ผู้จัดการรายวัน - 33 รายที่ถูกตลาดหลักทรัพย์ระบุความผิดสร้างราคาหุ้น IEC ส่อเค้ารอด หลังก.ล.ต.ตรวจสอบไม่พบความผิดที่ชัดเจน พบ 1 ใน 33 รายเป็นแค่ที่ปรึกษาบริษัทและมีรายการซื้ออย่างเดียวโดยเท่านั้นไม่เคยทำรายการขายแต่ติดร่างเห่ ขณะที่การฟ้องร้องเอาผิดตลท.ยากเหตุไม่เคยระบุชื่อชัดเจน
แหล่งข่าวจากบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศส่งผลการตรวจสอบในเรื่องความผิดปกติของราคาหุ้นบมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง ในช่วงปลายเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2548 ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือก.ล.ต. โดยระบุว่าพบว่ามีกลุ่มบุคคล 33 รายเข้าไปมีส่วนในการสร้างราคาหุ้นว่า จากข้อมูลที่ได้รับทราบการตรวจสอบของสำนักงานก.ล.ต.พบว่ากลุ่มบุคคลทั้ง 33 รายดังกล่าวที่ตลาดหลักทรัพย์ระบุว่าเป็นกลุ่มที่สร้างราคาหุ้นไม่มีความผิดเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าทั้ง 33 รายมีความเกี่ยวข้องกับราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์เป็นไปในลักษณะที่ยังไม่มีความรัดกุมมากนัก เนื่องจาก 1 ในผู้ที่ถูกตลาดหลักทรัพย์ระบุความผิดแม้ว่าจะไม่เคยมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเพียงแค่ที่ปรึกษาบริษัทเท่านั้น ซึ่งหากจะเข้าไปตรวจสอบการซื้อขายหุ้นในช่วงดังกล่าวจะพบว่ามีการทำรายการซื้อเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการทำรายการขายและต้นทุนที่ซื้อยังสูงกว่าราคาที่ซื้อขายทำให้นักลงทุนรายดังกล่าวยังมีผลขาดทุนจากการเข้ามาลงทุนซึ่งไม่สอดคล้องกับการระบุความผิดของตลาดหลักทรัพย์
ในส่วนของเรื่องการยื่นเรื่องฟ้องร้องตลาดหลักทรัพย์ในเรื่องที่ทำให้ำได้รับความเสียหายน่าจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานก.ล.ต.ไม่เคยมีการเปิดเผยชื่อบุคคลทั้ง 33 รายอย่างเป็นทางการแม้ว่าจากข้อมูลที่ได้รับทราบมาจะรู้ว่าบุคคลใดอยู่ในรายชื่อดังกล่าวบ้างก็ตาม
"หน่วยงานที่กำกับดูแลไม่ควรใช้อัคติเข้ามาในการตรวจสอบและการตรวจสอบควรจะต้องให้มีหลักฐานที่ชัดเจนก่อนที่จะระบุความผิดของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อให้ทุกบริษัทได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกัน"แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทก็จะไม่มีการดำเนินการใดๆต่อเนื่องจากอย่างให้หน่วยงานที่เป็นผู้กำกับดูแลมองถึงความสามารถในการทำธุรกิจรวมถึงนโยบายของผู้บริหารบ้าง โดยบริษัทจะเน้นการสร้างผลงานเพื่อพิสูจน์ให้นักลงทุน, ผู้ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนรวมถึงตลาดหลักทรัพย์ได้รับทราบถึงความสามารถและแนวโน้มการเติบโตของบริษัทเพื่อลบอัคติที่เคยเกิดขึ้น
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ตลาดหลักทรัพย์เคยสั่งห้ามมีการซื้อขายหุ้น IEC เป็นการชั่วคราว 5 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2549 เนื่องจากตรวจพบความผิดปกติในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยเบื้องต้นพิจารณาได้ว่าการซื้อขายดังกล่าวอาจเข้าข่ายการสร้างราคาหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีข้อสรุปคือ 1.ราคาและมูลค่าการซื้อขายหุ้น IEC ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2548 มีการปรับตัวเคลื่อนไหวสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็วและรุนแรง ไม่สอดคล้องกับภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวม โดยราคาเพิ่มขึ้นจาก 1.29 บาท เป็น 4.88 บาท เพิ่มขึ้น 278.29% และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2548 ที่ 661.44 ลบ. เป็น 5,186.88 ลบ. ในเดือนธันวาคม 2548 เพิ่มขึ้น 684.18% และในช่วงต้นปี 2549 (3-13 มกราคม 2549) ราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงเป็น 7.40 บาท เพิ่มขึ้นอีก 51.64 % โดยการซื้อขายในช่วง 9 วันทำการ มีมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 5,718.34 ลบ.
2. พบกลุ่มบุคคลมากกว่า 30 ราย ที่มีลักษณะการซื้อขายหุ้น IEC สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เข้าทำการซื้อขายในหลักทรัพย์ IEC กระจุกตัวเป็นระยะๆในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะผลักดันราคาหลักทรัพย์ให้เพิ่มขึ้น และจับคู่ซื้อขายกันเองของบุคคลในกลุ่ม ตลอดจนมีการซื้อหลักทรัพย์ในช่วงใกล้ปิดตลาดเพื่อทำให้ราคาปิดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหลายครั้ง
3.ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ใช้มาตรการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนทั่วไปและภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวมอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการใช้มาตรการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะหักกลบราคาค่าซื้อค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (Net Settlement)
และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Trading) ในหลักทรัพย์ IEC และมีการแจ้งเตือนให้บริษัทหลักทรัพย์กำกับดูแลการซื้อขายหุ้น IEC ของกลุ่มบุคคล จำนวน6 ครั้ง แต่ลักษณะการซื้อขายหุ้นIEC ของผู้ลงทุนที่มีลักษณะการซื้อขายสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ยังคงเป็นไปลักษณะเดิม
แหล่งข่าวจากบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศส่งผลการตรวจสอบในเรื่องความผิดปกติของราคาหุ้นบมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง ในช่วงปลายเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2548 ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือก.ล.ต. โดยระบุว่าพบว่ามีกลุ่มบุคคล 33 รายเข้าไปมีส่วนในการสร้างราคาหุ้นว่า จากข้อมูลที่ได้รับทราบการตรวจสอบของสำนักงานก.ล.ต.พบว่ากลุ่มบุคคลทั้ง 33 รายดังกล่าวที่ตลาดหลักทรัพย์ระบุว่าเป็นกลุ่มที่สร้างราคาหุ้นไม่มีความผิดเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าทั้ง 33 รายมีความเกี่ยวข้องกับราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์เป็นไปในลักษณะที่ยังไม่มีความรัดกุมมากนัก เนื่องจาก 1 ในผู้ที่ถูกตลาดหลักทรัพย์ระบุความผิดแม้ว่าจะไม่เคยมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเพียงแค่ที่ปรึกษาบริษัทเท่านั้น ซึ่งหากจะเข้าไปตรวจสอบการซื้อขายหุ้นในช่วงดังกล่าวจะพบว่ามีการทำรายการซื้อเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการทำรายการขายและต้นทุนที่ซื้อยังสูงกว่าราคาที่ซื้อขายทำให้นักลงทุนรายดังกล่าวยังมีผลขาดทุนจากการเข้ามาลงทุนซึ่งไม่สอดคล้องกับการระบุความผิดของตลาดหลักทรัพย์
ในส่วนของเรื่องการยื่นเรื่องฟ้องร้องตลาดหลักทรัพย์ในเรื่องที่ทำให้ำได้รับความเสียหายน่าจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานก.ล.ต.ไม่เคยมีการเปิดเผยชื่อบุคคลทั้ง 33 รายอย่างเป็นทางการแม้ว่าจากข้อมูลที่ได้รับทราบมาจะรู้ว่าบุคคลใดอยู่ในรายชื่อดังกล่าวบ้างก็ตาม
"หน่วยงานที่กำกับดูแลไม่ควรใช้อัคติเข้ามาในการตรวจสอบและการตรวจสอบควรจะต้องให้มีหลักฐานที่ชัดเจนก่อนที่จะระบุความผิดของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อให้ทุกบริษัทได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกัน"แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทก็จะไม่มีการดำเนินการใดๆต่อเนื่องจากอย่างให้หน่วยงานที่เป็นผู้กำกับดูแลมองถึงความสามารถในการทำธุรกิจรวมถึงนโยบายของผู้บริหารบ้าง โดยบริษัทจะเน้นการสร้างผลงานเพื่อพิสูจน์ให้นักลงทุน, ผู้ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนรวมถึงตลาดหลักทรัพย์ได้รับทราบถึงความสามารถและแนวโน้มการเติบโตของบริษัทเพื่อลบอัคติที่เคยเกิดขึ้น
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ตลาดหลักทรัพย์เคยสั่งห้ามมีการซื้อขายหุ้น IEC เป็นการชั่วคราว 5 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2549 เนื่องจากตรวจพบความผิดปกติในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยเบื้องต้นพิจารณาได้ว่าการซื้อขายดังกล่าวอาจเข้าข่ายการสร้างราคาหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีข้อสรุปคือ 1.ราคาและมูลค่าการซื้อขายหุ้น IEC ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2548 มีการปรับตัวเคลื่อนไหวสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็วและรุนแรง ไม่สอดคล้องกับภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวม โดยราคาเพิ่มขึ้นจาก 1.29 บาท เป็น 4.88 บาท เพิ่มขึ้น 278.29% และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2548 ที่ 661.44 ลบ. เป็น 5,186.88 ลบ. ในเดือนธันวาคม 2548 เพิ่มขึ้น 684.18% และในช่วงต้นปี 2549 (3-13 มกราคม 2549) ราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงเป็น 7.40 บาท เพิ่มขึ้นอีก 51.64 % โดยการซื้อขายในช่วง 9 วันทำการ มีมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 5,718.34 ลบ.
2. พบกลุ่มบุคคลมากกว่า 30 ราย ที่มีลักษณะการซื้อขายหุ้น IEC สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เข้าทำการซื้อขายในหลักทรัพย์ IEC กระจุกตัวเป็นระยะๆในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะผลักดันราคาหลักทรัพย์ให้เพิ่มขึ้น และจับคู่ซื้อขายกันเองของบุคคลในกลุ่ม ตลอดจนมีการซื้อหลักทรัพย์ในช่วงใกล้ปิดตลาดเพื่อทำให้ราคาปิดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหลายครั้ง
3.ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ใช้มาตรการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนทั่วไปและภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวมอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการใช้มาตรการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะหักกลบราคาค่าซื้อค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (Net Settlement)
และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Trading) ในหลักทรัพย์ IEC และมีการแจ้งเตือนให้บริษัทหลักทรัพย์กำกับดูแลการซื้อขายหุ้น IEC ของกลุ่มบุคคล จำนวน6 ครั้ง แต่ลักษณะการซื้อขายหุ้นIEC ของผู้ลงทุนที่มีลักษณะการซื้อขายสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ยังคงเป็นไปลักษณะเดิม