ตาก - ตลาดยุโรปและจีน ต้องการสั่งซื้อกล้วยไข่พบพระ/ตาก ผลจากกล้วยไข่สามเงาน้ำท่วมหนัก คาดจะรักษารายได้ปีละกว่า 150-200 ล้านบาท
นายอำพล ฉัตรไชยาฤกษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการธุรกิจการค้าพืชไร่ อย่างน้อยจาก 5 บริษัทในกรุงเทพฯ ได้สั่งออเดอร์กล้วยไข่ จาก อ.พบพระ จ.ตาก จำนวนมาก เนื่องจากกลุ่มนักธุรกิจและพ่อค้าจากกลุ่มประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ รวมทั้งจีนฮ่องกง และไต้หวัน กำลังนิยมและสั่งซื้อผลผลิตกล้วยไข่จากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ อ.พบพระ อย่างมาก เพราะเป็นกล้วยไข่ที่มีรสชาติถูกปาก เป็นที่นิยมของตลาดดังกล่าว คือมีผลใหญ่ รสชาติไม่หวานเกินไป ผิวสวยงาม
ทั้งนี้ปัจจุบันในพื้นที่ อ.พบพระ มีเกษตรกรปลูกกล้วยไข่ประมาณ 40-50 ราย พื้นที่เพาะปลูกกว่า 2,000 ไร่ ผลิตกล้วยไข่ส่งออกได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัม(กก.)ละ ประมาณ 10 บาท โดย 1 เครือมีน้ำหนักประมาณ 15 กก. ตกประมาณเครือละ 150 บาท ส่งออกครั้งละประมาณ 8 ตันต่อรถบรรทุก 6 ล้อ 1 คัน ครั้งละประมาณ 4-5 คันต่อวัน ทำให้มีเงินหลังหักค่าใช้จ่ายเข้าพื้นที่ตกวันละไม่น้อยกว่า 100,000-200,000 บาท นับเป็นรายได้ที่ค่อนข้างสูง ขณะที่การลงทุนไม่มากนัก และสามารถมีผลผลิตตลอดทั้งปี สร้างรายได้เข้ามาในพื้นที่ได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า 150-200 ล้านบาท
ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวอีกว่า การที่มีกลุ่มบริษัทอย่างน้อย 5 บริษัท ที่ติดต่อกับกลุ่มพ่อค้าต่างประเทศสั่งซื้อกล้วยไข่จาก อ.พบพระ ทำให้มีการประกันราคาและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ก็มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงในการเพิ่มผลผลิต ซึ่งในส่วนนี้ภาครัฐจะต้องเข้ามาดูแลและส่งเสริมความรู้แก่เกษตรกร เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก รักษามูลค่าการส่งออกกล้วยไข่ของจังหวัด ไม่ให้ตกต่ำ ส่วนกล้วยไข่ในพื้นที่ อ.สามเงาและ อ.บ้านตาก ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเสียหายอย่างหนักตลอดปีที่ผ่านมา
นายอำพล ฉัตรไชยาฤกษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการธุรกิจการค้าพืชไร่ อย่างน้อยจาก 5 บริษัทในกรุงเทพฯ ได้สั่งออเดอร์กล้วยไข่ จาก อ.พบพระ จ.ตาก จำนวนมาก เนื่องจากกลุ่มนักธุรกิจและพ่อค้าจากกลุ่มประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ รวมทั้งจีนฮ่องกง และไต้หวัน กำลังนิยมและสั่งซื้อผลผลิตกล้วยไข่จากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ อ.พบพระ อย่างมาก เพราะเป็นกล้วยไข่ที่มีรสชาติถูกปาก เป็นที่นิยมของตลาดดังกล่าว คือมีผลใหญ่ รสชาติไม่หวานเกินไป ผิวสวยงาม
ทั้งนี้ปัจจุบันในพื้นที่ อ.พบพระ มีเกษตรกรปลูกกล้วยไข่ประมาณ 40-50 ราย พื้นที่เพาะปลูกกว่า 2,000 ไร่ ผลิตกล้วยไข่ส่งออกได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัม(กก.)ละ ประมาณ 10 บาท โดย 1 เครือมีน้ำหนักประมาณ 15 กก. ตกประมาณเครือละ 150 บาท ส่งออกครั้งละประมาณ 8 ตันต่อรถบรรทุก 6 ล้อ 1 คัน ครั้งละประมาณ 4-5 คันต่อวัน ทำให้มีเงินหลังหักค่าใช้จ่ายเข้าพื้นที่ตกวันละไม่น้อยกว่า 100,000-200,000 บาท นับเป็นรายได้ที่ค่อนข้างสูง ขณะที่การลงทุนไม่มากนัก และสามารถมีผลผลิตตลอดทั้งปี สร้างรายได้เข้ามาในพื้นที่ได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า 150-200 ล้านบาท
ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวอีกว่า การที่มีกลุ่มบริษัทอย่างน้อย 5 บริษัท ที่ติดต่อกับกลุ่มพ่อค้าต่างประเทศสั่งซื้อกล้วยไข่จาก อ.พบพระ ทำให้มีการประกันราคาและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ก็มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงในการเพิ่มผลผลิต ซึ่งในส่วนนี้ภาครัฐจะต้องเข้ามาดูแลและส่งเสริมความรู้แก่เกษตรกร เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก รักษามูลค่าการส่งออกกล้วยไข่ของจังหวัด ไม่ให้ตกต่ำ ส่วนกล้วยไข่ในพื้นที่ อ.สามเงาและ อ.บ้านตาก ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเสียหายอย่างหนักตลอดปีที่ผ่านมา