กล่าวไม่ได้ว่าการยึดอำนาจครั้งล่าสุดเป็นการยึดอำนาจเพื่อให้ทหารขึ้นมามีอำนาจเหมือนการปฏิวัติรัฐประหารที่ผ่านมา
ตรงกันข้าม
คณะปฏิรูปยึดอำนาจครั้งนี้เป็นการยึดอำนาจจากอดีตนายกฯ ทักษิณและบริวาร
และก็ยึดอำนาจเพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็วภายในสองอาทิตย์ โดยสัญญาว่าจะหาคนกลางที่เป็นพลเรือนมาเป็นนายกรัฐมนตรี และจะให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในเวลาไม่เกินหนึ่งปี
การรัฐประหารเพื่อยุติอำนาจที่ฉ้อฉลโดยนักการเมืองนี้ ทำให้สื่อต่างประเทศซึ่งไม่เข้านัยของเหตุผลที่ลุ่มลึก คิดไปว่ามันคงเป็นการยึดอำนาจเพื่อทหารจะได้เข้ามาปกครองประเทศ และจะมีผลทำให้ประเทศไทยถอยหลังสู่ยุคเผด็จการอีกครั้ง
หลายประเทศมองว่า อดีตนายกฯ ทักษิณนั้นมาจากการเลือกตั้งและได้รับเสียงข้างมากที่ถล่มทะลาย
แต่ไม่ได้มองว่าเสียงข้างมากนั้นซื้อหามาหรือไม่
และไม่ได้ดูด้วยว่า หลังจากได้อำนาจแล้ว รัฐบาลมีความชอบธรรมใช้อำนาจโดยสุจริตหรือไม่
มีการทุจริตเชิงนโยบาย หรือโกงกินชาติบ้านเมืองแบบไม่บันยะบันยังหรือไม่
เหตุผลส่วนหนึ่งที่คณะปฏิรูปฯ ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจก็เพราะทนเห็นการคอร์รัปชันที่ระบาดอยู่ในหมู่บรรดาพรรคพวกญาติมิตรของฝ่ายรัฐบาลไม่ได้
ไม่นับข้อหาใหญ่เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงหลายครั้ง
แน่นอนว่าแม้ว่าการยึดอำนาจจะเป็นการก้าวถอยหลัง แต่ก็เป็นการก้าวถอยหลังเพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป
สื่อต่างประเทศบางฉบับมองว่า การยึดอำนาจและรัฐประหารครั้งนี้เป็นอันตราย ทำให้ไทยขาดความมั่นคง ไร้เสถียรภาพ ถึงขั้นจะมีแนวโน้มไปเหมือนพม่า หรืออย่างน้อยก็เป็นแบบอินโดนีเซีย
สื่อบางฉบับก็ชี้ว่า ประเทศไทยปลอดปฏิวัติมาถึง 15 ปี การเกิดปฏิวัติขึ้นมาอีก เท่ากับบอกว่าจะรับประกันอีกไม่ได้ว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า หากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในระบอบรัฐสภาอีก การปฏิวัติอาจเป็นทางเลือกอีกครั้งก็ได้
มีน้อยฉบับที่ไม่เขียนเรื่องราวของประชาชนบนท้องถนนที่จูงลูกจูงหลาน และหอบหิ้วอาหารกล่อง น้ำ และดอกไม้ไปให้ทหารที่ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาการอยู่บริเวณจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
ไม่มีการพูดถึงการร่วมถ่ายภาพกับทหารและรถถังหรือบรรยากาศเอื้อเฟื้อ และเป็นมิตรไมตรีระหว่างทหารที่เข้ามายึดกรุงเทพฯ กับประชาชน
แม้แต่บริษัททัวร์ยังต้องพานักท่องเที่ยวต่างชาติมาดูสิ่งแปลกประหลาดของโลก คือการดูการปฏิวัติในไทยซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้
เป็นเรื่องแปลกแต่จริง และสมควรถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ครั้งหนึ่งมีการเป็นปฏิวัติที่ friendly ที่สุดในโลก เป็นปฏิวัติแบบมหกรรมวันเด็กที่สนุกที่สุดเลยก็ว่าได้
แน่นอนว่าคณะปฏิรูปฯ ได้ปฏิบัติตามธรรมเนียมของการปฏิวัติทั่วไปคือ จัดการห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ควบคุมสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ควบคุมอดีตรองนายกรัฐมนตรี และบุคคลสำคัญที่เป็นอดีตรัฐมนตรีไว้บ้าง
และมีการสั่งย้ายทหารและตำรวจซึ่งมีเส้นสายสำคัญใกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรี
แต่ก็ไม่ได้เกินขอบเขตของการใช้อำนาจแบบเกินกว่าที่จำเป็น
นสพ.บางฉบับ เช่น International Herald Tribune ได้ตีพิมพ์ข้อความกล่าวถึงดอกไม้ที่ทหารได้รับไว้เพียงเล็กน้อย ทั้งกล่าวว่าการปฏิวัติครั้งนี้กระทำอย่างสุภาพนิ่มนวล และทหารมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส (โดยกล่าวว่าได้รับคำสั่งอย่างนั้น)
กระนั้นก็ตามนี่เป็นการปฏิวัติแบบประชานิยมโดยแท้จริง
IHT อ้างว่า บทนำของ นสพ.เกาหลีใต้วิตกว่า พวกเขาเกรงว่าความสำเร็จของคณะปฏิรูปฯ ในการยึดอำนาจอาจส่งผลเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะว่าทุกวันนี้ประชาธิปไตยนั้นยังคงเปราะบางอยู่ เช่น ในฟิลิปปินส์หรือในอินโดนีเซีย แม้แต่ในมาเลเซียและสิงคโปร์การเมืองก็มีลักษณะของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ และในพม่าก็เป็นการเมืองแบบอำนาจมืด
อย่างไรก็ตามคณะปฏิรูปฯ ได้พยายามที่จะกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ตามขั้นตอนที่เห็นว่าเหมาะสม
ขั้นแรก คือ จัดให้มีรัฐบาลพลเรือนชั่วคราว
ขั้นที่สอง จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ขั้นที่สาม เมื่อได้รับรัฐธรรมนูญแล้วก็จะให้มีลงประชามติ
ขั้นที่สี่ ให้มีการเลือกตั้งและเปิดสภา
หลายฝ่ายพยายามมองว่า การยึดอำนาจและการคืนอำนาจโดยเร็วนี้ สมเหตุสมผลหรือไม่
ประเด็นมาหยุดลงว่า การปฏิวัตินั้นขัดแย้งต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
แต่มองในมุมบวก ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาประชาธิปไตย หรือกำลังไต่ไปสู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ดังนั้น ย่อมมีอุปสรรคและสะดุดได้ โดยเฉพาะอาจโดนขัดจังหวะจากปัจจัยภายในหรือภายนอกเป็นครั้งคราว
แต่นักวิชาการตะวันตกบางสำนักก็ยืนยันว่า การรัฐประหารโดยทหารนั้นเป็นสิ่งไม่ดีเลยจากมุมมองของระบอบประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชนหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
แต่นักวิเคราะห์คนไทยชี้ว่า อะไรคือประชาธิปไตยมันไม่ได้หมายถึงการเลือกตั้งอย่างเดียว แต่มันควรมีความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความคงทนต่อเนื่องของการปกครองและประชาธิปไตยด้วย
ประชาธิปไตยโดยคนซื้อเสียง คนมีอิทธิพลในต่างจังหวัดและรัฐบาลที่เข้ามาฉ้อฉลโกงกินงบประมาณจากภาษีประชาชนและโกหกหลอกลวงประชาชนนั้น ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยแท้จริงหรอกครับ แต่เป็นประชาธิปไตยที่ทรราชเข้ามาปกครองโดยอาศัยเสื้อคลุมประชาธิปไตยเท่านั้น
