แฉแผนรัฐบาลกั๊ก พ.ร.ฏ.วันปิดประชุมสภาฯ31 ส.ค.นี้ สนอง"แม้ว"จะเลือกตั้ง 15 ต.ค.ให้ได้ "สุชน"บีบกก.ตรวจสอบประวัติฯว่าที่กกต.ต้องรีบสรุป เพื่อคัดกกต.ในวันที่ 30 ส.ค. ด้าน ส.ว.อิสระโวยรัฐบาลทำแบบนี้ไร้มารยาท เห็นวุฒิสภาสั่งได้ ขณะที่ ผอ.สำนักบริหารการเลือกตั้ง เตือนนักการเมืองหาเสียงต้องระวัง เพราะ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งเริ่มมีผลใช้บังคับวันนี้
วานนี้ (23 ส.ค.)มีรายงานข่าวจากวุฒิสภาว่า ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ และความประพฤติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต. นายสุชน ชาลีเครือ รักษาการประธานวุฒิสภา ได้นำ พ.ร.ฏ.ปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา เข้าแจ้งต่อที่ประชุมด้วยตนเอง หลังจากที่ นายสุชน ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบแล้ว สร้างความงุนงง และประหลาดใจแก่ที่ประชุมเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ นายสุชน ยืนยันจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้ ทั้งๆที่ประชุมได้พยายามท้วงติงว่า กรอบเวลาดังกล่าวจะไม่ทัน และจะเป็นการพิจารณาแบบลวกๆทำให้ได้ กกต.แบบรุ่งริ่ง เสนอต่อที่ประชุมวุฒิ แต่นายสุชน อ้างว่า หากไม่ดำเนินการตามนี้ จะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทได้
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ทางคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติฯ ได้กำหนดกรอบปฏิทินในการทำงานเดิม ที่นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ รักษาการส.ว.กทม. ในฐานะเลขานุการฯ เปิดเผยว่าวันที่ 25 ส.ค.จะปิดรับข้อมูลร้องเรียนทุกอย่าง จากนั้นกรรมาธิการฯ จะเชิญผู้ถูกร้องเรียนมาชี้แจงในวันที่ 29 ส.ค.และจะประชุมสรุปรายงานผลการพิจารณาในวันที่ 31 ส.ค.ซึ่งทุกอย่างจะเสร็จสิ้นในวันที่ 1 ก.ย.และส่งให้ รักษาการประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้เรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อลงมติเลือกกกต. ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ 2-3 ก.ย. หรืออาจจะเลื่อนเป็นวันที่ 4 ก.ย.
แต่เมื่อพ.ร.ฎ.ปิดประชุมสภาออกมาอย่างนี้ จึงเท่ากับเป็นการบีบกรรมาธิการให้ไม่สามารถเลื่อนการคัดเลือกกกต.ออกไปได้
รายงานข่าวแจ้งว่า กรรมาธิการส่วนใหญ่ค่อนข้างประหลาดใจที่วันประกาศปิดประชุมสภาฯ ไม่ออกมาพร้อมกับวันเปิดประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 15 ส.ค.49 ซึ่งเหมือนเป็นการจงใจบีบให้วุฒิสภาฯ ต้องคัดเลือก กกต.ให้เสร็จทันในวันที 30 ส.ค. เพื่อให้ทันการเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค. ตรงกับเจตนารมย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15ต.ค.
ทั้งนี้ประชุมได้หารือวิธีการแก้ปัญหาว่าในระยะเวลาที่รัฐบาลให้มา ถ้าไม่ทันก็ให้ประธานวุฒิสภาเสนอเรื่องไปยังรัฐบาล เพื่อขอเปิดสมัยประชุมสภาฯใหม่ แต่หากมี พ.ร.ฏ.ปิดประชุมสภา ในวันที่ 31 ส.ค.และหากมีการเลือกในวันที่ 30 ส.ค.คณะกรรมาธิการฯชุดนี้ จะใช้เวลาในการตรวจสอบประวัติเพียง 15วัน ไม่ครบกรอบ 20 วัน ตามที่ประชุมวุฒิสภากำหนด ซึ่งคณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยส่วนใหญ่เป็น ส.ว.อิสระ ต่างไม่เห็นด้วย แต่เชื่อว่า กรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่จะพยายามเร่งให้เสร็จทันตาม พ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุม
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ ประกาศ พ.ร.ฎ.เรียกเปิดประชุมสภาในวันที่ 15 ส.ค.49 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา ในวันที่ 31 ส.ค. โดยลงพระปรมาภิไธยในวันเดียวกัน คือวันที่ 11 ส.ค.แต่รัฐบาลกลับประกาศ ออกพ.ร.ฏ.วันเปิด ในวันที่ 11 ส.ค.แต่วันปิดกลับประกาศปิดประชุมสภาฯ ในวันที่ 22 ส.ค.
ด้านนายสุนทร จินดาอินทร์ รักษาการส.ว.กำแพงเพชร กล่าวย้ำอีกครั้งว่า กำหนดปฏิทินทำงานของคณะกรรมาธิการฯ ในวันที่ 26,27 และ 28 ส.ค. ทั้ง 2 อนุกรรมาธิการ จะสรุปผลการสอบสวนเรื่องร้องเรียนให้กับกรรมาธิการฯชุดใหญ่ในวันที่ 28 ส.ค.ที่เป็นวันสุดท้าย ในการชี้แจ้งข้อมูลต่างๆ ก่อนจะส่งให้ ประธานวุฒิสภาฯ เปิดประชุมสภาฯ ในวันที่ 30 ส.ค.เพื่อให้เลือก กกต.ทั้ง 5 คน ซึ่งจะทำให้ดีที่สุด แต่ยอมรับว่า ตนเพิ่งทราบว่าจะต้องปิดประชุมสภาฯ ในวันที่ 30 ส.ค.นี้ เป็นเรื่องของรัฐบาล ที่ พ.ร.ฏ.เพิ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ให้ปิดประชุมสภา
"ไม่ได้รู้สึกถูกบีบ เราได้ทำงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ส่วนเรื่องพ.ร.ฏ.วัดปิดประชุมสภาฯ เพราะปกติประธานวุฒิฯไม่ได้แจ้งสมาชิกล่วงหน้าในวันปิด เป็นเรื่องของรัฐบาล"นายสุนทร กล่าว
นายสัก กอแสงเรือง กล่าวว่า การที่ประธานวุฒิสภาไม่ได้แจ้งเรื่องวันเปิดและปิดประชุมสภาในคราวเดียวกันนั้น อาจมองได้ 2 ทางคือ ทรงโปรดเกล้าฯ มาล่าช้า และรัฐบาลกั๊กออก พ.ร.ฏ.วันปิดประชุมสภาฯไว้ ซึ่งเรื่องนี้ตนยังไม่อยากจะให้มีการวิพากวิจารณ์กันมาก คนที่น่าจะรู้เรื่องนี้ดีที่สุดคือนายสุชน เพราะเป็นคนรับสนองพระบรมราชโองการ
นายการุณ ใสงาม รักษาการ ส.ว.บุรีรัมย์ กล่าวว่า การขอพระราชทานวันเปิด และปิดประชุมสภาฯ ได้ขอไปในวันเดียวกัน ทั้งนี้ใน พ.ร.ฎ.ก็ได้เขียนไว้ชัดเจน ให้ไว้ ณ วันที่ 11 ส.ค.49 ดังนั้น เท่ากันว่ารัฐบาลทราบเรื่อง พ.ร.ฏ.ปิดประชุมสภามานานแล้ว แต่ไม่ยอมบอกวุฒิสภา หรืออาจจะมีคนในวุฒิสภาจงใจที่จะปกปิดไม่ให้สมาชิกรับทราบ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แบบนี้เขาเรียกว่า กั๊ก
นายสมบูรณ์ ทองบุราณ รักษาการ ส.ว.ยโสธร กล่าวว่า การกระทำแบบนี้ของรัฐบาลไม่ได้ปรึกษาหารือกับวุฒิสภา รัฐบาลมองว่า วุฒิสภาเป็นสภาที่สั่งได้ รัฐบาลก็สั่งไป จะปิดอะไรก็ไม่ยอมบอกล่วงหน้า ซึ่งการทำงานรัฐบาลต้องพึ่งถึงมารยาทและผลประโยชน์ชาติให้มาก ไม่อยากจะทำอะไรก็ทำแบบนี้ โดยเฉพาะนายสุชน เองควรจะชี้แจงเรื่องนี้ให้ชัดเจน
