"สุชน" ออกแถลงการณ์ พร้อมยื่นเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยคุณสมบัติว่าที่ป.ป.ช.เกี่ยวกับเรื่องต้องเป็นอธิบดี หรือเทียบเท่า แล้ว ด้านศาลรธน.เตรียมพิจารณารับคำร้องคุณสมบัติว่าที่ ป.ป.ช.ไว้ในสารบบหรือไม่ 24 ส.ค.นี้
วานนี้ (21 ส.ค.)นายสุชน ชาลีเครือ รักษาการประธานวุฒิสภา ได้ออกแถลงการณ์ กรณีเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ โดยแถลงการณ์ระบุว่า
ตามที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 2 สมัยวิสามัญได้พิจารณาเรื่องการเลือก ป.ป.ช. โดยก่อนการประชุมนั้นที่ ประชุมได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ และความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งป.ป.ช.ตามมาตรา 135 ของรัฐธรรมนูญ โดยผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นป.ป.ช.ทั้ง 18 คน มี 5 คน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติตาม มาตรา 256 (3) ของรัฐธรรมนูญประกอบมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจรตแห่งชาติ พ.ศ.2542 กรณีคำว่า อธิบดี หรือ เทียบเท่า โดยที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯเพื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตาม มาตรา 266 จึงเป็นผลทำให้วุฒิสภา ไม่สามารถดำเนินการพิจารณาเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช.ตาม มาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญต่อไปได้
ประธานวุฒิสภา จึงได้มีหนังสือกราบเรียนประธานรัฐสภา เพื่อให้พิจารณาเสนอประเด็นปัญหาในเรื่องที่วุฒิสภา มีมติดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไป
แถลงการณ์ ระบุอีกว่า ประธานวุฒิสภาในฐานะผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภา พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการสรรหา กับวุฒิสภาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงถือได้ว่า วุฒิสภามีปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ว่าจะสามารถเลือก ป.ป.ช.จากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอเพียงใด ทั้งยังเป็นปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างคณะกรรมการสรรหาฯ กับวุฒิสภาด้วย เพราะคณะกรรมการสรรหา เสนอรายชื่อผู้ที่วุฒิสภาเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติในการเป็นป.ป.ช.จำนวน 5 คน แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการสรรหาเห็นว่า 5 คนนี้ สามารถดำรงตำแหน่งป.ป.ช.ได้ แต่วุฒิสภาเห็นต่างว่า 5 คนนี้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ป.ป.ช.ได้ จึงถือได้ว่า ขณะนี้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญแล้ว ในฐานะผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา จึงจำเป็นต้องส่งเรื่องมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยต่อไป
"จากความขัดแย้งข้างต้น ในฐานะผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาจึงเห็นชอบให้จัดทำคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลผู้ได้รับการสรรหาจำนวน 5 คน ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่จะเป็น ป.ป.ช.แห่งชาติหรือไม่ โดยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อ วันจันทร์ที่ 21 ส.ค.49" แถลงการณ์ ระบุ
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เมื่อคำร้องส่งมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ 22 ส.ค. ซึ่งจะมีการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะตุลาการให้รับทราบ เพื่อนำคำร้องดังกล่าวไปพิจารณาศึกษาก่อนที่จะบรรจุเข้าสู่การประชุม เพื่อพิจารณาว่า จะรับคำร้องเข้าสู่สารบบหรือไม่ ในวันพฤหัสที่ 24 ส.ค.ต่อไป และ จะหารือร่วมกับ นายอุระ หวังอ้อมกลาง ประธานตุลการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าเห็นควรอย่างไรในการดำเนินกระบวนพิจารณาคำร้องดังกล่าว
วานนี้ (21 ส.ค.)นายสุชน ชาลีเครือ รักษาการประธานวุฒิสภา ได้ออกแถลงการณ์ กรณีเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ โดยแถลงการณ์ระบุว่า
ตามที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 2 สมัยวิสามัญได้พิจารณาเรื่องการเลือก ป.ป.ช. โดยก่อนการประชุมนั้นที่ ประชุมได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ และความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งป.ป.ช.ตามมาตรา 135 ของรัฐธรรมนูญ โดยผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นป.ป.ช.ทั้ง 18 คน มี 5 คน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติตาม มาตรา 256 (3) ของรัฐธรรมนูญประกอบมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจรตแห่งชาติ พ.ศ.2542 กรณีคำว่า อธิบดี หรือ เทียบเท่า โดยที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯเพื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตาม มาตรา 266 จึงเป็นผลทำให้วุฒิสภา ไม่สามารถดำเนินการพิจารณาเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช.ตาม มาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญต่อไปได้
ประธานวุฒิสภา จึงได้มีหนังสือกราบเรียนประธานรัฐสภา เพื่อให้พิจารณาเสนอประเด็นปัญหาในเรื่องที่วุฒิสภา มีมติดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไป
แถลงการณ์ ระบุอีกว่า ประธานวุฒิสภาในฐานะผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภา พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการสรรหา กับวุฒิสภาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงถือได้ว่า วุฒิสภามีปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ว่าจะสามารถเลือก ป.ป.ช.จากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอเพียงใด ทั้งยังเป็นปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างคณะกรรมการสรรหาฯ กับวุฒิสภาด้วย เพราะคณะกรรมการสรรหา เสนอรายชื่อผู้ที่วุฒิสภาเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติในการเป็นป.ป.ช.จำนวน 5 คน แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการสรรหาเห็นว่า 5 คนนี้ สามารถดำรงตำแหน่งป.ป.ช.ได้ แต่วุฒิสภาเห็นต่างว่า 5 คนนี้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ป.ป.ช.ได้ จึงถือได้ว่า ขณะนี้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญแล้ว ในฐานะผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา จึงจำเป็นต้องส่งเรื่องมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยต่อไป
"จากความขัดแย้งข้างต้น ในฐานะผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาจึงเห็นชอบให้จัดทำคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลผู้ได้รับการสรรหาจำนวน 5 คน ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่จะเป็น ป.ป.ช.แห่งชาติหรือไม่ โดยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อ วันจันทร์ที่ 21 ส.ค.49" แถลงการณ์ ระบุ
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เมื่อคำร้องส่งมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ 22 ส.ค. ซึ่งจะมีการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะตุลาการให้รับทราบ เพื่อนำคำร้องดังกล่าวไปพิจารณาศึกษาก่อนที่จะบรรจุเข้าสู่การประชุม เพื่อพิจารณาว่า จะรับคำร้องเข้าสู่สารบบหรือไม่ ในวันพฤหัสที่ 24 ส.ค.ต่อไป และ จะหารือร่วมกับ นายอุระ หวังอ้อมกลาง ประธานตุลการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าเห็นควรอย่างไรในการดำเนินกระบวนพิจารณาคำร้องดังกล่าว