ตรงกันข้าม
คณะปฏิรูปยึดอำนาจครั้งนี้เป็นการยึดอำนาจจากอดีตนายกฯ ทักษิณและบริวาร
และก็ยึดอำนาจเพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็วภายในสองอาทิตย์ โดยสัญญาว่าจะหาคนกลางที่เป็นพลเรือนมาเป็นนายกรัฐมนตรี และจะให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในเวลาไม่เกินหนึ่งปี
การรัฐประหารเพื่อยุติอำนาจที่ฉ้อฉลโดยนักการเมืองนี้ ทำให้สื่อต่างประเทศซึ่งไม่เข้านัยของเหตุผลที่ลุ่มลึก คิดไปว่ามันคงเป็นการยึดอำนาจเพื่อทหารจะได้เข้ามาปกครองประเทศ และจะมีผลทำให้ประเทศไทยถอยหลังสู่ยุคเผด็จการอีกครั้ง
หลายประเทศมองว่า อดีตนายกฯ ทักษิณนั้นมาจากการเลือกตั้งและได้รับเสียงข้างมากที่ถล่มทะลาย
แต่ไม่ได้มองว่าเสียงข้างมากนั้นซื้อหามาหรือไม่
และไม่ได้ดูด้วยว่า หลังจากได้อำนาจแล้ว รัฐบาลมีความชอบธรรมใช้อำนาจโดยสุจริตหรือไม่
มีการทุจริตเชิงนโยบาย หรือโกงกินชาติบ้านเมืองแบบไม่บันยะบันยังหรือไม่
เหตุผลส่วนหนึ่งที่คณะปฏิรูปฯ ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจก็เพราะทนเห็นการคอร์รัปชันที่ระบาดอยู่ในหมู่บรรดาพรรคพวกญาติมิตรของฝ่ายรัฐบาลไม่ได้
ไม่นับข้อหาใหญ่เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงหลายครั้ง
แน่นอนว่าแม้ว่าการยึดอำนาจจะเป็นการก้าวถอยหลัง แต่ก็เป็นการก้าวถอยหลังเพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป
สื่อต่างประเทศบางฉบับมองว่า การยึดอำนาจและรัฐประหารครั้งนี้เป็นอันตราย ทำให้ไทยขาดความมั่นคง ไร้เสถียรภาพ ถึงขั้นจะมีแนวโน้มไปเหมือนพม่า หรืออย่างน้อยก็เป็นแบบอินโดนีเซีย
สื่อบางฉบับก็ชี้ว่า ประเทศไทยปลอดปฏิวัติมาถึง 15 ปี การเกิดปฏิวัติขึ้นมาอีก เท่ากับบอกว่าจะรับประกันอีกไม่ได้ว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า หากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในระบอบรัฐสภาอีก การปฏิวัติอาจเป็นทางเลือกอีกครั้งก็ได้
มีน้อยฉบับที่ไม่เขียนเรื่องราวของประชาชนบนท้องถนนที่จูงลูกจูงหลาน และหอบหิ้วอาหารกล่อง น้ำ และดอกไม้ไปให้ทหารที่ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาการอยู่บริเวณจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
ไม่มีการพูดถึงการร่วมถ่ายภาพกับทหารและรถถังหรือบรรยากาศเอื้อเฟื้อ และเป็นมิตรไมตรีระหว่างทหารที่เข้ามายึดกรุงเทพฯ กับประชาชน
แม้แต่บริษัททัวร์ยังต้องพานักท่องเที่ยวต่างชาติมาดูสิ่งแปลกประหลาดของโลก คือการดูการปฏิวัติในไทยซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้
เป็นเรื่องแปลกแต่จริง และสมควรถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ครั้งหนึ่งมีการเป็นปฏิวัติที่ friendly ที่สุดในโลก เป็นปฏิวัติแบบมหกรรมวันเด็กที่สนุกที่สุดเลยก็ว่าได้
