เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา วอนทุกฝ่ายยึดกระแสพระราชดำรัส รู้รักสามัคคี มีเมตตา มีเหตุผล ลดทิฐิ เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง แนะให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง อย่าหลงกระแสโลกาภิวัตน์ อย่าปล่อยให้ความรวยมาเป็นนาย เพราะจะเกิดการโกงได้ง่าย ขณะเดียวกันนักกฎหมายต้องยึดความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง ยึดหลักทศพิธราชธรรม ไม่ใช่ ยึด Good governance ที่ไม่ต่างอะไรกับการสอนให้โกงอย่างไรไม่ให้ถูกจับได้
เมื่อวานนี้ (10 ก.ค.) นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)กล่าวถึงสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ว่า ไม่สมควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเชื่อมโยงเรื่องใดๆ เพราะพระองค์อยู่เหนือการเมือง จะนำมาเชื่อมโยงไม่ได้ รวมทั้งใครจะนำสถาบันพระมหากษัตริย์ มาอธิบายถึงการกระทำของตนเองก็ไม่บังควรเช่นกัน
ดังนั้น ขอให้ยึดกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมอบให้เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา 4 ประการ ประกอบด้วย การตั้งอยู่ในความเมตตา ยึดมั่นในความสุจริต ยึดกฎหมายระเบียบแบบแผน อย่างเสมอภาค ทำอะไรให้ใช้เมตตาและมีเหตุผล ถ้าทุกคนใส่ใจในคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข เพราะพระองค์ทรงสอนให้ยึดหลักรู้รักสามัคคี มีความรัก ความเมตตา ร่วมมือร่วมใจกัน และลดทิฐิ ซึ่งสิ่งที่พระองค์ขอไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่เราทุกคนทำได้
หลังจากนั้น นายสุเมธ ปาฐกถาในหัวข้อ"ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท" ให้เนติบัณฑิตที่เข้าอบรมหลักสูตรภาคจริยธรรมเนติบัณฑิต สมัยที่ 58 โดยระบุว่า คนในยุคนี้หัวใจมีอธรรม 5 อย่าง คือ หลง โลภ โง่ โกรธ และกัด ถ้าสกัดได้ก่อนประเทศชาติจะสงบสุข และอย่าหลงกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งตนไม่ได้ต่อต้าน แต่ต้องเรียนรู้ อย่าไปตาม คนไทยอย่าลืมราก เสรีนิยมกระตุ้นให้เกิดความโลภ ขอให้อยู่ตามฐานะ อย่าปล่อยให้ความรวยมาเป็นนาย เพราะถ้าหลงกระแสโลกาภิวัตน์ จะเกิดการโกงและคอร์รัปชั่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แช่งทุกคนที่โกงให้มีอันเป็นไปไว้แล้ว
นายสุเมธ กล่าวว่า นักกฎหมายต้องยึดความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่เช่นนั้นประเทศจะไปไม่ได้ เมื่อเกิดความโลภก็เกิดความโง่ ทำให้การตัดสินใจผิดไปหมด เกิดการโกง การคอร์รัปชั่น การทะเลาะกัน ไร้สาระ ซึ่งบ้านเมืองเสียเวลากับเรื่องไร้สาระไปมากแล้ว
"ขอให้ยึดหลักธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่าไปยึด Good governance ของฝรั่ง เพราะพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งมานานก่อน Good governance ทศพิธราชธรรม 10 ประการ ซึ่ง Good governance คือ ความโปร่งใส แปลว่าโกงอย่างไรไม่ให้จับได้หรือเปล่า เพราะบริษัทเอ็นรอน เป็นต้นฉบับของ Good governance ก็มีการโกงระดับโลก ซีอีโอ ต้องติดคุก จึงอยากให้ข้าราชการยึด ทศพิธราชธรรม ความถูกต้องเป็นหลัก"นายสุเมธ กล่าว
นอกจากนี้ นายสุเมธ ขอให้ทุกฝ่ายยึดการดำเนินชีวิตประจำวันตามแบบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำเนินชีวิตเรียบง่าย เน้นประโยชน์ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือสำรวจศักยภาพของตนเองในความพอประมาณ ไม่ใช่รัดเข็มขัด
"สมัยก่อนเราบ้าอยากเป็นนิคส์ อยากเป็นเสือตัวที่ 5 บ้าตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ดูว่าใคร ได้เท่าไหร่ เพราะทุก 100 บาทของความร่ำรวย คนไม่กี่ตระกูลคว้าไป 57 บาท จึงไม่ใช่ประเทศรวย เพราะคนจนได้ไม่กี่บาท ดังนั้น หากยังตามโลกาภิวัตน์จะเป็นการขยายไปสู่ความตาย และความพินาศ ซึ่งตอนนี้อัตราการบริโภคของคนเรากินมากกว่าของที่มีอยู่ ถ้าไม่เตรียมแก้ปัญหา ก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ ดังนั้น ต้องเริ่มคิดแล้วว่าเมื่อบริโภค 1 ต้องสร้างกลับคืนมา 1 คือ การพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน"นายสุเมธ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในงานเดียวกันนี้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษษการรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ยุติธรรม ในฐานะ สภานายกพิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภา เป็นประธานในพิธีอบรมหลักสูตร ภาคจริยธรรมเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 58 กล่าวเปิดการอบรมว่า ชีวิตสูงสุดก็คือ ความรู้ในวิชาชีพและคุณธรรมประจำใจ ความรู้สามารถไขว่คว้าจากภายนอก แต่สิ่งที่ต้องใช้ตลอดก็คือคุณธรรม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในตัว ถ้ามีมาก สั่งสมไว้มาก ก็จะสูงไปเรื่อย ๆ และถ้าหากใช้คุณธรรมควบคู่ไปกับกฎหมายก็จะเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เกิดความดี ตนจึงอยากให้ศึกษาความสำเร็จของนักกฎหมายในอดีตซึ่งมีจำนวนมาก จะพบว่ามีต้นทุนทางสังคมสูง และให้ศึกษาว่าเขาประพฤติปฏิบัติอย่างไร
"เราต้องคำนึงถึงความถูกต้องเป็นธรรม ยึดกฎกติกา ไม่ฝืนความรู้สึกของเราเอง ใครจะมาชวนให้ทำอะไรที่ฝืนกับความไม่ถูกต้องไม่ได้ การยึดในสิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ดี และต้องทำตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ได้เรียนมาหมดแล้วในเรื่องของธรรม คุณธรรม อธิบาท 4 แต่เราจะเอามาใช้มากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้บางทีเรานึกไม่ค่อยถึง ซึ่งผมสอนตัวเองอยู่เสมอด้วยตัวอย่างง่าย ๆ ว่าร่างกายของเราที่สกปรกต้องอาบน้ำทุกวัน แต่จิตใจเราต้องศึกษาธรรมะเพื่อให้จิตใจสะอาด เพราะชีวิตยิ่งโตก็จะไปพันธนาการกับปัญหาการงาน หากไม่ใช้ความถูกต้องจะเสียคน"
พล.ต.อ.ชิดชัย กล่าวด้วยว่า บทบาทของเนติบัณฑิตทุกคนถูกคาดหมายว่าจะต้องเพียบพร้อมด้วยหลักกฏหมาย เข้าใจหลักกฎหมาย และเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยยึดกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสที่ดีเยี่ยม กฎหมายเป็นหลักของบ้านเมือง ผู้ใช้ก็เป็นหลักของประชาชน ที่จะใช้กฎหมายตามหลักเจตนารมณ์ แม้ในช่วงวิกฤติ ศาลก็เป็นหลักให้ประชาชน ดังนั้น ถ้ามีพื้นฐานด้านจริยธรม ศีลธรรม และคุณธรรม บุคคลนั้นก็จะมีพื้นฐานทางด้านสังคมสูง
เมื่อวานนี้ (10 ก.ค.) นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)กล่าวถึงสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ว่า ไม่สมควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเชื่อมโยงเรื่องใดๆ เพราะพระองค์อยู่เหนือการเมือง จะนำมาเชื่อมโยงไม่ได้ รวมทั้งใครจะนำสถาบันพระมหากษัตริย์ มาอธิบายถึงการกระทำของตนเองก็ไม่บังควรเช่นกัน
ดังนั้น ขอให้ยึดกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมอบให้เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา 4 ประการ ประกอบด้วย การตั้งอยู่ในความเมตตา ยึดมั่นในความสุจริต ยึดกฎหมายระเบียบแบบแผน อย่างเสมอภาค ทำอะไรให้ใช้เมตตาและมีเหตุผล ถ้าทุกคนใส่ใจในคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข เพราะพระองค์ทรงสอนให้ยึดหลักรู้รักสามัคคี มีความรัก ความเมตตา ร่วมมือร่วมใจกัน และลดทิฐิ ซึ่งสิ่งที่พระองค์ขอไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่เราทุกคนทำได้
หลังจากนั้น นายสุเมธ ปาฐกถาในหัวข้อ"ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท" ให้เนติบัณฑิตที่เข้าอบรมหลักสูตรภาคจริยธรรมเนติบัณฑิต สมัยที่ 58 โดยระบุว่า คนในยุคนี้หัวใจมีอธรรม 5 อย่าง คือ หลง โลภ โง่ โกรธ และกัด ถ้าสกัดได้ก่อนประเทศชาติจะสงบสุข และอย่าหลงกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งตนไม่ได้ต่อต้าน แต่ต้องเรียนรู้ อย่าไปตาม คนไทยอย่าลืมราก เสรีนิยมกระตุ้นให้เกิดความโลภ ขอให้อยู่ตามฐานะ อย่าปล่อยให้ความรวยมาเป็นนาย เพราะถ้าหลงกระแสโลกาภิวัตน์ จะเกิดการโกงและคอร์รัปชั่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แช่งทุกคนที่โกงให้มีอันเป็นไปไว้แล้ว
นายสุเมธ กล่าวว่า นักกฎหมายต้องยึดความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่เช่นนั้นประเทศจะไปไม่ได้ เมื่อเกิดความโลภก็เกิดความโง่ ทำให้การตัดสินใจผิดไปหมด เกิดการโกง การคอร์รัปชั่น การทะเลาะกัน ไร้สาระ ซึ่งบ้านเมืองเสียเวลากับเรื่องไร้สาระไปมากแล้ว
"ขอให้ยึดหลักธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่าไปยึด Good governance ของฝรั่ง เพราะพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งมานานก่อน Good governance ทศพิธราชธรรม 10 ประการ ซึ่ง Good governance คือ ความโปร่งใส แปลว่าโกงอย่างไรไม่ให้จับได้หรือเปล่า เพราะบริษัทเอ็นรอน เป็นต้นฉบับของ Good governance ก็มีการโกงระดับโลก ซีอีโอ ต้องติดคุก จึงอยากให้ข้าราชการยึด ทศพิธราชธรรม ความถูกต้องเป็นหลัก"นายสุเมธ กล่าว
นอกจากนี้ นายสุเมธ ขอให้ทุกฝ่ายยึดการดำเนินชีวิตประจำวันตามแบบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำเนินชีวิตเรียบง่าย เน้นประโยชน์ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือสำรวจศักยภาพของตนเองในความพอประมาณ ไม่ใช่รัดเข็มขัด
"สมัยก่อนเราบ้าอยากเป็นนิคส์ อยากเป็นเสือตัวที่ 5 บ้าตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ดูว่าใคร ได้เท่าไหร่ เพราะทุก 100 บาทของความร่ำรวย คนไม่กี่ตระกูลคว้าไป 57 บาท จึงไม่ใช่ประเทศรวย เพราะคนจนได้ไม่กี่บาท ดังนั้น หากยังตามโลกาภิวัตน์จะเป็นการขยายไปสู่ความตาย และความพินาศ ซึ่งตอนนี้อัตราการบริโภคของคนเรากินมากกว่าของที่มีอยู่ ถ้าไม่เตรียมแก้ปัญหา ก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ ดังนั้น ต้องเริ่มคิดแล้วว่าเมื่อบริโภค 1 ต้องสร้างกลับคืนมา 1 คือ การพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน"นายสุเมธ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในงานเดียวกันนี้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษษการรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ยุติธรรม ในฐานะ สภานายกพิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภา เป็นประธานในพิธีอบรมหลักสูตร ภาคจริยธรรมเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 58 กล่าวเปิดการอบรมว่า ชีวิตสูงสุดก็คือ ความรู้ในวิชาชีพและคุณธรรมประจำใจ ความรู้สามารถไขว่คว้าจากภายนอก แต่สิ่งที่ต้องใช้ตลอดก็คือคุณธรรม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในตัว ถ้ามีมาก สั่งสมไว้มาก ก็จะสูงไปเรื่อย ๆ และถ้าหากใช้คุณธรรมควบคู่ไปกับกฎหมายก็จะเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เกิดความดี ตนจึงอยากให้ศึกษาความสำเร็จของนักกฎหมายในอดีตซึ่งมีจำนวนมาก จะพบว่ามีต้นทุนทางสังคมสูง และให้ศึกษาว่าเขาประพฤติปฏิบัติอย่างไร
"เราต้องคำนึงถึงความถูกต้องเป็นธรรม ยึดกฎกติกา ไม่ฝืนความรู้สึกของเราเอง ใครจะมาชวนให้ทำอะไรที่ฝืนกับความไม่ถูกต้องไม่ได้ การยึดในสิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ดี และต้องทำตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ได้เรียนมาหมดแล้วในเรื่องของธรรม คุณธรรม อธิบาท 4 แต่เราจะเอามาใช้มากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้บางทีเรานึกไม่ค่อยถึง ซึ่งผมสอนตัวเองอยู่เสมอด้วยตัวอย่างง่าย ๆ ว่าร่างกายของเราที่สกปรกต้องอาบน้ำทุกวัน แต่จิตใจเราต้องศึกษาธรรมะเพื่อให้จิตใจสะอาด เพราะชีวิตยิ่งโตก็จะไปพันธนาการกับปัญหาการงาน หากไม่ใช้ความถูกต้องจะเสียคน"
พล.ต.อ.ชิดชัย กล่าวด้วยว่า บทบาทของเนติบัณฑิตทุกคนถูกคาดหมายว่าจะต้องเพียบพร้อมด้วยหลักกฏหมาย เข้าใจหลักกฎหมาย และเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยยึดกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสที่ดีเยี่ยม กฎหมายเป็นหลักของบ้านเมือง ผู้ใช้ก็เป็นหลักของประชาชน ที่จะใช้กฎหมายตามหลักเจตนารมณ์ แม้ในช่วงวิกฤติ ศาลก็เป็นหลักให้ประชาชน ดังนั้น ถ้ามีพื้นฐานด้านจริยธรม ศีลธรรม และคุณธรรม บุคคลนั้นก็จะมีพื้นฐานทางด้านสังคมสูง