ตาก-เสนอตัดถนนแม่สอด-อุ้มผางใหม่แทนโครงการ “คลองลาน-อุ้มผาง”ที่ต้องผ่าผืนป่าตะวันตก มุ่งตัดเส้นทางจาก “แม่สอด-พบพระ” เข้าพม่า “เชื่อมวะเล่ย์-อุ้มผาง” แทน เชื่อลดเวลาเดินทางถึงอุ้มผางครึ่งต่อครึ่งจากเดิมและรองรับโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่งไทย-พม่า 2 แสนไร่ในอนาคตด้วย ล่าสุดเสนอสภาพัฒน์ศึกษาต่อพร้อมประสานพม่าผ่านเวที อพบ.
นายวัชระ แตงฉ่ำ ผู้อำนวยการแขวงการทางตากที่ 2 (แม่สอด) เปิดเผยว่า หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยี่ยมราษฎร จ.กำแพงเพชร เมื่อเดือน ก.ค.47 และ จ.กำแพงเพชร ขอรับการสนับสนุนเพื่อก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1117 สายคลองลาน-อุ้มผาง ในส่วนที่ขาดอีกประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ รับเรื่องไว้ว่าจะดำเนินการให้ ต่อมาได้มีเสียงคัดค้านจากบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะชาว จ.ตาก-องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เนื่องจากทุกฝ่ายเกรงว่า หากมีการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงกันแล้วจะมีการบุกรุกป่าและมีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวาง โดยพื้นที่ๆ ถนนตัดผ่านนี้ได้ผ่าผืนป่าธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและยังเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ป่าห้วยขาแข้ง ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ UNESCO อีกด้วย ทั้งยังเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A ด้วยนั้น
จากข้อวิตกที่หลายฝ่ายเป็นห่วง กรมทางหลวงได้ศึกษาผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างทางสายนี้ไปแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีเห็บชอบไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งมีมติไม่ผ่านความเห็บชอบ แต่เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและความเป็นไปได้ แขวงการทางตากที่ 2 ได้เสนอแนวทางใหม่ว่าพื้นที่ อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ยังมีเส้นทางที่สามารถดำเนินการปรับปรุงโดยไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเส้นทางที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะจะผ่านพื้นที่ๆมีน้ำตกตามธรรมชาติ เป็นเขตติดต่อระหว่าง จ.กำแพงเพชร และ จ.ตาก ได้เพื่อทดแทนเส้นทางดังกล่าว
นายวัชระ บอกอีกว่า จะต้องปรับปรุงเส้นทางเดิมที่มีอยู่จาก อ.คลองลาน บริเวณบ้านคลองเตย ทางหลวงหมายเลข 1117 ไปเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 1116 ที่บ้านสบเงา ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรและปรับปรุงเส้นทางหลวงหมายเลข 1116 บ้านโละโคะ กิ่ง อ.โกสัมพี ไปเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 1109ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร และก่อสร้างทางหลวงเพื่อการท่องเที่ยวจากทางหลวงหมายเลข 1109 ผ่าน้ำตกเต่าดำ ไปยังน้ำตกป่าหวาย เชื่อมกับทางหลวง หมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง บริเวณ กม. 42+000 อ.พบพระ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
โดยการก่อสร้างทางหลวงเพื่อการท่องเที่ยวผ่านบริเวณดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากนัก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่อมโทรม และมีเส้นทางลำลองที่ใช้อยู่แล้วตลอดเส้นทาง เพียงแต่ก่อสร้างทับทางลำลองจากบ้านโละโคะ กิ่ง อ.โกสัมพี ถึงน้ำตกป่าหวาย อ.พบพระ ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งก็ตัดผ่านพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเช่นกัน
นายวัชระ บอกว่า หากมีการดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทางน้ำตกเพิ่มอีก 2 แห่งและเส้นทางที่ก่อสร้างจาก อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ไปยัง อ.พบพระ จ.ตาก ได้และเดินทางต่อไปยัง อ.อุ้มผาง ได้ในทางหลวงหมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง
พร้อมเปิดเผยอีกว่า ส่วนการก่อสร้างเส้นทางผ่านพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านสู่อำเภออุ้มผาง เพื่อลดระยะทางโค้งจำนวนมากและความลาดชัน ได้มีการเสนอเส้นทางหลวงหมายเลข 1206 สาย อ.พบพระ-บ้านวะเลย์ ที่ได้มีการก่อสร้างทางลาดยางกว้าง 7 เมตร จะสิ้นสุดที่บ้านวะเล่ย์ ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร สุดชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.พบพระ กับทางหลวงหมายเลข 1167 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 1090 บ้านหนองหลวง-เขตแดนพม่า มีการก่อสร้างผิวทางลาดยางกว้าง 7 เมตร จุดสิ้นสุดชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.อุ้มผาง โดยแนวทางระหว่างบ้านวะเลย์-บ้านหนองหลวง เป็นทางตัดตรงผ่านพื้นที่สหภาพพม่า จาก อ.พบพระ-อุ้มผาง รวมระยะทางการก่อสร้างประมาณ 28 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ได้นำเสนอสภาพัฒน์ เพื่อทำการศึกษาต่อไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวจะต้องเจรจากับรัฐบาลของพม่า โดยอาศัยการขอความร่วมมือของปฏิญญาพุกาม ซึ่งเรื่องนี้หอการค้าไทยได้เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเป็นประธาน เพื่อจะทำ Contract Farming ด้านการเกษตรกับรัฐบาลพม่า ที่จะให้ผู้อพยพที่เข้ามาขายแรงงานในประเทศไทยบริเวณชายแดนกลับไปทำการเพาะปลูกพืชการเกษตรในพื้นที่บริเวณ 2 ข้างทางที่ตัดผ่านใหม่ไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่ อีกทั้งเส้นทางสายดังกล่าวจะเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าเกษตรที่สำคัญต่อไป
นายวัชระ บอกต่ออีกว่า สำหรับเส้นทางนี้หากสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จจะทำให้ร่นระยะทางจาก อ.แม่สอดไป อ.อุ้มผาง จากระยะทาง 165 กิโลเมตร เหลือเพียง 123 กิโลเมตร ซึ่งการใช้เวลาเดินทางเส้นทางเดิมที่ผ่านโค้งจำนวน 1,219 โค้ง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง จะเหลือเพียง 2 ชั่วโมงเพราะเส้นทางส่วนใหญ่ที่จะตัดผ่านประเทศพม่านั้นเป็นทางราบ มีความสูงชันน้อยกว่า ขณะนี้ทางแขวงการทางตากที่ 2 แม่สอดได้เสนอเรื่องให้กรมทางหลวง พิจารณาและเสนอเรื่องต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านไปแล้ว
นายวัชระ แตงฉ่ำ ผู้อำนวยการแขวงการทางตากที่ 2 (แม่สอด) เปิดเผยว่า หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยี่ยมราษฎร จ.กำแพงเพชร เมื่อเดือน ก.ค.47 และ จ.กำแพงเพชร ขอรับการสนับสนุนเพื่อก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1117 สายคลองลาน-อุ้มผาง ในส่วนที่ขาดอีกประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ รับเรื่องไว้ว่าจะดำเนินการให้ ต่อมาได้มีเสียงคัดค้านจากบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะชาว จ.ตาก-องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เนื่องจากทุกฝ่ายเกรงว่า หากมีการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงกันแล้วจะมีการบุกรุกป่าและมีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวาง โดยพื้นที่ๆ ถนนตัดผ่านนี้ได้ผ่าผืนป่าธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและยังเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ป่าห้วยขาแข้ง ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ UNESCO อีกด้วย ทั้งยังเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A ด้วยนั้น
จากข้อวิตกที่หลายฝ่ายเป็นห่วง กรมทางหลวงได้ศึกษาผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างทางสายนี้ไปแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีเห็บชอบไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งมีมติไม่ผ่านความเห็บชอบ แต่เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและความเป็นไปได้ แขวงการทางตากที่ 2 ได้เสนอแนวทางใหม่ว่าพื้นที่ อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ยังมีเส้นทางที่สามารถดำเนินการปรับปรุงโดยไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเส้นทางที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะจะผ่านพื้นที่ๆมีน้ำตกตามธรรมชาติ เป็นเขตติดต่อระหว่าง จ.กำแพงเพชร และ จ.ตาก ได้เพื่อทดแทนเส้นทางดังกล่าว
นายวัชระ บอกอีกว่า จะต้องปรับปรุงเส้นทางเดิมที่มีอยู่จาก อ.คลองลาน บริเวณบ้านคลองเตย ทางหลวงหมายเลข 1117 ไปเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 1116 ที่บ้านสบเงา ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรและปรับปรุงเส้นทางหลวงหมายเลข 1116 บ้านโละโคะ กิ่ง อ.โกสัมพี ไปเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 1109ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร และก่อสร้างทางหลวงเพื่อการท่องเที่ยวจากทางหลวงหมายเลข 1109 ผ่าน้ำตกเต่าดำ ไปยังน้ำตกป่าหวาย เชื่อมกับทางหลวง หมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง บริเวณ กม. 42+000 อ.พบพระ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
โดยการก่อสร้างทางหลวงเพื่อการท่องเที่ยวผ่านบริเวณดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากนัก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่อมโทรม และมีเส้นทางลำลองที่ใช้อยู่แล้วตลอดเส้นทาง เพียงแต่ก่อสร้างทับทางลำลองจากบ้านโละโคะ กิ่ง อ.โกสัมพี ถึงน้ำตกป่าหวาย อ.พบพระ ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งก็ตัดผ่านพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเช่นกัน
นายวัชระ บอกว่า หากมีการดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทางน้ำตกเพิ่มอีก 2 แห่งและเส้นทางที่ก่อสร้างจาก อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ไปยัง อ.พบพระ จ.ตาก ได้และเดินทางต่อไปยัง อ.อุ้มผาง ได้ในทางหลวงหมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง
พร้อมเปิดเผยอีกว่า ส่วนการก่อสร้างเส้นทางผ่านพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านสู่อำเภออุ้มผาง เพื่อลดระยะทางโค้งจำนวนมากและความลาดชัน ได้มีการเสนอเส้นทางหลวงหมายเลข 1206 สาย อ.พบพระ-บ้านวะเลย์ ที่ได้มีการก่อสร้างทางลาดยางกว้าง 7 เมตร จะสิ้นสุดที่บ้านวะเล่ย์ ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร สุดชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.พบพระ กับทางหลวงหมายเลข 1167 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 1090 บ้านหนองหลวง-เขตแดนพม่า มีการก่อสร้างผิวทางลาดยางกว้าง 7 เมตร จุดสิ้นสุดชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.อุ้มผาง โดยแนวทางระหว่างบ้านวะเลย์-บ้านหนองหลวง เป็นทางตัดตรงผ่านพื้นที่สหภาพพม่า จาก อ.พบพระ-อุ้มผาง รวมระยะทางการก่อสร้างประมาณ 28 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ได้นำเสนอสภาพัฒน์ เพื่อทำการศึกษาต่อไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวจะต้องเจรจากับรัฐบาลของพม่า โดยอาศัยการขอความร่วมมือของปฏิญญาพุกาม ซึ่งเรื่องนี้หอการค้าไทยได้เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเป็นประธาน เพื่อจะทำ Contract Farming ด้านการเกษตรกับรัฐบาลพม่า ที่จะให้ผู้อพยพที่เข้ามาขายแรงงานในประเทศไทยบริเวณชายแดนกลับไปทำการเพาะปลูกพืชการเกษตรในพื้นที่บริเวณ 2 ข้างทางที่ตัดผ่านใหม่ไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่ อีกทั้งเส้นทางสายดังกล่าวจะเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าเกษตรที่สำคัญต่อไป
นายวัชระ บอกต่ออีกว่า สำหรับเส้นทางนี้หากสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จจะทำให้ร่นระยะทางจาก อ.แม่สอดไป อ.อุ้มผาง จากระยะทาง 165 กิโลเมตร เหลือเพียง 123 กิโลเมตร ซึ่งการใช้เวลาเดินทางเส้นทางเดิมที่ผ่านโค้งจำนวน 1,219 โค้ง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง จะเหลือเพียง 2 ชั่วโมงเพราะเส้นทางส่วนใหญ่ที่จะตัดผ่านประเทศพม่านั้นเป็นทางราบ มีความสูงชันน้อยกว่า ขณะนี้ทางแขวงการทางตากที่ 2 แม่สอดได้เสนอเรื่องให้กรมทางหลวง พิจารณาและเสนอเรื่องต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านไปแล้ว