ประชาชนประเมินการทำหน้าที่สื่อมวลชน ให้คะแนนการทำข่าวสืบสวนของหนังสือพิมพ์สูงที่สุด ขณะที่ให้คะแนนต่ำสุดเรื่องความระมัดระวังการเสนอข่าวและภาพให้คนเสียหาย ชี้ชัดบทบาทสื่อในยุคทักษิณ มีเสรีภาพน้อยเกินไป
วานนี้ (28 มิ.ย.) ผศ.สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน ในหัวข้อเรื่อง"ประชาชนคิดอย่างไรกับหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน" ซึ่งเป็นโครงการในความร่วมมือระหว่างสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กับมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างใน 25 จังหวัด จำนวน 2,708 คน ระหว่างวันที่ 1-15 มิ.ย.49 ได้ผลสรุปว่า
คุณภาพข่าวที่นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันมีคะแนนเฉลี่ย 2.72 จาก คะแนนเต็ม 5 โดยประชาชนเห็นว่า ข่าวสารที่เสนอทางหนังสือพิมพ์มีคุณค่าด้านความน่าสนใจสูงที่สุด คือ ร้อยละ 3.03 รองลงมาคือ ประโยชน์ที่ผู้อ่านได้รับ ร้อยละ 2.84 ความต่อเนื่องในการนำเสนอความคืบหน้าของเรื่องราว ร้อยละ 2.80 ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา ร้อยละ 2.67 ขณะที่ความถูกต้องเที่ยงตรง และความเป็นกลางไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดมีคะแนนต่ำกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 2.49 และ 2.47 ตามลำดับ
ส่วนการประเมินการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์ พบว่าการทำหน้าที่ด้านการสืบเสาะข้อมูลเชิงลึกมานำเสนอต่อสาธารณชนมีคำแนนสูงสุด ร้อยละ 2.78 รองลงมาคือ การชี้นำสังคมไปในทางที่ถูกที่ควร ร้อยละ 2.67 การยืนหยัดต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรมในสังคม ร้อยละ 2.66 ส่วนการระมัดระวังในการนำเสนอภาพและข่าวที่ทำให้ผู้ตกเป็นข่าวเสียหาย ได้คะแนนต่ำสุดคือ ร้อยละ 2.34
สำหรับความคิดเห็นต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ประชาชนร้อยละ 36.1 เห็นว่า สื่อมวลชนยุครัฐบาลทักษิณ มีเสรีภาพน้อยเกินไป ขณะที่ร้อยละ 30.3 เห็นว่ามีเสรีภาพในระดับที่เหมาะสมแล้ว ร้อยละ 22.7 เห็นว่ามีเสรีภาพมากเกินไป และ ร้อยละ 10.9 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ทั้งนี้ร้อยละ 67.3 เชื่อว่า หากสื่อมวลชนไทยมีเสรีภาพมากขึ้น จะทำให้การนำเสนอข่าวสรรเที่ยวตรงตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสื่อกล้านำเสนอความจริงอย่างครบถ้วนทุกด้านโดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลและการข่มขู่ฟ้องร้องเรียกเงินเป็นจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 32.7 ไม่เชื่อว่า การที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากขึ้นจะทำให้การนำเสนอข่าวสารเที่ยงตรงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเห็นว่าความเที่ยงตรงของข่าวสารขึ้นอยู่กับคุณภาพและจริยธรรมของสื่อมวลชนมากกว่าเสรีภาพ
ส่วนประเด็นเรื่องการควบคุมดูแลจริยธรรมของสื่อนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 ต้องการให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ควบคุมดูแลกันเอง และร้อยละ 29.6 ต้องการให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมดูแลจรรยาบรรณของสื่อมวลชน
ขณะที่ประเด็นเรื่องการรู้จักและรับรู้ถึงบทบาทการดำเนินงานของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.6 ยังไม่รู้จักสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ แต่ร้อยละ 37.5 เคยได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ทำหน้าที่อะไร ร้อยละ 2.9 ระบุว่ารู้จัก ซึ่งมีเพียงร้อยละ 1.2 ที่ระบุบทบาทหน้าที่ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้อย่างถูกต้อง
วานนี้ (28 มิ.ย.) ผศ.สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน ในหัวข้อเรื่อง"ประชาชนคิดอย่างไรกับหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน" ซึ่งเป็นโครงการในความร่วมมือระหว่างสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กับมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างใน 25 จังหวัด จำนวน 2,708 คน ระหว่างวันที่ 1-15 มิ.ย.49 ได้ผลสรุปว่า
คุณภาพข่าวที่นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันมีคะแนนเฉลี่ย 2.72 จาก คะแนนเต็ม 5 โดยประชาชนเห็นว่า ข่าวสารที่เสนอทางหนังสือพิมพ์มีคุณค่าด้านความน่าสนใจสูงที่สุด คือ ร้อยละ 3.03 รองลงมาคือ ประโยชน์ที่ผู้อ่านได้รับ ร้อยละ 2.84 ความต่อเนื่องในการนำเสนอความคืบหน้าของเรื่องราว ร้อยละ 2.80 ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา ร้อยละ 2.67 ขณะที่ความถูกต้องเที่ยงตรง และความเป็นกลางไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดมีคะแนนต่ำกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 2.49 และ 2.47 ตามลำดับ
ส่วนการประเมินการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์ พบว่าการทำหน้าที่ด้านการสืบเสาะข้อมูลเชิงลึกมานำเสนอต่อสาธารณชนมีคำแนนสูงสุด ร้อยละ 2.78 รองลงมาคือ การชี้นำสังคมไปในทางที่ถูกที่ควร ร้อยละ 2.67 การยืนหยัดต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรมในสังคม ร้อยละ 2.66 ส่วนการระมัดระวังในการนำเสนอภาพและข่าวที่ทำให้ผู้ตกเป็นข่าวเสียหาย ได้คะแนนต่ำสุดคือ ร้อยละ 2.34
สำหรับความคิดเห็นต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ประชาชนร้อยละ 36.1 เห็นว่า สื่อมวลชนยุครัฐบาลทักษิณ มีเสรีภาพน้อยเกินไป ขณะที่ร้อยละ 30.3 เห็นว่ามีเสรีภาพในระดับที่เหมาะสมแล้ว ร้อยละ 22.7 เห็นว่ามีเสรีภาพมากเกินไป และ ร้อยละ 10.9 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ทั้งนี้ร้อยละ 67.3 เชื่อว่า หากสื่อมวลชนไทยมีเสรีภาพมากขึ้น จะทำให้การนำเสนอข่าวสรรเที่ยวตรงตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสื่อกล้านำเสนอความจริงอย่างครบถ้วนทุกด้านโดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลและการข่มขู่ฟ้องร้องเรียกเงินเป็นจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 32.7 ไม่เชื่อว่า การที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากขึ้นจะทำให้การนำเสนอข่าวสารเที่ยงตรงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเห็นว่าความเที่ยงตรงของข่าวสารขึ้นอยู่กับคุณภาพและจริยธรรมของสื่อมวลชนมากกว่าเสรีภาพ
ส่วนประเด็นเรื่องการควบคุมดูแลจริยธรรมของสื่อนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 ต้องการให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ควบคุมดูแลกันเอง และร้อยละ 29.6 ต้องการให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมดูแลจรรยาบรรณของสื่อมวลชน
ขณะที่ประเด็นเรื่องการรู้จักและรับรู้ถึงบทบาทการดำเนินงานของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.6 ยังไม่รู้จักสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ แต่ร้อยละ 37.5 เคยได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ทำหน้าที่อะไร ร้อยละ 2.9 ระบุว่ารู้จัก ซึ่งมีเพียงร้อยละ 1.2 ที่ระบุบทบาทหน้าที่ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้อย่างถูกต้อง