วิทยานิพนธ์ดีเด่น ม.ธรรมศาสตร์ ปี 48 ชำแหละธาตุแท้ “แม้ว”ผ่านรายการวิทยุนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ชี้ใช้คำพูดแก้ตัวมากกว่าแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ จวกมักแสดงอำนาจล้นฟ้า ด้วยการตำหนิ กล่าวโทษ ประณามออกอากาศ แถมยังมักยืนยันและโอ้อวดว่าสามารถแก้ปัญหาได้ ทั้งที่แก้ไม่ได้ รวมทั้งมักตำหนิและชี้นำให้ประชาชนมีอคติต่อสื่อ ไม่ยอมรับคำวิจารณ์ ฟันธงไม่เคยเห็นผู้นำประเทศไหนใช้สื่อที่อยู่ในมือมากเท่ารัฐบาลชุดนี้
วานนี้(29 ส.ค.)ที่ห้องประชุมวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโครงการ สัมมนาวิทยานิพนธ์ดีเด่นในรอบปี 2548 โดยมีวิทยานิพนธ์ที่เข้านำเสนอในโครงการสัมมนาดังกล่าวทั้งหมด 15 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือ วิทยานิพนธ์เรื่อง“การแปลงสิทธิอำนาจเป็นอำนาจ ผ่านรายการวิทยุนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ศึกษากรณี : วิกฤตการณ์รุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” จากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน โดยน.ส.จิราภรณ์ เจริญเดช
น.ส.จิราภรณ์ กล่าวว่า แรงผลักดันที่ทำให้ตัดสินใจเลือกหัวข้อดังกล่าวมาทำวิทยานิพนธ์เนื่องจากตัวเลขความรุนแรงของเหตุการณ์ได้เพิ่มเป็นลำดับ กล่าวคือ จากปี 2543 ที่เกิดความรุนแรง 12 ครั้ง ก็เพิ่มเป็น 50 ครั้งในปี 2544 เพิ่มเป็น 75 ครั้งในปี 2545 กลายเป็น 110 ครั้งในปี 2546 และปี 2547 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายนก็พุ่งขึ้นมาถึง 1,253 ครั้งหรือเพิ่มขึ้นเป็น 9 เท่าของค่าเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้เป็นการศึกษาวัจนกรรมในการสื่อสารของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งใช้หลากหลายกลยุทธ์ในการโน้มน้าวทางการเมือง โดยการศึกษาการพูดของนายกรัฐมนตรีซึ่งแสดงออกต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้รวมทั้งเหตุการณ์ใหญ่ๆที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 28 เมษายน และ 25 ตุลาคม ซึ่งถอดจากเทปรายการวิทยุ ‘นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน’ จำนวน 52 บทความจาก 52 สัปดาห์ในปี 2547
น.ส.จิราภรณ์กล่าวว่า ผลการศึกษาพบวิธีการที่ พ.ต.ท.ทักษิณพูดในรายการนั้นมีการทำสคริปต์ไว้ล่วงหน้า และเป็นการพูดเพื่อชี้แจงผลงานของรัฐบาลในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งยังไม่เคยเห็นผู้นำในประเทศไหนใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อต่างๆที่อยู่ในมือมากเท่ารัฐบาลชุดนี้
สำหรับในส่วนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ต.ท.ทักษิณมักใช้ถ้อยคำที่มีอำนาจสูง การบอก การสั่ง การเร่งรัด การติดตาม ซึ่งคำพูดที่ พ.ต.ท.ทักษิณชอบใช้อยู่เป็นประจำและได้ยินบ่อยมาก คือ ‘ขอสั่งให้…’ และในการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้นั้นในผลการศึกษาคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณเชื่อว่าเป็นการผสมโรงของวัยรุ่นที่คึกคะนองและเชื่อว่ามีคนก่อการร้ายไม่เกิน 200 คน และยืนยันว่าจะหาตัวคนทำผิดมาลงโทษให้ได้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันเหตุการณ์ก็ยังไม่ได้รับการคลี่คลายแต่อย่างใด
อีกทั้งในเรื่องของการกล่าวตำหนิสื่อเป็นสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณกระทำบ่อยมาก โดยคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณมักชี้นำให้ประชาชนมีอคติต่อสื่อ ไม่ยอมรับฟังข้อเท็จจริง แต่ทำให้ประชาชนกลับไปเชื่อในข่าวลือแทน ในขณะเดียวกันชอบใช้คำพูดเพื่อโน้มน้าวใจประชาชนให้เชื่อมั่นในผลงานของรัฐบาล
“สิ่งที่ชัดเจนในรายการวิทยุ นายกฯทักษิณคุยกับประชาชนคือนายกฯชอบพูดยืนยันและรับรองว่าสามารถทำได้ แก้ปัญหาได้ รวมทั้งการให้คำมั่นสัญญาต่างๆเพื่อเป็นการปลอบประโลม สิ่งที่จะเป็นการลงมือทำนั้นนับเป็นถ้อยคำที่พูดออกมามากที่สุด ในขณะเดียวกันหากสื่อหรือคอลัมนิสต์เล่มไหนได้เขียนวิจารณ์การทำงานของนายกฯ ซึ่งได้อ้างจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้นายกฯมักจะบอกว่าสื่อเหล่านั้นอคติ เช่น สถานีโทรทัศน์ไอทีวีครับแย่มากไปตัดภาพข่าวจากไหนไม่รู้ บอกว่าใช้กำลังดูแลป้องกันผมใหญ่โต่และตัดภาพเก่าออกมาซึ่งแย่มาก คนทำข่าวใช้ไม่ได้เลย ภาษาอังกฤษเรียก Dramatize ข่าว คือทำให้ข่าวเป็นนิยาย อันนี้ไม่ดี”
น.ส.จิราภรณ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า จากผลการศึกษาพบ พ.ต.ท.ทักษิณใช้สิทธิการเป็นผู้นำใช้สื่อของรัฐในทุกๆเรื่อง ทุกๆเหตุการณ์ ซึ่งถือว่าใช้มากเกินความจำเป็น ซึ่งนี่เป็นเพียงแค่การเลือกศึกษาในเฉพาะสื่อวิทยุและในส่วนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น อีกทั้งการศึกษายังพบว่าวัจนกรรมของนายกรัฐมนตรีกล่าวยืนยันความเชื่อส่วนตัวว่าสาเหตุหลักของปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ความยากจนอันเกิดจากความไม่พัฒนาและการด้อยโอกาสางการศึกษา ทำให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในแถบชายแดนภาคใต้ และยังพบว่าในการใช้อำนาจตามนโยบายของรัฐบาลสั่งงานเพื่อรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่นั้น ได้มีการกำหนดแผนการปฏิบัติ 2 ระดับคือแผนเร่งด่วนที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับช่วยเหลือประชากรที่ยากจนเพื่อลดปัญหาหนี้สินและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และแผนระยะยาวในปีงบประมาณของชาติต่อการจัดการการศึกษา โดยทั้งสองระบบนายกรัฐมนตรีแถลงว่าสามารถเริ่มต้นได้อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอกจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณยังได้เสนอและแสดงความคิดสำคัญที่มีจุดหมายเพื่อยุติปัญหาของการก่อการร้ายที่ปรากฏอย่างชัดเจนกับเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น การฆ่าการทำร้ายเป็นรายวัน