มีคำสอนโบราณบทหนึ่งว่า
จงระวังความคิดของเจ้า เพราะมันจะนำไปสู่การกระทำ
จงระวังการกระทำ เพราะมันจะนำไปสู่ความเคยชินจนติดเป็นนิสัย
จงระวังความเคยชิน เพราะมันจะนำไปสู่อุปนิสัย
จงระวังอุปนิสัย เพราะมันจะนำไปสู่ชะตาชีวิต
คนเราคิดอย่างไรก็มักจะทำอย่างนั้น และหากทำอะไรบ่อยๆ จนเกิดความเคยชิน ก็จะติดเป็นนิสัย นิสัยก่อให้เกิดอุปนิสัยซึ่งเป็นอัตลักษณ์ และก็จะดำเนินชีวิตไปตามนั้น
ระยะเวลาที่ความคิดจะก่อให้เกิดการกระทำอาจสั้นหรือยาวก็ได้ หากใครคิดเร็วทำเร็วโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก็จะเป็นอันตราย ยิ่งเป็นผู้ซึ่งสามารถดลบันดาลการเปลี่ยนแปลงด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะต้องระวังตัวให้มาก
การกระทำนี้ รวมคำพูดไว้ด้วย คำพูดก็มีส่วนสะท้อนความคิดเหมือนกัน คำพูดก็เกิดจากความคิด บางคนคิดเร็วพูดเร็วจนติดเป็นนิสัย เมื่อพูดออกไปแล้วคนฟังก็จะมีความรู้สึกและไปแปลความหมายได้ ดังนั้น ผู้นำจึงต้องระวังคำพูด ไม่ใช่เพราะมีคนคอยจ้องจับผิด แต่เป็นเพราะคำพูดของผู้นำย่อมมีน้ำหนักมากกว่าคนทั่วไป
คนพูดน้อย ย่อมได้เปรียบคนพูดมาก คนทั่วไปจะไม่รู้ว่าเราคิดอย่างไร ถ้าเราไม่พูดออกไป คนที่ฟังมากกว่าพูดจึงสามารถสังเกตลักษณะนิสัย และความต้องการของคนอื่นได้ จึงมีข้อแนะนำผู้นำว่า ควรมีศิลปะในการฟังมากกว่าจะมีศิลปะในการพูด การฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานโดยไม่จำเป็นต้องพูดเลยก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะผู้ร่วมงานอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายขัดแย้งกัน หากผู้นำพูดออกไป และความเห็นนั้นไปตรงกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่บ่อยๆ คนที่มีความเห็นต่างออกไปก็จะไม่กล้าออกความเห็นอีก
ในบางครั้ง คำพูดบางคำพูดก็ทำให้คนฟังฉงนได้เหมือนกันว่า คนพูดคิดอย่างไร เช่น ในงานพระราชพิธีมีเด็กๆ ลูกหลานเจ้านายสวมชุดโจงกระเบนยืนแจกดอกไม้ที่ทำเป็นรูปกระแตอย่างงดงามต่อพระราชอาคันตุกะอยู่ จู่ๆ บุรุษนายหนึ่งก็ชายตามองเครื่องแต่งกายแล้วถามว่า “มารำแก้บนเหรอ”
การพูดในสถานที่เช่นนั้น เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง เด็กๆ ย่อมคิดว่า นี่เป็นงานพระราชพิธี คนมาพูดว่าจะมารำแก้บนหรือ คิดอย่างไรถึงพูดออกมาได้เช่นนั้น
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีทำสงครามโดยยังไม่ได้โจมตีอังกฤษ สมาคมโต้วาทีของมหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผู้นำอังกฤษ ได้มีการโต้วาทีในญัตติที่ว่า “We Shall not fight for King and Country” ปรากฏว่า ฝ่ายเสนอชนะ เยอรมนีอาศัยเหตุนี้ตีความว่า คนอังกฤษคงจะไม่สู้แล้ว ก็เลยฮึกเหิม ปรากฏว่าคนอังกฤษกลับสู้ยิบตา ดังนั้นการแปลความหมายคำพูดที่ผิดออกไปจากความคิดที่แท้จริง จึงเป็นอันตราย
ผู้นำที่พูดน้อยแต่ฟังมากก็คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ซึ่งต้องอธิบายหรือเสนอความเห็นอะไรให้พลเอกเปรม ต้องเตรียมคำพูดที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน พลเอกเปรม จะถามเป็นส่วนใหญ่ และก็คิดแล้วก็ไม่แสดงความเห็นเลย เพียงแต่พยักหน้าแสดงความเข้าใจ หรือเห็นด้วยเท่านั้น
มีบางคนที่พูดโกหกเสียจนตัวเองหลงเชื่อว่าคำพูดของตนเองเป็นเรื่องจริง นักการเมืองบางคนมีโวหาร และพูดคล่องแคล่ว แม้จะเป็นคนโกงหาผลประโยชน์จากการซื้อขายของๆ ทางราชการมาตลอด แต่ความเป็นคนพูดจาคล่องแคล่ว เสียงดัง จึงทำให้กลบเกลื่อนความชั่วของตัวเองได้
คนเราหากพูดมากกว่าฟัง นานๆ เข้าก็จะติดเป็นนิสัยแล้วก็ไม่รู้ตัว ไปไหนๆ ก็พูดใส่คนอื่น หนักๆ เข้าก็สอนเสียเลยว่า จะต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้
สังคมไทยเรา มีความเกรงใจผู้มีอำนาจอยู่แล้ว ดังนั้นยิ่งผู้มีอำนาจช่างพูด คนอื่นก็จะไม่อยากพูดแสดงความคิดเห็น ในบางองค์กรหากผู้มีอำนาจอยู่ในที่ประชุมด้วย ลูกน้องก็ไม่ออกความเห็น ทั้งๆ ที่ผู้นำไม่พูด ผู้นำบางคนจึงไม่เข้าประชุมในบางโอกาส เพื่อปล่อยให้ลูกน้องได้พูดแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่
แต่ถ้าผู้นำไม่พูดเสียเลย เงียบตลอดคนก็อาจอึดอัดได้เหมือนกัน การพูดมากพูดน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาว่า เรื่องใดควรพูด เรื่องใดไม่ควรพูด และจะพูดมากน้อยแค่ไหน จะให้มีความชัดเจนหรือคลุมเครือแค่ไหนอย่างไร
ในสังคมตะวันออก นอกจากคำพูดแล้ว อากัปกิริยาภาษาท่าทางก็ยังมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้คนเราดูอุปนิสัยใจคอของคน การมองก็ดี การพูดก็ดี ทำให้คนดูกิริยาแล้วเกิดความรู้สึกเชิงบวกหรือลบต่อผู้พูดอย่างกรณี “มารำแก้บน” เป็นต้น
ในงานใหญ่ๆ โดยเฉพาะที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ คนดูจะสังเกตสีหน้าของผู้ปรากฏตัวในงาน เวลากล้องไปจับที่ใคร คนก็จะดูและเกิดความรู้สึกว่า คนคนนั้นเขาคิดอย่างไร หรือรู้สึกอย่างไร
ผมเห็นคนแหงนหน้ามองพระเจ้าอยู่หัวแล้วร้องไห้ก็พลอยตื้นตันใจมากขึ้นอีก ที่เรียกว่า “บารมี” นั้น คือสิ่งที่คนคนหนึ่งเกิดความรู้สึกกับอีกคนหนึ่งอย่างจริงใจ “บารมี” จึงเป็นความสัมพันธ์สองทาง และทางด้านผู้ตามจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดว่า ใครมีบารมีมากน้อยแค่ไหน บารมีไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผู้นำจะมีได้โดยอัตโนมัติ สักแต่ว่าเป็นผู้นำ ผู้นำทางการเมืองอาจได้คะแนนเสียงมาก จะด้วยความนิยมชมชอบ ด้วยอำนาจ ด้วยเงินก็ตาม แต่ไม่ได้ทำให้เป็นผู้มีบารมีได้
ใครคิดอย่างไร ทำอย่างไรจนเป็นนิสัย ก็จะเผชิญกับชะตากรรมอย่างนั้น
คำโบราณนี้คือ สัจธรรม
จงระวังความคิดของเจ้า เพราะมันจะนำไปสู่การกระทำ
จงระวังการกระทำ เพราะมันจะนำไปสู่ความเคยชินจนติดเป็นนิสัย
จงระวังความเคยชิน เพราะมันจะนำไปสู่อุปนิสัย
จงระวังอุปนิสัย เพราะมันจะนำไปสู่ชะตาชีวิต
คนเราคิดอย่างไรก็มักจะทำอย่างนั้น และหากทำอะไรบ่อยๆ จนเกิดความเคยชิน ก็จะติดเป็นนิสัย นิสัยก่อให้เกิดอุปนิสัยซึ่งเป็นอัตลักษณ์ และก็จะดำเนินชีวิตไปตามนั้น
ระยะเวลาที่ความคิดจะก่อให้เกิดการกระทำอาจสั้นหรือยาวก็ได้ หากใครคิดเร็วทำเร็วโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก็จะเป็นอันตราย ยิ่งเป็นผู้ซึ่งสามารถดลบันดาลการเปลี่ยนแปลงด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะต้องระวังตัวให้มาก
การกระทำนี้ รวมคำพูดไว้ด้วย คำพูดก็มีส่วนสะท้อนความคิดเหมือนกัน คำพูดก็เกิดจากความคิด บางคนคิดเร็วพูดเร็วจนติดเป็นนิสัย เมื่อพูดออกไปแล้วคนฟังก็จะมีความรู้สึกและไปแปลความหมายได้ ดังนั้น ผู้นำจึงต้องระวังคำพูด ไม่ใช่เพราะมีคนคอยจ้องจับผิด แต่เป็นเพราะคำพูดของผู้นำย่อมมีน้ำหนักมากกว่าคนทั่วไป
คนพูดน้อย ย่อมได้เปรียบคนพูดมาก คนทั่วไปจะไม่รู้ว่าเราคิดอย่างไร ถ้าเราไม่พูดออกไป คนที่ฟังมากกว่าพูดจึงสามารถสังเกตลักษณะนิสัย และความต้องการของคนอื่นได้ จึงมีข้อแนะนำผู้นำว่า ควรมีศิลปะในการฟังมากกว่าจะมีศิลปะในการพูด การฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานโดยไม่จำเป็นต้องพูดเลยก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะผู้ร่วมงานอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายขัดแย้งกัน หากผู้นำพูดออกไป และความเห็นนั้นไปตรงกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่บ่อยๆ คนที่มีความเห็นต่างออกไปก็จะไม่กล้าออกความเห็นอีก
ในบางครั้ง คำพูดบางคำพูดก็ทำให้คนฟังฉงนได้เหมือนกันว่า คนพูดคิดอย่างไร เช่น ในงานพระราชพิธีมีเด็กๆ ลูกหลานเจ้านายสวมชุดโจงกระเบนยืนแจกดอกไม้ที่ทำเป็นรูปกระแตอย่างงดงามต่อพระราชอาคันตุกะอยู่ จู่ๆ บุรุษนายหนึ่งก็ชายตามองเครื่องแต่งกายแล้วถามว่า “มารำแก้บนเหรอ”
การพูดในสถานที่เช่นนั้น เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง เด็กๆ ย่อมคิดว่า นี่เป็นงานพระราชพิธี คนมาพูดว่าจะมารำแก้บนหรือ คิดอย่างไรถึงพูดออกมาได้เช่นนั้น
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีทำสงครามโดยยังไม่ได้โจมตีอังกฤษ สมาคมโต้วาทีของมหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผู้นำอังกฤษ ได้มีการโต้วาทีในญัตติที่ว่า “We Shall not fight for King and Country” ปรากฏว่า ฝ่ายเสนอชนะ เยอรมนีอาศัยเหตุนี้ตีความว่า คนอังกฤษคงจะไม่สู้แล้ว ก็เลยฮึกเหิม ปรากฏว่าคนอังกฤษกลับสู้ยิบตา ดังนั้นการแปลความหมายคำพูดที่ผิดออกไปจากความคิดที่แท้จริง จึงเป็นอันตราย
ผู้นำที่พูดน้อยแต่ฟังมากก็คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ซึ่งต้องอธิบายหรือเสนอความเห็นอะไรให้พลเอกเปรม ต้องเตรียมคำพูดที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน พลเอกเปรม จะถามเป็นส่วนใหญ่ และก็คิดแล้วก็ไม่แสดงความเห็นเลย เพียงแต่พยักหน้าแสดงความเข้าใจ หรือเห็นด้วยเท่านั้น
มีบางคนที่พูดโกหกเสียจนตัวเองหลงเชื่อว่าคำพูดของตนเองเป็นเรื่องจริง นักการเมืองบางคนมีโวหาร และพูดคล่องแคล่ว แม้จะเป็นคนโกงหาผลประโยชน์จากการซื้อขายของๆ ทางราชการมาตลอด แต่ความเป็นคนพูดจาคล่องแคล่ว เสียงดัง จึงทำให้กลบเกลื่อนความชั่วของตัวเองได้
คนเราหากพูดมากกว่าฟัง นานๆ เข้าก็จะติดเป็นนิสัยแล้วก็ไม่รู้ตัว ไปไหนๆ ก็พูดใส่คนอื่น หนักๆ เข้าก็สอนเสียเลยว่า จะต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้
สังคมไทยเรา มีความเกรงใจผู้มีอำนาจอยู่แล้ว ดังนั้นยิ่งผู้มีอำนาจช่างพูด คนอื่นก็จะไม่อยากพูดแสดงความคิดเห็น ในบางองค์กรหากผู้มีอำนาจอยู่ในที่ประชุมด้วย ลูกน้องก็ไม่ออกความเห็น ทั้งๆ ที่ผู้นำไม่พูด ผู้นำบางคนจึงไม่เข้าประชุมในบางโอกาส เพื่อปล่อยให้ลูกน้องได้พูดแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่
แต่ถ้าผู้นำไม่พูดเสียเลย เงียบตลอดคนก็อาจอึดอัดได้เหมือนกัน การพูดมากพูดน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาว่า เรื่องใดควรพูด เรื่องใดไม่ควรพูด และจะพูดมากน้อยแค่ไหน จะให้มีความชัดเจนหรือคลุมเครือแค่ไหนอย่างไร
ในสังคมตะวันออก นอกจากคำพูดแล้ว อากัปกิริยาภาษาท่าทางก็ยังมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้คนเราดูอุปนิสัยใจคอของคน การมองก็ดี การพูดก็ดี ทำให้คนดูกิริยาแล้วเกิดความรู้สึกเชิงบวกหรือลบต่อผู้พูดอย่างกรณี “มารำแก้บน” เป็นต้น
ในงานใหญ่ๆ โดยเฉพาะที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ คนดูจะสังเกตสีหน้าของผู้ปรากฏตัวในงาน เวลากล้องไปจับที่ใคร คนก็จะดูและเกิดความรู้สึกว่า คนคนนั้นเขาคิดอย่างไร หรือรู้สึกอย่างไร
ผมเห็นคนแหงนหน้ามองพระเจ้าอยู่หัวแล้วร้องไห้ก็พลอยตื้นตันใจมากขึ้นอีก ที่เรียกว่า “บารมี” นั้น คือสิ่งที่คนคนหนึ่งเกิดความรู้สึกกับอีกคนหนึ่งอย่างจริงใจ “บารมี” จึงเป็นความสัมพันธ์สองทาง และทางด้านผู้ตามจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดว่า ใครมีบารมีมากน้อยแค่ไหน บารมีไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผู้นำจะมีได้โดยอัตโนมัติ สักแต่ว่าเป็นผู้นำ ผู้นำทางการเมืองอาจได้คะแนนเสียงมาก จะด้วยความนิยมชมชอบ ด้วยอำนาจ ด้วยเงินก็ตาม แต่ไม่ได้ทำให้เป็นผู้มีบารมีได้
ใครคิดอย่างไร ทำอย่างไรจนเป็นนิสัย ก็จะเผชิญกับชะตากรรมอย่างนั้น
คำโบราณนี้คือ สัจธรรม