กองการตลาดเพื่อการลงทุน
การกลับมาของค่ายรถตะวันตกในประเทศไทย
แม้ในระยะแรกของนโยบายการเปิดเสรี การลงทุนส่วนใหญ่จะ เป็นของบริษัทญี่ปุ่น แต่ต่อมาบริษัทรถยนต์ของสหรัฐฯ หลังยกเลิกการประกอบรถยนต์ในไทยไปนานนับ 20 ปี ก็ได้กลับมาตั้งฐานการผลิตในเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เริ่มจากฟอร์ดและมาสด้าตกลงเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนจัดตั้งฐานการประกอบรถยนต์ปิกอัพที่ จังหวัดระยอง โดยก่อสร้างโรงงานเสร็จและเปิดดำเนินการในปี 2543
การเข้ามาของค่ายรถยนต์สหรัฐอเมริกาส่งผลใหผู้ผลิตชิ้นส่วนของสหรัฐฯ และยุโรปเริ่มเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อป้อนชิ้นส่วนแก่บริษัทฟอร์ด และ GM เพิ่มขึ้น
2540 วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมยานยนต์มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และสามารถผลิตได้ถึง 558,365 คัน ในปี 2539 แต่หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจการผลิตรถยนต์ในประเทศลดลงเหลือเพียง 158,130 คัน ในปี 2541 การหดตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ทำให้ผู้ผลิตต้องหาทางอยู่รอดเพื่อทดแทนตลาดที่หายไป โดยการส่งออกมากขึ้น และเนื่องจากประเทศไทยสามารถผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นกว่า 12 เท่า ของปี 2539 ในปี 2544 และอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก็ได้กลับมาเติบโตอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการพลิกฟื้นที่สามารถเรียกได้ว่า พลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 2 รองจากคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน
ยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศตามข้อตกลง WTO
ปี 2542 ด้วยความกดดันจากกระแสการค้าเสรีทั่วโลก ซึ่งถูกผลักดันโดยองค์การการค้าโลก (WTO) ประกอบกับการหาทางออกเพื่อรักษาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้อยู่รอดหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 รัฐบาลจึงประกาศยกเลิกมาตรการบังคับใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศซึ่งดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 30 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2543 ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดมาตรการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าชิ้นส่วน CKD จากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 33 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบรถยนต์ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศต่อไปด้วย
ช่วงที่ 3 ปี 2543 - ปัจจุบันมุ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ในเอเชีย (Automotive Hub Of Asia)
Automotive Hub Of Asia หรือ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งเอเชีย เป็น 1 ใน 3 ของอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์สำคัญของไทยที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ รัฐบาลเล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมยานยนต์มีอัตราการเติบโตสูงและยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมองเห็นว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์นานาประการจากการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน การพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายแขนง เช่น เหล็ก พลาสติก และยาง เป็นต้น
เป้าหมาย “ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก”
ในด้านนโยบาย รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายตามแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างชัดเจนว่า ในปี 2553 ประเทศไทยจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก โดยมียอดผลิตรถยนต์มากกว่า 2 ล้านคัน จะผลิตรถจักรยานยนต์มากกว่า 4 ล้านคัน และส่งออกมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลก้าวมากว่าครึ่งทางแล้ว โดยมีการผลิตรถยนต์ได้ 1 ล้านคันไปแล้วในเดือนกรกฎาคม 2548 และไทยได้เลื่อนอันดับขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 14 ของโลกแทนที่อิตาลี
การกำหนดเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลได้ร่วมกับภาคเอกชนในการหามาตรการต่างๆ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การผลิตรถยนต์ทางเลือกใหม่ (Eco- Car Project) โครงการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชิ้นส่วนยานยนต์ โครงการกำหนดมาตรฐานยานยนต์ โครงการศูนย์ทดสอบและวิจัยพัฒนายานยนต์ และโครงการศูนย์เทคโนโลยีการออกแบบพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งโครงการบางอย่างได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว
การย้ายฐานการผลิตรถ Pick up ของค่ายรถต่างๆ มาที่ประเทศไทย
รัฐบาลได้เร่งเครื่องเต็มที่เพื่อทำให้ไทยกลายเป็น Automotive Hub of Asia ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีการปรับปรุงสิทธิและประโยชน์เพิ่มขึ้น เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนกิจการประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนมากขึ้น โดยการส่งเสริมประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนเป็น Cluster หรือเป็น Package ซึ่งผู้ขอรับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นภาษีเครื่องจักรทั้ง Package ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบรถยนต์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วน ผลจากการปรับปรุงนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในครั้งนี้ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเลือกใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาค
ในปี 2546 โตโยต้าผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตรถปิกอัพเพื่อส่งออกจากญี่ปุ่นมาที่ประเทศไทย ในขณะเดียวกันค่ายนิสสันก็ได้ประกาศปรับกลยุทธ์การบริหารและการผลิต และลงทุนเพิ่มเติม โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาค ซึ่งโครงการย้ายฐานการผลิตของทั้ง 2 โครงการนี้ ก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นถึงกว่า 7 หมื่นล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 4,000 คน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายข้อบังคับและผลการดำเนินการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
การกลับมาของค่ายรถตะวันตกในประเทศไทย
แม้ในระยะแรกของนโยบายการเปิดเสรี การลงทุนส่วนใหญ่จะ เป็นของบริษัทญี่ปุ่น แต่ต่อมาบริษัทรถยนต์ของสหรัฐฯ หลังยกเลิกการประกอบรถยนต์ในไทยไปนานนับ 20 ปี ก็ได้กลับมาตั้งฐานการผลิตในเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เริ่มจากฟอร์ดและมาสด้าตกลงเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนจัดตั้งฐานการประกอบรถยนต์ปิกอัพที่ จังหวัดระยอง โดยก่อสร้างโรงงานเสร็จและเปิดดำเนินการในปี 2543
การเข้ามาของค่ายรถยนต์สหรัฐอเมริกาส่งผลใหผู้ผลิตชิ้นส่วนของสหรัฐฯ และยุโรปเริ่มเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อป้อนชิ้นส่วนแก่บริษัทฟอร์ด และ GM เพิ่มขึ้น
2540 วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมยานยนต์มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และสามารถผลิตได้ถึง 558,365 คัน ในปี 2539 แต่หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจการผลิตรถยนต์ในประเทศลดลงเหลือเพียง 158,130 คัน ในปี 2541 การหดตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ทำให้ผู้ผลิตต้องหาทางอยู่รอดเพื่อทดแทนตลาดที่หายไป โดยการส่งออกมากขึ้น และเนื่องจากประเทศไทยสามารถผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นกว่า 12 เท่า ของปี 2539 ในปี 2544 และอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก็ได้กลับมาเติบโตอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการพลิกฟื้นที่สามารถเรียกได้ว่า พลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 2 รองจากคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน
ยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศตามข้อตกลง WTO
ปี 2542 ด้วยความกดดันจากกระแสการค้าเสรีทั่วโลก ซึ่งถูกผลักดันโดยองค์การการค้าโลก (WTO) ประกอบกับการหาทางออกเพื่อรักษาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้อยู่รอดหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 รัฐบาลจึงประกาศยกเลิกมาตรการบังคับใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศซึ่งดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 30 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2543 ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดมาตรการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าชิ้นส่วน CKD จากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 33 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบรถยนต์ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศต่อไปด้วย
ช่วงที่ 3 ปี 2543 - ปัจจุบันมุ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ในเอเชีย (Automotive Hub Of Asia)
Automotive Hub Of Asia หรือ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งเอเชีย เป็น 1 ใน 3 ของอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์สำคัญของไทยที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ รัฐบาลเล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมยานยนต์มีอัตราการเติบโตสูงและยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมองเห็นว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์นานาประการจากการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน การพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายแขนง เช่น เหล็ก พลาสติก และยาง เป็นต้น
เป้าหมาย “ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก”
ในด้านนโยบาย รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายตามแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างชัดเจนว่า ในปี 2553 ประเทศไทยจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก โดยมียอดผลิตรถยนต์มากกว่า 2 ล้านคัน จะผลิตรถจักรยานยนต์มากกว่า 4 ล้านคัน และส่งออกมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลก้าวมากว่าครึ่งทางแล้ว โดยมีการผลิตรถยนต์ได้ 1 ล้านคันไปแล้วในเดือนกรกฎาคม 2548 และไทยได้เลื่อนอันดับขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 14 ของโลกแทนที่อิตาลี
การกำหนดเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลได้ร่วมกับภาคเอกชนในการหามาตรการต่างๆ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การผลิตรถยนต์ทางเลือกใหม่ (Eco- Car Project) โครงการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชิ้นส่วนยานยนต์ โครงการกำหนดมาตรฐานยานยนต์ โครงการศูนย์ทดสอบและวิจัยพัฒนายานยนต์ และโครงการศูนย์เทคโนโลยีการออกแบบพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งโครงการบางอย่างได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว
การย้ายฐานการผลิตรถ Pick up ของค่ายรถต่างๆ มาที่ประเทศไทย
รัฐบาลได้เร่งเครื่องเต็มที่เพื่อทำให้ไทยกลายเป็น Automotive Hub of Asia ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีการปรับปรุงสิทธิและประโยชน์เพิ่มขึ้น เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนกิจการประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนมากขึ้น โดยการส่งเสริมประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนเป็น Cluster หรือเป็น Package ซึ่งผู้ขอรับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นภาษีเครื่องจักรทั้ง Package ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบรถยนต์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วน ผลจากการปรับปรุงนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในครั้งนี้ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเลือกใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาค
ในปี 2546 โตโยต้าผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตรถปิกอัพเพื่อส่งออกจากญี่ปุ่นมาที่ประเทศไทย ในขณะเดียวกันค่ายนิสสันก็ได้ประกาศปรับกลยุทธ์การบริหารและการผลิต และลงทุนเพิ่มเติม โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาค ซึ่งโครงการย้ายฐานการผลิตของทั้ง 2 โครงการนี้ ก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นถึงกว่า 7 หมื่นล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 4,000 คน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายข้อบังคับและผลการดำเนินการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th