ผู้ผลิตสมาร์ทการ์ดกอดคอนายทุนไทย 6 กลุ่ม ยื่นซองกระทรวงไอซีที ประมูลสมาร์ทการ์ดรอบใหม่ 13 ล้านใบมูลค่า 962 ล้านบาท หรือ 74 บาทต่อใบ “ไกรสร” ย้ำชัดงานนี้ไม่มีสะดุด อี-ออกชัน 12 ก.ค.นี้ มั่นใจส่งมอบมหาดไทยได้ทันตามกำหนด ส่วนปัญหาไม่มีครุฑพ่าห์บนบัตร รัฐบาลสั่งปรับแก้แล้ว ล็อตนี้ต้องเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน
นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า การเปิดรับยื่นซองสำหรับผู้สนใจประกวดราคาจ้างจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 13 ล้านใบ ล็อตแรกจากจำนวน 26 ล้านใบ ได้มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมยื่นซองเป็นลักษณะกลุ่มกิจการค้าร่วม (Consortium) และลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) จำนวน 6 กลุ่ม จากก่อนหน้านี้ได้มีผู้สนใจเข้าซื้อซองเพื่อประกวดราคาจำนวน 37 ราย
ขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการประกวดราคาจำนวน 5 คน ซึ่งมีนายเทิดศักดิ์ แพทยานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที เป็นประธาน จะทำหน้าที่คอยตรวจสอบเอกสารของผู้เข้ายื่นซองประกวดราคาทั้งหมด จากที่ยื่น 2 ซอง คือ ซองหลักฐานนิติบุคล และซองข้อเสนอทางด้านเทคนิคพร้อมหลักประกันซอง โดยจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดการเข้าประกวดราคา (ทีโออาร์) หรือไม่
ระหว่างวันที่ 22 มิ.ย. ถึง 2 ก.ค. 2549 จะให้ผู้เข้ายื่นซองมอบตัวอย่างบัตรโดยกระทรวงฯจะทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ ก่อนที่จะคัดเลือกผู้ที่ผ่านคุณสมบัติครบเป็นไปตามทีโออาร์เข้าสู่กระบวนการอี- ออกชัน วันที่ 12 ก.ค.นี้ ราคากลางประมูลครั้งนี้จะเริ่มต้นที่ 962 ล้านบาท หรือราคาบัตร 74 บาทต่อใบ
“ผมคิดว่ากระบวนการขั้นตอนในการตรวจสอบคุณสมบัติทั้งหมดของผู้ยื่นซองจะไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน และโปร่งใส เพราะคณะกรรมการประกวดราคาทั้ง 5 คน มี 1 คนที่เป็นคนนอกและมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคเป็นอย่างมาก โดยผมคาดว่าการประมูลครั้งนี้จะไม่มีปัญหาและเชื่อว่าราคาบัตรจะต่ำกว่าราคาได้อีก 15 ถึง 20% หรือจะมากกว่านั้นก็ได้”
สำหรับการส่งมอบบัตรสมาร์ทการ์ด ตามสัญญาจะต้องส่งมอบ 3 ล้านใบแรก ภายใน 5 เดือน หลังจากประมูลเสร็จ คือ ภายในเดือน ธ.ค. และหลังจากที่ส่งมอบบัตรชุดแรก อีก 45 วันก็จะส่งมอบบัตรสมาร์ทการ์ดชุดที่ 2 จำนวน 5 ล้าน ต่อจากนั้น อีก 45 วันก็จะส่งมอบบัตรสมาร์ทการ์ดชุดสุดท้ายจำนวน 5 ล้านใบ รวมทั้งสิ้น 13 ล้านใบ ส่วนสมาร์ทการ์ดอีก 13 ล้านใบที่เหลือจากจำนวน 26 ล้านใบนั้น ทางกระทรวงไอซีทีจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภายในเดือน ก.ย. 2549 นี้ เพื่อให้สามารถส่งมอบยังกรมการปกครอง สามารถนำไปออกบัตรให้กับประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง
นายเทิดศักดิ์กล่าวว่า รายชื่อผู้ยื่นซองนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบได้ก่อนวันทำการอี-ออกชัน โดยระหว่างนี้คณะกรรมการจะทำการตรวจเอกสารของผู้ที่ยื่นทั้ง 6 กลุ่ม โดยละเอียด หากมีคุณสมบัติไม่ตรงตามทีโออาร์ก็จะตัดสิทธิ ขณะเดียวกันในส่วนของการทดสอบบัตร ในช่วง 1 เดือนนี้ กระทรวงจะทำการทดสอบบัตรเปรียบโดยละเอียดเช่นกัน จากจำนวน 100 ใบของผู้ที่ยื่นประมูล ว่าสามารถใช้งานตรงตามทีโออาร์ได้จริงหรือไม่
น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการ รมว.ไอซีที กล่าวว่า การประมูลสมาร์ทการ์ดจำนวน 26 ล้านใบ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการจัดซื้อดำเนินการอย่างโปร่งใส รวดเร็วและมีความชัดเจน ไม่มีปัญหาในด้านการส่งมอบเหมือนในครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากบัตรที่ประมูลจำนวน 12 ล้านใบในล็อตแรก ที่ส่งมอบให้กับทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะหมดในเดือนกันยายน และจะส่งผลต่อการออกบัตรให้กับประชาชนที่เข้ามาทำบัตรประชาชน
“ได้มอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบนโยบายในการประมูลสมาร์ทการ์ดแล้ว รวมถึงการจัดทำระบบรองรับในการใช้งาน จากระบบบางส่วนที่ยังมีปัญหา หรือข้อมูลยังไม่สามารถใส่เข้าไปได้ จะต้องเร่งแก้ไขให้ใช้งานได้ โดยบัตรรอบนี้จะมีข้อมูลทั้งส่วนกรมการปกครอง โครงการ 30 บาท ประกันสังคม มารวมไว้อยู่ในบัตร”
สำหรับกรณีไม่มีรูปครุฑพ่าห์บนบัตรที่หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตถึงความไม่เหมาะสมนั้น การประมูลบัตรในครั้งนี้จะมีการนำใส่เพิ่มเข้าไปบนบัตรด้วย ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้ผู้ออกแบบวางรูปแบบตำแหน่งลงบัตรแล้ว โดยกำหนดให้แสดงเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน
การจัดประมูลบัตรสมาร์ทการ์ด กระทรวง ไอซีที ได้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดซื้อ โดยได้เริ่มตั้งแต่ในปี 2547 จากเฟสแรก จำนวน 12 ล้านใบ มูลค่า 1,440 ล้านบาท โดยกิจการร่วมค้าเอ็กซอลโตและจันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง เป็นชนะการประมูลสมาร์ทการ์ด ด้วยวงเงิน 1,370 บาท โดยต่ำกว่าราคากลาง 70 ล้านบาท ซึ่งบัตรมีมูลค่าใบละ 114 บาท โดยการประมูลในครั้งนั้นได้มีบริษัทที่สนใจเข้าซื้อซองทีโออาร์ประมาณ 32 ราย แต่เข้ายื่นซองเพื่อเข้าประมูลเพียง 3 ราย และมี 2 รายที่มีคุณสมบัติพร้อมในการประมูลครั้งนี้ คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า เอส.เอส.ไอ และไอ.ซี.เอส ประกอบด้วย บริษัท สมาร์ทการ์ด ซิสเต็มส์ อินเตอร์เนชั่นแนล และโอเบอร์ทัว การ์ด ซิสเต็มส์ โดยจ้างบริษัทไทย บริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด(มหาชน) พิมพ์บัตร บริษัท จี&ดี บริษัท ทีอีซีโอ ไต้หวัน จำกัด บริษัท Giesecker&Devrient Gmbhontel Card Indutry และกลุ่มกิจการร่วมค้า จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง และเอ็กซอลโต้
นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า การเปิดรับยื่นซองสำหรับผู้สนใจประกวดราคาจ้างจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 13 ล้านใบ ล็อตแรกจากจำนวน 26 ล้านใบ ได้มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมยื่นซองเป็นลักษณะกลุ่มกิจการค้าร่วม (Consortium) และลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) จำนวน 6 กลุ่ม จากก่อนหน้านี้ได้มีผู้สนใจเข้าซื้อซองเพื่อประกวดราคาจำนวน 37 ราย
ขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการประกวดราคาจำนวน 5 คน ซึ่งมีนายเทิดศักดิ์ แพทยานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที เป็นประธาน จะทำหน้าที่คอยตรวจสอบเอกสารของผู้เข้ายื่นซองประกวดราคาทั้งหมด จากที่ยื่น 2 ซอง คือ ซองหลักฐานนิติบุคล และซองข้อเสนอทางด้านเทคนิคพร้อมหลักประกันซอง โดยจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดการเข้าประกวดราคา (ทีโออาร์) หรือไม่
ระหว่างวันที่ 22 มิ.ย. ถึง 2 ก.ค. 2549 จะให้ผู้เข้ายื่นซองมอบตัวอย่างบัตรโดยกระทรวงฯจะทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ ก่อนที่จะคัดเลือกผู้ที่ผ่านคุณสมบัติครบเป็นไปตามทีโออาร์เข้าสู่กระบวนการอี- ออกชัน วันที่ 12 ก.ค.นี้ ราคากลางประมูลครั้งนี้จะเริ่มต้นที่ 962 ล้านบาท หรือราคาบัตร 74 บาทต่อใบ
“ผมคิดว่ากระบวนการขั้นตอนในการตรวจสอบคุณสมบัติทั้งหมดของผู้ยื่นซองจะไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน และโปร่งใส เพราะคณะกรรมการประกวดราคาทั้ง 5 คน มี 1 คนที่เป็นคนนอกและมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคเป็นอย่างมาก โดยผมคาดว่าการประมูลครั้งนี้จะไม่มีปัญหาและเชื่อว่าราคาบัตรจะต่ำกว่าราคาได้อีก 15 ถึง 20% หรือจะมากกว่านั้นก็ได้”
สำหรับการส่งมอบบัตรสมาร์ทการ์ด ตามสัญญาจะต้องส่งมอบ 3 ล้านใบแรก ภายใน 5 เดือน หลังจากประมูลเสร็จ คือ ภายในเดือน ธ.ค. และหลังจากที่ส่งมอบบัตรชุดแรก อีก 45 วันก็จะส่งมอบบัตรสมาร์ทการ์ดชุดที่ 2 จำนวน 5 ล้าน ต่อจากนั้น อีก 45 วันก็จะส่งมอบบัตรสมาร์ทการ์ดชุดสุดท้ายจำนวน 5 ล้านใบ รวมทั้งสิ้น 13 ล้านใบ ส่วนสมาร์ทการ์ดอีก 13 ล้านใบที่เหลือจากจำนวน 26 ล้านใบนั้น ทางกระทรวงไอซีทีจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภายในเดือน ก.ย. 2549 นี้ เพื่อให้สามารถส่งมอบยังกรมการปกครอง สามารถนำไปออกบัตรให้กับประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง
นายเทิดศักดิ์กล่าวว่า รายชื่อผู้ยื่นซองนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบได้ก่อนวันทำการอี-ออกชัน โดยระหว่างนี้คณะกรรมการจะทำการตรวจเอกสารของผู้ที่ยื่นทั้ง 6 กลุ่ม โดยละเอียด หากมีคุณสมบัติไม่ตรงตามทีโออาร์ก็จะตัดสิทธิ ขณะเดียวกันในส่วนของการทดสอบบัตร ในช่วง 1 เดือนนี้ กระทรวงจะทำการทดสอบบัตรเปรียบโดยละเอียดเช่นกัน จากจำนวน 100 ใบของผู้ที่ยื่นประมูล ว่าสามารถใช้งานตรงตามทีโออาร์ได้จริงหรือไม่
น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการ รมว.ไอซีที กล่าวว่า การประมูลสมาร์ทการ์ดจำนวน 26 ล้านใบ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการจัดซื้อดำเนินการอย่างโปร่งใส รวดเร็วและมีความชัดเจน ไม่มีปัญหาในด้านการส่งมอบเหมือนในครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากบัตรที่ประมูลจำนวน 12 ล้านใบในล็อตแรก ที่ส่งมอบให้กับทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะหมดในเดือนกันยายน และจะส่งผลต่อการออกบัตรให้กับประชาชนที่เข้ามาทำบัตรประชาชน
“ได้มอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบนโยบายในการประมูลสมาร์ทการ์ดแล้ว รวมถึงการจัดทำระบบรองรับในการใช้งาน จากระบบบางส่วนที่ยังมีปัญหา หรือข้อมูลยังไม่สามารถใส่เข้าไปได้ จะต้องเร่งแก้ไขให้ใช้งานได้ โดยบัตรรอบนี้จะมีข้อมูลทั้งส่วนกรมการปกครอง โครงการ 30 บาท ประกันสังคม มารวมไว้อยู่ในบัตร”
สำหรับกรณีไม่มีรูปครุฑพ่าห์บนบัตรที่หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตถึงความไม่เหมาะสมนั้น การประมูลบัตรในครั้งนี้จะมีการนำใส่เพิ่มเข้าไปบนบัตรด้วย ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้ผู้ออกแบบวางรูปแบบตำแหน่งลงบัตรแล้ว โดยกำหนดให้แสดงเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน
การจัดประมูลบัตรสมาร์ทการ์ด กระทรวง ไอซีที ได้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดซื้อ โดยได้เริ่มตั้งแต่ในปี 2547 จากเฟสแรก จำนวน 12 ล้านใบ มูลค่า 1,440 ล้านบาท โดยกิจการร่วมค้าเอ็กซอลโตและจันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง เป็นชนะการประมูลสมาร์ทการ์ด ด้วยวงเงิน 1,370 บาท โดยต่ำกว่าราคากลาง 70 ล้านบาท ซึ่งบัตรมีมูลค่าใบละ 114 บาท โดยการประมูลในครั้งนั้นได้มีบริษัทที่สนใจเข้าซื้อซองทีโออาร์ประมาณ 32 ราย แต่เข้ายื่นซองเพื่อเข้าประมูลเพียง 3 ราย และมี 2 รายที่มีคุณสมบัติพร้อมในการประมูลครั้งนี้ คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า เอส.เอส.ไอ และไอ.ซี.เอส ประกอบด้วย บริษัท สมาร์ทการ์ด ซิสเต็มส์ อินเตอร์เนชั่นแนล และโอเบอร์ทัว การ์ด ซิสเต็มส์ โดยจ้างบริษัทไทย บริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด(มหาชน) พิมพ์บัตร บริษัท จี&ดี บริษัท ทีอีซีโอ ไต้หวัน จำกัด บริษัท Giesecker&Devrient Gmbhontel Card Indutry และกลุ่มกิจการร่วมค้า จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง และเอ็กซอลโต้