การเมืองไม่นิ่ง "ไฟเซอร์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์" หวังรายได้ปีนี้โตเพียง 14 % คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท จากเดิมปีที่แล้วโต 16 % ล่าสุดรุกตลาดหมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่ หลังอย.ไฟเขียวให้ขายได้ตามร้านขายยา มั่นใจปีนี้รายได้พุ่งกระฉูด 80 % หรือกว่า 30 ล้านบาท
นายวรยุทธ วัชโรทยางกูร ผู้จัดการทั่วไป (ประเทศไทย และอินโดจีน) แผนกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท วอเนอร์-แลมเบิท (ไทย) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเวชภัณฑ์ทั่วไป เปิดเผยว่า สำหรับรายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในปีนี้ คาดการณ์ว่าจะเติบโตเพียง 14 % คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท น้อยกว่าปีที่ผ่านมาที่มีอัตราการเติบโตถึง 16 % ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาทางการเมืองเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามคาดว่า ถึงสิ้นปีจะมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้
สำหรับการทำตลาดในปีนี้ บริษัทฯ จะเน้นขยายตลาดผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการอดบุหรี่ที่มีมูลค่ากว่า 60 ล้านบาท แบ่งเป็น หมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่ แผ่นแปะเพื่อการอดบุหรี่ และ ยาเพื่อการอดบุหรี่ หลังจากที่องค์การอาหารและยา อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์หมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่สามารถวางจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป ตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านมา จากเดิมที่ถือเป็นยาควบคุมพิเศษจำหน่ายได้แต่เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น
ในขณะที่หมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่ของบริษัทฯ นั้น คาดว่าปีนี้จะมีรายได้เติบโตขึ้น 80 % จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 50 %ของมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการอดบุหรี่ทั้งหมด ผ่านช่องทางร้ายขายยาทั่วประเทศกว่า 1,500ร้าน
อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้เตรียมงบประมาณเพื่อการทำตลาดตลอดทั้งปีอีกกว่า 14 ล้านบาท เน้นทางด้านบิโลว์เดอะไลน์เป็นหลัก เช่น การจัดกิจกรรมโรดโชว์ไปตามโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และสำนักงานต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้บริโภค รวมไปถึงการเปิดตัวแคมเปญ "เวลคัม แบค กลับสู่ชีวิตไร้ควัน" ที่ใช้งบประมาณไปกว่า 10 ล้านบาท ระยะเวลาแคมเปญตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2549 มุ่งเน้นให้บุคคลในครอบครัวหรือคนรอบข้างของผู้สูบบุหรี่เป็นแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่
อย่างไรก็ตามรายได้จากหมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่นั้น คิดเป็นสัดส่วนรายได้เพียง 5 % เทียบเท่ากับรายได้จากผลิตภัณฑ์ยารักษาผมร่วง ในขณะที่รายได้หลักกว่า 90 % ของแผนกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมาจาก น้ำยาบ้วนปากลีสเตอรีน
จากสถิติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณปีละ 50,000 คน หรือคิดเป็นชั่วโมงละ 6 คน โดยช่วงอายุที่มีอัตราสูบบุหรี่สูงสุดคือช่วงอายุ 25-34 ปี ในขณะที่สัดส่วนกว่า 60 % ของผู้สูบบุหรี่กังวลและต้องการเลิกบุหรี่ คิดเป็นจำนวน 1.7 ล้านคน และพบว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ล้มเหลวในการเลิกบุหรี่ระหว่างทาง ซึ่งในปี 2544 ที่ผ่านมา คนไทยมีแนวโน้มสูบบุหรี่ลดลงเพียงเล็กน้อยจาก 10 ล้านคน ลดลงเหลือ 9.6 ล้านคน และในปี 2547 มีอัตราการบริโภคบุหรี่ลดลงเพียงแค่ 4 %เท่านั้น
นายวรยุทธ วัชโรทยางกูร ผู้จัดการทั่วไป (ประเทศไทย และอินโดจีน) แผนกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท วอเนอร์-แลมเบิท (ไทย) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเวชภัณฑ์ทั่วไป เปิดเผยว่า สำหรับรายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในปีนี้ คาดการณ์ว่าจะเติบโตเพียง 14 % คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท น้อยกว่าปีที่ผ่านมาที่มีอัตราการเติบโตถึง 16 % ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาทางการเมืองเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามคาดว่า ถึงสิ้นปีจะมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้
สำหรับการทำตลาดในปีนี้ บริษัทฯ จะเน้นขยายตลาดผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการอดบุหรี่ที่มีมูลค่ากว่า 60 ล้านบาท แบ่งเป็น หมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่ แผ่นแปะเพื่อการอดบุหรี่ และ ยาเพื่อการอดบุหรี่ หลังจากที่องค์การอาหารและยา อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์หมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่สามารถวางจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป ตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านมา จากเดิมที่ถือเป็นยาควบคุมพิเศษจำหน่ายได้แต่เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น
ในขณะที่หมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่ของบริษัทฯ นั้น คาดว่าปีนี้จะมีรายได้เติบโตขึ้น 80 % จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 50 %ของมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการอดบุหรี่ทั้งหมด ผ่านช่องทางร้ายขายยาทั่วประเทศกว่า 1,500ร้าน
อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้เตรียมงบประมาณเพื่อการทำตลาดตลอดทั้งปีอีกกว่า 14 ล้านบาท เน้นทางด้านบิโลว์เดอะไลน์เป็นหลัก เช่น การจัดกิจกรรมโรดโชว์ไปตามโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และสำนักงานต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้บริโภค รวมไปถึงการเปิดตัวแคมเปญ "เวลคัม แบค กลับสู่ชีวิตไร้ควัน" ที่ใช้งบประมาณไปกว่า 10 ล้านบาท ระยะเวลาแคมเปญตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2549 มุ่งเน้นให้บุคคลในครอบครัวหรือคนรอบข้างของผู้สูบบุหรี่เป็นแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่
อย่างไรก็ตามรายได้จากหมากฝรั่งเพื่อการอดบุหรี่นั้น คิดเป็นสัดส่วนรายได้เพียง 5 % เทียบเท่ากับรายได้จากผลิตภัณฑ์ยารักษาผมร่วง ในขณะที่รายได้หลักกว่า 90 % ของแผนกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมาจาก น้ำยาบ้วนปากลีสเตอรีน
จากสถิติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณปีละ 50,000 คน หรือคิดเป็นชั่วโมงละ 6 คน โดยช่วงอายุที่มีอัตราสูบบุหรี่สูงสุดคือช่วงอายุ 25-34 ปี ในขณะที่สัดส่วนกว่า 60 % ของผู้สูบบุหรี่กังวลและต้องการเลิกบุหรี่ คิดเป็นจำนวน 1.7 ล้านคน และพบว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ล้มเหลวในการเลิกบุหรี่ระหว่างทาง ซึ่งในปี 2544 ที่ผ่านมา คนไทยมีแนวโน้มสูบบุหรี่ลดลงเพียงเล็กน้อยจาก 10 ล้านคน ลดลงเหลือ 9.6 ล้านคน และในปี 2547 มีอัตราการบริโภคบุหรี่ลดลงเพียงแค่ 4 %เท่านั้น