**พ.ร.ฎ.เลือกตั้งเริ่มมีผลใช้บังคับวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (24 ส.ค.) พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง จะมีผลใช้บังคับ ซึ่งแม้จะมียังไม่มีกกต.แต่ นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ ผอ.สำนักบริหารการเลือกตั้ง กล่าวว่า ทุกพรรคการเมืองจะต้องระวัง อย่ากระทำการใดที่จะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม มาตรา 44 ของพ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.เพราะถึงไม่มีกกต.ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องเตรียมข้อมูลต่างๆไว้ให้กกต.ใหม่พิจารณาได้ทันทีเมื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงในส่วนที่เกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งที่มาตรา 7 ของกฎหมายเดียวกันระบุว่าจะต้องเริ่มมีการสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ในระบบเขตเลือกตั้งภายใน 20 วัน นับแต่พ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลใช้บังคับ
"วันที่ 12 ก.ย. จะเป็นวันสุดท้ายของการครบกำหนดเวลา 20 วัน นับแต่ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลใช้บังคับ ถ้าหากยังไม่มี กกต.การจะเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค.คงเป็นไปได้ยาก แต่หากมีกกต.ใหม่เข้ามาก่อนวันที่ 12 ก.ย.แม้จะกระชั้นชิด ก็ยังสามารถประกาศขอขยายระยะเวลาได้ โดยกำหนดเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตจากเดิม 8-12 ก.ย.เป็น 12-16 ก.ย.ได้"
ส่วนการแต่งตั้ง กกต.เขต และ ผอ.กต.เขต ที่ปิดรับสมัครแล้วบางเขตมีผู้มาสมัครไม่ครบตามจำนวน ก็ต้องรอกกต.ใหม่มาพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไร
**คาดต้องเลื่อนวันเลือกตั้ง
นายบุญยเกียรติ ยังกล่าวถึงการหาเสียงของพรรคการเมือง ที่ก่อนพ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลใช้บังคับ มีการโฆษณาพรรคผ่านทางสื่อโทรทัศน์แล้วว่า แม้ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลใช้บังคับแล้ว พรรคการเมืองก็ยังดำเนินการได้ แต่กกต.จะนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง ที่ขณะนี้ก็ยังติดปัญหาว่า ยังไม่ได้กำหนดว่าค่าใช้จ่ายในการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละรายควรเป็นเท่าใด
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้การลงพื้นที่ปฏิบัติราชการของนายกฯ ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเข้าข่ายหาเสียงเลือกตั้ง นายบุญยเกียรติ กล่าวว่า ต้องพิจารณาว่าเป็นการกระทำในนามรัฐบาล หรือพรรคการเมือง แต่เข้าใจว่าขณะนี้ฝ่ายสืบสวนสอบสวนกกต.ได้เก็บข้อมูลการลงพื้นที่ของนายกฯ ในช่วงที่ผ่านมาไว้เสนอกกต.ใหม่พิจารณาแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า แม้จะมีกกต.ใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว ทางสำนักงานกกต.ก็คิดว่า น่าที่จะเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปก่อน เพื่อให้กกต.ได้เข้ามาปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน และ บุคคลกร เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม เพราะหากเดินหน้าเลือกตั้ง ก็จะทำได้เพียงการพิจารณาแจกใบเหลือง ใบแดง ตามสำนวนที่เจ้าหน้าที่ กกต.เตรียมไว้เท่านั้น แต่ จะขยายเลือกตั้งเป็นวันใด จะเป็นต้นเดือน ธ.ค. อย่างที่หลายฝ่ายต้องการหรือไม่ กกต.ใหม่คงต้องพิจารณาหารือร่วมกับพรรคการเมืองและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และจะต้องมีการกราบบังคมทูลเพื่อขอแก้ไข พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ซึ่งทั้งหมดเชื่อว่าน่าจะมีความชัดเจนในวันที่ 12 ก.ย. ที่เป็นวันสุดท้ายที่ กกต.จะต้องประกาศรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขต
วานนี้ (23 ส.ค.)มีรายงานข่าวจากวุฒิสภาว่า ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ และความประพฤติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต. นายสุชน ชาลีเครือ รักษาการประธานวุฒิสภา ได้นำ พ.ร.ฏ.ปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา เข้าแจ้งต่อที่ประชุมด้วยตนเอง หลังจากที่ นายสุชน ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบแล้ว สร้างความงุนงง และประหลาดใจแก่ที่ประชุมเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ นายสุชน ยืนยันจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้ ทั้งๆที่ประชุมได้พยายามท้วงติงว่า กรอบเวลาดังกล่าวจะไม่ทัน และจะเป็นการพิจารณาแบบลวกๆทำให้ได้ กกต.แบบรุ่งริ่ง เสนอต่อที่ประชุมวุฒิ แต่นายสุชน อ้างว่า หากไม่ดำเนินการตามนี้ จะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทได้
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ทางคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติฯ ได้กำหนดกรอบปฏิทินในการทำงานเดิม ที่นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ รักษาการส.ว.กทม. ในฐานะเลขานุการฯ เปิดเผยว่าวันที่ 25 ส.ค.จะปิดรับข้อมูลร้องเรียนทุกอย่าง จากนั้นกรรมาธิการฯ จะเชิญผู้ถูกร้องเรียนมาชี้แจงในวันที่ 29 ส.ค.และจะประชุมสรุปรายงานผลการพิจารณาในวันที่ 31 ส.ค.ซึ่งทุกอย่างจะเสร็จสิ้นในวันที่ 1 ก.ย.และส่งให้ รักษาการประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้เรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อลงมติเลือกกกต. ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ 2-3 ก.ย. หรืออาจจะเลื่อนเป็นวันที่ 4 ก.ย.
แต่เมื่อพ.ร.ฎ.ปิดประชุมสภาออกมาอย่างนี้ จึงเท่ากับเป็นการบีบกรรมาธิการให้ไม่สามารถเลื่อนการคัดเลือกกกต.ออกไปได้
รายงานข่าวแจ้งว่า กรรมาธิการส่วนใหญ่ค่อนข้างประหลาดใจที่วันประกาศปิดประชุมสภาฯ ไม่ออกมาพร้อมกับวันเปิดประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 15 ส.ค.49 ซึ่งเหมือนเป็นการจงใจบีบให้วุฒิสภาฯ ต้องคัดเลือก กกต.ให้เสร็จทันในวันที 30 ส.ค. เพื่อให้ทันการเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค. ตรงกับเจตนารมย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15ต.ค.
ทั้งนี้ประชุมได้หารือวิธีการแก้ปัญหาว่าในระยะเวลาที่รัฐบาลให้มา ถ้าไม่ทันก็ให้ประธานวุฒิสภาเสนอเรื่องไปยังรัฐบาล เพื่อขอเปิดสมัยประชุมสภาฯใหม่ แต่หากมี พ.ร.ฏ.ปิดประชุมสภา ในวันที่ 31 ส.ค.และหากมีการเลือกในวันที่ 30 ส.ค.คณะกรรมาธิการฯชุดนี้ จะใช้เวลาในการตรวจสอบประวัติเพียง 15วัน ไม่ครบกรอบ 20 วัน ตามที่ประชุมวุฒิสภากำหนด ซึ่งคณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยส่วนใหญ่เป็น ส.ว.อิสระ ต่างไม่เห็นด้วย แต่เชื่อว่า กรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่จะพยายามเร่งให้เสร็จทันตาม พ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุม
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ ประกาศ พ.ร.ฎ.เรียกเปิดประชุมสภาในวันที่ 15 ส.ค.49 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา ในวันที่ 31 ส.ค. โดยลงพระปรมาภิไธยในวันเดียวกัน คือวันที่ 11 ส.ค.แต่รัฐบาลกลับประกาศ ออกพ.ร.ฏ.วันเปิด ในวันที่ 11 ส.ค.แต่วันปิดกลับประกาศปิดประชุมสภาฯ ในวันที่ 22 ส.ค.
ด้านนายสุนทร จินดาอินทร์ รักษาการส.ว.กำแพงเพชร กล่าวย้ำอีกครั้งว่า กำหนดปฏิทินทำงานของคณะกรรมาธิการฯ ในวันที่ 26,27 และ 28 ส.ค. ทั้ง 2 อนุกรรมาธิการ จะสรุปผลการสอบสวนเรื่องร้องเรียนให้กับกรรมาธิการฯชุดใหญ่ในวันที่ 28 ส.ค.ที่เป็นวันสุดท้าย ในการชี้แจ้งข้อมูลต่างๆ ก่อนจะส่งให้ ประธานวุฒิสภาฯ เปิดประชุมสภาฯ ในวันที่ 30 ส.ค.เพื่อให้เลือก กกต.ทั้ง 5 คน ซึ่งจะทำให้ดีที่สุด แต่ยอมรับว่า ตนเพิ่งทราบว่าจะต้องปิดประชุมสภาฯ ในวันที่ 30 ส.ค.นี้ เป็นเรื่องของรัฐบาล ที่ พ.ร.ฏ.เพิ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ให้ปิดประชุมสภา
"ไม่ได้รู้สึกถูกบีบ เราได้ทำงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ส่วนเรื่องพ.ร.ฏ.วัดปิดประชุมสภาฯ เพราะปกติประธานวุฒิฯไม่ได้แจ้งสมาชิกล่วงหน้าในวันปิด เป็นเรื่องของรัฐบาล"นายสุนทร กล่าว
นายสัก กอแสงเรือง กล่าวว่า การที่ประธานวุฒิสภาไม่ได้แจ้งเรื่องวันเปิดและปิดประชุมสภาในคราวเดียวกันนั้น อาจมองได้ 2 ทางคือ ทรงโปรดเกล้าฯ มาล่าช้า และรัฐบาลกั๊กออก พ.ร.ฏ.วันปิดประชุมสภาฯไว้ ซึ่งเรื่องนี้ตนยังไม่อยากจะให้มีการวิพากวิจารณ์กันมาก คนที่น่าจะรู้เรื่องนี้ดีที่สุดคือนายสุชน เพราะเป็นคนรับสนองพระบรมราชโองการ
นายการุณ ใสงาม รักษาการ ส.ว.บุรีรัมย์ กล่าวว่า การขอพระราชทานวันเปิด และปิดประชุมสภาฯ ได้ขอไปในวันเดียวกัน ทั้งนี้ใน พ.ร.ฎ.ก็ได้เขียนไว้ชัดเจน ให้ไว้ ณ วันที่ 11 ส.ค.49 ดังนั้น เท่ากันว่ารัฐบาลทราบเรื่อง พ.ร.ฏ.ปิดประชุมสภามานานแล้ว แต่ไม่ยอมบอกวุฒิสภา หรืออาจจะมีคนในวุฒิสภาจงใจที่จะปกปิดไม่ให้สมาชิกรับทราบ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แบบนี้เขาเรียกว่า กั๊ก
นายสมบูรณ์ ทองบุราณ รักษาการ ส.ว.ยโสธร กล่าวว่า การกระทำแบบนี้ของรัฐบาลไม่ได้ปรึกษาหารือกับวุฒิสภา รัฐบาลมองว่า วุฒิสภาเป็นสภาที่สั่งได้ รัฐบาลก็สั่งไป จะปิดอะไรก็ไม่ยอมบอกล่วงหน้า ซึ่งการทำงานรัฐบาลต้องพึ่งถึงมารยาทและผลประโยชน์ชาติให้มาก ไม่อยากจะทำอะไรก็ทำแบบนี้ โดยเฉพาะนายสุชน เองควรจะชี้แจงเรื่องนี้ให้ชัดเจน
**พ.ร.ฎ.เลือกตั้งเริ่มมีผลใช้บังคับวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (24 ส.ค.) พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง จะมีผลใช้บังคับ ซึ่งแม้จะมียังไม่มีกกต.แต่ นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ ผอ.สำนักบริหารการเลือกตั้ง กล่าวว่า ทุกพรรคการเมืองจะต้องระวัง อย่ากระทำการใดที่จะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม มาตรา 44 ของพ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.เพราะถึงไม่มีกกต.ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องเตรียมข้อมูลต่างๆไว้ให้กกต.ใหม่พิจารณาได้ทันทีเมื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงในส่วนที่เกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งที่มาตรา 7 ของกฎหมายเดียวกันระบุว่าจะต้องเริ่มมีการสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ในระบบเขตเลือกตั้งภายใน 20 วัน นับแต่พ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลใช้บังคับ
"วันที่ 12 ก.ย. จะเป็นวันสุดท้ายของการครบกำหนดเวลา 20 วัน นับแต่ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลใช้บังคับ ถ้าหากยังไม่มี กกต.การจะเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค.คงเป็นไปได้ยาก แต่หากมีกกต.ใหม่เข้ามาก่อนวันที่ 12 ก.ย.แม้จะกระชั้นชิด ก็ยังสามารถประกาศขอขยายระยะเวลาได้ โดยกำหนดเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตจากเดิม 8-12 ก.ย.เป็น 12-16 ก.ย.ได้"
ส่วนการแต่งตั้ง กกต.เขต และ ผอ.กต.เขต ที่ปิดรับสมัครแล้วบางเขตมีผู้มาสมัครไม่ครบตามจำนวน ก็ต้องรอกกต.ใหม่มาพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไร
**คาดต้องเลื่อนวันเลือกตั้ง
นายบุญยเกียรติ ยังกล่าวถึงการหาเสียงของพรรคการเมือง ที่ก่อนพ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลใช้บังคับ มีการโฆษณาพรรคผ่านทางสื่อโทรทัศน์แล้วว่า แม้ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลใช้บังคับแล้ว พรรคการเมืองก็ยังดำเนินการได้ แต่กกต.จะนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง ที่ขณะนี้ก็ยังติดปัญหาว่า ยังไม่ได้กำหนดว่าค่าใช้จ่ายในการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละรายควรเป็นเท่าใด
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้การลงพื้นที่ปฏิบัติราชการของนายกฯ ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเข้าข่ายหาเสียงเลือกตั้ง นายบุญยเกียรติ กล่าวว่า ต้องพิจารณาว่าเป็นการกระทำในนามรัฐบาล หรือพรรคการเมือง แต่เข้าใจว่าขณะนี้ฝ่ายสืบสวนสอบสวนกกต.ได้เก็บข้อมูลการลงพื้นที่ของนายกฯ ในช่วงที่ผ่านมาไว้เสนอกกต.ใหม่พิจารณาแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า แม้จะมีกกต.ใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว ทางสำนักงานกกต.ก็คิดว่า น่าที่จะเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปก่อน เพื่อให้กกต.ได้เข้ามาปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน และ บุคคลกร เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม เพราะหากเดินหน้าเลือกตั้ง ก็จะทำได้เพียงการพิจารณาแจกใบเหลือง ใบแดง ตามสำนวนที่เจ้าหน้าที่ กกต.เตรียมไว้เท่านั้น แต่ จะขยายเลือกตั้งเป็นวันใด จะเป็นต้นเดือน ธ.ค. อย่างที่หลายฝ่ายต้องการหรือไม่ กกต.ใหม่คงต้องพิจารณาหารือร่วมกับพรรคการเมืองและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และจะต้องมีการกราบบังคมทูลเพื่อขอแก้ไข พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ซึ่งทั้งหมดเชื่อว่าน่าจะมีความชัดเจนในวันที่ 12 ก.ย. ที่เป็นวันสุดท้ายที่ กกต.จะต้องประกาศรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขต