สสปน. เล็งเสนอของบประมาณปี 50’ กว่า 800 ล้านบาท ปูฐานบุคลากรไทย และเตรียมความพร้อมในทุกด้านรับมือคู่แข่ง ก่อนก้าวขึ้นแท่นผู้นำและศูนย์กลางตลาดไมซ์ในภูมิภาคภายใน 3 ปีข้างหน้า
ร้อยเอกขจิต หัพนานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน.)ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการ สสปน. แทนนายพีระพงษ์ เอื้อสุนทรวัฒนา ซึ่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กล่าวว่า ช่วงระยะเวลา 4 เดือนนับจากนี้ไป ก่อนที่การสรรหาผู้อำนวยการคนใหม่จะแล้วเสร็จ สสปน. โดยในเบื้องต้นได้เตรียมทำเรื่องเสนอของงบประมาณปี 2550 ไว้ 800 ล้านบาท ซึ่งปีปัจจุบัน สสปน.ได้งบประมาณ 300 ล้านบาท แต่สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบปี 2550 แก่สสปน.เพียง 300 ล้านบาท เท่ากับปีก่อน
หากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อใดตนจะผลักดันต่อ โดยจะมอบเป็นนโยบายไว้ให้กับผู้อำนวยการคนใหม่ที่จะมารับตำแหน่ง ซึ่งบทบาทของ สสปน. นับจากนี้ไป นอกจากทำตลาดประมูลงานในต่างประเทศแล้ว ยังต้องเป็นองค์กรที่ประสานงานกับหน่วยงานด้านไมซ์ทั้งหมด เพื่อให้การทำงานด้านการบุกตลาดเป็นหนึ่งเดียวและเป็นทีมเดียวกัน เช่น ททท. ,กรมส่งออก,สมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้า ,สมาคมการแสดงสินค้า(ไทย) เป็นต้น จากที่ผ่านมา สสปน.มีช่องโหว่ในจุดนี้มาก
โครงการเร่งด่วนที่ สสปน.ต้องของบเพิ่มเติมมี 3 โครงการ 1.การพัฒนาบุคคลากรของอุตสาหกรรม (MICE CAPABILITY) 2. การส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ ภายในประเทศ (MINI MICE ) และ 3. การจัดงานMICE MART ซึ่งเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับไมซ์ ครั้งแรกในประเทศไทย กำหนดจัดงานเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า จุดประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางไมซ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 3 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าดึงกลุ่มไมซ์เข้าไทยในปี 2550 ที่จำนวน 7.5 แสนคน สร้างรายได้เข้าประเทศ 6.2 หมื่นล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 8-9% ส่วนประเทศคู่แข่งที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย เป็นต้น
นอกจากนั้นจะประสานความร่วมมือกับองค์กรที่ดูและด้านไมซ์ทั้งหมดซึ่งกระจายอยู่ในหลายองค์กรในหน่วยงานรัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งเป็น THAI TEAM เพื่อออกไปประมูลงานในต่างประเทศร่วมกัน ต้องประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมศุลกากร ขออำนวยความสะดวกเรื่องการนำอุปกรณ์การจัดแสดงเข้าและออกจากประเทศไทย เป็นการนำเสนอสิทธิพิเศษเพื่อจูงใจ
งานเร่งด่วน
สำหรับปีงบประมาณนี้ คือการจัดตั้ง MICE INFORMATION CENTER เพื่อวางระบบข้อมูลส่วนกลางที่จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมไมซ์โดยเฉพาะ เพราะที่ผ่านมาไทยยังไม่มีข้อมูลเชิงลึกในด้านนี้เลย ซึ่ง สสปน.จะทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานที่มีข้อมูลด้านนี้ เช่น ททท. , สมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้า ,สมาคมการแสดงสินค้า(ไทย) เป็นต้น เพื่อขอข้อมูลทั้งหมดมารวมไว้เป็นส่วนกลาง ล่าสุดมอบให้ มหาวิทยาลัยราชฎักพระนคร ศึกษาวิจัยโครงการสร้างไมซ์เซ็นเตอร์คาดรู้ผลใน 30 วัน จากนั้นจะพัฒนาซอฟแวร์ ให้เป็นศูนย์ข้อมูล คาดใช้งบกว่า 10 ล้านบาท
ร้อยเอกขจิต หัพนานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน.)ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการ สสปน. แทนนายพีระพงษ์ เอื้อสุนทรวัฒนา ซึ่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กล่าวว่า ช่วงระยะเวลา 4 เดือนนับจากนี้ไป ก่อนที่การสรรหาผู้อำนวยการคนใหม่จะแล้วเสร็จ สสปน. โดยในเบื้องต้นได้เตรียมทำเรื่องเสนอของงบประมาณปี 2550 ไว้ 800 ล้านบาท ซึ่งปีปัจจุบัน สสปน.ได้งบประมาณ 300 ล้านบาท แต่สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบปี 2550 แก่สสปน.เพียง 300 ล้านบาท เท่ากับปีก่อน
หากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อใดตนจะผลักดันต่อ โดยจะมอบเป็นนโยบายไว้ให้กับผู้อำนวยการคนใหม่ที่จะมารับตำแหน่ง ซึ่งบทบาทของ สสปน. นับจากนี้ไป นอกจากทำตลาดประมูลงานในต่างประเทศแล้ว ยังต้องเป็นองค์กรที่ประสานงานกับหน่วยงานด้านไมซ์ทั้งหมด เพื่อให้การทำงานด้านการบุกตลาดเป็นหนึ่งเดียวและเป็นทีมเดียวกัน เช่น ททท. ,กรมส่งออก,สมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้า ,สมาคมการแสดงสินค้า(ไทย) เป็นต้น จากที่ผ่านมา สสปน.มีช่องโหว่ในจุดนี้มาก
โครงการเร่งด่วนที่ สสปน.ต้องของบเพิ่มเติมมี 3 โครงการ 1.การพัฒนาบุคคลากรของอุตสาหกรรม (MICE CAPABILITY) 2. การส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ ภายในประเทศ (MINI MICE ) และ 3. การจัดงานMICE MART ซึ่งเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับไมซ์ ครั้งแรกในประเทศไทย กำหนดจัดงานเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า จุดประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางไมซ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 3 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าดึงกลุ่มไมซ์เข้าไทยในปี 2550 ที่จำนวน 7.5 แสนคน สร้างรายได้เข้าประเทศ 6.2 หมื่นล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 8-9% ส่วนประเทศคู่แข่งที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย เป็นต้น
นอกจากนั้นจะประสานความร่วมมือกับองค์กรที่ดูและด้านไมซ์ทั้งหมดซึ่งกระจายอยู่ในหลายองค์กรในหน่วยงานรัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งเป็น THAI TEAM เพื่อออกไปประมูลงานในต่างประเทศร่วมกัน ต้องประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมศุลกากร ขออำนวยความสะดวกเรื่องการนำอุปกรณ์การจัดแสดงเข้าและออกจากประเทศไทย เป็นการนำเสนอสิทธิพิเศษเพื่อจูงใจ
งานเร่งด่วน
สำหรับปีงบประมาณนี้ คือการจัดตั้ง MICE INFORMATION CENTER เพื่อวางระบบข้อมูลส่วนกลางที่จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมไมซ์โดยเฉพาะ เพราะที่ผ่านมาไทยยังไม่มีข้อมูลเชิงลึกในด้านนี้เลย ซึ่ง สสปน.จะทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานที่มีข้อมูลด้านนี้ เช่น ททท. , สมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้า ,สมาคมการแสดงสินค้า(ไทย) เป็นต้น เพื่อขอข้อมูลทั้งหมดมารวมไว้เป็นส่วนกลาง ล่าสุดมอบให้ มหาวิทยาลัยราชฎักพระนคร ศึกษาวิจัยโครงการสร้างไมซ์เซ็นเตอร์คาดรู้ผลใน 30 วัน จากนั้นจะพัฒนาซอฟแวร์ ให้เป็นศูนย์ข้อมูล คาดใช้งบกว่า 10 ล้านบาท