มีผู้เล่าให้ฟังว่า “ชื่อ” ที่เป็นทหารนั้น ที่ปรากฏมากที่สุดคือ “ปรีชา” รองลงมาคือ “ธงชัย” “ชาญ” และ “ไพโรจน์” และบางปีโรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อย จปร.มีคนชื่อเดียวกันอยู่ถึง 3 คนในรุ่นอย่าง จปร. 13 เตรียมทหารรุ่น 2 มีชื่อ “ไพโรจน์” อยู่ถึง 3 คน และก่อนหน้านั้น, จปร. 12 เตรียมทหารรุ่น 1 มีชื่อ “ปรีชา” อยู่ถึง 4 คน และต่อจากนั้น ก็จะต้องมีชื่อนี้แทรกอยู่เกือบทุกรุ่น เมื่อถึง จปร. 20 เตรียมทหารรุ่น 9 มีคนชื่อ “ปรีชา” อยู่ 4 คน แต่พอมาถึง จปร. 21 เตรียมทหารรุ่น 10 ชื่อนี้ที่มีติดมาทุกรุ่น ไม่มีปรากฏอยู่เลย อาจจะไม่ต้องโฉลกกัน และที่ขึ้นต้นด้วย ป.ปภ เหมือนกัน มีชื่อ “ปริญญา” อยู่ถึง 4 คนใน จปร. 22 เตรียมทหารรุ่น 11 และมี “สมศักดิ์” 4 คนอยู่ในรุ่นนี้ด้วย ส่วน “ปริญญา” ก็มีอีก 2 คนในรุ่นต่อมา คือ จปร. 24 เตรียมทหารรุ่น 13 พร้อมกับชื่อ “ปรีชา” ที่หายไปนานหลายรุ่น ก็มาปรากฏใหม่อีก 1 คนในรุ่นนี้ และมีต่อเนื่องมาทุกรุ่น รุ่นละคนสองคน ซึ่งข้อมูลที่ได้มานี้บอกว่า ขอหยุดแค่ จปร. 34 เตรียมทหารรุ่น 23 ที่มีชื่อนี้อยู่ 2 คน และแถมท้ายด้วยว่า จปร. 45 เตรียมทหารรุ่น 34 ก็ยังมีอีก 2 คน
เมื่อขึ้นต้นเป็นการรายงานอย่างสบายๆ ไม่เป็นการเคร่งเครียดนัก ก็ขอยก ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ วันนี้ให้เป็นเรื่องผ่อนคลาย จากที่ผู้ให้ข้อมูลคนเดียวกันว่า จปร. 17 เตรียมทหารรุ่น 6 รุ่นของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้ซึ่งมีตำแหน่งยาวมาก และนั่งเก้าอี้หลายตัว คือ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภา ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้บัญชาการทหารบก มีนักเรียนนายร้อย จปร.อยู่ในรุ่น 182 คน และในจำนวนนี้ มีชื่อที่ อักษร ส.เสือ นำหน้าอยู่ถึง 33 คน และเข้ามาเป็น 5 เสือกองทัพบกขณะนี้ 2 คน คือ พล.อ.สนธิ และ พล.อ.โสภณ ศีลพิพัฒน์ เสนาธิการทหารบก ผู้ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะไปอยู่ในตำแหน่งอัตราจอมพล เป็นผู้อยู่อัตราจอมพลคนที่ 6 ของรุ่น ซึ่งนับว่าเป็น “สถิติ” ได้ที่รุ่นเดียวกันได้อัตราจอมพลมากขนาดนี้
ว่ากันตามตรงแล้ว มิใช่เพราะ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้าคณะ คปค.แล้วเพื่อนในรุ่นจะพุ่งพรวด เพราะอย่าง พล.อ.อู๊ด เบื้องบน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ก็เป็นอัตราจอมพลมาก่อน และเกษียณอายุไปตั้งแต่ปีที่แล้ว พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนใหม่ เป็นอัตราจอมพลเมื่อเป็นเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย ซึ่งเป็นเหล่าทหารม้า และเป็น “ลูกป๋า” เหมือน พล.อ.อู๊ด ก็ได้อัตราจอมพลเช่นกัน
พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เสนาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่เป็นเสนาธิการ คปค.ครั้งนี้ เป็น จปร. 17 เตรียมทหารรุ่น 6 เช่นเดียวกัน, คนนี้เป็นคนเรียนเก่งคนหนึ่งของรุ่น เมื่อวางจากโรงเรียนนายร้อย จปร.แล้ว ได้กลับเข้ามาเป็นอาจารย์ในส่วนการศึกษา ร.ร.จปร. เมื่อเป็นคนเรียนเก่งคนหนึ่งของรุ่น เมื่อวางจากโรงเรียนนายร้อย จปร.แล้วได้กลับเข้ามาเป็นอาจารย์ในส่วนการศึกษา ร.ร.จปร.เมื่อเป็นร้อยโท สอบวิชาไฟฟ้า
ในรุ่นนี้มีชื่อเหมือนกันอยู่ 3 คน คือชื่อ “กิจจา” และมี “วินัย” 3 คนเช่นเดียวกัน มีชื่อที่อ่านออกเสียงคล้ายๆ กัน หรือเกือบเหมือนกันคือ พีรพงษ์ 1 คน, พีระพงศ์ 1 คน และ พีระพงษ์ อีก 1 คน ที่ชื่อเหมือนกันแต่เขียนไม่เหมือนกัน ชื่อ “ประเสริฐ” มี 3 คน และยังมี “ปรีชา” ที่ว่าต้องติดมากับเขาทุกรุ่นนั้นอยู่ 2 คน
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการทหารบกกับ พล.อ.สนธิ ก็เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกัน ทำให้รุ่นนี้ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก 2 คน ที่น้อยครั้งนักจะเป็นได้อย่างนี้ จึงเข้าเทียบกันได้กับ จปร. 5 ที่มี พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี แต่ จปร. 5 นั้นมาแบบหนึ่งโดยอิทธิฤทธิ์ แต่ จปร. 17 นี้ มาโดยจังหวะและฝีมือ
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็เป็นเตรียมทหารรุ่น 6 ซึ่งรายงานแบบสบายๆ ไม่เครียดนี้เกี่ยวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เพื่อนร่วมรุ่นจะสะท้อนให้เห็นอะไรได้หลายอย่าง หลายแง่ความคิด
เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ พล.อ.สนธิ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก มีความกังวลใจเป็นอันมาก ที่มีนายตำรวจ ระดับสารวัตร ผู้หนึ่งเกิดปัญหาเรื่องไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจัดตำแหน่ง โดยที่มีนายทหารคนหนึ่งฝากเรื่องนี้มา ขอให้ช่วยดูแลขอความเป็นธรรมให้ด้วย เพราะท่านเป็นถึงผู้บัญชาการทหารบก, แต่พล.อ.สนธิ มีความหนักใจเป็นอันมาก คือ ไม่รู้ว่าจะไปพูดกับใคร? เมื่อมีนายพลรุ่นน้อง รู้ว่าพี่กำลังไม่สบายใจ ก็บอกว่า-ก็บอก ผบ.ตร.นั่นไง เป็นเพื่อนของท่าน
คำตอบนั้น ทำให้น่าหนักใจมากขึ้นไปอีก เมื่อพล.อ.สนธิ บอกว่า
เพื่อนกันก็จริง แต่หมอนี่มันเอากะใครที่ไหน...
การปฏิรูปการปกครองฯ ครั้งนี้ มีการกล่าวถึง ทหารรบพิเศษ/พลร่ม กันค่อนข้างมาก และเมื่อมองย้อนกลับไปถึงการปฏิวัติที่ผ่านมา คือ การยึดอำนาจโดยคณะ รสช.โค่นรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นั้น ก็มีความเป็นมาในเรื่องตำแหน่งอยู่คือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ “บิ๊กจ๊อด” ที่ทำ รสช.ก็เคยเป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) เช่นเดียวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน โดย พล.อ.สุนทร เป็น ผบ.นสศ.แล้วมาเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ข้ามฟากไปเป็นเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ส่วนพล.อ.สนธิ จาก ผบ.นสศ.มาเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก เรียกว่าขึ้นมาตรงๆ และถึงเป้าหมายเร็วกว่ารุ่นพี่อีก 2 คนที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก และเป็นอดีตผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ คือ
พล.อ.วิมล วงศ์วานิช จาก ผบ.นสศ.ไปเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ก่อนจะเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก แล้วไปเป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก่อนจะเป็นผู้บัญชาการทหารบก หลังพ้นยุค พล.อ.สุจินดา คราประยูร, สำหรับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้น จาก ผบ.นสศ.ไปเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 เช่นเดียวกับ พล.อ.วิมล แล้วมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ได้เป็น พล.อ.แล้วเป็นผู้บัญชาการทหารบก แล้วยุค “ทักษิณ” ส่งข้ามห้วยไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ทั้ง พล.อ.วิมล พล.อ.สุรยุทธ์ และ พล.อ.สนธิ มีเส้นทางที่อยู่ในหน่วยรบพิเศษเหมือนกันทั้ง 3 คน คือเป็นทหารพลร่ม เป็นลูกน้องของ พล.อ.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ “บิดาการรบพิเศษ” ที่ “พลร่มป่าหวาย” ตั้งแต่ยังเป็นกองพันพลร่ม เรียกว่าพอจบจากโรงเรียนนายร้อย จปร.ก็ไปอยู่ “ป่าหวาย” เลย เป็น ผู้บังคับชุดปฏิบัติการพิเศษ (ชป.) ซึ่งจัดแบบ ทีม A เช่นเดียวกันกับหน่วยรบพิเศษกองทัพบก สหรัฐอเมริกา ซึ่ง ชป.นี้มีกำลังเพียง 12 คน แต่มีฝีมือหรือความสามารถในการรบได้เท่ากับทหารราบ 1 หมวด และอยู่ที่พลร่มป่าหวาย จนเป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 เมื่อได้ขยายหน่วยเป็นระดับกรมรบพิเศษ เมื่อหน่วยเหนือสุดได้ตั้งเป็นหน่วยระดับกองทัพภาค คือ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) มีการตั้งกองพลรบพิเศษที่ 1 และที่ 2 ตั้งกรมรบพิเศษขึ้นมาถึง 5 กรม โดยมีศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.) ที่เป็นหน่วยหลักตั้งเดิม ทำหน้าที่การฝึกและศึกษา ผลิตและรักษาคุณภาพนักรบหัวกะทิ
ก้าวขึ้นไปเป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 และเป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษเหมือนกันทั้ง 3 คน ชีวิตการเป็นทหารอยู่กับหน่วยรบพิเศษตั้งแต่เป็นนายร้อยจนเป็นพลโท จะมีออกนอกเส้นทางบ้างในระยะเวลาสั้นๆ คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ไปเป็นพลตรีในตำแหน่ง นายทหารคนสนิท ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
โดยไปเป็น ทส.ของ “ป๋า” ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยอยู่ 1 ปี เมื่อเป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 เมื่อออกจากป่าหวายไป ได้เป็นนายพลแล้ว ก็กลับมาเป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 เข้าสู่เส้นทางเดินของหน่วยรบพิเศษ
เรื่องของ “ชื่อ” ที่นำมากล่าวถึงในตอนแรกนั้น การมีชื่อเหมือนกันนั้น มีความสำคัญผูกพันกันมาถึงอนาคตของการเป็นทหารด้วย โดยเริ่มตั้งแต่โรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งคลุกกันแบบไม่ได้แยกเหล่า เมื่อเข้าโรงเลี้ยง (อาหาร) โต๊ะอาหารจัดไว้ตามหมวดอักษร ก.ไก่ ข.ไข่ อย่าง ส.เสือ ของเตรียมทหารรุ่น 6 ที่ว่ามีถึง 33 คนนั้น ต้องเข้านั่งโต๊ะอาหารในกลุ่มเดียวกัน ผู้ที่เป็นมุสลิม เช่น พล.อ.สนธิ ก็มีการจัดประกอบเลี้ยงด้วยอาหารมุสลิม โดยทหารพ่อครัวที่เป็นมุสลิม
นอกจากจะร่วมรุ่นแล้ว ยังเป็นเพื่อนร่วมโต๊ะกินข้าว กลายเป็นความผูกพันกันอีกด้านหนึ่ง คนที่ร่วมโต๊ะกินข้าวอยู่ด้วยกันทุกมื้อ ก็มักจะเป็นกลุ่มที่รับอารมณ์ กลายเป็นคนที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน เช่น กลุ่มของ ส.เสือ จปร.รุ่น 17 นี้ มีผู้บอกว่าเป็น “เด็กเรียน” ถึงขนาดที่ว่าเป็น เจ้าของห้องสมุด เป็นกลุ่มที่ เรียนมาก พูดน้อย และเรื่องของการพูดน้อยนี้ ถึงกับว่า เมื่อจบเป็นนายทหารแล้ว เวลาจะไปเฮฮากินเหล้ากัน (ยกเว้น พล.อ.สนธิ ซึ่งเป็นมุสลิมที่ถือเคร่ง) จะต้องชวนเพื่อนคนอื่นไปด้วย คือ เพื่อนที่ไม่ใช่อักษร ส. เพราะถ้าหาก ส.กับ ส.เจอกัน ท่านว่าเป็นการชุมนุมคนใบ้ กินเหล้ากันอยู่ได้ตั้ง 5 ชั่วโมง พูดกันแค่ 4 คำ คือ-พอแล้ว กลับเถอะ
ไหนๆ ก็คลายเครียดกันด้วยเรื่องของชื่อมาแล้วอย่างนี้ ก็มีชื่อของ จปร.รุ่น 5 ที่ว่าฝรั่งชอบมาก คือ พล.อ.เจอ โพธิ์ศรีนาค เพราะเขียนง่าย อ่านง่าย คือ JER-เจอ ตรงๆ ตัว แต่ในรุ่นเดียวกัน พล.อ.อารยะ อุโฆษกิจ ที่ชื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่มีสระอะ ไปเมืองนอกทีไร ก็ถูกแปลงเพศโดยชื่อเป็น “อารยา” ไปทุกครั้ง
พล.ท.มะ โพธิ์งาม อดีต ส.ส.กาญจนบุรีของไทยรักไทย เป็น จปร. 21 เตรียมทหารรุ่น 10 เพื่อนของ “ทักษิณ” เป็นอีกคนที่พบกับทหารฝรั่งแล้ว ฝรั่งถือว่าชื่อเรียกยาก เพราะ MA ก็คือ “มา” เห็นๆ จะเป็น “มะ” ได้อย่างไรกัน
พล.ท.มะ เป็นทหารหน่วยรบพิเศษ และมีภารกิจต้องติดต่อกับต่างประเทศเป็นประจำ ทั้งในทางลับและทางแจ้ง เมื่อมีชื่อฝรั่งอ่านยาก อ่านออกเสียงตรงชื่อไม่ได้ จึงมีภารกิจอยู่ต่างประเทศ 3 ชาติคือ ลาว พม่า เขมร ที่ออกเสียงคำว่า “มะ” ได้ชัดเจน, เป็นที่น่าสังเกตว่า มีภารกิจอยู่กับ 3 ประเทศนี้เท่านั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ได้ให้ไปทาง มาเลเซีย ซึ่งแม้ว่าจะอ่านออกเสียง เรียกชื่อให้ถูกว่า “มะ” แต่ความหมายหรือคำแปล แปลว่า “แม่” จึงไม่ไปทำงานด้านมาเลเซียจะดีกว่า
เมื่อขึ้นต้นเป็นการรายงานอย่างสบายๆ ไม่เป็นการเคร่งเครียดนัก ก็ขอยก ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ วันนี้ให้เป็นเรื่องผ่อนคลาย จากที่ผู้ให้ข้อมูลคนเดียวกันว่า จปร. 17 เตรียมทหารรุ่น 6 รุ่นของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้ซึ่งมีตำแหน่งยาวมาก และนั่งเก้าอี้หลายตัว คือ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภา ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้บัญชาการทหารบก มีนักเรียนนายร้อย จปร.อยู่ในรุ่น 182 คน และในจำนวนนี้ มีชื่อที่ อักษร ส.เสือ นำหน้าอยู่ถึง 33 คน และเข้ามาเป็น 5 เสือกองทัพบกขณะนี้ 2 คน คือ พล.อ.สนธิ และ พล.อ.โสภณ ศีลพิพัฒน์ เสนาธิการทหารบก ผู้ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะไปอยู่ในตำแหน่งอัตราจอมพล เป็นผู้อยู่อัตราจอมพลคนที่ 6 ของรุ่น ซึ่งนับว่าเป็น “สถิติ” ได้ที่รุ่นเดียวกันได้อัตราจอมพลมากขนาดนี้
ว่ากันตามตรงแล้ว มิใช่เพราะ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้าคณะ คปค.แล้วเพื่อนในรุ่นจะพุ่งพรวด เพราะอย่าง พล.อ.อู๊ด เบื้องบน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ก็เป็นอัตราจอมพลมาก่อน และเกษียณอายุไปตั้งแต่ปีที่แล้ว พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนใหม่ เป็นอัตราจอมพลเมื่อเป็นเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย ซึ่งเป็นเหล่าทหารม้า และเป็น “ลูกป๋า” เหมือน พล.อ.อู๊ด ก็ได้อัตราจอมพลเช่นกัน
พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เสนาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่เป็นเสนาธิการ คปค.ครั้งนี้ เป็น จปร. 17 เตรียมทหารรุ่น 6 เช่นเดียวกัน, คนนี้เป็นคนเรียนเก่งคนหนึ่งของรุ่น เมื่อวางจากโรงเรียนนายร้อย จปร.แล้ว ได้กลับเข้ามาเป็นอาจารย์ในส่วนการศึกษา ร.ร.จปร. เมื่อเป็นคนเรียนเก่งคนหนึ่งของรุ่น เมื่อวางจากโรงเรียนนายร้อย จปร.แล้วได้กลับเข้ามาเป็นอาจารย์ในส่วนการศึกษา ร.ร.จปร.เมื่อเป็นร้อยโท สอบวิชาไฟฟ้า
ในรุ่นนี้มีชื่อเหมือนกันอยู่ 3 คน คือชื่อ “กิจจา” และมี “วินัย” 3 คนเช่นเดียวกัน มีชื่อที่อ่านออกเสียงคล้ายๆ กัน หรือเกือบเหมือนกันคือ พีรพงษ์ 1 คน, พีระพงศ์ 1 คน และ พีระพงษ์ อีก 1 คน ที่ชื่อเหมือนกันแต่เขียนไม่เหมือนกัน ชื่อ “ประเสริฐ” มี 3 คน และยังมี “ปรีชา” ที่ว่าต้องติดมากับเขาทุกรุ่นนั้นอยู่ 2 คน
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการทหารบกกับ พล.อ.สนธิ ก็เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกัน ทำให้รุ่นนี้ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก 2 คน ที่น้อยครั้งนักจะเป็นได้อย่างนี้ จึงเข้าเทียบกันได้กับ จปร. 5 ที่มี พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี แต่ จปร. 5 นั้นมาแบบหนึ่งโดยอิทธิฤทธิ์ แต่ จปร. 17 นี้ มาโดยจังหวะและฝีมือ
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็เป็นเตรียมทหารรุ่น 6 ซึ่งรายงานแบบสบายๆ ไม่เครียดนี้เกี่ยวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เพื่อนร่วมรุ่นจะสะท้อนให้เห็นอะไรได้หลายอย่าง หลายแง่ความคิด
เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ พล.อ.สนธิ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก มีความกังวลใจเป็นอันมาก ที่มีนายตำรวจ ระดับสารวัตร ผู้หนึ่งเกิดปัญหาเรื่องไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจัดตำแหน่ง โดยที่มีนายทหารคนหนึ่งฝากเรื่องนี้มา ขอให้ช่วยดูแลขอความเป็นธรรมให้ด้วย เพราะท่านเป็นถึงผู้บัญชาการทหารบก, แต่พล.อ.สนธิ มีความหนักใจเป็นอันมาก คือ ไม่รู้ว่าจะไปพูดกับใคร? เมื่อมีนายพลรุ่นน้อง รู้ว่าพี่กำลังไม่สบายใจ ก็บอกว่า-ก็บอก ผบ.ตร.นั่นไง เป็นเพื่อนของท่าน
คำตอบนั้น ทำให้น่าหนักใจมากขึ้นไปอีก เมื่อพล.อ.สนธิ บอกว่า
เพื่อนกันก็จริง แต่หมอนี่มันเอากะใครที่ไหน...
การปฏิรูปการปกครองฯ ครั้งนี้ มีการกล่าวถึง ทหารรบพิเศษ/พลร่ม กันค่อนข้างมาก และเมื่อมองย้อนกลับไปถึงการปฏิวัติที่ผ่านมา คือ การยึดอำนาจโดยคณะ รสช.โค่นรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นั้น ก็มีความเป็นมาในเรื่องตำแหน่งอยู่คือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ “บิ๊กจ๊อด” ที่ทำ รสช.ก็เคยเป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) เช่นเดียวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน โดย พล.อ.สุนทร เป็น ผบ.นสศ.แล้วมาเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ข้ามฟากไปเป็นเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ส่วนพล.อ.สนธิ จาก ผบ.นสศ.มาเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก เรียกว่าขึ้นมาตรงๆ และถึงเป้าหมายเร็วกว่ารุ่นพี่อีก 2 คนที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก และเป็นอดีตผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ คือ
พล.อ.วิมล วงศ์วานิช จาก ผบ.นสศ.ไปเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ก่อนจะเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก แล้วไปเป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก่อนจะเป็นผู้บัญชาการทหารบก หลังพ้นยุค พล.อ.สุจินดา คราประยูร, สำหรับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้น จาก ผบ.นสศ.ไปเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 เช่นเดียวกับ พล.อ.วิมล แล้วมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ได้เป็น พล.อ.แล้วเป็นผู้บัญชาการทหารบก แล้วยุค “ทักษิณ” ส่งข้ามห้วยไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ทั้ง พล.อ.วิมล พล.อ.สุรยุทธ์ และ พล.อ.สนธิ มีเส้นทางที่อยู่ในหน่วยรบพิเศษเหมือนกันทั้ง 3 คน คือเป็นทหารพลร่ม เป็นลูกน้องของ พล.อ.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ “บิดาการรบพิเศษ” ที่ “พลร่มป่าหวาย” ตั้งแต่ยังเป็นกองพันพลร่ม เรียกว่าพอจบจากโรงเรียนนายร้อย จปร.ก็ไปอยู่ “ป่าหวาย” เลย เป็น ผู้บังคับชุดปฏิบัติการพิเศษ (ชป.) ซึ่งจัดแบบ ทีม A เช่นเดียวกันกับหน่วยรบพิเศษกองทัพบก สหรัฐอเมริกา ซึ่ง ชป.นี้มีกำลังเพียง 12 คน แต่มีฝีมือหรือความสามารถในการรบได้เท่ากับทหารราบ 1 หมวด และอยู่ที่พลร่มป่าหวาย จนเป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 เมื่อได้ขยายหน่วยเป็นระดับกรมรบพิเศษ เมื่อหน่วยเหนือสุดได้ตั้งเป็นหน่วยระดับกองทัพภาค คือ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) มีการตั้งกองพลรบพิเศษที่ 1 และที่ 2 ตั้งกรมรบพิเศษขึ้นมาถึง 5 กรม โดยมีศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.) ที่เป็นหน่วยหลักตั้งเดิม ทำหน้าที่การฝึกและศึกษา ผลิตและรักษาคุณภาพนักรบหัวกะทิ
ก้าวขึ้นไปเป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 และเป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษเหมือนกันทั้ง 3 คน ชีวิตการเป็นทหารอยู่กับหน่วยรบพิเศษตั้งแต่เป็นนายร้อยจนเป็นพลโท จะมีออกนอกเส้นทางบ้างในระยะเวลาสั้นๆ คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ไปเป็นพลตรีในตำแหน่ง นายทหารคนสนิท ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
โดยไปเป็น ทส.ของ “ป๋า” ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยอยู่ 1 ปี เมื่อเป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 เมื่อออกจากป่าหวายไป ได้เป็นนายพลแล้ว ก็กลับมาเป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 เข้าสู่เส้นทางเดินของหน่วยรบพิเศษ
เรื่องของ “ชื่อ” ที่นำมากล่าวถึงในตอนแรกนั้น การมีชื่อเหมือนกันนั้น มีความสำคัญผูกพันกันมาถึงอนาคตของการเป็นทหารด้วย โดยเริ่มตั้งแต่โรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งคลุกกันแบบไม่ได้แยกเหล่า เมื่อเข้าโรงเลี้ยง (อาหาร) โต๊ะอาหารจัดไว้ตามหมวดอักษร ก.ไก่ ข.ไข่ อย่าง ส.เสือ ของเตรียมทหารรุ่น 6 ที่ว่ามีถึง 33 คนนั้น ต้องเข้านั่งโต๊ะอาหารในกลุ่มเดียวกัน ผู้ที่เป็นมุสลิม เช่น พล.อ.สนธิ ก็มีการจัดประกอบเลี้ยงด้วยอาหารมุสลิม โดยทหารพ่อครัวที่เป็นมุสลิม
นอกจากจะร่วมรุ่นแล้ว ยังเป็นเพื่อนร่วมโต๊ะกินข้าว กลายเป็นความผูกพันกันอีกด้านหนึ่ง คนที่ร่วมโต๊ะกินข้าวอยู่ด้วยกันทุกมื้อ ก็มักจะเป็นกลุ่มที่รับอารมณ์ กลายเป็นคนที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน เช่น กลุ่มของ ส.เสือ จปร.รุ่น 17 นี้ มีผู้บอกว่าเป็น “เด็กเรียน” ถึงขนาดที่ว่าเป็น เจ้าของห้องสมุด เป็นกลุ่มที่ เรียนมาก พูดน้อย และเรื่องของการพูดน้อยนี้ ถึงกับว่า เมื่อจบเป็นนายทหารแล้ว เวลาจะไปเฮฮากินเหล้ากัน (ยกเว้น พล.อ.สนธิ ซึ่งเป็นมุสลิมที่ถือเคร่ง) จะต้องชวนเพื่อนคนอื่นไปด้วย คือ เพื่อนที่ไม่ใช่อักษร ส. เพราะถ้าหาก ส.กับ ส.เจอกัน ท่านว่าเป็นการชุมนุมคนใบ้ กินเหล้ากันอยู่ได้ตั้ง 5 ชั่วโมง พูดกันแค่ 4 คำ คือ-พอแล้ว กลับเถอะ
ไหนๆ ก็คลายเครียดกันด้วยเรื่องของชื่อมาแล้วอย่างนี้ ก็มีชื่อของ จปร.รุ่น 5 ที่ว่าฝรั่งชอบมาก คือ พล.อ.เจอ โพธิ์ศรีนาค เพราะเขียนง่าย อ่านง่าย คือ JER-เจอ ตรงๆ ตัว แต่ในรุ่นเดียวกัน พล.อ.อารยะ อุโฆษกิจ ที่ชื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่มีสระอะ ไปเมืองนอกทีไร ก็ถูกแปลงเพศโดยชื่อเป็น “อารยา” ไปทุกครั้ง
พล.ท.มะ โพธิ์งาม อดีต ส.ส.กาญจนบุรีของไทยรักไทย เป็น จปร. 21 เตรียมทหารรุ่น 10 เพื่อนของ “ทักษิณ” เป็นอีกคนที่พบกับทหารฝรั่งแล้ว ฝรั่งถือว่าชื่อเรียกยาก เพราะ MA ก็คือ “มา” เห็นๆ จะเป็น “มะ” ได้อย่างไรกัน
พล.ท.มะ เป็นทหารหน่วยรบพิเศษ และมีภารกิจต้องติดต่อกับต่างประเทศเป็นประจำ ทั้งในทางลับและทางแจ้ง เมื่อมีชื่อฝรั่งอ่านยาก อ่านออกเสียงตรงชื่อไม่ได้ จึงมีภารกิจอยู่ต่างประเทศ 3 ชาติคือ ลาว พม่า เขมร ที่ออกเสียงคำว่า “มะ” ได้ชัดเจน, เป็นที่น่าสังเกตว่า มีภารกิจอยู่กับ 3 ประเทศนี้เท่านั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ได้ให้ไปทาง มาเลเซีย ซึ่งแม้ว่าจะอ่านออกเสียง เรียกชื่อให้ถูกว่า “มะ” แต่ความหมายหรือคำแปล แปลว่า “แม่” จึงไม่ไปทำงานด้านมาเลเซียจะดีกว่า