คุณวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ แสดงท่าทีไม่ค่อยพอใจนักที่ถูกนักข่าวซักถามเรื่องหลักธรรมาภิบาลกับการที่ธนาคารแห่งนี้ไปมีธุรกรรมกับเงินที่ใช้ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ป
เพราะมีการสร้างบริษัทที่เข้าไปถือหุ้นให้ดูเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเกินร้อยละ 50 เพื่อให้บริษัทชินคอร์ปยังคงดูเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย
รายการนี้มีคนวางแผนให้ตั้งบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ขึ้นมา แล้วตั้งอีกบริษัทชื่อ “กุหลาบแก้ว” เพื่อให้เข้าไปถือหุ้นในซีด้าร์ โฮลดิ้งส์ โดยกุหลาบแก้วซึ่ง คุณพงส์ สารสิน ถึงขนาดออกชื่อเป็นประธาน และคุณศุภเดช พูนพิพัฒน์ แห่งธนาคารธนชาติ เป็นผู้ถือหุ้นด้วย
เงินที่บริษัทกุหลาบแก้วไปซื้อหุ้นในบริษัทซีด้าร์ โฮลดิ้งส์ ก็เป็นเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ โดยบริษัทไซเพลส โฮลดิ้งส์ ของสิงคโปร์ เป็นผู้ค้ำประกัน
ที่ต้องมีการโอนเงินลงทุนอย่างยอกย้อน ก็เพื่อพยายามทำให้บริษัทที่มาซื้อหุ้นในชินคอร์ปดูเป็นบริษัทสัญชาติไทย เพื่อให้บริษัทชินคอร์ปยังคงเป็นสัญชาติไทยนั่นเอง
จะได้ไม่มีปัญหาการที่บริษัทในเครือ อย่างโทรทัศน์ไอทีวี และธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีต่างด้าวถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 50
แต่ที่ถูกสังคมตั้งข้อสงสัยในแง่เงินลงทุน สิทธิการได้เงินปันผล และสิทธิการออกเสียงแค่น้อยนิด จึงน่าสงสัยว่าอำนาจในการควบคุมบริษัทดูเป็นของต่างชาติ
ยิ่งเมื่อมีข่าวว่าผลการตรวจสอบโดยชุดของคุณอรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีการพัฒนาธุรกิจการค้า ตามที่มีผู้ร้องเรียนนั้น สรุปออกมาในทำนองว่า การถือหุ้นในบริษัทกุหลาบแก้ว โดยชื่อคนไทยนั้นเป็นเพียงการใช้ชื่อแทนหรือนอมินี
นี่เองกระทรวงพาณิชย์ จึงพยายามตั้งคณะกรรมการอีกชุดเพื่อดึงเกมการตรวจสอบให้ยืดออกไป แถมยังยื้อไปตรวจสอบให้ยุ่งไปอีก 16 บริษัทว่ามีการถือหุ้นแบบนอมินีที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่
กรณีการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป จึงเสมือนจุดชนวนสำคัญที่ทำให้สังคมไทยวิพากษ์ถึงความไม่ชอบธรรมในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวโยงไปถึงตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการกระทำที่ผ่านกระบวนการซื้อขายเปลี่ยนมือหุ้นของคนในครอบครัว แล้วผ่านมาขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ด้วยมูลค่าถึง 73,000 ล้านบาท โดยไม่ต้องเสียภาษี
ธุรกรรมเหล่านี้จึงเป็นเรื่องวิชาการด้านการบริหารธุรกิจจะต้องบันทึกไว้เป็นกรณีศึกษาในประเด็น “การหาประโยชน์จากกฎ ระเบียบ แต่ผิดคุณธรรม”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดกับครอบครัวของผู้นำประเทศ ซึ่งสังคมโลกคาดหวังความซื่อสัตย์และโปร่งใส
ดังนั้นยิ่งสังคมประจักษ์ชัด และเห็นว่าคนที่จะเป็นผู้บริหารประเทศที่ยอมรับได้นั้น จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียสละและทำงานโดยมุ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติ มิใช่เพื่อหาผลประโยชน์แกตัวเองและคนใกล้ชิด
บุคคลหรือธุรกิจที่ไปเกี่ยวข้องในทางสนับสนุน กรณีที่ถูกสังคมวิพากษ์ว่าเป็นการกระทำที่ขาดคุณธรรมก็ย่อมจะพลอยถูกประเมินคุณค่าจากสังคมในทางที่เสียหายไปด้วยไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมายภาษี หรือการเงินก็ตาม
ส่วนที่ประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ชี้แจงเรื่องการถือหุ้นในบริษัทซีด้าร์ โฮลดิ้งส์ 5% ว่าเป็นการลงทุนระยะยาว หรือการร่วมกับธนาคารกรุงเทพ ปล่อยกู้ให้แก่คุณศุภเดช ระดับ 2 หมื่นกว่าล้านให้ “กุหลาบแก้ว” ไปซื้อหุ้นในซีด้าร์ โฮลดิ้งส์ นั้น จะว่าเป็นเหตุผลทางธุรกิจ ก็ว่ากันไป
แต่ความรู้สึกของผู้คนในสังคมเป็นอีกมิติหนึ่ง
ก็คล้ายกับเมื่อครั้งที่ธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ให้ค่ายแกรมมี่ไปซื้อหุ้นมติชน แล้วตอนนั้นมีปฏิกิริยาของสังคม ปัญญาชน และผู้เห็นความสำคัญของความมีอิสระและเสรีภาพของสื่อที่กลัวถูกการเมืองแทรกแซง จึงพากันคัดค้าน จนแกรมมี่ต้องยอมถอยและลดสัดส่วนการถือหุ้นลง
ครั้งนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งอาจมองด้วยมิติทางธุรกิจแต่ก็ถูกสังคมมองด้วยความรู้สึกไม่ดีนัก
ปรากฏการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การประกอบธุรกิจยุคใหม่ต้องมีการทบทวน และตระหนักในเรื่องผลกระทบต่อสังคมและคุณธรรมด้วยแล้ว
จริงอยู่ได้มีกระแสของธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมที่เรียกว่า Corporate Social Responsibility หรือ CSR
แต่การคำนึงถึงหลัก CSR ก็มิใช่แค่การช่วยสังคมในเชิงสังคมสงเคราะห์ แต่ควรหมายถึงการไม่ให้บทบาทของธุรกิจแต่ละประเภทขององค์กรไปส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของสังคมและประเทศชาติ
โดยเฉพาะต้องมีหลักธรรมาภิบาล คือการซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ถูกต้อง เป็นธรรม และตรวจสอบได้ที่ตัวกิจการเองต้องยึดมั่น ขณะที่หลักพิจารณาลูกค้าและคู่ค้าก็ต้องคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลด้วย
กิจการธนาคารหรือสถาบันการเงินมีส่วนสำคัญในการไปสนับสนุนและเสริมพลังในการดำเนินการของลูกค้าและพันธมิตรให้ไปในทางที่ดีหรือไม่ดีได้รุนแรงขึ้น
แง่คิดขององค์กรที่ตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคมและความเลวร้ายที่เกิดจากนักธุรกิจการเมืองที่ใช้อำนาจเงิน อำนาจทางการเมืองครอบงำ และแทรกแซง จะทำให้ระบบบริหารและการตรวจสอบเสียหาย ทำงานไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่อยู่ในจุดเปลี่ยนที่ท้าทาย
แต่วิกฤติด้านจริยธรรมและคุณธรรมที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากการยอมรับใช้นักการเมืองของผู้เห็นแก่ผลประโยชน์ ได้แพร่ความเลวร้ายไปทั้งวงราชการ รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้อง
bปรากฏการณ์เหล่านี้มีตัวอย่างให้รับรู้มากมาย เช่น การทุจริตฉ้อฉลในทุกโครงการใหญ่ๆ ที่เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเกิดเครือข่ายเรียกร้องให้ “หยุดระบอบทักษิณ”อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพราะมีการสร้างบริษัทที่เข้าไปถือหุ้นให้ดูเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเกินร้อยละ 50 เพื่อให้บริษัทชินคอร์ปยังคงดูเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย
รายการนี้มีคนวางแผนให้ตั้งบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ขึ้นมา แล้วตั้งอีกบริษัทชื่อ “กุหลาบแก้ว” เพื่อให้เข้าไปถือหุ้นในซีด้าร์ โฮลดิ้งส์ โดยกุหลาบแก้วซึ่ง คุณพงส์ สารสิน ถึงขนาดออกชื่อเป็นประธาน และคุณศุภเดช พูนพิพัฒน์ แห่งธนาคารธนชาติ เป็นผู้ถือหุ้นด้วย
เงินที่บริษัทกุหลาบแก้วไปซื้อหุ้นในบริษัทซีด้าร์ โฮลดิ้งส์ ก็เป็นเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ โดยบริษัทไซเพลส โฮลดิ้งส์ ของสิงคโปร์ เป็นผู้ค้ำประกัน
ที่ต้องมีการโอนเงินลงทุนอย่างยอกย้อน ก็เพื่อพยายามทำให้บริษัทที่มาซื้อหุ้นในชินคอร์ปดูเป็นบริษัทสัญชาติไทย เพื่อให้บริษัทชินคอร์ปยังคงเป็นสัญชาติไทยนั่นเอง
จะได้ไม่มีปัญหาการที่บริษัทในเครือ อย่างโทรทัศน์ไอทีวี และธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีต่างด้าวถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 50
แต่ที่ถูกสังคมตั้งข้อสงสัยในแง่เงินลงทุน สิทธิการได้เงินปันผล และสิทธิการออกเสียงแค่น้อยนิด จึงน่าสงสัยว่าอำนาจในการควบคุมบริษัทดูเป็นของต่างชาติ
ยิ่งเมื่อมีข่าวว่าผลการตรวจสอบโดยชุดของคุณอรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีการพัฒนาธุรกิจการค้า ตามที่มีผู้ร้องเรียนนั้น สรุปออกมาในทำนองว่า การถือหุ้นในบริษัทกุหลาบแก้ว โดยชื่อคนไทยนั้นเป็นเพียงการใช้ชื่อแทนหรือนอมินี
นี่เองกระทรวงพาณิชย์ จึงพยายามตั้งคณะกรรมการอีกชุดเพื่อดึงเกมการตรวจสอบให้ยืดออกไป แถมยังยื้อไปตรวจสอบให้ยุ่งไปอีก 16 บริษัทว่ามีการถือหุ้นแบบนอมินีที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่
กรณีการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป จึงเสมือนจุดชนวนสำคัญที่ทำให้สังคมไทยวิพากษ์ถึงความไม่ชอบธรรมในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวโยงไปถึงตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการกระทำที่ผ่านกระบวนการซื้อขายเปลี่ยนมือหุ้นของคนในครอบครัว แล้วผ่านมาขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ด้วยมูลค่าถึง 73,000 ล้านบาท โดยไม่ต้องเสียภาษี
ธุรกรรมเหล่านี้จึงเป็นเรื่องวิชาการด้านการบริหารธุรกิจจะต้องบันทึกไว้เป็นกรณีศึกษาในประเด็น “การหาประโยชน์จากกฎ ระเบียบ แต่ผิดคุณธรรม”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดกับครอบครัวของผู้นำประเทศ ซึ่งสังคมโลกคาดหวังความซื่อสัตย์และโปร่งใส
ดังนั้นยิ่งสังคมประจักษ์ชัด และเห็นว่าคนที่จะเป็นผู้บริหารประเทศที่ยอมรับได้นั้น จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียสละและทำงานโดยมุ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติ มิใช่เพื่อหาผลประโยชน์แกตัวเองและคนใกล้ชิด
บุคคลหรือธุรกิจที่ไปเกี่ยวข้องในทางสนับสนุน กรณีที่ถูกสังคมวิพากษ์ว่าเป็นการกระทำที่ขาดคุณธรรมก็ย่อมจะพลอยถูกประเมินคุณค่าจากสังคมในทางที่เสียหายไปด้วยไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมายภาษี หรือการเงินก็ตาม
ส่วนที่ประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ชี้แจงเรื่องการถือหุ้นในบริษัทซีด้าร์ โฮลดิ้งส์ 5% ว่าเป็นการลงทุนระยะยาว หรือการร่วมกับธนาคารกรุงเทพ ปล่อยกู้ให้แก่คุณศุภเดช ระดับ 2 หมื่นกว่าล้านให้ “กุหลาบแก้ว” ไปซื้อหุ้นในซีด้าร์ โฮลดิ้งส์ นั้น จะว่าเป็นเหตุผลทางธุรกิจ ก็ว่ากันไป
แต่ความรู้สึกของผู้คนในสังคมเป็นอีกมิติหนึ่ง
ก็คล้ายกับเมื่อครั้งที่ธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ให้ค่ายแกรมมี่ไปซื้อหุ้นมติชน แล้วตอนนั้นมีปฏิกิริยาของสังคม ปัญญาชน และผู้เห็นความสำคัญของความมีอิสระและเสรีภาพของสื่อที่กลัวถูกการเมืองแทรกแซง จึงพากันคัดค้าน จนแกรมมี่ต้องยอมถอยและลดสัดส่วนการถือหุ้นลง
ครั้งนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งอาจมองด้วยมิติทางธุรกิจแต่ก็ถูกสังคมมองด้วยความรู้สึกไม่ดีนัก
ปรากฏการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การประกอบธุรกิจยุคใหม่ต้องมีการทบทวน และตระหนักในเรื่องผลกระทบต่อสังคมและคุณธรรมด้วยแล้ว
จริงอยู่ได้มีกระแสของธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมที่เรียกว่า Corporate Social Responsibility หรือ CSR
แต่การคำนึงถึงหลัก CSR ก็มิใช่แค่การช่วยสังคมในเชิงสังคมสงเคราะห์ แต่ควรหมายถึงการไม่ให้บทบาทของธุรกิจแต่ละประเภทขององค์กรไปส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของสังคมและประเทศชาติ
โดยเฉพาะต้องมีหลักธรรมาภิบาล คือการซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ถูกต้อง เป็นธรรม และตรวจสอบได้ที่ตัวกิจการเองต้องยึดมั่น ขณะที่หลักพิจารณาลูกค้าและคู่ค้าก็ต้องคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลด้วย
กิจการธนาคารหรือสถาบันการเงินมีส่วนสำคัญในการไปสนับสนุนและเสริมพลังในการดำเนินการของลูกค้าและพันธมิตรให้ไปในทางที่ดีหรือไม่ดีได้รุนแรงขึ้น
แง่คิดขององค์กรที่ตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคมและความเลวร้ายที่เกิดจากนักธุรกิจการเมืองที่ใช้อำนาจเงิน อำนาจทางการเมืองครอบงำ และแทรกแซง จะทำให้ระบบบริหารและการตรวจสอบเสียหาย ทำงานไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่อยู่ในจุดเปลี่ยนที่ท้าทาย
แต่วิกฤติด้านจริยธรรมและคุณธรรมที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากการยอมรับใช้นักการเมืองของผู้เห็นแก่ผลประโยชน์ ได้แพร่ความเลวร้ายไปทั้งวงราชการ รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้อง
bปรากฏการณ์เหล่านี้มีตัวอย่างให้รับรู้มากมาย เช่น การทุจริตฉ้อฉลในทุกโครงการใหญ่ๆ ที่เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเกิดเครือข่ายเรียกร้องให้ “หยุดระบอบทักษิณ”อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