องค์การเภสัชกรรม พลิกบทรุกธุรกิจค้าปลีกร้านขายยาอีกรอบ เข็ดรูปแบบร้านสะดวกซื้อ หลังทำแล้วไม่เวิร์ค หันกลับมาขอลุยเองดีกว่า เลิกว่าจ้างเอกชนบริหารทำตลาดแล้ว พร้อมปรับคอนเซ็ปท์สู่ โมเดิร์นฟาร์มาซีชอป ที่ไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อ เล็งทำเลย่านชุมชน ประเดิมตุลาคมนี้คาดเปิด 5 สาขา คาดหวังรายได้ 10 ล้านบาทต่อสาขาต่อปี เผยเป็นอีกหนึ่งอาวุธดันรายได้รวมทะลุ 5,000 ล้านบาทปีนี้
แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจค้าปลีกยา เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า หลังจากที่โครงการ "ร้านสะดวกซื้อ จีพีโอ" ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่ต้องการจะรุกตลาดในเชิงค้าปลีกมากขึ้นได้ทดลองเปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลสำโรงแล้วไม่ประสบความสำเร็จและได้ปิดร้านแล้วนั้น ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวของทางองค์การเภสัชกรรมที่ได้ปรับแผนการดำเนินงานใหม่แล้ว โดยจะหันมาดำเนินการเองทั้งหมดทั้งการลงทุนและการบริหาร จัดการต่างๆ รวมทั้งจะปรับรูปแบบเป็นร้านขายาตามแบบเดิมที่เคยทำมาแต่จะเป็นแนว โมเดิร์นฟาร์มาซีชอป (Modern Pharmacy Shop) เปิดแบบสแตนด์โลน
จากเดิมที่จะลงทุนเอง แต่ว่าจ้างเอกชนบริหารจัดการการตลาดให้ แล้วแบ่งรายได้เป็นเปอร์เซนต์ตามที่ตกลงกันจากรายได้ของการขาย และจะเปิดในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และทั่วไป และใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มากกว่า 200 ตารางเมตร ซึ่งทำให้การหาทำเลดีๆและพื้นที่ใหญ่มีความลำบาก (อ่านล้อมกรอบประกอบ "เผยเหตุปิดร้านทดลองจีพีโอแห่งแรก" )
ทั้งนี้หลังจากที่กำหนดแนวทางใหม่แล้ว จะเตรียมเปิดร้านของตัวเองโดยใช้ชื่อว่า "จีพีโอ ร้านขายยาองค์การเภสัชกรรม" ซึ่งในช่วงแรกนี้จะเปิดพร้อมกันประมาณ 5 สาขาในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ กระจายไปในพื้นที่ที่หลากหลายเพื่อทำการเก็บข้อมูลที่หลากหลายด้วยในการนำมาศึกษาเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ก่อนที่จะรุกหนักในปีหน้า
โดยพื้นที่ที่เตรียมไว้ขณะนี้ จำนวน 5 แห่ง โดย 4 ที่นั้นตกลงกันเรียบร้อยแล้วกับเจ้าของพื้นที่คือ ซอยศาลาแดง, ถนนพัฒนาการหน้าตลาดสดพัฒนาการและซอยปรีดีพนมยงค์ต้นถนนพัฒนาการ, บางบอนหน้าตลาด0กำนันแม้น ส่วนอีก 1 ที่นั้นอยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียดคือ ตรงข้ามโรงพยาลบาลพระมงกุฎ ในรูปแบบตึกแถวขนาด 2 คูหาเป็นหลัก พื้นที่เฉลี่ย 60-80 ตารางเมตร คาดว่าจะต้องใช้งบลงทุนเฉลี่ย 1-2 ล้านบาทต่อสาขา โดยจะเป็นการเช่าพื้นที่ทั้งหมด ระยะเวลาเฉลี่ย 3 ปีต่อสาขา ซึ่งการหาทำเลนั้นจะเน้นไปที่ย่านชุมชนเป็นหลัก
รูปแบบใหม่จะเน้นการขายยาเป็นหลัก รวมทั้งจะขยายไลน์ไปยังผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสมุนไพรไทยด้วย แต่จะลดสัดส่วนการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ยาเช่น อุปกรณ์ สแน็ก บริการต่างๆที่ไม่กี่ยวข้องที่เคยทำเมื่อเปิดร้านที่สำโรง ขณะที่สัดส่วนผลิตภัณฑ์ยาในการวางจำหน่ายนั้นระหว่างขององค์การเภสัชกรรมกับของซัปพลายเออร์นั้นจะแตกต่างกันไปตามทำเล เช่น ที่ซอยศาลาแดงนั้นคาดว่าจะเป็นสัดส่วนขององค์การฯ และซัปพลายเออร์เท่ากัน 50-50 เนื่องจากย่านนั้นเป็นย่านธุรกิจมีคนรุ่นใหม่และคนทำงานออฟฟิศจำนวนมาก จึงจะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายไว้บริการ
