ศูนย์ข่าวหาดใหญ่- สมาคมประมงและสมาคมปลาป่นแห่งประเทศไทย"โวย"บริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตอาหารสัตว์ ลักลอบนำเข้าปลาป่น โรงงานปลาป่นกระทบรอปิดตัวตายกว่า 110 แห่ง ยื่นหนังสือรัฐบาลช่วยเหลือด่วน และหากคำตอบไม่เป็นที่พอใจ อาจบุกหน้าทำเนียบฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการสมาคมประมงแห่งประเทศไทยประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหารผู้ผลิตปลาป่นไทย ที่ห้องประชุมบริษัทแปชิฟิก จำกัด อ.เมือง จ.สงขลา โดยมีนายทวี ปิยะพัฒนา นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นแห่งประเทศไทย นายมานะ ศรีพิทักษ์ รองประธานสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาการลักลอบนำเข้าปลาป่นจากพม่า เข้ามาตีตลาดปลาป่นไทยจนทำให้ตลาดปลาป่นไทยปั่นป่วน ทั้งๆ ที่ปลาเป็นหรือวัตถุดิบที่เข้าโรงงานปลาป่นปริมาณลดลง
นายทวี ปิยะพัฒนา นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ราคาปลาป่นขึ้นอยู่กับโรงงานอาหารสัตว์ ไในแต่ละวันมีความผันผวนอย่างมาก ผู้ซื้อรายใหญ่ของประเทศและมีอิทธิพลในรัฐบาลชุดปัจจุบัน การกระทำเช่นนี้เป็นการทำลายเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งสมาคมฯได้วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลมาตลอด 2 เดือน พบว่า มีการลักลอบนำเข้าปลาป่นจากทะเลอันดามันประเทศพม่า ที่ท่าเรือ จ.ระนอง ที่มีการนำเข้าอย่างต่อเนื่องในทุกๆ เดือน ในบางเดือนนำเข้าติดต่อกัน 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีการแจ้งตัวเลขที่ไม่ถูกต้องนัก จึงขอให้ภาครัฐเข้าไปตรวจสอบให้ชัดเจนด้วย และภาครัฐควรต้องเข้ามาเข้มงวดในการนำเข้าและเก็บภาษีอย่างถูกต้อง
นายทวี เปิดเผยอีกว่า วิธีการซื้อขายจะใช้ราคาตลาดที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก ช่วงระยะเวลาที่มีการนำเข้าจะสังเกตได้ว่าราคาปลาป่นภายในจะถูกปรับลดลงเป็นลำดับ จนถึงวันเสร็จสิ้นแล้วทิ้งห่าง 1-2 วันจะประกาศปรับราคาขึ้นทันที ซึ่งวานนี้ (24 ก.ค.) สมาคมฯได้ทำหนังสือร้องทุกข์ไปยังรักษาการรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำเนินการช่วยเหลือ ก่อนที่โรงงานอุตสาหกรรมปลาป่น 110 แห่ง และเรือประมงจะหยุดทำการประมงทั้งหมดกว่า 20,000 ลำอาจจะถึงขั้นเดินประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลด้วย
"เป็นลักษณะที่ต้องการทำลายอุตสาหกรรมภายในประเทศ ที่มีผลต่อเนื่องถึงชาวประมง เพราะการปรับราคาขึ้นลงเช่นนี้ โรงงานปลาป่นไม่สามารถที่จะปรับราคารับซื้อวัตถุดิบได้ เพราะการปรับราคาขึ้น 2 วันยังไม่ทันที่โรงงานปลาจะปรับราคาปลาเป็ดขึ้น ส่งผลเสียหายต่อชาวประมงอย่างมาก ซึ่งการทำเช่นนี้น่าจะเป็นการกระทำของผู้ค้าที่ต้องการทำกำไร ในระหว่างบริษัทในเครือด้วยกันมากกว่า" นายทวีกล่าว
นายมานะ ศรีพิทักษ์ รองประธานสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัญหาที่ชาวประมงประสบอยู่ในขณะนี้ไม่มีปลาในอ่าวไทย เรือประมงหยุดจับปลาร้อยละ 60 จากราคาน้ำมันสูงขึ้น และทรัพยากรปลาลดน้อยลง และมีการทำประมงผิดกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะใช้ตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร มีการทำอวนรุนและอวนปลากะตัก กระทบต่ออุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ ส่งผลให้แข่งขันกับต่างประเทศไม่ได้ ตนต้องการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายมากขึ้น ทั้งในส่วนชาวประมงและเจ้าหน้าที่รัฐ และมีการฟื้นฟูทะเลไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการสมาคมประมงแห่งประเทศไทยประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหารผู้ผลิตปลาป่นไทย ที่ห้องประชุมบริษัทแปชิฟิก จำกัด อ.เมือง จ.สงขลา โดยมีนายทวี ปิยะพัฒนา นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นแห่งประเทศไทย นายมานะ ศรีพิทักษ์ รองประธานสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาการลักลอบนำเข้าปลาป่นจากพม่า เข้ามาตีตลาดปลาป่นไทยจนทำให้ตลาดปลาป่นไทยปั่นป่วน ทั้งๆ ที่ปลาเป็นหรือวัตถุดิบที่เข้าโรงงานปลาป่นปริมาณลดลง
นายทวี ปิยะพัฒนา นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ราคาปลาป่นขึ้นอยู่กับโรงงานอาหารสัตว์ ไในแต่ละวันมีความผันผวนอย่างมาก ผู้ซื้อรายใหญ่ของประเทศและมีอิทธิพลในรัฐบาลชุดปัจจุบัน การกระทำเช่นนี้เป็นการทำลายเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งสมาคมฯได้วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลมาตลอด 2 เดือน พบว่า มีการลักลอบนำเข้าปลาป่นจากทะเลอันดามันประเทศพม่า ที่ท่าเรือ จ.ระนอง ที่มีการนำเข้าอย่างต่อเนื่องในทุกๆ เดือน ในบางเดือนนำเข้าติดต่อกัน 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีการแจ้งตัวเลขที่ไม่ถูกต้องนัก จึงขอให้ภาครัฐเข้าไปตรวจสอบให้ชัดเจนด้วย และภาครัฐควรต้องเข้ามาเข้มงวดในการนำเข้าและเก็บภาษีอย่างถูกต้อง
นายทวี เปิดเผยอีกว่า วิธีการซื้อขายจะใช้ราคาตลาดที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก ช่วงระยะเวลาที่มีการนำเข้าจะสังเกตได้ว่าราคาปลาป่นภายในจะถูกปรับลดลงเป็นลำดับ จนถึงวันเสร็จสิ้นแล้วทิ้งห่าง 1-2 วันจะประกาศปรับราคาขึ้นทันที ซึ่งวานนี้ (24 ก.ค.) สมาคมฯได้ทำหนังสือร้องทุกข์ไปยังรักษาการรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำเนินการช่วยเหลือ ก่อนที่โรงงานอุตสาหกรรมปลาป่น 110 แห่ง และเรือประมงจะหยุดทำการประมงทั้งหมดกว่า 20,000 ลำอาจจะถึงขั้นเดินประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลด้วย
"เป็นลักษณะที่ต้องการทำลายอุตสาหกรรมภายในประเทศ ที่มีผลต่อเนื่องถึงชาวประมง เพราะการปรับราคาขึ้นลงเช่นนี้ โรงงานปลาป่นไม่สามารถที่จะปรับราคารับซื้อวัตถุดิบได้ เพราะการปรับราคาขึ้น 2 วันยังไม่ทันที่โรงงานปลาจะปรับราคาปลาเป็ดขึ้น ส่งผลเสียหายต่อชาวประมงอย่างมาก ซึ่งการทำเช่นนี้น่าจะเป็นการกระทำของผู้ค้าที่ต้องการทำกำไร ในระหว่างบริษัทในเครือด้วยกันมากกว่า" นายทวีกล่าว
นายมานะ ศรีพิทักษ์ รองประธานสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัญหาที่ชาวประมงประสบอยู่ในขณะนี้ไม่มีปลาในอ่าวไทย เรือประมงหยุดจับปลาร้อยละ 60 จากราคาน้ำมันสูงขึ้น และทรัพยากรปลาลดน้อยลง และมีการทำประมงผิดกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะใช้ตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร มีการทำอวนรุนและอวนปลากะตัก กระทบต่ออุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ ส่งผลให้แข่งขันกับต่างประเทศไม่ได้ ตนต้องการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายมากขึ้น ทั้งในส่วนชาวประมงและเจ้าหน้าที่รัฐ และมีการฟื้นฟูทะเลไทย