รุสโซได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์เกิดมาอิสระแต่ทุกแห่งที่เขาดำเนินไปนั้นจะมีโซ่ตรวจล่ามไว้อยู่เสมอ โซ่ตรวนดังกล่าวคือสิ่งที่กำหนดโดยสังคม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย วัฒนธรรม ความคิดที่มาจากการศึกษาอบรม เมื่อเป็นเช่นนี้วิญญาณอิสระอย่างแท้จริงคงไม่มีอยู่ในโลก ทั้งนี้เนื่องจากว่าความคิดของคนก็ดี พฤติกรรมของคนก็ดี จะถูกกำหนดโดยการอบรมสั่งสอนในบ้าน ในสถาบันการศึกษา ในกลุ่มเพื่อน และในสถาบันสังคมต่างๆ โดยทั่วไปแล้วมนุษย์หนีไม่พ้นที่จะต้องดำรงชีวิตอยู่ภายใต้กฎ 6 ประการดังต่อไปนี้ คือ
1. กฎธรรมชาติ มนุษย์ต้องกินอาหาร ต้องต่อสู้กับการอยู่รอด ต้องสืบพันธุ์ สัญชาตญาณของมนุษย์ในการรักษาตนเองให้ปลอดภัย ในความต้องการที่จะหาความสุขจากชีวิต ในความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง จะทำให้มนุษย์เกิดความโลภ บ้าอำนาจ ต้องการมีสถานะทางสังคม ซึ่งบางครั้งและในกลุ่มคนบางกลุ่มอาจจะเกินเลยระดับที่เหมาะสม เมื่อเป็นเช่นนี้จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อการควบคุมโดยระบบที่เรียกว่า กฎหมาย
2. กฎหมาย คือสิ่งที่รัฐตราขึ้นโดยมนุษย์จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการใช้อำนาจจนเกินเลย และเพื่อความสมานฉันท์ในสังคม เนื่องจากรัฐผูกขาดการใช้อำนาจในการใช้ความรุนแรง จึงต้องมีกฎหมายควบคุมมิให้มีการกระทำที่ไม่มีเหตุผลเช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา และขณะเดียวกันในระหว่างประชาชนด้วยกันก็อาจจะมีความขัดแย้งจึงต้องมีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในศาลสถิตยุติธรรมได้ มนุษย์จึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอันเป็นกฎประการที่ 2
3. กฎจริยธรรม นอกจากกฎธรรมชาติซึ่งต้องมีกฎหมายควบคุมไม่ให้มีการกระทำที่เกินเลยแล้ว ยังมีกฎจริยธรรมหรือศีลธรรมซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎประการที่ 3 ที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้เป็นเครื่องชี้นำในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และโดยนัยนี้กฎจริยธรรมหรือศีลธรรมนอกจากจะมีความสำคัญกับปัจเจกบุคคลแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในหมู่ผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจ โดยนอกเหนืออยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ แล้ว ยังต้องอยู่ภายใต้กฎจริยธรรม เพราะถ้าขาดจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจจะใช้อำนาจในทางผิดๆ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ละเมิดกฎหมาย ข่มเหงประชาชน ดังนั้นในขณะที่กฎหมายมีความสำคัญ จริยธรรมทางการเมืองก็มีความสำคัญพอๆ กัน หรือมากกว่าเสียด้วยซ้ำ
4. กฎองค์กร เป็นกฎที่มีอยู่ทั่วไปในสังคมสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ บริษัทเอกชน หรือองค์กรเอกชน จะมีกฎซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎระเบียบ หรือกติกาความประพฤติสำหรับสมาชิก ตัวอย่างเช่น นายตำรวจ ผู้พิพากษาอัยการ นายทหาร นายแพทย์ ล้วนแล้วต้องอยู่ภายใต้จริยธรรมของวิชาชีพซึ่งจะควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กรนั้นๆ ในแง่หนึ่งแม้เด็กๆ ที่วิ่งเล่นกันก็อาจจะตั้งกฎกติกาเพื่อไม่ให้มีการละเมิด เช่น การเล่นทอยลูกหินก็ต้องว่าไปตามกฎแพ้หรือชนะ
5. กฎสังคม เป็นกฎที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ตราบเท่าที่ยังเป็นสัตว์สังคม มารยาททางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม จะกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ในขอบข่ายที่สำคัญยิ่ง ใครก็ตามที่ละเมิดกฎเกณฑ์ดังกล่าวก็อาจจะถูกสังคมตั้งข้อรังเกียจ ในบางกรณีก็อาจไม่มีการคบค้าสมาคมด้วย หรือแม้แต่ถูกไล่ออกจากชุมชน การใช้วาจาด่าทอ รวมทั้งการขว้างสิ่งของ บางกรณีก็มองด้วยสายตาที่ไม่เป็นมิตร หรือคำพูดที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ก็คือการกระทำต่อต้านผู้ละเมิดกฎสังคม
6. กฎแห่งกรรม เป็นกฎซึ่งชาวพุทธทั้งหลายเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี่คือกฎของเหตุและผล หว่านเมล็ดพืชเช่นใด ก็จะได้ผลเช่นนั้น ก็จะเป็นเงาตามตัวของผู้กระทำไปตลอด ผู้กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็จะได้รับผลกรรมจากการกระทำนั้น โดยบางคนเชื่อว่ากฎแห่งกรรมเกิดขึ้นได้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็น บุคคลซึ่งกระทำผิดกฎหมายอาญาก็ต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานในคุก แต่บางครั้งผู้กระทำความผิดก็ไม่ได้รับการลงโทษใดๆ ซึ่งก็มักจะอธิบายว่ากรรมยังตามไม่ทัน แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือถึงแม้กฎหมายจะตามไม่ทัน แต่บุคคลผู้นั้นก็จะมีความทุกข์อยู่ในใจเพราะได้กระทำสิ่งที่เป็นบาปกรรม
คนซึ่งทำความผิดแต่กฎหมายลงโทษไม่ได้เนื่องจากมีช่องโหว่ ก็อาจจะต้องได้รับผลจากกระทำนั้นภายใต้กฎอื่นๆ เช่นกฎสังคม แต่กฎทั้ง 6 ประการนี้มีขอบข่ายกว้างขวางยากที่ผู้กระทำผิดจะหลุดพ้นได้
1. กฎธรรมชาติ มนุษย์ต้องกินอาหาร ต้องต่อสู้กับการอยู่รอด ต้องสืบพันธุ์ สัญชาตญาณของมนุษย์ในการรักษาตนเองให้ปลอดภัย ในความต้องการที่จะหาความสุขจากชีวิต ในความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง จะทำให้มนุษย์เกิดความโลภ บ้าอำนาจ ต้องการมีสถานะทางสังคม ซึ่งบางครั้งและในกลุ่มคนบางกลุ่มอาจจะเกินเลยระดับที่เหมาะสม เมื่อเป็นเช่นนี้จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อการควบคุมโดยระบบที่เรียกว่า กฎหมาย
2. กฎหมาย คือสิ่งที่รัฐตราขึ้นโดยมนุษย์จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการใช้อำนาจจนเกินเลย และเพื่อความสมานฉันท์ในสังคม เนื่องจากรัฐผูกขาดการใช้อำนาจในการใช้ความรุนแรง จึงต้องมีกฎหมายควบคุมมิให้มีการกระทำที่ไม่มีเหตุผลเช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา และขณะเดียวกันในระหว่างประชาชนด้วยกันก็อาจจะมีความขัดแย้งจึงต้องมีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในศาลสถิตยุติธรรมได้ มนุษย์จึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอันเป็นกฎประการที่ 2
3. กฎจริยธรรม นอกจากกฎธรรมชาติซึ่งต้องมีกฎหมายควบคุมไม่ให้มีการกระทำที่เกินเลยแล้ว ยังมีกฎจริยธรรมหรือศีลธรรมซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎประการที่ 3 ที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้เป็นเครื่องชี้นำในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และโดยนัยนี้กฎจริยธรรมหรือศีลธรรมนอกจากจะมีความสำคัญกับปัจเจกบุคคลแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในหมู่ผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจ โดยนอกเหนืออยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ แล้ว ยังต้องอยู่ภายใต้กฎจริยธรรม เพราะถ้าขาดจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจจะใช้อำนาจในทางผิดๆ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ละเมิดกฎหมาย ข่มเหงประชาชน ดังนั้นในขณะที่กฎหมายมีความสำคัญ จริยธรรมทางการเมืองก็มีความสำคัญพอๆ กัน หรือมากกว่าเสียด้วยซ้ำ
4. กฎองค์กร เป็นกฎที่มีอยู่ทั่วไปในสังคมสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ บริษัทเอกชน หรือองค์กรเอกชน จะมีกฎซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎระเบียบ หรือกติกาความประพฤติสำหรับสมาชิก ตัวอย่างเช่น นายตำรวจ ผู้พิพากษาอัยการ นายทหาร นายแพทย์ ล้วนแล้วต้องอยู่ภายใต้จริยธรรมของวิชาชีพซึ่งจะควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กรนั้นๆ ในแง่หนึ่งแม้เด็กๆ ที่วิ่งเล่นกันก็อาจจะตั้งกฎกติกาเพื่อไม่ให้มีการละเมิด เช่น การเล่นทอยลูกหินก็ต้องว่าไปตามกฎแพ้หรือชนะ
5. กฎสังคม เป็นกฎที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ตราบเท่าที่ยังเป็นสัตว์สังคม มารยาททางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม จะกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ในขอบข่ายที่สำคัญยิ่ง ใครก็ตามที่ละเมิดกฎเกณฑ์ดังกล่าวก็อาจจะถูกสังคมตั้งข้อรังเกียจ ในบางกรณีก็อาจไม่มีการคบค้าสมาคมด้วย หรือแม้แต่ถูกไล่ออกจากชุมชน การใช้วาจาด่าทอ รวมทั้งการขว้างสิ่งของ บางกรณีก็มองด้วยสายตาที่ไม่เป็นมิตร หรือคำพูดที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ก็คือการกระทำต่อต้านผู้ละเมิดกฎสังคม
6. กฎแห่งกรรม เป็นกฎซึ่งชาวพุทธทั้งหลายเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี่คือกฎของเหตุและผล หว่านเมล็ดพืชเช่นใด ก็จะได้ผลเช่นนั้น ก็จะเป็นเงาตามตัวของผู้กระทำไปตลอด ผู้กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็จะได้รับผลกรรมจากการกระทำนั้น โดยบางคนเชื่อว่ากฎแห่งกรรมเกิดขึ้นได้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็น บุคคลซึ่งกระทำผิดกฎหมายอาญาก็ต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานในคุก แต่บางครั้งผู้กระทำความผิดก็ไม่ได้รับการลงโทษใดๆ ซึ่งก็มักจะอธิบายว่ากรรมยังตามไม่ทัน แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือถึงแม้กฎหมายจะตามไม่ทัน แต่บุคคลผู้นั้นก็จะมีความทุกข์อยู่ในใจเพราะได้กระทำสิ่งที่เป็นบาปกรรม
คนซึ่งทำความผิดแต่กฎหมายลงโทษไม่ได้เนื่องจากมีช่องโหว่ ก็อาจจะต้องได้รับผลจากกระทำนั้นภายใต้กฎอื่นๆ เช่นกฎสังคม แต่กฎทั้ง 6 ประการนี้มีขอบข่ายกว้างขวางยากที่ผู้กระทำผิดจะหลุดพ้นได้