ในช่วงนี้ อันเป็นเดือนมหามงคลมิควรจะมีความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นเลย แม้ว่าจะเป็นการแสดงออกที่อาจจะเห็นว่าเล็กน้อย แต่ในช่วงที่ทุกอย่างนิ่ง ผิวน้ำราบเรียบสนิท การเกิดตัวลูกน้ำขึ้นมาเพียงตัวหนึ่ง ก็มีแรงกระเพื่อมให้เห็นกัน
จากการที่มองการเมืองของไทยรักไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในสูตรอำนาจ 4+4+4 และ+4 รวม 16 ปี ของการเป็นรัฐบาล โดยที่มีการจัดเตรียมสร้างค่าย สร้างคน ก็พอจะเห็นว่าในเทอมที่สองจะมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ รวมทั้งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ล้วนแต่เป็น เตรียมทหารรุ่น 10 (ตท. 10) เพื่อนร่วมรุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งหมด แต่เมื่อ 4+4+4+4 ได้มาเป็น 4+1 รวมเป็น 5 และถูกลบ ผลออกมาไม่ได้เป็นดังคาด และแทนที่จะมีตัวเลขบวกเป็นจำนวนปี กลับต้องบวกด้วยจำนวนเดือน หรือจำนวนวันเก็บเล็กผสมน้อยอย่างทุกวันนี้ ในสภาพของบ้านที่เซทรุด และพัง ส่วนที่อยู่สูงสุดคือ หลังคาจะต้องหล่นมาก่อน
• คำตอบในภาวะตะเกียงหมดไส้
สิ่งที่มีผู้อยากจะรู้ว่า ในภาวะตะเกียงหมดไส้ ทั้งๆ น้ำมันก๊าดยังเต็มนั้น “เพื่อน” ของ “ทักษิณ” คิดอย่างไร? จึงมีสื่อที่สนองต้องการนำความรู้สึกจากหลายๆ คนมาตีพิมพ์ จากความรู้สึกของ พล.อ.อ.สุกัมพล สุวรรณทัต เสนาธิการทหารอากาศ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร รองเสนาธิการทหาร พล.ร.ท.วัลลภ เกิดผล รองเสนาธิการทหารเรือ พล.อ.ท.สุเมธ โพธิ์มณี ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน และ พล.ต.เรืองศักดิ์ ทองดี ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) ที่ให้ความเห็นและความรู้สึกอย่างหลากหลาย
ในการสะท้อนความรู้สึกนี้ คงเป็นเช่นเดียวกันเมื่อครั้ง จปร. 5 ในช่วงท้าย แต่ความแตกต่างของโครงสร้างของ จปร. 5 และ ตท. 10 นั้น แตกต่างกันมากคือ จปร. 5 ได้แบบอย่างมาจากเตรียมทหารรุ่น 7 (ตทบ. 7) รุ่นของ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก และ จปร.รุ่น 1 รุ่นของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ แต่มีการสร้างรุ่นหลังจาก จปร. 7 คือรุ่นของ “ยังเติร์ก” เป็นปึกแผ่นแล้ว เพราะการสร้างรุ่นของ จปร. 5 และ 7 พร้อมๆ กันจึงมีการเบียดเสียดจนเป็นความขัดแย้งกัน เพื่อเข้ามาสู่ยุคของ “เตรียมทหาร” คือเตรียมทหารรุ่น 1 (จปร. 12) รุ่นของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ไม่มีการสร้างรุ่น 3 เหล่าทัพและตำรวจ คือต่างฝ่ายต่างก็อยู่ในรุ่นของโรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ การรวมรุ่นของเตรียมทหารมาเป็นภาพชัดขึ้น เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เล่นการเมือง เพราะเห็นว่าตนเองเป็นโรงเรียนนายร้อยตำรวจ หากมีเพราะตำรวจก็จะไม่เพียงพอต่อการมีฐานอำนาจ จึงได้มีแผนการรวมรุ่น ซึ่งก็ใช้ “เงิน” เหมือนกัน คือการจัดสวัสดิการสำหรับเตรียมทหารรุ่น 10 ขึ้น ด้วยกองทุนก้อนใหญ่ มีคณะกรรมการกำกับว่าจะใช้เงินสำหรับเพื่อนคนใดบ้าง และความแตกต่างกับการรวมรุ่นของรุ่นก่อนๆ คือเช่น จปร. 1 จปร. 5 เป็นการรวมกันก่อนแล้วเดินเข้าสู่อำนาจทางการเมือง เมื่อมีโอกาสหรือหาโอกาส ส่วนเตรียมทหารรุ่น 10 นั้น มีการเมืองขึ้นมาก่อน แล้วจึงจัดระบบอำนาจเสริมการเมือง ดังนั้น ความรู้สึกที่ฝังอยู่ในรุ่นจึงมีความแตกต่างกันด้วย คือในรุ่นก่อนๆ นั้น เกาะกลุ่มกันมาด้วยการร่วมทุกข์ร่วมสุข แต่รุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น มีแต่ร่วมสุข เพราะเกาะกลุ่มกันเต็มที่ เมื่อมีเพื่อนเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นอัครมหาเศรษฐีแล้ว
ดังนั้น, ความรู้สึกและคำตอบทั้งหลายจาก ตท. 10 จึงสะท้อนถึงความเสียดายโอกาสข้างหน้า ทั้งของ “ทักษิณ” และของรุ่นตนเอง
จากคำตอบที่ให้มีทั้งคำตอบที่แสดงความรู้สึกต่อสถานการณ์และความเป็นไปในอนาคต จะมีการกล่าวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บ้างก็คือ การบอกเล่าว่าเป็นคนเรียนเก่ง เมื่อเรียนด้วยกันในโรงเรียนเตรียมทหาร ความรู้สึกห่วงใยก็เป็นการแสดงความรู้สึกของปุถุชนที่มีต่อเพื่อน แต่ก็ไม่ลืมที่จะแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองด้วย
มีแต่ทางด้านผู้เป็นทหารอากาศเท่านั้น ที่ได้กล่าวคำว่า “ปฏิวัติ” ออกมา โดยบอกว่า-ถ้าหากเป็นความต้องการของประชาชน และคำนี้ได้ลุกลามเข้าสู่ความรู้สึกของสังคมเหมือนไฟติดเชื้อ เกิดคำถามและข้อสงสัยตามมามากมายว่า คำนี้หรือสิ่งนี้จะเป็นไปได้หรือ เป็นไปได้ด้วยอะไร และเพราะใคร-เพื่อใคร? ในเมื่อกระบวนการแก้ไขปัญหาในวิธีการอื่นๆ ก็ดำเนินการอยู่และอย่างมีผล
• ปัจจัยแห่งอารมณ์ร่วมของเตรียมทหารรุ่น 10
แม้ว่าทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะเป็นความคิดเห็นหรือเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ และเป็นอารมณ์ร่วมของบรรดาเตรียมทหารรุ่น 10 เพื่อนร่วมรุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในรุ่นนี้อาจจะมิใช่ผู้มีอารมณ์ร่วมทำนองเดียวกันเสียทั้งหมด เพราะปัจจัยแห่งอารมณ์ร่วมนั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะปัจจัยหลักคือความใกล้ชิดสนิทสนมกันแต่ครั้งก่อน ความสนิทสนมที่มาเกิดในภายหลัง หรือการเทใจให้แก่กันและกัน เมื่อมียศและตำแหน่งในระดับอันน่าพึงพอใจ ทั้งในตำแหน่งปัจจุบันและการคาดหวังต่อตำแหน่งในอนาคตที่จะสูงขึ้นไปพร้อมกับการดำรงอยู่ทางการเมืองของ “ทักษิณ” หรือของพรรคไทยรักไทย
เตรียมทหารรุ่น 10 ที่มิได้อยู่ในกรอบปัจจัยนี้ ไม่อยู่ในฐานะที่จะแสดงอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นความเห็นหรืออารมณ์ร่วมกับ “รุ่น” ก็เฉยเสีย นั่นอาจจะเป็นผู้กาเครื่องหมายไม่ประสงค์จะเลือกใครเหมือนกับการกาบัตรเลือกตั้งก็ได้ และเชื่อว่าจะมีผู้กาเครื่องหมายนี้ในช่องนี้เป็นจำนวนมาก นั่นเป็นอาการที่ไม่เอื้ออาทรต่อ “ทักษิณ” ซึ่งในยามนี้กลับต้องเป็นฝ่ายแสวงหาความเอื้ออาทรเสียเอง หลังจากที่จัดโครงการต่างๆ ที่เป็น “เอื้ออาทร” มามากแล้ว รวมทั้งโครงการเอื้ออาทรต่อตำแหน่งหน้าที่ของคนอื่นๆ มิใช่เอื้ออาทรต่อเตรียมทหารรุ่นเดียวกัน และนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นเดียวกัน ที่มีความเอื้ออาทรมากเป็นพิเศษ
การแสดงความคิดเห็นหรือเกิดอารมณ์ร่วมดังกล่าวแล้ว จึงน่าจะประเมินค่าได้เพียงความเอื้ออาทรต่อกัน แต่น้ำหนักของคำพูดนั้นอยู่ที่ “บุคคล” และตำแหน่งซึ่งดำรงอยู่ ใครที่เป็นผู้ใหญ่แม้จะพูดค่อย แต่คำพูดนั้นจะเป็นใหญ่ไปตามตำแหน่ง เช่น พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร รองเสนาธิการทหารกองบัญชาการทหารสูงสุด และพล.อ.อ.สุกัมพล สุวรรณทัต เสนาธิการทหารอากาศ ที่มียศสูงและตำแหน่งสูง โดยเฉพาะ พล.อ.อ.สุกัมพล ซึ่งเป็นเสนาธิการของกองทัพ ที่อยู่ในฐานะของการเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศได้ในจังหวะหน้าหรือก้าวต่อไป เช่นเดียวกับ พล.ร.ท.วัลลภ เกิดผล รองเสนาธิการทหารเรือ ที่มองเส้นทางว่าจะเป็นเสนาธิการทหารเรือ และเป็นผู้บัญชาการทหารเรือได้ในอนาคตที่ไม่ไกล
• แรงสะเทือนของ-อำนาจเอื้ออาทรต่อกันแบบ “ติดเชื้อ”
ดังที่กล่าวไว้ว่า นั่นเป็นบรรยากาศของความเอื้ออาทรซึ่งมีต่อกัน (หรือตอบแทนกัน) เมื่อออกมาให้เห็นต่อสาธารณชนเช่นนี้ ความผูกพันจะมิใช่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น แต่ประชาชนทั่วไปจะคิดอย่างไร สังคมจะยอมรับว่าการเคลื่อนไหวทางความเห็นเช่นนี้ เป็น “ธรรมดา” หรือไม่? ความผูกพันก็เกิดการเกี่ยวร้อยต่อไปถึงความรู้สึกของประชาชน/สังคมแผ่ไพศาลออกไป สิ่งที่ให้ในลักษณะเอื้ออาทรต่อ “ทักษิณ” นั้น อาจจะเป็นอีกคมหนึ่งของดาบ นั่นคือแรงโต้และกระแสต้านในรอบใหม่จะมากขึ้น โดยเฉพาะความรู้สึกลึกของสังคมที่มีต่อการแสวงหาข้อสรุปเรื่อง “ปฏิญญาฟินแลนด์” นั้น แม้ว่าจะมีความพยายามกลบกระแสนี้ แต่เมื่อมีความรู้สึก อารมณ์ร่วม/อำนาจร่วม เกิดขึ้นมาเช่นนี้ ความพยายามดังกล่าวจะไร้ผลเพราะเกิดสิ่งแทรกซ้อน ซึ่งสังคมมีความรู้สึกไม่ใคร่สบายใจ หรือมีความไม่ไว้วางใจอยู่แล้วในระดับหนึ่ง รวมทั้งการที่มีบทสรุปมาแล้วว่า “ทักษิณ” ไทยรักไทย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และวุฒิสภา เป็นก๊กเดียวกัน และเมื่อมีทหารส่วนหนึ่งมาสำแดงอาการอารมณ์ร่วม ก็อาจจะถูกจัดเข้าว่า “ทักษิณ-กกต.-วุฒิสภา-ทหาร” คือพวกเดียวกัน ปฏิกิริยาที่เกิดต่อ “ทักษิณ” และเวลานี้อาการติดเชื้อไปสู่ กกต. และวุฒิสภาก็จะติดเชื้อมาถึงทหารด้วย ซึ่งจะไม่เป็นผลดีเลย เมื่อมีคำประกาศโดยทั่วไปว่า ทหารสมัยนี้เป็นทหารอาชีพไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และถ้าหากว่าคำประกาศเชิงคำมั่นสัญญานั้น ถูกมองหรือจัดเข้าว่าไม่เป็นความจริง เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ก็จะมีค่าเท่ากับบุคคลในวงการทางการเมืองที่ไร้เกียรติทั้งสองอย่างนี้ และเมื่อนั้น การสั่งสอนหรือสร้างสมบ่มเพาะกันมาตั้งแต่อยู่ในโรงเรียนเตรียมทหาร 2 ปี และโรงเรียนนายทหารของแต่ละคนอีก 5 ปี ทำให้รักษาเกียรติยศ และเกียรติศักดิ์ก็จะหมดไปในวันเดียว หรือจากคำพูดเพียงคำเดียว ที่มีคำว่า “ปฏิวัติ” รวมอยู่ด้วย แม้ว่าจะกล่าวโดยมีข้อแม้ว่า ถ้าหากประชาชนต้องการอยู่ด้วยก็ตาม เพราะมองกันได้อย่างทะลุว่า ถ้าหากสิ่งนั้นเป็นไปได้จริง จะเป็นไปเพื่อใคร?
• กระทบต่อเอกภาพของการบังคับบัญชาด้วย
คำเดียวที่เอ่ย คำเดียวที่พูด จะโดยอารมณ์ร่วม/อำนาจร่วม หรืออารมณ์เอื้ออาทรต่อกันจากปากของผู้ที่ถือว่าเป็นทหารระดับสูง แม้ว่าจะยังไม่สูงในระดับหมายเลขหนึ่ง ก็ยังทำให้เห็นว่า อำนาจการบังคับบัญชา ผุ้มีอำนาจเหนือตนสูงต่ำลดหลั่นกันลงมาตามลักษณะการจัดการบังคับบัญชา ไม่ได้เป็นเอกภาพอย่างแท้จริงเสียแล้ว ในเมื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้แสดงจุดยืนของตนและของกองทัพว่า ในกระบวนการประชาธิปไตย ทหารจะไม่เป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยังส่งผลให้เกิดความสงสัยต่อการบังคับบัญชา ว่ายังมีเอกภาพในการบังคับบัญชาดีอยู่หรือ? หรือว่าแยกกันเป็น 2 ส่วนคือ เอกภาพการบังคับบัญชาอย่างเต็มที่ในส่วนหนึ่ง สำหรับบางตำแหน่งหรือบาง “รุ่น” และมีอำนาจจากส่วนหนึ่งส่งผ่านมาเป็นอำนาจการบังคับบัญชาแฝงทางสายการบังคับบัญชา แต่มีการสื่อสัญญาณกันโดยตรงอีกทางหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นอันตรายมาก เพราะการเมืองที่มีอำนาจบังคับบัญชาทหารโดยตรงนั้น มีอยู่ในประเทศที่มิได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น จีน มีพรรคเป็นผู้บังคับบัญชาทหารโดยกรรมาธิการทหารของพรรค โดยยึดว่าพรรคเป็นของประชาชน กองทัพก็ย่อมเป็นกองทัพของประชาชนโดยผ่านพรรค ถ้าหากมีการมองอย่างนี้หรือคิดกันอย่างนี้ ระบบการทหารจะแปรปรวนรวนเรกันไปหมด โดยผู้บังคับบัญชาเหนือตนนั้น แยกออกเป็นคนละฝ่าย คนละคนโดยต่างฝ่ายต่างคนก็มีผู้บังคับบัญชาของตน
• ทหารภายใต้พระบรมราชโองการฯ
เมื่อเกิดปัญหาความยุ่งยากสับสนในบ้านเมือง จนยากจะเห็นทางออกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีกระแสพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา ทรงให้ “ศาล” ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งหลายต่อการยุติธรรมในพระปรมาภิไธย เป็นผู้ใช้อำนาจทางศาลแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่ศาลทำไปแล้ว และกำลังทำอยู่ โดยที่เมื่อมองอย่างวิเคราะห์แล้วจะเห็นว่าศาลนั้นคืออำนาจหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงใช้ตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 3) โดยที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงเหมือนกับทหาร ดังที่มาตรา 10 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย” อันเป็นตำแหน่งบังคับบัญชา และการมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ก็มีพระบรมราชโองการเป็นพิเศษแตกต่างไปจากพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ต่อตำแหน่งต่างๆ โดยทั่วไป จากที่ว่า “มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ดังต่อไปนี้” คือเป็นพระบรมราชโองการฯ ในการบังคับบัญชาของจอมทัพไทยสู่ทหารโดยตรง ทหารยังมีแบบแผนถวายต่อองค์จอมทัพไทยอีกหลายสิ่ง เช่น การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล อันเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนพระองค์, ทหารมีการถวายรายงาน เมื่ออัญเชิญเสด็จฯ ตรวจแถวกองเกียรติยศ หรือการตรวจผลสวนสนาม ที่นอกจากจะจบลงด้วยคำว่า “พระพุทธเจ้าข้า-ขอรับ” ซึ่งคำว่า “ขอรับ” คือ “ขอรับกระผม” หรือ “SIR” แบบทหารที่กล่าวกับผู้บังคับบัญชาอันมีแบบอย่างโดยทั่วไปในวงการทหารทั่วโลก และนอกจากเครื่องแบบ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ แล้ว ทหารยังเป็นผู้ได้รับการประดับพระนามาภิไธยย่อ “ภปร.” ที่บ่าขวาเมื่อได้เป็นราชองครักษ์ และประดับได้ตลอดเวลาเมื่อแต่งเครื่องแบบ
ที่กล่าวดังนี้, ก็เพื่อจะให้เห็นเป็นการเปรียบเทียบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นองค์จอมทัพไทย พระองค์มิต้องมีพระราชกระแสเหมือนกับที่ได้พระราชทานต่อคณะตุลาการแก่ “ทหาร” เลย เพราะในกระแสพระราชดำรัสนั้น ย่อมเป็นที่รู้และเข้าใจแจ้งชัด ชื่อทหารย่อมน้อมรับกระแสพระราชดำรัสใส่เกล้าฯ ได้ด้วยตนเอง ทั้งโดยสำนึกส่วนหนึ่ง และโดยหน้าที่อีกส่วนหนึ่งให้สมดังพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ “ให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ” นั้น โดยต้องน้อมใส่เกล้าฯ เป็นพิเศษกว่าฝ่ายอื่นใดด้วย โดยเฉพาะพระราชกระแสในเรื่องการแก้ไขปัญหาโดยกระบวนการทางศาล ตามรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทหารก็ย่อมเข้าใจในคำว่าประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ และต้องพิจารณาถ้อยคำของตนเองออกมาอย่างถี่ถ้วนว่าขัดหรือขืนต่อความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะนอกจากจะไม่เหมาะสมต่อกาละแล้ว ยังถือว่าไม่บังคับอีกด้วย
• 2 ปีในเตรียมทหารกับ “ราชการ” ทั้งชีวิต
อันความรัก ความสามัคคีที่ได้รับการปลูกฝังกันมา ย่อมอยู่ภายในกรอบของเกียรติยศและเกียรติศักดิ์ ความรักใคร่ผูกพันกันสมัยเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารนั้น ในวิชาการฝึกเป็น “ผู้นำ” ได้เริ่มต้น คือการเป็นผู้นำที่ดี มีเหตุผล มีความคิดอ่าน และมีการตัดสินใจอย่างผู้นำ, ความรักใคร่ใน “รุ่น” ที่อยู่ด้วยกันมา 2 ปีในโรงเรียนเตรียมทหารก็อยู่ในกรอบหนึ่ง และเมื่อต่างเข้าโรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งจะต้องเรียนอีก 5 ปี ถือเป็นความงอกงามในเหล่าของตน ก่อนจะออกรากและหยั่งลึกไปเมื่อเป็นนายทหาร นายตำรวจ ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่ตรงนี้ มิใช่ที่โรงเรียนเตรียมทหาร และผลสัมฤทธิ์ของความเป็นผู้นำได้มาเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ถืออาวุธเรือนหมื่นเรือนแสน หรือเป็นผู้ถือกฎหมายสำหรับผู้เป็นนายตำรวจ ความรับผิดชอบต่อคนในกองทัพเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า “คนในรุ่น” โดยเฉพาะที่เตรียมทหารซึ่งอยู่ด้วยกันเพียง 2 ปี ความรับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่ในกองทัพ น่าจะมีมากกว่าความรับผิดชอบในรุ่น ซึ่งเป็น “ส่วนบุคคล” ไปแล้ว และเมื่อปัญหาของบุคคลจะต้องใช้พลังอำนาจอันควรอยู่กับคนหมู่มากคือผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชน มาแก้ไขปัญหาบุคคลนั้น ย่อมไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน อันมีบทเรียนให้เห็นกันมาแล้วหลากหลายเรื่อง
• จากแมนฮัตตันถึง จปร. 5 กับ รสช.
ในหัวข้อที่กล่าวข้างต้น จำเป็นที่จะต้องย้อนอดีตไปถึงครั้ง น.อ.มนัส จารุภา รน. ปฏิบัติการจี้และรับตัว จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในขณะมีการรับมอบเรือขุดสันดอน ชื่อเรือ “แมนฮัตตัน” และนำจอมพล ป.ไปไว้ในเรือหลวงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเรือปืนที่ทรงอานุภาพที่สุดในขณะนั้น เหตุการณ์ครั้งนั้นเรียกว่า “กบฏแมนฮัตตัน” มีการสู้รบกันระหว่างทหารเรือกับทหารบก รวมทั้งตำรวจ และในที่สุดกองทัพอากาศก็ต้องเข้าร่วมปราบกบฏด้วยการนำเครื่องบินไปทิ้งระเบิดจมเรือหลวงศรีอยุธยาเสีย
เหตุการณ์ครั้งนั้น ทหารเรือกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทั้งกองทัพ ที่ตั้งของทหารเรือหลายแห่งถูกยึดเป็นของทหารบก รวมทั้งโรงเรียนเตรียมทหาร (เก่า) ที่ข้างสวนลุมพินี ที่เตรียมทหารรุ่น 10 ก็นายเรียนที่นั่น ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของ “กองสัญญาณทหารเรือ” แม้บริเวณที่ตั้งใกล้กองบัญชาการกองทัพเรือ คือ “สวนอนันต์” ทหารบกก็มายึดเป็นที่ตั้งของทหารช่าง เพิ่งจะมีการส่งคืนพื้นที่ให้กองทัพเรือเมื่อไม่นานมานี้ ทหารเรือได้รับความชอกช้ำสุดประมาณ จนทหารเรือเองได้กล่าวในทำนองว่า มิใช่เป็นทหารเรือแล้ว แต่เป็น “ทหารเหลือ”
ทหารอากาศส่วนหนึ่งก็เคยมีการร่วมปฏิบัติการในเหตุการณ์ที่เรียกว่า “กบฏไอ้โม่ง” และถูกปราบปรามลงในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเพราะส่วนอื่นๆ “ไม่มาตามนัด” จากการที่ พล.อ.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ซึ่งอีก 23 วัน จะเกษียณอายุได้เป็นผู้นำกำลังขัดขวางการยึดอำนาจ และต่อมา เมื่อรับที่มีการ ปฏิวัติ รสช. จับตัว พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม แม้ว่าจะยึดอำนาจได้สำเร็จ แต่ก็มีผลสืบต่อมาจนถึงการที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกผู้นำ จปร. 5 เป็นนายกรัฐมนตรี และเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ, เหตุการณ์นั้นทำให้เกิดการแตกแยกกันในหมู่ทหาร ทั้งกองทัพบก และกองทัพอากาศ โดยสภาพของกองทัพอากาศนั้นออกจะย่ำแย่กว่ากองทัพบกหลายเท่า
ยังถือว่าเป็นโชคดีที่ พล.อ.บรรจบ บุนนาค รัฐมนตรีว่การกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ได้เลือก พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ จากรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด มารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ เพราะคุณลักษณะของ พล.อ.อ.กันต์ นั้นเด็ดขาดแต่อยู่ในกรอบประนีประนอม สามารถแก้ไขความแตกแยกหลายส่วนในกองทัพอากาศให้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว และสร้างคุณค่าของทหารอากาศให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนได้อีกครั้งหนึ่ง กองทัพอากาศจึงรอดพ้นจากความบอบช้ำมาได้, กองทัพอากาศจึงเป็นหนี้บุญคุณต่อ พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ โดยเป็นหนี้ที่ไม่มีการทวงถามหรือใช้คืน โดยที่ลูกทัพฟ้า เป็นทหารอยู่ในกรอบอันถูกอันควร รักษาเกียรติยศและเกียรติศักดิ์ที่กู้คืนมาให้ ก็ถือว่าเป็นการตอบแทนอย่างเพียงพอแล้ว
บัดนี้, มีการชักเรื่องมาจากสังคม-ประชาชนทั้งหลายกลับไปสู่กองทัพอากาศอีกครั้ง ด้วยการที่แสดงออกแบบมีอารมณ์ร่วมนั้น ก็ต้องควรทบทวนทั้งสถานการณ์ในปัจจุบันว่าในที่สุดจะลงเอยกันอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าการสนองตามพระราชกระแส เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดและถูกต้องที่สุด และต้องทบทวนในสิ่งที่อยู่ใกล้มากที่สุด คือตนเอง...ว่าควรจะทำอะไรได้บ้าง อย่างที่สังคมและประชาชนต้องการ ซึ่งมิใช่การคิดนอกกรอบ เพราะกรอบนี้สังคมและประชาชนได้ล้อมไว้อย่างแน่นหนายิ่งนัก
จากการที่มองการเมืองของไทยรักไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในสูตรอำนาจ 4+4+4 และ+4 รวม 16 ปี ของการเป็นรัฐบาล โดยที่มีการจัดเตรียมสร้างค่าย สร้างคน ก็พอจะเห็นว่าในเทอมที่สองจะมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ รวมทั้งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ล้วนแต่เป็น เตรียมทหารรุ่น 10 (ตท. 10) เพื่อนร่วมรุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งหมด แต่เมื่อ 4+4+4+4 ได้มาเป็น 4+1 รวมเป็น 5 และถูกลบ ผลออกมาไม่ได้เป็นดังคาด และแทนที่จะมีตัวเลขบวกเป็นจำนวนปี กลับต้องบวกด้วยจำนวนเดือน หรือจำนวนวันเก็บเล็กผสมน้อยอย่างทุกวันนี้ ในสภาพของบ้านที่เซทรุด และพัง ส่วนที่อยู่สูงสุดคือ หลังคาจะต้องหล่นมาก่อน
• คำตอบในภาวะตะเกียงหมดไส้
สิ่งที่มีผู้อยากจะรู้ว่า ในภาวะตะเกียงหมดไส้ ทั้งๆ น้ำมันก๊าดยังเต็มนั้น “เพื่อน” ของ “ทักษิณ” คิดอย่างไร? จึงมีสื่อที่สนองต้องการนำความรู้สึกจากหลายๆ คนมาตีพิมพ์ จากความรู้สึกของ พล.อ.อ.สุกัมพล สุวรรณทัต เสนาธิการทหารอากาศ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร รองเสนาธิการทหาร พล.ร.ท.วัลลภ เกิดผล รองเสนาธิการทหารเรือ พล.อ.ท.สุเมธ โพธิ์มณี ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน และ พล.ต.เรืองศักดิ์ ทองดี ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) ที่ให้ความเห็นและความรู้สึกอย่างหลากหลาย
ในการสะท้อนความรู้สึกนี้ คงเป็นเช่นเดียวกันเมื่อครั้ง จปร. 5 ในช่วงท้าย แต่ความแตกต่างของโครงสร้างของ จปร. 5 และ ตท. 10 นั้น แตกต่างกันมากคือ จปร. 5 ได้แบบอย่างมาจากเตรียมทหารรุ่น 7 (ตทบ. 7) รุ่นของ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก และ จปร.รุ่น 1 รุ่นของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ แต่มีการสร้างรุ่นหลังจาก จปร. 7 คือรุ่นของ “ยังเติร์ก” เป็นปึกแผ่นแล้ว เพราะการสร้างรุ่นของ จปร. 5 และ 7 พร้อมๆ กันจึงมีการเบียดเสียดจนเป็นความขัดแย้งกัน เพื่อเข้ามาสู่ยุคของ “เตรียมทหาร” คือเตรียมทหารรุ่น 1 (จปร. 12) รุ่นของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ไม่มีการสร้างรุ่น 3 เหล่าทัพและตำรวจ คือต่างฝ่ายต่างก็อยู่ในรุ่นของโรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ การรวมรุ่นของเตรียมทหารมาเป็นภาพชัดขึ้น เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เล่นการเมือง เพราะเห็นว่าตนเองเป็นโรงเรียนนายร้อยตำรวจ หากมีเพราะตำรวจก็จะไม่เพียงพอต่อการมีฐานอำนาจ จึงได้มีแผนการรวมรุ่น ซึ่งก็ใช้ “เงิน” เหมือนกัน คือการจัดสวัสดิการสำหรับเตรียมทหารรุ่น 10 ขึ้น ด้วยกองทุนก้อนใหญ่ มีคณะกรรมการกำกับว่าจะใช้เงินสำหรับเพื่อนคนใดบ้าง และความแตกต่างกับการรวมรุ่นของรุ่นก่อนๆ คือเช่น จปร. 1 จปร. 5 เป็นการรวมกันก่อนแล้วเดินเข้าสู่อำนาจทางการเมือง เมื่อมีโอกาสหรือหาโอกาส ส่วนเตรียมทหารรุ่น 10 นั้น มีการเมืองขึ้นมาก่อน แล้วจึงจัดระบบอำนาจเสริมการเมือง ดังนั้น ความรู้สึกที่ฝังอยู่ในรุ่นจึงมีความแตกต่างกันด้วย คือในรุ่นก่อนๆ นั้น เกาะกลุ่มกันมาด้วยการร่วมทุกข์ร่วมสุข แต่รุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น มีแต่ร่วมสุข เพราะเกาะกลุ่มกันเต็มที่ เมื่อมีเพื่อนเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นอัครมหาเศรษฐีแล้ว
ดังนั้น, ความรู้สึกและคำตอบทั้งหลายจาก ตท. 10 จึงสะท้อนถึงความเสียดายโอกาสข้างหน้า ทั้งของ “ทักษิณ” และของรุ่นตนเอง
จากคำตอบที่ให้มีทั้งคำตอบที่แสดงความรู้สึกต่อสถานการณ์และความเป็นไปในอนาคต จะมีการกล่าวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บ้างก็คือ การบอกเล่าว่าเป็นคนเรียนเก่ง เมื่อเรียนด้วยกันในโรงเรียนเตรียมทหาร ความรู้สึกห่วงใยก็เป็นการแสดงความรู้สึกของปุถุชนที่มีต่อเพื่อน แต่ก็ไม่ลืมที่จะแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองด้วย
มีแต่ทางด้านผู้เป็นทหารอากาศเท่านั้น ที่ได้กล่าวคำว่า “ปฏิวัติ” ออกมา โดยบอกว่า-ถ้าหากเป็นความต้องการของประชาชน และคำนี้ได้ลุกลามเข้าสู่ความรู้สึกของสังคมเหมือนไฟติดเชื้อ เกิดคำถามและข้อสงสัยตามมามากมายว่า คำนี้หรือสิ่งนี้จะเป็นไปได้หรือ เป็นไปได้ด้วยอะไร และเพราะใคร-เพื่อใคร? ในเมื่อกระบวนการแก้ไขปัญหาในวิธีการอื่นๆ ก็ดำเนินการอยู่และอย่างมีผล
• ปัจจัยแห่งอารมณ์ร่วมของเตรียมทหารรุ่น 10
แม้ว่าทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะเป็นความคิดเห็นหรือเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ และเป็นอารมณ์ร่วมของบรรดาเตรียมทหารรุ่น 10 เพื่อนร่วมรุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในรุ่นนี้อาจจะมิใช่ผู้มีอารมณ์ร่วมทำนองเดียวกันเสียทั้งหมด เพราะปัจจัยแห่งอารมณ์ร่วมนั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะปัจจัยหลักคือความใกล้ชิดสนิทสนมกันแต่ครั้งก่อน ความสนิทสนมที่มาเกิดในภายหลัง หรือการเทใจให้แก่กันและกัน เมื่อมียศและตำแหน่งในระดับอันน่าพึงพอใจ ทั้งในตำแหน่งปัจจุบันและการคาดหวังต่อตำแหน่งในอนาคตที่จะสูงขึ้นไปพร้อมกับการดำรงอยู่ทางการเมืองของ “ทักษิณ” หรือของพรรคไทยรักไทย
เตรียมทหารรุ่น 10 ที่มิได้อยู่ในกรอบปัจจัยนี้ ไม่อยู่ในฐานะที่จะแสดงอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นความเห็นหรืออารมณ์ร่วมกับ “รุ่น” ก็เฉยเสีย นั่นอาจจะเป็นผู้กาเครื่องหมายไม่ประสงค์จะเลือกใครเหมือนกับการกาบัตรเลือกตั้งก็ได้ และเชื่อว่าจะมีผู้กาเครื่องหมายนี้ในช่องนี้เป็นจำนวนมาก นั่นเป็นอาการที่ไม่เอื้ออาทรต่อ “ทักษิณ” ซึ่งในยามนี้กลับต้องเป็นฝ่ายแสวงหาความเอื้ออาทรเสียเอง หลังจากที่จัดโครงการต่างๆ ที่เป็น “เอื้ออาทร” มามากแล้ว รวมทั้งโครงการเอื้ออาทรต่อตำแหน่งหน้าที่ของคนอื่นๆ มิใช่เอื้ออาทรต่อเตรียมทหารรุ่นเดียวกัน และนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นเดียวกัน ที่มีความเอื้ออาทรมากเป็นพิเศษ
การแสดงความคิดเห็นหรือเกิดอารมณ์ร่วมดังกล่าวแล้ว จึงน่าจะประเมินค่าได้เพียงความเอื้ออาทรต่อกัน แต่น้ำหนักของคำพูดนั้นอยู่ที่ “บุคคล” และตำแหน่งซึ่งดำรงอยู่ ใครที่เป็นผู้ใหญ่แม้จะพูดค่อย แต่คำพูดนั้นจะเป็นใหญ่ไปตามตำแหน่ง เช่น พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร รองเสนาธิการทหารกองบัญชาการทหารสูงสุด และพล.อ.อ.สุกัมพล สุวรรณทัต เสนาธิการทหารอากาศ ที่มียศสูงและตำแหน่งสูง โดยเฉพาะ พล.อ.อ.สุกัมพล ซึ่งเป็นเสนาธิการของกองทัพ ที่อยู่ในฐานะของการเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศได้ในจังหวะหน้าหรือก้าวต่อไป เช่นเดียวกับ พล.ร.ท.วัลลภ เกิดผล รองเสนาธิการทหารเรือ ที่มองเส้นทางว่าจะเป็นเสนาธิการทหารเรือ และเป็นผู้บัญชาการทหารเรือได้ในอนาคตที่ไม่ไกล
• แรงสะเทือนของ-อำนาจเอื้ออาทรต่อกันแบบ “ติดเชื้อ”
ดังที่กล่าวไว้ว่า นั่นเป็นบรรยากาศของความเอื้ออาทรซึ่งมีต่อกัน (หรือตอบแทนกัน) เมื่อออกมาให้เห็นต่อสาธารณชนเช่นนี้ ความผูกพันจะมิใช่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น แต่ประชาชนทั่วไปจะคิดอย่างไร สังคมจะยอมรับว่าการเคลื่อนไหวทางความเห็นเช่นนี้ เป็น “ธรรมดา” หรือไม่? ความผูกพันก็เกิดการเกี่ยวร้อยต่อไปถึงความรู้สึกของประชาชน/สังคมแผ่ไพศาลออกไป สิ่งที่ให้ในลักษณะเอื้ออาทรต่อ “ทักษิณ” นั้น อาจจะเป็นอีกคมหนึ่งของดาบ นั่นคือแรงโต้และกระแสต้านในรอบใหม่จะมากขึ้น โดยเฉพาะความรู้สึกลึกของสังคมที่มีต่อการแสวงหาข้อสรุปเรื่อง “ปฏิญญาฟินแลนด์” นั้น แม้ว่าจะมีความพยายามกลบกระแสนี้ แต่เมื่อมีความรู้สึก อารมณ์ร่วม/อำนาจร่วม เกิดขึ้นมาเช่นนี้ ความพยายามดังกล่าวจะไร้ผลเพราะเกิดสิ่งแทรกซ้อน ซึ่งสังคมมีความรู้สึกไม่ใคร่สบายใจ หรือมีความไม่ไว้วางใจอยู่แล้วในระดับหนึ่ง รวมทั้งการที่มีบทสรุปมาแล้วว่า “ทักษิณ” ไทยรักไทย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และวุฒิสภา เป็นก๊กเดียวกัน และเมื่อมีทหารส่วนหนึ่งมาสำแดงอาการอารมณ์ร่วม ก็อาจจะถูกจัดเข้าว่า “ทักษิณ-กกต.-วุฒิสภา-ทหาร” คือพวกเดียวกัน ปฏิกิริยาที่เกิดต่อ “ทักษิณ” และเวลานี้อาการติดเชื้อไปสู่ กกต. และวุฒิสภาก็จะติดเชื้อมาถึงทหารด้วย ซึ่งจะไม่เป็นผลดีเลย เมื่อมีคำประกาศโดยทั่วไปว่า ทหารสมัยนี้เป็นทหารอาชีพไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และถ้าหากว่าคำประกาศเชิงคำมั่นสัญญานั้น ถูกมองหรือจัดเข้าว่าไม่เป็นความจริง เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ก็จะมีค่าเท่ากับบุคคลในวงการทางการเมืองที่ไร้เกียรติทั้งสองอย่างนี้ และเมื่อนั้น การสั่งสอนหรือสร้างสมบ่มเพาะกันมาตั้งแต่อยู่ในโรงเรียนเตรียมทหาร 2 ปี และโรงเรียนนายทหารของแต่ละคนอีก 5 ปี ทำให้รักษาเกียรติยศ และเกียรติศักดิ์ก็จะหมดไปในวันเดียว หรือจากคำพูดเพียงคำเดียว ที่มีคำว่า “ปฏิวัติ” รวมอยู่ด้วย แม้ว่าจะกล่าวโดยมีข้อแม้ว่า ถ้าหากประชาชนต้องการอยู่ด้วยก็ตาม เพราะมองกันได้อย่างทะลุว่า ถ้าหากสิ่งนั้นเป็นไปได้จริง จะเป็นไปเพื่อใคร?
• กระทบต่อเอกภาพของการบังคับบัญชาด้วย
คำเดียวที่เอ่ย คำเดียวที่พูด จะโดยอารมณ์ร่วม/อำนาจร่วม หรืออารมณ์เอื้ออาทรต่อกันจากปากของผู้ที่ถือว่าเป็นทหารระดับสูง แม้ว่าจะยังไม่สูงในระดับหมายเลขหนึ่ง ก็ยังทำให้เห็นว่า อำนาจการบังคับบัญชา ผุ้มีอำนาจเหนือตนสูงต่ำลดหลั่นกันลงมาตามลักษณะการจัดการบังคับบัญชา ไม่ได้เป็นเอกภาพอย่างแท้จริงเสียแล้ว ในเมื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้แสดงจุดยืนของตนและของกองทัพว่า ในกระบวนการประชาธิปไตย ทหารจะไม่เป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยังส่งผลให้เกิดความสงสัยต่อการบังคับบัญชา ว่ายังมีเอกภาพในการบังคับบัญชาดีอยู่หรือ? หรือว่าแยกกันเป็น 2 ส่วนคือ เอกภาพการบังคับบัญชาอย่างเต็มที่ในส่วนหนึ่ง สำหรับบางตำแหน่งหรือบาง “รุ่น” และมีอำนาจจากส่วนหนึ่งส่งผ่านมาเป็นอำนาจการบังคับบัญชาแฝงทางสายการบังคับบัญชา แต่มีการสื่อสัญญาณกันโดยตรงอีกทางหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นอันตรายมาก เพราะการเมืองที่มีอำนาจบังคับบัญชาทหารโดยตรงนั้น มีอยู่ในประเทศที่มิได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น จีน มีพรรคเป็นผู้บังคับบัญชาทหารโดยกรรมาธิการทหารของพรรค โดยยึดว่าพรรคเป็นของประชาชน กองทัพก็ย่อมเป็นกองทัพของประชาชนโดยผ่านพรรค ถ้าหากมีการมองอย่างนี้หรือคิดกันอย่างนี้ ระบบการทหารจะแปรปรวนรวนเรกันไปหมด โดยผู้บังคับบัญชาเหนือตนนั้น แยกออกเป็นคนละฝ่าย คนละคนโดยต่างฝ่ายต่างคนก็มีผู้บังคับบัญชาของตน
• ทหารภายใต้พระบรมราชโองการฯ
เมื่อเกิดปัญหาความยุ่งยากสับสนในบ้านเมือง จนยากจะเห็นทางออกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีกระแสพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา ทรงให้ “ศาล” ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งหลายต่อการยุติธรรมในพระปรมาภิไธย เป็นผู้ใช้อำนาจทางศาลแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่ศาลทำไปแล้ว และกำลังทำอยู่ โดยที่เมื่อมองอย่างวิเคราะห์แล้วจะเห็นว่าศาลนั้นคืออำนาจหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงใช้ตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 3) โดยที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงเหมือนกับทหาร ดังที่มาตรา 10 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย” อันเป็นตำแหน่งบังคับบัญชา และการมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ก็มีพระบรมราชโองการเป็นพิเศษแตกต่างไปจากพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ต่อตำแหน่งต่างๆ โดยทั่วไป จากที่ว่า “มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ดังต่อไปนี้” คือเป็นพระบรมราชโองการฯ ในการบังคับบัญชาของจอมทัพไทยสู่ทหารโดยตรง ทหารยังมีแบบแผนถวายต่อองค์จอมทัพไทยอีกหลายสิ่ง เช่น การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล อันเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนพระองค์, ทหารมีการถวายรายงาน เมื่ออัญเชิญเสด็จฯ ตรวจแถวกองเกียรติยศ หรือการตรวจผลสวนสนาม ที่นอกจากจะจบลงด้วยคำว่า “พระพุทธเจ้าข้า-ขอรับ” ซึ่งคำว่า “ขอรับ” คือ “ขอรับกระผม” หรือ “SIR” แบบทหารที่กล่าวกับผู้บังคับบัญชาอันมีแบบอย่างโดยทั่วไปในวงการทหารทั่วโลก และนอกจากเครื่องแบบ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ แล้ว ทหารยังเป็นผู้ได้รับการประดับพระนามาภิไธยย่อ “ภปร.” ที่บ่าขวาเมื่อได้เป็นราชองครักษ์ และประดับได้ตลอดเวลาเมื่อแต่งเครื่องแบบ
ที่กล่าวดังนี้, ก็เพื่อจะให้เห็นเป็นการเปรียบเทียบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นองค์จอมทัพไทย พระองค์มิต้องมีพระราชกระแสเหมือนกับที่ได้พระราชทานต่อคณะตุลาการแก่ “ทหาร” เลย เพราะในกระแสพระราชดำรัสนั้น ย่อมเป็นที่รู้และเข้าใจแจ้งชัด ชื่อทหารย่อมน้อมรับกระแสพระราชดำรัสใส่เกล้าฯ ได้ด้วยตนเอง ทั้งโดยสำนึกส่วนหนึ่ง และโดยหน้าที่อีกส่วนหนึ่งให้สมดังพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ “ให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ” นั้น โดยต้องน้อมใส่เกล้าฯ เป็นพิเศษกว่าฝ่ายอื่นใดด้วย โดยเฉพาะพระราชกระแสในเรื่องการแก้ไขปัญหาโดยกระบวนการทางศาล ตามรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทหารก็ย่อมเข้าใจในคำว่าประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ และต้องพิจารณาถ้อยคำของตนเองออกมาอย่างถี่ถ้วนว่าขัดหรือขืนต่อความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะนอกจากจะไม่เหมาะสมต่อกาละแล้ว ยังถือว่าไม่บังคับอีกด้วย
• 2 ปีในเตรียมทหารกับ “ราชการ” ทั้งชีวิต
อันความรัก ความสามัคคีที่ได้รับการปลูกฝังกันมา ย่อมอยู่ภายในกรอบของเกียรติยศและเกียรติศักดิ์ ความรักใคร่ผูกพันกันสมัยเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารนั้น ในวิชาการฝึกเป็น “ผู้นำ” ได้เริ่มต้น คือการเป็นผู้นำที่ดี มีเหตุผล มีความคิดอ่าน และมีการตัดสินใจอย่างผู้นำ, ความรักใคร่ใน “รุ่น” ที่อยู่ด้วยกันมา 2 ปีในโรงเรียนเตรียมทหารก็อยู่ในกรอบหนึ่ง และเมื่อต่างเข้าโรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งจะต้องเรียนอีก 5 ปี ถือเป็นความงอกงามในเหล่าของตน ก่อนจะออกรากและหยั่งลึกไปเมื่อเป็นนายทหาร นายตำรวจ ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่ตรงนี้ มิใช่ที่โรงเรียนเตรียมทหาร และผลสัมฤทธิ์ของความเป็นผู้นำได้มาเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ถืออาวุธเรือนหมื่นเรือนแสน หรือเป็นผู้ถือกฎหมายสำหรับผู้เป็นนายตำรวจ ความรับผิดชอบต่อคนในกองทัพเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า “คนในรุ่น” โดยเฉพาะที่เตรียมทหารซึ่งอยู่ด้วยกันเพียง 2 ปี ความรับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่ในกองทัพ น่าจะมีมากกว่าความรับผิดชอบในรุ่น ซึ่งเป็น “ส่วนบุคคล” ไปแล้ว และเมื่อปัญหาของบุคคลจะต้องใช้พลังอำนาจอันควรอยู่กับคนหมู่มากคือผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชน มาแก้ไขปัญหาบุคคลนั้น ย่อมไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน อันมีบทเรียนให้เห็นกันมาแล้วหลากหลายเรื่อง
• จากแมนฮัตตันถึง จปร. 5 กับ รสช.
ในหัวข้อที่กล่าวข้างต้น จำเป็นที่จะต้องย้อนอดีตไปถึงครั้ง น.อ.มนัส จารุภา รน. ปฏิบัติการจี้และรับตัว จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในขณะมีการรับมอบเรือขุดสันดอน ชื่อเรือ “แมนฮัตตัน” และนำจอมพล ป.ไปไว้ในเรือหลวงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเรือปืนที่ทรงอานุภาพที่สุดในขณะนั้น เหตุการณ์ครั้งนั้นเรียกว่า “กบฏแมนฮัตตัน” มีการสู้รบกันระหว่างทหารเรือกับทหารบก รวมทั้งตำรวจ และในที่สุดกองทัพอากาศก็ต้องเข้าร่วมปราบกบฏด้วยการนำเครื่องบินไปทิ้งระเบิดจมเรือหลวงศรีอยุธยาเสีย
เหตุการณ์ครั้งนั้น ทหารเรือกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทั้งกองทัพ ที่ตั้งของทหารเรือหลายแห่งถูกยึดเป็นของทหารบก รวมทั้งโรงเรียนเตรียมทหาร (เก่า) ที่ข้างสวนลุมพินี ที่เตรียมทหารรุ่น 10 ก็นายเรียนที่นั่น ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของ “กองสัญญาณทหารเรือ” แม้บริเวณที่ตั้งใกล้กองบัญชาการกองทัพเรือ คือ “สวนอนันต์” ทหารบกก็มายึดเป็นที่ตั้งของทหารช่าง เพิ่งจะมีการส่งคืนพื้นที่ให้กองทัพเรือเมื่อไม่นานมานี้ ทหารเรือได้รับความชอกช้ำสุดประมาณ จนทหารเรือเองได้กล่าวในทำนองว่า มิใช่เป็นทหารเรือแล้ว แต่เป็น “ทหารเหลือ”
ทหารอากาศส่วนหนึ่งก็เคยมีการร่วมปฏิบัติการในเหตุการณ์ที่เรียกว่า “กบฏไอ้โม่ง” และถูกปราบปรามลงในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเพราะส่วนอื่นๆ “ไม่มาตามนัด” จากการที่ พล.อ.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ซึ่งอีก 23 วัน จะเกษียณอายุได้เป็นผู้นำกำลังขัดขวางการยึดอำนาจ และต่อมา เมื่อรับที่มีการ ปฏิวัติ รสช. จับตัว พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม แม้ว่าจะยึดอำนาจได้สำเร็จ แต่ก็มีผลสืบต่อมาจนถึงการที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกผู้นำ จปร. 5 เป็นนายกรัฐมนตรี และเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ, เหตุการณ์นั้นทำให้เกิดการแตกแยกกันในหมู่ทหาร ทั้งกองทัพบก และกองทัพอากาศ โดยสภาพของกองทัพอากาศนั้นออกจะย่ำแย่กว่ากองทัพบกหลายเท่า
ยังถือว่าเป็นโชคดีที่ พล.อ.บรรจบ บุนนาค รัฐมนตรีว่การกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ได้เลือก พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ จากรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด มารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ เพราะคุณลักษณะของ พล.อ.อ.กันต์ นั้นเด็ดขาดแต่อยู่ในกรอบประนีประนอม สามารถแก้ไขความแตกแยกหลายส่วนในกองทัพอากาศให้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว และสร้างคุณค่าของทหารอากาศให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนได้อีกครั้งหนึ่ง กองทัพอากาศจึงรอดพ้นจากความบอบช้ำมาได้, กองทัพอากาศจึงเป็นหนี้บุญคุณต่อ พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ โดยเป็นหนี้ที่ไม่มีการทวงถามหรือใช้คืน โดยที่ลูกทัพฟ้า เป็นทหารอยู่ในกรอบอันถูกอันควร รักษาเกียรติยศและเกียรติศักดิ์ที่กู้คืนมาให้ ก็ถือว่าเป็นการตอบแทนอย่างเพียงพอแล้ว
บัดนี้, มีการชักเรื่องมาจากสังคม-ประชาชนทั้งหลายกลับไปสู่กองทัพอากาศอีกครั้ง ด้วยการที่แสดงออกแบบมีอารมณ์ร่วมนั้น ก็ต้องควรทบทวนทั้งสถานการณ์ในปัจจุบันว่าในที่สุดจะลงเอยกันอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าการสนองตามพระราชกระแส เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดและถูกต้องที่สุด และต้องทบทวนในสิ่งที่อยู่ใกล้มากที่สุด คือตนเอง...ว่าควรจะทำอะไรได้บ้าง อย่างที่สังคมและประชาชนต้องการ ซึ่งมิใช่การคิดนอกกรอบ เพราะกรอบนี้สังคมและประชาชนได้ล้อมไว้อย่างแน่นหนายิ่งนัก