หากจะนับมาถึงเดือนกันยายนปีนี้ (2006) ก็รวมเป็นเวลา 30 ปีแล้วที่ เหมาเจ๋อตง อดีตผู้นำจีนได้ล่วงลับไป ชื่อของเขาคงไม่ต้องพูดถึง เพราะเชื่อว่าคนไทยและชาวโลกจำนวนไม่น้อยน่าที่จะรู้จักดี อย่างน้อยก็ในแง่ที่ว่า เขาคือผู้นำจีนคนแรกของระบอบคอมมิวนิสต์ อันเป็นระบอบที่เริ่มปักหลักอยู่ในสังคมจีนมาตั้งแต่ปี 1949
เหมา เกิดในวันที่ 26 ธันวาคม 1893 ที่มณฑลหูหนาน ชีวิตในวัยเด็กของเขาเริ่มต้นไม่ค่อยโสภามากนัก ด้วยว่าเป็นครอบครัวชาวนาชั้นล่างที่ยากจน ต่อจนเขาเริ่มย่างสู่การเป็นวัยรุ่นไปแล้ว ฐานะครอบครัวจึงได้กระเตื้องขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง เหมา จึงได้รับการศึกษาที่ดีพอสมควร ถึงแม้การศึกษาที่ว่าจะเป็นไปตามแนวทางของลัทธิขงจื๊อก็ตาม
ชีวิตในช่วงวัยรุ่นของ เหมา นั้นเองที่ทำให้ เหมา ได้รับอิทธิพลความคิดทางการเมืองอันเนื่องมาจากการปฏิวัติสาธาณรัฐในปี 1911 ภายใต้การนำของ ดร.ซุนยัตเซ็น จากนั้นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ตามมาเป็นระลอกก็ทำให้ เหมา มีสำนึกที่ผูกติดกับการเมืองมาตลอด โดยเฉพาะเมื่อได้ย่างเข้าสู่วัยหนุ่มแล้วนั้น เหมา ได้ซึมซับเอาลัทธิมาร์กซ-เลนินเข้าไป และทำให้เชื่อว่าลัทธินี้คือทางออกของสังคมจีน
เหตุฉะนั้น เมื่อมีการประชุมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นในปี 1921 เหมา จึงมีส่วนร่วมไปกับเขาด้วย และหลังจากนั้นเรื่อยมา เหมา ก็มีชีวิตทางการเมืองที่ผูกติดกับพรรคการเมืองนี้เรื่อยมาตราบจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต
ชีวิตทางการเมืองของ เหมา ก็คล้ายๆ กับผู้นำทางการเมืองอีกจำนวนไม่น้อยที่มิใช่ชีวิตอันราบรื่นประดุจโรยด้วยกลีบกุหลาบไปตลอดเส้นทางเดิน กล่าวคือ กว่า เหมา จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำจีนได้นั้น เขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ นานัปการ ซึ่งมีตั้งแต่ความคิดเห็นต่อแนวทางปฏิวัติที่ต่างไปจากผู้นำพรรคคนอื่นๆ การถูกตามไล่ล่าของ เจียงไคเช็ค ผู้นำกว๋อหมินต่าง (ก๊กมินตั๋ง) ที่จงเกลียดจงชังลัทธิคอมมิวนิสต์
ฐานะผู้นำของ เหมา เริ่มได้รับการยอมรับในราวปลายทศวรรษ 1920 และยอมรับอย่างเต็มที่ในกลางทศวรรษ 1930 โดยเฉพาะกับยุทธศาสตร์การปฏิวัติที่เรียกกันต่อมาว่า “ชนบทล้อมเมือง” อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ได้ขึ้นมากุมการนำพรรคแล้ว ชาวจีนก็ต้องเผชิญกับการรุกรานของญี่ปุ่นในปี 1937 ครั้นพอสงครามกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลงในปี 1945 จีนทั้งประเทศก้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองระหว่างกว๋อหมินต่างกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เข้าต่อกรกับกว๋อหมินต่างเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองเหนือแผ่นดินจีน จนกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะในที่สุด
หลายคนคงจะเคยเห็นภาพของ เหมา ที่ยืนอยู่ท่ามกลางผู้นำจีนร่วมสมัยบนพลับพลาเทียนอันเหมินเมื่อปี 1949 เพื่อประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และจากนั้น เหมา ก็เป็นผู้นำจีนอย่างเป็นทางการสืบมา การเป็นผู้นำของเขานั้นอาจกล่าวได้ว่ามีความราบรื่นก็แต่ในระยะแรก คือระหว่างปี 1949 ถึง 1959 ที่ถือเป็นช่วงที่ผู้นำจีนยังมีความสามัคคีกันอยู่ แต่หลังจากนั้นเรื่อยมาก็ความสามัคคีนั้นก็ขาดสะบั้นลง เมื่อผู้นำคนอื่นๆ มีความขัดแย้งกับ เหมา ในเรื่องนโยบายการพัฒนาประเทศขึ้นในปี 1959 และหลังจากนั้นเรื่อยมา ความขัดแย้งดังกล่าวก็ฝังรากลึกและค่อยๆ ขยายตัวไปเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์
ประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางอุดมการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้นำกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ในยามที่จีนยังยากจนข้นแค้นอยู่นั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ควรยึดติดกับอุดมการณ์มากจนเกินไป หากแต่ควรที่จะมีความยืดหยุ่นที่จะนำเอาแนวทางอื่นใดก็ได้มาใช้ในการพัฒนา ถึงแม้แนวทางนั้นอาจจะมีลัทธิทุนนิยมเจือปนอยู่บ้างก็ตาม 1 ในผู้นำที่คิดเช่นนี้ก็คือ เติ้งเสี่ยวผิง และเพราะคิดเช่นนั้น เติ้ง จึงเสนอแนวทางของเขาผ่านสุภาษิตซื่อชวน (เสฉวน) ที่ชาวโลกรู้จักกันดี นั่นคือ “ไม่ว่าจะเป็นแมวดำหรือแมวเหลืองก็ตาม มันย่อมเป็นแมวดีเสมอตราบเท่าที่ยังจับหนูได้”
ต่อมา “แมว” ของ เติ้ง ในสุภาษิตนี้ก็กลายเป็น “แมวขาว-แมวดำ” หรือ “แมวสีอะไรก็ได้” มาจนทุกวันนี้
แต่ เหมา ไม่คิดเช่นนั้น โดย เหมา เห็นว่า ขืนจีนพัฒนาไปเช่นนั้นแล้วก็เป็นไปได้ว่าจีนจะถูกทำให้เป็นสังคมทุนนิยมไป ซึ่งจะทำให้การปฏิวัติที่ผ่านมาไร้ความหมาย เนื่องจากเป็นการปฏิวัติที่เป็นปฏิปักษ์กับลัทธิทุนนิยม ดังนั้น หลังจากที่ เหมา หมดความพยายามที่จะดึงให้ผู้นำในกลุ่มดังกล่าวกลับมาอยู่ในแนวทางเดิม (สังคมนิยม) ตามความคิดของตนแล้ว เหมา จึงใช้บารมีของตนก่อเหตุการณ์ที่เรียกว่า “การปฏิวัติวัฒนธรรม” ขึ้นมาในปี 1966 เพื่อทำการ “ชำระสะสาง” ความคิดของผู้นำกลุ่มนั้น ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ
ความสำเร็จของ เหมา ในการกำจัดกลุ่มผู้นำดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากการที่ชาวจีนในเวลานั้นยังให้ความศรัทธาต่อ เหมา และ เหมา ก็ได้ใช้ความศรัทธาที่ว่ามาแปรเป็นพลังมวลชนเพื่อเคลื่อนไหวการปฏิวัติวัฒนธรรม พลังมวลชนนี้เรียกตนเองว่า “ยามพิทักษ์แดง” (Red Guard) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเยาวชน ที่น่าสังเกตก็คือว่า การที่ เหมา สามารถก่อพลังมวลชนได้เช่นนี้เท่ากับสะท้อนให้เห็นถึงบารมีอันเปี่ยมล้นของตัวเขาเองอย่างชัดเจน
อาจกล่าวได้ว่า ด้วยศรัทธาและบารมีประกอบกัน เหมา จึงสามารถรักษาและนำพาสังคมจีนให้เดินไปตามแนวทางสังคมนิยมในความคิดของเขาได้เป็นผลสำเร็จ โดยผู้นำคนอื่นที่แม้จะไม่เห็นด้วยกับเขา และสามารถคัดง้างกับเขาได้บ้าง ผู้นำเหล่านี้ก็ไม่ทำ สิ่งที่ผู้นำเหล่านี้ทำก็คือ ยอมปล่อยให้ความสูญเสียเกิดขึ้นแก่สังคมจีนทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และโอกาสในการพัฒนาประเทศ ที่ซึ่งในขณะนั้นนานาประเทศต่างก็พัฒนาไปไม่รู้ถึงไหนต่อไหนแล้ว
ตราบจน เหมา สิ้นลมไปในวันที่ 9 กันยายน 1976 นั่นแล้ว กลุ่มผู้นำที่อยู่ตรงข้ามกับ เหมา จึงได้เข้าโค่นล้ม “แก๊งสี่คน” ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนแนวทางของ เหมา ลงไป การโค่นล้ม “แก๊งสี่คน” ที่มีภรรยาของ เหมา (เจียงชิง) เป็น 1 ในนั้นเกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม คือหลังจากที่ เหมา ตายไปไม่ถึงเดือน
แต่แม้ เหมา จะจากไปแล้วก็ตาม ก็อาจกล่าวได้ว่าเขายังไม่ได้ “ตายสนิท” ทั้งนี้เพราะอิทธิพลทางความคิดที่เขาปลูกฝังให้แก่สังคมจีนมายาวนานหลายสิบปีได้ฝังลึกลงไปในสังคมจีนจนสอดสนิท ผู้นำจีนที่สืบอำนาจต่อจากเขาต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะขจัดปัดเป่า “วิญญาณ” ของ เหมา ให้สลายไปจากจีน การขจัดปัดเป่าที่สำคัญครั้งหนึ่งก็คือ การประชุมคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 1978 ที่จัดให้มีขึ้นในวันที่ 18 ถึง 22 เดือนธันวาคม การประชุมครั้งนี้ได้มีการวิพากษ์แนวทางของ เหมา จนแทบไม่เหลือดี ในขณะเดียวกันก็สร้างแนวทางใหม่ผ่านนโยบายเปิดประเทศและปฏิรูปขึ้นมาแทนที่ และใช้นโนบายนี้เรื่อยมาจนจีนกลายเป็นจีนที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้
ควรกล่าวด้วยว่า ไม่ว่าจะจงใจหรือไม่ก็ตาม การประชุมที่มีขึ้นในเดือนธันวาคมปีนั้นช่างให้บังเอิญที่เป็นเดือนเดียวกับที่ เหมา เกิด และในเมื่อวันเกิดของ เหมา คือวันที่ 26 การขจัดปัดเป่า เหมา จึงมีขึ้นก่อนวันครบรอบวันเกิดของเขาเพียงแค่ 4 วัน ฉะนั้น หากจะมองในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ช่วงวันเวลาของการประชุมจึงไม่ต่างกับหลักหมายสำคัญของการ “ดับวิญญาณ” ปิดฉากยุคสมัยของ เหมา อย่างแท้จริง
คงเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบว่า ยุคของ เหมา กับยุคปัจจุบันยุคไหนดีกว่ายุคไหน เพราะประเด็นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับมุมมอง เหตุผล และผลประโยชน์ของแต่ละคนไป แต่สิ่งที่กล่าวได้อย่างค่อนข้างแน่ชัดก็คือว่า แม้ เหมา จะถูกมองเป็นเผด็จการและมีแนวทางเฉพาะตน แต่ก็เป็นที่ยืนยันได้ว่า เหมา คิดและทำเช่นนั้นด้วยความบริสุทธิ์ใจ อย่างน้อยก็ทั้งก่อนและหลังการเสียชีวิตของเขาไปแล้วต่างก็พบว่า เหมา ไม่ได้มีความมั่งคั่งร่ำรวยอะไรเลย
ผิดกับผู้นำอีกจำนวนไม่น้อยที่มีความเป็นเผด็จการไม่ต่างกับ เหมา และวิพากษ์ เหมา ว่ามีแนวทางพัฒนาที่ล้าหลัง แต่ผู้นำกลุ่มนี้กลับมั่งคั่งร่ำรวยจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง ปรากฏการณ์ทำนองนี้ถือเป็นภาพที่สามารถเห็นได้เป็นปกติในหมู่ผู้เผด็จการทั้งหลาย
30 ปีให้หลังมรณกรรมของ เหมา สังคมจีนได้พลิกโฉมหน้าไปจากยุคสมัยของเขาอย่างมาก จากยุคหนึ่งที่การมีชีวิตที่สมถะ กินพออิ่ม นอนพออุ่น และมีจิตใจที่เสียสละ ก็กลายมาเป็นต่างคนต่างมุ่งไปสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยภายใต้คติพจน์ที่ว่า “ความรวยคือเกียรติยศ”
จนทุกวันนี้แนวทางของ เหมา แทบไม่มีใครพูดถึงอีกแล้ว จะมีก็แต่เพียงชนชั้นล่างบางกลุ่มบางคนเท่านั้นที่ยังยกย่องเขาอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ด้วยแง่มุมทางความคิดหรือแนวทางแต่อย่างใด หากแต่ด้วยเห็นว่าเขาคือเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์
เช่นนี้แล้วเราจะอธิบายตัวตนของ เหมา ภายหลังมรณกรรมว่าอย่างไรดี?
เหมา เกิดในวันที่ 26 ธันวาคม 1893 ที่มณฑลหูหนาน ชีวิตในวัยเด็กของเขาเริ่มต้นไม่ค่อยโสภามากนัก ด้วยว่าเป็นครอบครัวชาวนาชั้นล่างที่ยากจน ต่อจนเขาเริ่มย่างสู่การเป็นวัยรุ่นไปแล้ว ฐานะครอบครัวจึงได้กระเตื้องขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง เหมา จึงได้รับการศึกษาที่ดีพอสมควร ถึงแม้การศึกษาที่ว่าจะเป็นไปตามแนวทางของลัทธิขงจื๊อก็ตาม
ชีวิตในช่วงวัยรุ่นของ เหมา นั้นเองที่ทำให้ เหมา ได้รับอิทธิพลความคิดทางการเมืองอันเนื่องมาจากการปฏิวัติสาธาณรัฐในปี 1911 ภายใต้การนำของ ดร.ซุนยัตเซ็น จากนั้นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ตามมาเป็นระลอกก็ทำให้ เหมา มีสำนึกที่ผูกติดกับการเมืองมาตลอด โดยเฉพาะเมื่อได้ย่างเข้าสู่วัยหนุ่มแล้วนั้น เหมา ได้ซึมซับเอาลัทธิมาร์กซ-เลนินเข้าไป และทำให้เชื่อว่าลัทธินี้คือทางออกของสังคมจีน
เหตุฉะนั้น เมื่อมีการประชุมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นในปี 1921 เหมา จึงมีส่วนร่วมไปกับเขาด้วย และหลังจากนั้นเรื่อยมา เหมา ก็มีชีวิตทางการเมืองที่ผูกติดกับพรรคการเมืองนี้เรื่อยมาตราบจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต
ชีวิตทางการเมืองของ เหมา ก็คล้ายๆ กับผู้นำทางการเมืองอีกจำนวนไม่น้อยที่มิใช่ชีวิตอันราบรื่นประดุจโรยด้วยกลีบกุหลาบไปตลอดเส้นทางเดิน กล่าวคือ กว่า เหมา จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำจีนได้นั้น เขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ นานัปการ ซึ่งมีตั้งแต่ความคิดเห็นต่อแนวทางปฏิวัติที่ต่างไปจากผู้นำพรรคคนอื่นๆ การถูกตามไล่ล่าของ เจียงไคเช็ค ผู้นำกว๋อหมินต่าง (ก๊กมินตั๋ง) ที่จงเกลียดจงชังลัทธิคอมมิวนิสต์
ฐานะผู้นำของ เหมา เริ่มได้รับการยอมรับในราวปลายทศวรรษ 1920 และยอมรับอย่างเต็มที่ในกลางทศวรรษ 1930 โดยเฉพาะกับยุทธศาสตร์การปฏิวัติที่เรียกกันต่อมาว่า “ชนบทล้อมเมือง” อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ได้ขึ้นมากุมการนำพรรคแล้ว ชาวจีนก็ต้องเผชิญกับการรุกรานของญี่ปุ่นในปี 1937 ครั้นพอสงครามกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลงในปี 1945 จีนทั้งประเทศก้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองระหว่างกว๋อหมินต่างกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เข้าต่อกรกับกว๋อหมินต่างเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองเหนือแผ่นดินจีน จนกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะในที่สุด
หลายคนคงจะเคยเห็นภาพของ เหมา ที่ยืนอยู่ท่ามกลางผู้นำจีนร่วมสมัยบนพลับพลาเทียนอันเหมินเมื่อปี 1949 เพื่อประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และจากนั้น เหมา ก็เป็นผู้นำจีนอย่างเป็นทางการสืบมา การเป็นผู้นำของเขานั้นอาจกล่าวได้ว่ามีความราบรื่นก็แต่ในระยะแรก คือระหว่างปี 1949 ถึง 1959 ที่ถือเป็นช่วงที่ผู้นำจีนยังมีความสามัคคีกันอยู่ แต่หลังจากนั้นเรื่อยมาก็ความสามัคคีนั้นก็ขาดสะบั้นลง เมื่อผู้นำคนอื่นๆ มีความขัดแย้งกับ เหมา ในเรื่องนโยบายการพัฒนาประเทศขึ้นในปี 1959 และหลังจากนั้นเรื่อยมา ความขัดแย้งดังกล่าวก็ฝังรากลึกและค่อยๆ ขยายตัวไปเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์
ประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางอุดมการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้นำกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ในยามที่จีนยังยากจนข้นแค้นอยู่นั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ควรยึดติดกับอุดมการณ์มากจนเกินไป หากแต่ควรที่จะมีความยืดหยุ่นที่จะนำเอาแนวทางอื่นใดก็ได้มาใช้ในการพัฒนา ถึงแม้แนวทางนั้นอาจจะมีลัทธิทุนนิยมเจือปนอยู่บ้างก็ตาม 1 ในผู้นำที่คิดเช่นนี้ก็คือ เติ้งเสี่ยวผิง และเพราะคิดเช่นนั้น เติ้ง จึงเสนอแนวทางของเขาผ่านสุภาษิตซื่อชวน (เสฉวน) ที่ชาวโลกรู้จักกันดี นั่นคือ “ไม่ว่าจะเป็นแมวดำหรือแมวเหลืองก็ตาม มันย่อมเป็นแมวดีเสมอตราบเท่าที่ยังจับหนูได้”
ต่อมา “แมว” ของ เติ้ง ในสุภาษิตนี้ก็กลายเป็น “แมวขาว-แมวดำ” หรือ “แมวสีอะไรก็ได้” มาจนทุกวันนี้
แต่ เหมา ไม่คิดเช่นนั้น โดย เหมา เห็นว่า ขืนจีนพัฒนาไปเช่นนั้นแล้วก็เป็นไปได้ว่าจีนจะถูกทำให้เป็นสังคมทุนนิยมไป ซึ่งจะทำให้การปฏิวัติที่ผ่านมาไร้ความหมาย เนื่องจากเป็นการปฏิวัติที่เป็นปฏิปักษ์กับลัทธิทุนนิยม ดังนั้น หลังจากที่ เหมา หมดความพยายามที่จะดึงให้ผู้นำในกลุ่มดังกล่าวกลับมาอยู่ในแนวทางเดิม (สังคมนิยม) ตามความคิดของตนแล้ว เหมา จึงใช้บารมีของตนก่อเหตุการณ์ที่เรียกว่า “การปฏิวัติวัฒนธรรม” ขึ้นมาในปี 1966 เพื่อทำการ “ชำระสะสาง” ความคิดของผู้นำกลุ่มนั้น ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ
ความสำเร็จของ เหมา ในการกำจัดกลุ่มผู้นำดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากการที่ชาวจีนในเวลานั้นยังให้ความศรัทธาต่อ เหมา และ เหมา ก็ได้ใช้ความศรัทธาที่ว่ามาแปรเป็นพลังมวลชนเพื่อเคลื่อนไหวการปฏิวัติวัฒนธรรม พลังมวลชนนี้เรียกตนเองว่า “ยามพิทักษ์แดง” (Red Guard) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเยาวชน ที่น่าสังเกตก็คือว่า การที่ เหมา สามารถก่อพลังมวลชนได้เช่นนี้เท่ากับสะท้อนให้เห็นถึงบารมีอันเปี่ยมล้นของตัวเขาเองอย่างชัดเจน
อาจกล่าวได้ว่า ด้วยศรัทธาและบารมีประกอบกัน เหมา จึงสามารถรักษาและนำพาสังคมจีนให้เดินไปตามแนวทางสังคมนิยมในความคิดของเขาได้เป็นผลสำเร็จ โดยผู้นำคนอื่นที่แม้จะไม่เห็นด้วยกับเขา และสามารถคัดง้างกับเขาได้บ้าง ผู้นำเหล่านี้ก็ไม่ทำ สิ่งที่ผู้นำเหล่านี้ทำก็คือ ยอมปล่อยให้ความสูญเสียเกิดขึ้นแก่สังคมจีนทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และโอกาสในการพัฒนาประเทศ ที่ซึ่งในขณะนั้นนานาประเทศต่างก็พัฒนาไปไม่รู้ถึงไหนต่อไหนแล้ว
ตราบจน เหมา สิ้นลมไปในวันที่ 9 กันยายน 1976 นั่นแล้ว กลุ่มผู้นำที่อยู่ตรงข้ามกับ เหมา จึงได้เข้าโค่นล้ม “แก๊งสี่คน” ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนแนวทางของ เหมา ลงไป การโค่นล้ม “แก๊งสี่คน” ที่มีภรรยาของ เหมา (เจียงชิง) เป็น 1 ในนั้นเกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม คือหลังจากที่ เหมา ตายไปไม่ถึงเดือน
แต่แม้ เหมา จะจากไปแล้วก็ตาม ก็อาจกล่าวได้ว่าเขายังไม่ได้ “ตายสนิท” ทั้งนี้เพราะอิทธิพลทางความคิดที่เขาปลูกฝังให้แก่สังคมจีนมายาวนานหลายสิบปีได้ฝังลึกลงไปในสังคมจีนจนสอดสนิท ผู้นำจีนที่สืบอำนาจต่อจากเขาต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะขจัดปัดเป่า “วิญญาณ” ของ เหมา ให้สลายไปจากจีน การขจัดปัดเป่าที่สำคัญครั้งหนึ่งก็คือ การประชุมคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 1978 ที่จัดให้มีขึ้นในวันที่ 18 ถึง 22 เดือนธันวาคม การประชุมครั้งนี้ได้มีการวิพากษ์แนวทางของ เหมา จนแทบไม่เหลือดี ในขณะเดียวกันก็สร้างแนวทางใหม่ผ่านนโยบายเปิดประเทศและปฏิรูปขึ้นมาแทนที่ และใช้นโนบายนี้เรื่อยมาจนจีนกลายเป็นจีนที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้
ควรกล่าวด้วยว่า ไม่ว่าจะจงใจหรือไม่ก็ตาม การประชุมที่มีขึ้นในเดือนธันวาคมปีนั้นช่างให้บังเอิญที่เป็นเดือนเดียวกับที่ เหมา เกิด และในเมื่อวันเกิดของ เหมา คือวันที่ 26 การขจัดปัดเป่า เหมา จึงมีขึ้นก่อนวันครบรอบวันเกิดของเขาเพียงแค่ 4 วัน ฉะนั้น หากจะมองในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ช่วงวันเวลาของการประชุมจึงไม่ต่างกับหลักหมายสำคัญของการ “ดับวิญญาณ” ปิดฉากยุคสมัยของ เหมา อย่างแท้จริง
คงเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบว่า ยุคของ เหมา กับยุคปัจจุบันยุคไหนดีกว่ายุคไหน เพราะประเด็นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับมุมมอง เหตุผล และผลประโยชน์ของแต่ละคนไป แต่สิ่งที่กล่าวได้อย่างค่อนข้างแน่ชัดก็คือว่า แม้ เหมา จะถูกมองเป็นเผด็จการและมีแนวทางเฉพาะตน แต่ก็เป็นที่ยืนยันได้ว่า เหมา คิดและทำเช่นนั้นด้วยความบริสุทธิ์ใจ อย่างน้อยก็ทั้งก่อนและหลังการเสียชีวิตของเขาไปแล้วต่างก็พบว่า เหมา ไม่ได้มีความมั่งคั่งร่ำรวยอะไรเลย
ผิดกับผู้นำอีกจำนวนไม่น้อยที่มีความเป็นเผด็จการไม่ต่างกับ เหมา และวิพากษ์ เหมา ว่ามีแนวทางพัฒนาที่ล้าหลัง แต่ผู้นำกลุ่มนี้กลับมั่งคั่งร่ำรวยจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง ปรากฏการณ์ทำนองนี้ถือเป็นภาพที่สามารถเห็นได้เป็นปกติในหมู่ผู้เผด็จการทั้งหลาย
30 ปีให้หลังมรณกรรมของ เหมา สังคมจีนได้พลิกโฉมหน้าไปจากยุคสมัยของเขาอย่างมาก จากยุคหนึ่งที่การมีชีวิตที่สมถะ กินพออิ่ม นอนพออุ่น และมีจิตใจที่เสียสละ ก็กลายมาเป็นต่างคนต่างมุ่งไปสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยภายใต้คติพจน์ที่ว่า “ความรวยคือเกียรติยศ”
จนทุกวันนี้แนวทางของ เหมา แทบไม่มีใครพูดถึงอีกแล้ว จะมีก็แต่เพียงชนชั้นล่างบางกลุ่มบางคนเท่านั้นที่ยังยกย่องเขาอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ด้วยแง่มุมทางความคิดหรือแนวทางแต่อย่างใด หากแต่ด้วยเห็นว่าเขาคือเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์
เช่นนี้แล้วเราจะอธิบายตัวตนของ เหมา ภายหลังมรณกรรมว่าอย่างไรดี?