แน่นอนว่าคณะปฏิรูปฯ ได้ปฏิบัติตามธรรมเนียมของการปฏิวัติทั่วไปคือ จัดการห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ควบคุมสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ควบคุมอดีตรองนายกรัฐมนตรี และบุคคลสำคัญที่เป็นอดีตรัฐมนตรีไว้บ้าง
และมีการสั่งย้ายทหารและตำรวจซึ่งมีเส้นสายสำคัญใกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรี
แต่ก็ไม่ได้เกินขอบเขตของการใช้อำนาจแบบเกินกว่าที่จำเป็น
นสพ.บางฉบับ เช่น International Herald Tribune ได้ตีพิมพ์ข้อความกล่าวถึงดอกไม้ที่ทหารได้รับไว้เพียงเล็กน้อย ทั้งกล่าวว่าการปฏิวัติครั้งนี้กระทำอย่างสุภาพนิ่มนวล และทหารมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส (โดยกล่าวว่าได้รับคำสั่งอย่างนั้น)
กระนั้นก็ตามนี่เป็นการปฏิวัติแบบประชานิยมโดยแท้จริง
IHT อ้างว่า บทนำของ นสพ.เกาหลีใต้วิตกว่า พวกเขาเกรงว่าความสำเร็จของคณะปฏิรูปฯ ในการยึดอำนาจอาจส่งผลเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะว่าทุกวันนี้ประชาธิปไตยนั้นยังคงเปราะบางอยู่ เช่น ในฟิลิปปินส์หรือในอินโดนีเซีย แม้แต่ในมาเลเซียและสิงคโปร์การเมืองก็มีลักษณะของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ และในพม่าก็เป็นการเมืองแบบอำนาจมืด
อย่างไรก็ตามคณะปฏิรูปฯ ได้พยายามที่จะกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ตามขั้นตอนที่เห็นว่าเหมาะสม
ขั้นแรก คือ จัดให้มีรัฐบาลพลเรือนชั่วคราว
ขั้นที่สอง จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ขั้นที่สาม เมื่อได้รับรัฐธรรมนูญแล้วก็จะให้มีลงประชามติ
ขั้นที่สี่ ให้มีการเลือกตั้งและเปิดสภา
หลายฝ่ายพยายามมองว่า การยึดอำนาจและการคืนอำนาจโดยเร็วนี้ สมเหตุสมผลหรือไม่
ประเด็นมาหยุดลงว่า การปฏิวัตินั้นขัดแย้งต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
แต่มองในมุมบวก ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาประชาธิปไตย หรือกำลังไต่ไปสู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ดังนั้น ย่อมมีอุปสรรคและสะดุดได้ โดยเฉพาะอาจโดนขัดจังหวะจากปัจจัยภายในหรือภายนอกเป็นครั้งคราว
แต่นักวิชาการตะวันตกบางสำนักก็ยืนยันว่า การรัฐประหารโดยทหารนั้นเป็นสิ่งไม่ดีเลยจากมุมมองของระบอบประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชนหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
แต่นักวิเคราะห์คนไทยชี้ว่า อะไรคือประชาธิปไตยมันไม่ได้หมายถึงการเลือกตั้งอย่างเดียว แต่มันควรมีความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความคงทนต่อเนื่องของการปกครองและประชาธิปไตยด้วย
ประชาธิปไตยโดยคนซื้อเสียง คนมีอิทธิพลในต่างจังหวัดและรัฐบาลที่เข้ามาฉ้อฉลโกงกินงบประมาณจากภาษีประชาชนและโกหกหลอกลวงประชาชนนั้น ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยแท้จริงหรอกครับ แต่เป็นประชาธิปไตยที่ทรราชเข้ามาปกครองโดยอาศัยเสื้อคลุมประชาธิปไตยเท่านั้น