ในคำสอนของพระพุทธศาสนา ได้สอนเกี่ยวกับทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา ดังที่ปรากฏในธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาหรือเทศนาครั้งแรกแก่พระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีว่า พระภิกษุไม่ควรถือปฏิบัติใน 2 แนวทาง คือ
1. กามสุขัลลิกานุโยค อันได้แก่การทำตนเองให้หมกมุ่นอยู่ในกาม ซึ่งเป็นแนวทางที่กลุ่มชนผู้ถือปฏิบัติในลัทธิจารวากย์ยึดถือ โดยเน้นการแสวงหาความสุขที่ได้จากการเสพกามหรือความสุขที่มีเนื้อหนังเป็นอามิส และถือว่าเป็นความสุขสุดเทียบได้กับนิพพานของพุทธ
2. อัตตกิลมถานุโยค อันได้แก่การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก เช่น การอดอาหาร ยืนขาเดียว และกร้อนผมด้วยแปรงตาล เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนที่นับถือลัทธิเชนถือปฏิบัติอยู่
แต่ได้สอนให้พระภิกษุยึดถือปฏิบัติทางสายกลาง อันประกอบด้วยองค์ 8 หรือที่เรียกว่า มรรค 8 ประการ
โดยนัยแห่งคำสอนนี้ จะเห็นได้ว่าคำว่า ทางสายกลาง ของพระพุทธองค์ก็คือ แนวทางปฏิบัติระหว่าง 2 แนวทางดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และพระพุทธองค์ได้เคยทดลองจนมีประสบการณ์มาก่อน คือได้ผ่านแนวทางที่หนึ่งหรือกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อก่อนออกผนวชเพราะได้ครองเรือน และเสวยสุขอันเนื่องด้วยกามมาแล้วในฐานะเจ้านายแห่งแคว้นกบิลพัสดุ์ และเคยทดลองบำเพ็ญเพียรด้วยการทรมานตัวเองจนร่างกายซูบผอม แต่ไม่ปรากฏว่าได้บรรลุธรรมวิเศษอันใด จึงถือว่า 2 แนวทางที่ว่านี้มิใช่แนวทางแห่งการตรัสรู้ จึงได้พบแนวทางที่เป็นสายกลางระหว่างแนวทางดังกล่าว
ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน ก็เพียงเพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นคำว่า สายกลาง เพื่อจะนำไปสู่การขยายอธิบายความของคำว่า เป็นกลาง ที่กำลังเป็นปัญหาถกเถียงกันในหลายๆ องค์กร ทั้งองค์กรสื่อ องค์กรทางการเมือง หรือแม้กระทั่งในองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น กกต. เป็นต้น
โดยนัยแห่งทางสายกลางตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะเห็นได้ว่าหมายถึง สิ่งที่วางอยู่ระหว่าง 2 ฝ่าย โดยที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งจนทำให้เกิดความเสียสมดุลขึ้น
ด้วยนัยแห่งความหมายนี้ ความเป็นกลางขององค์กรสื่อ ก็น่าจะหมายถึงการเสนอข่าวสารโดยยึดความถูกต้องและเป็นธรรม ตรงไปตรงมา ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและทำให้อีกฝ่ายไม่ได้รับความเป็นธรรม มากกว่าที่จะบอกเพียงว่าเสนอข้อมูล 2 ด้านโดยเสมอภาคกัน ในกรณีที่ข่าวซึ่งเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่ายทั้งในแง่บวก และแง่ลบ โดยไม่มีความถูกต้องและเป็นธรรมเข้ามากำกับการเสนอข่าวนั้น
สำหรับความเป็นกลางขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น กกต.คงจะหมายถึงการวางตัวเป็นกลางโดยไม่เข้าข้างพรรคการเมือง หรือนักการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง และคนใดคนหนึ่ง แต่จะต้องถือปฏิบัติแก่พรรคการเมืองทุกพรรค และนักการเมืองทุกคนด้วยมาตรฐานเดียวกัน ไม่เลือกปฏิบัติหรือปฏิบัติโดยยึดถือมาตรฐานต่างกัน ดังที่ กกต.ชุดที่ถูกศาลอาญาพิพากษาลงโทษถึงขั้นจำคุก และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไปเมื่อไม่นานมานี้ เพราะไปมีพฤติกรรมไม่เป็นกลางในการจัดการเลือกตั้ง เนื่องจากได้เอนเอียงไปทางพรรคใหญ่พรรคหนึ่งจนมองเห็นได้ชัดเจนว่าขาดความเป็นกลางทางการเมือง
ส่วนความเป็นกลางสำหรับปัจเจกบุคคลที่มีสภาพทางสังคมหรือมีตำแหน่งบริหารซึ่งมาจากการเลือกตั้ง คงหมายถึงการยึดถือแนวทางการให้คุณให้โทษแก่บุคคล หรือองค์กรที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนเองโดยเสมอภาคกัน ไม่มีอคติ และไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นพวกเขาหรือพวกเรา
ทำไมสังคมไทยในยุคนี้จึงมีการเรียกร้องความเป็นกลาง ทั้งในส่วนของการเมือง และการปกครอง รวมไปถึงความเป็นกลางระหว่างบุคคลกับบุคคล
เพื่อให้มองเห็นปัญหาและที่มาของเรื่องนี้ชัดเจน และเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ก็จะพบมูลเหตุแห่งการเรียกร้องความเป็นกลางดังต่อไปนี้
1. ความแตกแยกในสังคมไทยได้เกิดขึ้น และดำรงอยู่อย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกแยกทางความคิดในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง อันเนื่องมาจากกระบวนการขับไล่ระบอบทักษิณ และกระบวนการอนุรักษ์ระบอบทักษิณที่เกิดขึ้น และดำรงอยู่ในสังคมอย่างดาษดื่น โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ จึงมีการเรียกร้องหาบุคคลหรือองค์กรที่มีความเป็นกลางไม่เอนข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ามาแก้ไขความแตกแยกนี้
2. ในขณะนี้ได้ปรากฏว่า มีบุคคลซึ่งสังคมโดยรวมยอมรับนับถือในความเป็นกลาง และความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม เช่น หมอประเวศ วะสี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เป็นต้น ได้ลงมาแสดงความคิดเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาความแตกแยกของผู้คนภายในชาติ แต่ดูเหมือนว่าการเข้ามาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของท่านเหล่านี้จะพบอุปสรรคเมื่อคนกลุ่มหนึ่งออกมาตอบโต้ในทำนองไม่เห็นด้วย และคนกลุ่มที่ว่านี้แท้จริงแล้วก็คือส่วนหนึ่งของฝ่ายที่เป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้นั่นเอง
3. นอกจากมีบุคคลตามข้อ 2 ที่ได้ออกมาเสนอแนวทางแก้ไขความแตกแยกแล้ว ยังมีองค์กรในกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ศาล ซึ่งมีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลอาญา ได้เข้ามารับหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความแตกแยกในสังคมนี้ด้วย
แต่ถึงกระนั้นบุคคลหรือองค์กรที่เข้ามาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากปวงชนทั้งมวล โดยปราศจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแล้ว การแก้ไขปัญหาคงกระทำได้ยาก เพราะจะต้องไม่ลืมว่าถึงแม้บุคคลและองค์กรดังกล่าวจะมีความเป็นกลางมากแค่ไหน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่กำลังขัดแย้งกันอยู่ไม่ยอมรับให้มีสถานภาพเป็นคนกลางเข้ามาแก้ไขปัญหา ความเป็นกลางที่บุคคลและองค์กรมีอยู่อย่างมากที่ว่านี้ก็คงจะไร้ผล ในทำนองเดียวกัน ประเทศที่ต้องการวางตัวเป็นกลางในระหว่างประเทศโลกเสรีกับประเทศนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็นจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ากลุ่มประเทศต่างๆ ค่ายใดค่ายหนึ่งหรือทั้ง 2 ค่ายไม่ยอมให้อยู่อย่างเป็นกลาง ก็จะถูกดึงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้เอนเข้าพวกตนเอง และเสียความเป็นกลางจนได้ หรือถึงแม้จะไม่เสียความเป็นกลาง ก็คงจะเป็นคนกลางแก้ไขปัญหาไม่ได้ เพราะฝ่ายที่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับแนวทางแก้ไข และถ้าเป็นเช่นนี้ความแตกแยกในสังคมไทยก็คงจะยังมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะถึงจุดที่แตกหัก หรือจบลงด้วยความรุนแรงโดยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ และยังคงเหลือฝ่ายชนะ
ถ้าความขัดแย้งจบลงในทำนองนี้ ประเทศไทยโดยรวมคงหนีไม่พ้นความหายนะทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อันเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่สังคมโดยรวม และมีผลกระทบแก่คนทุกคน แม้กระทั่งฝ่ายชนะก็ได้รับด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นกรรมของคนไทยโดยรวมทุกคน
1. กามสุขัลลิกานุโยค อันได้แก่การทำตนเองให้หมกมุ่นอยู่ในกาม ซึ่งเป็นแนวทางที่กลุ่มชนผู้ถือปฏิบัติในลัทธิจารวากย์ยึดถือ โดยเน้นการแสวงหาความสุขที่ได้จากการเสพกามหรือความสุขที่มีเนื้อหนังเป็นอามิส และถือว่าเป็นความสุขสุดเทียบได้กับนิพพานของพุทธ
2. อัตตกิลมถานุโยค อันได้แก่การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก เช่น การอดอาหาร ยืนขาเดียว และกร้อนผมด้วยแปรงตาล เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนที่นับถือลัทธิเชนถือปฏิบัติอยู่
แต่ได้สอนให้พระภิกษุยึดถือปฏิบัติทางสายกลาง อันประกอบด้วยองค์ 8 หรือที่เรียกว่า มรรค 8 ประการ
โดยนัยแห่งคำสอนนี้ จะเห็นได้ว่าคำว่า ทางสายกลาง ของพระพุทธองค์ก็คือ แนวทางปฏิบัติระหว่าง 2 แนวทางดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และพระพุทธองค์ได้เคยทดลองจนมีประสบการณ์มาก่อน คือได้ผ่านแนวทางที่หนึ่งหรือกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อก่อนออกผนวชเพราะได้ครองเรือน และเสวยสุขอันเนื่องด้วยกามมาแล้วในฐานะเจ้านายแห่งแคว้นกบิลพัสดุ์ และเคยทดลองบำเพ็ญเพียรด้วยการทรมานตัวเองจนร่างกายซูบผอม แต่ไม่ปรากฏว่าได้บรรลุธรรมวิเศษอันใด จึงถือว่า 2 แนวทางที่ว่านี้มิใช่แนวทางแห่งการตรัสรู้ จึงได้พบแนวทางที่เป็นสายกลางระหว่างแนวทางดังกล่าว
ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน ก็เพียงเพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นคำว่า สายกลาง เพื่อจะนำไปสู่การขยายอธิบายความของคำว่า เป็นกลาง ที่กำลังเป็นปัญหาถกเถียงกันในหลายๆ องค์กร ทั้งองค์กรสื่อ องค์กรทางการเมือง หรือแม้กระทั่งในองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น กกต. เป็นต้น
โดยนัยแห่งทางสายกลางตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะเห็นได้ว่าหมายถึง สิ่งที่วางอยู่ระหว่าง 2 ฝ่าย โดยที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งจนทำให้เกิดความเสียสมดุลขึ้น
ด้วยนัยแห่งความหมายนี้ ความเป็นกลางขององค์กรสื่อ ก็น่าจะหมายถึงการเสนอข่าวสารโดยยึดความถูกต้องและเป็นธรรม ตรงไปตรงมา ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและทำให้อีกฝ่ายไม่ได้รับความเป็นธรรม มากกว่าที่จะบอกเพียงว่าเสนอข้อมูล 2 ด้านโดยเสมอภาคกัน ในกรณีที่ข่าวซึ่งเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่ายทั้งในแง่บวก และแง่ลบ โดยไม่มีความถูกต้องและเป็นธรรมเข้ามากำกับการเสนอข่าวนั้น
สำหรับความเป็นกลางขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น กกต.คงจะหมายถึงการวางตัวเป็นกลางโดยไม่เข้าข้างพรรคการเมือง หรือนักการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง และคนใดคนหนึ่ง แต่จะต้องถือปฏิบัติแก่พรรคการเมืองทุกพรรค และนักการเมืองทุกคนด้วยมาตรฐานเดียวกัน ไม่เลือกปฏิบัติหรือปฏิบัติโดยยึดถือมาตรฐานต่างกัน ดังที่ กกต.ชุดที่ถูกศาลอาญาพิพากษาลงโทษถึงขั้นจำคุก และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไปเมื่อไม่นานมานี้ เพราะไปมีพฤติกรรมไม่เป็นกลางในการจัดการเลือกตั้ง เนื่องจากได้เอนเอียงไปทางพรรคใหญ่พรรคหนึ่งจนมองเห็นได้ชัดเจนว่าขาดความเป็นกลางทางการเมือง
ส่วนความเป็นกลางสำหรับปัจเจกบุคคลที่มีสภาพทางสังคมหรือมีตำแหน่งบริหารซึ่งมาจากการเลือกตั้ง คงหมายถึงการยึดถือแนวทางการให้คุณให้โทษแก่บุคคล หรือองค์กรที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนเองโดยเสมอภาคกัน ไม่มีอคติ และไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นพวกเขาหรือพวกเรา
ทำไมสังคมไทยในยุคนี้จึงมีการเรียกร้องความเป็นกลาง ทั้งในส่วนของการเมือง และการปกครอง รวมไปถึงความเป็นกลางระหว่างบุคคลกับบุคคล
เพื่อให้มองเห็นปัญหาและที่มาของเรื่องนี้ชัดเจน และเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ก็จะพบมูลเหตุแห่งการเรียกร้องความเป็นกลางดังต่อไปนี้
1. ความแตกแยกในสังคมไทยได้เกิดขึ้น และดำรงอยู่อย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกแยกทางความคิดในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง อันเนื่องมาจากกระบวนการขับไล่ระบอบทักษิณ และกระบวนการอนุรักษ์ระบอบทักษิณที่เกิดขึ้น และดำรงอยู่ในสังคมอย่างดาษดื่น โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ จึงมีการเรียกร้องหาบุคคลหรือองค์กรที่มีความเป็นกลางไม่เอนข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ามาแก้ไขความแตกแยกนี้
2. ในขณะนี้ได้ปรากฏว่า มีบุคคลซึ่งสังคมโดยรวมยอมรับนับถือในความเป็นกลาง และความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม เช่น หมอประเวศ วะสี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เป็นต้น ได้ลงมาแสดงความคิดเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาความแตกแยกของผู้คนภายในชาติ แต่ดูเหมือนว่าการเข้ามาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของท่านเหล่านี้จะพบอุปสรรคเมื่อคนกลุ่มหนึ่งออกมาตอบโต้ในทำนองไม่เห็นด้วย และคนกลุ่มที่ว่านี้แท้จริงแล้วก็คือส่วนหนึ่งของฝ่ายที่เป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้นั่นเอง
3. นอกจากมีบุคคลตามข้อ 2 ที่ได้ออกมาเสนอแนวทางแก้ไขความแตกแยกแล้ว ยังมีองค์กรในกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ศาล ซึ่งมีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลอาญา ได้เข้ามารับหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความแตกแยกในสังคมนี้ด้วย
แต่ถึงกระนั้นบุคคลหรือองค์กรที่เข้ามาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากปวงชนทั้งมวล โดยปราศจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแล้ว การแก้ไขปัญหาคงกระทำได้ยาก เพราะจะต้องไม่ลืมว่าถึงแม้บุคคลและองค์กรดังกล่าวจะมีความเป็นกลางมากแค่ไหน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่กำลังขัดแย้งกันอยู่ไม่ยอมรับให้มีสถานภาพเป็นคนกลางเข้ามาแก้ไขปัญหา ความเป็นกลางที่บุคคลและองค์กรมีอยู่อย่างมากที่ว่านี้ก็คงจะไร้ผล ในทำนองเดียวกัน ประเทศที่ต้องการวางตัวเป็นกลางในระหว่างประเทศโลกเสรีกับประเทศนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็นจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ากลุ่มประเทศต่างๆ ค่ายใดค่ายหนึ่งหรือทั้ง 2 ค่ายไม่ยอมให้อยู่อย่างเป็นกลาง ก็จะถูกดึงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้เอนเข้าพวกตนเอง และเสียความเป็นกลางจนได้ หรือถึงแม้จะไม่เสียความเป็นกลาง ก็คงจะเป็นคนกลางแก้ไขปัญหาไม่ได้ เพราะฝ่ายที่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับแนวทางแก้ไข และถ้าเป็นเช่นนี้ความแตกแยกในสังคมไทยก็คงจะยังมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะถึงจุดที่แตกหัก หรือจบลงด้วยความรุนแรงโดยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ และยังคงเหลือฝ่ายชนะ
ถ้าความขัดแย้งจบลงในทำนองนี้ ประเทศไทยโดยรวมคงหนีไม่พ้นความหายนะทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อันเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่สังคมโดยรวม และมีผลกระทบแก่คนทุกคน แม้กระทั่งฝ่ายชนะก็ได้รับด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นกรรมของคนไทยโดยรวมทุกคน