5 พรรคการเมืองเห็นพ้องลงสัตยาบันปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้ง ภายใต้เงื่อนไขเลือกตั้งไม่มีการซื่อเสียง-ใช้อำนาจรัฐหาเสียง ยอมรับแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่ทางออก แต่ต้องขจัดระบอบทักษิณ ชูจริยธรรมนักการเมืองก่อน "ไทยรักไทย"อ้อมแอ้มรับเสียงด่า แต่ยอมแก้ม.313
วานนี้(5 ก.ย.) สถาบันพระปกเกล้า จัดเสวนาการเมืองเรื่อง"การแก้ไขรัฐธรรมนูญ : ผ่าทางตันการเมืองไทยจริงหรือ?" ในโอกาสวันสถาปนาสถาบันพระปกเกล้า ครบ 8 ปี โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองร่วมเสวนาประกอบด้วย นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช นายลิขิต ธีรเวคิน หัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินไทย นายโภคิน พลกุล รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย และ นายอรรคพล สรสุชาติ รองหัวหน้าพรรคมหาชน
นายลิขิต กล่าวว่า การปฏิรูปการเมืองไม่ใช่การแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว เพราะระบอบการปกครอง ประกอบด้วยภาพรวม มหภาค โครงสร้างกระบวนการที่มาจากรัฐธรรมนูญและประเพณี ดังนั้นหากไม่มีปัญหาก็จะปฏิรูปได้ อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปโดยให้มีการเลือกตั้งถือว่าเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันระบบกลับไม่มีความเที่ยงธรรม โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรที่รั่วไหล จนเกิดการฉ้อราษฏร์บังหลวง เกิดการลุแก่อำนาจ โดยเฉพาะขาดหลักนิติธรรม ใช้อำนาจผิดจึงต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นระบบประชาธิปไตย ผู้นำจึงต้องมีจิตวิญญาณ มีศรัทธา ค่านิยมในความเป็นประชาธิปไตย เช่นเดียวกับในประเทศอินเดีย และ ฟิลิปปินส์ แต่ในประเทศไทยกลับไม่มีการแก้ช่องโหว่ แต่กลับไปหาช่องโหว่เพื่อทุจริต
"ใช้ความอ่อนแอของรัฐธรรมนูญ จากคลื่นโลกที่หนึ่ง เข้ามาคุมคลื่นโลกที่ 2-3 และ มาออกกฎหมายอย่างเบ็ดเสร็จมาเป็นเครื่องมือ ทำให้ประชาธิปไตยเป็นเพียงกลไกล รวมไปถึงจิตสำนึกที่ผิด มีความไม่เป็นกลาง กุมกระบวนการออกกฎหมาย ใช้ระบบนิติกลวิธี ไม่ใช่นิติธรรม หากจะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไรก็ไม่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังรวมทั้งจริยธรรมของผู้นำ เมื่อผู้นำไม่มีจริยธรรมทางวิชาชีพ ถ้ากลไกลดีแค่ไหน หากปฎิรูปไป 3-10 ครั้ง ก็ไม่ประโยชน์ เพราะคนที่มาปิดช่องโหว่นั้น จะต้องเสนอสภาเพื่อแก้ช่องโหว่ แต่กลับเข้าไปประโยชน์จากช่องโหว่ ดังนั้นจะต้องแก้ระบบก่อนไม่เช่นนั้นจะป่วยการ ดังนั้นจะต้องแก้ในส่วนของจริยธรรม เพื่อให้สอดคล้องกันก่อน"
