คนกรุงสาปส่งไทยรักไทย ส่งผลเลือกตั้งส.ก.-ส.ข.พ่ายยับเยิน ประชาธิปัตย์กวาด ส.ก.35ที่นั่ง ทรท.18 อิสระ 4 ปลัดกทม.พอใจยอดผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คาดจะมีการนับคะแนนเลือกตั้งส.ก.ใหม่ใน 10 เขต หลังมีผู้ร้องเรียนเข้ามา นักวิชาการชี้ ผลการเลือกตั้งสะท้อนว่า คนกรุงอยู่ใกล้ข้อมูลข่าวสาร จึงปฏิเสธคนของพรรคไทยรักไทย และจะส่งผลไปถึงการเลือกตั้งส.ส.ด้วย ขณะที่"พงษ์เทพ"อ้างเลือกตั้งท้องถิ่นกับส.ส.คนละเรื่อง "อภิสิทธิ์"สั่งเร่งภาระกิจด่วน 5 ข้อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนกรุง
เมื่อวานนี้ (24 ก.ค.)คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ได้ตั้งเป้าหมายจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง(ส.ก.) วันที่ 23 ก.ค.49 ร้อยละ 70 แต่ปรากฏว่ามีผู้มาใช้สิทธิ เพียงร้อยละ 41.94 เท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการประเมินผลว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงและแก้ไขในการเลือกตั้งครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามนับว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ยังมากกว่าเมื่อ 4 ปีก่อน จากสถิติเดิมเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.45 มีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง (ส.ก.)ร้อยละ 35.53
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ก.มีประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 50 เขตพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 3,996,881 คน จำนวนหน่วยเลือกตั้ง 6,229 หน่วย มีผู้มาแสดงตนใช้สิทธิ 1,676,234 คน คิดเป็นร้อยละ 41.94 ได้ลงคะแนน 1,547,174 คน คิดเป็นร้อยละ 38.71 ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 129,060 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23 บัตรเสีย 38,671 คิดเป็นร้อยละ 2.31 เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ เขตหนองจอก ร้อยละ 51.27 ส่วนเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ เขตบางกะปิ ร้อยละ 35.54
ทั้งนี้ ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ก.ทั้งสิ้น 57 คน เป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ 35 คน พรรคไทยรักไทย 18 คน อิสระ 4 คน โดยเป็น ส.ก.ใหม่ 18 คน และเป็น ส.ก.ที่เคยดำรงตำแหน่งในสมัยที่แล้ว 39คน
**ส.ข.ไทยรักไทยพ่ายยับเยิน
ส่วนของการเลือกตั้งส.ข.36 เขต มีจำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งสิ้น 2,732,403 คน จำนวนหน่วย 4,254 หน่วยเลือกตั้ง มีผู้มาใช้สิทธิ 1,166,646 คน คิดเป็นร้อยละ 42.70 ได้ลงคะแนน 1,166,646 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ไม่ลงคะแนน 115,687 คน คิดเป็นร้อยละ 9.92บัตรเสีย 55,800 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.78 เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดได้แก่ เขตหนองจอก คิดเป็นร้อยละ 51.11 ส่วนเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด ได้แก่ เขตคลองเตย คิดเป็นร้อยละ 37.66 ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ข. จำนวนทั้งสิ้น 255 คน แยกเป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ 176 คน พรรคไทยรักไทย 71 คน อิสระ 8 คน
