ผู้จัดการรายวัน-กบข.ยอมรับคาร์บ๊องกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุนใน-ต่างประเทศ ยันยังไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้นไทย อ้างพอร์ตเกือบชนเพดาน 20% เผยในแต่ละปีมีรายได้จากเงินปันผลกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เตรียมยืดเวลาการถือครองตราสารหนี้จาก 2.5-2.6 ปี เป็นอายุ 3 ปี เนื่องจากแนวโน้มดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว ล่าสุดลงนามว่าจ้างผู้จัดการกองทุนบริหารพอร์ตตราสารหนี้-หุ้นมูลค่ากว่า 5.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 25-30% ของพอร์ตกบข.
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน ส่งผลกระทบให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศชะลอการลงทุน เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆว่า จะมีทิศทางไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในส่วนของการลงทุนเองจะยังอยู่ในระดับที่พอไปได้ ในขณะที่นักลงทุนต่างประเทศมองว่า เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดเหตุการณ์ปัญหาทางการเมืองถือเป็นเรื่องปกติของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
“คิดว่าสถานการณ์การเมืองในตอนนี้ได้ปรับตัวดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมาแล้วแต่ยังไม่จบ ซึ่งนักลงทุนจะต้องรีรอเพื่อดูสถานการณ์ว่าเป็นอย่างไรถึงจะค่อยลงทุน”นายวิสิฐ กล่าว
สำหรับสถานการณ์ลอบวางระเบิดที่เกิดขึ้น นายวิสิฐยอมรับว่า มีผลกระทบต่อการลงทุนในภาพรวมบ้าง เพราะเกิดจากนักลงทุนเกิดความกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีข่าวที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนได้
ส่วนพอร์ตการลงทุนของกบข.จะยังไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุนในขณะนี้ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ เนื่องจาก กบข.จะพิจารณาการปรับพอร์ต เพราะสาเหตุมาจากด้านอัตราดอกเบี้ยเป็นสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการปรับพอร์ตตราสารหนี้ให้มีระยะยาวมากขึ้น ในขณะที่ตราสารทุนไม่มีการปรับใดๆ มากนัก
“ปัจจัยที่เราดูโดยรวมจะเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจซึ่งตอนนี้ยังไปได้ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยยังคงทรงตัวอยู่ โดยในปีนี้หุ้นที่เราลงทุนไม่ว่าจะเป็นพลังงานและหุ้นตัวอื่นๆ ก็มีผลประกอบการคงที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอยู่”นายวิสิฐ กล่าว
ส่วนแนวโน้มการขายตัวของเศรษฐกิจในปี 2549 กบข.คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวเกิน 4% ได้ ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 4-4.5%
นายวิสิฐ กล่าวว่า สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นของกบข.ในช่วงที่ผ่านมา กบข.มีรายได้จากเงินปันผลเฉลี่ยปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้กบข.ได้ปรับพอร์ตการลงทุนใหม่จากเดิมที่ลงทุนในตราสารที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 2.5-2.6 ปี เป็น 3 ปี เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศเชื่อว่าจะชะลอการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ขณะที่สัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ หลังจากที่กบข.ได้รับการคืนเงินจากผู้จัดการกองทุนที่ก่อนหน้านี้ กบข.ว่าจ้างผู้จัดการกองทุนต่างประเทศบริหารพอร์ตให้รวม 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปกบข.จะปรับสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุนเพิ่มเป็น 50:50 เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดทุนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้
ทั้งนี้ เมื่อวานนี้ (28 สิงหาคม) กบข.ได้จัดพิธีลงนามสัญญาว่าจ้างผู้จัดการกองทุนในประเทศเพื่อทำหน้าที่บริหารเงินให้กับกบข. โดยในปีนี้มีบลจ.ที่ได้รับการคัดเลือก 6 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ 1 แห่ง วงเงิน 54,600 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นลงทุนในตราสารทุน 6,000 ล้านบาท และลงทุนในตราสาารหนี้ 48,600 ล้านบาท โดยจะมีการส่งมอบทรัพย์สินให้บลจ.บริหารภายในวันที่ 1 กันยายน 2549
สำหรับบลจ.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนตราสารทุนมี 5 ราย ประกอบด้วย บลจ.กสิกรไทย ,บลจ.วรรณ ,บลจ.ทิสโก้, บลจ.อเบอร์ดีน และบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)
ส่วนบลจ.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ 6 ราย ประกอบด้วย บลจ.ทิสโก้ บลจ.
วรรณ ธนาคารกรุงเทพ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) บลจ.เอ็มเอฟซี และบลจ.กสิกรไทย
เลขาธิการคณะกรรมการกบข. กล่าวอีกว่า กบข.จะกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของผู้จัดการภายนอกอย่างใกล้ชิด และมีการประเมินผลทุก ๆ 3 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการว่าจ้างผู้จัดการกองทุนที่ช่วยในการกระจายความเสี่ยง และเป็นประโยชน์กับสมาชิกอย่างแท้จริง
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน ส่งผลกระทบให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศชะลอการลงทุน เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆว่า จะมีทิศทางไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในส่วนของการลงทุนเองจะยังอยู่ในระดับที่พอไปได้ ในขณะที่นักลงทุนต่างประเทศมองว่า เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดเหตุการณ์ปัญหาทางการเมืองถือเป็นเรื่องปกติของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
“คิดว่าสถานการณ์การเมืองในตอนนี้ได้ปรับตัวดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมาแล้วแต่ยังไม่จบ ซึ่งนักลงทุนจะต้องรีรอเพื่อดูสถานการณ์ว่าเป็นอย่างไรถึงจะค่อยลงทุน”นายวิสิฐ กล่าว
สำหรับสถานการณ์ลอบวางระเบิดที่เกิดขึ้น นายวิสิฐยอมรับว่า มีผลกระทบต่อการลงทุนในภาพรวมบ้าง เพราะเกิดจากนักลงทุนเกิดความกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีข่าวที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนได้
ส่วนพอร์ตการลงทุนของกบข.จะยังไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุนในขณะนี้ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ เนื่องจาก กบข.จะพิจารณาการปรับพอร์ต เพราะสาเหตุมาจากด้านอัตราดอกเบี้ยเป็นสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการปรับพอร์ตตราสารหนี้ให้มีระยะยาวมากขึ้น ในขณะที่ตราสารทุนไม่มีการปรับใดๆ มากนัก
“ปัจจัยที่เราดูโดยรวมจะเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจซึ่งตอนนี้ยังไปได้ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยยังคงทรงตัวอยู่ โดยในปีนี้หุ้นที่เราลงทุนไม่ว่าจะเป็นพลังงานและหุ้นตัวอื่นๆ ก็มีผลประกอบการคงที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอยู่”นายวิสิฐ กล่าว
ส่วนแนวโน้มการขายตัวของเศรษฐกิจในปี 2549 กบข.คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวเกิน 4% ได้ ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 4-4.5%
นายวิสิฐ กล่าวว่า สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นของกบข.ในช่วงที่ผ่านมา กบข.มีรายได้จากเงินปันผลเฉลี่ยปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้กบข.ได้ปรับพอร์ตการลงทุนใหม่จากเดิมที่ลงทุนในตราสารที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 2.5-2.6 ปี เป็น 3 ปี เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศเชื่อว่าจะชะลอการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ขณะที่สัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ หลังจากที่กบข.ได้รับการคืนเงินจากผู้จัดการกองทุนที่ก่อนหน้านี้ กบข.ว่าจ้างผู้จัดการกองทุนต่างประเทศบริหารพอร์ตให้รวม 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปกบข.จะปรับสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุนเพิ่มเป็น 50:50 เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดทุนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้
ทั้งนี้ เมื่อวานนี้ (28 สิงหาคม) กบข.ได้จัดพิธีลงนามสัญญาว่าจ้างผู้จัดการกองทุนในประเทศเพื่อทำหน้าที่บริหารเงินให้กับกบข. โดยในปีนี้มีบลจ.ที่ได้รับการคัดเลือก 6 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ 1 แห่ง วงเงิน 54,600 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นลงทุนในตราสารทุน 6,000 ล้านบาท และลงทุนในตราสาารหนี้ 48,600 ล้านบาท โดยจะมีการส่งมอบทรัพย์สินให้บลจ.บริหารภายในวันที่ 1 กันยายน 2549
สำหรับบลจ.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนตราสารทุนมี 5 ราย ประกอบด้วย บลจ.กสิกรไทย ,บลจ.วรรณ ,บลจ.ทิสโก้, บลจ.อเบอร์ดีน และบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)
ส่วนบลจ.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ 6 ราย ประกอบด้วย บลจ.ทิสโก้ บลจ.
วรรณ ธนาคารกรุงเทพ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) บลจ.เอ็มเอฟซี และบลจ.กสิกรไทย
เลขาธิการคณะกรรมการกบข. กล่าวอีกว่า กบข.จะกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของผู้จัดการภายนอกอย่างใกล้ชิด และมีการประเมินผลทุก ๆ 3 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการว่าจ้างผู้จัดการกองทุนที่ช่วยในการกระจายความเสี่ยง และเป็นประโยชน์กับสมาชิกอย่างแท้จริง