วันที่ผมไปพูดที่จุฬาฯ กับแก้วสรร และสุรพงษ์ ชัยนาม นั้น แก้วสรร ถามผมว่ารัฐบาลจะเป็นอยู่อย่างนี้น่ะหรือ ผมตอบไปว่า คิดว่าเดือนกรกฎาคมทักษิณคงไปแน่
คำตอบของผมกลายเป็นข่าวใหญ่ ผู้คนพากันสงสัยว่าเดือนกรกฎาคมจะมีอะไร ที่จริงผมเคยทำนายไว้หลายเดือนมาแล้วว่า กว่ารัฐบาลทักษิณจะออกไปก็ต้องรอเดือนกรกฎาคม
เหตุที่ผมคาดการณ์เช่นนี้ก็เพราะการชุมนุมประท้วงของประชาชนนั้นเป็นไปอย่างสงบ ฝ่ายรัฐบาลก็มีผู้เจนจบในการจัดการชุมนุมมาก่อน ย่อมรู้ดีว่าการดำเนินการอะไรที่ก่อให้เกิดการปะทะกัน ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล ทหารเองก็มีประสบการณ์มาแล้วว่า การทำรัฐประหารนั้น ประชาชนจะออกมาประท้วงแน่
รัฐบาลไม่ต้องการออกไปง่ายๆ เพราะมีการกล่าวหาเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน และการโกงการเลือกตั้งไว้มาก ดังนั้นผมจึงเห็นว่าเดือนมิถุนายน จะมีการเฉลิมฉลอง 60 ปีแห่งการครองราชย์ คงไม่มีสถานการณ์อะไรแน่ๆ
ผมเห็นว่าเมื่อพ้นพระราชพิธีไปแล้ว การเคลื่อนไหวคงจะมีทั้งสองฝ่าย ในปลายเดือนพฤษภาคม ศาลอาญาจะพิจารณาคดี กกต.หากผลการพิจารณาออกมาในทางที่ทำให้ กกต.ที่เหลือต้องออกไป ก็จะต้องมีการตั้ง กกต.ใหม่ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องการเช่นนั้น กกต.ใหม่จะต้องพิจารณาเรื่องที่อนุกรรมการ กกต.เสนอไว้แล้ว และกว่าจะมีการตั้ง กกต.และพิจารณาเรื่องนี้ก็คงไปถึงเดือนกรกฎาคม ดังนั้นเดือนกรกฎาคมจึงเป็นเดือนสำคัญ
ผมคาดว่าหนทางที่จะก่อให้เกิดความสงบในบ้านเมืองได้ก็คือ หากการสอบสวนของคณะอนุกรรมการ กกต.เป็นจริง กกต.ใหม่ก็น่าจะสั่งการยุบพรรคไทยรักไทย ฝ่ายรัฐบาลมีวิธีโต้ตอบอย่างเดียวคือ ให้ประชาชนมาประท้วง โอกาสที่จะเกิดการเผชิญหน้า และมีการปะทะกันระหว่างประชาชนก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ หากเหตุการณ์วุ่นวายเกิดการบาดเจ็บล้มตายกัน ก็น่าจะมีการแทรกแซงของคณะทหาร
ทั้งหมดนี้เป็นภาพเหตุการณ์ที่ผมคาดเอาไว้ เวลานี้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นไปในทางที่ทักษิณอยู่ลำบาก เพราะจะมีการต่อต้านอย่างยืดเยื้อ ทักษิณมีทางเลือกอยู่ 3 ทางคือ ใช้ประชาชนสู้กับประชาชน สนับสนุนให้ทหารทำรัฐประหาร และสมัครใจยุติบทบาททางการเมือง เรื่องรัฐประหารนั้นหากไม่มีการปะทะกันระหว่างประชาชน ทหารก็ไม่กล้าออกมา แต่ที่ผู้คนกังวลมากก็คือ ทักษิณจะใช้วิธีการแรก
นโยบายประชานิยมของทักษิณได้ผลเกินคาด ประชาชนในชนบทชอบที่มีรัฐบาลที่เอาเงินมาแจก ให้มีการรักษาพยาบาลที่ถูก ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่มีความซับซ้อน และเรื่องการหาผลประโยชน์ในระดับสูง ประชาชนในชนบทห่างไกลไม่ให้ความสนใจ
สภาพสังคมและการเมืองไทยยุคทักษิณ ที่น่ากลัวที่สุดก็คือปัญหาภาคใต้ เมื่อครูชาวเหนือถูกทำร้ายในภาคใต้ ความรู้สึกภูมิภาคนิยมก็สูงขึ้น รัฐบาลเองก็มีส่วนในการปลุกระดมความเกลียดชัง และเน้นความเป็นชาวเหนือ-ชาวใต้ อีกประการหนึ่งก็คือ การที่สถาบันศาลต้องเข้ามาจัดการปัญหาทางการเมือง เพราะเป็นสถาบันหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย แสดงว่าการเมืองไทยพบทางตันจริงๆ
การเมืองไทยมีพรรคการเมือง แต่ไม่เคยมีพรรคการเมืองที่มีแนวทางแบบพรรคมวลชน ไม่มีผู้นำที่ต้องการเป็นผู้นำมวลชน ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่สร้างฐานมวลชนด้วยการแจกเงินในรูปแบบต่างๆ ผู้นำพรรคเดียวที่มีแนวทางนี้ย่อมครอบงำอำนาจนิติบัญญัติได้ แต่ครอบงำอำนาจตุลาการไม่ได้ แต่ต่อไปหากมีอำนาจนานเข้า ก็คงจะหาทางไปครอบงำฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้และได้บทเรียนแล้วว่า ฝ่ายตุลาการเริ่มมีบทบาทในทางการเมือง หากทักษิณอยู่ต่อก็จะต้องจัดการกับฝ่ายตุลาการอย่างแน่นอน
ภยันตรายที่แฝงอยู่ก็คือ เมื่อรัฐบาลกุมอำนาจเกือบเบ็ดเสร็จเหมือนอย่างมาเลเซีย ประชาชนก็จะไม่มีทางเลือกคือไม่มีที่พึ่งสุดท้าย สิ่งที่เกิดขึ้นในมาเลเซียก็คือรัฐบาลสามารถควบคุมการแต่งตั้งตุลาการได้ และแม้มาเลเซียจะมีสุลต่าน แต่ก็ไม่มีบทบาททางสาธารณะมากนัก
แต่ประเทศไทยไม่เหมือนกับสิงคโปร์ และมาเลเซียตรงที่เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นสถาบันที่มีความสัมพันธ์สนิทแนบแน่นกับประชาชน การที่เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง และมีนายกรัฐมนตรีที่เข้มแข็ง อีกทั้งมีแนวทางในการสร้างความเป็นผู้นำมวลชนด้วย ความละเอียดอ่อนจึงมีว่าในระยะยาว ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน และนายกรัฐมนตรีกับประชาชนจะเป็นอย่างไร การที่ฝ่ายตุลาการรับสนองพระราชกระแสมาดำเนินการแก้ไขปัญหาทางการเมืองเวลานี้ จึงเป็นการดีที่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง แม้ประชาชนที่ไปชุมนุมกันจะเรียกร้อง และมีความหวังที่จะให้พระมหากษัตริย์เป็นที่พึ่ง แต่พระราชกระแสที่เตือนใจให้คำนึงถึงกติกาของรัฐธรรมนูญ ย่อมทำให้เราต้องระมัดระวังมากขึ้น
การเมืองไทยในสอง-สามเดือนนี้ จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ หากศาลจัดการปัญหาไม่สำเร็จ ข้อสรุปและคำถามก็คือทักษิณมีความมั่นใจในความเป็นผู้นำประชาชนสูงพอที่จะทำการขัดขืน ความพยายามของศาลแล้วกระนั้นหรือ
หากทักษิณอยู่รอดไปจนถึงปลายปี ผมคิดว่าการจะผนึกอำนาจก็จะเกิดขึ้น ผมไม่แน่ใจว่าในที่สุด ความภักดีของคนไทย โดยเฉพาะชนชั้นนำ จะเทไปที่ทักษิณได้หรือไม่ เพราะสังเกตจากคำพูดของประธาน กกต.แล้ว ผมเป็นห่วงบ้านเมืองจริงๆ
คำตอบของผมกลายเป็นข่าวใหญ่ ผู้คนพากันสงสัยว่าเดือนกรกฎาคมจะมีอะไร ที่จริงผมเคยทำนายไว้หลายเดือนมาแล้วว่า กว่ารัฐบาลทักษิณจะออกไปก็ต้องรอเดือนกรกฎาคม
เหตุที่ผมคาดการณ์เช่นนี้ก็เพราะการชุมนุมประท้วงของประชาชนนั้นเป็นไปอย่างสงบ ฝ่ายรัฐบาลก็มีผู้เจนจบในการจัดการชุมนุมมาก่อน ย่อมรู้ดีว่าการดำเนินการอะไรที่ก่อให้เกิดการปะทะกัน ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล ทหารเองก็มีประสบการณ์มาแล้วว่า การทำรัฐประหารนั้น ประชาชนจะออกมาประท้วงแน่
รัฐบาลไม่ต้องการออกไปง่ายๆ เพราะมีการกล่าวหาเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน และการโกงการเลือกตั้งไว้มาก ดังนั้นผมจึงเห็นว่าเดือนมิถุนายน จะมีการเฉลิมฉลอง 60 ปีแห่งการครองราชย์ คงไม่มีสถานการณ์อะไรแน่ๆ
ผมเห็นว่าเมื่อพ้นพระราชพิธีไปแล้ว การเคลื่อนไหวคงจะมีทั้งสองฝ่าย ในปลายเดือนพฤษภาคม ศาลอาญาจะพิจารณาคดี กกต.หากผลการพิจารณาออกมาในทางที่ทำให้ กกต.ที่เหลือต้องออกไป ก็จะต้องมีการตั้ง กกต.ใหม่ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องการเช่นนั้น กกต.ใหม่จะต้องพิจารณาเรื่องที่อนุกรรมการ กกต.เสนอไว้แล้ว และกว่าจะมีการตั้ง กกต.และพิจารณาเรื่องนี้ก็คงไปถึงเดือนกรกฎาคม ดังนั้นเดือนกรกฎาคมจึงเป็นเดือนสำคัญ
ผมคาดว่าหนทางที่จะก่อให้เกิดความสงบในบ้านเมืองได้ก็คือ หากการสอบสวนของคณะอนุกรรมการ กกต.เป็นจริง กกต.ใหม่ก็น่าจะสั่งการยุบพรรคไทยรักไทย ฝ่ายรัฐบาลมีวิธีโต้ตอบอย่างเดียวคือ ให้ประชาชนมาประท้วง โอกาสที่จะเกิดการเผชิญหน้า และมีการปะทะกันระหว่างประชาชนก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ หากเหตุการณ์วุ่นวายเกิดการบาดเจ็บล้มตายกัน ก็น่าจะมีการแทรกแซงของคณะทหาร
ทั้งหมดนี้เป็นภาพเหตุการณ์ที่ผมคาดเอาไว้ เวลานี้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นไปในทางที่ทักษิณอยู่ลำบาก เพราะจะมีการต่อต้านอย่างยืดเยื้อ ทักษิณมีทางเลือกอยู่ 3 ทางคือ ใช้ประชาชนสู้กับประชาชน สนับสนุนให้ทหารทำรัฐประหาร และสมัครใจยุติบทบาททางการเมือง เรื่องรัฐประหารนั้นหากไม่มีการปะทะกันระหว่างประชาชน ทหารก็ไม่กล้าออกมา แต่ที่ผู้คนกังวลมากก็คือ ทักษิณจะใช้วิธีการแรก
นโยบายประชานิยมของทักษิณได้ผลเกินคาด ประชาชนในชนบทชอบที่มีรัฐบาลที่เอาเงินมาแจก ให้มีการรักษาพยาบาลที่ถูก ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่มีความซับซ้อน และเรื่องการหาผลประโยชน์ในระดับสูง ประชาชนในชนบทห่างไกลไม่ให้ความสนใจ
สภาพสังคมและการเมืองไทยยุคทักษิณ ที่น่ากลัวที่สุดก็คือปัญหาภาคใต้ เมื่อครูชาวเหนือถูกทำร้ายในภาคใต้ ความรู้สึกภูมิภาคนิยมก็สูงขึ้น รัฐบาลเองก็มีส่วนในการปลุกระดมความเกลียดชัง และเน้นความเป็นชาวเหนือ-ชาวใต้ อีกประการหนึ่งก็คือ การที่สถาบันศาลต้องเข้ามาจัดการปัญหาทางการเมือง เพราะเป็นสถาบันหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย แสดงว่าการเมืองไทยพบทางตันจริงๆ
การเมืองไทยมีพรรคการเมือง แต่ไม่เคยมีพรรคการเมืองที่มีแนวทางแบบพรรคมวลชน ไม่มีผู้นำที่ต้องการเป็นผู้นำมวลชน ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่สร้างฐานมวลชนด้วยการแจกเงินในรูปแบบต่างๆ ผู้นำพรรคเดียวที่มีแนวทางนี้ย่อมครอบงำอำนาจนิติบัญญัติได้ แต่ครอบงำอำนาจตุลาการไม่ได้ แต่ต่อไปหากมีอำนาจนานเข้า ก็คงจะหาทางไปครอบงำฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้และได้บทเรียนแล้วว่า ฝ่ายตุลาการเริ่มมีบทบาทในทางการเมือง หากทักษิณอยู่ต่อก็จะต้องจัดการกับฝ่ายตุลาการอย่างแน่นอน
ภยันตรายที่แฝงอยู่ก็คือ เมื่อรัฐบาลกุมอำนาจเกือบเบ็ดเสร็จเหมือนอย่างมาเลเซีย ประชาชนก็จะไม่มีทางเลือกคือไม่มีที่พึ่งสุดท้าย สิ่งที่เกิดขึ้นในมาเลเซียก็คือรัฐบาลสามารถควบคุมการแต่งตั้งตุลาการได้ และแม้มาเลเซียจะมีสุลต่าน แต่ก็ไม่มีบทบาททางสาธารณะมากนัก
แต่ประเทศไทยไม่เหมือนกับสิงคโปร์ และมาเลเซียตรงที่เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นสถาบันที่มีความสัมพันธ์สนิทแนบแน่นกับประชาชน การที่เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง และมีนายกรัฐมนตรีที่เข้มแข็ง อีกทั้งมีแนวทางในการสร้างความเป็นผู้นำมวลชนด้วย ความละเอียดอ่อนจึงมีว่าในระยะยาว ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน และนายกรัฐมนตรีกับประชาชนจะเป็นอย่างไร การที่ฝ่ายตุลาการรับสนองพระราชกระแสมาดำเนินการแก้ไขปัญหาทางการเมืองเวลานี้ จึงเป็นการดีที่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง แม้ประชาชนที่ไปชุมนุมกันจะเรียกร้อง และมีความหวังที่จะให้พระมหากษัตริย์เป็นที่พึ่ง แต่พระราชกระแสที่เตือนใจให้คำนึงถึงกติกาของรัฐธรรมนูญ ย่อมทำให้เราต้องระมัดระวังมากขึ้น
การเมืองไทยในสอง-สามเดือนนี้ จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ หากศาลจัดการปัญหาไม่สำเร็จ ข้อสรุปและคำถามก็คือทักษิณมีความมั่นใจในความเป็นผู้นำประชาชนสูงพอที่จะทำการขัดขืน ความพยายามของศาลแล้วกระนั้นหรือ
หากทักษิณอยู่รอดไปจนถึงปลายปี ผมคิดว่าการจะผนึกอำนาจก็จะเกิดขึ้น ผมไม่แน่ใจว่าในที่สุด ความภักดีของคนไทย โดยเฉพาะชนชั้นนำ จะเทไปที่ทักษิณได้หรือไม่ เพราะสังเกตจากคำพูดของประธาน กกต.แล้ว ผมเป็นห่วงบ้านเมืองจริงๆ