่ผ่านมาให้มากที่สุด โดยจะยืนอยู่บนหลักของความยุติธรรมโดยใช้กฎหมาย แล้วก็องค์กรอิสระ หรือว่าหน่วยงานทางด้านหน่วยงานความยุติธรรมต่างๆ ซึ่ง ถ้าหากต้องการความสนับสนุน เช่นข้อมูลหลักฐานเอกสารต่างๆ ก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทุกๆเรื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังแถลงข่าว คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย พล.อ.สนธิ พล.วินัย พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก และพล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ ได้เข้าไปแสดงความยินดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ โดย พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ตบบ่า พล.อ.สนธิ ก่อนที่จะกล่าวว่า "ขอให้ทุกคนช่วยดูแลความมั่นคง แต่ปัญหาภาคใต้ ผมคงจะไม่ลงไปดูด้วยตัวเอง เพราะจะทำงานด้านบริหารอย่างเดียว แต่ก็จะให้เข้ามาปรึกษาปัญหาภาคใต้ได้ทันที"
**"โกวิท"ไม่ได้มาร่วมพิธี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพิธีรับสนองพระบรมราชโองการ ไม่มี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ เข้าร่วมพิธีแต่อย่างใด
นอกจากนี้ มีรายงานข่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จะแต่งตั้งพล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิรัฐบุรุษ(พล.อ.เปรม ติณณสูลานนท์)เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และได้มอบหมายให้พล.อ.พงษ์เทพ เข้าสักการะพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ ขณะที่พล.อ.สุรยุทธ์ จะเดินทางเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
สำหรับห้องทำงานของ พล.อ.สุรยุทธ์ นั้นทางกองพิธีการ ทำเนียบรัฐบาล ได้จัดเตรียมห้องทำงานเดิมที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีใช้อยู่ บริเวณปีกขวาของตึกไทยคู่ฟ้า และได้เข้าไปทำความสะอาดไว้แล้ว
**สนธิย้ำไม่แทรกแซงการตั้งครม.ใหม่
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ( คปค.)ได้ให้สัมภาษณ์เปิดใจหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ในช่วงก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ว่า หลังจากประกาศชื่อนายกรัฐมนตรีแล้ว ทางคปค.จะเปลี่ยนไปเป็นคณะมนตรีความมั่นคง และ ในวันนี้(2ต.ค.)ทางคปค.จะปรึกษาหารือในการเปลี่ยนถ่ายภาระกัน ซึ่งในช่วงที่นายกฯ ยังไม่สามารถเลือกครม.เข้ามาบริหารประเทศได้ ทางคณะมนตรีความมั่นคง ต้องดูแลไปก่อนระยะเวลาหนึ่ง
ทั้งนี้ พล.อ.สนธิ ย้ำว่า การเลือกนายกฯครั้งนี้ได้เน้นในเรื่องความมั่นคงของประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญ เพราะจุดประสงค์ของคปค.ก็คือนำพาประเทศไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การต่างประเทศ หรือเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญจะต้องเดินไปได้
พล.อ.สนธิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากที่ได้เข้าหารือกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพื่อขอความคิดเห็นในการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นจึงได้ได้โทรศัพท์ติดต่อทาบทาม พล.อ.สุรยุทธ์ ถึง 2 ครั้ง เพื่อขอร้องให้เข้ามาช่วยเหลือประเทศชาติในยามวิกฤติ จากนั้นในวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา จึงได้เดินทางไปพบ พล.อ.สุรยุทธ์ ที่บ้านพักย่านลาดกระบัง เพื่อหารือถึงปัญหาต่างๆ และเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องทาบทามเข้ามารับตำแหน่งใช้เวลา เกือบครึ่งชั่วโมง ก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จะตัดสินใจรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
