ผู้จัดการรายวัน-ปูนใหญ่ชี้กลุ่มเหล็กของเครือทั้งเหล็กสยามยามาโตะ และสยามยูไนเต็ดสตีลฯไม่ได้รับผลกระทบจากการเลื่อนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ รวมทั้งภาคอสังหาฯหดตัว โดยหันไปพึ่งตลาดส่งออกที่ได้ราคาดีกว่าจำหน่ายในประเทศ และผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง คาดปีนี้โกยรายได้ใกล้เคียงปีที่แล้ว 3 หมื่นล้านบาท
นายดำริ ตันชีวะวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิเมนต์ไทยโฮลดิ้ง จำกัด ในเครือปูนซิเมนต์ไทย เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงส่งผลให้รัฐเลื่อนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ออกไป รวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ของเอกชนก็หดตัวลงทำให้ความต้องการใช้เหล็กลดลงเล็กน้อยโดยเฉพาะเหล็กก่อสร้างเมื่อเทียบจากปีก่อนที่มีตัวเลขความต้องการใช้อยู่ที่ 14 ล้านตัน แต่ในส่วนธุรกิจเหล็กในกลุ่มซิเมนต์ไทยโฮลดิ้งปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 บริษัท คือ บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด และบริษัท สยามยูไนเต็ดสตีล(1995) จำกัด แทบไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะการชะลอตัวของภาคการก่อสร้างและเมกะโปรเจ็กต์ เนื่องจากราคาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณในตลาดโลกค่อนข้างสูงอยู่ที่ตันละ 600 เหรียญสหรัฐ ส่วนเหล็กแผ่นรีดเย็นก็มีการนำไปใช้ในภาคยานยนต์ก็ยังขยายตัวดีอยู่ ดังนั้น บริษัทจึงเน้นผลิตเพื่อส่งออก โดยปีนี้ตั้งเป้าหมายส่งออกไปต่างประเทศในสัดส่วน 60% ที่เหลือขายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ส่งออกประมาณกึ่งหนึ่งของกำลังการผลิต
ขณะเดียวกัน จะหันไปผลิตเหล็กที่มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยล่าสุดได้มีการผลิตเหล็กรูปพรรณที่ใช้ในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (OFFSHORE) ที่เป็นเหล็กคุณภาพพิเศษทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล ถือเป็นบริษัทเดียวที่ผลิตได้ในอาเซียนโดยเริ่มผลิตเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าปริมาณการผลิตจะไม่สูงมากเพราะผลิตตามคำสั่งซื้อแต่เชื่อว่าในอนาคตจะเพิ่มปริมาณการผลิตสูงขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้า
“ปีนี้ธุรกิจเหล็กของกลุ่มซิเมนต์ไทยโฮลดิ้งจะมีรายได้รวม 3 หมื่นล้านบาทใกล้เคียงกับปีก่อน เป็นผลจากราคาเหล็กรูปพรรณในตลาดโลกสูงกว่าราคาจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากจากจีนควบคุมการส่งออก และตะวันออกกลางใช้เงินที่ได้จากการขายน้ำมันไปลงทุน ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ดังนั้นปัญหาที่ไทยถูกทุ่มตลาดสินค้าเหล็กในอดีตหมดไป เนื่องจากประเทศผู้ผลิตเหล็กในยุโรปตะวันออกสามารถส่งออกไปจำหน่ายในประเทศอื่นๆ ได้ราคาดีกว่า”
นายดำริกล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กในต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยมีควบรวมกิจการกันเพื่อขยายธุรกิจให้ครบวงจร สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ ทำให้บริษัทผู้ผลิตเหล็กที่มีวัตถุดิบต้นทางมีความได้เปรียบ ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กของไทยนั้นขาดวัตถุดิบ คือ สินแร่เหล็กและถ่านหิน ทำให้ต้องใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบต้นทาง ซึ่งนับวันความต้องการใช้เศษเหล็กจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ทำให้ราคาเศษเหล็กปัจจุบันทรงตัวอยู่ระดับสูง 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธุรกิจเหล็กจะไม่ใช่ธุรกิจหลักของเครือซิเมนต์ไทย แต่ขณะนี้ยังไม่มีแผนที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือขายหุ้นออกไปจนกว่าจะหาผู้ที่สนใจซื้อหุ้นที่เหมาะสมในการนำพาให้บริษัทดังกล่าวเติบโตต่อไปในอนาคต เหมือนเช่นที่ตัดสินใจขายหุ้นมิลเลียนเนียมสตีลให้กับกลุ่มทาทา สตีลยักษ์ใหญ่วงการเหล็กของอินเดีย บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ เป็นบริษัทผลิตเหล็กรูปพรรณกำลังผลิต 6 แสนตัน/ปี และบริษัท สยามยูไนเต็ดสตีลฯ มีกำลังการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น 1 ล้านตัน/ปี โดยปีนี้ไม่มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติม
นายดำริ ตันชีวะวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิเมนต์ไทยโฮลดิ้ง จำกัด ในเครือปูนซิเมนต์ไทย เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงส่งผลให้รัฐเลื่อนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ออกไป รวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ของเอกชนก็หดตัวลงทำให้ความต้องการใช้เหล็กลดลงเล็กน้อยโดยเฉพาะเหล็กก่อสร้างเมื่อเทียบจากปีก่อนที่มีตัวเลขความต้องการใช้อยู่ที่ 14 ล้านตัน แต่ในส่วนธุรกิจเหล็กในกลุ่มซิเมนต์ไทยโฮลดิ้งปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 บริษัท คือ บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด และบริษัท สยามยูไนเต็ดสตีล(1995) จำกัด แทบไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะการชะลอตัวของภาคการก่อสร้างและเมกะโปรเจ็กต์ เนื่องจากราคาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณในตลาดโลกค่อนข้างสูงอยู่ที่ตันละ 600 เหรียญสหรัฐ ส่วนเหล็กแผ่นรีดเย็นก็มีการนำไปใช้ในภาคยานยนต์ก็ยังขยายตัวดีอยู่ ดังนั้น บริษัทจึงเน้นผลิตเพื่อส่งออก โดยปีนี้ตั้งเป้าหมายส่งออกไปต่างประเทศในสัดส่วน 60% ที่เหลือขายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ส่งออกประมาณกึ่งหนึ่งของกำลังการผลิต
ขณะเดียวกัน จะหันไปผลิตเหล็กที่มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยล่าสุดได้มีการผลิตเหล็กรูปพรรณที่ใช้ในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (OFFSHORE) ที่เป็นเหล็กคุณภาพพิเศษทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล ถือเป็นบริษัทเดียวที่ผลิตได้ในอาเซียนโดยเริ่มผลิตเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าปริมาณการผลิตจะไม่สูงมากเพราะผลิตตามคำสั่งซื้อแต่เชื่อว่าในอนาคตจะเพิ่มปริมาณการผลิตสูงขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้า
“ปีนี้ธุรกิจเหล็กของกลุ่มซิเมนต์ไทยโฮลดิ้งจะมีรายได้รวม 3 หมื่นล้านบาทใกล้เคียงกับปีก่อน เป็นผลจากราคาเหล็กรูปพรรณในตลาดโลกสูงกว่าราคาจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากจากจีนควบคุมการส่งออก และตะวันออกกลางใช้เงินที่ได้จากการขายน้ำมันไปลงทุน ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ดังนั้นปัญหาที่ไทยถูกทุ่มตลาดสินค้าเหล็กในอดีตหมดไป เนื่องจากประเทศผู้ผลิตเหล็กในยุโรปตะวันออกสามารถส่งออกไปจำหน่ายในประเทศอื่นๆ ได้ราคาดีกว่า”
นายดำริกล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กในต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยมีควบรวมกิจการกันเพื่อขยายธุรกิจให้ครบวงจร สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ ทำให้บริษัทผู้ผลิตเหล็กที่มีวัตถุดิบต้นทางมีความได้เปรียบ ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กของไทยนั้นขาดวัตถุดิบ คือ สินแร่เหล็กและถ่านหิน ทำให้ต้องใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบต้นทาง ซึ่งนับวันความต้องการใช้เศษเหล็กจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ทำให้ราคาเศษเหล็กปัจจุบันทรงตัวอยู่ระดับสูง 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธุรกิจเหล็กจะไม่ใช่ธุรกิจหลักของเครือซิเมนต์ไทย แต่ขณะนี้ยังไม่มีแผนที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือขายหุ้นออกไปจนกว่าจะหาผู้ที่สนใจซื้อหุ้นที่เหมาะสมในการนำพาให้บริษัทดังกล่าวเติบโตต่อไปในอนาคต เหมือนเช่นที่ตัดสินใจขายหุ้นมิลเลียนเนียมสตีลให้กับกลุ่มทาทา สตีลยักษ์ใหญ่วงการเหล็กของอินเดีย บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ เป็นบริษัทผลิตเหล็กรูปพรรณกำลังผลิต 6 แสนตัน/ปี และบริษัท สยามยูไนเต็ดสตีลฯ มีกำลังการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น 1 ล้านตัน/ปี โดยปีนี้ไม่มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติม