พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายโคฟี่ อานัน เลขาธิการสหประชาชาติ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” (the UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2549 ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน
ในโอกาสนี้ นายโคฟี่ อานัน ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณซึ่งส่วนหนึ่งมีข้อความดังนี้:-
“...ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่มีประชาราษฎร์ที่ได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งชี้ถึงแนวทางการพัฒนาที่เน้นความสมดุล ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สำนึกในคุณธรรม และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอที่จะต้านทานและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากกระแสโลกาภิวัตน์
ด้วยปรัชญาดังกล่าวนี้ สหประชาชาติจึงมุ่งเน้นเพียรพยายาม และส่งเสริมการพัฒนาคน ให้ความสำคัญต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นเป้าหมายศูนย์กลางในการพัฒนา...”
พระราชสดุดีดังกล่าวยังความปีติปราโมทย์ยินดีแก่พสกนิกรประชาชนคนไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน ที่สหประชาชาติได้ให้ความสำคัญต่อความอยู่ดี มีสุขของประชาชน และได้กำหนดเป็นเป้าหมายศูนย์กลางในการพัฒนา
ความอยู่ดี มีสุขของประชาชนนั้นเป็นอย่างไร พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ใน พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 21 อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อันนนาถสูตร ดังนี้:-
1. สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ ความอิ่มเอิบใจว่า ตนมีโภคทรัพย์ ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางชอบธรรม
2. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ ความอิ่มเอิบใจว่า ตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง และบำเพ็ญคุณประโยชน์
3. สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ ความอิ่มเอิบใจว่า ตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร
4. สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ ความอิ่มเอิบใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครติเตียนไม่ได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ความสุขสี่ประการดังกล่าวข้างต้นคือ ความสุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือน หรือประชาชนทั่วไป ควรมี และควรพยายามทำให้เกิดขึ้นแก่ตนอยู่เสมอ พระท่านเรียกว่า สุขของคฤหัสถ์ หรือกามโภคีสุข
ในวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9
มิถุนายน 2489 ได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งถึงแม้ว่าจะสั้นแต่เมื่อนำเอามาศึกษาวิเคราะห์โดยเฉพาะคำว่า “ธรรม” เท่านั้นก็มีความหมายละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ธรรม หมายถึง ธรรมาธิปไตย ได้แก่ ธรรมะเป็นใหญ่ในการปกครอง หรือ การใช้อำนาจในการปกครองประเทศ สังคมชุมชน องค์กรต่างๆ ด้วยความเป็นธรรม การใช้อำนาจในการปกครองนั้นมีหลายรูปแบบ อาทิ ประชาธิปไตย สังคมนิยม คณาธิปไตย นั้นจำเป็นต้องใช้ธรรมาธิปไตยเป็นแกนกลาง จึงจะสามารถจรรโลงประเทศ สังคมชุมชน และองค์กรนั้นๆ ให้สงบร่มเย็นเป็นสุขเจริญยั่งยืนก้าวหน้าต่อไป หากผู้บริหารประเทศ สังคม องค์กร มิได้ยึดหลักธรรมาธิปไตย ความวิบัติต่างๆ ย่อมจะเกิดขึ้นแก่บ้านเมืองอย่างแน่นอน
โดยหลักการบริหารประเทศดังกล่าว ได้มีการวางรูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ไว้เป็นหลักใหญ่รวม 3 ประการ คือ
1. ทศพิธราชธรรม หรือธรรมะในการปกครองประเทศ 10 ประการ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุขบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
2. ราชสังคหะ หรือธรรมะในการทำนุประชาราษฎร์ 4 ประการ
3. จักรวรรดิวัตร ธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์
พระมหากษัตริย์จะต้องทรงตั้งอยู่ในขัตติยประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิด จากราชจรรยานุวัตร (ราชสังคหะ 4 ประการ) นิติศาสตร์ และราชศาสตร์ ทรงอุปถัมภ์ผู้ที่มีคุณความชอบ ทรงบำราบผู้ที่กระทำความผิดด้วยความเป็นธรรม ไม่ทรงอุปถัมภ์ยกย่อง หรือบำราบบุคคลด้วยอำนาจอคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ไม่ทรงหวั่นไหว สะทกสะท้านต่อโลกธรรม
ในส่วนที่เกี่ยวกับ ราชสังคหะ หรือการทำนุประชาราษฎร์ด้วยหลักธรรม 4 ประการ นั้น จะประกอบด้วย
1. สัสสเมธะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในเรื่องการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์
2. ปุริสเมธะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์และ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ประกอบราชกิจฉลองพระคุณ ทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยทรงยกย่องพระราชทานยศ ฐานันดร ตำแหน่งหน้าที่โดยสมควรแก่กุลวงศ์ วิทยาสามารถ และความชอบในราชการ
3. สัมมาปาสะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการส่งเสริมอาชีพ เช่น การจัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรม เกษตรกรรม หรือดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อมิให้บังเกิดช่องว่างในสังคมมากจนเกินไป
4. วาจาไปยะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการใช้พระวาจาที่เตือนสติแก่ผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ดูดดื่มใจ รวมทั้งจะไม่ทรงรังเกียจเบื่อหน่ายที่จะทรงทักทายปราศรัยถามไถ่ทุกข์สุขของประชาราษฎร์ทุกระดับชั้นโดยสมควรแก่ฐานะ และภาวะ
หากได้นำพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติต่อประเทศชาติ ต่อส่วนรวม ต่อพสกนิกรประชาชนคนไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่วันที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานถึงหกสิบปีในปีนี้มาเปรียบเทียบกับหลักการปกครองและบริหารประเทศตามตำราอรรถศาสตร์ซึ่งถือเป็นตำรามาตรฐานในการปกครองและบริหารประเทศตามอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์มาแต่โบราณกาลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติตามแนวทางเหล่านั้นมาโดยตลอด โดยไม่มีขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่ข้อเดียว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดทุกประเภทที่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่ไม่มีใจครอง ได้แก่ แหล่งน้ำ ป่าไม้ แผ่นดิน พืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งปวง และทรัพยากรที่มีใจครอง ได้แก่ มนุษย์และสัตว์โลกต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่จะนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ก็คือ มนุษย์ หากไม่รู้ไม่เข้าใจในธรรมชาติที่แท้จริง ย่อมเป็นเหตุให้ธรรมชาตินั้นถูกทำลายไป สร้างผลให้เกิดภัยพิบัติ สร้างปัญหาให้แก่ธรรมชาติส่วนรวมคือโลกด้วย เสมือนกับไฟ ถ้าเรารู้จักใช้ก็นำมาใช้ในการประกอบหุงหาอาหาร ใช้เป็นพลังงานได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราใช้ไม่เป็น ไฟก็จะเผาผลาญทำลายทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะบ้านเรือน แต่ลุกลามไปทั่วชุมชนสังคม สร้างความเดือดร้อนไปอย่างกว้างขวางได้ ป่าไม้ก็เช่นกัน ธรรมชาติสร้างมาเพื่อให้ความร่มเย็นและเอื้ออำนวยในการดำรงชีวิตของสัตว์ป่ากับความเจริญของพืชพรรณไม้ดอกผล ทั้งเป็นเครื่องควบคุมป้องกันกระแสของน้ำป่าที่เพิ่มปริมาณขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากฝนตกมากเกินไป ถ้าเราไม่รู้จักอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ให้ถูกต้องตามหลักวิชา จะเกิดอุทกภัยพิบัติ เกิดน้ำป่าไหลหลาก ท่วมทำลายอาคารบ้านเรือน สูญเสียทั้งทรัพย์สมบัติและชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก
ดังกล่าวข้างต้น ทรัพยากรที่มีใจครอง คือ มนุษย์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นผู้ควบคุมกลไกการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุด
ทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่า เป็นสัตว์โลกที่ฝึกอบรมได้นับตั้งแต่วาระแรกที่ลืมตาขึ้นมาดูโลกจนถึงวาระสุดท้ายคือปิดตาลงเพื่อไปปฏิสนธิในชาติภพต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีแขนงต่างๆ
ตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้เราน้อมนำเอาหลักธรรมมาใช้ประโยชน์ มิใช่เฉพาะตนเอง เมื่อตนเองประสบความสำเร็จแล้ว จะต้องนำองค์ธรรมไปเผยแพร่ให้คำแนะนำอบรมสั่งสอนแก่บุคคลอื่น ทั้งในครอบครัว และในชุมชนสังคมที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ครอบครัวชุมชนสังคมนั้นมีความเจริญก้าวหน้า ครอบครัวใด ชุมชนสังคมใดมีหัวหน้าและสมาชิกเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมแล้ว จะอยู่ร่วมกันด้วยความสุข สงบ สันติภาพ มีแต่ความเจริญก้าวหน้า ครอบครัวชุมชนสังคมใดมีพฤติกรรมตรงกันข้าม มีการเบียดเบียนข่มเหงรังแกกัน ไม่มีความเกรงกลัวต่อบาป มีความประพฤติไม่ชอบ ประกอบอาชีพไม่ชอบ เป็นแหล่งอบายมุข มั่วโลกีย์ เสพสุรายาเสพติด เล่นการพนัน ย่อมจะไม่มีความสุขสงบ มีแต่ความวิบัติ
ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเข้าพระทัยในหลักธรรมต่างๆ ในฐานะองค์พระประมุขของชาติจึงได้ทรงน้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้เพื่อให้พสกนิกรดำเนินชีวิตอยู่ได้โดยมีความทุกข์น้อยมีความสุขมากตามสมควรแก่ฐานะ พระองค์ท่านทรงให้ความสำคัญแก่ประชาชนคนไทยทุกรูปนาม ไม่ว่าจะเป็นเพศใด นับถือศาสนาใด มีวุฒิภาวะเพียงใด เสมอกันทั่วถ้วนหน้า ผู้ใดที่ด้อยโอกาสในด้านใด จะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณช่วยเหลือให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีโอกาส ผู้ที่มีโอกาสอยู่แล้ว จะทรงสนับสนุนให้เขามีโอกาสดียิ่งขึ้น ผู้ที่มีโอกาสและได้ประสบความสำเร็จก็จะทรงให้กำลังใจ เป็นไปตามหลักธรรมที่เรียกว่า “พรหมวิหาร 4” คือ
เมตตา : ผู้ที่มีโอกาสอยู่แล้วจะทรงสนับสนุนให้เขามีโอกาสมากยิ่งขึ้นไป
กรุณา : ผู้ที่ด้อยโอกาสจะทรงช่วยเหลือ มีพระบรมราชานุเคราะห์ให้เขามีโอกาส
มุทิตา : ผู้ที่มีโอกาสและได้ประสบความสำเร็จก็จะทรงให้กำลังใจ
อุเบกขา : ไม่ทรงเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่มีอคติด้วยความรัก โลภ โกรธ หลง ไม่ทรงเลือกปฏิบัติ ทรงถือปฏิบัติต่อพสกนิกรประชาชนทั่วถ้วนหน้าโดยทัดเทียมกัน
ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสมามากกว่าสิบปีแล้ว ผมเชื่อว่า พระองค์ท่านได้ทรงน้อมนำองค์ธรรมหนึ่งของ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ สมชีวิตา แปลว่า มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มีรายได้มากใช้น้อย มีรายได้น้อยใช้น้อย ต้องมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายเสมอ (ไม่เป็นหนี้สิน) รายรับส่วนที่เหลือให้เก็บรวบรวมสะสมไว้ให้มากยิ่งๆ ขึ้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายหน้า ยึดหลักการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง คือ มัตถยัสถ์ ไม่เอียงไปในทางส่วนสุดข้างหนึ่งข้างใด คือ ตระหนี่ หรือ ฟุ่มเฟือย มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ทั้งให้หมั่นพัฒนาตนเองให้เกิดปัญญารู้จักทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตประจำวันของตน และวิธีการนำเอาทรัพยากรนั้นมาใช้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้ที่เป็นเกษตรกรผู้มีความรู้ความเข้าใจ มีประสบการณ์ในเรื่องพืชพันธุ์ธัญญาหารซึ่งใช้ในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองอยู่แล้ว ก็ไม่ควรหยุดยั้งอยู่เพียงนั้น พึงหมั่นสนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอให้เกิดปัญญาว่า จะสามารถนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ อาทิ ที่ดินไร่นา มาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มเติมขึ้นมาในกรณีที่สิ้นฤดูกาลเพาะปลูกเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารที่มีอยู่แล้ว โดยการนำพืชพันธุ์อื่นๆ มาเพาะปลูกทดแทน ทำการประมง หรือเลี้ยงปศุสัตว์ แทนที่จะปล่อยให้ที่ดินไร่นานั้นว่างเปล่าโดยไร้ประโยชน์ ใช้เวลานั้นมั่วสุมอยู่กับอบายมุข หรือเที่ยวเตร่ใช้ชีวิตอย่างขาดสติฟุ่มเฟือย เป็นต้น ในปัจจุบันนี้ ได้มีการศึกษาค้นคว้ากันอย่างจริงจังทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อเสาะหาพืชพันธุ์ที่เป็นสมุนไพร มีคุณสมบัติในการบำบัดโรคภัยบางประเภทตามหลักวิชาการแพทย์แผนโบราณได้ มาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกในการบริโภค เช่น บรรจุในแคปซูล ฯลฯ ออกมาจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดรายได้เสริมขึ้นมาอีกส่วนหนึ่ง
เนื่องในวโรกาสที่สำคัญยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราชาวไทยทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน และตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ เป็นคนเก่งในวิชาอาชีพให้สามารถช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้บนรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดีมีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความเกรงกลัวต่อบาปและละอายต่อบาป มีความคิดชอบปฏิบัติชอบ มีสติตั้งอยู่บนความไม่ประมาทอยู่เสมอ รวมทั้งทำตนให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติตลอดไป
ในโอกาสนี้ นายโคฟี่ อานัน ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณซึ่งส่วนหนึ่งมีข้อความดังนี้:-
“...ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่มีประชาราษฎร์ที่ได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งชี้ถึงแนวทางการพัฒนาที่เน้นความสมดุล ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สำนึกในคุณธรรม และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอที่จะต้านทานและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากกระแสโลกาภิวัตน์
ด้วยปรัชญาดังกล่าวนี้ สหประชาชาติจึงมุ่งเน้นเพียรพยายาม และส่งเสริมการพัฒนาคน ให้ความสำคัญต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นเป้าหมายศูนย์กลางในการพัฒนา...”
พระราชสดุดีดังกล่าวยังความปีติปราโมทย์ยินดีแก่พสกนิกรประชาชนคนไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน ที่สหประชาชาติได้ให้ความสำคัญต่อความอยู่ดี มีสุขของประชาชน และได้กำหนดเป็นเป้าหมายศูนย์กลางในการพัฒนา
ความอยู่ดี มีสุขของประชาชนนั้นเป็นอย่างไร พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ใน พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 21 อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อันนนาถสูตร ดังนี้:-
1. สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ ความอิ่มเอิบใจว่า ตนมีโภคทรัพย์ ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางชอบธรรม
2. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ ความอิ่มเอิบใจว่า ตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง และบำเพ็ญคุณประโยชน์
3. สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ ความอิ่มเอิบใจว่า ตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร
4. สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ ความอิ่มเอิบใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครติเตียนไม่ได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ความสุขสี่ประการดังกล่าวข้างต้นคือ ความสุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือน หรือประชาชนทั่วไป ควรมี และควรพยายามทำให้เกิดขึ้นแก่ตนอยู่เสมอ พระท่านเรียกว่า สุขของคฤหัสถ์ หรือกามโภคีสุข
ในวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9
มิถุนายน 2489 ได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งถึงแม้ว่าจะสั้นแต่เมื่อนำเอามาศึกษาวิเคราะห์โดยเฉพาะคำว่า “ธรรม” เท่านั้นก็มีความหมายละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ธรรม หมายถึง ธรรมาธิปไตย ได้แก่ ธรรมะเป็นใหญ่ในการปกครอง หรือ การใช้อำนาจในการปกครองประเทศ สังคมชุมชน องค์กรต่างๆ ด้วยความเป็นธรรม การใช้อำนาจในการปกครองนั้นมีหลายรูปแบบ อาทิ ประชาธิปไตย สังคมนิยม คณาธิปไตย นั้นจำเป็นต้องใช้ธรรมาธิปไตยเป็นแกนกลาง จึงจะสามารถจรรโลงประเทศ สังคมชุมชน และองค์กรนั้นๆ ให้สงบร่มเย็นเป็นสุขเจริญยั่งยืนก้าวหน้าต่อไป หากผู้บริหารประเทศ สังคม องค์กร มิได้ยึดหลักธรรมาธิปไตย ความวิบัติต่างๆ ย่อมจะเกิดขึ้นแก่บ้านเมืองอย่างแน่นอน
โดยหลักการบริหารประเทศดังกล่าว ได้มีการวางรูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ไว้เป็นหลักใหญ่รวม 3 ประการ คือ
1. ทศพิธราชธรรม หรือธรรมะในการปกครองประเทศ 10 ประการ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุขบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
2. ราชสังคหะ หรือธรรมะในการทำนุประชาราษฎร์ 4 ประการ
3. จักรวรรดิวัตร ธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์
พระมหากษัตริย์จะต้องทรงตั้งอยู่ในขัตติยประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิด จากราชจรรยานุวัตร (ราชสังคหะ 4 ประการ) นิติศาสตร์ และราชศาสตร์ ทรงอุปถัมภ์ผู้ที่มีคุณความชอบ ทรงบำราบผู้ที่กระทำความผิดด้วยความเป็นธรรม ไม่ทรงอุปถัมภ์ยกย่อง หรือบำราบบุคคลด้วยอำนาจอคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ไม่ทรงหวั่นไหว สะทกสะท้านต่อโลกธรรม
ในส่วนที่เกี่ยวกับ ราชสังคหะ หรือการทำนุประชาราษฎร์ด้วยหลักธรรม 4 ประการ นั้น จะประกอบด้วย
1. สัสสเมธะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในเรื่องการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์
2. ปุริสเมธะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์และ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ประกอบราชกิจฉลองพระคุณ ทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยทรงยกย่องพระราชทานยศ ฐานันดร ตำแหน่งหน้าที่โดยสมควรแก่กุลวงศ์ วิทยาสามารถ และความชอบในราชการ
3. สัมมาปาสะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการส่งเสริมอาชีพ เช่น การจัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรม เกษตรกรรม หรือดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อมิให้บังเกิดช่องว่างในสังคมมากจนเกินไป
4. วาจาไปยะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการใช้พระวาจาที่เตือนสติแก่ผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ดูดดื่มใจ รวมทั้งจะไม่ทรงรังเกียจเบื่อหน่ายที่จะทรงทักทายปราศรัยถามไถ่ทุกข์สุขของประชาราษฎร์ทุกระดับชั้นโดยสมควรแก่ฐานะ และภาวะ
หากได้นำพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติต่อประเทศชาติ ต่อส่วนรวม ต่อพสกนิกรประชาชนคนไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่วันที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานถึงหกสิบปีในปีนี้มาเปรียบเทียบกับหลักการปกครองและบริหารประเทศตามตำราอรรถศาสตร์ซึ่งถือเป็นตำรามาตรฐานในการปกครองและบริหารประเทศตามอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์มาแต่โบราณกาลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติตามแนวทางเหล่านั้นมาโดยตลอด โดยไม่มีขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่ข้อเดียว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดทุกประเภทที่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่ไม่มีใจครอง ได้แก่ แหล่งน้ำ ป่าไม้ แผ่นดิน พืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งปวง และทรัพยากรที่มีใจครอง ได้แก่ มนุษย์และสัตว์โลกต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่จะนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ก็คือ มนุษย์ หากไม่รู้ไม่เข้าใจในธรรมชาติที่แท้จริง ย่อมเป็นเหตุให้ธรรมชาตินั้นถูกทำลายไป สร้างผลให้เกิดภัยพิบัติ สร้างปัญหาให้แก่ธรรมชาติส่วนรวมคือโลกด้วย เสมือนกับไฟ ถ้าเรารู้จักใช้ก็นำมาใช้ในการประกอบหุงหาอาหาร ใช้เป็นพลังงานได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราใช้ไม่เป็น ไฟก็จะเผาผลาญทำลายทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะบ้านเรือน แต่ลุกลามไปทั่วชุมชนสังคม สร้างความเดือดร้อนไปอย่างกว้างขวางได้ ป่าไม้ก็เช่นกัน ธรรมชาติสร้างมาเพื่อให้ความร่มเย็นและเอื้ออำนวยในการดำรงชีวิตของสัตว์ป่ากับความเจริญของพืชพรรณไม้ดอกผล ทั้งเป็นเครื่องควบคุมป้องกันกระแสของน้ำป่าที่เพิ่มปริมาณขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากฝนตกมากเกินไป ถ้าเราไม่รู้จักอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ให้ถูกต้องตามหลักวิชา จะเกิดอุทกภัยพิบัติ เกิดน้ำป่าไหลหลาก ท่วมทำลายอาคารบ้านเรือน สูญเสียทั้งทรัพย์สมบัติและชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก
ดังกล่าวข้างต้น ทรัพยากรที่มีใจครอง คือ มนุษย์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นผู้ควบคุมกลไกการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุด
ทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่า เป็นสัตว์โลกที่ฝึกอบรมได้นับตั้งแต่วาระแรกที่ลืมตาขึ้นมาดูโลกจนถึงวาระสุดท้ายคือปิดตาลงเพื่อไปปฏิสนธิในชาติภพต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีแขนงต่างๆ
ตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้เราน้อมนำเอาหลักธรรมมาใช้ประโยชน์ มิใช่เฉพาะตนเอง เมื่อตนเองประสบความสำเร็จแล้ว จะต้องนำองค์ธรรมไปเผยแพร่ให้คำแนะนำอบรมสั่งสอนแก่บุคคลอื่น ทั้งในครอบครัว และในชุมชนสังคมที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ครอบครัวชุมชนสังคมนั้นมีความเจริญก้าวหน้า ครอบครัวใด ชุมชนสังคมใดมีหัวหน้าและสมาชิกเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมแล้ว จะอยู่ร่วมกันด้วยความสุข สงบ สันติภาพ มีแต่ความเจริญก้าวหน้า ครอบครัวชุมชนสังคมใดมีพฤติกรรมตรงกันข้าม มีการเบียดเบียนข่มเหงรังแกกัน ไม่มีความเกรงกลัวต่อบาป มีความประพฤติไม่ชอบ ประกอบอาชีพไม่ชอบ เป็นแหล่งอบายมุข มั่วโลกีย์ เสพสุรายาเสพติด เล่นการพนัน ย่อมจะไม่มีความสุขสงบ มีแต่ความวิบัติ
ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเข้าพระทัยในหลักธรรมต่างๆ ในฐานะองค์พระประมุขของชาติจึงได้ทรงน้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้เพื่อให้พสกนิกรดำเนินชีวิตอยู่ได้โดยมีความทุกข์น้อยมีความสุขมากตามสมควรแก่ฐานะ พระองค์ท่านทรงให้ความสำคัญแก่ประชาชนคนไทยทุกรูปนาม ไม่ว่าจะเป็นเพศใด นับถือศาสนาใด มีวุฒิภาวะเพียงใด เสมอกันทั่วถ้วนหน้า ผู้ใดที่ด้อยโอกาสในด้านใด จะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณช่วยเหลือให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีโอกาส ผู้ที่มีโอกาสอยู่แล้ว จะทรงสนับสนุนให้เขามีโอกาสดียิ่งขึ้น ผู้ที่มีโอกาสและได้ประสบความสำเร็จก็จะทรงให้กำลังใจ เป็นไปตามหลักธรรมที่เรียกว่า “พรหมวิหาร 4” คือ
เมตตา : ผู้ที่มีโอกาสอยู่แล้วจะทรงสนับสนุนให้เขามีโอกาสมากยิ่งขึ้นไป
กรุณา : ผู้ที่ด้อยโอกาสจะทรงช่วยเหลือ มีพระบรมราชานุเคราะห์ให้เขามีโอกาส
มุทิตา : ผู้ที่มีโอกาสและได้ประสบความสำเร็จก็จะทรงให้กำลังใจ
อุเบกขา : ไม่ทรงเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่มีอคติด้วยความรัก โลภ โกรธ หลง ไม่ทรงเลือกปฏิบัติ ทรงถือปฏิบัติต่อพสกนิกรประชาชนทั่วถ้วนหน้าโดยทัดเทียมกัน
ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสมามากกว่าสิบปีแล้ว ผมเชื่อว่า พระองค์ท่านได้ทรงน้อมนำองค์ธรรมหนึ่งของ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ สมชีวิตา แปลว่า มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มีรายได้มากใช้น้อย มีรายได้น้อยใช้น้อย ต้องมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายเสมอ (ไม่เป็นหนี้สิน) รายรับส่วนที่เหลือให้เก็บรวบรวมสะสมไว้ให้มากยิ่งๆ ขึ้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายหน้า ยึดหลักการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง คือ มัตถยัสถ์ ไม่เอียงไปในทางส่วนสุดข้างหนึ่งข้างใด คือ ตระหนี่ หรือ ฟุ่มเฟือย มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ทั้งให้หมั่นพัฒนาตนเองให้เกิดปัญญารู้จักทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตประจำวันของตน และวิธีการนำเอาทรัพยากรนั้นมาใช้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้ที่เป็นเกษตรกรผู้มีความรู้ความเข้าใจ มีประสบการณ์ในเรื่องพืชพันธุ์ธัญญาหารซึ่งใช้ในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองอยู่แล้ว ก็ไม่ควรหยุดยั้งอยู่เพียงนั้น พึงหมั่นสนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอให้เกิดปัญญาว่า จะสามารถนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ อาทิ ที่ดินไร่นา มาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มเติมขึ้นมาในกรณีที่สิ้นฤดูกาลเพาะปลูกเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารที่มีอยู่แล้ว โดยการนำพืชพันธุ์อื่นๆ มาเพาะปลูกทดแทน ทำการประมง หรือเลี้ยงปศุสัตว์ แทนที่จะปล่อยให้ที่ดินไร่นานั้นว่างเปล่าโดยไร้ประโยชน์ ใช้เวลานั้นมั่วสุมอยู่กับอบายมุข หรือเที่ยวเตร่ใช้ชีวิตอย่างขาดสติฟุ่มเฟือย เป็นต้น ในปัจจุบันนี้ ได้มีการศึกษาค้นคว้ากันอย่างจริงจังทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อเสาะหาพืชพันธุ์ที่เป็นสมุนไพร มีคุณสมบัติในการบำบัดโรคภัยบางประเภทตามหลักวิชาการแพทย์แผนโบราณได้ มาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกในการบริโภค เช่น บรรจุในแคปซูล ฯลฯ ออกมาจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดรายได้เสริมขึ้นมาอีกส่วนหนึ่ง
เนื่องในวโรกาสที่สำคัญยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราชาวไทยทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน และตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ เป็นคนเก่งในวิชาอาชีพให้สามารถช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้บนรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดีมีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความเกรงกลัวต่อบาปและละอายต่อบาป มีความคิดชอบปฏิบัติชอบ มีสติตั้งอยู่บนความไม่ประมาทอยู่เสมอ รวมทั้งทำตนให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติตลอดไป