ภาพประชาชนพากันนำดอกไม้ อาหาร และน้ำดื่มไปให้ทหารที่รักษาการตามจุดต่างๆ รวมทั้งพ่อแม่พาเด็กๆ ไปถ่ายรูปกับทหารและรถถังอย่างคึกคัก จนดูราวกับมีการจัดงาน "วันเด็ก"ก่อนกำหนด
เป็นภาพความชื่นชมยินดีของประชาชนที่มีต่อปฏิบัติการของทหารที่เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการที่ถูกกระแสต่อต้าน แต่ "ไล่ไม่ไป"เห็นภาพข่าวคงพากันแปลกใจที่ชาวบ้านไม่ตื่นตกใจ และคงเป็นคำตอบว่าความรู้สึกช็อกเมื่อวันมีการปฏิวัติล้มล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องที่โดยหลักการย่อมถูกคัดค้านจนถึงขั้นประณามด้วยซ้ำ หากมีการกระทำเกินกว่าเหตุ
แต่เหตุการณ์ล้มอำนาจ "ระบอบทักษิณ" เมื่อคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แผนปฏิบัติการรัดกุมจนคณะผู้ก่อการสามารถคุมอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างสงบ และได้พิสูจน์ว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีการปฏิวัติยังไม่หมดไปจากเมืองไทย
ทั้งๆ ที่ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยดูเหมือนมีความเชื่อว่า ประเทศไทยจะไม่มีการใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจอีกแล้ว เพราะระบอบประชาธิปไตยของเราได้พัฒนาการมาจนรับรู้กันว่า "การปฏิวัติ" กลายเป็นเรื่องล้าสมัย
บางครั้งที่เกิดภาวะใกล้วิกฤตทางการเมือง จนมีคนคิดว่าน่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหาร แต่นายทหารทุกคนก็ต่างปฏิเสธ และเห็นว่าเป็นวิธีการผิดกติกาประชาธิปไตย
ดังนั้น แม้เครือข่ายภาคประชาชน และปัญญาชนในวิชาชีพต่างๆ ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารและคัดค้านต่อต้านกับความเลวร้ายจาก "ระบอบทักษิณ" ที่ทำลายหลักและสถาบันทางประชาธิปไตย รวมทั้งกลไกการตรวจสอบเพื่อรักษาอำนาจ และกอบโกยผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้าเป็นของครอบครัวและพวกพ้อง
ขณะที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้จุดเทียนแห่งปัญญาได้เพียรชี้ประเด็นข้อมูล และคำถามความฉ้อฉลขาดจริยธรรมของผู้บริหารอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผ่านรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่ถ่ายทอดผ่านระบบ ASTV โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างต่อเนื่องยาวนานมาเป็นปี จนมีผู้รับรู้ข่าวสารและพากันร้อนใจที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด และขาดจริยธรรม จึงได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางไปทั่วประเทศ รวมไปถึงในหมู่คนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ
นี่เองที่สมุนคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องใช้แผนสกปรก ใช้เงินและผลประโยชน์สร้างเครือข่ายฝ่ายเชียร์ทักษิณขึ้นมาสู้
ข้อมูลเหล่านี้สอดคล้องกับเหตุผลในแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปฯ ที่ตัดสินใจล้มรัฐบาลลงจากอำนาจซึ่งสรุปได้ว่า
1. การบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐบาลรักษาการปัจจุบันได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
2. ประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดิน อันส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง
3. หน่วยงาน องค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง จนไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
4. การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหา และอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง
แม้มีการเรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลลาออก และยุติบทบาททางการเมือง หรือแค่ประกาศเว้นวรรคทางการเมือง ก็ยังไม่มีท่าทีชัดเจน แต่พวกลิ่วล้อกลับโหมกระหน่ำสถานการณ์เลวร้ายลงไป
คงจำได้ว่าในคืนวันที่ 19 กันยายนนั้น ถึงขนาดมีการประกาศภาวะฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และสั่งปลดผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งก็คล้ายการ "ปฏิวัติตัวเอง" เพื่อใช้อำนาจเด็ดขาด
ฝ่าย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จึงจำเป็นต้องตอบโต้ด้วยการสั่งเคลื่อนทัพเข้าเผด็จศึกทันที
ผมคิดว่าบรรดาผู้มีจิตสำนึกใฝ่ประชาธิปไตย ย่อมไม่เห็นด้วยกับการที่ทหารจะใช้กำลังเข้ายึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว เพราะเกรงว่าจะใช้อำนาจจนเพลิน และประชาชนจะขาดเสรีภาพ
แต่ถามว่าจะมีทางออกอะไรได้ ขณะที่ระบอบทักษิณยังครองอำนาจคุมข้าราชการ กอบโกยผลประโยชน์และก่อกรรมทำเข็ญไม่หยุด และยังคุมสื่อของรัฐให้สนองแนวทางปิดกั้นการรับรองความฉ้อฉลของครอบครัวและพวกพ้อง
ทำให้ผมนึกถึงถ้อยคำคุณจอน อึ๊งภากรณ์ นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเป็นธรรม บอกว่า
"ผมนึกละอายที่บอกว่ารู้สึกดีขึ้น เมื่อมีการหยุด (ระบอบ) ทักษิณ (ด้วยการรัฐประหาร) แต่ผมหาคำตอบอื่นไม่ได้ ณ เวลานั้น"
"ผมถือว่าทักษิณได้วางยาพิษสังคมไทยทั้งสังคมมายาวนานแล้ว ในรูปแบบของรัฐประหารที่มองไม่เห็น ทั้งยังได้สร้างความแตกแยก ความขัดแย้ง ความรุนแรงในสังคมไทยที่ยากจะเยียวยาได้"
คุณจอนจึงรู้สึกว่า การรัฐประหารโค่นทักษิณ ก็คงไม่เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายไปกว่านั้นแล้ว และพอจะหวังได้ว่าอาจดีขึ้น
นี่เป็นตัวอย่างของความคิดผู้รักประชาธิปไตย แต่มองด้วยมิติเข้าใจสภาพความเป็นจริง
ผมเองเชื่อว่า คณะปฏิรูปฯ กำลังถูกสังคมส่องสปอตไลต์ ทั้งในแง่เป็นความหวังที่ฝากให้แก้ไข และล้มล้างความเลวร้ายและดำเนินการเอาผิดกับบุคคลในระบอบทักษิณที่ได้ฝังรากและแพร่เชื้อไปทั่ว
ขณะเดียวกัน สังคมก็เรียกร้องให้ใช้โอกาสนี้ทำให้เกิดการ "ปฏิรูป" อย่างแท้จริงคือให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นธรรม โดยมีกลไกของระบบและบุคคลที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจนักการเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลักดัน "การปฏิรูปสื่อ" เพื่อให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทำหน้าที่รายงานข่าวสาร และความรู้ ความคิด โดยเห็นแก่ผลประโยชน์สาธารณะและประเทศชาติ มิใช่เพื่อเป็นเครื่องมือปกป้องนักการเมืองเลว
เป็นภาพความชื่นชมยินดีของประชาชนที่มีต่อปฏิบัติการของทหารที่เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการที่ถูกกระแสต่อต้าน แต่ "ไล่ไม่ไป"เห็นภาพข่าวคงพากันแปลกใจที่ชาวบ้านไม่ตื่นตกใจ และคงเป็นคำตอบว่าความรู้สึกช็อกเมื่อวันมีการปฏิวัติล้มล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องที่โดยหลักการย่อมถูกคัดค้านจนถึงขั้นประณามด้วยซ้ำ หากมีการกระทำเกินกว่าเหตุ
แต่เหตุการณ์ล้มอำนาจ "ระบอบทักษิณ" เมื่อคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แผนปฏิบัติการรัดกุมจนคณะผู้ก่อการสามารถคุมอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างสงบ และได้พิสูจน์ว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีการปฏิวัติยังไม่หมดไปจากเมืองไทย
ทั้งๆ ที่ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยดูเหมือนมีความเชื่อว่า ประเทศไทยจะไม่มีการใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจอีกแล้ว เพราะระบอบประชาธิปไตยของเราได้พัฒนาการมาจนรับรู้กันว่า "การปฏิวัติ" กลายเป็นเรื่องล้าสมัย
บางครั้งที่เกิดภาวะใกล้วิกฤตทางการเมือง จนมีคนคิดว่าน่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหาร แต่นายทหารทุกคนก็ต่างปฏิเสธ และเห็นว่าเป็นวิธีการผิดกติกาประชาธิปไตย
ดังนั้น แม้เครือข่ายภาคประชาชน และปัญญาชนในวิชาชีพต่างๆ ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารและคัดค้านต่อต้านกับความเลวร้ายจาก "ระบอบทักษิณ" ที่ทำลายหลักและสถาบันทางประชาธิปไตย รวมทั้งกลไกการตรวจสอบเพื่อรักษาอำนาจ และกอบโกยผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้าเป็นของครอบครัวและพวกพ้อง