**เผย 10 เขตมีปัญหานับคะแนน
คุณหญิงณฐนนท เปิดเผยถึงการร้องเรียนการเลือกตั้งส.ก.และ ส.ข.ว่า ขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้รับร้องเรียน 67 เรื่อง โดยก่อนหน้านี้ มีการร้องเรียนเข้ามา 31 เรื่อง กกต.รับพิจารณา 29 เรื่อง แต่ยังไม่มีการพิจารณาว่าเป็นร้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง และไม่รับ 2 เรื่อง ส่วนเรื่องร้องเรียนที่เหลืออีก 36 เรื่อง อยู่ระหว่างการพิจารณาของกกต.ว่าเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องส่งต่อให้กับคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนหรือไม่
สำหรับการร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการคัดค้านขอให้มีการนับคะแนนใหม่ของพรรคไทยรักไทยใน 10 เขต คือ เขตลาดพร้าว พญาไท บางพลัด บึงกุ่ม ดินแดง บางกะปิ วังทองหลาง ทุ่งครุ ธนบุรี และ จอมทอง เนื่องจากเห็นว่าคะแนนของพรรคที่ได้มีความสูสีกันต่างกันไม่กี่ร้อยคะแนน โดยผู้ร้องเกรงว่าจะมีการทุจริตระหว่างการนับคะแนน จึงอยากให้มีการนับคะแนนใหม่อีกครั้ง ซึ่งการพิจารณาคำร้องดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.ซึ่งหากกกต.ตัดสินว่าต้องนับคะแนนใหม่นั้นทาง กทม.ก็ยินดีที่จะดำเนินการ
ขณะนี้ ใน 10 เขตที่มีปัญหาการร้องเรียนได้มีการจัดเวรยามซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพรรคการเมืองที่ร้อง และฝ่ายที่ถูกร้องเพื่อเฝ้าหีบบัตรจนกว่าจะมีการตรวจสอบแล้วเสร็จ โดยในวันนี้จะมีการหารือร่วมกับผู้อำนวยการเขตทั้ง 10 เขต เพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
**ไม่เอาทรท.เพราะอยู่ใกล้ข่าวสาร
นายสุรชัย ศิริไกร อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งส.ก.-ส.ข.ที่ออกมามีความหมายว่า ประชาชนในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มากขึ้น และไม่ได้รู้สึกอะไรกับข่าวเรื่องการทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงของกทม. ซึ่งก็น่าจะถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
"แม้การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นโดยทั่วไป จะเน้นการเลือกที่ตัวบุคคลมากกว่าพรรค แต่ในคราวนี้เมื่อดูสถิติการเลือกตั้งส.ก.เมื่อปี 45 ส.ก.ที่ได้รับเลือกตั้งจากทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และไทยรักไทยจะต่างกันไม่มาก แต่ครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เยอะกว่าพรรคไทยรักไทยมาก ก็เป็นการบ่งชี้อย่างหนึ่งว่า คนกทม.มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อพรรคไทยรักไทยมากขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าจะมองอีกมุมหนึ่งคือ พรรคที่เป็นตัวเลือกให้กับคนกทม.มีไม่มาก คนกทม.อาจจะไม่ได้รักพรรคประชาธิปัตย์มากมายอะไร แต่ด้วยความต้องการที่สะท้อนความรู้สึกไม่พอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรัฐบาลของนายกฯ จึงทำให้หันไปลงคะแนนให้กับ ส.ก.พรรคประชาธิปัตย์"
นอกจากนี้ ส่วนตัวยังมองว่าผลการเลือกตั้ง ส.ก.ส่งผลให้เห็นอนาคตการเลือกตั้งส.ส.ของพรรคไทยรักไทยในกทม.ได้เป็นอย่างดี ซึ่งพรรคไทยรักไทยก็คงรู้ตัว และพยายามหาทางแก้ไขอยู่ แต่กับต่างจังหวัดนั้นคงจะเอาผลส.ก.ที่ออกมาไปเป็นตัวชี้วัดด้วยไม่ได้ เพราะคนกรุงเทพฯ จะมีความกระตือรือร้นกับข่าวสารมากกว่า แต่คนต่างจังหวัดยังตกอยู่ในอิทธิพลของหัวคะแนน
**เลือกตั้งท้องถิ่นกับส.ส.ไม่เกี่ยวกัน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข.ของพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงผลการเลือกตั้งที่พ่ายแพ้หมดรูป จะส่งผลถึงการเลือกตั้งส.ส.ในกรุงเทพฯหรือไม่ ว่า ผลการเลือกตั้งท้องถิ่น ต่างจากการเลือกตั้งในระดับชาติ เห็นได้จากที่ผ่านมาการเลือกตั้งท้องถิ่นที่พรรคไทยรักไทยได้คะแนนอย่างหนึ่ง แต่ในเวลาใกล้เคียงกันผลการเลือกตั้งในระดับชาติกลับออกมาเป็นอีกแบบ จึงต้องดูผลการเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค.ว่าคนกทม.จะตัดสินใจอย่างไร
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประธานภาคกทม. กล่าวว่า พรรคจะต้องย้อนกลับดูตัวเองด้วยว่าเรามีจุดบกพร่องอย่างไร และต้องแก้ไขปรับปรุงทำอะไรเพิ่มเติม คงโทษคนอื่นไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับนโยบายพรรค เชื่อว่าการเลือกตั้งสนามใหญ่ ประชาชนยังตอบรับนโยบายของพรรคอยู่
**อภิสิทธิ์สั่งเร่งพัฒนา 5 ด้านหลัก
ในวันเดียวกันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รองเลขธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การเลือกตั้งส.ก.-ส.ข.ได้ร่วมหารือถึงวาระเร่งด่วนที่ต้องเร่งผลักดันหลังจากที่ชาวกทม.ให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อย่างท่วมท้น
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ภาระกิจเร่งด่วนที่พรรคต้องทำมี 5 ข้อ ได้แก่ 1.ระบบขนส่งมวลชน และการแก้ปัญหาจราจร โดยพรรคยืนยันว่า ส.ก.ของพรรคจะสนับสนุนผู้ว่าฯกทม.ในการสนับสนุนงบประมาณ และโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของกทม. 3 สาย ขณะเดียวกันทางผู้ว่าฯกทม.กำลังดำเนินการในการจัดทำแผนในส่วนต่อขยายระบบที่ป้อนเข้าสู่ระบบหลักเพิ่มเติมอีก
สิ่งพรรคอยากเรียกร้องจากรัฐบาล คือ การให้ใบอนุญาตระบบขนส่งรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที)ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการบางเส้นทางแล้ว แต่ติดขัดเพียงแต่ใบอนุญาต จึงขอให้รัฐบาลเร่งรัดเรื่องนี้ เพราะจริงแล้วโครงการดังกล่าวอยู่ในแผนสำนักงานนโยบบาย และแผนการขนส่ง และการจราจร(สนข.)อยู่แล้ว
2.การศึกษา ผู้ว่าฯ กทม.จะผลักดันโดยการสนับสนันงบประมาณจากทางสภากทม.คือเรื่องการจัดการเรียนฟรีในโรงเรียนกทม. โดยมีการเน้นการเรียน การสอน วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งผลักดันกิจกรรมด้านศิลปะ กีฬา ควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ในการพัฒนาคน
3.การสาธารณสุข เน้นเรื่องสาธารณสุขเชิงรุก เป็นวาระประชาชนด้านสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการจัดบริการเข้าไปถึงในระดับชุมชน และครอบครัวอย่างชัดเจน
4.เศรษฐกิจ โดยจะสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งวาระประชชนได้พูดถึงกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง โดยทางผู้ว่าฯกทม.กำลังดำเนินการจัดตั้งกองทุน เพื่อไปเสริมกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงที่กทม.ได้ดำเนินการอยู่แล้ว รวมไปถึงการฝึกอาชีพ ส่งเสริมการออม การจัดบริการให้ครบวงจร
5.สิ่งแวดล้อม เรื่องขยะ ยุง น้ำเน่า จะต้องมีการดำเนินการอย่างชัดเจน
นอกเหนือจาก 5 ด้านนี้แล้ว สิ่งที่เป็นหัวใจแนวทางสำคัญของพรรค คือ เรื่องการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม โดยต้องการระดมบทบาทของส.ก. ส.ข. โดยผู้ว่าฯกทม.มีแนวคิดว่า หลายเรื่องจะกระจายอำนาจไปสู่ระดับเขต และทำงานใกล้ชิดกับท้องถิ่น รวมถึงเรื่องความโปร่งใส แม้ว่าพรรคจะมีเสียงข้างมากในสภากทม. แต่ผู้ว่า ฯ กทม.ก็พร้อมให้การตรวจสอบ จากส.ก.ไม่ว่าจะเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคอื่น
สำหรับผลการเลือกตั้ง ส.ก.และ ส.ข.ครั้งนี้จะถือเป็นชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คะแนนเสียงที่ได้รับเป็นความไว้วางใจที่ทั้งพรรค ผู้บริหารกทม.และสมาชิกพรรคได้รับ แต่ก็ไม่ถือว่าเรื่องนี้จะเป็นตัวบ่งบอกอะไรกับการเลือกตั้ง ส.ส. เพราะการเลือกตั้งแต่ละครั้งก็มีนัยที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อพรรคนำเสนอผู้สมัคร และได้รับความไว้วางใจเป็นเสียงข้างมาก จะต้องผลักดันงานออกมาโดยเร็ว