"คนที่อยากเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศมีมาก มีทั้งเสนอตัวเข้ามาหลายคน ซึ่งผมพิจารณาดูแล้วก็มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ดังนั้นจึงตัดสินใจเพียงไม่กี่วัน เพราะคนดีๆอย่างพล.อ.สุรยุทธ์ หาได้ยาก เนื่องจากคนที่เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องเสียสละอย่างแท้จริงเพราะปัญหาหลังจากนี้ต่อไปต้องมีเยอะแน่นอน ดังนั้นนายกรัฐมนตรีต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถ ประเทศชาติจะต้องเดินหน้าไปด้วยความมั่นคงอย่างแท้จริง" พล.อ.สนธิ กล่าว
สำหรับการเลือกครม.นั้น เป็นเรี่องของนายกฯ คนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ครม.ชุดใหม่ได้ทำงานอย่างสมบูรณ์ ทางคปค.จะไม่เข้าไปแทรกแซง และคงไม่ต้องไปให้คำแนะครม.ใหม่ แต่ว่าเมื่อตั้งแล้วคณะที่ปรึกษาของ คปค.เดิม จะนำข้อมูลด้านเศรษฐกิจ และต่างประเทศเสนอไปว่าจะเดินทางอย่างไร ตอนนี้กำลังทำกันอยู่เพื่อที่จะส่งไปให้ ยืนยันว่าเราไม่มีการแนะนำเรื่องตัวบุคคล
พล.อ.สนธิ กล่าวด้วยว่า เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ยังมีภาระอีกหลายเรื่องที่เรายังดำเนินการอยู่ ในเรื่องของการทำอย่างไรให้คนไทยรัก สามัคคีกัน เรากำลังดำเนินไป ดูแล้วอาจเป็นนามธรรมเสียมาก แต่กำลังทำตรงนี้เป็นรูปธรรม ทำให้คนทั้งชาติมีความหวงแหนต่อชาติ ต่อแผ่นดิน กรรมวิธีตรงนี้กำลังเริ่มดำเนินการอยู่ ในส่วนของกองทัพ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับสมานฉันท์ กำลังหาข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการ
**"มีชัย"ถอนตัวหลังเสร็จภารกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในการประชุมคปค.เมื่อเช้าวานนี้ พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการคปค.ได้แจ้งต่อที่ประชุมได้รับทราบถึงการถอนตัวออกจากคณะทำงานด้านกฎหมาย ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ พร้อมคณะทำงานที่ได้เข้ามาร่างธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้กับคณะปฏิรูปฯ เสร็จเรียบร้อยแล้วก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทั้งนี้ พล.อ.สนธิ ได้ทำหนังสือขอบคุณคณะทำงานด้านกฎหมายทุกคนด้วย ซึ่งภายหลังจากนายมีชัย ถอนตัวออกจากคณะทำงานฯได้เดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศ โดยก่อนหน้านี้ นายมีชัย ได้มีกำหนดที่จะไปพักผ่อนแต่ปรากฏว่า คณะปฏิรูปฯ ได้เชิญมาร่วมร่างธรรมนูญจึงต้องเลื่อนการเดินทางออกไป
**ยอมรับ"สุรยุทธ์"เหมาะสมที่สุด
นาย องอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่หลากหลาย ที่สำคัญมีคุณธรรม ซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ และได้ชื่อว่าเป็นนายทหารในกองทัพที่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่ที่สำคัญที่สุด ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากในหลวง ตรงนี้จะรับประกันได้ว่า มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด ไม่เกิดความตะขิดตะขวง หรือเคลือบแคลงสงสัย และทำให้เกิดความสบายใจได้ว่า จะสามารถเป็นผู้นำประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องติดตามดูต่อไปว่า หลังจากที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกฯแล้วจะยึดแนวทางความถูกต้องชอบธรรมเหมือนเดิมหรือไม่
ทั้งนี้ ทางพรรคอยากจะฝากเรื่องสำคัญ คือ 1. เร่งสร้างความสมานฉันท์ ผลักดันให้สันติให้เกิดขึ้นในสังคมไทย 2. จัดการปัญหาต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่เคยทำให้เกิดผลสะเทือนต่อบ้านเมืองจนเป็นเหตุผลให้คณธปฏิรูปฯ เข้ามายึดอำนาจ 3.บริหารจัดการเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้า ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน 4.ปฏิรูปการเมืองโดยนายกฯ และรัฐบาลชุดใหม่จะต้องสร้างพื้นฐานทางสังคมไทยให้เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเดิมๆ กลับมาอีกครั้ง
**ขอความชัดเจนจากนายกฯ 5 เรื่อง
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)กล่าวเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่า ที่ผ่านมาประชาชนยังไม่เคยเห็นวิสัยทัศน์ของท่าน ว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาบ้านเมืองและสังคมอย่างไร ดังนั้น ครป.จึงขอเรียกร้องให้ท่านแสดงวิสัยทัศน์ นโยบายที่จะนำไปสูความสมานฉันท์ 5 ประการคือ 1. ฟื้นฟูความสมานฉันท์ ลดความรุนแรงไม่สร้างความแตกแยกในสังคม ซึ่งตนเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาในการใช้อำนาจรัฐ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาระยะยาวได้ แต่แก้ไขได้เพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น 2. แก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้ ในฐานะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เคยดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. และเคยสัมผัสงานด้านนี้ จึงคาดว่าน่าจะเข้าใจรากเหง้าปัญหาเรื่องดังกล่าว และมีวิธีที่จะคลี่คลายความรุนแรงลงได้ 3.การปฏิรูปการเมือง ซึ่งเรื่องนี้ต้องยอมรับว่า ไม่เคยได้ยินจากคำให้สัมภาษณ์เรื่องนี้เลย ดังนั้นต่อไปควรจะวางแนวทางบทบาทการเมืองใหม่ว่าจะเป็นอย่างไร ภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
4. บทบาทกองทัพกับการเมือง จากประสบการณ์ในการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.)เมื่อปี 2535 ยังประสบปัญหาแทรกแซงจากทหารเพื่อนำไปสู่อำนาจการปกครองเพื่อหาผลประโยชน์ ดังนั้นรัฐบาลใหม่ควรมีวิธีป้องกันในระยะยาว 5.คำประกาศการจัดการกับระบอบทักษิณ โดยการส่งสัญญาณไปยัง คณะทำงานตรวจสอบต่างๆ ที่คปค.ตั้งขึ้นให้ดำเนินการอย่างจริงจัง
เมื่อเวลา 15.15 น.วานนี้ (1ต.ค.)พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้เดินทางเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เพื่อทูลเกล้าฯ รายชื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 24 ของประเทศไทย จากนั้น เวลา 16.45 น.พล.อ.สนธิ นำพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพล.อ.สุรยุทธ์ ไปยังห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ร่วมในพิธีรับสนองพระบรมราชโองการอย่างคับคั่ง โดยสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้ถ่ายทอดสดพิธีดังกล่าวด้วย
ต่อมา เวลาประมาณ 17.00 น.พล.อ.สนธิ และพล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้อัญเชิญพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดย พล.อ.สนธิ เป็นผู้อ่านประกาศพระบรมราชโองการ มีพล.อ.สุรยุทธ์ รอรับพระบรมราชโองการ พร้อมด้วยพ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา
**พล.อ.สุรยุทธ์นายกรัฐมนตรีคนที่ 24
ทั้งนี้ พล.อ.สนธิ ได้อ่านประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2549 เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไปนั้น บัดนี้ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สมควรได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 14 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
หลังจากรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้ว พล.อ.สุรยุทธ์ พร้อมภริยา ได้ทักทายกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มาร่วมเป็นสักขีพยาน และเดินไปยังตึกสันติไมตรี เพื่อแถลงข่าว ซึ่งใช้เวลาแถลงประมาณ 10 นาที โดยระหว่างนั้น ผู้สื่อข่าวถามว่า จะเข้าไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้(2 ต.ค.) หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า"ยังครับ แต่ไว้เจอกันที่ทำเนียบฯ"
**เร่งปรองดอง-แก้ปัญหาภาคใต้
สำหรับการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า "ขอถือโอกาสนี้ เรียนผ่านสื่อมวลชนไปยังพี่น้องประชาชนทั่วประเทศด้วย เพราะว่าเป็นโอกาสแรก ซึ่งผมตระหนักดีกว่าผมมารับตำแหน่งหัวหน้าผู้บริหารในครั้งนี้มิได้มากจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งคงเป็นปัญหาหลักๆ 2 ประการ ประการแรก ปัญหาเรื่องทางการเมือง และประการที่สอง ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ผมตระหนักดีว่าทั้งสองปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ และก็ต้องการความปรองดองความเข้าใจ ที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญ เหตุหลักๆ ที่พอจะประมวลได้ก็น่าจะเกิดจากความไม่เป็นธรรมในสังคมของเรา ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองและสถานการณ์ภาคใต้ ดังนั้นผมจึงขอเรียนวิงวอนต่อพี่น้องประชาชนทุกคนว่า ผมใคร่ขอความร่วมมือที่จะร่วมกันช่วยกันแก้ไขปัญหาทั้งสอง การที่จะเริ่มการแก้ไขปัญหาทั้งสองนี้ ก็อยู่ที่ความสามัคคี ความรักใคร่ ความปรองดองของพวกเราทุกคน ที่จะร่วมมือกันแก้ไข"
"ในหน้าที่ของผมนั้น ซึ่งถือว่าเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ก็คงจะพยายามทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถภายในกรอบระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ นั่นก็คือประมาณ 1 ปี เมื่อจบสิ้นภาระแล้วก็เป็นหน้าที่ของพี่น้องประชาชนทุกคน ที่จะได้มีการเลือกตั้งเพื่อสรรหาฝ่ายบริหารที่เหมาะสมเข้ามาทำหน้าที่ตามความต้องการของพี่น้องประชาชนทุกคน ผมขอเรียนไว้เพียงเท่านี้"
ผู้สื่อข่าวถามว่าท่านมีกรอบแนวทางที่จะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในเรื่องเศรษฐกิจได้อย่างไร และตอนนี้มีใครอยู่ในใจ ที่จะอยู่ในทีมเศรษฐกิจหรือยัง พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่มี แต่จะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากนี้ ในการที่จะหา และเลือกบุคคลที่จะร่วมในคณะรัฐมนตรี และจากนั้นก็จะได้มีการชี้แจงนโยบายในเรื่องที่จะสร้างความมั่นใจในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคงจะต้องมีการหารือกับคณะรัฐมนตรีก่อน
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า คิดว่า ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เหมาะสมที่จะร่วมทีมหรือไม่ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 กล่าวว่า ขอพิจารณาก่อน คงตอบได้เพียงเท่านั้น
**ยอมรับวิกฤติบ้านเมืองจำเป็นต้องแก้ไข
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้ ท่านเคยประกาศว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ที่ได้รับหน้าที่ในการเป็นผู้บริหารนี้ ก็เนื่องจากทางหัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้มาพบแล้วก็อธิบายถึงเหตุผล ที่จำเป็นต้องดำเนินการในการเข้ามาในการปฏิรูปการปกครองในช่วงนี้ ซึ่งตนก็ได้รับฟัง แล้วก็ได้มีการหารือกันว่าความเหมาะสมเป็นอย่างไรบ้าง มีบุคคลอื่นที่ทางประธานคณะมนตรีฯ ได้ไปพบ หรือว่าได้หารือไว้ในใจอย่างไรบ้าง นั่นก็เป็นเรื่องที่ท่านประธานได้บอกกับตนว่า ในทุกๆ ด้านก็อยากจะให้ตนเข้ามารับภาระ