ขณะที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้จุดเทียนแห่งปัญญาได้เพียรชี้ประเด็นข้อมูล และคำถามความฉ้อฉลขาดจริยธรรมของผู้บริหารอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผ่านรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่ถ่ายทอดผ่านระบบ ASTV โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างต่อเนื่องยาวนานมาเป็นปี จนมีผู้รับรู้ข่าวสารและพากันร้อนใจที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด และขาดจริยธรรม จึงได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางไปทั่วประเทศ รวมไปถึงในหมู่คนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ
นี่เองที่สมุนคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องใช้แผนสกปรก ใช้เงินและผลประโยชน์สร้างเครือข่ายฝ่ายเชียร์ทักษิณขึ้นมาสู้
ข้อมูลเหล่านี้สอดคล้องกับเหตุผลในแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปฯ ที่ตัดสินใจล้มรัฐบาลลงจากอำนาจซึ่งสรุปได้ว่า
1. การบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐบาลรักษาการปัจจุบันได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
2. ประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดิน อันส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง
3. หน่วยงาน องค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง จนไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
4. การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหา และอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง
แม้มีการเรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลลาออก และยุติบทบาททางการเมือง หรือแค่ประกาศเว้นวรรคทางการเมือง ก็ยังไม่มีท่าทีชัดเจน แต่พวกลิ่วล้อกลับโหมกระหน่ำสถานการณ์เลวร้ายลงไป
คงจำได้ว่าในคืนวันที่ 19 กันยายนนั้น ถึงขนาดมีการประกาศภาวะฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และสั่งปลดผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งก็คล้ายการ "ปฏิวัติตัวเอง" เพื่อใช้อำนาจเด็ดขาด
ฝ่าย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จึงจำเป็นต้องตอบโต้ด้วยการสั่งเคลื่อนทัพเข้าเผด็จศึกทันที
ผมคิดว่าบรรดาผู้มีจิตสำนึกใฝ่ประชาธิปไตย ย่อมไม่เห็นด้วยกับการที่ทหารจะใช้กำลังเข้ายึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว เพราะเกรงว่าจะใช้อำนาจจนเพลิน และประชาชนจะขาดเสรีภาพ
แต่ถามว่าจะมีทางออกอะไรได้ ขณะที่ระบอบทักษิณยังครองอำนาจคุมข้าราชการ กอบโกยผลประโยชน์และก่อกรรมทำเข็ญไม่หยุด และยังคุมสื่อของรัฐให้สนองแนวทางปิดกั้นการรับรองความฉ้อฉลของครอบครัวและพวกพ้อง
ทำให้ผมนึกถึงถ้อยคำคุณจอน อึ๊งภากรณ์ นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเป็นธรรม บอกว่า
"ผมนึกละอายที่บอกว่ารู้สึกดีขึ้น เมื่อมีการหยุด (ระบอบ) ทักษิณ (ด้วยการรัฐประหาร) แต่ผมหาคำตอบอื่นไม่ได้ ณ เวลานั้น"
"ผมถือว่าทักษิณได้วางยาพิษสังคมไทยทั้งสังคมมายาวนานแล้ว ในรูปแบบของรัฐประหารที่มองไม่เห็น ทั้งยังได้สร้างความแตกแยก ความขัดแย้ง ความรุนแรงในสังคมไทยที่ยากจะเยียวยาได้"
คุณจอนจึงรู้สึกว่า การรัฐประหารโค่นทักษิณ ก็คงไม่เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายไปกว่านั้นแล้ว และพอจะหวังได้ว่าอาจดีขึ้น
นี่เป็นตัวอย่างของความคิดผู้รักประชาธิปไตย แต่มองด้วยมิติเข้าใจสภาพความเป็นจริง
ผมเองเชื่อว่า คณะปฏิรูปฯ กำลังถูกสังคมส่องสปอตไลต์ ทั้งในแง่เป็นความหวังที่ฝากให้แก้ไข และล้มล้างความเลวร้ายและดำเนินการเอาผิดกับบุคคลในระบอบทักษิณที่ได้ฝังรากและแพร่เชื้อไปทั่ว
ขณะเดียวกัน สังคมก็เรียกร้องให้ใช้โอกาสนี้ทำให้เกิดการ "ปฏิรูป" อย่างแท้จริงคือให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นธรรม โดยมีกลไกของระบบและบุคคลที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจนักการเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลักดัน "การปฏิรูปสื่อ" เพื่อให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทำหน้าที่รายงานข่าวสาร และความรู้ ความคิด โดยเห็นแก่ผลประโยชน์สาธารณะและประเทศชาติ มิใช่เพื่อเป็นเครื่องมือปกป้องนักการเมืองเลว