เมื่อถามว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนท่วมท้นครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าสิ่งที่พรรคได้พยายามสื่อสารชัดเจนก็คือ พรรคอยากจะผลักดันงานสำคัญหลายๆ อย่างและผู้บริหารเป็นสมาชิกพรรค ซึ่งมีนโยบายและพรรคกำลังดำเนินการเรื่องวาระประชาชน จึงคิดว่าประชาชนคงให้โอกาสพรรคที่จะทำงานตรงนี้
ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส.จะต้องนำกลยุทธ์ครั้งนี้มาใช้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความจริงแล้วก็ไม่ต่างกันเพราะที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องของการตอบสนองประชาชน และนโยบาย และวาระประชาชนที่ทำอยู่ ในส่วนของการเลือกตั้งส.ส.ก็คือ การยืนยันว่าประชาชนต้องมาก่อน และพรรคต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาโดยเร็วทั้งเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องความสงบเรียบร้อย ไปจนถึงปัญหาสังคมต่างๆ
ด้านนายอภิรักษ์ กล่าวถึงการขอใบอนุญาตเดินรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที)ว่า ทางกทม.ได้ทำเรื่องขอรัฐบาลหลายครั้งแล้ว ซึ่งได้ขอมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง แต่รัฐบาลก็อ้างว่าให้รอรัฐบาลชุดใหม่ก่อน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้ทางกทม.จัดการทำรถบีอาร์ทีได้ ทั้งๆที่เป็นโครงการที่ได้หารือกับรัฐบาลตั้งแต่ต้น ซึ่งเราอยากได้ความร่วมมือจากรัฐบาลแต่ก็อยู่ที่ความตั้งใจ และเจตนาของรัฐบาลว่ายินที่จะสนับสนุนแก้ไขปัญหาของประชาชนหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมากในสภา กทม.จะเป็นเผด็จการเหมือนสภาใหญ่ หรือไม่ นายอภิรักษ์ กล่าวว่า คงต้องดูว่าสิ่งที่เราได้ประกาศในวันนี้ ว่าเราจะทำเรื่องต่างๆ ต่อไปอย่างไร เพราะเราเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง และการตรวจสอบไม่ได้ตรวจสอบเฉพาะสภา แต่สามารถตรวจสอบในกระบวนการอื่นด้วย ส่วนการทำงานร่วมกับสภากทม.คณะผู้บริหารก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
เมื่อวานนี้ (24 ก.ค.)คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ได้ตั้งเป้าหมายจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง(ส.ก.) วันที่ 23 ก.ค.49 ร้อยละ 70 แต่ปรากฏว่ามีผู้มาใช้สิทธิ เพียงร้อยละ 41.94 เท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการประเมินผลว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงและแก้ไขในการเลือกตั้งครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามนับว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ยังมากกว่าเมื่อ 4 ปีก่อน จากสถิติเดิมเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.45 มีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง (ส.ก.)ร้อยละ 35.53
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ก.มีประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 50 เขตพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 3,996,881 คน จำนวนหน่วยเลือกตั้ง 6,229 หน่วย มีผู้มาแสดงตนใช้สิทธิ 1,676,234 คน คิดเป็นร้อยละ 41.94 ได้ลงคะแนน 1,547,174 คน คิดเป็นร้อยละ 38.71 ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 129,060 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23 บัตรเสีย 38,671 คิดเป็นร้อยละ 2.31 เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ เขตหนองจอก ร้อยละ 51.27 ส่วนเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ เขตบางกะปิ ร้อยละ 35.54
ทั้งนี้ ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ก.ทั้งสิ้น 57 คน เป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ 35 คน พรรคไทยรักไทย 18 คน อิสระ 4 คน โดยเป็น ส.ก.ใหม่ 18 คน และเป็น ส.ก.ที่เคยดำรงตำแหน่งในสมัยที่แล้ว 39คน
**ส.ข.ไทยรักไทยพ่ายยับเยิน
ส่วนของการเลือกตั้งส.ข.36 เขต มีจำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งสิ้น 2,732,403 คน จำนวนหน่วย 4,254 หน่วยเลือกตั้ง มีผู้มาใช้สิทธิ 1,166,646 คน คิดเป็นร้อยละ 42.70 ได้ลงคะแนน 1,166,646 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ไม่ลงคะแนน 115,687 คน คิดเป็นร้อยละ 9.92บัตรเสีย 55,800 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.78 เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดได้แก่ เขตหนองจอก คิดเป็นร้อยละ 51.11 ส่วนเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด ได้แก่ เขตคลองเตย คิดเป็นร้อยละ 37.66 ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ข. จำนวนทั้งสิ้น 255 คน แยกเป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ 176 คน พรรคไทยรักไทย 71 คน อิสระ 8 คน
**เผย 10 เขตมีปัญหานับคะแนน
คุณหญิงณฐนนท เปิดเผยถึงการร้องเรียนการเลือกตั้งส.ก.และ ส.ข.ว่า ขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้รับร้องเรียน 67 เรื่อง โดยก่อนหน้านี้ มีการร้องเรียนเข้ามา 31 เรื่อง กกต.รับพิจารณา 29 เรื่อง แต่ยังไม่มีการพิจารณาว่าเป็นร้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง และไม่รับ 2 เรื่อง ส่วนเรื่องร้องเรียนที่เหลืออีก 36 เรื่อง อยู่ระหว่างการพิจารณาของกกต.ว่าเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องส่งต่อให้กับคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนหรือไม่
สำหรับการร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการคัดค้านขอให้มีการนับคะแนนใหม่ของพรรคไทยรักไทยใน 10 เขต คือ เขตลาดพร้าว พญาไท บางพลัด บึงกุ่ม ดินแดง บางกะปิ วังทองหลาง ทุ่งครุ ธนบุรี และ จอมทอง เนื่องจากเห็นว่าคะแนนของพรรคที่ได้มีความสูสีกันต่างกันไม่กี่ร้อยคะแนน โดยผู้ร้องเกรงว่าจะมีการทุจริตระหว่างการนับคะแนน จึงอยากให้มีการนับคะแนนใหม่อีกครั้ง ซึ่งการพิจารณาคำร้องดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.ซึ่งหากกกต.ตัดสินว่าต้องนับคะแนนใหม่นั้นทาง กทม.ก็ยินดีที่จะดำเนินการ
ขณะนี้ ใน 10 เขตที่มีปัญหาการร้องเรียนได้มีการจัดเวรยามซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพรรคการเมืองที่ร้อง และฝ่ายที่ถูกร้องเพื่อเฝ้าหีบบัตรจนกว่าจะมีการตรวจสอบแล้วเสร็จ โดยในวันนี้จะมีการหารือร่วมกับผู้อำนวยการเขตทั้ง 10 เขต เพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
**ไม่เอาทรท.เพราะอยู่ใกล้ข่าวสาร
นายสุรชัย ศิริไกร อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งส.ก.-ส.ข.ที่ออกมามีความหมายว่า ประชาชนในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มากขึ้น และไม่ได้รู้สึกอะไรกับข่าวเรื่องการทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงของกทม. ซึ่งก็น่าจะถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