"ถ้าจะตอบตรงๆ ผมเองไม่ได้มีความคิดที่จะรับหน้าที่ในการบริหารนี้ แต่ว่าด้วยความจำเป็น ก็จำเป็นต้องรับเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง ผมมองถึงปัญหาในระยะยาวของบ้านเมืองของเรา เพราะถ้าหากว่าเราร่วมมือกันก็แก้ไขได้ ก็เหมือนกับว่าเราผ่านช่วงเวลาวิกฤตินี้ไปแล้ว เราก็สมามารถที่จะฟันฝ่าอุปสรรคเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของบ้านเมืองของเรา"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ถามเป็นภาษาอังกฤษว่า ทำไมจึงตัดสินใจมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ตอบเป็นภาษาอังกฤษว่า "ผมไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ผ่านมาเลย การที่ตัดสินใจมารับตำแหน่ง ก็เพิ่งจะรู้ก่อนเมื่อหนึ่งชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง การบริหารงานขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งผมได้รับการแต่งตั้งมาจากพระมหากษัตริย์ ก็ต้องทำให้ดีที่สุด"
ส่วนแนวทางพิจารณาสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่าจะพยายามเลือกคนที่จะมาร่วมงานในลักษณะที่มีความเป็นกลาง มีความรู้ มีความสามารถ และมีความเต็มใจ ที่จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง
เมื่อถามอีกว่า ท่านจะเป็นนายกรัฐมนตรีแบบไหนของประเทศไทย พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ก็คงเป็นแบบตัวของผมเอง ก็คือพยายามที่จะเป็นกันเองกับทุกๆส่วน พยายามที่จะเข้าไปรับข้อมูล จากทุกๆภาคทุกๆส่วน ถ้าเป็นไปได้ ก็คงจะมีโอกาสไปพบปะกับพี่น้องประชาชนในทุกๆภาคให้มากที่สุด เท่าที่เวลาจะมี
"ผมจะยืนอยู่บนระบบของคุณธรรม สร้างความเป็นธรรม ในระบบการบริหารเป็นหลัก ซึ่งระบบคุณธรรมนี้หมายความว่า เราจะดูในเรื่องของความสามารถประสิทธิภาพความซื่อตรง เป็นหลักที่สำคัญ"
**ยึดศก.พอเพียงไม่เน้นจีดีพี
สำหรับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่นั้น พล.อ.สุรยุทธ กล่าวว่า จะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานไว้ คงไม่ได้มุ่งในเรื่องของตัวเองจีดีพีมากนัก แต่จะดูในตัวที่วัดความผาสุกของพี่น้องประชาชนมากกว่า
ทั้งนี้ ในฐานะฝ่ายบริหาร จะให้ความร่วมมือคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.)และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลที่ผ่านมาให้มากที่สุด โดยจะยืนอยู่บนหลักของความยุติธรรมโดยใช้กฎหมาย แล้วก็องค์กรอิสระ หรือว่าหน่วยงานทางด้านหน่วยงานความยุติธรรมต่างๆ ซึ่ง ถ้าหากต้องการความสนับสนุน เช่นข้อมูลหลักฐานเอกสารต่างๆ ก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทุกๆเรื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังแถลงข่าว คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย พล.อ.สนธิ พล.วินัย พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก และพล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ ได้เข้าไปแสดงความยินดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ โดย พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ตบบ่า พล.อ.สนธิ ก่อนที่จะกล่าวว่า "ขอให้ทุกคนช่วยดูแลความมั่นคง แต่ปัญหาภาคใต้ ผมคงจะไม่ลงไปดูด้วยตัวเอง เพราะจะทำงานด้านบริหารอย่างเดียว แต่ก็จะให้เข้ามาปรึกษาปัญหาภาคใต้ได้ทันที"
**"โกวิท"ไม่ได้มาร่วมพิธี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพิธีรับสนองพระบรมราชโองการ ไม่มี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ เข้าร่วมพิธีแต่อย่างใด
นอกจากนี้ มีรายงานข่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จะแต่งตั้งพล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิรัฐบุรุษ(พล.อ.เปรม ติณณสูลานนท์)เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และได้มอบหมายให้พล.อ.พงษ์เทพ เข้าสักการะพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ ขณะที่พล.อ.สุรยุทธ์ จะเดินทางเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
สำหรับห้องทำงานของ พล.อ.สุรยุทธ์ นั้นทางกองพิธีการ ทำเนียบรัฐบาล ได้จัดเตรียมห้องทำงานเดิมที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีใช้อยู่ บริเวณปีกขวาของตึกไทยคู่ฟ้า และได้เข้าไปทำความสะอาดไว้แล้ว
**สนธิย้ำไม่แทรกแซงการตั้งครม.ใหม่
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ( คปค.)ได้ให้สัมภาษณ์เปิดใจหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ในช่วงก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ว่า หลังจากประกาศชื่อนายกรัฐมนตรีแล้ว ทางคปค.จะเปลี่ยนไปเป็นคณะมนตรีความมั่นคง และ ในวันนี้(2ต.ค.)ทางคปค.จะปรึกษาหารือในการเปลี่ยนถ่ายภาระกัน ซึ่งในช่วงที่นายกฯ ยังไม่สามารถเลือกครม.เข้ามาบริหารประเทศได้ ทางคณะมนตรีความมั่นคง ต้องดูแลไปก่อนระยะเวลาหนึ่ง
ทั้งนี้ พล.อ.สนธิ ย้ำว่า การเลือกนายกฯครั้งนี้ได้เน้นในเรื่องความมั่นคงของประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญ เพราะจุดประสงค์ของคปค.ก็คือนำพาประเทศไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การต่างประเทศ หรือเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญจะต้องเดินไปได้
พล.อ.สนธิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากที่ได้เข้าหารือกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพื่อขอความคิดเห็นในการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นจึงได้ได้โทรศัพท์ติดต่อทาบทาม พล.อ.สุรยุทธ์ ถึง 2 ครั้ง เพื่อขอร้องให้เข้ามาช่วยเหลือประเทศชาติในยามวิกฤติ จากนั้นในวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา จึงได้เดินทางไปพบ พล.อ.สุรยุทธ์ ที่บ้านพักย่านลาดกระบัง เพื่อหารือถึงปัญหาต่างๆ และเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องทาบทามเข้ามารับตำแหน่งใช้เวลา เกือบครึ่งชั่วโมง ก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จะตัดสินใจรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
"คนที่อยากเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศมีมาก มีทั้งเสนอตัวเข้ามาหลายคน ซึ่งผมพิจารณาดูแล้วก็มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ดังนั้นจึงตัดสินใจเพียงไม่กี่วัน เพราะคนดีๆอย่างพล.อ.สุรยุทธ์ หาได้ยาก เนื่องจากคนที่เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องเสียสละอย่างแท้จริงเพราะปัญหาหลังจากนี้ต่อไปต้องมีเยอะแน่นอน ดังนั้นนายกรัฐมนตรีต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถ ประเทศชาติจะต้องเดินหน้าไปด้วยความมั่นคงอย่างแท้จริง" พล.อ.สนธิ กล่าว
สำหรับการเลือกครม.นั้น เป็นเรี่องของนายกฯ คนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ครม.ชุดใหม่ได้ทำงานอย่างสมบูรณ์ ทางคปค.จะไม่เข้าไปแทรกแซง และคงไม่ต้องไปให้คำแนะครม.ใหม่ แต่ว่าเมื่อตั้งแล้วคณะที่ปรึกษาของ คปค.เดิม จะนำข้อมูลด้านเศรษฐกิจ และต่างประเทศเสนอไปว่าจะเดินทางอย่างไร ตอนนี้กำลังทำกันอยู่เพื่อที่จะส่งไปให้ ยืนยันว่าเราไม่มีการแนะนำเรื่องตัวบุคคล
พล.อ.สนธิ กล่าวด้วยว่า เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ยังมีภาระอีกหลายเรื่องที่เรายังดำเนินการอยู่ ในเรื่องของการทำอย่างไรให้คนไทยรัก สามัคคีกัน เรากำลังดำเนินไป ดูแล้วอาจเป็นนามธรรมเสียมาก แต่กำลังทำตรงนี้เป็นรูปธรรม ทำให้คนทั้งชาติมีความหวงแหนต่อชาติ ต่อแผ่นดิน กรรมวิธีตรงนี้กำลังเริ่มดำเนินการอยู่ ในส่วนของกองทัพ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับสมานฉันท์ กำลังหาข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการ
**"มีชัย"ถอนตัวหลังเสร็จภารกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในการประชุมคปค.เมื่อเช้าวานนี้ พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการคปค.ได้แจ้งต่อที่ประชุมได้รับทราบถึงการถอนตัวออกจากคณะทำงานด้านกฎหมาย ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ พร้อมคณะทำงานที่ได้เข้ามาร่างธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้กับคณะปฏิรูปฯ เสร็จเรียบร้อยแล้วก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทั้งนี้ พล.อ.สนธิ ได้ทำหนังสือขอบคุณคณะทำงานด้านกฎหมายทุกคนด้วย ซึ่งภายหลังจากนายมีชัย ถอนตัวออกจากคณะทำงานฯได้เดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศ โดยก่อนหน้านี้ นายมีชัย ได้มีกำหนดที่จะไปพักผ่อนแต่ปรากฏว่า คณะปฏิรูปฯ ได้เชิญมาร่วมร่างธรรมนูญจึงต้องเลื่อนการเดินทางออกไป
**ยอมรับ"สุรยุทธ์"เหมาะสมที่สุด
นาย องอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่หลากหลาย ที่สำคัญมีคุณธรรม ซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ และได้ชื่อว่าเป็นนายทหารในกองทัพที่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่ที่สำคัญที่สุด ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากในหลวง ตรงนี้จะรับประกันได้ว่า มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด ไม่เกิดความตะขิดตะขวง หรือเคลือบแคลงสงสัย และทำให้เกิดความสบายใจได้ว่า จะสามารถเป็นผู้นำประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องติดตามดูต่อไปว่า หลังจากที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกฯแล้วจะยึดแนวทางความถูกต้องชอบธรรมเหมือนเดิมหรือไม่
ทั้งนี้ ทางพรรคอยากจะฝากเรื่องสำคัญ คือ 1. เร่งสร้างความสมานฉันท์ ผลักดันให้สันติให้เกิดขึ้นในสังคมไทย 2. จัดการปัญหาต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่เคยทำให้เกิดผลสะเทือนต่อบ้านเมืองจนเป็นเหตุผลให้คณธปฏิรูปฯ เข้ามายึดอำนาจ 3.บริหารจัดการเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้า ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน 4.ปฏิรูปการเมืองโดยนายกฯ และรัฐบาลชุดใหม่จะต้องสร้างพื้นฐานทางสังคมไทยให้เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเดิมๆ กลับมาอีกครั้ง
**ขอความชัดเจนจากนายกฯ 5 เรื่อง
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)กล่าวเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่า ที่ผ่านมาประชาชนยังไม่เคยเห็นวิสัยทัศน์ของท่าน ว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาบ้านเมืองและสังคมอย่างไร ดังนั้น ครป.จึงขอเรียกร้องให้ท่านแสดงวิสัยทัศน์ นโยบายที่จะนำไปสูความสมานฉันท์ 5 ประการคือ 1. ฟื้นฟูความสมานฉันท์ ลดความรุนแรงไม่สร้างความแตกแยกในสังคม ซึ่งตนเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาในการใช้อำนาจรัฐ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาระยะยาวได้ แต่แก้ไขได้เพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น 2. แก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้ ในฐานะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เคยดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. และเคยสัมผัสงานด้านนี้ จึงคาดว่าน่าจะเข้าใจรากเหง้าปัญหาเรื่องดังกล่าว และมีวิธีที่จะคลี่คลายความรุนแรงลงได้ 3.การปฏิรูปการเมือง ซึ่งเรื่องนี้ต้องยอมรับว่า ไม่เคยได้ยินจากคำให้สัมภาษณ์เรื่องนี้เลย ดังนั้นต่อไปควรจะวางแนวทางบทบาทการเมืองใหม่ว่าจะเป็นอย่างไร ภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
4. บทบาทกองทัพกับการเมือง จากประสบการณ์ในการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.)เมื่อปี 2535 ยังประสบปัญหาแทรกแซงจากทหารเพื่อนำไปสู่อำนาจการปกครองเพื่อหาผลประโยชน์ ดังนั้นรัฐบาลใหม่ควรมีวิธีป้องกันในระยะยาว 5.คำประกาศการจัดการกับระบอบทักษิณ โดยการส่งสัญญาณไปยัง คณะทำงานตรวจสอบต่างๆ ที่คปค.ตั้งขึ้นให้ดำเนินการอย่างจริงจัง