ผู้จัดการรายวัน - ระยองเพียวฯวาดฝันผุดโรงกลั่น 7 หมื่นบาร์เรล/วันในอีก 2ปีข้างหน้า คาดสรุปความเป็นไปได้พ.ย.นี้ เพื่อรองรับธุรกิจเทรดดิ้งและการเจรจาซื้อหุ้นสยามกัลฟ์ฯคืนส่อแววล่ม เหตุราคาเสนอขายสูงเกินไป ส่วนโรงกลั่นที่เวียดนามติดปัญหาข้อกฎหมายทำให้ผลิตเชิงพาณิชย์ไม่ได้ สุดท้ายยอมลดการถือหุ้นลงเหลือ 44% โดยดึงเวียดนามถือหุ้นเพิ่มขึ้น ลบข้อหาบริษัทต่างชาติ
นายศุภพงศ์ กฤษณกาญจน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) (RPC) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี ขนาด 70,000-100,000 บาร์เรล/วันที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนพ.ย.นี้ และจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี
โดยโรงกลั่นใหม่นี้จะไม่พึ่งพาคอนเดนเสทเรสซิดิว (CR) อย่างเดียวเหมือนโรงกลั่นแห่งแรกของบริษัทในปัจจุบัน ซึ่งจะใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบเหมือนโรงกลั่นน้ำมันทั่วไป ซึ่งการทำธุรกิจเทรดดิ้งของบริษัทก็ช่วยรองรับน้ำมันที่ผลิตได้ด้วย สำหรับแหล่งเงินทุนจะมาจากการกู้ยืมสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันอัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ส่วนความคืบหน้าโรงกลั่นน้ำมันที่เวียดนาม ขนาดกำลังการกลั่น 2,000 บาร์เรล/วันนั้น เมื่อต้นปีนี้บริษัทได้เริ่มทดลองเดินเครื่องแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากติดข้อจำกัดด้านกฎหมายและจัดเก็บภาษีของรัฐบาลกลาง ขณะที่โรงกลั่นนั้นได้รับการโปรโมทจากรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้บริษัทต้องมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ โดยดึงพันธมิตรเวียดนามเข้ามาเสริม เพื่อไม่ให้มองว่าเป็นโรงกลั่นต่างชาติและง่ายต่อการดำเนินกิจการ ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นบริษัทในโรงกลั่นเวียดนามเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 60% เหลือเพียง 44% และเวียดนามถือหุ้นเพิ่มเป็น 44% ที่เหลือเป็นเทรดเดอร์
“พาร์ทเนอร์ใหม่ชาวเวียดนามจะมีความชำนาญ ช่วยเคลียร์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ รวมทั้งหาช่องทางการจำหน่ายน้ำมันจากโรงกลั่นให้ปั๊มน้ำมันในเวียดนามด้วย ภายใต้คอนเส็ปว่าเวียดนามยังไม่มีโรงกลั่น ต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้นการซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศก็ไม่แตกต่างจากการนำเข้าน้ำมันอยู่ดี"
นอกจากนี้ บริษัทมีโครงการในกัมพูชา โดยเริ่มก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเพื่อจะเป็นคลังน้ำมันชายแดน ซึ่งจะทำหน้าที่เข้าไปช่วยในการควบคุมการนำเข้า และส่งออกน้ำมันในกัมพูชา ส่วนความคืบหน้าในการลงทุนในลาวนั้น คาดว่าจะมีข้อสรุปในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า
นายศุภพงศ์ กล่าวถึงการพิจารณาใช้สิทธิซื้อหุ้นคืนจากบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล ว่า บริษัทฯคาดว่าตัดสินใจได้ปลายปีนี้ โดยสัญญาซื้อหุ้นคืนดังกล่าวจะสิ้นสุดในเดือนก.พ.2550 เนื่องจากราคาเสนอขายหุ้นสยามกัลฟ์ฯค่อนข้างสูงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนสร้างใหม่ หากบริษัทฯตัดสินใจสร้างโรงกลั่นขนาดเกือบ 1 แสนบาร์เรลที่มาบตาพุดก็ไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นสยามกัลฟ์ฯอีกต่อไป
ก่อนหน้านี้ บริษัทถือหุ้นในสยามกัลฟ์ประมาณ 50% แต่ก่อนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ตัดสินใจขายหุ้นดังกล่าวคืนให้เจ้าของเดิมทั้งหมด แต่ทำสัญญาว่าบริษัทมีสิทธิซื้อหุ้นดังกล่าวคืนในราคาเดิมบวกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นภายใน 1 ปี หลังจากโรงปิโตรเคมีของสยามกัลฟ์ฯ เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ ซึ่งเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สยามกัลฟ์ฯ ได้ทดลองเดินผลิตแแต่ติดปัญหาบางอย่างจึงได้หยุดการผลิตชั่วคราว
