“นร.จปร.ต้องกล้าหาญ ทั้งกายและใจ กล้าจะเผชิญ กล้ายอมรับความจริง และไม่หวั่นกลัวในสิ่งที่จะทำความดี ตั้งแต่เรามีทูลกระหม่อมอาจารย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้มาดูแลพวกเรา ทำให้พวกเราได้รับความรู้ ได้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ได้รับการยกย่องจากสังคม เป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนว่า เจ้านายอย่างสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จะมีพระเมตตาต่อ ร.ร.จปร.ของเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่พวกเราจะจดจำไม่ลืม และจะต้องตอบแทนบุญคุณ”
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษบรรยายพิเศษ แก่นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 จำนวน 950 นาย ที่หอประชุม ร.ร.จปร.เขาชะโงก ตำบลพราหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
วันนั้น, ข่าวใหญ่มิได้อยู่ที่วันครบรอบวันเกิดของพรรคไทยรักไทย หรือการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่ข่าวสำคัญอยู่ที่การบรรยายพิเศษของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นี้, โดยข้อความข้างต้นเป็นการบรรยายในช่วงท้ายสุด และในช่วงนี้เองที่น่าจะต้องถูกมองว่า มีความสำคัญอันเป็นนัยที่ต้องจับความมาเป็นความคิด และประเมินเข้าสู่สถานการณ์ทั้งหลายโดยรอบด้าน รวมทั้งทางการเมืองที่มีการทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการทหารที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเจ้าใหญ่ นายโต
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น ผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์การทหาร และประวัติศาสตร์ทั่วไป ในกองบัญชาการส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงมีพระยศทางทหารเป็น “พลเอกหญิง” ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง, นั้นมาเป็นเวลานานประมาณ 28 ปีแล้ว ทรงมีตารางสอนในขณะนี้ทุกวันพฤหัสบดีที่ ร.ร.จปร.และในวันอื่นๆ เมื่อทรงนำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ทรงเป็น “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ของนักเรียนนายร้อย จปร.ที่สำเร็จการศึกษาออกมารับราชการเป็นนายทหารถึง 24 รุ่น ลูกศิษย์ของ “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ในกองทัพบกรุ่นแรกๆ นั้น บางคนมียศถึงพันเอก (พิเศษ) แต่ยังมีอยู่น้อยคนยศและตำแหน่งลดหลั่นกันมาตามรุ่น และปีที่เข้ารับราชการเป็นนายทหาร ตั้งแต่จบใหม่ๆ เป็นร้อยตรีหมาดๆ
ในการจัดกำลังทหารนั้น หน่วยกำลังระดับกองทัพภาค รวมทั้งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ที่ถือเป็นอัตรากองทัพภาค ลงมาระดับกองพล กรม และกองพัน นั้น, ที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการใดๆ ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชานั้น คือหน่วยปฏิบัติจริงๆ ได้แก่ “กองพัน” การรับคำสั่งหรือการตัดสินใจสั่งการใดๆ ต่อกำลังพลอยู่ที่ตัวผู้บังคับกองพัน (ผบ.พัน) เหนือขึ้นไปคือ ระดับผู้บังคับการกรม ผู้บัญชาการกองพล หรือแม่ทัพภาคเป็นผู้ที่อยู่ในตำแหน่งเหนือ และห่างจากกำลังพลอันแท้จริง คำสั่งของผู้บังคับกองพันไปสู่ผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับหมวด ผู้บังคับหมเป็นคำสั่งที่ “ถึงตัว” กำลังพลและมีความสำคัญที่สุด เพราะกำลังพลจะฟังคำสั่งผู้บังคับกองพันของตนที่เป็นผู้บังคับบัญชาเหนือตนอันใกล้ชิดที่สุด
หน่วยกำลังที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และกองพลทหารม้าที่ 2 หรือทหารม้าสนามเป้า โดยผู้ที่เป็น “ผู้บังคับกองพัน” ของทั้ง 3 กองพลทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็น ลูกศิษย์ของทูลกระหม่อมอาจารย์ พล.อ.หญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทุกคน-ทุกกองพัน
นัยแห่งคำบรรยายพิเศษของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ท้ายสุดนั้นคือ “...เป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนว่า เจ้านายอย่างสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จะมีพระเมตตาต่อ ร.ร.จปร.ของเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่พวกเราจะจดจำไม่ลืม และจะต้องตอบแทนบุญคุณ”
คือการเตือนย้ำต่อนักเรียนนายร้อย จปร.ทั้งอดีตและปัจจุบัน และคำนี้จะต้องเข้าสู่ความรู้สึกตระหนักในจิตใจของตนเอง ถึงบรรดา “ผู้บังคับกองพัน” ทุกกองพันที่คุมกำลังอยู่ในกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นเหล่าทหารราบ เหล่าทหารปืนใหญ่ และเหล่าทหารม้า ในกองพลทั้ง 3 คือ ร. 1 รอ., พล.ปตอ., และ พล.ม. 2 ซึ่งนอกจากจะเป็นหน่วย ทหาร “รักษาพระองค์” แล้ว ยังมีฐานะเป็น ลูกศิษย์ของทูลกระหม่อมอาจารย์ด้วย
เมื่อ “ผู้บังคับกองพัน” ซึ่งเป็นผู้คุมกำลังที่แท้จริงอยู่ในฐานะอันสำคัญทั้ง 2 อย่างดังกล่าว
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล. 1 รอ.) มีหน่วยกำลังขึ้นตรงอยู่ 4 กรม คือกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร. 1 รอ.) กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร. 11 รอ.) กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร. 31 รอ.) และกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป. 1 รอ.) โดยที่ ร. 31 รอ.นั้น มีที่ตั้งอยู่จังหวัดลพบุรี แปรสภาพจากกรมผสมที่ 31 มาเป็นกรมทหารราบที่ 31 รอ. กองพลที่ 1 รักษาพระองค์นี้ขึ้นกับกองทัพภาคที่ 1 ส่วนกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) นั้น มีกรมในบังคับบัญชาคือ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 (ปตอ. 1) และกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 (ปตอ. 2) มีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และกองพลทหารม้าที่ 2 (พล.ม. 2) มีกรมทหารม้าอยู่ในบังคับบัญชาคือ กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม. 1 รอ.) และกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม. 4 รอ.) โดยกรมทหารม้าที่ 4 รอ.ในสมเด็จพระศรีนครินทราฯ นั้น มีที่ตั้งอยู่จังหวัดสระบุรี เช่นเดียวกับกรมทหารม้าที่ 5 โดยกรมทหารม้าที่ 4 รอ.เป็นกรมทหารม้าที่มียานเกราะหลัก หรือรถถังขนาดใหญ่ที่สุดเป็นกำลัง ส่วนกรมทหารม้าที่ 5 ซึ่งอยู่ที่สระบุรีเช่นกัน เป็นกรมทหารม้าลาดตระเวน
ทุกกองพันในกรมต่างๆ มีผู้บังคับกองพันซึ่งมียศ “พันโท” สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และเป็นลูกศิษย์ของ “ทูลกระหม่อมอาจารย์” พล.อ.หญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะกองพันที่เป็นเหล่าทหารม้า (ม.) นั้น ยังเป็นศิษย์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยตรง จากการอบรมบ่มเพาะในเหล่าทหารม้าหลายหลักสูตรของเหล่า ที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี นั้น พล.อ.เปรม ได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายพิเศษอยู่เป็นประจำ และที่ศูนย์การทหารม้าเช่นกัน สถานที่สำคัญที่สุดของเหล่าทหารม้าคือ สนามยิงปืนใหญ่รถถัง ได้นำนามของ พล.อ.เปรม มาไว้เป็นเกียรติแก่สถานที่นี้คือ สนามยิงปืนใหญ่รถถังเปรม ติณสูลานนท์ ทหารม้าทุกคนจึงมีความรู้สึกต่อ พล.อ.เปรม เป็นพิเศษ ในฐานะเป็นบุพการีของทหารม้าก็ว่าได้
ในส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (สกศ.รร.จปร.) นั้น แยกเป็นส่วนวิชาการโดยเฉพาะ ยังมีส่วนวิชาการอีกส่วนหนึ่งคือ ส่วนวิชาการทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (สวท.รร.จปร.) ซึ่งบ่มเพาะทางวิชาการทหารต่างจากวิชาการทั่วไป โดยในส่วนการศึกษาฯ (สกศ.รร.จปร.) ได้แยกเป็น “กอง” ตามวิชาการที่สอน โดย “กองประวัติศาสตร์ฯ” (กปศ.) นั้น เป็น 1 ใน 12 กองวิชาการ มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น “ผู้อำนวยการกอง” มาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ตำแหน่งของพระองค์มีคำย่อว่า ผอ.กปศ.สกศ.รร.จปร. ผู้ที่เข้าเรียนมาตั้งแต่บัดนั้น มาจนถึงปัจจุบันจึงเป็น “ลูกศิษย์” ของพระองค์ทั้งหมด และเป็นสิ่งที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้ย้ำเตือนว่า “สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ที่พวกเราจะจดจำไม่ลืม และจะต้องตอบแทนบุญคุณ”
ความจงรักภักดีเช่นประชาชนชาวไทยทั้งหลายมีอยู่นั้น ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่สำหรับความเป็นทูลกระหม่อมอาจารย์และศิษย์ เช่นครูกับศิษย์นั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่บรรดาศิษย์ของทูลกระหม่อมอาจารย์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ได้รับพระราชทานคำสั่งสอนอบรมทางวิชาการโดยตรง ถือว่าเป็นบุญคุณอันพิเศษที่ “ศิษย์ต้องไม่ลืมครู”
การที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้กล่าวเปรียบเทียบว่า ทหารนั้นคือทหารของชาติและเป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิใช่ทหารของการเมืองหรือของรัฐบาล เพราะรัฐบาลนั้นเปรียบเหมือนจ๊อกกี้ คนขี่ม้ามาขึ้นขี่บังคับม้า เมื่อลงจากหลังม้าแล้วก็ไป มิใช่เป็นเจ้าของม้า เป็นคำเปรียบเทียบที่เห็นชัดที่สุด โดยเฉพาะความรู้สึกของทหารมีความเข้าใจลึกซึ้งกว่าผู้อื่น, การที่มีนักการเมืองบางคนได้แสดงวาจาหรือท่าทีออกมาในเชิงกระทบต่อคำพูดของ พล.อ.เปรม นั้น มิใช่เรื่องที่จะ “ได้มา” หรือรักษาไว้ แต่จะต้อง “เสียไป” คือไม่ได้ “ใจ” ของทหารไว้เลย การผยองในเวลาอันไม่ถูกต้องและต่อบุคคลที่ไม่ควรจะนำวาจาเข้าไปเทียบ เป็นการทำลายตัวเองแบบระเบิดพลีชีพ แต่อยู่คนเดียวกลางทุ่งโล่ง, และโดยอาการสงบเยือกเย็นของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้ปรากฏในความรู้สึกของผู้คน คำตอบโต้หรือการแสดงออกใดๆ ต่อการนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการจุดไฟในน้ำหรือทุ่มไฟใส่ทะเล
มีคำกลอนของทหารม้าอยู่บทหนึ่งที่มีคำว่า “ตัวจักตายเอาอาน ปิดไว้, จึ่งนับเป็นทหาร หายาก” นั้น พล.อ.เปรม ก็เช่นเดียวกัน ที่ได้เสียสละยอมเปลืองเนื้อเปลืองตัวออกมากล่าว และตักเตือนด้วยวิธีการต่างๆ อยู่หลายครั้ง มาตั้งแต่ต้นปี 2548 ที่เริ่มด้วยการไม่ควรจะยกย่องผู้คดโกงต่อแผ่นดินด้วยการเป็นทหารม้า ที่ยอมตายในสมรภูมิ และเมื่อตายแล้วก็มีเพียงอานม้าปิดคลุมศพไว้เท่านั้น อีกทั้งเป็นไปโดยสอดคล้องกับเนื้อเพลงมาร์ชทหารม้าที่ว่า “ยามเข้าประจันบาน แขวนชีวิตบนอาน...” และ “เราจะรบเคียงไหล่ เราจะตายเคียงกัน สมคำปฏิญาณต่อธงไชยเฉลิมพล...” ซึ่งทุกคำในเนื้อเพลงนั้น มีแต่ความกล้าหาญ ความเสียสละและยอมตายทั้งสิ้น อันเป็นลักษณะของทหารม้าที่ว่า-ทหารม้า เรียงหน้าประจันบาน...โดยไม่มีการถอยเมื่อรุกแล้ว
ในความเป็นทหารม้าเป็นเช่นนั้น
อีกทั้งความเป็นทหารม้าเช่นกัน ที่ขอกล่าวถึงว่า ผู้ที่ถูกเพ่งมองอยู่แบบเฝ้าดูอาการคือ “เตรียมทหารรุ่น 10” เพื่อนร่วมรุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น, หากจะกล่าวกันอย่างตรงไปตรงมาอย่างแบบชาวบ้านพล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ซึ่งมาช่วยงานเป็นผู้บริหารระดับสูง เป็น “เบอร์สอง” อยู่ที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในลักษณะการขอยืมตัวมาจากกองทัพอากาศ และ พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้อำนวยการกองสลากฯ อดีตผู้บังคับการกองปราบปรามนั้น เป็นบุตรชายของ พล.ท.อรุณ สังขพงศ์ ซึ่งครั้งที่ พล.อ.เปรม เป็น พล.ต.ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรีนั้น พล.ท.อรุณ ซึ่งมียศเป็น พ.อ.(พิเศษ) เป็นเสนาธิการศูนย์การทหารม้า, ครั้งนั้น ศูนย์การทหารม้าได้ตั้งชมรมหรือสโมสรขี่ม้าขึ้นมา ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นลูกหลานทหารม้า พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ นั้น ได้รับการสอนวิชาขี่ม้า บังคับม้าจากบิดาและจาก “ลุงเปรม” ส่วน พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ ที่เป็นน้องชายนั้น “ลุงเปรม” จึงต้องอุ้มส่งตัวขึ้นหลังม้าเป็นประจำ เพราะยังเป็นเด็กอยู่ ทั้ง 2 คนนี้ พล.อ.เปรม รักเหมือนลูก เพราะไม่มีครอบครัว อีกทั้งบ้านพักของผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และเสนาธิการศูนย์การทหารม้าที่ค่ายอดิศร (เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านอ้อยก่อนจะย้ายมาบ้านแพะที่ตั้งในปัจจุบัน ก็อยู่ติดกัน ผู้ที่ดูแลบ้านพักและเรื่องข้าวปลาอาหารของ พล.อ.เปรม ก็คือ “เสธ.อรุณ” และครอบครัวนั่นเอง
พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองสลากฯ เป็นเตรียมทหารรุ่น 10 เป็นเพื่อนสนิทและเป็นที่ไว้วางใจอย่างยิ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งชื่อว่า พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ ก็คงจะเกิดความรู้สึกอยู่ไม่น้อยจากสิ่งที่มากระทบกับ “ลุงเปรม” ของเขา แม้ว่าจะเป็นตำรวจ แต่ก็เป็นสายเลือดของทหารม้าอยู่เต็มตัว ซึ่งเป็นความรู้สึกอันน่าจะเกิดกับ พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ด้วย
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้ปลุกเร้าสำนึกอย่างสูงสุดต่อประชาชนให้ความคิดทางการเมืองต่อการทหารอย่างเห็นภาพเป็นจริงได้ต่อทหาร แต่ไม่สามารถจะว่ากล่าวสิ่งใดต่อ “นักการเมือง” อย่างตรงไปตรงมาได้ เพราะนักการเมืองเป็นบุคคลที่คำพระท่านเรียกว่า เป็นคนสอนยาก, การเข้าประจันบานตามแบบของทหารม้า ซึ่งไม่มีการถอยนั้น คงจะมีต่อไป เพราะได้เป็นผู้สละแล้วก่อนจะตัดสินใจ “รุก” และไม่กลัวเกรงอะไรทั้งสิ้น โดยคำว่า “ตัวจักตายเอาอาน ปิดไว้” นั้น มีความหมายที่เต็มไปด้วยความกล้าหาญ และเป็นเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ที่ลึกซึ้งยิ่ง
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษบรรยายพิเศษ แก่นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 จำนวน 950 นาย ที่หอประชุม ร.ร.จปร.เขาชะโงก ตำบลพราหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
วันนั้น, ข่าวใหญ่มิได้อยู่ที่วันครบรอบวันเกิดของพรรคไทยรักไทย หรือการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่ข่าวสำคัญอยู่ที่การบรรยายพิเศษของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นี้, โดยข้อความข้างต้นเป็นการบรรยายในช่วงท้ายสุด และในช่วงนี้เองที่น่าจะต้องถูกมองว่า มีความสำคัญอันเป็นนัยที่ต้องจับความมาเป็นความคิด และประเมินเข้าสู่สถานการณ์ทั้งหลายโดยรอบด้าน รวมทั้งทางการเมืองที่มีการทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการทหารที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเจ้าใหญ่ นายโต
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น ผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์การทหาร และประวัติศาสตร์ทั่วไป ในกองบัญชาการส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงมีพระยศทางทหารเป็น “พลเอกหญิง” ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง, นั้นมาเป็นเวลานานประมาณ 28 ปีแล้ว ทรงมีตารางสอนในขณะนี้ทุกวันพฤหัสบดีที่ ร.ร.จปร.และในวันอื่นๆ เมื่อทรงนำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ทรงเป็น “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ของนักเรียนนายร้อย จปร.ที่สำเร็จการศึกษาออกมารับราชการเป็นนายทหารถึง 24 รุ่น ลูกศิษย์ของ “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ในกองทัพบกรุ่นแรกๆ นั้น บางคนมียศถึงพันเอก (พิเศษ) แต่ยังมีอยู่น้อยคนยศและตำแหน่งลดหลั่นกันมาตามรุ่น และปีที่เข้ารับราชการเป็นนายทหาร ตั้งแต่จบใหม่ๆ เป็นร้อยตรีหมาดๆ
ในการจัดกำลังทหารนั้น หน่วยกำลังระดับกองทัพภาค รวมทั้งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ที่ถือเป็นอัตรากองทัพภาค ลงมาระดับกองพล กรม และกองพัน นั้น, ที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการใดๆ ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชานั้น คือหน่วยปฏิบัติจริงๆ ได้แก่ “กองพัน” การรับคำสั่งหรือการตัดสินใจสั่งการใดๆ ต่อกำลังพลอยู่ที่ตัวผู้บังคับกองพัน (ผบ.พัน) เหนือขึ้นไปคือ ระดับผู้บังคับการกรม ผู้บัญชาการกองพล หรือแม่ทัพภาคเป็นผู้ที่อยู่ในตำแหน่งเหนือ และห่างจากกำลังพลอันแท้จริง คำสั่งของผู้บังคับกองพันไปสู่ผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับหมวด ผู้บังคับหมเป็นคำสั่งที่ “ถึงตัว” กำลังพลและมีความสำคัญที่สุด เพราะกำลังพลจะฟังคำสั่งผู้บังคับกองพันของตนที่เป็นผู้บังคับบัญชาเหนือตนอันใกล้ชิดที่สุด
หน่วยกำลังที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และกองพลทหารม้าที่ 2 หรือทหารม้าสนามเป้า โดยผู้ที่เป็น “ผู้บังคับกองพัน” ของทั้ง 3 กองพลทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็น ลูกศิษย์ของทูลกระหม่อมอาจารย์ พล.อ.หญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทุกคน-ทุกกองพัน
นัยแห่งคำบรรยายพิเศษของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ท้ายสุดนั้นคือ “...เป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนว่า เจ้านายอย่างสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จะมีพระเมตตาต่อ ร.ร.จปร.ของเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่พวกเราจะจดจำไม่ลืม และจะต้องตอบแทนบุญคุณ”
คือการเตือนย้ำต่อนักเรียนนายร้อย จปร.ทั้งอดีตและปัจจุบัน และคำนี้จะต้องเข้าสู่ความรู้สึกตระหนักในจิตใจของตนเอง ถึงบรรดา “ผู้บังคับกองพัน” ทุกกองพันที่คุมกำลังอยู่ในกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นเหล่าทหารราบ เหล่าทหารปืนใหญ่ และเหล่าทหารม้า ในกองพลทั้ง 3 คือ ร. 1 รอ., พล.ปตอ., และ พล.ม. 2 ซึ่งนอกจากจะเป็นหน่วย ทหาร “รักษาพระองค์” แล้ว ยังมีฐานะเป็น ลูกศิษย์ของทูลกระหม่อมอาจารย์ด้วย
เมื่อ “ผู้บังคับกองพัน” ซึ่งเป็นผู้คุมกำลังที่แท้จริงอยู่ในฐานะอันสำคัญทั้ง 2 อย่างดังกล่าว
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล. 1 รอ.) มีหน่วยกำลังขึ้นตรงอยู่ 4 กรม คือกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร. 1 รอ.) กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร. 11 รอ.) กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร. 31 รอ.) และกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป. 1 รอ.) โดยที่ ร. 31 รอ.นั้น มีที่ตั้งอยู่จังหวัดลพบุรี แปรสภาพจากกรมผสมที่ 31 มาเป็นกรมทหารราบที่ 31 รอ. กองพลที่ 1 รักษาพระองค์นี้ขึ้นกับกองทัพภาคที่ 1 ส่วนกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) นั้น มีกรมในบังคับบัญชาคือ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 (ปตอ. 1) และกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 (ปตอ. 2) มีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และกองพลทหารม้าที่ 2 (พล.ม. 2) มีกรมทหารม้าอยู่ในบังคับบัญชาคือ กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม. 1 รอ.) และกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม. 4 รอ.) โดยกรมทหารม้าที่ 4 รอ.ในสมเด็จพระศรีนครินทราฯ นั้น มีที่ตั้งอยู่จังหวัดสระบุรี เช่นเดียวกับกรมทหารม้าที่ 5 โดยกรมทหารม้าที่ 4 รอ.เป็นกรมทหารม้าที่มียานเกราะหลัก หรือรถถังขนาดใหญ่ที่สุดเป็นกำลัง ส่วนกรมทหารม้าที่ 5 ซึ่งอยู่ที่สระบุรีเช่นกัน เป็นกรมทหารม้าลาดตระเวน
ทุกกองพันในกรมต่างๆ มีผู้บังคับกองพันซึ่งมียศ “พันโท” สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และเป็นลูกศิษย์ของ “ทูลกระหม่อมอาจารย์” พล.อ.หญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะกองพันที่เป็นเหล่าทหารม้า (ม.) นั้น ยังเป็นศิษย์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยตรง จากการอบรมบ่มเพาะในเหล่าทหารม้าหลายหลักสูตรของเหล่า ที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี นั้น พล.อ.เปรม ได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายพิเศษอยู่เป็นประจำ และที่ศูนย์การทหารม้าเช่นกัน สถานที่สำคัญที่สุดของเหล่าทหารม้าคือ สนามยิงปืนใหญ่รถถัง ได้นำนามของ พล.อ.เปรม มาไว้เป็นเกียรติแก่สถานที่นี้คือ สนามยิงปืนใหญ่รถถังเปรม ติณสูลานนท์ ทหารม้าทุกคนจึงมีความรู้สึกต่อ พล.อ.เปรม เป็นพิเศษ ในฐานะเป็นบุพการีของทหารม้าก็ว่าได้
ในส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (สกศ.รร.จปร.) นั้น แยกเป็นส่วนวิชาการโดยเฉพาะ ยังมีส่วนวิชาการอีกส่วนหนึ่งคือ ส่วนวิชาการทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (สวท.รร.จปร.) ซึ่งบ่มเพาะทางวิชาการทหารต่างจากวิชาการทั่วไป โดยในส่วนการศึกษาฯ (สกศ.รร.จปร.) ได้แยกเป็น “กอง” ตามวิชาการที่สอน โดย “กองประวัติศาสตร์ฯ” (กปศ.) นั้น เป็น 1 ใน 12 กองวิชาการ มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น “ผู้อำนวยการกอง” มาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ตำแหน่งของพระองค์มีคำย่อว่า ผอ.กปศ.สกศ.รร.จปร. ผู้ที่เข้าเรียนมาตั้งแต่บัดนั้น มาจนถึงปัจจุบันจึงเป็น “ลูกศิษย์” ของพระองค์ทั้งหมด และเป็นสิ่งที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้ย้ำเตือนว่า “สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ที่พวกเราจะจดจำไม่ลืม และจะต้องตอบแทนบุญคุณ”
ความจงรักภักดีเช่นประชาชนชาวไทยทั้งหลายมีอยู่นั้น ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่สำหรับความเป็นทูลกระหม่อมอาจารย์และศิษย์ เช่นครูกับศิษย์นั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่บรรดาศิษย์ของทูลกระหม่อมอาจารย์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ได้รับพระราชทานคำสั่งสอนอบรมทางวิชาการโดยตรง ถือว่าเป็นบุญคุณอันพิเศษที่ “ศิษย์ต้องไม่ลืมครู”
การที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้กล่าวเปรียบเทียบว่า ทหารนั้นคือทหารของชาติและเป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิใช่ทหารของการเมืองหรือของรัฐบาล เพราะรัฐบาลนั้นเปรียบเหมือนจ๊อกกี้ คนขี่ม้ามาขึ้นขี่บังคับม้า เมื่อลงจากหลังม้าแล้วก็ไป มิใช่เป็นเจ้าของม้า เป็นคำเปรียบเทียบที่เห็นชัดที่สุด โดยเฉพาะความรู้สึกของทหารมีความเข้าใจลึกซึ้งกว่าผู้อื่น, การที่มีนักการเมืองบางคนได้แสดงวาจาหรือท่าทีออกมาในเชิงกระทบต่อคำพูดของ พล.อ.เปรม นั้น มิใช่เรื่องที่จะ “ได้มา” หรือรักษาไว้ แต่จะต้อง “เสียไป” คือไม่ได้ “ใจ” ของทหารไว้เลย การผยองในเวลาอันไม่ถูกต้องและต่อบุคคลที่ไม่ควรจะนำวาจาเข้าไปเทียบ เป็นการทำลายตัวเองแบบระเบิดพลีชีพ แต่อยู่คนเดียวกลางทุ่งโล่ง, และโดยอาการสงบเยือกเย็นของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้ปรากฏในความรู้สึกของผู้คน คำตอบโต้หรือการแสดงออกใดๆ ต่อการนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการจุดไฟในน้ำหรือทุ่มไฟใส่ทะเล
มีคำกลอนของทหารม้าอยู่บทหนึ่งที่มีคำว่า “ตัวจักตายเอาอาน ปิดไว้, จึ่งนับเป็นทหาร หายาก” นั้น พล.อ.เปรม ก็เช่นเดียวกัน ที่ได้เสียสละยอมเปลืองเนื้อเปลืองตัวออกมากล่าว และตักเตือนด้วยวิธีการต่างๆ อยู่หลายครั้ง มาตั้งแต่ต้นปี 2548 ที่เริ่มด้วยการไม่ควรจะยกย่องผู้คดโกงต่อแผ่นดินด้วยการเป็นทหารม้า ที่ยอมตายในสมรภูมิ และเมื่อตายแล้วก็มีเพียงอานม้าปิดคลุมศพไว้เท่านั้น อีกทั้งเป็นไปโดยสอดคล้องกับเนื้อเพลงมาร์ชทหารม้าที่ว่า “ยามเข้าประจันบาน แขวนชีวิตบนอาน...” และ “เราจะรบเคียงไหล่ เราจะตายเคียงกัน สมคำปฏิญาณต่อธงไชยเฉลิมพล...” ซึ่งทุกคำในเนื้อเพลงนั้น มีแต่ความกล้าหาญ ความเสียสละและยอมตายทั้งสิ้น อันเป็นลักษณะของทหารม้าที่ว่า-ทหารม้า เรียงหน้าประจันบาน...โดยไม่มีการถอยเมื่อรุกแล้ว
ในความเป็นทหารม้าเป็นเช่นนั้น
อีกทั้งความเป็นทหารม้าเช่นกัน ที่ขอกล่าวถึงว่า ผู้ที่ถูกเพ่งมองอยู่แบบเฝ้าดูอาการคือ “เตรียมทหารรุ่น 10” เพื่อนร่วมรุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น, หากจะกล่าวกันอย่างตรงไปตรงมาอย่างแบบชาวบ้านพล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ซึ่งมาช่วยงานเป็นผู้บริหารระดับสูง เป็น “เบอร์สอง” อยู่ที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในลักษณะการขอยืมตัวมาจากกองทัพอากาศ และ พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้อำนวยการกองสลากฯ อดีตผู้บังคับการกองปราบปรามนั้น เป็นบุตรชายของ พล.ท.อรุณ สังขพงศ์ ซึ่งครั้งที่ พล.อ.เปรม เป็น พล.ต.ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรีนั้น พล.ท.อรุณ ซึ่งมียศเป็น พ.อ.(พิเศษ) เป็นเสนาธิการศูนย์การทหารม้า, ครั้งนั้น ศูนย์การทหารม้าได้ตั้งชมรมหรือสโมสรขี่ม้าขึ้นมา ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นลูกหลานทหารม้า พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ นั้น ได้รับการสอนวิชาขี่ม้า บังคับม้าจากบิดาและจาก “ลุงเปรม” ส่วน พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ ที่เป็นน้องชายนั้น “ลุงเปรม” จึงต้องอุ้มส่งตัวขึ้นหลังม้าเป็นประจำ เพราะยังเป็นเด็กอยู่ ทั้ง 2 คนนี้ พล.อ.เปรม รักเหมือนลูก เพราะไม่มีครอบครัว อีกทั้งบ้านพักของผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และเสนาธิการศูนย์การทหารม้าที่ค่ายอดิศร (เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านอ้อยก่อนจะย้ายมาบ้านแพะที่ตั้งในปัจจุบัน ก็อยู่ติดกัน ผู้ที่ดูแลบ้านพักและเรื่องข้าวปลาอาหารของ พล.อ.เปรม ก็คือ “เสธ.อรุณ” และครอบครัวนั่นเอง
พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองสลากฯ เป็นเตรียมทหารรุ่น 10 เป็นเพื่อนสนิทและเป็นที่ไว้วางใจอย่างยิ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งชื่อว่า พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ ก็คงจะเกิดความรู้สึกอยู่ไม่น้อยจากสิ่งที่มากระทบกับ “ลุงเปรม” ของเขา แม้ว่าจะเป็นตำรวจ แต่ก็เป็นสายเลือดของทหารม้าอยู่เต็มตัว ซึ่งเป็นความรู้สึกอันน่าจะเกิดกับ พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ด้วย
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้ปลุกเร้าสำนึกอย่างสูงสุดต่อประชาชนให้ความคิดทางการเมืองต่อการทหารอย่างเห็นภาพเป็นจริงได้ต่อทหาร แต่ไม่สามารถจะว่ากล่าวสิ่งใดต่อ “นักการเมือง” อย่างตรงไปตรงมาได้ เพราะนักการเมืองเป็นบุคคลที่คำพระท่านเรียกว่า เป็นคนสอนยาก, การเข้าประจันบานตามแบบของทหารม้า ซึ่งไม่มีการถอยนั้น คงจะมีต่อไป เพราะได้เป็นผู้สละแล้วก่อนจะตัดสินใจ “รุก” และไม่กลัวเกรงอะไรทั้งสิ้น โดยคำว่า “ตัวจักตายเอาอาน ปิดไว้” นั้น มีความหมายที่เต็มไปด้วยความกล้าหาญ และเป็นเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ที่ลึกซึ้งยิ่ง