ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน
ราชบัณฑิต
คำกล่าวของลอร์ด แอคตัน ที่มีการอ้างบ่อยที่สุดคือเรื่องอำนาจทำให้คนเสียคน โดยลอร์ด แอคตัน กล่าวว่า “อำนาจมีแนวโน้มที่จะทำให้คนเสียคน และอำนาจเด็ดขาดจะทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น”
(Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely)
ลอร์ด แอคตัน เป็นนักประวัติศาสตร์แต่เขียนหนังสือเกี่ยวกับการเมืองและปรัชญาการเมืองไว้มาก สิ่งที่ ลอร์ด แอคตัน ได้กล่าวไว้นั้นมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมพิสูจน์คำกล่าวได้เป็นอย่างดีในหลายสังคม ในหลายสังคมจะปรากฏผู้นำการเมืองที่ลุแก่อำนาจ ละเมิดหลักนิติธรรม ฉ้อราษฎร์บังหลวง กระทำการขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผยองในอำนาจราชศักดิ์ และมีพฤติกรรมที่เกินเลยจากสิ่งที่ควรเป็น ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือการถูกทำให้เสียคนโดยอำนาจทางการเมืองนั่นเอง และเป็นการสนับสนุนคำกล่าวของลอร์ด แอคตัน
ลอร์ด แอคตัน ได้เขียนเตือนไว้ถึงผลเลวร้ายทางการเมืองที่จะมีต่อตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจ และต่อคนในสังคมในหลายแง่มุม สิ่งที่กล่าวต่อไปนี้จะเป็นความรู้และข้อคิดเกี่ยวกับอำนาจทางการเมือง มีความจำเป็นที่จะต้องรักษาส่วนของภาษาอังกฤษไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ที่จะนำไปกล่าวอ้างต่อไป
ในส่วนของอำนาจทางการเมืองนั้น ลอร์ด แอคตัน ได้กล่าวว่า “และจงจำไว้ เมื่อใดก็ตามที่อำนาจอยู่ในมือคนไม่กี่คน บ่อยครั้งคนไม่กี่คนดังกล่าวนั้นมักจะเป็นคนซึ่งมีจิตใจที่เป็นโจรผู้ร้ายจะเป็นผู้กุมอำนาจ ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ข้ออ้างดังกล่าวมาแล้ว อำนาจทั้งหลายจะทำให้คนเสียคน และอำนาจเด็ดขาดจะทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น”
(And remember, where you have a concentration of power in a few hands, all too frequently men with the mentality of gangsters get control. History has proven that. All power corrupt; absolute power corrupts absolutely.)
“ความชั่วข้อหนึ่งของระบบประชาธิปไตยก็คือ การเป็นทรราชของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งด้วยการใช้กำลังหรือใช้การฉ้อโกง”
(The one prevailing evil of democracy is the tyranny of the party that succeeds, by force or fraud, in carrying elections.)
“อำนาจที่ไม่มีการจำกัดมีแนวโน้มที่จะทำลายจิตใจของผู้ทรงอำนาจนั้น”
(Unlimited power is apt to corrupt the minds of those who possess it.)
“การมีอำนาจที่ไม่จำกัดจะกัดกร่อนจิตสำนึกถูกผิด ทำให้จิตใจแข็งกระด้าง และทำให้ความเข้าใจสับสน”
(The possession of unlimited power corrodes the conscience, hardens the heart, and confounds the understanding.)
“ผู้ซึ่งมีอำนาจมากจะทำบาปมากเป็นเงาตามตัว ไม่มีทฤษฎีใดในวิชาเรขาคณิตที่จะมีความแน่นอนยิ่งกว่านี้”
(Those who have more power are liable to sin more, no theorem in geometry is more certain than that.)
ในส่วนที่เกี่ยวกับเสรีภาพนั้น ลอร์ด แอคตัน กล่าวไว้อย่างน่าคิดดังต่อไปนี้ คือ
“เสรีภาพไม่ใช่วิธี (means) ไปสู่เป้าหมายสูงส่งทางการเมือง แต่ตัวเสรีภาพเองนั้นเป็นเป้าหมายสูงสุดทางการเมือง เสรีภาพเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยประโยชน์กับทุกคน และจะไม่มีการต่อต้านจากฝ่ายใดอย่างแท้จริง”
(Liberty is not a means to a higher political end. It is itself the highest political end...liberty is the only object which benefits all alike, and provokes no sincere opposition...)
