ไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รั้งท้ายอันดับโลก 14 ภาคีเครือข่ายเตรียมยื่นหนังสือเสนอห้ามแจกนมผสมใน รพ.วันนี้ ชี้ไทยฝ่าฝืนข้อตกลง WHO แอบแจกใน รพ.ให้คุณแม่คนใหม่ แถมบางโรงพยาบาล แพทย์เป็นผู้แนะนำc มีการตั้งโต๊ะแจกชิมฟรี ขณะที่งานวิจัยชัดบริษัทแจกฟรีอ้างการกุศลที่แท้กลยุทธ์บริษัทนมล่อติดกับทำให้เด็กเลิกกินนมแม่
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยงรอง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น่าเป็นห่วง มีแม่เพียง 10% ที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวใน 6 เดือน ซึ่งจากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟพบว่าประเทศไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รั้งท้ายอันดับโลก โดยมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียง 4% เท่านั้น เนื่องจากละเมิดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2538 โดยมีการแจกนมผสมให้กับแม่หลังคลอดในโรงพยาบาล ซึ่งกรมอนามัยสำรวจเมื่อปี 2546 ก็พบว่าในกลุ่มแม่ที่เลี้ยงลูกช่วงวัย 6 เดือนแรกด้วยนมผสม เป็นแม่ที่ได้รับแจกตัวอย่างนมผสมหลังคลอดสูงถึง 60%
ทั้งนี้ ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยได้สำรวจการแจกนมผสมสำหรับทารกใน รพ. เดือน ก.ค.-ส.ค.2549 จากบุคลากรสาธารณสุข และเครือข่ายนมแม่ใน 4 ภาค และกรุงเทพฯ รวม 24 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช พบ รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเกือบทุกแห่ง ไม่แจกตัวอย่างนมผสม ตามนโยบาย รพ.สายสัมพันธ์แม่ลูก แต่พบการแจกตัวอย่างนมผสมใน รพ.เอกชนทุกจังหวัด รวมถึง รพ.เอกชนที่มีชื่อเสียงเกือบทุกแห่งในกรุงเทพฯ และ รพ.ของรัฐที่ไม่สังกัดกระทรวง และยังพบการแจกนมผสมทั้งในคลินิกหมอสูติฯ และคลินิกหมอเด็ก
“บางโรงพยาบาล แพทย์เป็นผู้แนะนำให้ใช้นมผสม บางโรงพยาบาลมีการตั้งโต๊ะแจกชิมฟรี มีเจ้าหน้าที่คอยเชียร์อยู่ข้างๆ ทำเหมือนให้ความรู้ หลายแห่งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเป็นตัวแทนจำหน่าย บางโรงพยาบาลให้เด็กกินนมตั้งแต่ในห้องคลอด หรือแจกฟรีให้แม่หลังคลอด โดยเขียนข้างกล่อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่า “ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษาทางการแพทย์ห้ามจำหน่าย” บริษัทนมบางแห่งให้เจ้าหน้าที่อนามัยเป็นตัวแทนจำหน่ายเอง นอกจากนั้นยังมีบางบริษัทไปแจกถึงเทศบาล หรือที่ว่าการอำเภอ เพราะจะมีคุณแม่ไปแจ้งเกิดให้ลูก และหลายบริษัทเข้าไปแจกในสำนักงานประกันสังคมจังหวัด เพราะคุณแม่จะไปเบิกค่าทำคลอด” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว
ทพ.ศิริเกียรติ กล่าวอีกว่า การแจกตัวอย่างนมผสมเป็นกลยุทธ์การตลาดที่บริษัททำมาอย่างต่อเนื่องในไทย โดยอาศัยบุคลากรสาธารณสุข และสถานบริการสาธารณสุข เพราะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เสียค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับการโฆษณาตามสื่อต่างๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นน่าห่วงมาก จึงขอวิงวอนแพทย์ พยาบาลไม่ควรตกเป็นเครื่องมือของบริษัทนมผสม
ด้านพญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช กรรมการโภชนาประถมวัยแห่งชาติ กล่าวว่า จากการสำรวจสำรวจพบ 95% ของแม่ที่ได้รับตัวอย่างนมผสมจากโรงพยาบาลจะซื้อนมผสมยี่ห้อเดียวกับที่ได้รับ และอีกหลายงานวิจัยในต่างประเทศยืนยันว่า การแจกตัวอย่างนมผสมดัดแปลงสำหรับทารกแก่แม่หลังคลอดเมื่อออกจากโรงพยาบาล ทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง เพราะเมื่อให้นมผสมร่วมไปกับนมแม่การสร้างน้ำนมแม่จะลดลงและแห้งไปในที่สุด สุดท้ายแม่จะต้องหันมาใช้นมผสมชนิดนั้นเลี้ยงลูก นั่นคือบริษัทได้ผลกำไรกลับคืน
ขณะที่พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้จัดการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวย้ำว่า นมแม่เป็นอาหารมหัศจรรย์ที่ดีที่สุดสำหรับทารกโดยเฉพาะระยะ 6 เดือนแรกของชีวิต เพราะทารกที่กินนมแม่จะมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยกว่าเด็กที่ได้รับนมผสม 2-7 เท่า
ที่สำคัญเด็กที่กินนมแม่ มีโอกาสพัฒนาทางสมอง (ไอคิว) ได้ดีกว่านมผสมตั้งแต่ 2 ถึง 11 จุด เพราะมีไขมันที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมองทารก เช่น สาร DHA และ AA ซึ่งต่างจากการเติมสารนี้ในนมผสม ที่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญ ไม่ยอมรับให้มีการโฆษณาว่าทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองดี
นอกจากนั้น อ้อมกอด การสัมผัส และการพูดคุยจากแม่ในทุกครั้งที่กินนมแม่ อย่างน้อยก็วันละ 8-10 ครั้ง ช่วยพัฒนาสมองลูกได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีผลดีต่อแม่ ทำให้น้ำหนักเข้าที่ได้ดี โอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม ก็น้อยกว่าอีกด้วย
ทั้งนี้ ภาคีเครือข่ายนมแม่ 14 องค์กร อาทิ กลุ่มนมแม่ สถาบันครอบครัวฯ จะเดินทางเข้าพบนายพินิจ จารุสมบัติ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 22 ส.ค. โดยเสนอมาตรการ 3 ข้อ คือ 1.ขอให้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายไม่แจกนมผสมตัวอย่างในโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน 2.เมื่อไม่มีมาตรการแจกนมแล้ว สำหรับกรณีความจำเป็นทางการแพทย์ที่จะต้องให้นมผสม สธ.จะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อไม่ให้การซื้อนมผสมเป็นไปตามกลยุทธ์ทางการตลาด และข้อ 3. สสส.จะสนับสนุนทำสื่อโปสเตอร์ในการเผยแพร่ความรู้และนำไปติดไว้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยงรอง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น่าเป็นห่วง มีแม่เพียง 10% ที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวใน 6 เดือน ซึ่งจากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟพบว่าประเทศไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รั้งท้ายอันดับโลก โดยมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียง 4% เท่านั้น เนื่องจากละเมิดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2538 โดยมีการแจกนมผสมให้กับแม่หลังคลอดในโรงพยาบาล ซึ่งกรมอนามัยสำรวจเมื่อปี 2546 ก็พบว่าในกลุ่มแม่ที่เลี้ยงลูกช่วงวัย 6 เดือนแรกด้วยนมผสม เป็นแม่ที่ได้รับแจกตัวอย่างนมผสมหลังคลอดสูงถึง 60%
ทั้งนี้ ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยได้สำรวจการแจกนมผสมสำหรับทารกใน รพ. เดือน ก.ค.-ส.ค.2549 จากบุคลากรสาธารณสุข และเครือข่ายนมแม่ใน 4 ภาค และกรุงเทพฯ รวม 24 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช พบ รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเกือบทุกแห่ง ไม่แจกตัวอย่างนมผสม ตามนโยบาย รพ.สายสัมพันธ์แม่ลูก แต่พบการแจกตัวอย่างนมผสมใน รพ.เอกชนทุกจังหวัด รวมถึง รพ.เอกชนที่มีชื่อเสียงเกือบทุกแห่งในกรุงเทพฯ และ รพ.ของรัฐที่ไม่สังกัดกระทรวง และยังพบการแจกนมผสมทั้งในคลินิกหมอสูติฯ และคลินิกหมอเด็ก
“บางโรงพยาบาล แพทย์เป็นผู้แนะนำให้ใช้นมผสม บางโรงพยาบาลมีการตั้งโต๊ะแจกชิมฟรี มีเจ้าหน้าที่คอยเชียร์อยู่ข้างๆ ทำเหมือนให้ความรู้ หลายแห่งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเป็นตัวแทนจำหน่าย บางโรงพยาบาลให้เด็กกินนมตั้งแต่ในห้องคลอด หรือแจกฟรีให้แม่หลังคลอด โดยเขียนข้างกล่อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่า “ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษาทางการแพทย์ห้ามจำหน่าย” บริษัทนมบางแห่งให้เจ้าหน้าที่อนามัยเป็นตัวแทนจำหน่ายเอง นอกจากนั้นยังมีบางบริษัทไปแจกถึงเทศบาล หรือที่ว่าการอำเภอ เพราะจะมีคุณแม่ไปแจ้งเกิดให้ลูก และหลายบริษัทเข้าไปแจกในสำนักงานประกันสังคมจังหวัด เพราะคุณแม่จะไปเบิกค่าทำคลอด” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว
ทพ.ศิริเกียรติ กล่าวอีกว่า การแจกตัวอย่างนมผสมเป็นกลยุทธ์การตลาดที่บริษัททำมาอย่างต่อเนื่องในไทย โดยอาศัยบุคลากรสาธารณสุข และสถานบริการสาธารณสุข เพราะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เสียค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับการโฆษณาตามสื่อต่างๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นน่าห่วงมาก จึงขอวิงวอนแพทย์ พยาบาลไม่ควรตกเป็นเครื่องมือของบริษัทนมผสม
ด้านพญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช กรรมการโภชนาประถมวัยแห่งชาติ กล่าวว่า จากการสำรวจสำรวจพบ 95% ของแม่ที่ได้รับตัวอย่างนมผสมจากโรงพยาบาลจะซื้อนมผสมยี่ห้อเดียวกับที่ได้รับ และอีกหลายงานวิจัยในต่างประเทศยืนยันว่า การแจกตัวอย่างนมผสมดัดแปลงสำหรับทารกแก่แม่หลังคลอดเมื่อออกจากโรงพยาบาล ทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง เพราะเมื่อให้นมผสมร่วมไปกับนมแม่การสร้างน้ำนมแม่จะลดลงและแห้งไปในที่สุด สุดท้ายแม่จะต้องหันมาใช้นมผสมชนิดนั้นเลี้ยงลูก นั่นคือบริษัทได้ผลกำไรกลับคืน
ขณะที่พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้จัดการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวย้ำว่า นมแม่เป็นอาหารมหัศจรรย์ที่ดีที่สุดสำหรับทารกโดยเฉพาะระยะ 6 เดือนแรกของชีวิต เพราะทารกที่กินนมแม่จะมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยกว่าเด็กที่ได้รับนมผสม 2-7 เท่า
ที่สำคัญเด็กที่กินนมแม่ มีโอกาสพัฒนาทางสมอง (ไอคิว) ได้ดีกว่านมผสมตั้งแต่ 2 ถึง 11 จุด เพราะมีไขมันที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมองทารก เช่น สาร DHA และ AA ซึ่งต่างจากการเติมสารนี้ในนมผสม ที่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญ ไม่ยอมรับให้มีการโฆษณาว่าทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองดี
นอกจากนั้น อ้อมกอด การสัมผัส และการพูดคุยจากแม่ในทุกครั้งที่กินนมแม่ อย่างน้อยก็วันละ 8-10 ครั้ง ช่วยพัฒนาสมองลูกได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีผลดีต่อแม่ ทำให้น้ำหนักเข้าที่ได้ดี โอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม ก็น้อยกว่าอีกด้วย
ทั้งนี้ ภาคีเครือข่ายนมแม่ 14 องค์กร อาทิ กลุ่มนมแม่ สถาบันครอบครัวฯ จะเดินทางเข้าพบนายพินิจ จารุสมบัติ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 22 ส.ค. โดยเสนอมาตรการ 3 ข้อ คือ 1.ขอให้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายไม่แจกนมผสมตัวอย่างในโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน 2.เมื่อไม่มีมาตรการแจกนมแล้ว สำหรับกรณีความจำเป็นทางการแพทย์ที่จะต้องให้นมผสม สธ.จะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อไม่ให้การซื้อนมผสมเป็นไปตามกลยุทธ์ทางการตลาด และข้อ 3. สสส.จะสนับสนุนทำสื่อโปสเตอร์ในการเผยแพร่ความรู้และนำไปติดไว้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง