สัปดาห์แห่งวโรกาสมิ่งมงคลกำลังผ่านพ้นไป ภาพของความปลื้มปีติร่วมกันของหัวใจไทยทั้ง 60 กว่าล้านใจ..ได้ถูกจารึกเป็นตำนานของแผ่นดิน-หนักแน่นเป็นนิรันดร์ไปเรียบร้อยแล้ว
ด้วยเหตุที่นับจากนี้จะมีสถานการณ์บ้านเมืองใหม่ๆ เข้ามา ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งอาจทำให้คนไทยทั้งปวงลืมนึกไปว่า เรายังต้องร่วมกันถวายความจงรักภักดีในวโรกาสมงคลยิ่งใหญ่อีกงานหนึ่ง
พิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
นับถอยหลังเหลืออีกแค่ 18 เดือนเท่านั้น!
ใจไทยทุกดวง อยากเห็นงานที่ยิ่งใหญ่ งดงาม เรียบร้อย ผ่านการเตรียมงานที่รอบคอบ เป็นระบบ
ไม่มีภาพของความฉุกละหุก แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
หรือแบบที่ผู้มีอำนาจเพิ่งฉุกคิดใหม่ทำใหม่แบบกะทันหัน
จะฉุกละหุก หรือจู่ๆ ก็คิดทำกันเพราะสถานการณ์บังคับแบบไหน - จะไม่ขอยกมาเอ่ยให้เป็นรอยด่างในที่นี้ เข้าใจว่าผู้อ่านที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองคงจะรู้กันดี
ข้อเสนอ
1. เนื่องด้วยเรามีรัฐบาลรักษาการ และสถานการณ์การเมืองยังไม่เรียบร้อย ขอให้ภาคราชการที่เกี่ยวข้องกับงานคิด-เตรียมแผนงานทั้งหมดและเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้
2. นอกเหนือจากนโยบายปฏิรูปการเมือง พรรคการเมืองทุกพรรค ต้องบรรจุแนวคิดและแผนงานระยะสั้นที่ชัดเจนเรื่องของการจัดงานเฉลิมฉลอง
สำหรับประชาชน ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดการทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญชิ้นใหญ่
ผู้เขียนไม่คิดกังวลเรื่องความร่วมมือของพี่น้องประชาชนเลย เพราะพวกเราได้ร่วมกันพิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วว่า เมื่อถึงเวลานั้นเราพร้อมจะเทหัวใจถวายพ่อของเราเช่นไร!
ขอสารภาพว่า มีสิ่งที่แอบกังวลลึกๆ อยู่เรื่องเดียวเท่านั้น
เนื่องเพราะว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และสภาพัฒน์ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าว่า
กำหนดจะทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญชิ้นใหญ่ ในเดือนธันวาคม 2550
ด้วยการถวายรายงานผลการดำเนินการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงประทานลงมา
แอบกังวล - ก็เพราะว่าการดำเนินการนับจากวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 ที่ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ผ่านหนังสือที่ รล.0003/18888 ถึงประธานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตามมาด้วยการขับเคลื่อนผลักดันแนวทางดังกล่าวและได้ตั้งเป้าจะทูลเกล้าฯ ถวายผลงานนั้น
นับจากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ 7 ปีเต็ม
และตอนนี้เหลือเวลาอีกแค่ 18 เดือนเท่านั้น!!
แนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ ที่เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว
สภาพัฒน์ได้อัญเชิญมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนชาติฉบับที่ 9 (2545-2549)
ก็คือแผนฯ ที่กำหนดทิศทางเราท่านกันอยู่เวลานี้แหละ
บังเอิญอย่างยิ่งที่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะใช้นโยบายของตัวเองในการบริหารประเทศ ไม่เหมือนกับรัฐบาลก่อนๆ หน้านี้ที่ยึดแผนชาติฯ และแผนของระบบราชการมาเป็นหลัก
ดูเหมือนว่าแนวทางแบบทักษิโณมิกส์ ไม่สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนชาติฉบับที่ 9 เท่าไหร่
ยกตัวอย่างสั้นๆ เป็นตอนๆ พอให้เกิดภาพ
วิสัยทัศน์ของแผน 9 กำหนดจุดมุ่งหมายหลัก บอกว่า
“ให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย” โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ”
ในส่วนของค่านิยมร่วมระบุว่า
..สร้างจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงวิกฤตของประเทศและความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด ทัศนคติ และกระบวนการทำงาน
โดยยึด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทาง
....มีความสามารถเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยีได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และมีความยืดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างคนดีที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต”
ไปพลิกดูกันเองนะครับ เพราะตัดตอนมาแบบนี้เดี๋ยวก็มีครหาว่าตัดต่อครึ่งๆ กลางๆ เพื่อให้เข้ากับที่ตัวเองต้องการนำเสนอ
แล้วมาเปรียบเทียบกับที่พวกเราชาวไทยพบเจอในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมานี้
มีจริงหรือเปล่า ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง?
มีจริงหรือเปล่า การพัฒนาประกอบจากเงื่อนไขขององค์ความรู้และคุณธรรมกำกับควบคู่กัน?
มีจริงหรือเปล่า การเสริมสร้างคนดีที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและความซื่อสัตย์?
มีจริงหรือเปล่า ส่งเสริมให้รู้จักใช้จ่าย ยับยั้งชั่งใจรู้เท่าทันบริโภคนิยม?
ฯลฯ
สภาพัฒน์ ในยุครัฐบาลทักษิณ เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะไม่ได้เป็นผู้วางนโยบายประเทศอีกต่อไป รัฐบาลไทยรักไทยส่งคนนอกที่ไม่ใช่ลูกหม้อมานั่งหัวโต๊ะผ่านมาแล้ว 2 คน ขณะที่ประธานบอร์ดคนปัจจุบันก็ชื่อ ดร.ทนง พิทยะ
เขาบอกอย่างสวยหรูว่าเป็นแผนกลยุทธ์ สศช. 2547-2550 จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ยึดประโยชน์ส่วนรวมฯ
แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลไทยรักไทยใช้สภาพัฒน์เพื่อกลั่นกรองโครงการใหญ่ อีกนัยคือให้มาเป็นตราประทับโครงการตามนโยบายพรรค หรือไม่ก็ในช่วงที่มีเงินกองกลางใช้เยอะๆ บอกว่าเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ใช้สภาพัฒน์นี่แหละมาเป็นตัวแสตมป์
ที่รับไม่ได้จริงๆ คือ ในเมื่อสภาพัฒน์ประกาศว่าคือหน่วยงานผลักดันแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน
สภาพัฒน์ได้สร้างไอคอนว่าด้วย ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ขึ้นมาบนเว็บไซต์ของสภาพัฒน์
เคลมว่า นี่คือเส้นทางการพัฒนาสู่ความพอเพียง ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน-ว่ากันไปโน่น
เอกสารน่าเชื่อถือครับ แต่ผมเชื่อตาของผมมากกว่า
ภาพข่าวพ.ต.ท.ทักษิณ ควักเงินหว่านชาวบ้านอย่างไร มีขบวนแห่แบบไหน ไปทำอะไรกันที่นั่น - อย่างนี้เหรอที่เรียกว่าตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ?
ไม่ใช่ อาจสามารถโมเดล ตามที่ใครเขาเรียกกันหรอก
แต่เป็น อาจสามารถโมเดลลิ่ง!!
มีนายแบบหน้าเหลี่ยม ขี่มอเตอร์ไซค์บ้าง พายเรือบ้าง ไปหาบน้ำรดผักบ้าง ..ทำได้ทุกท่าเมื่อเห็นกล้องทีวี-หารู้ไม่ว่าแบบนี้ถ้าไม่แสดงตลกก็เข้าข่ายบ้า!!
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเกราะป้องกันให้สังคมไทยยืนได้ท่ามกลางกระแสเชี่ยวกรากของทุนนิยมเสรีโลกาภิวัตน์ ลงลึกไปถึงระดับจิตใจและวิถีการดำเนินชีวิต มิหนำซ้ำยังดึงคุณค่าทางจิตวิญญาณว่าด้วยคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นแกนให้กับสังคม
เป็นประชาชนคุณภาพที่อยู่ในสังคมทุนนิยมใหม่ได้อย่างรู้เท่า-รู้ทัน
5-6 ปีที่ผ่านมา ก็เพิ่งจะเห็นการนำเสนอข่าวสาร แนวคิดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มอกเต็มใจและมีความถี่ก็ในช่วงสัปดาห์มหามงคลนี่แหละ - มันไม่พอครับ
อย่างที่เรียนไว้ครับ ผมแอบกังวลลึกๆ ว่าของขวัญชิ้นใหญ่ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดจะรวบรวมผลงานทูลเกล้าฯ ถวาย จะไม่เรียบร้อยงดงามตามที่หวัง
แผน 9 แผนเศรษฐกิจพอเพียงก็กำลังจะผ่านพ้นไป.. เป็น 5 ปีที่เปล่าดาย
ไม่ได้ฉีกก็เหมือนกับฉีกนั่นแหละ!!
ในเมื่อหวังกับนักการเมืองไม่ได้ ก็ต้องหันมาหวังในตัวพี่น้องประชาชนเพื่อร่วมชาติ
เหลือเวลาอีกแค่ 18 เดือนเท่านั้น
มาร่วมมือกันสร้างของขวัญชิ้นใหญ่ทูลเกล้าฯถวายพ่อของเรากันเถอะ!
ด้วยเหตุที่นับจากนี้จะมีสถานการณ์บ้านเมืองใหม่ๆ เข้ามา ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งอาจทำให้คนไทยทั้งปวงลืมนึกไปว่า เรายังต้องร่วมกันถวายความจงรักภักดีในวโรกาสมงคลยิ่งใหญ่อีกงานหนึ่ง
พิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
นับถอยหลังเหลืออีกแค่ 18 เดือนเท่านั้น!
ใจไทยทุกดวง อยากเห็นงานที่ยิ่งใหญ่ งดงาม เรียบร้อย ผ่านการเตรียมงานที่รอบคอบ เป็นระบบ
ไม่มีภาพของความฉุกละหุก แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
หรือแบบที่ผู้มีอำนาจเพิ่งฉุกคิดใหม่ทำใหม่แบบกะทันหัน
จะฉุกละหุก หรือจู่ๆ ก็คิดทำกันเพราะสถานการณ์บังคับแบบไหน - จะไม่ขอยกมาเอ่ยให้เป็นรอยด่างในที่นี้ เข้าใจว่าผู้อ่านที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองคงจะรู้กันดี
ข้อเสนอ
1. เนื่องด้วยเรามีรัฐบาลรักษาการ และสถานการณ์การเมืองยังไม่เรียบร้อย ขอให้ภาคราชการที่เกี่ยวข้องกับงานคิด-เตรียมแผนงานทั้งหมดและเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้
2. นอกเหนือจากนโยบายปฏิรูปการเมือง พรรคการเมืองทุกพรรค ต้องบรรจุแนวคิดและแผนงานระยะสั้นที่ชัดเจนเรื่องของการจัดงานเฉลิมฉลอง
สำหรับประชาชน ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดการทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญชิ้นใหญ่
ผู้เขียนไม่คิดกังวลเรื่องความร่วมมือของพี่น้องประชาชนเลย เพราะพวกเราได้ร่วมกันพิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วว่า เมื่อถึงเวลานั้นเราพร้อมจะเทหัวใจถวายพ่อของเราเช่นไร!
ขอสารภาพว่า มีสิ่งที่แอบกังวลลึกๆ อยู่เรื่องเดียวเท่านั้น
เนื่องเพราะว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และสภาพัฒน์ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าว่า
กำหนดจะทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญชิ้นใหญ่ ในเดือนธันวาคม 2550
ด้วยการถวายรายงานผลการดำเนินการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงประทานลงมา
แอบกังวล - ก็เพราะว่าการดำเนินการนับจากวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 ที่ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ผ่านหนังสือที่ รล.0003/18888 ถึงประธานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตามมาด้วยการขับเคลื่อนผลักดันแนวทางดังกล่าวและได้ตั้งเป้าจะทูลเกล้าฯ ถวายผลงานนั้น
นับจากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ 7 ปีเต็ม
และตอนนี้เหลือเวลาอีกแค่ 18 เดือนเท่านั้น!!
แนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ ที่เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว
สภาพัฒน์ได้อัญเชิญมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนชาติฉบับที่ 9 (2545-2549)
ก็คือแผนฯ ที่กำหนดทิศทางเราท่านกันอยู่เวลานี้แหละ
บังเอิญอย่างยิ่งที่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะใช้นโยบายของตัวเองในการบริหารประเทศ ไม่เหมือนกับรัฐบาลก่อนๆ หน้านี้ที่ยึดแผนชาติฯ และแผนของระบบราชการมาเป็นหลัก
ดูเหมือนว่าแนวทางแบบทักษิโณมิกส์ ไม่สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนชาติฉบับที่ 9 เท่าไหร่
ยกตัวอย่างสั้นๆ เป็นตอนๆ พอให้เกิดภาพ
วิสัยทัศน์ของแผน 9 กำหนดจุดมุ่งหมายหลัก บอกว่า
“ให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย” โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ”
ในส่วนของค่านิยมร่วมระบุว่า
..สร้างจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงวิกฤตของประเทศและความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด ทัศนคติ และกระบวนการทำงาน
โดยยึด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทาง
....มีความสามารถเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยีได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และมีความยืดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างคนดีที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต”
ไปพลิกดูกันเองนะครับ เพราะตัดตอนมาแบบนี้เดี๋ยวก็มีครหาว่าตัดต่อครึ่งๆ กลางๆ เพื่อให้เข้ากับที่ตัวเองต้องการนำเสนอ
แล้วมาเปรียบเทียบกับที่พวกเราชาวไทยพบเจอในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมานี้
มีจริงหรือเปล่า ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง?
มีจริงหรือเปล่า การพัฒนาประกอบจากเงื่อนไขขององค์ความรู้และคุณธรรมกำกับควบคู่กัน?
มีจริงหรือเปล่า การเสริมสร้างคนดีที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและความซื่อสัตย์?
มีจริงหรือเปล่า ส่งเสริมให้รู้จักใช้จ่าย ยับยั้งชั่งใจรู้เท่าทันบริโภคนิยม?
ฯลฯ
สภาพัฒน์ ในยุครัฐบาลทักษิณ เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะไม่ได้เป็นผู้วางนโยบายประเทศอีกต่อไป รัฐบาลไทยรักไทยส่งคนนอกที่ไม่ใช่ลูกหม้อมานั่งหัวโต๊ะผ่านมาแล้ว 2 คน ขณะที่ประธานบอร์ดคนปัจจุบันก็ชื่อ ดร.ทนง พิทยะ
เขาบอกอย่างสวยหรูว่าเป็นแผนกลยุทธ์ สศช. 2547-2550 จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ยึดประโยชน์ส่วนรวมฯ
แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลไทยรักไทยใช้สภาพัฒน์เพื่อกลั่นกรองโครงการใหญ่ อีกนัยคือให้มาเป็นตราประทับโครงการตามนโยบายพรรค หรือไม่ก็ในช่วงที่มีเงินกองกลางใช้เยอะๆ บอกว่าเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ใช้สภาพัฒน์นี่แหละมาเป็นตัวแสตมป์
ที่รับไม่ได้จริงๆ คือ ในเมื่อสภาพัฒน์ประกาศว่าคือหน่วยงานผลักดันแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน
สภาพัฒน์ได้สร้างไอคอนว่าด้วย ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ขึ้นมาบนเว็บไซต์ของสภาพัฒน์
เคลมว่า นี่คือเส้นทางการพัฒนาสู่ความพอเพียง ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน-ว่ากันไปโน่น
เอกสารน่าเชื่อถือครับ แต่ผมเชื่อตาของผมมากกว่า
ภาพข่าวพ.ต.ท.ทักษิณ ควักเงินหว่านชาวบ้านอย่างไร มีขบวนแห่แบบไหน ไปทำอะไรกันที่นั่น - อย่างนี้เหรอที่เรียกว่าตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ?
ไม่ใช่ อาจสามารถโมเดล ตามที่ใครเขาเรียกกันหรอก
แต่เป็น อาจสามารถโมเดลลิ่ง!!
มีนายแบบหน้าเหลี่ยม ขี่มอเตอร์ไซค์บ้าง พายเรือบ้าง ไปหาบน้ำรดผักบ้าง ..ทำได้ทุกท่าเมื่อเห็นกล้องทีวี-หารู้ไม่ว่าแบบนี้ถ้าไม่แสดงตลกก็เข้าข่ายบ้า!!
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเกราะป้องกันให้สังคมไทยยืนได้ท่ามกลางกระแสเชี่ยวกรากของทุนนิยมเสรีโลกาภิวัตน์ ลงลึกไปถึงระดับจิตใจและวิถีการดำเนินชีวิต มิหนำซ้ำยังดึงคุณค่าทางจิตวิญญาณว่าด้วยคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นแกนให้กับสังคม
เป็นประชาชนคุณภาพที่อยู่ในสังคมทุนนิยมใหม่ได้อย่างรู้เท่า-รู้ทัน
5-6 ปีที่ผ่านมา ก็เพิ่งจะเห็นการนำเสนอข่าวสาร แนวคิดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มอกเต็มใจและมีความถี่ก็ในช่วงสัปดาห์มหามงคลนี่แหละ - มันไม่พอครับ
อย่างที่เรียนไว้ครับ ผมแอบกังวลลึกๆ ว่าของขวัญชิ้นใหญ่ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดจะรวบรวมผลงานทูลเกล้าฯ ถวาย จะไม่เรียบร้อยงดงามตามที่หวัง
แผน 9 แผนเศรษฐกิจพอเพียงก็กำลังจะผ่านพ้นไป.. เป็น 5 ปีที่เปล่าดาย
ไม่ได้ฉีกก็เหมือนกับฉีกนั่นแหละ!!
ในเมื่อหวังกับนักการเมืองไม่ได้ ก็ต้องหันมาหวังในตัวพี่น้องประชาชนเพื่อร่วมชาติ
เหลือเวลาอีกแค่ 18 เดือนเท่านั้น
มาร่วมมือกันสร้างของขวัญชิ้นใหญ่ทูลเกล้าฯถวายพ่อของเรากันเถอะ!