สำหรับร้านในรูปแบบเดิมอีก 6 สาขาที่เป็นขององค์การเภสัชกรรมของและเปิดมานานแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการทดลองกับเอกชน คือ สาขาที่อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลรามาธิบดี, ยศเส, รังสิต, กระทรวงสาธารณสุข, จรัลสนิทวงศ์และเทเวศร์ คาดว่าอาจจะต้องมีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้เป็นคอนเซ็ปท์ โมเดิร์น ฟาร์มาซี ชอป แบบเดียวกับที่จะเปิดใหม่นี้ แต่จะทยอยปรับในแต่สาขา
ทั้งนี้ร้านค้าใหม่ที่จะเปิดบริการเร็วๆนี้ องค์การเภสัชกรรมเองก็คาดหวังว่าจะมีรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อสาขาต่อวัน หรือประมาณ 10 ล้านบาทต่อปีต่อสาขา โดยหากเปิด 5 สาขาในปีนี้ก็จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 50ล้านบาท ในระยะเวลาปีแรกของการเปิดดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ที่องค์การเภสัชกรรม นำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวนรายได้นั้น ประเมินมาจากตัวเลขขั้นต่ำที่สุดแล้ว ที่น่าจะทำได้ โดยเปรียบเทียบกับ 6 สาขาเดิมที่เปิดอยู่นั้น สาขาที่ทำรายได้ต่ำที่สุดก็มากกว่า 50,000 บาทต่อวันต่อสาขาแล้ว ขณะที่สาขี่ทำรายได้สูงที่สุดนั้นอยู่ที่ 400,000 บาทต่อวัน และมีผลกำไรทั้งสิ้น
ธุรกิจค้าปลีกยานี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันรายได้ให้กับองค์การเภสัชกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยปีนี้คาดว่าจะมียอดขายโดยรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งมาจากรายได้ของยาขององค์การเภสัชกรรมเองประมาณ 4,500 ล้านบาท และรายได้จากการจำหน่ายยาของผู้ผลิตรายอื่นประมาณ 500 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจค้าปลีกยา เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า หลังจากที่โครงการ "ร้านสะดวกซื้อ จีพีโอ" ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่ต้องการจะรุกตลาดในเชิงค้าปลีกมากขึ้นได้ทดลองเปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลสำโรงแล้วไม่ประสบความสำเร็จและได้ปิดร้านแล้วนั้น ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวของทางองค์การเภสัชกรรมที่ได้ปรับแผนการดำเนินงานใหม่แล้ว โดยจะหันมาดำเนินการเองทั้งหมดทั้งการลงทุนและการบริหาร จัดการต่างๆ รวมทั้งจะปรับรูปแบบเป็นร้านขายาตามแบบเดิมที่เคยทำมาแต่จะเป็นแนว โมเดิร์นฟาร์มาซีชอป (Modern Pharmacy Shop) เปิดแบบสแตนด์โลน
จากเดิมที่จะลงทุนเอง แต่ว่าจ้างเอกชนบริหารจัดการการตลาดให้ แล้วแบ่งรายได้เป็นเปอร์เซนต์ตามที่ตกลงกันจากรายได้ของการขาย และจะเปิดในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และทั่วไป และใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มากกว่า 200 ตารางเมตร ซึ่งทำให้การหาทำเลดีๆและพื้นที่ใหญ่มีความลำบาก (อ่านล้อมกรอบประกอบ "เผยเหตุปิดร้านทดลองจีพีโอแห่งแรก" )
ทั้งนี้หลังจากที่กำหนดแนวทางใหม่แล้ว จะเตรียมเปิดร้านของตัวเองโดยใช้ชื่อว่า "จีพีโอ ร้านขายยาองค์การเภสัชกรรม" ซึ่งในช่วงแรกนี้จะเปิดพร้อมกันประมาณ 5 สาขาในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ กระจายไปในพื้นที่ที่หลากหลายเพื่อทำการเก็บข้อมูลที่หลากหลายด้วยในการนำมาศึกษาเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ก่อนที่จะรุกหนักในปีหน้า
โดยพื้นที่ที่เตรียมไว้ขณะนี้ จำนวน 5 แห่ง โดย 4 ที่นั้นตกลงกันเรียบร้อยแล้วกับเจ้าของพื้นที่คือ ซอยศาลาแดง, ถนนพัฒนาการหน้าตลาดสดพัฒนาการและซอยปรีดีพนมยงค์ต้นถนนพัฒนาการ, บางบอนหน้าตลาด0กำนันแม้น ส่วนอีก 1 ที่นั้นอยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียดคือ ตรงข้ามโรงพยาลบาลพระมงกุฎ ในรูปแบบตึกแถวขนาด 2 คูหาเป็นหลัก พื้นที่เฉลี่ย 60-80 ตารางเมตร คาดว่าจะต้องใช้งบลงทุนเฉลี่ย 1-2 ล้านบาทต่อสาขา โดยจะเป็นการเช่าพื้นที่ทั้งหมด ระยะเวลาเฉลี่ย 3 ปีต่อสาขา ซึ่งการหาทำเลนั้นจะเน้นไปที่ย่านชุมชนเป็นหลัก
รูปแบบใหม่จะเน้นการขายยาเป็นหลัก รวมทั้งจะขยายไลน์ไปยังผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสมุนไพรไทยด้วย แต่จะลดสัดส่วนการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ยาเช่น อุปกรณ์ สแน็ก บริการต่างๆที่ไม่กี่ยวข้องที่เคยทำเมื่อเปิดร้านที่สำโรง ขณะที่สัดส่วนผลิตภัณฑ์ยาในการวางจำหน่ายนั้นระหว่างขององค์การเภสัชกรรมกับของซัปพลายเออร์นั้นจะแตกต่างกันไปตามทำเล เช่น ที่ซอยศาลาแดงนั้นคาดว่าจะเป็นสัดส่วนขององค์การฯ และซัปพลายเออร์เท่ากัน 50-50 เนื่องจากย่านนั้นเป็นย่านธุรกิจมีคนรุ่นใหม่และคนทำงานออฟฟิศจำนวนมาก จึงจะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายไว้บริการ
สำหรับร้านในรูปแบบเดิมอีก 6 สาขาที่เป็นขององค์การเภสัชกรรมของและเปิดมานานแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการทดลองกับเอกชน คือ สาขาที่อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลรามาธิบดี, ยศเส, รังสิต, กระทรวงสาธารณสุข, จรัลสนิทวงศ์และเทเวศร์ คาดว่าอาจจะต้องมีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้เป็นคอนเซ็ปท์ โมเดิร์น ฟาร์มาซี ชอป แบบเดียวกับที่จะเปิดใหม่นี้ แต่จะทยอยปรับในแต่สาขา
ทั้งนี้ร้านค้าใหม่ที่จะเปิดบริการเร็วๆนี้ องค์การเภสัชกรรมเองก็คาดหวังว่าจะมีรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อสาขาต่อวัน หรือประมาณ 10 ล้านบาทต่อปีต่อสาขา โดยหากเปิด 5 สาขาในปีนี้ก็จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 50ล้านบาท ในระยะเวลาปีแรกของการเปิดดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ที่องค์การเภสัชกรรม นำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวนรายได้นั้น ประเมินมาจากตัวเลขขั้นต่ำที่สุดแล้ว ที่น่าจะทำได้ โดยเปรียบเทียบกับ 6 สาขาเดิมที่เปิดอยู่นั้น สาขาที่ทำรายได้ต่ำที่สุดก็มากกว่า 50,000 บาทต่อวันต่อสาขาแล้ว ขณะที่สาขี่ทำรายได้สูงที่สุดนั้นอยู่ที่ 400,000 บาทต่อวัน และมีผลกำไรทั้งสิ้น
ธุรกิจค้าปลีกยานี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันรายได้ให้กับองค์การเภสัชกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยปีนี้คาดว่าจะมียอดขายโดยรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งมาจากรายได้ของยาขององค์การเภสัชกรรมเองประมาณ 4,500 ล้านบาท และรายได้จากการจำหน่ายยาของผู้ผลิตรายอื่นประมาณ 500 ล้านบาท