นายลิขิต กล่าวว่า การแก้ปัญหาคลื่นโลกที่หนึ่งที่ชั่ว ต้องแก้ที่ความจนและความเขลา แก้ความจนคือต้องตัดวงจรอุบาทว์ โดยให้การศึกษากับประชาชนให้เร็วที่สุด ซึ่งการศึกษาใน 3ส่วนประกอบด้วย การศึกษาเทคนิค การศึกษาจริยธรรม ความเป็นคน และการศึกษาความรู้ทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนมีประสาทสัมผัสทางการเมือง เพื่อไม่ให้ถูกจูงใจในระยะสั้น เพราะวิกฤติมากที่สุดขณะนี้คือ ความมีจริยธรรม ที่ทำให้สังคมขาดจิตวิญญาณ และสังคมก็จะหายนะ อย่างไรก็ตาม ตนก็เห็นว่า หากทุกพรรคลงสัตยาบัน ว่าจะไม่ซื้อเสียง ก็จะพร้อมลงสัตยาบันร่วมกัน
**ทรท.ยอมแก้ม.313
นายโภคิน พลกุล กล่าวว่าที่ นายลิขิต กล่าวมานั้นคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เราจะทำให้ประชาชนตื่นตัวได้อย่างไร เพราะการแก้รัฐธรรมนูญคงจะไปแก้ให้คนมีคุณธรรมไม่ได้ อย่างไรก็ตามวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้ ตนเห็น 2 ทางตัน ได้แก่ ตันทางเทคนิค และตันความรู้สึกอุดมการณ์
ปัญหาตันทางเทคนิค เช่น รัฐธรรมนูญ มาตรา 297 ในการสรรหา ป.ป.ช. ในกรณีของตัวแทนพรรคการเมือง และกรณีการสรรหา กกต. จากศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และศาลฎีกา ซึ่งทางกฎหมายมีการไปตีความทางเทคนิคกันไปกันมาจนเกิดความเชื่อมั่น ในส่วนของทางตันทางความรู้สึก เช่น กรณี กกต.ที่หลายคนขาดความเชื่อถือ ต้องบอกว่า ทุกฝ่ายก็พยายามแก้ไข และศาลก็สำนึกโดยว่า เราทำอะไรบนพระปรมาภิไธย แต่เมื่อเกิดปัญหาตามมาจนทำให้ประชาชนสับสน ตรงนี้ไม่ใช่ปัญหารัฐธรรมนูญ แต่เป็นเรื่องของความรู้ ความเข้าใจ เนื่องจากสังคมไทยไม่พยายามมองแบบซิงโครไนท์ แต่กลับทำเพื่อส่วนของตัวเอง จึงเกิดปัญหาที่บานปลายขึ้น
นายโภคิน กล่าวว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคไทยรักไทยมีวิธีการกับเนื้อหา ที่สรุปขณะนี้ คือการแก้ไขมาตรา 313 ที่ให้มีคนกลางเข้ามาเป็นสภาปฏิรูปการเมือง จำนวน 120 คน จาก 90 คน ที่มาจากหลากอาชีพ และที่เหลือจากผู้แทนพรรค ศาล อดีต ส.ส.ร. นักวิชาการ ฯลฯ และใช้ 180 วันในการยกร่าง เพื่อนำประเด็นปัญหาโดยใช้การลงประชามติ และหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ก็จะนำประเด็นนี้ไปกำหนดว่าจะมีการเสนอตัวแทนหรือช่วงเวลากับทุกพรรค จากนั้นก็จะให้ประชาชนเป็นผู้เลือก หรือการแก้ไขในการถอดถอนนายกฯ หรือรัฐมนตรีที่ในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ประชาชนลงชื่อ 5 หมื่นคน แต่ในระดับท้องถิ่น กลับต้องใช้ประชาชนลงชื่อถึง 1 ล้าน 5 แสนคน
"เราลองมาช่วยกันดูกติกาเพื่อให้มีการเลือกตั้งกันไป แต่ถ้ามาไล่ระบอบทักษิณ เราก็ไม่รู้จะมีคำตอบยังไงต่อไป"นายโภคิน กล่าว
**ทักษิณต้องออกไปสถานเดียว
นายเสนาะ เทียนทอง กล่าวว่า ตนเคยพูดว่า ประเทศไทยจะมีทางตันไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีทางออก จะเห็นได้จากเมื่อวันที่ 25 เม.ย. ในอดีตไม่เคยมีเหตุการณ์ใดที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ออกมาแสดงพระราชดำรัสเช่นนั้น เพราะถ้าตนเป็นนายกฯ ก็จะพิจารณาตัวเองไปตั้งแต่วันนั้น
"ผมฟันธงว่า การผ่าทางตันไม่ใช่แค่แก้รัฐธรรมนูญ แต่ต้องแก้ที่คน แต่บางเรื่องก็ต้องแก้ ผมเชื่อว่าบางเรื่องใช้เวลา 3 ชั่วโมงก็แก้ได้แล้ว แต่เชื่อไหมที่ผมพูดตรงไปตรงมาว่า ตราบใดที่เรายังไม่แก้ระบบใน 5 ปีที่ผ่านมาของพรรคไทยรักไทย ระบบก็จะออกลูกออกหลานมาครอบงำ ระบบการปกครองไทยที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระประมุข"
นายเสนาะ กล่าวว่า ตนไม่ได้ว่าน้องนุ่ง แต่ปัญหาเกิดกับความไม่ชอบธรรม ไม่มีการสัตยาบันต่อกัน เมื่อเกิดตรงนี้เราจะแก้อย่างไร ถ้าเอาระบบทักษิณออกไปไม่ได้ คนที่ไม่ละอายต่อใจ คนที่ไม่ละอายต่อบาป คนไม่มีจริยธรรม เขาไม่มีอะไรจะเสีย สำนึกอย่างเดียวว่า กูจะได้อะไร ดังนั้นเราต้องเอาระบบนี้ออกไป หากปล่อยให้มีการเลือกตั้งและแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อเนื่อง พวกที่ก็จะไปโหวตในสภ าก็คือคนพวกกลุ่มนี้
**อภิปรายนายกฯ-รมต.ใช้เสียงเท่ากัน
นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับนายเสนาะ เพราะเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเดียวจะผ่าทางตันการเมืองไทยไม่ได้ เพราะเหตุตัวรัฐธรรมนูญไม่น่าจะใช่ต้นตอที่แท้จริง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเพียงแพะรับบาปเฉพาะกิจ แต่ปัญหาเป็นเพราะตัวผู้นำที่ไปใช้รัฐธรรมนูญ เป็นวิกฤติของผู้นำ และพฤติกรรมผู้นำ ที่สังคมกล่าวหาว่า ไม่มีจริยธรรม สร้างความแตกแยก และแทรกแซงทุกองค์กร และไม่จัดการการทุจริตจนเกิดวิกฤติ ดังนั้นหากจะจัดการเลือกตั้งก็จะเกิดวิกฤติอีก ถ้าต้นตอของปัญหายังอยู่ และตนก็เห็นด้วยกับการทำสัตยาบัน หากทุกพรรคการเมืองจะไม่ใช่ทหาร ตำรวจ ผู้ว่าฯ อำนาจเงิน อำนาจรัฐ ความหวังทางการเมืองก็จะเห็นแสงรำไร
"หากผ่านเลือกตั้งและได้ผู้นำคนเดิม ถ้ายังได้เป็นนายกฯ ผมไม่คิดว่าจะบริหารราชการแผ่นดินได้อีก เพราะท่านจะออกไปไหนได้ เพราะทุกวันนี้ไทยถูกแบ่งเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตนายกฯห้ามเข้า เขตนายกฯไม่อยากเข้า และ เขตนายกไม่กล้าเข้า เพราะขณะนี้ ผู้นำไม่อยู่ในสถานภาพที่จะบริหารแผ่นดินอย่างราบรื่น ตราบใดที่การคอร์รัปชั่น การผิดกฎมายไม่ถูกชำระ ยากที่จะจบวิกฤติได้ เพราะจะมีข้อเรียกร้องให้มีการเข้าไปจัดการความยุติธรรม ดังนั้นการเลือกตั้ง และแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงไม่ใช่ทางออก 100 % ที่จะผ่านทางตัน เป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งและองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น"
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ มีเสียงในสภามากกว่า 100 เสียงขึ้นไป จะเสนอแก้มาตรา 313 โดยจะกำหนดให้กำหนดคนกลางเข้ามาแก้ไข โดยมีนักวิชาการ ศาล และภาคประชาชนเป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นยังจะเปิดโอกาสให้ประชาชน 2.5 แสนรายชื่อ เข้ามาแก้ไขเพื่อเพิ่มเป็นช่องทางที่ 4 นอกจากนั้นจะเสนอระบบตรวจสอบเพื่อให้มีความเข้มแข็งขึ้น โดยให้ฝ่ายค้านยื่นไม่ไว้วางนายกฯ และรัฐมนตรีมีเสียงเท่ากัน เป็นต้น
**ต้องลงสัตยาบันร่วมปฏิรูปการเมือง
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในช่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 38 ที่พรรคชาติไทยเป็นพรรครัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค ได้ระบุว่า จะแก้ไขโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญของ รสช. โดยใช้มาตรา 211 มาประกอบเพื่อเป็นการทำลายระบอบธนาธิปไตย
"แต่ถ้าวันนี้ผมถามว่าหากจะแก้ เรามั่นใจหรือไม่ว่า เมื่อแก้ไขใหม่อีก 3 ปี หรือ 5 ปี มีหลักประกันหรือไม่ว่า สถาบันพระปกเกล้าจะมาจัดงานอย่างนี้อีก ผมเห็นด้วยกับคุณเสนาะ คุณจุรินทร์ ที่ผู้นำขาดจริยธรรมแต่เห็นว่าเกิดจากตัวบุคคลที่ขาดสำนึกและจิตวิญญาณในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย"
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในนามพรรคชาติไทย ที่ตนเปิดประเด็นการลงสัตยาบัน เพราะตนเป็นห่วงว่า การเลือกตั้งครั้งนี้การเมืองจะไม่เพียงเข้ามาบริหารประเทศ แต่จะต้องปฏิรูปการเมือง ขอถามว่า พรรคการเมืองไหนบ้างที่จะตอบยืนยันว่าจะเร่งรีบและปฏิรูปการเมืองภายใน 1 ปี และจะคืนอำนาจให้ประชาชนใหม่ มีแต่มาแข่งขันในนโยบายประชานิยม ดังนั้นถึงเวลาที่เราจะเชิญเพื่อนจาก พรรค และ ส.ว.ชุดปัจจุบัน มาทำสัญญาประชาคมร่วมกันว่า สิ่งแรกที่เลือกตั้งเสร็จ หลังจากหานายกฯ ผู้บริหารแล้ว ก็จะมาเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคืนอำนาจกลับไปให้ประชาชน ดังนั้นทุกพรรคต้องร่วมใจกันเป็นสมาชิกรัฐสภา เพื่อร่วมมือร่วมใจแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนการปฏิรูปหัวใจคนด้วย ที่นายลิขิตยกตัวอย่างว่ายากนั้น ตนเห็นว่า ถ้าเรามุ่งมั่นก็อาจจะสำเร็จ เพราะการปฏิรูปหัวใจคน เราต้องเริ่มกันทำที่สถาบันครอบครัว ซึ่งก็อย่าไปหวังพึ่งใคร ขอให้อดทนสร้าง และปลูกฝังความดีงาม วันนี้สังคมไทยอ่อนแอ การที่จะสร้างนักการเมืองที่ดี เราอย่าไปคิดว่าสร้างวันนี้ พรุ่งนี้จะเสร็จ เพราะเราสร้างมานานขอให้อดทนอีก 1 เจอเนอร์เรชั่น ก็จะเป็นความจริง
**เสียง 1 ใน 5 อภิปรายนายกฯได้
นายอรรคพล กล่าวว่า พรรคการเมืองต้องตอบโจทย์ประเทศไทยว่า การเมือง ปกครองไทยมีปัญหาอย่างไร ต้องตอบให้ได้ว่า ประชาชนอยากได้อะไรในการแก้ทางตัน ขอเปรียบรัฐบาลเป็นเรือไททานิก ดังนั้นเราต้องโยนของเสียจากเรือทิ้งไป เพื่ออุดรอยรั่ว เราจะแก้ปัญหาความผุพังของเรือ ที่เกิดจากการผุกร่อนของจริยธรรม ที่ประชาชนไม่เชื่อผู้บริหารและกระบวนการตรวจสอบที่หมักหมม เราต้องมองปัญหาตรงนี้ พรรคมหาชน มองว่า การอภิปราย 1 ใน 5 ถือว่า เหมาะสมถ้านายกฯ ผ่านการตรวจสอบบ้าง กระแสสังคมจะไม่รู้สึกถึงเช่นนี้ และเราก็ไม่เชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งจะยุติธรรม
ดังนั้น ถ้าเราลงสัตยาบันว่าไม่ซื้อเสียง จะแก้ได้ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเลือกตั้งที่ผ่านมา เปรียบเหมือนเล่นฟุตบอล แล้วมาเป็นรักบี้ แล้วถึงขั้นมวยปล้ำ แต่สังคมที่ผ่านมาเป็นสังคมที่รอ และขอ เหมือนขอทาน ที่ให้และทวงบุญคุณประชาชน เข้ามาเอาคืนจนเกิดระบบอุปถัมภ์ในสภา ส.ส.ก็กลายเป็นลูกจ้างของนายทุน ระบบตรวจสอบก็จะต้องแก้คือให้ กกต.ดำเนินการเลือกตั้งอย่างเดียวและตั้งศาลเลือกตั้ง
วานนี้(5 ก.ย.) สถาบันพระปกเกล้า จัดเสวนาการเมืองเรื่อง"การแก้ไขรัฐธรรมนูญ : ผ่าทางตันการเมืองไทยจริงหรือ?" ในโอกาสวันสถาปนาสถาบันพระปกเกล้า ครบ 8 ปี โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองร่วมเสวนาประกอบด้วย นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช นายลิขิต ธีรเวคิน หัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินไทย นายโภคิน พลกุล รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย และ นายอรรคพล สรสุชาติ รองหัวหน้าพรรคมหาชน
นายลิขิต กล่าวว่า การปฏิรูปการเมืองไม่ใช่การแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว เพราะระบอบการปกครอง ประกอบด้วยภาพรวม มหภาค โครงสร้างกระบวนการที่มาจากรัฐธรรมนูญและประเพณี ดังนั้นหากไม่มีปัญหาก็จะปฏิรูปได้ อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปโดยให้มีการเลือกตั้งถือว่าเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันระบบกลับไม่มีความเที่ยงธรรม โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรที่รั่วไหล จนเกิดการฉ้อราษฏร์บังหลวง เกิดการลุแก่อำนาจ โดยเฉพาะขาดหลักนิติธรรม ใช้อำนาจผิดจึงต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นระบบประชาธิปไตย ผู้นำจึงต้องมีจิตวิญญาณ มีศรัทธา ค่านิยมในความเป็นประชาธิปไตย เช่นเดียวกับในประเทศอินเดีย และ ฟิลิปปินส์ แต่ในประเทศไทยกลับไม่มีการแก้ช่องโหว่ แต่กลับไปหาช่องโหว่เพื่อทุจริต
"ใช้ความอ่อนแอของรัฐธรรมนูญ จากคลื่นโลกที่หนึ่ง เข้ามาคุมคลื่นโลกที่ 2-3 และ มาออกกฎหมายอย่างเบ็ดเสร็จมาเป็นเครื่องมือ ทำให้ประชาธิปไตยเป็นเพียงกลไกล รวมไปถึงจิตสำนึกที่ผิด มีความไม่เป็นกลาง กุมกระบวนการออกกฎหมาย ใช้ระบบนิติกลวิธี ไม่ใช่นิติธรรม หากจะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไรก็ไม่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังรวมทั้งจริยธรรมของผู้นำ เมื่อผู้นำไม่มีจริยธรรมทางวิชาชีพ ถ้ากลไกลดีแค่ไหน หากปฎิรูปไป 3-10 ครั้ง ก็ไม่ประโยชน์ เพราะคนที่มาปิดช่องโหว่นั้น จะต้องเสนอสภาเพื่อแก้ช่องโหว่ แต่กลับเข้าไปประโยชน์จากช่องโหว่ ดังนั้นจะต้องแก้ระบบก่อนไม่เช่นนั้นจะป่วยการ ดังนั้นจะต้องแก้ในส่วนของจริยธรรม เพื่อให้สอดคล้องกันก่อน"
นายลิขิต กล่าวว่า การแก้ปัญหาคลื่นโลกที่หนึ่งที่ชั่ว ต้องแก้ที่ความจนและความเขลา แก้ความจนคือต้องตัดวงจรอุบาทว์ โดยให้การศึกษากับประชาชนให้เร็วที่สุด ซึ่งการศึกษาใน 3ส่วนประกอบด้วย การศึกษาเทคนิค การศึกษาจริยธรรม ความเป็นคน และการศึกษาความรู้ทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนมีประสาทสัมผัสทางการเมือง เพื่อไม่ให้ถูกจูงใจในระยะสั้น เพราะวิกฤติมากที่สุดขณะนี้คือ ความมีจริยธรรม ที่ทำให้สังคมขาดจิตวิญญาณ และสังคมก็จะหายนะ อย่างไรก็ตาม ตนก็เห็นว่า หากทุกพรรคลงสัตยาบัน ว่าจะไม่ซื้อเสียง ก็จะพร้อมลงสัตยาบันร่วมกัน
**ทรท.ยอมแก้ม.313
นายโภคิน พลกุล กล่าวว่าที่ นายลิขิต กล่าวมานั้นคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เราจะทำให้ประชาชนตื่นตัวได้อย่างไร เพราะการแก้รัฐธรรมนูญคงจะไปแก้ให้คนมีคุณธรรมไม่ได้ อย่างไรก็ตามวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้ ตนเห็น 2 ทางตัน ได้แก่ ตันทางเทคนิค และตันความรู้สึกอุดมการณ์
ปัญหาตันทางเทคนิค เช่น รัฐธรรมนูญ มาตรา 297 ในการสรรหา ป.ป.ช. ในกรณีของตัวแทนพรรคการเมือง และกรณีการสรรหา กกต. จากศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และศาลฎีกา ซึ่งทางกฎหมายมีการไปตีความทางเทคนิคกันไปกันมาจนเกิดความเชื่อมั่น ในส่วนของทางตันทางความรู้สึก เช่น กรณี กกต.ที่หลายคนขาดความเชื่อถือ ต้องบอกว่า ทุกฝ่ายก็พยายามแก้ไข และศาลก็สำนึกโดยว่า เราทำอะไรบนพระปรมาภิไธย แต่เมื่อเกิดปัญหาตามมาจนทำให้ประชาชนสับสน ตรงนี้ไม่ใช่ปัญหารัฐธรรมนูญ แต่เป็นเรื่องของความรู้ ความเข้าใจ เนื่องจากสังคมไทยไม่พยายามมองแบบซิงโครไนท์ แต่กลับทำเพื่อส่วนของตัวเอง จึงเกิดปัญหาที่บานปลายขึ้น
นายโภคิน กล่าวว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคไทยรักไทยมีวิธีการกับเนื้อหา ที่สรุปขณะนี้ คือการแก้ไขมาตรา 313 ที่ให้มีคนกลางเข้ามาเป็นสภาปฏิรูปการเมือง จำนวน 120 คน จาก 90 คน ที่มาจากหลากอาชีพ และที่เหลือจากผู้แทนพรรค ศาล อดีต ส.ส.ร. นักวิชาการ ฯลฯ และใช้ 180 วันในการยกร่าง เพื่อนำประเด็นปัญหาโดยใช้การลงประชามติ และหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ก็จะนำประเด็นนี้ไปกำหนดว่าจะมีการเสนอตัวแทนหรือช่วงเวลากับทุกพรรค จากนั้นก็จะให้ประชาชนเป็นผู้เลือก หรือการแก้ไขในการถอดถอนนายกฯ หรือรัฐมนตรีที่ในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ประชาชนลงชื่อ 5 หมื่นคน แต่ในระดับท้องถิ่น กลับต้องใช้ประชาชนลงชื่อถึง 1 ล้าน 5 แสนคน
"เราลองมาช่วยกันดูกติกาเพื่อให้มีการเลือกตั้งกันไป แต่ถ้ามาไล่ระบอบทักษิณ เราก็ไม่รู้จะมีคำตอบยังไงต่อไป"นายโภคิน กล่าว
**ทักษิณต้องออกไปสถานเดียว
นายเสนาะ เทียนทอง กล่าวว่า ตนเคยพูดว่า ประเทศไทยจะมีทางตันไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีทางออก จะเห็นได้จากเมื่อวันที่ 25 เม.ย. ในอดีตไม่เคยมีเหตุการณ์ใดที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ออกมาแสดงพระราชดำรัสเช่นนั้น เพราะถ้าตนเป็นนายกฯ ก็จะพิจารณาตัวเองไปตั้งแต่วันนั้น
"ผมฟันธงว่า การผ่าทางตันไม่ใช่แค่แก้รัฐธรรมนูญ แต่ต้องแก้ที่คน แต่บางเรื่องก็ต้องแก้ ผมเชื่อว่าบางเรื่องใช้เวลา 3 ชั่วโมงก็แก้ได้แล้ว แต่เชื่อไหมที่ผมพูดตรงไปตรงมาว่า ตราบใดที่เรายังไม่แก้ระบบใน 5 ปีที่ผ่านมาของพรรคไทยรักไทย ระบบก็จะออกลูกออกหลานมาครอบงำ ระบบการปกครองไทยที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระประมุข"
นายเสนาะ กล่าวว่า ตนไม่ได้ว่าน้องนุ่ง แต่ปัญหาเกิดกับความไม่ชอบธรรม ไม่มีการสัตยาบันต่อกัน เมื่อเกิดตรงนี้เราจะแก้อย่างไร ถ้าเอาระบบทักษิณออกไปไม่ได้ คนที่ไม่ละอายต่อใจ คนที่ไม่ละอายต่อบาป คนไม่มีจริยธรรม เขาไม่มีอะไรจะเสีย สำนึกอย่างเดียวว่า กูจะได้อะไร ดังนั้นเราต้องเอาระบบนี้ออกไป หากปล่อยให้มีการเลือกตั้งและแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อเนื่อง พวกที่ก็จะไปโหวตในสภ าก็คือคนพวกกลุ่มนี้
**อภิปรายนายกฯ-รมต.ใช้เสียงเท่ากัน
นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับนายเสนาะ เพราะเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเดียวจะผ่าทางตันการเมืองไทยไม่ได้ เพราะเหตุตัวรัฐธรรมนูญไม่น่าจะใช่ต้นตอที่แท้จริง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเพียงแพะรับบาปเฉพาะกิจ แต่ปัญหาเป็นเพราะตัวผู้นำที่ไปใช้รัฐธรรมนูญ เป็นวิกฤติของผู้นำ และพฤติกรรมผู้นำ ที่สังคมกล่าวหาว่า ไม่มีจริยธรรม สร้างความแตกแยก และแทรกแซงทุกองค์กร และไม่จัดการการทุจริตจนเกิดวิกฤติ ดังนั้นหากจะจัดการเลือกตั้งก็จะเกิดวิกฤติอีก ถ้าต้นตอของปัญหายังอยู่ และตนก็เห็นด้วยกับการทำสัตยาบัน หากทุกพรรคการเมืองจะไม่ใช่ทหาร ตำรวจ ผู้ว่าฯ อำนาจเงิน อำนาจรัฐ ความหวังทางการเมืองก็จะเห็นแสงรำไร
"หากผ่านเลือกตั้งและได้ผู้นำคนเดิม ถ้ายังได้เป็นนายกฯ ผมไม่คิดว่าจะบริหารราชการแผ่นดินได้อีก เพราะท่านจะออกไปไหนได้ เพราะทุกวันนี้ไทยถูกแบ่งเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตนายกฯห้ามเข้า เขตนายกฯไม่อยากเข้า และ เขตนายกไม่กล้าเข้า เพราะขณะนี้ ผู้นำไม่อยู่ในสถานภาพที่จะบริหารแผ่นดินอย่างราบรื่น ตราบใดที่การคอร์รัปชั่น การผิดกฎมายไม่ถูกชำระ ยากที่จะจบวิกฤติได้ เพราะจะมีข้อเรียกร้องให้มีการเข้าไปจัดการความยุติธรรม ดังนั้นการเลือกตั้ง และแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงไม่ใช่ทางออก 100 % ที่จะผ่านทางตัน เป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งและองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น"
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ มีเสียงในสภามากกว่า 100 เสียงขึ้นไป จะเสนอแก้มาตรา 313 โดยจะกำหนดให้กำหนดคนกลางเข้ามาแก้ไข โดยมีนักวิชาการ ศาล และภาคประชาชนเป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นยังจะเปิดโอกาสให้ประชาชน 2.5 แสนรายชื่อ เข้ามาแก้ไขเพื่อเพิ่มเป็นช่องทางที่ 4 นอกจากนั้นจะเสนอระบบตรวจสอบเพื่อให้มีความเข้มแข็งขึ้น โดยให้ฝ่ายค้านยื่นไม่ไว้วางนายกฯ และรัฐมนตรีมีเสียงเท่ากัน เป็นต้น
**ต้องลงสัตยาบันร่วมปฏิรูปการเมือง
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในช่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 38 ที่พรรคชาติไทยเป็นพรรครัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค ได้ระบุว่า จะแก้ไขโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญของ รสช. โดยใช้มาตรา 211 มาประกอบเพื่อเป็นการทำลายระบอบธนาธิปไตย
"แต่ถ้าวันนี้ผมถามว่าหากจะแก้ เรามั่นใจหรือไม่ว่า เมื่อแก้ไขใหม่อีก 3 ปี หรือ 5 ปี มีหลักประกันหรือไม่ว่า สถาบันพระปกเกล้าจะมาจัดงานอย่างนี้อีก ผมเห็นด้วยกับคุณเสนาะ คุณจุรินทร์ ที่ผู้นำขาดจริยธรรมแต่เห็นว่าเกิดจากตัวบุคคลที่ขาดสำนึกและจิตวิญญาณในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย"
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในนามพรรคชาติไทย ที่ตนเปิดประเด็นการลงสัตยาบัน เพราะตนเป็นห่วงว่า การเลือกตั้งครั้งนี้การเมืองจะไม่เพียงเข้ามาบริหารประเทศ แต่จะต้องปฏิรูปการเมือง ขอถามว่า พรรคการเมืองไหนบ้างที่จะตอบยืนยันว่าจะเร่งรีบและปฏิรูปการเมืองภายใน 1 ปี และจะคืนอำนาจให้ประชาชนใหม่ มีแต่มาแข่งขันในนโยบายประชานิยม ดังนั้นถึงเวลาที่เราจะเชิญเพื่อนจาก พรรค และ ส.ว.ชุดปัจจุบัน มาทำสัญญาประชาคมร่วมกันว่า สิ่งแรกที่เลือกตั้งเสร็จ หลังจากหานายกฯ ผู้บริหารแล้ว ก็จะมาเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคืนอำนาจกลับไปให้ประชาชน ดังนั้นทุกพรรคต้องร่วมใจกันเป็นสมาชิกรัฐสภา เพื่อร่วมมือร่วมใจแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนการปฏิรูปหัวใจคนด้วย ที่นายลิขิตยกตัวอย่างว่ายากนั้น ตนเห็นว่า ถ้าเรามุ่งมั่นก็อาจจะสำเร็จ เพราะการปฏิรูปหัวใจคน เราต้องเริ่มกันทำที่สถาบันครอบครัว ซึ่งก็อย่าไปหวังพึ่งใคร ขอให้อดทนสร้าง และปลูกฝังความดีงาม วันนี้สังคมไทยอ่อนแอ การที่จะสร้างนักการเมืองที่ดี เราอย่าไปคิดว่าสร้างวันนี้ พรุ่งนี้จะเสร็จ เพราะเราสร้างมานานขอให้อดทนอีก 1 เจอเนอร์เรชั่น ก็จะเป็นความจริง
**เสียง 1 ใน 5 อภิปรายนายกฯได้
นายอรรคพล กล่าวว่า พรรคการเมืองต้องตอบโจทย์ประเทศไทยว่า การเมือง ปกครองไทยมีปัญหาอย่างไร ต้องตอบให้ได้ว่า ประชาชนอยากได้อะไรในการแก้ทางตัน ขอเปรียบรัฐบาลเป็นเรือไททานิก ดังนั้นเราต้องโยนของเสียจากเรือทิ้งไป เพื่ออุดรอยรั่ว เราจะแก้ปัญหาความผุพังของเรือ ที่เกิดจากการผุกร่อนของจริยธรรม ที่ประชาชนไม่เชื่อผู้บริหารและกระบวนการตรวจสอบที่หมักหมม เราต้องมองปัญหาตรงนี้ พรรคมหาชน มองว่า การอภิปราย 1 ใน 5 ถือว่า เหมาะสมถ้านายกฯ ผ่านการตรวจสอบบ้าง กระแสสังคมจะไม่รู้สึกถึงเช่นนี้ และเราก็ไม่เชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งจะยุติธรรม
ดังนั้น ถ้าเราลงสัตยาบันว่าไม่ซื้อเสียง จะแก้ได้ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเลือกตั้งที่ผ่านมา เปรียบเหมือนเล่นฟุตบอล แล้วมาเป็นรักบี้ แล้วถึงขั้นมวยปล้ำ แต่สังคมที่ผ่านมาเป็นสังคมที่รอ และขอ เหมือนขอทาน ที่ให้และทวงบุญคุณประชาชน เข้ามาเอาคืนจนเกิดระบบอุปถัมภ์ในสภา ส.ส.ก็กลายเป็นลูกจ้างของนายทุน ระบบตรวจสอบก็จะต้องแก้คือให้ กกต.ดำเนินการเลือกตั้งอย่างเดียวและตั้งศาลเลือกตั้ง