"แม้การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นโดยทั่วไป จะเน้นการเลือกที่ตัวบุคคลมากกว่าพรรค แต่ในคราวนี้เมื่อดูสถิติการเลือกตั้งส.ก.เมื่อปี 45 ส.ก.ที่ได้รับเลือกตั้งจากทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และไทยรักไทยจะต่างกันไม่มาก แต่ครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เยอะกว่าพรรคไทยรักไทยมาก ก็เป็นการบ่งชี้อย่างหนึ่งว่า คนกทม.มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อพรรคไทยรักไทยมากขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าจะมองอีกมุมหนึ่งคือ พรรคที่เป็นตัวเลือกให้กับคนกทม.มีไม่มาก คนกทม.อาจจะไม่ได้รักพรรคประชาธิปัตย์มากมายอะไร แต่ด้วยความต้องการที่สะท้อนความรู้สึกไม่พอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรัฐบาลของนายกฯ จึงทำให้หันไปลงคะแนนให้กับ ส.ก.พรรคประชาธิปัตย์"
นอกจากนี้ ส่วนตัวยังมองว่าผลการเลือกตั้ง ส.ก.ส่งผลให้เห็นอนาคตการเลือกตั้งส.ส.ของพรรคไทยรักไทยในกทม.ได้เป็นอย่างดี ซึ่งพรรคไทยรักไทยก็คงรู้ตัว และพยายามหาทางแก้ไขอยู่ แต่กับต่างจังหวัดนั้นคงจะเอาผลส.ก.ที่ออกมาไปเป็นตัวชี้วัดด้วยไม่ได้ เพราะคนกรุงเทพฯ จะมีความกระตือรือร้นกับข่าวสารมากกว่า แต่คนต่างจังหวัดยังตกอยู่ในอิทธิพลของหัวคะแนน
**เลือกตั้งท้องถิ่นกับส.ส.ไม่เกี่ยวกัน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข.ของพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงผลการเลือกตั้งที่พ่ายแพ้หมดรูป จะส่งผลถึงการเลือกตั้งส.ส.ในกรุงเทพฯหรือไม่ ว่า ผลการเลือกตั้งท้องถิ่น ต่างจากการเลือกตั้งในระดับชาติ เห็นได้จากที่ผ่านมาการเลือกตั้งท้องถิ่นที่พรรคไทยรักไทยได้คะแนนอย่างหนึ่ง แต่ในเวลาใกล้เคียงกันผลการเลือกตั้งในระดับชาติกลับออกมาเป็นอีกแบบ จึงต้องดูผลการเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค.ว่าคนกทม.จะตัดสินใจอย่างไร
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประธานภาคกทม. กล่าวว่า พรรคจะต้องย้อนกลับดูตัวเองด้วยว่าเรามีจุดบกพร่องอย่างไร และต้องแก้ไขปรับปรุงทำอะไรเพิ่มเติม คงโทษคนอื่นไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับนโยบายพรรค เชื่อว่าการเลือกตั้งสนามใหญ่ ประชาชนยังตอบรับนโยบายของพรรคอยู่
**อภิสิทธิ์สั่งเร่งพัฒนา 5 ด้านหลัก
ในวันเดียวกันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รองเลขธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การเลือกตั้งส.ก.-ส.ข.ได้ร่วมหารือถึงวาระเร่งด่วนที่ต้องเร่งผลักดันหลังจากที่ชาวกทม.ให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อย่างท่วมท้น
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ภาระกิจเร่งด่วนที่พรรคต้องทำมี 5 ข้อ ได้แก่ 1.ระบบขนส่งมวลชน และการแก้ปัญหาจราจร โดยพรรคยืนยันว่า ส.ก.ของพรรคจะสนับสนุนผู้ว่าฯกทม.ในการสนับสนุนงบประมาณ และโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของกทม. 3 สาย ขณะเดียวกันทางผู้ว่าฯกทม.กำลังดำเนินการในการจัดทำแผนในส่วนต่อขยายระบบที่ป้อนเข้าสู่ระบบหลักเพิ่มเติมอีก
สิ่งพรรคอยากเรียกร้องจากรัฐบาล คือ การให้ใบอนุญาตระบบขนส่งรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที)ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการบางเส้นทางแล้ว แต่ติดขัดเพียงแต่ใบอนุญาต จึงขอให้รัฐบาลเร่งรัดเรื่องนี้ เพราะจริงแล้วโครงการดังกล่าวอยู่ในแผนสำนักงานนโยบบาย และแผนการขนส่ง และการจราจร(สนข.)อยู่แล้ว
2.การศึกษา ผู้ว่าฯ กทม.จะผลักดันโดยการสนับสนันงบประมาณจากทางสภากทม.คือเรื่องการจัดการเรียนฟรีในโรงเรียนกทม. โดยมีการเน้นการเรียน การสอน วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งผลักดันกิจกรรมด้านศิลปะ กีฬา ควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ในการพัฒนาคน
3.การสาธารณสุข เน้นเรื่องสาธารณสุขเชิงรุก เป็นวาระประชาชนด้านสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการจัดบริการเข้าไปถึงในระดับชุมชน และครอบครัวอย่างชัดเจน
4.เศรษฐกิจ โดยจะสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งวาระประชชนได้พูดถึงกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง โดยทางผู้ว่าฯกทม.กำลังดำเนินการจัดตั้งกองทุน เพื่อไปเสริมกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงที่กทม.ได้ดำเนินการอยู่แล้ว รวมไปถึงการฝึกอาชีพ ส่งเสริมการออม การจัดบริการให้ครบวงจร
5.สิ่งแวดล้อม เรื่องขยะ ยุง น้ำเน่า จะต้องมีการดำเนินการอย่างชัดเจน
นอกเหนือจาก 5 ด้านนี้แล้ว สิ่งที่เป็นหัวใจแนวทางสำคัญของพรรค คือ เรื่องการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม โดยต้องการระดมบทบาทของส.ก. ส.ข. โดยผู้ว่าฯกทม.มีแนวคิดว่า หลายเรื่องจะกระจายอำนาจไปสู่ระดับเขต และทำงานใกล้ชิดกับท้องถิ่น รวมถึงเรื่องความโปร่งใส แม้ว่าพรรคจะมีเสียงข้างมากในสภากทม. แต่ผู้ว่า ฯ กทม.ก็พร้อมให้การตรวจสอบ จากส.ก.ไม่ว่าจะเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคอื่น
สำหรับผลการเลือกตั้ง ส.ก.และ ส.ข.ครั้งนี้จะถือเป็นชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คะแนนเสียงที่ได้รับเป็นความไว้วางใจที่ทั้งพรรค ผู้บริหารกทม.และสมาชิกพรรคได้รับ แต่ก็ไม่ถือว่าเรื่องนี้จะเป็นตัวบ่งบอกอะไรกับการเลือกตั้ง ส.ส. เพราะการเลือกตั้งแต่ละครั้งก็มีนัยที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อพรรคนำเสนอผู้สมัคร และได้รับความไว้วางใจเป็นเสียงข้างมาก จะต้องผลักดันงานออกมาโดยเร็ว
เมื่อถามว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนท่วมท้นครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าสิ่งที่พรรคได้พยายามสื่อสารชัดเจนก็คือ พรรคอยากจะผลักดันงานสำคัญหลายๆ อย่างและผู้บริหารเป็นสมาชิกพรรค ซึ่งมีนโยบายและพรรคกำลังดำเนินการเรื่องวาระประชาชน จึงคิดว่าประชาชนคงให้โอกาสพรรคที่จะทำงานตรงนี้
ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส.จะต้องนำกลยุทธ์ครั้งนี้มาใช้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความจริงแล้วก็ไม่ต่างกันเพราะที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องของการตอบสนองประชาชน และนโยบาย และวาระประชาชนที่ทำอยู่ ในส่วนของการเลือกตั้งส.ส.ก็คือ การยืนยันว่าประชาชนต้องมาก่อน และพรรคต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาโดยเร็วทั้งเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องความสงบเรียบร้อย ไปจนถึงปัญหาสังคมต่างๆ
ด้านนายอภิรักษ์ กล่าวถึงการขอใบอนุญาตเดินรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที)ว่า ทางกทม.ได้ทำเรื่องขอรัฐบาลหลายครั้งแล้ว ซึ่งได้ขอมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง แต่รัฐบาลก็อ้างว่าให้รอรัฐบาลชุดใหม่ก่อน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้ทางกทม.จัดการทำรถบีอาร์ทีได้ ทั้งๆที่เป็นโครงการที่ได้หารือกับรัฐบาลตั้งแต่ต้น ซึ่งเราอยากได้ความร่วมมือจากรัฐบาลแต่ก็อยู่ที่ความตั้งใจ และเจตนาของรัฐบาลว่ายินที่จะสนับสนุนแก้ไขปัญหาของประชาชนหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมากในสภา กทม.จะเป็นเผด็จการเหมือนสภาใหญ่ หรือไม่ นายอภิรักษ์ กล่าวว่า คงต้องดูว่าสิ่งที่เราได้ประกาศในวันนี้ ว่าเราจะทำเรื่องต่างๆ ต่อไปอย่างไร เพราะเราเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง และการตรวจสอบไม่ได้ตรวจสอบเฉพาะสภา แต่สามารถตรวจสอบในกระบวนการอื่นด้วย ส่วนการทำงานร่วมกับสภากทม.คณะผู้บริหารก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี