เหอหนานซึ่งเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของจีน นับเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้เดิมจะพัฒนาช้ากว่ามณฑลชายฝั่งทะเล แต่ปัจจุบันได้เริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็ว และนักธุรกิจไทยเริ่มให้ความสนใจเข้ามาลงทุน
มณฑลเหอหนาน (ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า ห่อนั้ม) มีความหมายว่าทางใต้ของแม่น้ำหวงเหอโดยคำว่าเหอหมายถึงแม่น้ำ และหนานหมายถึงทิศใต้ แม้ว่าเหอหนานจะมีพื้นที่เล็กที่สุดมณฑลหนึ่งของจีน กล่าวคือ มีพื้นที่ 160,000 ตร.กม. หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย
โดยเป็นมณฑลมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 17 ของจีน แต่มีประชาชนอาศัยกันหนาแน่นมาก ทำให้เป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ คือ 97.7 ล้านคน โดยเจิ้งโจวเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของมณฑลเหอหนาน โดยมีประชากรประมาณ 6 ล้านคน
มณฑลเหอหนานนับเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมจีนเมื่อมีการตั้งหลักแหล่ง โดยเมืองหลวงเก่าของจีน 8 แห่ง มีมากถึงครึ่งหนึ่ง คือ 4 แห่งตั้งภายในมณฑลเหอหนาน กล่าวคือ นครลั่วหยางเป็นเมืองหลวงของ 9 ราชวงศ์ ไคเฟิงเป็นเมืองหลวงของ 7 ราชวงศ์ ส่วนเมืองเจิ้งโจวก็เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซาง
แม่น้ำเหลืองไหลผ่านตอนเหนือของมณฑลเหอหนาน โดยจะพัดพาตะกอนมาเป็นจำนวนมาก ทำให้แม่น้ำตื้นเขิน จึงมีปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง จึงมีฉายาว่าแม่น้ำวิปโยค เพื่อแก้ไขปัญหา ชาวบ้านจะสร้างเขื่อนริมฝั่งแม่น้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งเขื่อนจะสร้างสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป โดยบางตอนของแม่น้ำจะมีเขื่อนสูงเหนือระดับพื้นดิบมากกว่า 15 เมตร
บริเวณที่แม่น้ำเหลืองที่ไหลผ่านมณฑลเหอหนานได้เคยเกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่เมื่อกองทัพเจียงไคเช็คพ่ายแพ้ต่อกองทัพญี่ปุ่นเมื่อเดือนเมษายน 2481 ดังนั้น จึงสั่งการให้ทำลายเขื่อนเพื่อหยุดการบุกของญี่ปุ่น ส่งผลให้มีประชาชนจีนเสียชีวิตจากน้ำท่วมมากถึง 1 ล้านคน และไร้ที่อยู่อาศัยอีก 11 ล้านคน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือในการซ่อมแซมเขื่อนเมื่อปี 2490 และเมื่อคอมมิวนิสต์ชนะสงครามและปกครองประเทศ มีการก่อสร้างประตูน้ำสำหรับการชลประทาน และบริเวณมณฑลเหอหนานนับเป็นจุดที่มีการจารึกคำสั่งของเหมาเจ๋อตุงที่ว่า “ควบคุมแม่น้ำหวงเหอ” เอาไว้
ในปี 2548 มณฑลเหอหนานมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) 1,053,500 ล้านหยวน หรือประมาณ 5,300,000 ล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศไทย โดยนับว่าเป็นมณฑลที่มี GDP มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศจีน ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 10,800 หยวน/ปี หรือ 54,000 บาท/ปี
เหอหนานเริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนจากต่างประเทศ นับถึงสิ้นปี 2548 มีโครงการลงทุนจากต่างประเทศได้รับอนุมัติ 8,435 บริษัท เงินลงทุน 17,300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยลงทุนไปแล้ว 8,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้นว่า กลุ่มฟอร์โมซาของไต้หวันได้เข้ามาซื้อกิจการโรงแรมและค้าปลีกในนครลั่วหยางจากกลุ่ม Asiaworld ที่ประสบปัญหาทางการเงิน
มณฑลเหอหนานนับเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของจีน โดยเป็นแหล่งปลูกข้าวสาลี ธัญพืช เลี้ยงวัว และเลี้ยง Goat ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน โดยผลิตธัญพืช 45.8 ล้านตัน มากเป็น 1 ใน 10 ของประเทศ ผลิตพืชน้ำมัน 1 ใน 7 ของประเทศ ผลิตเนื้อวัว 1 ใน 7 ของประเทศ ผลิตฝ้าย 1 ใน 6 ของประเทศ แต่ประสบปัญหาสำคัญ คือ ความผันผวนของดินฟ้าอากาศ ทำให้มีปัญหาฝนแล้งและน้ำท่วมบ่อยครั้ง โดยเมื่อเร็วๆ นี้มีการลงทุนติดตั้งระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งแม่น้ำเหลือง
มณฑลเหอหนานเป็นสถานที่ตั้งตลาดสินค้าอาหารธัญพืชเจิ้งโจว (Zhengzhou Grain and Foodstuff Exchange) นับเป็นศูนย์กลางตลาดขายส่งและตลาดล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์แห่งสำคัญของจีน ราคาสินค้าของตลาดแห่งนี้นับเป็นราคาอ้างอิงของการซื้อขายสินค้าเกษตรทั้งของจีนและทั่วโลก
อุตสาหกรรมการเกษตร มณฑลเหอหนานมีผู้ประกอบการรายใหญ่ คือ บริษัท Mengniu Dairy เป็นบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ส่วนบริษัท Henan Shuanghui Group ซึ่งมีฐานที่นครลั่วหยาง นับเป็นบริษัทผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน โดยการผลิตใช้แบรนด์เนม Shineway
รัฐบาลจีนยังได้ส่งเสริมการผลิตเอทานอลเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมัน โดยมีการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในมณฑลเหอหนานหลายแห่ง เป็นต้นว่า บริษัท Tianguan Ethanol Chemical Group ลงทุน 1,300 ล้านหยวน หรือประมาณ 6,500 ล้านบาท ในการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลขนาดกำลังผลิต 500,000 ตัน/ปี โดยใช้วัตถุดิบเป็นธัญพืชมากถึง 1 ล้านตัน/ปี
ยานยนต์ มณฑลเหอหนานมีโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัทนิสสันของญี่ปุ่นและบริษัท บริษัท Dongfeng Automobile Group (เดิมมีชื่อว่า Second Automotive Works) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน ก่อตั้งบริษัท Zhengzhou Nissan Automobile จำกัด เพื่อประกอบรถบรรทุกเล็กและรถยนต์อเนกประสงค์ที่นครเจิ้งโจว นอกจากนี้ มณฑลเหอหนานยังเป็นฐานผลิตรถบัสโดยสารของบริษัท Yutong Bus Share จำกัด ด้วย
ปูนซีเมนต์ มณฑลเหอหนานผลิตปูนซีเมนต์ในปี 2545 ปริมาณมากถึง 44.8 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณมากกว่าปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ของประเทศไทยทั้งประเทศ โดยนับเป็นฐานการผลิตใหญ่เป็นอันดับ 6 ของจีน
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีหลายบริษัทตั้งฐานผลิตในมณฑลเหอหนาน เป็นต้นว่า บริษัทฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Nanjing Huafei ของจีน ในการก่อตั้งบริษัท Anfei Electronic Glass เพื่อผลิตจอแก้วแบบแบนสำหรับโทรทัศน์ที่ Zhengzhou Economic Development Zone เริ่มผลิตปี 2545 ส่วนบริษัท Xinfei Electric นับเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของจีน โดยได้ผลิตตู้เย็นที่เมือง Xinxiang โดยมีกำลังผลิตตู้เย็น 2.5 ล้านตู้/ปี ตู้แช่ 0.5 ล้านตู้/ปี และเครื่องปรับอากาศ 0.3 ล้านเครื่อง/ปี โดยมีความร่วมมือกับบริษัท GE ของสหรัฐฯ
เซมิคอนดักเตอร์ ปัจจุบันมีข่าวว่าบริษัท Longs Semiconductor Manufacturing มีแผนลงทุน 229 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อผลิตเวเฟอร์วงจรรวมในมณฑลเหอหนาน นับเป็นโรงงานเวเฟอร์วงจรแห่งแรกในพื้นที่แถบนี้ อย่างไรก็ตาม โรงงานแห่งนี้กำหนดว่าจะใช้เครื่องจักรเก่าที่ล้าสมัย กล่าวคือ เป็นการผลิตเวเฟอร์ขนาด 6 นิ้ว ขนาด 0.35 ไมครอน
เครื่องจักรกล นครอันหยางเป็นฐานการผลิตเครื่องจักรกล เป็นต้นว่า บริษัท Anyang Xinsheng Machine Tool จำกัด ผลิตเครื่องกลึงแบบ CNC บริษัท Anyang Forging-Press Machinery Industry ผลิตเครื่องจักรทุบขึ้นรูปและปั๊มขึ้นรูป
เหมืองแร่ ปัจจุบันประเทศจีนใช้ถ่านหินมากที่สุดในโลก โดยการใช้ถ่านหินของจีนประเทศเดียวมีปริมาณมากกว่าการใช้ถ่านหินของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นรวมกัน สำหรับมณฑลเหอหยางนับเป็นฐานการผลิตถ่านหินใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน รองจากมณฑลซานซีและมลฑลชานตง โดยมีเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ คือ เหมืองถ่านหินปิงติงซาน โดยมีปริมาณการผลิตมากถึงปีละ 90 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม การทำเหมืองแร่ในมณฑลเหอหนานเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และแต่ละครั้งสูญเสียชีวิตจำนวนมาก เป็นต้นว่า เมื่อเดือนตุลาคม 2547 เกิดการระเบิดในเหมืองถ่านหินของบริษัท Zhengzhou Coal Industry Group ในเมือง Xinmi ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตมากถึง 148 คน ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2548 เกิดการระเบิดของเหมืองถ่านหินของบริษัท Hebi Coal Industry (Group) ที่เมือง Hebi ทำให้คนงานเสียชีวิตอีก 34 คน
ไฟฟ้า มณฑลเหอหนานนับเป็นฐานการผลิตใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศจีน เมื่อสิ้นปี 2548 เหอหนานมีกำลังผลิตไฟฟ้า 28,810 เมกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงกับกำลังผลิตไฟฟ้าของไทยทั้งประเทศ โดยปัจจุบันกำลังลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน โดยในปี 2548 เพียงปีเดียว สามารถเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 4,580 เมกะวัตต์
ปัจจุบันมีบริษัทไทยมีดำเนินธุรกิจในมณฑลเหอหนานหลายบริษัท เป็นต้นว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์มีโรงงานหลายแห่งที่มณฑลเหอหนาน เป็นต้นว่า โรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่นครเจิ้งโจว โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ที่นครลั่วหยาง นอกจากนี้ ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างห้างโลตัสที่นครลั่วหยาง
จากการที่มณฑลเหอหนานมีถ่านหินจำนวนมาก กลุ่มบ้านปูของไทยในปี 2548 ได้ร่วมลงทุนกับ Hebi Coal & Electricity จำกัด ในการก่อตั้งบริษัท Hebi Zhong Tai Mining จำกัด เพื่อทำธุรกิจเหมืองถ่านหินในมณฑลเหอหนาน เพื่อทำธุรกิจเหมืองถ่านหินขนาด 1 ล้านตัน/ปี และมีแผนขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 ล้านตัน/ปี ในปี 2551
กลุ่มเบทาโกรของไทยได้ลงทุน 50 ล้านบาท ในการก่อตั้งโรงงานอาหารหมูและไก่ขนาดกำลังผลิต 1,000 ตัน/เดือน ในนามบริษัท บริษัท เบทาโกรไคฟงฟีดมิลล์ จำกัด ตั้งที่นครไคเฟิง อย่างไรก็ตาม โครงการไม่ประสบผลสำเร็จในทางธุรกิจนัก โดยได้ประกาศหยุดการผลิตในส่วนอาหารไก่เป็นการชั่วคราวเมื่อต้นปี 2548 เนื่องจากมีการแข่งขันตัดราคากันสูงมากในอาหารสัตว์
สำหรับบริษัท Zhengzhou Nissan Automobile จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานประกอบรถบรรทุกเล็กและรถยนต์อเนกประสงค์ภายใต้แบรนด์นิสสันที่นครเจิ้งโจวนั้น เดิมบริษัทแห่งนี้มีบริษัท Dongfeng ถือหุ้น 70% บริษัทสามมิตรมอเตอร์ของไทย 25% และบริษัทนิสสัน 5% แต่ต่อมาบริษัทสามมิตรได้ขายหุ้น 25% ให้แก่บริษัทนิสสัน ทำให้บริษัทนิสสันมีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 30%
สุดท้ายนี้ จากการที่มณฑลเหอหนานเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมจีนและมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ดังนั้น สายการบินบางกอกแอร์เวย์สจึงเริ่มมีเที่ยวบินจากกรุงเทพมหานครมายังท่าอากาศยานของนครเจิ้งโจว เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และเป็นการอำนวยความสะดวกไม่จำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่รวมถึงนักธุรกิจไทยที่จะไปดำเนินธุรกิจที่มณฑลเหอหนาน
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
มณฑลเหอหนาน (ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า ห่อนั้ม) มีความหมายว่าทางใต้ของแม่น้ำหวงเหอโดยคำว่าเหอหมายถึงแม่น้ำ และหนานหมายถึงทิศใต้ แม้ว่าเหอหนานจะมีพื้นที่เล็กที่สุดมณฑลหนึ่งของจีน กล่าวคือ มีพื้นที่ 160,000 ตร.กม. หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย
โดยเป็นมณฑลมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 17 ของจีน แต่มีประชาชนอาศัยกันหนาแน่นมาก ทำให้เป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ คือ 97.7 ล้านคน โดยเจิ้งโจวเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของมณฑลเหอหนาน โดยมีประชากรประมาณ 6 ล้านคน
มณฑลเหอหนานนับเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมจีนเมื่อมีการตั้งหลักแหล่ง โดยเมืองหลวงเก่าของจีน 8 แห่ง มีมากถึงครึ่งหนึ่ง คือ 4 แห่งตั้งภายในมณฑลเหอหนาน กล่าวคือ นครลั่วหยางเป็นเมืองหลวงของ 9 ราชวงศ์ ไคเฟิงเป็นเมืองหลวงของ 7 ราชวงศ์ ส่วนเมืองเจิ้งโจวก็เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซาง
แม่น้ำเหลืองไหลผ่านตอนเหนือของมณฑลเหอหนาน โดยจะพัดพาตะกอนมาเป็นจำนวนมาก ทำให้แม่น้ำตื้นเขิน จึงมีปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง จึงมีฉายาว่าแม่น้ำวิปโยค เพื่อแก้ไขปัญหา ชาวบ้านจะสร้างเขื่อนริมฝั่งแม่น้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งเขื่อนจะสร้างสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป โดยบางตอนของแม่น้ำจะมีเขื่อนสูงเหนือระดับพื้นดิบมากกว่า 15 เมตร
บริเวณที่แม่น้ำเหลืองที่ไหลผ่านมณฑลเหอหนานได้เคยเกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่เมื่อกองทัพเจียงไคเช็คพ่ายแพ้ต่อกองทัพญี่ปุ่นเมื่อเดือนเมษายน 2481 ดังนั้น จึงสั่งการให้ทำลายเขื่อนเพื่อหยุดการบุกของญี่ปุ่น ส่งผลให้มีประชาชนจีนเสียชีวิตจากน้ำท่วมมากถึง 1 ล้านคน และไร้ที่อยู่อาศัยอีก 11 ล้านคน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือในการซ่อมแซมเขื่อนเมื่อปี 2490 และเมื่อคอมมิวนิสต์ชนะสงครามและปกครองประเทศ มีการก่อสร้างประตูน้ำสำหรับการชลประทาน และบริเวณมณฑลเหอหนานนับเป็นจุดที่มีการจารึกคำสั่งของเหมาเจ๋อตุงที่ว่า “ควบคุมแม่น้ำหวงเหอ” เอาไว้
ในปี 2548 มณฑลเหอหนานมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) 1,053,500 ล้านหยวน หรือประมาณ 5,300,000 ล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศไทย โดยนับว่าเป็นมณฑลที่มี GDP มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศจีน ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 10,800 หยวน/ปี หรือ 54,000 บาท/ปี
เหอหนานเริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนจากต่างประเทศ นับถึงสิ้นปี 2548 มีโครงการลงทุนจากต่างประเทศได้รับอนุมัติ 8,435 บริษัท เงินลงทุน 17,300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยลงทุนไปแล้ว 8,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้นว่า กลุ่มฟอร์โมซาของไต้หวันได้เข้ามาซื้อกิจการโรงแรมและค้าปลีกในนครลั่วหยางจากกลุ่ม Asiaworld ที่ประสบปัญหาทางการเงิน
มณฑลเหอหนานนับเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของจีน โดยเป็นแหล่งปลูกข้าวสาลี ธัญพืช เลี้ยงวัว และเลี้ยง Goat ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน โดยผลิตธัญพืช 45.8 ล้านตัน มากเป็น 1 ใน 10 ของประเทศ ผลิตพืชน้ำมัน 1 ใน 7 ของประเทศ ผลิตเนื้อวัว 1 ใน 7 ของประเทศ ผลิตฝ้าย 1 ใน 6 ของประเทศ แต่ประสบปัญหาสำคัญ คือ ความผันผวนของดินฟ้าอากาศ ทำให้มีปัญหาฝนแล้งและน้ำท่วมบ่อยครั้ง โดยเมื่อเร็วๆ นี้มีการลงทุนติดตั้งระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งแม่น้ำเหลือง
มณฑลเหอหนานเป็นสถานที่ตั้งตลาดสินค้าอาหารธัญพืชเจิ้งโจว (Zhengzhou Grain and Foodstuff Exchange) นับเป็นศูนย์กลางตลาดขายส่งและตลาดล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์แห่งสำคัญของจีน ราคาสินค้าของตลาดแห่งนี้นับเป็นราคาอ้างอิงของการซื้อขายสินค้าเกษตรทั้งของจีนและทั่วโลก
อุตสาหกรรมการเกษตร มณฑลเหอหนานมีผู้ประกอบการรายใหญ่ คือ บริษัท Mengniu Dairy เป็นบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ส่วนบริษัท Henan Shuanghui Group ซึ่งมีฐานที่นครลั่วหยาง นับเป็นบริษัทผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน โดยการผลิตใช้แบรนด์เนม Shineway
รัฐบาลจีนยังได้ส่งเสริมการผลิตเอทานอลเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมัน โดยมีการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในมณฑลเหอหนานหลายแห่ง เป็นต้นว่า บริษัท Tianguan Ethanol Chemical Group ลงทุน 1,300 ล้านหยวน หรือประมาณ 6,500 ล้านบาท ในการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลขนาดกำลังผลิต 500,000 ตัน/ปี โดยใช้วัตถุดิบเป็นธัญพืชมากถึง 1 ล้านตัน/ปี
ยานยนต์ มณฑลเหอหนานมีโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัทนิสสันของญี่ปุ่นและบริษัท บริษัท Dongfeng Automobile Group (เดิมมีชื่อว่า Second Automotive Works) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน ก่อตั้งบริษัท Zhengzhou Nissan Automobile จำกัด เพื่อประกอบรถบรรทุกเล็กและรถยนต์อเนกประสงค์ที่นครเจิ้งโจว นอกจากนี้ มณฑลเหอหนานยังเป็นฐานผลิตรถบัสโดยสารของบริษัท Yutong Bus Share จำกัด ด้วย
ปูนซีเมนต์ มณฑลเหอหนานผลิตปูนซีเมนต์ในปี 2545 ปริมาณมากถึง 44.8 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณมากกว่าปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ของประเทศไทยทั้งประเทศ โดยนับเป็นฐานการผลิตใหญ่เป็นอันดับ 6 ของจีน
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีหลายบริษัทตั้งฐานผลิตในมณฑลเหอหนาน เป็นต้นว่า บริษัทฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Nanjing Huafei ของจีน ในการก่อตั้งบริษัท Anfei Electronic Glass เพื่อผลิตจอแก้วแบบแบนสำหรับโทรทัศน์ที่ Zhengzhou Economic Development Zone เริ่มผลิตปี 2545 ส่วนบริษัท Xinfei Electric นับเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของจีน โดยได้ผลิตตู้เย็นที่เมือง Xinxiang โดยมีกำลังผลิตตู้เย็น 2.5 ล้านตู้/ปี ตู้แช่ 0.5 ล้านตู้/ปี และเครื่องปรับอากาศ 0.3 ล้านเครื่อง/ปี โดยมีความร่วมมือกับบริษัท GE ของสหรัฐฯ
เซมิคอนดักเตอร์ ปัจจุบันมีข่าวว่าบริษัท Longs Semiconductor Manufacturing มีแผนลงทุน 229 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อผลิตเวเฟอร์วงจรรวมในมณฑลเหอหนาน นับเป็นโรงงานเวเฟอร์วงจรแห่งแรกในพื้นที่แถบนี้ อย่างไรก็ตาม โรงงานแห่งนี้กำหนดว่าจะใช้เครื่องจักรเก่าที่ล้าสมัย กล่าวคือ เป็นการผลิตเวเฟอร์ขนาด 6 นิ้ว ขนาด 0.35 ไมครอน
เครื่องจักรกล นครอันหยางเป็นฐานการผลิตเครื่องจักรกล เป็นต้นว่า บริษัท Anyang Xinsheng Machine Tool จำกัด ผลิตเครื่องกลึงแบบ CNC บริษัท Anyang Forging-Press Machinery Industry ผลิตเครื่องจักรทุบขึ้นรูปและปั๊มขึ้นรูป
เหมืองแร่ ปัจจุบันประเทศจีนใช้ถ่านหินมากที่สุดในโลก โดยการใช้ถ่านหินของจีนประเทศเดียวมีปริมาณมากกว่าการใช้ถ่านหินของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นรวมกัน สำหรับมณฑลเหอหยางนับเป็นฐานการผลิตถ่านหินใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน รองจากมณฑลซานซีและมลฑลชานตง โดยมีเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ คือ เหมืองถ่านหินปิงติงซาน โดยมีปริมาณการผลิตมากถึงปีละ 90 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม การทำเหมืองแร่ในมณฑลเหอหนานเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และแต่ละครั้งสูญเสียชีวิตจำนวนมาก เป็นต้นว่า เมื่อเดือนตุลาคม 2547 เกิดการระเบิดในเหมืองถ่านหินของบริษัท Zhengzhou Coal Industry Group ในเมือง Xinmi ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตมากถึง 148 คน ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2548 เกิดการระเบิดของเหมืองถ่านหินของบริษัท Hebi Coal Industry (Group) ที่เมือง Hebi ทำให้คนงานเสียชีวิตอีก 34 คน
ไฟฟ้า มณฑลเหอหนานนับเป็นฐานการผลิตใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศจีน เมื่อสิ้นปี 2548 เหอหนานมีกำลังผลิตไฟฟ้า 28,810 เมกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงกับกำลังผลิตไฟฟ้าของไทยทั้งประเทศ โดยปัจจุบันกำลังลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน โดยในปี 2548 เพียงปีเดียว สามารถเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 4,580 เมกะวัตต์
ปัจจุบันมีบริษัทไทยมีดำเนินธุรกิจในมณฑลเหอหนานหลายบริษัท เป็นต้นว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์มีโรงงานหลายแห่งที่มณฑลเหอหนาน เป็นต้นว่า โรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่นครเจิ้งโจว โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ที่นครลั่วหยาง นอกจากนี้ ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างห้างโลตัสที่นครลั่วหยาง
จากการที่มณฑลเหอหนานมีถ่านหินจำนวนมาก กลุ่มบ้านปูของไทยในปี 2548 ได้ร่วมลงทุนกับ Hebi Coal & Electricity จำกัด ในการก่อตั้งบริษัท Hebi Zhong Tai Mining จำกัด เพื่อทำธุรกิจเหมืองถ่านหินในมณฑลเหอหนาน เพื่อทำธุรกิจเหมืองถ่านหินขนาด 1 ล้านตัน/ปี และมีแผนขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 ล้านตัน/ปี ในปี 2551
กลุ่มเบทาโกรของไทยได้ลงทุน 50 ล้านบาท ในการก่อตั้งโรงงานอาหารหมูและไก่ขนาดกำลังผลิต 1,000 ตัน/เดือน ในนามบริษัท บริษัท เบทาโกรไคฟงฟีดมิลล์ จำกัด ตั้งที่นครไคเฟิง อย่างไรก็ตาม โครงการไม่ประสบผลสำเร็จในทางธุรกิจนัก โดยได้ประกาศหยุดการผลิตในส่วนอาหารไก่เป็นการชั่วคราวเมื่อต้นปี 2548 เนื่องจากมีการแข่งขันตัดราคากันสูงมากในอาหารสัตว์
สำหรับบริษัท Zhengzhou Nissan Automobile จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานประกอบรถบรรทุกเล็กและรถยนต์อเนกประสงค์ภายใต้แบรนด์นิสสันที่นครเจิ้งโจวนั้น เดิมบริษัทแห่งนี้มีบริษัท Dongfeng ถือหุ้น 70% บริษัทสามมิตรมอเตอร์ของไทย 25% และบริษัทนิสสัน 5% แต่ต่อมาบริษัทสามมิตรได้ขายหุ้น 25% ให้แก่บริษัทนิสสัน ทำให้บริษัทนิสสันมีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 30%
สุดท้ายนี้ จากการที่มณฑลเหอหนานเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมจีนและมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ดังนั้น สายการบินบางกอกแอร์เวย์สจึงเริ่มมีเที่ยวบินจากกรุงเทพมหานครมายังท่าอากาศยานของนครเจิ้งโจว เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และเป็นการอำนวยความสะดวกไม่จำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่รวมถึงนักธุรกิจไทยที่จะไปดำเนินธุรกิจที่มณฑลเหอหนาน
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th