“เมื่อพูดถึงเสรีภาพ ข้าพเจ้าหมายถึงหลักประกันที่ว่า ทุกคนจะได้รับการคุ้มครองในการกระทำในสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นหน้าที่ที่จะต่อสู้กับอิทธิพลของอำนาจและเสียงข้างมาก ต่อสู้กับประเพณีและความคิดเห็น”
(By liberty I mean the assurance that every man shall be protected in doing what he believes to be his duty against the influences of authority and majorities, custom and opinion.)
“การทดสอบที่แน่นอนที่สุดเพื่อจะดูว่าประเทศนั้นมีเสรีภาพหรือไม่ ก็คือการดูว่าฝ่ายเสียงข้างน้อยได้รับความคุ้มครองเพียงใด”
(The most certain test by which we judge whether a country is really free is the amount of security enjoyed by minorities.)
จากที่กล่าวมานั้นจะเห็นว่า ในส่วนเสรีภาพนั้นเป็นกรรมวิธีแต่เป็นเป้าหมายอันสูงสุด ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่าประชาธิปไตยซึ่งเป็นกรรมวิธีการเข้าสู่อำนาจไม่ใช่เป้าหมาย คนเข้าใจประชาธิปไตยย่อมรู้ว่าประชาธิปไตยจะต้องเป็นเป้าหมายสูงสุด ดังนั้น ใครก็ตามที่คิดว่าประชาธิปไตยเป็นเพียงกรรมวิธีไม่ใช่เป้าหมายอันสูงสุด ย่อมขัดแย้งกับสิ่งที่กล่าวมาข้างบน และเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างแน่นอน ยกเว้นแต่บุคคลผู้นั้นมิได้มีจิตสำนึกและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ในส่วนที่เกี่ยวกับศีลธรรม ความโปร่งใส ความใจกว้าง ลอร์ด แอคตัน กล่าวว่า “ความคิดเห็นอาจจะเปลี่ยนแปลง ท่าทีการแสดงออกอาจจะแตกต่าง ลัทธิความเชื่ออาจจะขึ้นและลง แต่กฎแห่งศีลธรรมบันทึกไว้บนโต๊ะแห่งความเป็นนิรันดร”
(Opinions alter, manners change, creeds rise and fall, but the moral laws are written on the table of eternity.)
ทุกอย่างที่เป็นความลับจะนำไปสู่ความเสื่อม แม้การวินิจฉัยอรรถคดี สิ่งที่ไม่สามารถนำมาถกแถลงและเปิดเผยต่อที่สาธารณะได้ ย่อมจะไม่มีความปลอดภัย
(Everything secret degenerates, even the administration of justice; nothing is safe that does not show how it can bear discussion and publicity.)
“มีสองสิ่งที่ไม่สามารถโจมตีได้ต่อหน้า นั่นคือ ความเขลาและความใจแคบ วิธีแก้ก็คือการทำให้เกิดคุณภาพที่ตรงกันข้าม คนที่เขลาและคนที่ใจแคบจะทนไม่ได้กับการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์”
(There are two things which cannot be attacked in front; ignorance and narrow-mindedness. They can only be shaken by the simple development of the contrary qualities. They will not bear discussion.)
สิ่งที่ ลอร์ด แอคตัน กล่าวมาทั้งหมดนั้นนำไปสู่ข้อคิดมากมาย เช่น ความโปร่งใส เป็นต้น ผู้ครองอำนาจบางคนบางกลุ่มมีการกระทำที่ปราศจากความโปร่งใส บางคนก็ใจแคบและขาดความรู้ที่จะเข้าใจสิ่งที่แปลกแยกไปจากความเชื่อดั้งเดิม บางคนก็กล่าวว่าจริยธรรมหรือศีลธรรมเป็นเรื่องที่น่ารำคาญ หรือเป็นเรื่องนามธรรม ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ยังเต็มไปด้วยคนที่อยู่ในสังคมเกษตรหรือคลื่นลูกที่หนึ่ง คนจำนวนไม่น้อยยังมีลักษณะความเขลาและคับแคบทางการเมือง (political parochialism) ถ้าพูดไปแล้วสิ่งที่ ลอร์ด แอคตัน พยายามจะกล่าวถึงคือการชี้ให้เห็นถึงสัจธรรมและความเป็นจริงเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจ ลอร์ด แอคตัน พยายามเน้นให้เห็นอิทธิพลของอำนาจที่จะทำให้คนเสียคน ความสำคัญของเสรีภาพ ศีลธรรมและจริยธรรม
ลอร์ด แอคตัน คือนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ คำกล่าวของ ลอร์ด แอคตัน ที่ว่า “อำนาจมีแนวโน้มที่จะทำให้คนเสียคน อำนาจเด็ดขาดจะทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น” เป็นอมตะพจน์เกี่ยวกับอำนาจทางการเมืองตราบเท่าทุกวันนี้
ราชบัณฑิต
คำกล่าวของลอร์ด แอคตัน ที่มีการอ้างบ่อยที่สุดคือเรื่องอำนาจทำให้คนเสียคน โดยลอร์ด แอคตัน กล่าวว่า “อำนาจมีแนวโน้มที่จะทำให้คนเสียคน และอำนาจเด็ดขาดจะทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น”
(Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely)
ลอร์ด แอคตัน เป็นนักประวัติศาสตร์แต่เขียนหนังสือเกี่ยวกับการเมืองและปรัชญาการเมืองไว้มาก สิ่งที่ ลอร์ด แอคตัน ได้กล่าวไว้นั้นมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมพิสูจน์คำกล่าวได้เป็นอย่างดีในหลายสังคม ในหลายสังคมจะปรากฏผู้นำการเมืองที่ลุแก่อำนาจ ละเมิดหลักนิติธรรม ฉ้อราษฎร์บังหลวง กระทำการขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผยองในอำนาจราชศักดิ์ และมีพฤติกรรมที่เกินเลยจากสิ่งที่ควรเป็น ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือการถูกทำให้เสียคนโดยอำนาจทางการเมืองนั่นเอง และเป็นการสนับสนุนคำกล่าวของลอร์ด แอคตัน
ลอร์ด แอคตัน ได้เขียนเตือนไว้ถึงผลเลวร้ายทางการเมืองที่จะมีต่อตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจ และต่อคนในสังคมในหลายแง่มุม สิ่งที่กล่าวต่อไปนี้จะเป็นความรู้และข้อคิดเกี่ยวกับอำนาจทางการเมือง มีความจำเป็นที่จะต้องรักษาส่วนของภาษาอังกฤษไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ที่จะนำไปกล่าวอ้างต่อไป
ในส่วนของอำนาจทางการเมืองนั้น ลอร์ด แอคตัน ได้กล่าวว่า “และจงจำไว้ เมื่อใดก็ตามที่อำนาจอยู่ในมือคนไม่กี่คน บ่อยครั้งคนไม่กี่คนดังกล่าวนั้นมักจะเป็นคนซึ่งมีจิตใจที่เป็นโจรผู้ร้ายจะเป็นผู้กุมอำนาจ ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ข้ออ้างดังกล่าวมาแล้ว อำนาจทั้งหลายจะทำให้คนเสียคน และอำนาจเด็ดขาดจะทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น”
(And remember, where you have a concentration of power in a few hands, all too frequently men with the mentality of gangsters get control. History has proven that. All power corrupt; absolute power corrupts absolutely.)
“ความชั่วข้อหนึ่งของระบบประชาธิปไตยก็คือ การเป็นทรราชของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งด้วยการใช้กำลังหรือใช้การฉ้อโกง”
(The one prevailing evil of democracy is the tyranny of the party that succeeds, by force or fraud, in carrying elections.)
“อำนาจที่ไม่มีการจำกัดมีแนวโน้มที่จะทำลายจิตใจของผู้ทรงอำนาจนั้น”
(Unlimited power is apt to corrupt the minds of those who possess it.)
“การมีอำนาจที่ไม่จำกัดจะกัดกร่อนจิตสำนึกถูกผิด ทำให้จิตใจแข็งกระด้าง และทำให้ความเข้าใจสับสน”
(The possession of unlimited power corrodes the conscience, hardens the heart, and confounds the understanding.)
“ผู้ซึ่งมีอำนาจมากจะทำบาปมากเป็นเงาตามตัว ไม่มีทฤษฎีใดในวิชาเรขาคณิตที่จะมีความแน่นอนยิ่งกว่านี้”
(Those who have more power are liable to sin more, no theorem in geometry is more certain than that.)
ในส่วนที่เกี่ยวกับเสรีภาพนั้น ลอร์ด แอคตัน กล่าวไว้อย่างน่าคิดดังต่อไปนี้ คือ
“เสรีภาพไม่ใช่วิธี (means) ไปสู่เป้าหมายสูงส่งทางการเมือง แต่ตัวเสรีภาพเองนั้นเป็นเป้าหมายสูงสุดทางการเมือง เสรีภาพเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยประโยชน์กับทุกคน และจะไม่มีการต่อต้านจากฝ่ายใดอย่างแท้จริง”
(Liberty is not a means to a higher political end. It is itself the highest political end...liberty is the only object which benefits all alike, and provokes no sincere opposition...)
“เมื่อพูดถึงเสรีภาพ ข้าพเจ้าหมายถึงหลักประกันที่ว่า ทุกคนจะได้รับการคุ้มครองในการกระทำในสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นหน้าที่ที่จะต่อสู้กับอิทธิพลของอำนาจและเสียงข้างมาก ต่อสู้กับประเพณีและความคิดเห็น”
(By liberty I mean the assurance that every man shall be protected in doing what he believes to be his duty against the influences of authority and majorities, custom and opinion.)
“การทดสอบที่แน่นอนที่สุดเพื่อจะดูว่าประเทศนั้นมีเสรีภาพหรือไม่ ก็คือการดูว่าฝ่ายเสียงข้างน้อยได้รับความคุ้มครองเพียงใด”
(The most certain test by which we judge whether a country is really free is the amount of security enjoyed by minorities.)
จากที่กล่าวมานั้นจะเห็นว่า ในส่วนเสรีภาพนั้นเป็นกรรมวิธีแต่เป็นเป้าหมายอันสูงสุด ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่าประชาธิปไตยซึ่งเป็นกรรมวิธีการเข้าสู่อำนาจไม่ใช่เป้าหมาย คนเข้าใจประชาธิปไตยย่อมรู้ว่าประชาธิปไตยจะต้องเป็นเป้าหมายสูงสุด ดังนั้น ใครก็ตามที่คิดว่าประชาธิปไตยเป็นเพียงกรรมวิธีไม่ใช่เป้าหมายอันสูงสุด ย่อมขัดแย้งกับสิ่งที่กล่าวมาข้างบน และเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างแน่นอน ยกเว้นแต่บุคคลผู้นั้นมิได้มีจิตสำนึกและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ในส่วนที่เกี่ยวกับศีลธรรม ความโปร่งใส ความใจกว้าง ลอร์ด แอคตัน กล่าวว่า “ความคิดเห็นอาจจะเปลี่ยนแปลง ท่าทีการแสดงออกอาจจะแตกต่าง ลัทธิความเชื่ออาจจะขึ้นและลง แต่กฎแห่งศีลธรรมบันทึกไว้บนโต๊ะแห่งความเป็นนิรันดร”
(Opinions alter, manners change, creeds rise and fall, but the moral laws are written on the table of eternity.)
ทุกอย่างที่เป็นความลับจะนำไปสู่ความเสื่อม แม้การวินิจฉัยอรรถคดี สิ่งที่ไม่สามารถนำมาถกแถลงและเปิดเผยต่อที่สาธารณะได้ ย่อมจะไม่มีความปลอดภัย
(Everything secret degenerates, even the administration of justice; nothing is safe that does not show how it can bear discussion and publicity.)
“มีสองสิ่งที่ไม่สามารถโจมตีได้ต่อหน้า นั่นคือ ความเขลาและความใจแคบ วิธีแก้ก็คือการทำให้เกิดคุณภาพที่ตรงกันข้าม คนที่เขลาและคนที่ใจแคบจะทนไม่ได้กับการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์”
(There are two things which cannot be attacked in front; ignorance and narrow-mindedness. They can only be shaken by the simple development of the contrary qualities. They will not bear discussion.)
สิ่งที่ ลอร์ด แอคตัน กล่าวมาทั้งหมดนั้นนำไปสู่ข้อคิดมากมาย เช่น ความโปร่งใส เป็นต้น ผู้ครองอำนาจบางคนบางกลุ่มมีการกระทำที่ปราศจากความโปร่งใส บางคนก็ใจแคบและขาดความรู้ที่จะเข้าใจสิ่งที่แปลกแยกไปจากความเชื่อดั้งเดิม บางคนก็กล่าวว่าจริยธรรมหรือศีลธรรมเป็นเรื่องที่น่ารำคาญ หรือเป็นเรื่องนามธรรม ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ยังเต็มไปด้วยคนที่อยู่ในสังคมเกษตรหรือคลื่นลูกที่หนึ่ง คนจำนวนไม่น้อยยังมีลักษณะความเขลาและคับแคบทางการเมือง (political parochialism) ถ้าพูดไปแล้วสิ่งที่ ลอร์ด แอคตัน พยายามจะกล่าวถึงคือการชี้ให้เห็นถึงสัจธรรมและความเป็นจริงเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจ ลอร์ด แอคตัน พยายามเน้นให้เห็นอิทธิพลของอำนาจที่จะทำให้คนเสียคน ความสำคัญของเสรีภาพ ศีลธรรมและจริยธรรม
ลอร์ด แอคตัน คือนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ คำกล่าวของ ลอร์ด แอคตัน ที่ว่า “อำนาจมีแนวโน้มที่จะทำให้คนเสียคน อำนาจเด็ดขาดจะทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น” เป็นอมตะพจน์เกี่ยวกับอำนาจทางการเมืองตราบเท่าทุกวันนี้