ส่วนผลประกอบการปี 2549 คาดว่ามีรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท หลังจากเพิ่มกำลังการผลิตจาก 1.1-1.2 หมื่นบาร์เรล/วัน เป็น 1.5 หมื่นบาร์เรล/วัน และการเพิ่มช่องทางจำหน่ายทางอินเตอร์เทรดดิ้งที่เน้นลูกค้าต่างประเทศเป็นหลักมากขึ้น ขณะที่ค่าการกลั่นครึ่งปีแรกนี้อยู่ที่ 2-3 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
นายศุภพงศ์ กฤษณกาญจน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) (RPC) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี ขนาด 70,000-100,000 บาร์เรล/วันที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนพ.ย.นี้ และจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี
โดยโรงกลั่นใหม่นี้จะไม่พึ่งพาคอนเดนเสทเรสซิดิว (CR) อย่างเดียวเหมือนโรงกลั่นแห่งแรกของบริษัทในปัจจุบัน ซึ่งจะใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบเหมือนโรงกลั่นน้ำมันทั่วไป ซึ่งการทำธุรกิจเทรดดิ้งของบริษัทก็ช่วยรองรับน้ำมันที่ผลิตได้ด้วย สำหรับแหล่งเงินทุนจะมาจากการกู้ยืมสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันอัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ส่วนความคืบหน้าโรงกลั่นน้ำมันที่เวียดนาม ขนาดกำลังการกลั่น 2,000 บาร์เรล/วันนั้น เมื่อต้นปีนี้บริษัทได้เริ่มทดลองเดินเครื่องแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากติดข้อจำกัดด้านกฎหมายและจัดเก็บภาษีของรัฐบาลกลาง ขณะที่โรงกลั่นนั้นได้รับการโปรโมทจากรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้บริษัทต้องมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ โดยดึงพันธมิตรเวียดนามเข้ามาเสริม เพื่อไม่ให้มองว่าเป็นโรงกลั่นต่างชาติและง่ายต่อการดำเนินกิจการ ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นบริษัทในโรงกลั่นเวียดนามเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 60% เหลือเพียง 44% และเวียดนามถือหุ้นเพิ่มเป็น 44% ที่เหลือเป็นเทรดเดอร์
“พาร์ทเนอร์ใหม่ชาวเวียดนามจะมีความชำนาญ ช่วยเคลียร์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ รวมทั้งหาช่องทางการจำหน่ายน้ำมันจากโรงกลั่นให้ปั๊มน้ำมันในเวียดนามด้วย ภายใต้คอนเส็ปว่าเวียดนามยังไม่มีโรงกลั่น ต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้นการซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศก็ไม่แตกต่างจากการนำเข้าน้ำมันอยู่ดี"
นอกจากนี้ บริษัทมีโครงการในกัมพูชา โดยเริ่มก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเพื่อจะเป็นคลังน้ำมันชายแดน ซึ่งจะทำหน้าที่เข้าไปช่วยในการควบคุมการนำเข้า และส่งออกน้ำมันในกัมพูชา ส่วนความคืบหน้าในการลงทุนในลาวนั้น คาดว่าจะมีข้อสรุปในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า
นายศุภพงศ์ กล่าวถึงการพิจารณาใช้สิทธิซื้อหุ้นคืนจากบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล ว่า บริษัทฯคาดว่าตัดสินใจได้ปลายปีนี้ โดยสัญญาซื้อหุ้นคืนดังกล่าวจะสิ้นสุดในเดือนก.พ.2550 เนื่องจากราคาเสนอขายหุ้นสยามกัลฟ์ฯค่อนข้างสูงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนสร้างใหม่ หากบริษัทฯตัดสินใจสร้างโรงกลั่นขนาดเกือบ 1 แสนบาร์เรลที่มาบตาพุดก็ไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นสยามกัลฟ์ฯอีกต่อไป
ก่อนหน้านี้ บริษัทถือหุ้นในสยามกัลฟ์ประมาณ 50% แต่ก่อนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ตัดสินใจขายหุ้นดังกล่าวคืนให้เจ้าของเดิมทั้งหมด แต่ทำสัญญาว่าบริษัทมีสิทธิซื้อหุ้นดังกล่าวคืนในราคาเดิมบวกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นภายใน 1 ปี หลังจากโรงปิโตรเคมีของสยามกัลฟ์ฯ เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ ซึ่งเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สยามกัลฟ์ฯ ได้ทดลองเดินผลิตแแต่ติดปัญหาบางอย่างจึงได้หยุดการผลิตชั่วคราว
ส่วนผลประกอบการปี 2549 คาดว่ามีรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท หลังจากเพิ่มกำลังการผลิตจาก 1.1-1.2 หมื่นบาร์เรล/วัน เป็น 1.5 หมื่นบาร์เรล/วัน และการเพิ่มช่องทางจำหน่ายทางอินเตอร์เทรดดิ้งที่เน้นลูกค้าต่างประเทศเป็นหลักมากขึ้น ขณะที่ค่าการกลั่นครึ่งปีแรกนี้อยู่ที่ 2-3 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล