บทความที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งซึ่งได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และอาจเป็นที่มาของข้อเสนอเรื่อง ‘หลักประกันชีวิตคนไทย’ ที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เคยหยิบยกเสนอต่อรัฐบาลในปี 2546 ตามนโยบาย ‘แก้ปัญหาความยากจนใน 6 ปี’ ก็คือบทความที่มีชื่อว่า ‘คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ เขียนโดย ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
‘จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับหลักประกันสังคมและคุณภาพชีวิตพื้นฐาน นับจากเกิดจนตาย ถูกนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกไกล ราวเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อนจะตีพิมพ์สู่สาธารณะครั้งแรกในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ความทรงพลังของบทความนี้ ไม่ได้อยู่ที่กลวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่ายเท่านั้น เพราะแม้แต่เนื้อหาก็เข้าใจง่ายอย่างชนิดง่ายแสนง่ายสำหรับคนไร้ที่รักความเป็นธรรม แต่คงยากจะรู้สึกลึกซึ้งได้สำหรับคนที่มั่งมีมาตลอดชีวิต
“เมื่อผมอยู่ในครรภ์มารดา ผมต้องการให้แม่รับประทานอาหาร ที่เป็นคุณประโยชน์ ได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่องสุขภาพของแม่และเด็ก
“ในระหว่าง 2-3 ขวบแรก ชึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโต ในระยะที่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผม กับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์
“ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาว หรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต ถ้าผมมีสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะรวยหรือจน จะอยู่ในเมือง หรือชนบทแร้นแค้น
“ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมอย่างฟรี กับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใด หาหมอหาพยาบาลได้สะดวก
“เมื่อแก่ผมและเมียก็ควรได้ประโยชน์ตอบแทนจากการประกันสังคม ซึ่งผมได้จ่ายบำรุงตลอดมา
“ในฐานะที่ผมเป็นกรรมกร ผมก็ควรจะมีหุ้นส่วน หรือมีส่วนในโรงงาน หรือบริษัทห้างร้านที่ผมทำงานอยู่
“เรื่องอะไรที่ผมทำเองไม่ได้ หรือได้แต่ไม่ดี ผมก็จะขอความร่วมมือกับเพื่อนฝูง ในรูปสหกรณ์ หรือสโมสร หรือสหภาพ จะได้ช่วยซึ่งกันและกัน
เหล่านี้คือ ตัวอย่างบางวรรค บางเรื่อง และบางส่วนเสี้ยวเวลาในปฏิทินแห่งชีวิตที่คัดลอกมาจากบทความชิ้นนี้
ไม่ว่าจะอย่างไร พลังของบทความนี้ก็น่าจะเชื่อได้ว่า ได้กลายเป็นภาพสังคมไทยในฝัน บ้างก็เชื่อว่า ผู้เขียนปรารถนาที่จะเดินไปสู่ภาพฝันนั้นด้วยรัฐหรือไม่ก็สังคม ‘สวัสดิการ’
อย่างไรก็ตาม เรามักจะเข้าใจว่า ‘สวัสดิการ’ มีความหมายไปในทางสิ่งที่รัฐบาลจัดให้ หรือสิ่งที่บริษัท โรงงาน ที่ตัวเองสังกัดจัดให้ แต่ไม่ใช่แค่นั้น สวัสดิการยังสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการจัดการของครอบครัว ชุมชน องค์กรการกุศล เองด้วยก็ได้
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการ ‘เผยแพร่ความรู้การพัฒนาระบบสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน’ ได้สรุปสังเคราะห์ถึงปัจจัยหรือฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดสวัสดิการขึ้นมาในสังคมไทยว่า อาจจะเกิดขึ้นมาจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ (หากไม่เอาแต่ผลิตเพื่อขาย) ฐานนวัตกรรมชุมชน คือการอาศัยภูมิปัญญา ต้นทุนทางสังคม ประเพณี ดังกรณีการรวมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการ ดังกรณี ‘กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ วันละบาท’ ที่สำคัญคือ ฐานสิทธิพื้นฐานทางสังคม ซึ่งก็คือการรับรองให้ ‘สวัสดิการ’ เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย
ในบทความ ‘ความเข้าใจเรื่องสวัสดิการของประชาชน’ ของ ดร.ณรงค์ ได้ยกตัวอย่างเรื่องนี้ว่า
ในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก โดยเฉพาะในสแกนดิเนเวีย หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา สังคมและรัฐยอมรับว่า “คนจนย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับสิ่งที่สังคมมีพันธกรณีที่จะให้” ซึ่งหมายความว่า คนจนมีสิทธิตามกฎหมายที่จะรับสวัสดิการสังคม ในฐานะที่เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม
ในเยอรมนี มี ‘กฎหมายสังคม’ ที่ได้กำหนดสิทธิพื้นฐานทางสังคมของคนเยอรมันไว้ 15 ประการ สิทธิพื้นฐานทางสังคมนี้จะสร้างหลักประกันและความมั่นคงทางสังคมให้แก่ทุกคนที่เป็นประชาชนของเยอรมัน ตั้งแต่เกิดจนตาย สิทธิทั้ง 15 ประการนี้ กล่าวโดยรวม คือการทำให้ทุกคนมีระบบสวัสดิการสังคมเป็นหลักประกันให้แก่ชีวิตในทุกด้านนั่นเอง
“ในประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้า ที่มีระบอบประชาธิปไตย มีความโปร่งใส มีความยุติธรรม และความสมดุลของสังคม ‘สิทธิทางสวัสดิการ’ เป็นนโยบายแห่งรัฐ เป็นกฎหมายแห่งรัฐ
ไม่ได้เป็นเรื่องของนโยบายของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง เมื่อเป็นกฎหมายแห่งรัฐ ทุกรัฐบาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนเข้ามาปกครองเยอรมันจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้”
จะรับหรือไม่รับไม่รู้ อย่าลืมว่า ในศตวรรษที่ 5 ของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวเลขจำนวนแรงงานนอกภาคเกษตรที่มีมากกว่าในภาคเกษตรไปเรียบร้อย ‘มนุษย์ค่าจ้าง’ ในรูปแบบต่างๆ กลายเป็นกำลังหลักประเทศ คนเหล่านี้ถูกดึงออกจากชุมชน ไม่มีทั้งฐานทรัพยากรทางธรรมชาติ ไม่มีทั้งฐานนวัตกรรมชุมชนที่จะสร้างสวัสดิการ
จำนวนมากจำเป็นต้องมีหนี้ จำเป็นต้องเป็นคนจน เพื่อสร้างภาวะความ (พอ) กินดี อยู่ดีให้กับครอบครัวที่อยู่ในชนบท ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่เหล่านี้ก็คือกำลังหลักในการสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ
อาจจะถึงเวลาที่เราจะต้องทวงถามกันแล้วว่า ‘สวัสดิการ’ ที่แปลว่าภาวะการกินดีอยู่ดี เพื่อดำรงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จะเป็นแค่เรื่องที่รอให้นักการเมืองแจกเรียกคะแนนนิยม หรือเป็นสิทธิที่รัฐต้องจัดให้
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
‘จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับหลักประกันสังคมและคุณภาพชีวิตพื้นฐาน นับจากเกิดจนตาย ถูกนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกไกล ราวเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อนจะตีพิมพ์สู่สาธารณะครั้งแรกในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ความทรงพลังของบทความนี้ ไม่ได้อยู่ที่กลวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่ายเท่านั้น เพราะแม้แต่เนื้อหาก็เข้าใจง่ายอย่างชนิดง่ายแสนง่ายสำหรับคนไร้ที่รักความเป็นธรรม แต่คงยากจะรู้สึกลึกซึ้งได้สำหรับคนที่มั่งมีมาตลอดชีวิต
“เมื่อผมอยู่ในครรภ์มารดา ผมต้องการให้แม่รับประทานอาหาร ที่เป็นคุณประโยชน์ ได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่องสุขภาพของแม่และเด็ก
“ในระหว่าง 2-3 ขวบแรก ชึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโต ในระยะที่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผม กับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์
“ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาว หรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต ถ้าผมมีสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะรวยหรือจน จะอยู่ในเมือง หรือชนบทแร้นแค้น
“ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมอย่างฟรี กับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใด หาหมอหาพยาบาลได้สะดวก
“เมื่อแก่ผมและเมียก็ควรได้ประโยชน์ตอบแทนจากการประกันสังคม ซึ่งผมได้จ่ายบำรุงตลอดมา
“ในฐานะที่ผมเป็นกรรมกร ผมก็ควรจะมีหุ้นส่วน หรือมีส่วนในโรงงาน หรือบริษัทห้างร้านที่ผมทำงานอยู่
“เรื่องอะไรที่ผมทำเองไม่ได้ หรือได้แต่ไม่ดี ผมก็จะขอความร่วมมือกับเพื่อนฝูง ในรูปสหกรณ์ หรือสโมสร หรือสหภาพ จะได้ช่วยซึ่งกันและกัน
เหล่านี้คือ ตัวอย่างบางวรรค บางเรื่อง และบางส่วนเสี้ยวเวลาในปฏิทินแห่งชีวิตที่คัดลอกมาจากบทความชิ้นนี้
ไม่ว่าจะอย่างไร พลังของบทความนี้ก็น่าจะเชื่อได้ว่า ได้กลายเป็นภาพสังคมไทยในฝัน บ้างก็เชื่อว่า ผู้เขียนปรารถนาที่จะเดินไปสู่ภาพฝันนั้นด้วยรัฐหรือไม่ก็สังคม ‘สวัสดิการ’
อย่างไรก็ตาม เรามักจะเข้าใจว่า ‘สวัสดิการ’ มีความหมายไปในทางสิ่งที่รัฐบาลจัดให้ หรือสิ่งที่บริษัท โรงงาน ที่ตัวเองสังกัดจัดให้ แต่ไม่ใช่แค่นั้น สวัสดิการยังสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการจัดการของครอบครัว ชุมชน องค์กรการกุศล เองด้วยก็ได้
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการ ‘เผยแพร่ความรู้การพัฒนาระบบสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน’ ได้สรุปสังเคราะห์ถึงปัจจัยหรือฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดสวัสดิการขึ้นมาในสังคมไทยว่า อาจจะเกิดขึ้นมาจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ (หากไม่เอาแต่ผลิตเพื่อขาย) ฐานนวัตกรรมชุมชน คือการอาศัยภูมิปัญญา ต้นทุนทางสังคม ประเพณี ดังกรณีการรวมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการ ดังกรณี ‘กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ วันละบาท’ ที่สำคัญคือ ฐานสิทธิพื้นฐานทางสังคม ซึ่งก็คือการรับรองให้ ‘สวัสดิการ’ เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย
ในบทความ ‘ความเข้าใจเรื่องสวัสดิการของประชาชน’ ของ ดร.ณรงค์ ได้ยกตัวอย่างเรื่องนี้ว่า
ในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก โดยเฉพาะในสแกนดิเนเวีย หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา สังคมและรัฐยอมรับว่า “คนจนย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับสิ่งที่สังคมมีพันธกรณีที่จะให้” ซึ่งหมายความว่า คนจนมีสิทธิตามกฎหมายที่จะรับสวัสดิการสังคม ในฐานะที่เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม
ในเยอรมนี มี ‘กฎหมายสังคม’ ที่ได้กำหนดสิทธิพื้นฐานทางสังคมของคนเยอรมันไว้ 15 ประการ สิทธิพื้นฐานทางสังคมนี้จะสร้างหลักประกันและความมั่นคงทางสังคมให้แก่ทุกคนที่เป็นประชาชนของเยอรมัน ตั้งแต่เกิดจนตาย สิทธิทั้ง 15 ประการนี้ กล่าวโดยรวม คือการทำให้ทุกคนมีระบบสวัสดิการสังคมเป็นหลักประกันให้แก่ชีวิตในทุกด้านนั่นเอง
“ในประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้า ที่มีระบอบประชาธิปไตย มีความโปร่งใส มีความยุติธรรม และความสมดุลของสังคม ‘สิทธิทางสวัสดิการ’ เป็นนโยบายแห่งรัฐ เป็นกฎหมายแห่งรัฐ
ไม่ได้เป็นเรื่องของนโยบายของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง เมื่อเป็นกฎหมายแห่งรัฐ ทุกรัฐบาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนเข้ามาปกครองเยอรมันจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้”
จะรับหรือไม่รับไม่รู้ อย่าลืมว่า ในศตวรรษที่ 5 ของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวเลขจำนวนแรงงานนอกภาคเกษตรที่มีมากกว่าในภาคเกษตรไปเรียบร้อย ‘มนุษย์ค่าจ้าง’ ในรูปแบบต่างๆ กลายเป็นกำลังหลักประเทศ คนเหล่านี้ถูกดึงออกจากชุมชน ไม่มีทั้งฐานทรัพยากรทางธรรมชาติ ไม่มีทั้งฐานนวัตกรรมชุมชนที่จะสร้างสวัสดิการ
จำนวนมากจำเป็นต้องมีหนี้ จำเป็นต้องเป็นคนจน เพื่อสร้างภาวะความ (พอ) กินดี อยู่ดีให้กับครอบครัวที่อยู่ในชนบท ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่เหล่านี้ก็คือกำลังหลักในการสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ
อาจจะถึงเวลาที่เราจะต้องทวงถามกันแล้วว่า ‘สวัสดิการ’ ที่แปลว่าภาวะการกินดีอยู่ดี เพื่อดำรงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จะเป็นแค่เรื่องที่รอให้นักการเมืองแจกเรียกคะแนนนิยม หรือเป็นสิทธิที่รัฐต้องจัดให้
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)