ผู้จัดการรายวัน - "ทักษิณ"ทำลับๆ ล่อๆ อีก บินเงียบไปพม่าแบบไม่มีกำหนดการล่วงหน้า ขนาดโทร.บอกประธานอาเซียนก่อนบิน พร้อมหิ้ว ผบ.ทบ. ร่วมคณะหวังสร้างภาพเจรจาสำคัญ อ้างไปหารือแบบทวิภาคี และพหุภาคี ครอบคลุมทั้ง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยไม่เปิดเผยรายละเอียด ด้าน ผบ.ทบ.ระบุแค่ไปคุยเรื่องการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพที่มีอยู่แล้ว เผยฤกษ์ไม่ดีก่อนบินรถนำขบวนชนวินาศสาหัส 1 ตำรวจ-ทหารเจ็บ 4 "แม้ว"รีบเผ่นหวั่นแผนลอบสังหาร แถมขณะเหยียบแผ่นดินพม่ายังเกิดแผ่นดินไหว ลือหึ่ง...บินไปเป็นนายหน้าให้เทมาเสกเคลียร์ปมปัญหาผลประโยชน์ทางการค้า กับ บ.บากันฯ ของลูกชาย"ขิ่น ยุ่นต์" ซึ่งถูกปลดจากนายกฯแล้วเกิดปัญหาจากที่ไทยปล่อยเงินกู้ 4 พันล้าน จนลามไปถึงชินคอร์ป หวั่นถูกสิงคโปร์ตั้งแง่จ่ายเงินค่าหุ้น 7.3 หมื่นล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (2 ส.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี มีกำหนดการลับและกระทันหันที่จะเดินทางไปประเทศพม่า โดยไม่มี กำหนดการล่วงหน้ามาก่อน ถึงขนาดเพิ่งแจ้งให้ผู้นำประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เพิ่งประกาศคว่ำบาตรความสัมพันธ์กับพม่าที่ไม่มีความพยายามในการดำเนินการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ให้ทราบเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 1 ส.ค.ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปหารือกับผู้นำพม่าในวันที่ 2 ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงเช้าวันที่ 2 ส.ค. ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถาม พ.ต.ท.ทักษิณ หลังเป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถึงการเดินทางด่วนไปพบผู้นำพม่า แต่ก็ได้รับการปฏิเสธที่จะตอบคำถามดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันที่ที่เสร็จภารกิจเป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รีบเดินทางไปบังท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 (บน. 6) เพื่อขึ้นเที่ยวบินพิเศษของกองทัพอากาศไปยังประเทศพม่า
**ฤกษ์ไม่ดีรถนำขบวน"ทักษิณ"ชนสนั่น
อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น.ระหว่างที่ขบวนรถยนต์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งใช้เส้นทางพิเศษของกองทัพอากาศ ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อไปยังท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 รถนำขบวนซึ่งเป็น รถมอเตอร์ไซด์ ์บีเอ็มดับเบิลยู รุ่น R 1150 RT ทะเบียน 56974 ขับโดย ด.ต. อัครพล ถนอมเมฆ ได้เกิดอุบัติเหตุพุ่งเข้าชนกับรถยนต์โตโยต้า คราวน์ สีน้ำเงินของ ทะเบียน 524905 ซึ่งเป็นรถ สารวัตรทหาร สังกัด พัน.สห.ทอ. ที่กองทัพอากาศส่งมานำขบวนช่วงเข้าเขตกองทัพอากาศ ขณะที่ก่อนหน้านั้นรถของ สารวัตรทหารได้พุ่งเข้าชนรถยนต์ โตโยต้า โคโลล่า สีขาวทะเบียน 4 ธ-5863 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเสียหลักจากการเบรกกระทันหันจนรถปัดขวางถนนอันเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุดังกล่าว โดยคนขับรถโตโยต้า โคโลล่า ถึงกับสลบคาที่
จากการตรวจสอบพบว่ารถคันดังกล่าววิ่งมาด้วยความเร็วสูงพอมาถึงช่วงโค้ง เห็นรถนำขบวนวิ่งมาด้วยความเร็วจึงตกใจเบรกกระทันหันจนรถปัดขวางถนน ทำให้รถของสารวัตรทหารที่มาด้วยความเร็วสูงเช่นกันเบรกไม่ทันพุ่งเข้าชนรถคันดังกล่าว จากนั้นรถมอเตอร์ไซด์นำขบวนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งตามมาติดๆ ก็พุ่งเข้าชนรถของสารวัตรทหารอีกทอดจนทำให้ผู้ขับรถยนต์โตโยต้าสีขาว ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทราบชื่อต่อมาว่า นายสุนทร อัตติปา พบว่ากะโหลกร้าว ส่วนทหารได้รับบาดเจ็บ 2 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บอีก 2 นาย
**ไม่ดูคนเจ็บรีบบึ่งขึ้นเครื่องไปพม่า
อย่างไรก็ตามหลังรถนำขบวนของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะประสบอุบัติเหตุ ทีมรักษาความปลอดภัยของพ.ต.ท.ทักษิณ หลายคน พยายามเปิดประตูออกเพื่อลงไปดูเหตุการณ์ และช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่ปรากฎว่ ารถยนต์ติดตาม รักษาการนายกรัฐมนตรี ไม่ยอมหยุดได้แล่นขึ้นไปนำขบวนและพารถยนต์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เลี่ยงออกจากสถานที่เกิดเหตุมุ่งไปยัง บน.6 ทันที โดยที่พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมหยุดลงไปดูผู้บาดเจ็บแม้แต่น้อย ทำให้ทีมรักษาความปลอดภัย พ.ต.ท.ทักษิณ จำเป็นต้องกระโดดขึ้นรถยนต์และติดตามขบวนออกไปทันที
โดยมีรายงานว่าเหตุที่รถติดตามขบวนไม่ยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลงมาดู เพราะกลัวเป็นแผนล่วงเพื่อลอบสังหารรักษาการนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามแผนปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยแล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือมีเหตุการณ์อะไรระหว่างทางให้รีบนำ ผู้ที่ต้องรักษาความปลอดภัยออกไปจากสถานที่เกิดเหตุทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปถึงท่าอากาศยานทหาร ได้รีบลงจากรถยนต์ด้วยท่าทีตื่นตระหนก โดยกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ติดตามขบวนมาว่า "เมื่อกี้เกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ วิ่งๆ มาเขา (รถโตโยต้า โคโรลล่า) หักกลับรถกลางถนนเลย ผมเห็นแล้วเหมือนเขาหักรถกลับอย่างนี้เลย แต่เข้าใจว่าคนขับรถเก๋งนั้นคงสลบ"
**"ทักษิณ"เปิดปากไปพม่าหารือทุกเรื่อง
พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปพม่าอย่างเร่งด่วนและปิดลับ พร้อมด้วย นายกันตธีร์ ศุภมงคล รักษาการ รมว.ต่างประเทศ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการ รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ว่า การเดินทางไปครั้งนี้ เนื่องจากผู้นำทั้งสองประเทศต้องการพบกัน เพื่อหารือในระดับผู้นำ จะเป็นการหารือทั้งระดับทวิภาคี และพหุภาคี ที่เมืองปิ่นมะนา ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ของพม่า โดยประเด็นการหารือจะครอบคลุมทุกเรื่อง เพราะรัฐมนตรี ที่ไปด้วยก็มีผู้บัญชาการทหารบก รมว.ต่างประเทศ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์
ขณะที่นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปพม่า โดยยอมรับว่ากระทรวงการต่างประเทศไม่มีรายละเอียดการเยื่อนครั้งนี้
**ยกหูบอกประธานอาเซียนก่อนขึ้นเครื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวปไซด์ www.thaigov.go.th ของทำเนียบรัฐบาล ได้เผยแพร่ข่าวนายกรัฐมนตรีเยือนพม่า โดยระบุว่าการเดินทางเยือนพม่าครั้งนี้ เป็นไปตามกำหนดการที่ผู้นำของไทยและพม่าได้หารือและวางแผนไว้ล่วงหน้า ตามโอกาสและเวลาที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกร่วมกัน โดยก่อนออกเดินทาง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้โทรศัพท์หารือกับประธานอาเซียน คือ ประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล อาโรโย่ ( Gloria Macopagai Aroyo ) ของฟิลิปินส์ เนื่องจากเป็นโอกาสที่พม่าและอาเซียน จะกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่างๆต่อไป
ทั้งนี้ ในการเยือนเมืองปิ่นมะนา ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของสหภาพพม่า และนายกรัฐมนตรีของไทยจะเป็นผู้นำคนแรกของอาเซียนที่เดินทางเยือนเมืองหลวง แห่งใหม่นี้
นอกจากนี้ วัตถุประสงค์สำคัญของการเยือนในครั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้พบปะและหารือกับ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ สหภาพพม่า โดยทั้งสองฝ่ายจะได้หารือในประเด็นความร่วมมือต่างๆ ที่ได้หารือกันไว้ให้มีความก้าวหน้า อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร และความร่วมมือด้านพลังงาน รวมถึงมุ่งกระชับความสัมพันธ์ทั้งในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และในเวทีระหว่างประเทศด้วย โดยนายกรัฐมนตรีและคณะมีกำหนดเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานกองบิน 6 ในเวลาประมาณ 20.00 น.ในวันเดียวกัน
**แผ่นดินไหวรับ"ทักษิณ"เยือนพม่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมคณะกำลังเยือนพม่า ปรากฎว่ากรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา 17.41 น. ได้เกิด แผ่นดินไหว ที่บริเวณประเทศสหภาพพม่า หรือที่ละติจูด 19.3 องศาตะวันออก ลองจิจูด 96.2 องศาตะวันตก ลึกจากพื้นดิน 33 กิโลเมตร ขนาด 5.2 ริคเตอร์ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหาย และไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
**"ทักษิณ"อ้างคุยเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าต่อมาเวลา 21.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมคณะได้เดินทางกลับจากการเยือนประเทศพม่า โดยทันทีที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานกองทัพอากาศ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงการพบ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ สหภาพพม่า ผู้นำพม่าพูดหรือไม่จะปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่าเมื่อไหร่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่าไม่ทราบ เมื่อถามว่า ได้พูดคุยกันถึงเรื่องนางอองซาน ซูจี หรือไม่ รักษาการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คุยกันครอบคลุมทุกเรื่อง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง คุยทั้งทั้งแบบทวีภาคี และพหุภาคี แต่คงไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้ แต่ขอให้รู้ว่าได้คุยครอบคลุมทุกเรื่อง
ผู้สื่อข่าวจึงถามอีกว่า พม่าจะปฏิรูปการเมืองหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวย้ำว่า อะไรที่เข้าเรื่องของเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองคุยกันหมด จากนั้นพ.ต.ท.ทักษิณ จึงเดินทางกลับทันที
ด้าน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. กล่าวว่า ในส่วนของกองทัพไม่มีอะไรสำคัญ ที่หารือกันเป็นเรื่องของการพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้ว ส่วนที่มีข่าวว่าจะไปเจรจาเรื่องการลงทุนทรัพยากรเมืองแร่นั้นไม่มี
**พันธมิตรฯฟันธงไปเจรจาปมปัญหาธุรกิจ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่าเป็นความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปพม่า โดยไม่แจ้งกำหนดการหรือประเด็นของการหารือกับทางรัฐบาลทหารพม่า ทั้งที่การไป ครั้งนี้ไม่ได้ไปในนามส่วนตัว ฉะนั้นคนไทยทุกคนควรมีสิทธิ์รับรู้ว่าไปในวาระอะไร
ผู้นำประเทศที่มีอารยะจะต้องแจ้งภารกิจและวัตถุประสงค์ในการเดินทางไป ต่างประเทศต่อประชาชนในประเทศนั้นๆ ทุกครั้งเพื่อประกันว่าคุณจะไม่หิ้วลูกชาย ภรรยา หรือ ซีอีโอบริษัทไปเจรจาธุรกิจส่วนตัวของคุณ แบบที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำมาตลอดและกำลังทำอยู่ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างผู้นำที่ไม่มีอารยะ
"ผมสันนิษฐานว่าการบินไปแบบกะทันหันครั้งนี้คงไปเจรจาปมปัญหาทางธุรกิจที่ยังไม่ลงตัวอันเนื่องจากการยึดอำนาจในพม่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการร่วมค้าระหว่างบริษัทชิน แซทเทิลไลท์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์เปอร์เรชั่น ได้ร่วมทุนทางธุรกิจกับ บริษัท บากัน ไซเบอร์เทค (Bagan Cybertech) ซึ่งเป็น บริษัทให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมครบวงจรและใหญ่ที่สุดในพม่า แต่เผอิญว่า เจ้าของบริษัท บากัน คือ ดร.เย เนง วิน เป็นลูกชาย พลเอก ขิ่นยุ่นต์ อดีตนายกรัฐมนตรีพม่าที่เพิ่งถูกยึดอำนาจไปโดยนายพลตันฉ่วย เมื่อกลางปีที่แล้ว ซึ่งการยึดอำนาจครั้งนั้นกระทบต่อธุรกิจโทรคมนาคมของตระกูลชินวัตรและที่สำคัญภาษีของคนไทยก็มีสิทธิสูญเปล่าไปด้วย เพราะรัฐบาลทักษิณลักไก่อนุมัติเงินช่วยเหลือทั้งเงินให้เปล่าและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่รัฐบาลของพลเอกขิ่น ยุ่นต์ ในขณะนั้น รวมกว่า 4,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคมในพม่า ซึ่งไม่รู้ว่ารัฐบาลนายพลตันฉ่วย จะคืนเงินกู้หรือสร้างเงื่อนไขเพื่อเบี้ยวหนี้หรือไม่ และที่สำคัญภายหลังยึดอำนาจ รัฐบาลนายพลตันฉ่วยยังสั่งปราบปรามการคอรัปชั่นทางนโยบายในสมัยพลเอกขิ่น ยุนต์ ซึ่งรวมทั้งการสั่งรื้อและทบทวนสัญญาร่วมทำการค้ากับทางบริษัทชินแซทฯ ด้วย"
นายสุริยะใส กล่าวว่า ปัญหาที่เดือดร้อนถึง พ.ต.ท.ทักษิณต้องบินไปด้วย ตนเอง เนื่องจากบริษัทบากันได้เลือกโครงการดาวเทียมไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ ในการพัฒนาระบบการสื่อสารโทรคมนาคมในพม่า และไอพีสตาร์ตอนนี้ก็ตกไป อยู่ในมือรัฐบาลสิงคโปร์แล้ว และอยู่ระหว่างที่จ่ายเงินซื้อขายหุ้นชินคอร์ปฯ 73,300 ล้านบาทที่ยังค้างชำระอยู่อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากทางสิงคโปร์ฉลาดและวางเงื่อนไข ในการจ่ายเงินค่าหุ้นไว้ คงถึงบางอ้อกันแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไปพม่า แบบด่วนจี๋ ไม่มีหมายล่วงหน้าแบบผู้นำที่มีอารยะเขาทำกันนั้น ไปในนามรักษาการนายกฯ ของประเทศไทยหรือในนามนายหน้าบริษัททามาเส็ก ของสิงคโปร์กันแน่
**"ไกรศักดิ์"เตือนทำตัวสนิทพม่าไทยจะลำลาก
ด้าน นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รักษาการ ส.ว.นครราชสีมา อดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปพม่า อย่างกระทันหันโดยไม่มีกำหนดการล่วงหน้า ทำให้น่าสงสัยว่าจะเดินทางไปด้วย เหตุผลส่วนตัวแล้วพ่วงด้วยการเจรจาระหว่างประเทศ เพราะตามปกติแล้วการเดินทาง ไปต่างประเทศจะต้องมีกำหนดการล่วงหน้าเพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมการ เตรียมหัวข้อในการเจรจา ที่สำคัญการเดินทางไปเจรจาความในต่างประเทศช่วงรัฐบาลรักษาการถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
"หรือว่าทางพม่าสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นเผด็จการ ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ร่วมกันประฌามพม่าเรื่องไม่ดำเนินการให้เป็นไปตาม ระบอบประชาธิปไตย เมื่อผู้นำเราเดินทางไปพม่าแบบนี้เราจะแสดงบทบาทอย่างไร นอกจากนี้สหประชาชาติยังเรียกร้องให้พม่าหยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งประเทศในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่ก็ไม่พอใจพม่าในเรื่องนี้ ดังนั้นการที่ไทยทำตัวสนิทสนามกับพม่าเช่นนี้ทำให้ไทยลำบาก"
นายไกรศักดิ์ ยังแสดงความสงสัยว่าการเดินทางไปครั้งนี้เกี่ยวกับเงินกู้ 4,000 ล้านบาทที่พม่ากู้เงินจากไทยไปตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้วก่อนจะมีการยึดอำนาจ และอีกเรื่องที่น่าสงสัยคืออาจไปหารือเรื่องโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ที่แม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ ซึ่งจะต้องอพยพชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ หลายหมื่นคนออกจากพื้นที่ ทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนกำลังประณาม
"ที่นำ ผบ.ทบ.ไปด้วยก็อาจมีการหารือเรื่องการปราบปรามยาเสพติด เพราะขณะนี้ยาเสพติดทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่องด้านชายแดนไทย-พม่า ส่วน รมว.เกษตรฯไปด้วยก็อาจจะมีเรื่องเกี่ยวกับการเกษตร แต่บุคคลเหล่านี้อาจนั่งอยู่นอกห้องก็ได้หากมีการหารือลับกัน"
**แฉวิ่งโร่ไปพม่ากลัวชินคอร์ปสูญเงิน
แหล่งข่าวจากหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยหลายหน่วย ระบุตรงกันว่า การเดินทางด่วนไปพม่าของ พ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งนี้ แม้ว่าจะมี ผบ.ทบ.เดินทางไปในคณะด้วยก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดตามคณะไป ล้วนแต่เป็นทีมนักธุรกิจ ที่ นายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ เลขานุการส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้พิจารณาทั้งสิ้น
สำหรับประเด็นที่คาดว่ามีการนำไปเจรจากันครั้งนี้ เรื่องหลัก น่าจะเป็นเรื่อง ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการหาเสียงสนับสนุนจากนานาชาติเพื่อชิงเก้า เลขาธิการสหประชาชาติ หรือ UN ของนายสุรเกียรติ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งประเด็นหนึ่งที่มีการหยิบยกไปหาเสียงก็คือ การพยายามให้พม่าเป็นประเทศประชาธิปไตย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย - พม่า อย่างเลี่ยงไม่พ้น
นอกจากนี้จะมีผลกระทบตามมาคือ สัญญาระหว่างรัฐบาลพม่า - ไทย หลายกรณีอาจจะถูกยกเลิกกลางคัน เช่น กรณีสัมปทานทำระบบโทรศัพท์ในพม่าของกลุ่มชินฯ ที่มีเอ็กซ์ซิมแบงก์ของไทยสนับสนุนเงินกู้ 4,000 ล้านบาท ซึ่งตามสัญญาระบุไว้ว่า เมื่อกลุ่มชินฯ ส่งสินค้าให้พม่าแล้ว หลังการเซ็นรับมอบ กลุ่มชินฯ จะเป็นผู้เบิกเงินจาก เอ็กซ์ซิมแบงก์เอง หากมีการฉีกสัญญานั่นหมายถึง เม็ดเงินที่เหลือ กลุ่มชินฯ ก็จะเบิกออกมาไม่ได้ ขณะที่พม่าเองไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากระยะหลังมีกลุ่มทุนจากจีน เข้ามาลงทุนในกิจการโทรคมนาคมในพม่า ทดแทนแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อคราวมีการปลด พล.อ.ขิ่นยุ้นต์ ลงจากนายกรัฐมนตรี ก็มีข่าวว่าพม่าจะฉีกสัญญาฉบับนี้ทิ้ง เนื่องจากเห็นว่า มีการทุจริตกันจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีการปลด พล.อ.ขิ่นยุ้นต์ คราวนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็บินด่วนเข้าพม่าเพื่อเจรจากันมาแล้วครั้งหนึ่ง
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ในระยะที่ผ่านมาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย - พม่า ตามแนวชายแดนภาคเหนือก็มีปัญหาเกิดขึ้นตลอด เริ่มตั้งแต่การสกัดการนำเข้าสินค้าจากไทยตามแนวชายแดนทุกจุด จนทำให้ยอดการค้าหายลดลง อย่างมาก เช่นที่ อ.แม่สอด เหลือเพียง 7-800 ล้านบาท จากเดิมที่เคยมีมูลค่าการค้า มากกว่า 1,100 - 1,300 ล้านบาท , อ.แม่สาย มีความเสียหายเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 1 พันล้าน/เดือน และล่าสุดพม่ายังสั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยทุกชนิดอีกด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการประชุม คณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) ไทย-พม่า-ลาว-จีน ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเทวราช จ.น่าน ซึ่งทึ้ง จีน - ลาว ล้วนแต่ส่งตัวแทนเข้ามาร่วมประชุมด้วย ส่วนเวียดนาม ส่งผู้แทนร่วมสังเกตการณ์ในการประชุม แต่ปรากฏว่า ในการประชุมครั้งนี้ไม่มีตัวแทนจากพม่าเข้าร่วมหารือด้วย โดยมีการแจ้งกันในที่ประชุมว่า รัฐบาลกลางของพม่า ไม่อนุญาตให้ส่งผู้แทนเข้ามาร่วมประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (2 ส.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี มีกำหนดการลับและกระทันหันที่จะเดินทางไปประเทศพม่า โดยไม่มี กำหนดการล่วงหน้ามาก่อน ถึงขนาดเพิ่งแจ้งให้ผู้นำประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เพิ่งประกาศคว่ำบาตรความสัมพันธ์กับพม่าที่ไม่มีความพยายามในการดำเนินการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ให้ทราบเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 1 ส.ค.ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปหารือกับผู้นำพม่าในวันที่ 2 ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงเช้าวันที่ 2 ส.ค. ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถาม พ.ต.ท.ทักษิณ หลังเป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถึงการเดินทางด่วนไปพบผู้นำพม่า แต่ก็ได้รับการปฏิเสธที่จะตอบคำถามดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันที่ที่เสร็จภารกิจเป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รีบเดินทางไปบังท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 (บน. 6) เพื่อขึ้นเที่ยวบินพิเศษของกองทัพอากาศไปยังประเทศพม่า
**ฤกษ์ไม่ดีรถนำขบวน"ทักษิณ"ชนสนั่น
อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น.ระหว่างที่ขบวนรถยนต์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งใช้เส้นทางพิเศษของกองทัพอากาศ ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อไปยังท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 รถนำขบวนซึ่งเป็น รถมอเตอร์ไซด์ ์บีเอ็มดับเบิลยู รุ่น R 1150 RT ทะเบียน 56974 ขับโดย ด.ต. อัครพล ถนอมเมฆ ได้เกิดอุบัติเหตุพุ่งเข้าชนกับรถยนต์โตโยต้า คราวน์ สีน้ำเงินของ ทะเบียน 524905 ซึ่งเป็นรถ สารวัตรทหาร สังกัด พัน.สห.ทอ. ที่กองทัพอากาศส่งมานำขบวนช่วงเข้าเขตกองทัพอากาศ ขณะที่ก่อนหน้านั้นรถของ สารวัตรทหารได้พุ่งเข้าชนรถยนต์ โตโยต้า โคโลล่า สีขาวทะเบียน 4 ธ-5863 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเสียหลักจากการเบรกกระทันหันจนรถปัดขวางถนนอันเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุดังกล่าว โดยคนขับรถโตโยต้า โคโลล่า ถึงกับสลบคาที่
จากการตรวจสอบพบว่ารถคันดังกล่าววิ่งมาด้วยความเร็วสูงพอมาถึงช่วงโค้ง เห็นรถนำขบวนวิ่งมาด้วยความเร็วจึงตกใจเบรกกระทันหันจนรถปัดขวางถนน ทำให้รถของสารวัตรทหารที่มาด้วยความเร็วสูงเช่นกันเบรกไม่ทันพุ่งเข้าชนรถคันดังกล่าว จากนั้นรถมอเตอร์ไซด์นำขบวนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งตามมาติดๆ ก็พุ่งเข้าชนรถของสารวัตรทหารอีกทอดจนทำให้ผู้ขับรถยนต์โตโยต้าสีขาว ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทราบชื่อต่อมาว่า นายสุนทร อัตติปา พบว่ากะโหลกร้าว ส่วนทหารได้รับบาดเจ็บ 2 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บอีก 2 นาย
**ไม่ดูคนเจ็บรีบบึ่งขึ้นเครื่องไปพม่า
อย่างไรก็ตามหลังรถนำขบวนของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะประสบอุบัติเหตุ ทีมรักษาความปลอดภัยของพ.ต.ท.ทักษิณ หลายคน พยายามเปิดประตูออกเพื่อลงไปดูเหตุการณ์ และช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่ปรากฎว่ ารถยนต์ติดตาม รักษาการนายกรัฐมนตรี ไม่ยอมหยุดได้แล่นขึ้นไปนำขบวนและพารถยนต์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เลี่ยงออกจากสถานที่เกิดเหตุมุ่งไปยัง บน.6 ทันที โดยที่พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมหยุดลงไปดูผู้บาดเจ็บแม้แต่น้อย ทำให้ทีมรักษาความปลอดภัย พ.ต.ท.ทักษิณ จำเป็นต้องกระโดดขึ้นรถยนต์และติดตามขบวนออกไปทันที
โดยมีรายงานว่าเหตุที่รถติดตามขบวนไม่ยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลงมาดู เพราะกลัวเป็นแผนล่วงเพื่อลอบสังหารรักษาการนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามแผนปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยแล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือมีเหตุการณ์อะไรระหว่างทางให้รีบนำ ผู้ที่ต้องรักษาความปลอดภัยออกไปจากสถานที่เกิดเหตุทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปถึงท่าอากาศยานทหาร ได้รีบลงจากรถยนต์ด้วยท่าทีตื่นตระหนก โดยกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ติดตามขบวนมาว่า "เมื่อกี้เกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ วิ่งๆ มาเขา (รถโตโยต้า โคโรลล่า) หักกลับรถกลางถนนเลย ผมเห็นแล้วเหมือนเขาหักรถกลับอย่างนี้เลย แต่เข้าใจว่าคนขับรถเก๋งนั้นคงสลบ"
**"ทักษิณ"เปิดปากไปพม่าหารือทุกเรื่อง
พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปพม่าอย่างเร่งด่วนและปิดลับ พร้อมด้วย นายกันตธีร์ ศุภมงคล รักษาการ รมว.ต่างประเทศ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการ รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ว่า การเดินทางไปครั้งนี้ เนื่องจากผู้นำทั้งสองประเทศต้องการพบกัน เพื่อหารือในระดับผู้นำ จะเป็นการหารือทั้งระดับทวิภาคี และพหุภาคี ที่เมืองปิ่นมะนา ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ของพม่า โดยประเด็นการหารือจะครอบคลุมทุกเรื่อง เพราะรัฐมนตรี ที่ไปด้วยก็มีผู้บัญชาการทหารบก รมว.ต่างประเทศ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์
ขณะที่นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปพม่า โดยยอมรับว่ากระทรวงการต่างประเทศไม่มีรายละเอียดการเยื่อนครั้งนี้
**ยกหูบอกประธานอาเซียนก่อนขึ้นเครื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวปไซด์ www.thaigov.go.th ของทำเนียบรัฐบาล ได้เผยแพร่ข่าวนายกรัฐมนตรีเยือนพม่า โดยระบุว่าการเดินทางเยือนพม่าครั้งนี้ เป็นไปตามกำหนดการที่ผู้นำของไทยและพม่าได้หารือและวางแผนไว้ล่วงหน้า ตามโอกาสและเวลาที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกร่วมกัน โดยก่อนออกเดินทาง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้โทรศัพท์หารือกับประธานอาเซียน คือ ประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล อาโรโย่ ( Gloria Macopagai Aroyo ) ของฟิลิปินส์ เนื่องจากเป็นโอกาสที่พม่าและอาเซียน จะกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่างๆต่อไป
ทั้งนี้ ในการเยือนเมืองปิ่นมะนา ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของสหภาพพม่า และนายกรัฐมนตรีของไทยจะเป็นผู้นำคนแรกของอาเซียนที่เดินทางเยือนเมืองหลวง แห่งใหม่นี้
นอกจากนี้ วัตถุประสงค์สำคัญของการเยือนในครั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้พบปะและหารือกับ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ สหภาพพม่า โดยทั้งสองฝ่ายจะได้หารือในประเด็นความร่วมมือต่างๆ ที่ได้หารือกันไว้ให้มีความก้าวหน้า อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร และความร่วมมือด้านพลังงาน รวมถึงมุ่งกระชับความสัมพันธ์ทั้งในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และในเวทีระหว่างประเทศด้วย โดยนายกรัฐมนตรีและคณะมีกำหนดเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานกองบิน 6 ในเวลาประมาณ 20.00 น.ในวันเดียวกัน
**แผ่นดินไหวรับ"ทักษิณ"เยือนพม่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมคณะกำลังเยือนพม่า ปรากฎว่ากรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา 17.41 น. ได้เกิด แผ่นดินไหว ที่บริเวณประเทศสหภาพพม่า หรือที่ละติจูด 19.3 องศาตะวันออก ลองจิจูด 96.2 องศาตะวันตก ลึกจากพื้นดิน 33 กิโลเมตร ขนาด 5.2 ริคเตอร์ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหาย และไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
**"ทักษิณ"อ้างคุยเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าต่อมาเวลา 21.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมคณะได้เดินทางกลับจากการเยือนประเทศพม่า โดยทันทีที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานกองทัพอากาศ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงการพบ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ สหภาพพม่า ผู้นำพม่าพูดหรือไม่จะปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่าเมื่อไหร่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่าไม่ทราบ เมื่อถามว่า ได้พูดคุยกันถึงเรื่องนางอองซาน ซูจี หรือไม่ รักษาการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คุยกันครอบคลุมทุกเรื่อง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง คุยทั้งทั้งแบบทวีภาคี และพหุภาคี แต่คงไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้ แต่ขอให้รู้ว่าได้คุยครอบคลุมทุกเรื่อง
ผู้สื่อข่าวจึงถามอีกว่า พม่าจะปฏิรูปการเมืองหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวย้ำว่า อะไรที่เข้าเรื่องของเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองคุยกันหมด จากนั้นพ.ต.ท.ทักษิณ จึงเดินทางกลับทันที
ด้าน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. กล่าวว่า ในส่วนของกองทัพไม่มีอะไรสำคัญ ที่หารือกันเป็นเรื่องของการพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้ว ส่วนที่มีข่าวว่าจะไปเจรจาเรื่องการลงทุนทรัพยากรเมืองแร่นั้นไม่มี
**พันธมิตรฯฟันธงไปเจรจาปมปัญหาธุรกิจ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่าเป็นความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปพม่า โดยไม่แจ้งกำหนดการหรือประเด็นของการหารือกับทางรัฐบาลทหารพม่า ทั้งที่การไป ครั้งนี้ไม่ได้ไปในนามส่วนตัว ฉะนั้นคนไทยทุกคนควรมีสิทธิ์รับรู้ว่าไปในวาระอะไร
ผู้นำประเทศที่มีอารยะจะต้องแจ้งภารกิจและวัตถุประสงค์ในการเดินทางไป ต่างประเทศต่อประชาชนในประเทศนั้นๆ ทุกครั้งเพื่อประกันว่าคุณจะไม่หิ้วลูกชาย ภรรยา หรือ ซีอีโอบริษัทไปเจรจาธุรกิจส่วนตัวของคุณ แบบที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำมาตลอดและกำลังทำอยู่ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างผู้นำที่ไม่มีอารยะ
"ผมสันนิษฐานว่าการบินไปแบบกะทันหันครั้งนี้คงไปเจรจาปมปัญหาทางธุรกิจที่ยังไม่ลงตัวอันเนื่องจากการยึดอำนาจในพม่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการร่วมค้าระหว่างบริษัทชิน แซทเทิลไลท์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์เปอร์เรชั่น ได้ร่วมทุนทางธุรกิจกับ บริษัท บากัน ไซเบอร์เทค (Bagan Cybertech) ซึ่งเป็น บริษัทให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมครบวงจรและใหญ่ที่สุดในพม่า แต่เผอิญว่า เจ้าของบริษัท บากัน คือ ดร.เย เนง วิน เป็นลูกชาย พลเอก ขิ่นยุ่นต์ อดีตนายกรัฐมนตรีพม่าที่เพิ่งถูกยึดอำนาจไปโดยนายพลตันฉ่วย เมื่อกลางปีที่แล้ว ซึ่งการยึดอำนาจครั้งนั้นกระทบต่อธุรกิจโทรคมนาคมของตระกูลชินวัตรและที่สำคัญภาษีของคนไทยก็มีสิทธิสูญเปล่าไปด้วย เพราะรัฐบาลทักษิณลักไก่อนุมัติเงินช่วยเหลือทั้งเงินให้เปล่าและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่รัฐบาลของพลเอกขิ่น ยุ่นต์ ในขณะนั้น รวมกว่า 4,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคมในพม่า ซึ่งไม่รู้ว่ารัฐบาลนายพลตันฉ่วย จะคืนเงินกู้หรือสร้างเงื่อนไขเพื่อเบี้ยวหนี้หรือไม่ และที่สำคัญภายหลังยึดอำนาจ รัฐบาลนายพลตันฉ่วยยังสั่งปราบปรามการคอรัปชั่นทางนโยบายในสมัยพลเอกขิ่น ยุนต์ ซึ่งรวมทั้งการสั่งรื้อและทบทวนสัญญาร่วมทำการค้ากับทางบริษัทชินแซทฯ ด้วย"
นายสุริยะใส กล่าวว่า ปัญหาที่เดือดร้อนถึง พ.ต.ท.ทักษิณต้องบินไปด้วย ตนเอง เนื่องจากบริษัทบากันได้เลือกโครงการดาวเทียมไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ ในการพัฒนาระบบการสื่อสารโทรคมนาคมในพม่า และไอพีสตาร์ตอนนี้ก็ตกไป อยู่ในมือรัฐบาลสิงคโปร์แล้ว และอยู่ระหว่างที่จ่ายเงินซื้อขายหุ้นชินคอร์ปฯ 73,300 ล้านบาทที่ยังค้างชำระอยู่อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากทางสิงคโปร์ฉลาดและวางเงื่อนไข ในการจ่ายเงินค่าหุ้นไว้ คงถึงบางอ้อกันแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไปพม่า แบบด่วนจี๋ ไม่มีหมายล่วงหน้าแบบผู้นำที่มีอารยะเขาทำกันนั้น ไปในนามรักษาการนายกฯ ของประเทศไทยหรือในนามนายหน้าบริษัททามาเส็ก ของสิงคโปร์กันแน่
**"ไกรศักดิ์"เตือนทำตัวสนิทพม่าไทยจะลำลาก
ด้าน นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รักษาการ ส.ว.นครราชสีมา อดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปพม่า อย่างกระทันหันโดยไม่มีกำหนดการล่วงหน้า ทำให้น่าสงสัยว่าจะเดินทางไปด้วย เหตุผลส่วนตัวแล้วพ่วงด้วยการเจรจาระหว่างประเทศ เพราะตามปกติแล้วการเดินทาง ไปต่างประเทศจะต้องมีกำหนดการล่วงหน้าเพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมการ เตรียมหัวข้อในการเจรจา ที่สำคัญการเดินทางไปเจรจาความในต่างประเทศช่วงรัฐบาลรักษาการถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
"หรือว่าทางพม่าสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นเผด็จการ ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ร่วมกันประฌามพม่าเรื่องไม่ดำเนินการให้เป็นไปตาม ระบอบประชาธิปไตย เมื่อผู้นำเราเดินทางไปพม่าแบบนี้เราจะแสดงบทบาทอย่างไร นอกจากนี้สหประชาชาติยังเรียกร้องให้พม่าหยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งประเทศในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่ก็ไม่พอใจพม่าในเรื่องนี้ ดังนั้นการที่ไทยทำตัวสนิทสนามกับพม่าเช่นนี้ทำให้ไทยลำบาก"
นายไกรศักดิ์ ยังแสดงความสงสัยว่าการเดินทางไปครั้งนี้เกี่ยวกับเงินกู้ 4,000 ล้านบาทที่พม่ากู้เงินจากไทยไปตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้วก่อนจะมีการยึดอำนาจ และอีกเรื่องที่น่าสงสัยคืออาจไปหารือเรื่องโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ที่แม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ ซึ่งจะต้องอพยพชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ หลายหมื่นคนออกจากพื้นที่ ทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนกำลังประณาม
"ที่นำ ผบ.ทบ.ไปด้วยก็อาจมีการหารือเรื่องการปราบปรามยาเสพติด เพราะขณะนี้ยาเสพติดทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่องด้านชายแดนไทย-พม่า ส่วน รมว.เกษตรฯไปด้วยก็อาจจะมีเรื่องเกี่ยวกับการเกษตร แต่บุคคลเหล่านี้อาจนั่งอยู่นอกห้องก็ได้หากมีการหารือลับกัน"
**แฉวิ่งโร่ไปพม่ากลัวชินคอร์ปสูญเงิน
แหล่งข่าวจากหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยหลายหน่วย ระบุตรงกันว่า การเดินทางด่วนไปพม่าของ พ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งนี้ แม้ว่าจะมี ผบ.ทบ.เดินทางไปในคณะด้วยก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดตามคณะไป ล้วนแต่เป็นทีมนักธุรกิจ ที่ นายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ เลขานุการส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้พิจารณาทั้งสิ้น
สำหรับประเด็นที่คาดว่ามีการนำไปเจรจากันครั้งนี้ เรื่องหลัก น่าจะเป็นเรื่อง ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการหาเสียงสนับสนุนจากนานาชาติเพื่อชิงเก้า เลขาธิการสหประชาชาติ หรือ UN ของนายสุรเกียรติ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งประเด็นหนึ่งที่มีการหยิบยกไปหาเสียงก็คือ การพยายามให้พม่าเป็นประเทศประชาธิปไตย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย - พม่า อย่างเลี่ยงไม่พ้น
นอกจากนี้จะมีผลกระทบตามมาคือ สัญญาระหว่างรัฐบาลพม่า - ไทย หลายกรณีอาจจะถูกยกเลิกกลางคัน เช่น กรณีสัมปทานทำระบบโทรศัพท์ในพม่าของกลุ่มชินฯ ที่มีเอ็กซ์ซิมแบงก์ของไทยสนับสนุนเงินกู้ 4,000 ล้านบาท ซึ่งตามสัญญาระบุไว้ว่า เมื่อกลุ่มชินฯ ส่งสินค้าให้พม่าแล้ว หลังการเซ็นรับมอบ กลุ่มชินฯ จะเป็นผู้เบิกเงินจาก เอ็กซ์ซิมแบงก์เอง หากมีการฉีกสัญญานั่นหมายถึง เม็ดเงินที่เหลือ กลุ่มชินฯ ก็จะเบิกออกมาไม่ได้ ขณะที่พม่าเองไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากระยะหลังมีกลุ่มทุนจากจีน เข้ามาลงทุนในกิจการโทรคมนาคมในพม่า ทดแทนแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อคราวมีการปลด พล.อ.ขิ่นยุ้นต์ ลงจากนายกรัฐมนตรี ก็มีข่าวว่าพม่าจะฉีกสัญญาฉบับนี้ทิ้ง เนื่องจากเห็นว่า มีการทุจริตกันจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีการปลด พล.อ.ขิ่นยุ้นต์ คราวนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็บินด่วนเข้าพม่าเพื่อเจรจากันมาแล้วครั้งหนึ่ง
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ในระยะที่ผ่านมาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย - พม่า ตามแนวชายแดนภาคเหนือก็มีปัญหาเกิดขึ้นตลอด เริ่มตั้งแต่การสกัดการนำเข้าสินค้าจากไทยตามแนวชายแดนทุกจุด จนทำให้ยอดการค้าหายลดลง อย่างมาก เช่นที่ อ.แม่สอด เหลือเพียง 7-800 ล้านบาท จากเดิมที่เคยมีมูลค่าการค้า มากกว่า 1,100 - 1,300 ล้านบาท , อ.แม่สาย มีความเสียหายเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 1 พันล้าน/เดือน และล่าสุดพม่ายังสั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยทุกชนิดอีกด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการประชุม คณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) ไทย-พม่า-ลาว-จีน ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเทวราช จ.น่าน ซึ่งทึ้ง จีน - ลาว ล้วนแต่ส่งตัวแทนเข้ามาร่วมประชุมด้วย ส่วนเวียดนาม ส่งผู้แทนร่วมสังเกตการณ์ในการประชุม แต่ปรากฏว่า ในการประชุมครั้งนี้ไม่มีตัวแทนจากพม่าเข้าร่วมหารือด้วย โดยมีการแจ้งกันในที่ประชุมว่า รัฐบาลกลางของพม่า ไม่อนุญาตให้ส่งผู้แทนเข้ามาร่วมประชุม