ขณะเดียวกันการศึกษายังแสดงถึงวัจนกรรมอื่นที่นายกฯได้ผลิตซ้ำพร้อมกับการใช้ความรู้สึกในการตัดสินเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ด้วยถ้อยคำต่างๆ เช่น ‘โจรกระจอก’ ซึ่งเป็นคำแก้ตัวต่อความเป็นอื่นของกลุ่มใดก็ตามที่ ‘พฤติกรรมเลวๆ’ และชี้ปัญหาว่า ‘ความแตกต่างด้านศาสนา’ ไม่ใช่สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น และการกำหนดนโยบายทุกอย่างเพื่อตอบสนอง ‘ความเป็นคนไทยที่เท่าเทียมกัน’
ขณะเดียวกันก็มีการกล่าวหา แยกพวกและหาพวก เช่น เป็นความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีไม่มากที่จะพยายามสร้างความเข้าใจผิดระหว่างศาสนา ประเมินกันกว่า ไม่เกิน 200 คน จากราษฎรที่มีหลายล้านคน หรือให้รู้เลยว่าเป็นการกระทำของคนไม่กี่คน ผสมโรงกับความคึกคะนองของวัยรุ่นและความไม่พอใจของบุคคลที่ถูกปราบปราม กลุ่มผลประโยชน์ที่ถูกปราบปราม เป็นต้น หรือกล่าวตำหนิ ประณาม เช่น มีคนบ้าไม่กี่คนที่เอาหลักศาสนามาสอนผิดเพี้ยนไป,มีครูที่เลวๆ อยู่ไม่กี่คน สร้างสิ่งที่เลวๆ ให้แก่สังคม คนเหล่านี้ใช้ไม่ได้เลย ศาสนาก็ไม่ได้สอนคนเหล่านี้ จริงๆ แล้วศาสนาถือว่าเป็นผู้ที่ทรยศต่อพระเจ้าด้วยซ้ำ
“การทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้ทำให้พบว่านายกรัฐมนตรีมีการแปลงสิทธิอำนาจเป็นอำนาจเชิงโครงสร้างและการแปลงสิทธิอำนาจเป็นอำนาจเชิงวัจนกรรม เห็นได้จากการที่ผสานสิทธิในอำนาจ 3 อำนาจแห่ง 2 ฐานันดร คือ ฐานันดรที่ 2 ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเข้าถึงอำนาจทุกระดับของรัฐ ประกอบกับสิทธิอำนาจในฐานะผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญการบริหารจัดการ และการเป็นแหล่งข่าว กับฐานันดรที่ 4 คือการทำหน้าที่ของสื่อซึ่งผลิตสารและยังผลิตซ้ำไปยังสาธารณะในการกำหนดวาระหรือประเด็น ผ่านทางรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ทำให้เข้าใจได้ว่าการใช้อำนาจทางวัจนกรรมของนายกฯ ทักษิณ มีมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อมูลทางวิชาการที่สามารถนำมายืนยันได้อย่างชัดเจน และที่ผ่านมานายกฯมักไม่เห็นด้วยกับการวิภาควิจารณ์ในการทำหน้าของสื่อทั้งที่บางครั้งได้อ่านบ้าง ไม่ได้อ่านบ้าง โดยใช้คำว่าสื่อมีอคติ ไม่เป็นกลาง แต่วิทยานิพนธ์เล่มนี้ถือเป็นข้อมูลทางวิชาการที่จะสามารถนำมาใช้อ้างอิงสำหรับสื่อมวลชนได้”
“อย่างไรก็ตาม อยากให้นายกฯได้รับรู้ว่าการจัดทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้ได้วิเคราะห์คำพูดที่นายกสื่อออกไปในรายการ โดยได้ใช้หลักวิชาการเข้ามาศึกษาเพื่อวิเคราะห์ว่าท่านได้ใช้อำนาจอย่างล้นฟ้าจริงๆ เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่านายกฯคนนี้พูดมากที่สุดเท่าที่มีหลักฐานมา ซึ่งจากการที่ได้ประกอบอาชีพผู้สื่อข่าวมากว่า 25 ปี ทำให้เห็นข้อเท็จจริงที่สำคัญคือ ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นไม่สามารถแก้ไขด้วยความรุนแรง”น.ส.จิราภรณ์กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ทัศนีย์ บุนนาค อาจารย์ที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์กล่าวว่าเท่าที่สำรวจยังไม่พบผู้ที่จะมาทำการศึกษาเรื่องการวิเคราะห์คำพูดของผู้นำทั้งในไทยและต่างประเทศแต่อย่างไรซึ่งถือเป็นมิติใหม่ที่น่าจะต่อยอดต่อไป ทั้งนี้ในบทสรุปของกรทำวิทยานิพนธ์เรื่องดังกล่าวทำให้พบว่านายกรัฐมนตรีมีการใช้คำพูดผ่านสื่อมาก แต่คงไม่สามารถวัดระดับได้ว่ามากในถึงเพียงใด
แต่หากนำไปเปรียบเทียบกับนายกรัฐมนตรีในอดีตที่ผ่านมาก็ถือว่าใช้คำพูดผ่านสื่อมากที่สุดเท่าที่มีมาเพราะยังไม่ปรากฏว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใดในประวัติศาสตร์ไทยจัดรายการวิทยุนายกฯพบประชาชนอย่างนี้ ทั้งนี้การกรรมวิธีการศึกษา วิเคราะห์ของนักศึกษาท่านนี้ได้ใช้หลักการทางวิชาเข้ามาเกี่ยวโยงทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นการยืนยันได้ถึงความน่าเชื่อถือของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้
“การจะใช้คำพูดในแต่ละครั้งต้องขึ้นอยู่ที่เหตุการณ์ด้วย อย่างเช่นในต่างประเทศเองเขาจะออกมาพูดเมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงหรือเรื่องใหญ่เพื่อแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ แต่บางครั้งในบางเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงมากๆการเงียบไว้บางอาจจะเป็นผลดีมากกว่าการใช้คำพูด ถ้าสำหรับตัวท่านนายกฯทักษิณเองจะมองว่าท่านพูดมากไปหรือเปล่านั้นในทางวิชาการเรายังไม่มีสเกลเข้ามาวัดว่าอันไหนมากไปน้อยไป แต่หากจะเปรียบกับนายกฯในอดีตก็ถือว่าท่านใช้คำพูดผ่านสื่อได้มากสุดเพราะยังไม่มีนายกฯคนไหนเปิดรายการวิทยุหรือสื่อเพื่อคุยกับประชาชน”ผศ.ดร.ทัศนีย์กล่าว
วานนี้(29 ส.ค.)ที่ห้องประชุมวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโครงการ สัมมนาวิทยานิพนธ์ดีเด่นในรอบปี 2548 โดยมีวิทยานิพนธ์ที่เข้านำเสนอในโครงการสัมมนาดังกล่าวทั้งหมด 15 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือ วิทยานิพนธ์เรื่อง“การแปลงสิทธิอำนาจเป็นอำนาจ ผ่านรายการวิทยุนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ศึกษากรณี : วิกฤตการณ์รุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” จากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน โดยน.ส.จิราภรณ์ เจริญเดช
น.ส.จิราภรณ์ กล่าวว่า แรงผลักดันที่ทำให้ตัดสินใจเลือกหัวข้อดังกล่าวมาทำวิทยานิพนธ์เนื่องจากตัวเลขความรุนแรงของเหตุการณ์ได้เพิ่มเป็นลำดับ กล่าวคือ จากปี 2543 ที่เกิดความรุนแรง 12 ครั้ง ก็เพิ่มเป็น 50 ครั้งในปี 2544 เพิ่มเป็น 75 ครั้งในปี 2545 กลายเป็น 110 ครั้งในปี 2546 และปี 2547 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายนก็พุ่งขึ้นมาถึง 1,253 ครั้งหรือเพิ่มขึ้นเป็น 9 เท่าของค่าเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้เป็นการศึกษาวัจนกรรมในการสื่อสารของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งใช้หลากหลายกลยุทธ์ในการโน้มน้าวทางการเมือง โดยการศึกษาการพูดของนายกรัฐมนตรีซึ่งแสดงออกต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้รวมทั้งเหตุการณ์ใหญ่ๆที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 28 เมษายน และ 25 ตุลาคม ซึ่งถอดจากเทปรายการวิทยุ ‘นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน’ จำนวน 52 บทความจาก 52 สัปดาห์ในปี 2547
น.ส.จิราภรณ์กล่าวว่า ผลการศึกษาพบวิธีการที่ พ.ต.ท.ทักษิณพูดในรายการนั้นมีการทำสคริปต์ไว้ล่วงหน้า และเป็นการพูดเพื่อชี้แจงผลงานของรัฐบาลในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งยังไม่เคยเห็นผู้นำในประเทศไหนใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อต่างๆที่อยู่ในมือมากเท่ารัฐบาลชุดนี้
สำหรับในส่วนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ต.ท.ทักษิณมักใช้ถ้อยคำที่มีอำนาจสูง การบอก การสั่ง การเร่งรัด การติดตาม ซึ่งคำพูดที่ พ.ต.ท.ทักษิณชอบใช้อยู่เป็นประจำและได้ยินบ่อยมาก คือ ‘ขอสั่งให้…’ และในการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้นั้นในผลการศึกษาคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณเชื่อว่าเป็นการผสมโรงของวัยรุ่นที่คึกคะนองและเชื่อว่ามีคนก่อการร้ายไม่เกิน 200 คน และยืนยันว่าจะหาตัวคนทำผิดมาลงโทษให้ได้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันเหตุการณ์ก็ยังไม่ได้รับการคลี่คลายแต่อย่างใด
อีกทั้งในเรื่องของการกล่าวตำหนิสื่อเป็นสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณกระทำบ่อยมาก โดยคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณมักชี้นำให้ประชาชนมีอคติต่อสื่อ ไม่ยอมรับฟังข้อเท็จจริง แต่ทำให้ประชาชนกลับไปเชื่อในข่าวลือแทน ในขณะเดียวกันชอบใช้คำพูดเพื่อโน้มน้าวใจประชาชนให้เชื่อมั่นในผลงานของรัฐบาล
“สิ่งที่ชัดเจนในรายการวิทยุ นายกฯทักษิณคุยกับประชาชนคือนายกฯชอบพูดยืนยันและรับรองว่าสามารถทำได้ แก้ปัญหาได้ รวมทั้งการให้คำมั่นสัญญาต่างๆเพื่อเป็นการปลอบประโลม สิ่งที่จะเป็นการลงมือทำนั้นนับเป็นถ้อยคำที่พูดออกมามากที่สุด ในขณะเดียวกันหากสื่อหรือคอลัมนิสต์เล่มไหนได้เขียนวิจารณ์การทำงานของนายกฯ ซึ่งได้อ้างจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้นายกฯมักจะบอกว่าสื่อเหล่านั้นอคติ เช่น สถานีโทรทัศน์ไอทีวีครับแย่มากไปตัดภาพข่าวจากไหนไม่รู้ บอกว่าใช้กำลังดูแลป้องกันผมใหญ่โต่และตัดภาพเก่าออกมาซึ่งแย่มาก คนทำข่าวใช้ไม่ได้เลย ภาษาอังกฤษเรียก Dramatize ข่าว คือทำให้ข่าวเป็นนิยาย อันนี้ไม่ดี”
น.ส.จิราภรณ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า จากผลการศึกษาพบ พ.ต.ท.ทักษิณใช้สิทธิการเป็นผู้นำใช้สื่อของรัฐในทุกๆเรื่อง ทุกๆเหตุการณ์ ซึ่งถือว่าใช้มากเกินความจำเป็น ซึ่งนี่เป็นเพียงแค่การเลือกศึกษาในเฉพาะสื่อวิทยุและในส่วนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น อีกทั้งการศึกษายังพบว่าวัจนกรรมของนายกรัฐมนตรีกล่าวยืนยันความเชื่อส่วนตัวว่าสาเหตุหลักของปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ความยากจนอันเกิดจากความไม่พัฒนาและการด้อยโอกาสางการศึกษา ทำให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในแถบชายแดนภาคใต้ และยังพบว่าในการใช้อำนาจตามนโยบายของรัฐบาลสั่งงานเพื่อรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่นั้น ได้มีการกำหนดแผนการปฏิบัติ 2 ระดับคือแผนเร่งด่วนที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับช่วยเหลือประชากรที่ยากจนเพื่อลดปัญหาหนี้สินและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และแผนระยะยาวในปีงบประมาณของชาติต่อการจัดการการศึกษา โดยทั้งสองระบบนายกรัฐมนตรีแถลงว่าสามารถเริ่มต้นได้อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอกจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณยังได้เสนอและแสดงความคิดสำคัญที่มีจุดหมายเพื่อยุติปัญหาของการก่อการร้ายที่ปรากฏอย่างชัดเจนกับเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น การฆ่าการทำร้ายเป็นรายวัน ขณะเดียวกันการศึกษายังแสดงถึงวัจนกรรมอื่นที่นายกฯได้ผลิตซ้ำพร้อมกับการใช้ความรู้สึกในการตัดสินเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ด้วยถ้อยคำต่างๆ เช่น ‘โจรกระจอก’ ซึ่งเป็นคำแก้ตัวต่อความเป็นอื่นของกลุ่มใดก็ตามที่ ‘พฤติกรรมเลวๆ’ และชี้ปัญหาว่า ‘ความแตกต่างด้านศาสนา’ ไม่ใช่สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น และการกำหนดนโยบายทุกอย่างเพื่อตอบสนอง ‘ความเป็นคนไทยที่เท่าเทียมกัน’
ขณะเดียวกันก็มีการกล่าวหา แยกพวกและหาพวก เช่น เป็นความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีไม่มากที่จะพยายามสร้างความเข้าใจผิดระหว่างศาสนา ประเมินกันกว่า ไม่เกิน 200 คน จากราษฎรที่มีหลายล้านคน หรือให้รู้เลยว่าเป็นการกระทำของคนไม่กี่คน ผสมโรงกับความคึกคะนองของวัยรุ่นและความไม่พอใจของบุคคลที่ถูกปราบปราม กลุ่มผลประโยชน์ที่ถูกปราบปราม เป็นต้น หรือกล่าวตำหนิ ประณาม เช่น มีคนบ้าไม่กี่คนที่เอาหลักศาสนามาสอนผิดเพี้ยนไป,มีครูที่เลวๆ อยู่ไม่กี่คน สร้างสิ่งที่เลวๆ ให้แก่สังคม คนเหล่านี้ใช้ไม่ได้เลย ศาสนาก็ไม่ได้สอนคนเหล่านี้ จริงๆ แล้วศาสนาถือว่าเป็นผู้ที่ทรยศต่อพระเจ้าด้วยซ้ำ
“การทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้ทำให้พบว่านายกรัฐมนตรีมีการแปลงสิทธิอำนาจเป็นอำนาจเชิงโครงสร้างและการแปลงสิทธิอำนาจเป็นอำนาจเชิงวัจนกรรม เห็นได้จากการที่ผสานสิทธิในอำนาจ 3 อำนาจแห่ง 2 ฐานันดร คือ ฐานันดรที่ 2 ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเข้าถึงอำนาจทุกระดับของรัฐ ประกอบกับสิทธิอำนาจในฐานะผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญการบริหารจัดการ และการเป็นแหล่งข่าว กับฐานันดรที่ 4 คือการทำหน้าที่ของสื่อซึ่งผลิตสารและยังผลิตซ้ำไปยังสาธารณะในการกำหนดวาระหรือประเด็น ผ่านทางรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ทำให้เข้าใจได้ว่าการใช้อำนาจทางวัจนกรรมของนายกฯ ทักษิณ มีมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อมูลทางวิชาการที่สามารถนำมายืนยันได้อย่างชัดเจน และที่ผ่านมานายกฯมักไม่เห็นด้วยกับการวิภาควิจารณ์ในการทำหน้าของสื่อทั้งที่บางครั้งได้อ่านบ้าง ไม่ได้อ่านบ้าง โดยใช้คำว่าสื่อมีอคติ ไม่เป็นกลาง แต่วิทยานิพนธ์เล่มนี้ถือเป็นข้อมูลทางวิชาการที่จะสามารถนำมาใช้อ้างอิงสำหรับสื่อมวลชนได้”
“อย่างไรก็ตาม อยากให้นายกฯได้รับรู้ว่าการจัดทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้ได้วิเคราะห์คำพูดที่นายกสื่อออกไปในรายการ โดยได้ใช้หลักวิชาการเข้ามาศึกษาเพื่อวิเคราะห์ว่าท่านได้ใช้อำนาจอย่างล้นฟ้าจริงๆ เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่านายกฯคนนี้พูดมากที่สุดเท่าที่มีหลักฐานมา ซึ่งจากการที่ได้ประกอบอาชีพผู้สื่อข่าวมากว่า 25 ปี ทำให้เห็นข้อเท็จจริงที่สำคัญคือ ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นไม่สามารถแก้ไขด้วยความรุนแรง”น.ส.จิราภรณ์กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ทัศนีย์ บุนนาค อาจารย์ที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์กล่าวว่าเท่าที่สำรวจยังไม่พบผู้ที่จะมาทำการศึกษาเรื่องการวิเคราะห์คำพูดของผู้นำทั้งในไทยและต่างประเทศแต่อย่างไรซึ่งถือเป็นมิติใหม่ที่น่าจะต่อยอดต่อไป ทั้งนี้ในบทสรุปของกรทำวิทยานิพนธ์เรื่องดังกล่าวทำให้พบว่านายกรัฐมนตรีมีการใช้คำพูดผ่านสื่อมาก แต่คงไม่สามารถวัดระดับได้ว่ามากในถึงเพียงใด
แต่หากนำไปเปรียบเทียบกับนายกรัฐมนตรีในอดีตที่ผ่านมาก็ถือว่าใช้คำพูดผ่านสื่อมากที่สุดเท่าที่มีมาเพราะยังไม่ปรากฏว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใดในประวัติศาสตร์ไทยจัดรายการวิทยุนายกฯพบประชาชนอย่างนี้ ทั้งนี้การกรรมวิธีการศึกษา วิเคราะห์ของนักศึกษาท่านนี้ได้ใช้หลักการทางวิชาเข้ามาเกี่ยวโยงทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นการยืนยันได้ถึงความน่าเชื่อถือของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้
“การจะใช้คำพูดในแต่ละครั้งต้องขึ้นอยู่ที่เหตุการณ์ด้วย อย่างเช่นในต่างประเทศเองเขาจะออกมาพูดเมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงหรือเรื่องใหญ่เพื่อแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ แต่บางครั้งในบางเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงมากๆการเงียบไว้บางอาจจะเป็นผลดีมากกว่าการใช้คำพูด ถ้าสำหรับตัวท่านนายกฯทักษิณเองจะมองว่าท่านพูดมากไปหรือเปล่านั้นในทางวิชาการเรายังไม่มีสเกลเข้ามาวัดว่าอันไหนมากไปน้อยไป แต่หากจะเปรียบกับนายกฯในอดีตก็ถือว่าท่านใช้คำพูดผ่านสื่อได้มากสุดเพราะยังไม่มีนายกฯคนไหนเปิดรายการวิทยุหรือสื่อเพื่อคุยกับประชาชน”ผศ.ดร.ทัศนีย์กล่าว